๑๗๑
ปุจฺฉา (ปุจฺฉ ปุจฺฉเน+อ+อา) คำถาม, ปัญหา.
ปุจฺฉนํ ปุจฺฉิตพฺพาติ วา ปุจฺฉา การถามหรือข้อที่ควรถาม ชื่อว่าปุจฉา (ลบสระหน้า). กินฺเต ทิฏฺฐนฺติ กตมา ปุจฺฉา๑ คำว่า "ท่านเห็นอะไรบ้าง" หมายถึง ถามว่ามีอะไรบ้าง
ตัวอย่าง, อุทาหรณ์ ๔ ศัพท์
นิทสฺสน (นิ+ทิส เปกฺขเน+ยุ) ตัวอย่าง, อุทาหรณ์.
ปกเตน สทิสํ นิทสฺเสติ เอเตนาติ นิทสฺสนํ, ปกตสฺโสปปาทนํ วากฺยํ ตัวอย่างที่แสดงให้เหมือนกับสิ่งที่ทำ ชื่อว่านิทัสสนะ (อาเทศ ทิสฺ เป็น ทสฺสฺ, ยุ เป็น อน) หมายถึงคำพูดที่ทำให้เข้าใจต่อสิ่งที่กำลังทำ
อุโปคฺฆาต (อุป,อุ+หน ปฏิปาทเน+อ) ตัวอย่าง, อุทาหรณ์.
อุโปคฺฆญฺญเต ปฏิปาทียเต อเนนาติ อุโปคฺฆาโต ตัวอย่างที่ท่านจัดหามาแสดง ชื่อว่าอุโปคฆาตะ (ลบสระหน้า, วิการ อุ เป็น โอ, อาเทศ หนฺ เป็น ฆาตฺ, ซ้อน คฺ)
ทิฏฺฐนฺต (ทิส เปกฺขเน+อนฺต) ตัวอย่าง, อุทาหรณ์.
ทสฺสียเต อเนนาติ ทิฏฺฐนฺโต ตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจความหมาย ชื่อว่าทิฏฐันตะ (อาเทศ ทิสฺ เป็น ทิฏฺฐฺ)
อุทาหรณ (อุ,อา+หร หรเณ+ยุ) ตัวอย่าง, อุทาหรณ์.
ปกตสฺโสปปาทนา อุทาหรียตีติ อุทาหรณํ ตัวอย่างที่ท่านนำมาแสดงเพื่อให้เข้าใจต่อสิ่งที่ทำ ชื่อว่าอุทาหรณะ (ลง ทฺ อาคม, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ)
[๑๑๖] สมา สงฺเขปสํหารา สมาโส สงฺคโห ปฺยถ
สตํ ธารยสี ตฺยาทฺย- พฺภกฺขานํ ตุจฺฉภาสนํ.
ย่อ, สังเขป, รวบรวม ๔ ศัพท์
บทว่า สมา ในคาถาแสดงให้รู้ว่า ทั้ง ๔ ศัพท์ต่อไปนี้ มีความหมายเดียวกัน
สงฺเขป (สํ+ขิป เปรเณ+ณ) ย่อ, สังเขป, รวบรวม.
สงฺขิปียเต เอกเทสโต กถียตีติ สงฺเขโป เนื้อความที่ท่านย่อกล่าวเป็นเรื่องเดียวกัน ชื่อว่าสังเขปะ (อาเทศนิคหิตเป็น งฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). สงฺเขปวิตฺถารํ นยํ ๒ นัยทั้งย่อและพิสดาร
สํหาร (สํ+หร หรเณ+ณ) ย่อ, สังเขป, รวบรวม.
สํหรียเต สงฺเขเปน ปจฺจาขฺยายเต เอเตนาติ สํหาโร เนื้อความที่นำมากล่าวโดยย่อ ชื่อว่าสังหาระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
สมาส (สํ+อสุ สงฺขิปเน+ณ) ย่อ, สังเขป, รวบรวม, หมวดหมู่.
สมสฺยเต สงฺขิปียเตติ สมาโส บทที่ท่านย่อเข้า ชื่อว่าสมาสะ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
๑ วิ.ปริ. ๘/๑๑๑๘/๔๒๓ ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๓๘/๒๔๔
๑๗๒
สงฺคห (สํ+คห อุปาทาเน+อ) ย่อ, สังเขป, รวบรวม.
สงฺเขเปน คยฺหเต อเนนาติ สงฺคโห เนื้อความที่ท่านถือเอาโดยย่อ ชื่อว่าสังคหะ (อาเทศนิคหิตเป็น งฺ). ปญฺจนฺนํ อุปาทานกฺขนฺธานํ สงฺคโห๑ หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕
คำกล่าวตู่, คำใส่ร้าย, คำกล่าวหา ๒ ศัพท์
อพฺภกฺขาน (อภิ+อกฺขาน) คำกล่าวตู่, คำใส่ร้าย, คำกล่าวหา.
"ตฺวํ สตํ สุวณฺณํ ธารยสิ"อิตฺยาทิกํ ตุจฺฉภาสนํ อภูตภาสนํ อพฺภกฺขานํ นาม คำกล่าวตู่ที่ไม่เป็นความจริงเป็นต้นว่า เธอเป็นหนี้ฉัน ๑๐๐ สุวรรณ ชื่อว่าอัพภักขานะ (อาเทศ อภิ เป็น อพฺภ, ลบสระหน้า). อสจฺเจน อกฺขานํ ภาสนํ อพฺภกฺขานํ การกล่าวคำไม่จริง ชื่อว่าอัพภักขานะ
ตุจฺฉภาสน (ตุจฺฉ+ภาสน) คำกล่าวตู่, คำใส่ร้าย, คำกล่าวหา.
ตุจฺฉสฺส อภูตสฺส ภาสนํ ตุจฺฉภาสนํ การพูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง ชื่อว่าตุจฉภาสนะ
[๑๑๗] โวหาโร ตุ วิวาโทถ สปนํ สปโถ ปิ จ
ยโส สิโลโก กิตฺติตฺถี โฆสนา ตุจฺจสทฺทนํ.
ข้อพิพาท, การถกเถียง, คดีฟ้องร้อง, ความแตกแยก ๒ ศัพท์
โวหาร (วิ,อว+หร หรเณ+ณ) ข้อพิพาท, การถกเถียง, คดีฟ้องร้อง, ความแตกแยก.
วิรุทฺธํ กตฺวา อวหรติ วทตีติ โวหาโร การนำเรื่องที่ขัดแย้งกันมาพูด ชื่อว่าโวหาระ (อาเทศ อว เป็น โอ, ลบสระ อิ หน้า, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
วิวาท (วิ+วท กถเน+ณ) ข้อพิพาท, การถกเถียง, คดีฟ้องร้อง, ความแตกแยก.
วิรุทฺธํ กตฺวา วทติ ยนฺติ วิวาโท คำพูดที่ทำให้แตกแยก ชื่อว่าวิวาทะ (ลบ ณ, วุทธิ อ เป็น อา). โส สงฺเฆ วิวาทํ ชเนติ๒ ภิกษุนั้นยังความวิวาทให้เกิดในสงฆ์
การสบถ, สาบาน ๒ ศัพท์
สปน (สป อกฺโกเส+ยุ) การสบถ, สาบาน.
"มุสาวาทํ วทนฺโต โฆรานิ ตฺวํ นรกานิ ยาสี"ตฺยาทิสรูปํ สปนํ คำเช่นนี้เป็นต้นว่า ท่านพูดไม่จริง ขอให้ไปสู่ภัยอันตรายหรือตกนรก ชื่อว่าสปนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)
สปถ (สป อกฺโกเส+ถ) การสบถ, สาบาน.
สปนํ สปโถ การสบถ ชื่อว่าสปถะ. ปาณิญฺจ อคฺคเหสุํ สปถญฺจ อกํสุ๓ จับพระหัตถ์กันแล้วสาบานต่อกัน
๑ มชฺ.มูล. ๑๒/๓๔๖/๓๕๙ ๒ วิ.จุลฺล. ๖/๖๓๘/๓๓๗ ๓ วิ.มหา. ๕/๒๔๔/๓๓๓
๑๗๓
เกียรติ, ยศ, ชื่อเสียง, ความสรรเสริญ ๓ ศัพท์
ยส (ยช เทวปูชายํ+อ) เกียรติ, ยศ, ชื่อเสียง.
ยชติ เอเตนาติ ยโส เครื่องบูชา (ผู้มีความดี) ชื่อว่ายสะ (อาเทศ ชฺ เป็น สฺ). สพฺพตฺถ ยาตีติ วา ยโส หรือเกียรติที่ติดตามไปทุกที่ ชื่อว่ายสะ (ยา คมเน+ส, รัสสะ อา เป็น อ)
ฉนฺทา โทสา ภยา โมหา โย ธมฺมํ อติวตฺตติ
นหียติ ตสฺส ยโส กาฬปกฺเขว จนฺทิมา.๑
บุคคลใดล่วงเกินพระธรรมเพราะความพอใจ เพราะโกรธ เพราะกลัว เพราะหลงผิด ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อมไป เหมือนดวงจันทร์ในคืนข้างแรม ฉะนั้น
สิโลก (สิโลก สงฺฆาเต+อ) เกียรติ, ยศ, ชื่อเสียง.
สิโลกติ ปตฺถรตีติ สิโลโก ชื่อเสียงที่ขจรไป ชื่อว่าสิโลกะ. อภินิปฺผนฺโน โข ปน ตสฺส ภควโต ลาโภ อภินิปฺผนฺโน สิโลโก๒ ลาภและสรรเสริญบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
กิตฺติ (กิตฺต สทฺทเน+อิ) เกียรติ, ยศ, ชื่อเสียง.
กิตฺตียเต กถียเตติ กิตฺติ เกียรติที่บุคคลกล่าวขานถึง ชื่อว่ากิตติ
อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ อคฺคํ ปุญฺํ ปวฑฺฒติ
อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ.๓
บุญอันเลิศ อายุ วรรณะ ยศ ชื่อเสียง ความสุข และกำลังอันเลิศ
ย่อมเจริญแก่ผู้ถวายทานในท่านผู้เลิศ
การประกาศ, โฆษณา
โฆสนา (ฆุส สทฺเท+ยุ+อา) การประกาศ, โฆษณา.
อุจฺจสทฺทนํ อุจฺจธนินา สทฺทนํ โฆสนา นาม การส่งเสียงดัง ชื่อว่าโฆสนา. ฆุสนํ สทฺทนํ โฆสนา การประกาศ ชื่อว่าโฆสนา. พุทฺโธติ โฆสนํ สุตฺวา ปีติ เม อุปปชฺชถ๔ เพราะได้ยินคำประกาศว่า พระพุทธเจ้า ปีติจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์
[๑๑๘] ปฏิโฆโส ปฏิรโว- โถปญฺญาโส วจีมุขํ
กตฺถนา จ สิลาฆา จ วณฺณนา จ นุติตฺถุติ.
[๑๑๙] โถมนํ จ ปสํสาถ เกกา นาโท สิขณฺฑินํ
คชานํ โกญฺจนาโทถ มตา เหสา หยทฺธนิ.
เสียงสะท้อน, เสียงก้อง ๒ ศัพท์
ปฏิโฆส (ปฏิ+ฆุส โฆสเน+ณ) เสียงสะท้อน, เสียงก้อง.
ฆุสนํ โฆโส เสียงก้อง ชื่อว่าโฆสะ. โฆสํ ปฏิคโต ปฏิโฆโส เสียงที่สะท้อนกลับไปสู่เสียง ชื่อว่าปฏิโฆสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). โฆสสฺส ปฏิรูโป ปฏิโฆโส การสะท้อนกลับไปของเสียง ชื่อว่าปฏิโฆสะ
ปฏิรว (ปฏิ+รุ สทฺเท+ณ) เสียงสะท้อน, เสียงก้อง.
รวํ ปฏิคโต ปฏิรโว เสียงที่ดังสะท้อนกลับสู่เสียงเดิม ชื่อว่าปฏิรวะ. รวสฺส ปติรูโป ปฏิรโว การกลับไปของเสียง ชื่อว่าปฏิรวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว)
เสียงสะท้อนมีอีกหลายศัพท์ เช่น ปฏิสุติ, ปฏิทฺธนิ
๑ วิ.ปริ. ๘/๑๑๐๒/๔๑๕ ๒ ที.มหา. ๑๐/๒๑๑/๒๕๕ ๓ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๓๔/๔๕
๔ ขุ.อปทาน. ๓๒/๓๙๔/๕๐๓
๑๗๔
คำขึ้นต้น, คำปรารภ, คำนำ ๒ ศัพท์
อุปญฺญาส (อุป,นิ+อาส อุปเวสเน+อ) คำขึ้นต้น, คำปรารภ, คำนำ.
วจีมุขํ วจโนปกฺกโม อุปญฺญาโส นาม คำขึ้นต้นที่กล่าวก่อนคำอื่น ชื่อว่าอุปัญญาสะ (อาเทศ อิ ที่ นิ เป็น ยฺ, นฺยฺ เป็น ญฺฺ, ซ้อน ญ). อุป ปฐมํ ปุริมวจนสฺส สมีปํ วา นฺยาโส ฐปนํ อุปญฺญาโส คำที่ตั้งไว้ก่อนหรือใกล้คำเริ่มต้น ชื่อว่าอุปัญญาสะ (อุป+นฺยาส, อาเทศ นฺยฺ เป็น ญฺฺ, ซ้อน ญ)
วจีมุข (วจี+มุข) คำขึ้นต้น, คำปรารภ, คำนำ.
วจิยา วาจาย มุขํ วจีมุขํ การเริ่มต้นแห่งถ้อยคำ ชื่อว่าวจีมุขะ
ยกย่อง, สรรเสริญ, ชม, พรรณนาคุณ ๗ ศัพท์
กตฺถนา (กตฺถ สิลาฆายํ+ยุ+อา) ยกย่อง, สรรเสริญ, ชม.
กถนํ อสรูปทฺวิภาววเสน กตฺถนา การกล่าวให้ต่างออกไปเป็นทวีคูณ ชื่อว่ากัตถนา (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า)
สิลาฆา (สิลาฆ กตฺถเน+อ+อา) ยกย่อง, สรรเสริญ, ชม, พรรณนาคุณ.
สิลาฆนํ สิลาฆา การสรรเสริญ ชื่อว่าสิลาฆา (ลบสระหน้า). สีลสฺส วา สภาคคุณสฺส อาหนนํ สีลาฆา หรือการยกย่องผู้มีศีลหรือผู้มีคุณเสมอกัน ชื่อว่าสิลาฆา (สีล+อา+หน หึสายํ+อ+อา, รัสสะ อี เป็น อิ, อาเทศ หนฺ เป็น ฆ, ลบสระหน้า)
วณฺณนา (วณฺณ ปสํสายํ+ยุ+อา) ยกย่อง, สรรเสริญ, ชม, พรรณนาคุณ.
วณฺณียเตติ วณฺณนา คุณที่ท่านพรรณนา ชื่อว่าวัณณนา (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า)
นุติ (นุ ถุติยํ+ติ) ยกย่อง, สรรเสริญ, ชม.
นุยเต นุติ การสรรเสริญ ชื่อว่านุติ
ถุติ (ถุ อภิตฺถเว+ติ) ยกย่อง, สรรเสริญ, ชม.
ถวนํ ถุติ การชมเชย ชื่อว่าถุติ
โถมน (โถม สิลาฆายํ+ยุ) ยกย่อง, สรรเสริญ, ชม, พรรณนาคุณ.
โถมิยเตติ โถมนํ ความดีที่ท่านยกย่อง ชื่อว่าโถมนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน). ปสํสํ โถมนํ กิตฺตึ วณฺณหาริยํ อิจฺฉนฺโต๑ เมื่ออยากได้การสรรเสริญ การชม ชื่อเสียง การยกย่อง
ปสํสา (ป+สํส ปสํสเน+อ+อา) ยกย่อง, สรรเสริญ, ชม, พรรณนาคุณ.
ปสํสนํ ปสํสา การสรรเสริญ ชื่อว่าปสังสา (ลบสระหน้า). อฏฺฐ โลกธมฺมา ลาโภ จ อลาโภ จ ยโส จ อยโส จ นินฺทา จ ปสํสา จ สุขญฺจ ทุกฺขญฺจ๒ โลกธรรมมี ๘ ประการ คือ ลาภ ไม่มีลาภ ยศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์
เสียงนกยูงร้อง
เกกา (เกสทฺทูปปท+กา สทฺเท+กฺวิ) เสียงนกยูงร้อง.
สิขณฺฑีนํ มยูรานํ นาโท นทรโว เกกา นาม เสียงร้องของนกยูง ชื่อว่าเกกา. "เก" อิติ กายตีติ เกกา นกยูงร้องว่า เก จึงชื่อว่าเกกา (ลบ กฺวิ ปัจจัย)
เสียงช้างร้อง
โกญฺจนาท (โกญฺจ+นาท) เสียงช้างร้อง.
คชานํ นาโท โกญฺฺจนาโท นาม เสียงร้องของช้าง ชื่อว่าโกญจนาทะ. โกฺญฺจสกุณนาทสทิโส นาโท โกญฺจนาโท เสียงร้องเหมือนเสียงนกกระเรียน จึงชื่อว่าโกญจนาทะ. นทีตีเร ฐตฺวา โสณฺฑํ มุเข ปกฺขิปิตฺวา โกญฺจนาทํ กโรนฺตานํ ๓ ฝูงช้างยืนอยู่ฝั่งแม่น้ำสอดงวงเข้าปากแล้ว เปล่งเสียงร้องดุจเสียงนกกระเรียน
เสียงม้าร้อง
เหสา (เหส อพฺยตฺตสทฺเท+อ+อา) เสียงม้าร้อง.
หยานํ อสฺสานํ ธนิ สทฺโท เหสา นาม เสียงร้องของม้า ชื่อว่าเหสา (ลบสระหน้า). หสนํ เห อิติ ปวตฺตตีติ วา เหสา หรือเสียงร้องที่ไม่ชัดเจน หรือเสียงร้องว่า เห ชื่อว่าเหสา (เห+ส+อา, ลบสระหน้า)
๑ ขุ.มหานิ. ๒๙/๒๘๐/๒๐๐ ๒ ที.ปาฏิก. ๑๑/๓๔๗/๒๗๓ ๓ วิ.อฏฺ. ๑/๖๒๗
๑๗๕
[๑๒๐] ปริยาโย เววจนํ สากจฺฉา ตุ จ สํกถา
อุปวาโท จุปกฺโกสา- วณฺณวาทานุวาโท จ
ชนวาทาปวาทา ปิ ปริวาโท จ ตุลฺยตฺถา.
ไวพจน์, ปริยาย ๒ ศัพท์
ปริยาย (ปริ+อย คมเน+ณ) ไวพจน์.
ปริพฺยตฺตมตฺถํ อยนฺติ คจฺฉนฺติ พุชฺฌนฺติ เอเตนาติ ปริยาโย ไวพจน์ศัพท์ช่วยให้บัณฑิตรู้เนื้อความได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงชื่อว่าปริยายะ (ลง ยฺ อาคมหน้าธาตุ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อตฺถิ เขฺวส พฺราหฺมณ ปริยาโย เยน มํ ปริยาเยน สมฺมา วทมาโน วเทยฺย อรสรูโป สมโณ โคตโมติ๑ พราหมณ์ ปริยายนี้มีอยู่ เขาเรียกเราถูกต้องโดยปริยายว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ไม่มีเยื่อไย
เววจน (วิ+วจ วิยตฺติยํ วาจายํ+ยุ) ไวพจน์.
เอโก อตฺโถ ปุนปฺปุนํ วุจฺจติ อเนนาติ เววจนํ ศัพท์ไวพจน์ที่ท่านนำมากล่าวเนื้อความเดียวกันหลายศัพท์ ชื่อว่าเววจนะ (อาเทศ อิ เป็น เอ, ยุ เป็น อน). นครนฺติ ตสฺเสว เววจนนฺติ ทฏฺฐพฺพํ ๒ คำว่า "นคร" พึงทราบว่าเป็นคำไวพจน์ของเมืองนั้นนั่นแหละ
การสนทนา ๒ ศัพท์
สากจฺฉา (สห+กถ กถเน+ฉ+อา) การสนทนา.
สห สมฺมา วา อวิโรเธน กถา สากจฺฉา การพูดกันด้วยดี หรือไม่ขัดแย้งกัน ชื่อว่าสากัจฉา (อาเทศ สห เป็น ส, ทีฆะ อ เป็น อา, อาเทศ ถฺ เป็น จฺ, ลบสระหน้า). สทฺธึ กถนนฺติ สากจฺฉา การกล่าวร่วมกัน ชื่อว่าสากัจฉา (สํ+กถ กถเน+ณฺย+อา, ลบ ณฺ, อาเทศ สํ เป็น สา, ถฺย เป็น ฉ, ซ้อน จฺ, ลบสระหน้า). ปุพฺเพปิ จ อิมสฺมึ ปเท มหาเถรานํ สากจฺฉา อโหสิ๓ แม้ในกาลก่อน พระมหาเถระก็พากันสนทนาในบทนี้
สํกถา (สํ+กถ กถเน+อ+อา) การสนทนา.
สมฺมา อวิโรเธน กถา สํกถา การพูดกันด้วยดี หรือไม่ขัดแย้งกัน ชื่อว่าสังกถา (ลบสระหน้า)
การติเตียน, การนินทา, การต่อว่า, การกล่าวหาโทษ, การดูถูก ๗ ศัพท์
อุปวาท (อุป+วท กถเน+ณ) การติเตียน, การนินทา, การต่อว่า, การกล่าวหาโทษ, การดูถูก. โทสกฺขาเนน วทนํ อุปวาโท การพูดโดยกล่าวหาโทษ ชื่อว่าอุปวาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อุปวาทํ ภิกฺขุ น กเรยฺย กุหิญฺจิ๔ ภิกษุไม่ควรกล่าวคำติเตียนในที่ไหนๆ. ปเร เอวํ อุปวาทญฺจ อุปารมฺภญฺจ ครหญฺจ ปวตฺเตยฺยุํ ๕ ในกาลก่อนก็พากันกล่าวตำหนิติเตียน ครหาอย่างนี้
อุปกฺโกส, ปกฺโกส (อุป+กุส อวฺหานเภทเนสุ+ณ) การติเตียน, การนินทา, การต่อว่า, การกล่าวหาโทษ, การดูถูก.
อุปกฺโกสตีติ อุปกฺโกโส, ปกฺโกโส ผู้ต่อว่า ชื่อว่าอุปักโกสะและปักโกสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ)
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๒/๒ ๒ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๓๖๙/๒๒๗ ๓ ที.อฏฺ. ๕/๓๗๓/๓๖๐
๔ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๔๒๑/๕๑๖ ๕ วิ.อฏฺ.๑/๒๒๑
๑๗๖
อวณฺณวาท (น+วณฺณ+วาท) การติเตียน, การนินทา, การต่อว่า, การกล่าวหาโทษ, การดูถูก.
วณฺโณ ถุติ, ตสฺส อวทนํ อวณฺณวาโท วัณณะคือคำสรรเสริญ, คำพูดที่เหยียบย่ำคำสรรเสริญนั้น ชื่อว่าอวัณณวาทะ (อาเทศ น เป็น อ). อยํ อิตฺถนฺนาโม สามเณโร พุทฺธสฺส ธมฺมสฺส สงฺฆสฺส อวณฺณวาที มิจฺฉาทิฏฺฐิโก๑ สามเณรรูปนี้ ชื่ออย่างนี้ เป็นคนมีความเห็นผิด กล่าวตำหนิพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์
อนุวาท (อนุ+วท กถเน+ณ) การติเตียน, การนินทา, การต่อว่า, การกล่าวหาโทษ, การดูถูก.
หีฬเนน วทนํ อนุวาโท การพูดโดยดูถูก ชื่อว่าอนุวาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). น อนุวาทํ ปฏฺฐเปติ๒ ไม่เริ่มกล่าวหาโทษกัน
ชนวาท (ชนสทฺทูปปท+วท กถเน+ณ) การติเตียน, การนินทา, การต่อว่า, การกล่าวหาโทษ, การดูถูก.
ชนานํ วาโท ครหณํ ชนวาโท คำครหาของผู้คน ชื่อว่าชนวาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
อปวาท (อป+วท กถเน+ณ) การติเตียน, การนินทา, การต่อว่า, การกล่าวหาโทษ, การดูถูก.
ครหเณน วาโท อปวาโท การพูดครหา ชื่อว่าอปวาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อิมํ อปวาทํ ชิคุจฺฉนฺโต๓ รังเกียจคำนินทานี้
ปริวาท (ปริ+วท กถเน+ณ) การติเตียน, การนินทา, การต่อว่า, การกล่าวหาโทษ, การดูถูก.
ปริวทนํ ปริวาโท การต่อว่า ชื่อว่าปริวาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
ตุลฺยตฺถาศัพท์ในคาถา บอกให้รู้ว่า ทั้ง ๗ ศัพท์มีความหมายเหมือนกัน
[๑๒๑] เขโป นินฺทา ตถา กุจฺฉา ชิคุจฺฉา ครหา ภเว
นินฺทาปุพฺโพ อุปารมฺโภ ปริภาสนมุจฺจเต.
การตำหนิ, การติเตียน, การนินทาลับหลัง ๕ ศัพท์
เขป (ขิป เปรเณ+อ) การตำหนิ, การนินทา.
ขิปนํ พหิกรณํ เขโป การตำหนิลับหลัง ชื่อว่าเขปะ (วุทธิ อิ เป็น เอ)
นินฺทา (นิทิ กุจฺฉายํ+นิคฺคหีตาคม+อ+อา) การตำหนิ, การติเตียน, การนินทา.
นินฺทนํ นินฺทา การตำหนิ ชื่อว่านินทา (อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, ลบสระหน้า). สพฺพํ ปสํสํ นินฺทา โอสาเปติ๔ การนินทาทำให้การสรรเสริญทุกอย่างสิ้นสุดลง
กุจฺฉา (กุจฺฉ อวกฺเขปเน+อ+อา) การตำหนิ, การติเตียน, การนินทา.
กุจฺฉนํ กุจฺฉา การตำหนิ ชื่อว่ากุจฉา (ลบสระหน้า)
ชิคุจฺฉา (คุป โคปกุจฺฉเนสุ+ฉ+อา) การตำหนิ, การติเตียน, การนินทา.
ชิคุจฺฉนํ ชิคุจฺฉา การตำหนิ (หรือการรังเกียจ) ชื่อว่าชิคุจฉา (เทฺวภาวะ คุ ตัวต้นธาตุเป็น คุคุ, อาเทศ ค ตัวหน้าเป็น ช, อุ เป็น อิ, ปฺ เป็น จฺ, ลบสระหน้า)
ครหา (ครห กุจฺฉเน+อ+อา) การตำหนิ, การติเตียน, การนินทา, การครหา.
ครหณํ ครหา การตำหนิ ชื่อว่าครหา (ลบสระหน้า)
๑ วิ.อฏฺ. ๓/๖๑๗ ๒ วิ.จุลฺล. ๖/๔๑/๑๖ ๓ ขุ.อฏฺ. ๕๒/๓๒๘/๒๘๑
๔ ขุ.มหานิ. ๒๙/๘๐๔/๕๐๐
๑๗๗
การตำหนิต่อหน้า, การต่อว่า, การบริภาษ, การด่า ๓ ศัพท์
อุปารมฺภ (อุป,อา+รภิ อารมฺเภ+นิคฺคหีตาคม+อ) การตำหนิต่อหน้า, การต่อว่า, การ บริภาษ, การด่า.
วิวาทกามสฺส ทุพฺพาโท อุปารมฺโภ คำพูดไม่ดีของผู้ต้องการทะเลาะ ชื่อว่า อุปารัมภะ (ลบสระหน้า, อาเทศนิคหิตเป็น มฺ). นินฺทาปุพฺโพ สนินฺโท อุปารมฺโภ การตำหนิต่อหน้าพร้อมคำนินทา ชื่อว่าอุปารัมภะ. อุปคนฺตฺวา ปเรสํ จิตฺตสฺส อารมฺภนํ วิโกปนํ อุปารมฺโภ การเข้าไปหาแล้วพูดทำลายน้ำใจของบุคคลอื่น ชื่อว่าอุปารัมภะ (ลบสระหน้า). อุปารมฺภํ น สิกฺเขยฺย๑ ภิกษุไม่ควรศึกษาคำตำหนิกัน
ปริภาสน (ปริ+ภาส กถเน+ยุ) การตำหนิต่อหน้า, การต่อว่า, การบริภาษ, การด่า.
โทสกฺขาเนน ภาสนํ ปริภาสนํ การพูดโดยกล่าวหาโทษ ชื่อว่าปริภาสนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน). อภิวิเสเสน อกฺโกสนํ ปริภาสนํ ๒ การต่อว่าหลายอย่าง ชื่อว่าปริภาสนะ
[๑๒๒] อฏฺฐานริยโวหาร- วเสน ยา ปวตฺติตา
อภิวากฺยํ สิยา วาจา สา วีติกฺกมทีปนี.
คำพูดล่วงเกิน
คำพูดใด เป็นไปด้วยอำนาจแห่งอนริยโวหาร ๘ อย่าง อันแสดงซึ่งการล่วงเกิน คำพูดนั้น ชื่อว่าอภิวากยะ
อฏฺฐ อนริยโวหารา อทิฏฺฐํ ทิฏฺฐํ เมติ อสฺสุตํ สุตํ เมติ อมุตํ มุตํ เมติ อวิญฺญาตํ วิญฺญาตํ เมติ ทิฏฺฐํ อทิฏฺฐํ เมติ สุตํ อสฺสุตํ เมติ มุตํ อมุตํ เมติ วิญฺญาตํ อวิญฺญาตํ เมติ๓ อนริยโวหาร คำที่พระอริยเจ้าไม่พูดกัน ๘ อย่าง คือ ไม่เห็นก็พูดว่าข้าพเจ้าเห็น ไม่ได้ยินก็พูดว่าข้าพเจ้าได้ยิน ไม่รู้ก็พูดว่าข้าพเจ้ารู้ ไม่เข้าใจก็พูดว่าข้าพเจ้าเข้าใจ เห็นก็พูดว่าข้าพเจ้าไม่เห็น ได้ยินก็พูดว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน รู้ก็พูดว่าข้าพเจ้าไม่รู้ เข้าใจก็พูดว่าข้าพเจ้าไม่เข้าใจ
อภิวากฺย (อภิ+วากฺย) คำพูดล่วงเกิน.
อริยชเนหิ วตฺตพฺพมริยาทาติกฺกมตฺตา อภิวากฺยํ นาม เพราะเป็นคำพูดยิ่งกว่าปรกติ ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าว ชื่อว่าอภิวากยะ
[๑๒๓] มุหุํภาสานุลาโปถ ปลาโปนตฺถิกา คิรา
อาโทภาสนมาลาโป วิลาโป ตุ ปริทฺทโว.
คำพูดพล่าม ๒ ศัพท์
มุหุํภาสา (มุหุํ+ภาสา) คำพูดพล่าม.
มุหุํ พหุโส ปุนปฺปุนํ วา ภาสา อภิธานํ มุหุํภาสา การพูดมาก หรือพูดซ้ำซาก ชื่อว่ามุหุงภาสา
อนุลาป (อนุ+ลป กถเน+ณ) คำพูดพล่าม.
อนุ ปุนปฺปุนํ ลาโป อนุลาโป การพูดบ่อยๆ ชื่อว่าอนุลาปะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
๑ องฺ.ติก. ๒๐/๕๐๗/๒๕๕ ๒ ขุ.อฏฺ. ๔๙/๘๒/๑๔๓ ๓ วิ.มหาวิ. ๒/๑๗๔/๑๕๔-๕
๑๗๘
คำพูดเพ้อเจ้อ, พร่ำเพ้อ
ปลาป, สมฺผปฺปลาป (ป+ลป กถเน+ณ) คำพูดเพ้อเจ้อ.
อนตฺถิกา คิรา นิปฺปโยชนํ อุมฺมตฺตาทิวจนํ ปลาโป คำพูดที่ไม่มีสาระประโยชน์ เช่นพูดว่า "บ้า" ชื่อว่าปลาปะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ปโยชนรหิโต ลาโป ปลาโป คำพูดที่เว้นจากประโยชน์ ชื่อว่าปลาปะ. วาจา ปลาโป วิปฺปลาโป ลาลุปฺโป๑ บ่นถึง พร่ำเพ้อ ร่ำไห้ พิไรรำพัน
คำทักทาย ๒ ศัพท์
อาโทภาสน (อาทิสทฺทูปปท+ภส วิยตฺติยํ วาจายํ+ยุ) คำทักทาย.
คมนาคมนาทิสมเย อาทิมฺหิ ภาสนํ ปิยวจนํ อาโทภาสนํ คำไพเราะที่พูดก่อนในเวลาไปมาหาสู่กันเป็นต้น ชื่อว่าอาโทภาสนะ (อาเทศ อิ เป็น โอ, ยุ เป็น อน, วุทธิ อ เป็น อา)
อาลาป (อา+ลป กถเน+ณ) คำทักทาย.
อาทิมฺหิ ลาโป อาลาโป คำพูดเริ่มต้น ชื่อว่าอาลาปะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ส่วนคำอำลา เรียกว่า อาปุจฉา
การร้องไห้คร่ำครวญ, ความร่ำไร, ความรำพัน ๒ ศัพท์
ปริทฺทว (ปริ+เทวุ ปริเทวเน+อ) การร้องไห้คร่ำครวญ, ความร่ำไร, ความรำพัน.
โทเสน ปติฏฺฐิตํ ปริเทวนํ ปริเทโว, โส เอว ปริทฺทโว การร้องไห้คร่ำครวญที่มีความไม่พอใจเป็นที่ตั้ง ชื่อว่าปริเทวะ, ปริเทวะนั่นแหละ ชื่อว่าปริททวะ (อาเทศ เอ เป็น อ, ซ้อน ทฺ). กถํ ธีรา โอฆญฺจ ชาติชฺชรญฺจ โสกญฺจ ปริทฺทวญฺจ ตรนฺติ๒ บัณฑิตท่านข้ามห้วงกิเลส การเกิด ความแก่ ความเศร้าโศกและคร่ำครวญได้อย่างไร
วิลาป (วิ+ลป กถเน+ณ) การร้องไห้คร่ำครวญ, ความร่ำไร, ความรำพัน.
อนุโสจนํ อภิกฺกมลาโป วิลาโป นาม การคร่ำครวญตามความเศร้าโศก ชื่อว่าวิลาปะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). วิวิเธน วิวิธํ วา ลาโป วิลาโป การคร่ำครวญต่างๆ นานา ชื่อว่าวิลาปะ (วิ+ลาป). คำพูดตรงกันข้าม ขัดแย้ง หรือโต้ตอบ ชื่อว่าวิปปลาปะ, คำพูดที่แสดงเนื้อความตามเหตุตามผล ชื่อว่าวาจิกะ, คำพูดที่เว้นจากการขัดแย้งซึ่งกันและกัน ชื่อว่าสัมภาสนะและสัลลาปะ
[๑๒๔] วิปฺปลาโป วิโรโธตฺติ สนฺเทโสตฺติ ตุ วาจิกํ
สมฺภาสนํ ตุ สลฺลาโป วิโรธรหิตํ มิถุ.
คำพูดตรงข้าม, คำขัดแย้ง ๒ ศัพท์
วิปฺปลาป (วิ,ป+ลป กถเน+ณ) คำพูดตรงข้าม, คำขัดแย้ง.
วิรุทฺธํ ปลาโป วิปฺปลาโป คำพูดที่ตรงข้ามกัน ชื่อว่าวิปปลาปะ (ซ้อน ปฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ ที่ ล เป็น อา)
วิโรโธตฺติ (วิโรธ+อุตฺติ) คำพูดตรงข้าม, คำขัดแย้ง.
วิรุทฺธํ อุตฺติ วจนํ วิโรโธตฺติ คำพูดขัดแย้งกัน ชื่อว่าวิโรโธตติ (ลบสระหน้า, วิการสระ อุ หลังเป็น โอ)
๑ ขุ.มหานิ. ๒๙/๒๐๖/๑๕๔ ๒ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๑๖๓/๘๒
๑๗๙
คำพูดมีเหตุผล ๒ ศัพท์
สนฺเทโสตฺติ (สนฺเทส+อุตฺติ) คำพูดมีเหตุผล.
สนฺทิสฺสเตติ สนฺเทโส, สนฺทิสฺสมาโน อตฺโถ, ตสฺโสตฺติ สนฺเทโสตฺติ เหตุผลที่ยกมาแสดง ชื่อว่าสันเทสะ, หมายถึงที่กำลังแสดงอยู่, คำพูดตามเหตุผลที่ยกมาแสดงนั้น ชื่อว่าสันเทโสตติ (ลบสระหน้า, วิการ อุ เป็น โอ)
วาจิก (วจ สนฺเทเส+ณิก) คำพูดมีเหตุผล.
ยาย สนฺทิฏฺโฐ อตฺโถ อภิธียเต, สา สนฺเทโสตฺติ วาจิกมุจฺจเต คำพูดที่ยกเนื้อความซึ่งเห็นได้มากล่าวแสดงเหตุผล เรียกว่าวาจิกะ. สนฺทิฏฺฐตฺถา วาจา เอว วาจิกมิจฺจตฺโถ หมายถึงคำพูดที่ให้เห็นเนื้อความชัดเจน ชื่อว่าวาจิกะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
คำพูดคุย, คำสนทนา, คำคล้อยตามกัน ๒ ศัพท์
มิถุ อญฺญมญฺญํ วิโรธรหิตํ วจนํ "สมฺภาสนํ สลฺลาโป"ติ จ วุจฺจติ คำพูดที่ไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกันท่านเรียกว่า สัมภาสนะ และ สัลลาปะ
สมฺภาสน (สํ+ภส วิยตฺติยํ วาจายํ+ยุ) คำพูดคุย, คำสนทนา, คำคล้อยตามกัน.
สํ สมานํ ภาสนํ สมฺภาสนํ คำพูดที่เสมอกัน ชื่อว่าสัมภาสนะ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ยุ เป็น อน)
สลฺลาป (สํ+ลป กถเน+ณ) คำพูดคุย, คำสนทนา, คำคล้อยตามกัน.
สํ สมานํ ลาโป สลฺลาโป คำพูดสนทนากัน ชื่อว่าสัลลาปะ (อาเทศนิคหิตเป็น ลฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา) คำพูดหยาบคาย ชื่อว่าผรุสะ, คำพูดอันยังใจให้ยินดี ชื่อว่าหทยังคมะ (คำพูดจับใจ พูดดี พูดเพราะ), สํกุลและกิลิฏฺฐศัพท์เป็นไปในคำพูดที่ตรงกันข้ามทั้งด้านหน้าและด้านหลัง(คำโต้แย้ง)
[๑๒๕] ผรุสํ นิฏฺฐุรํ วากฺยํ มนุญฺญํํ หทยงฺคมํ
สํกุลํ ตุ กิลิฏฺฐํ จ ปุพฺพาปรวิโรธินี.
คำพูดหยาบคาย ๒ ศัพท์
ผรุส (ปร+อุส ทาเห+อ) คำพูดหยาบคาย.
นิฏฺฐุรํ วากฺยํ กกฺกสวจนํ ผรุสํ นาม คำพูดหยาบคายกักขระ ชื่อว่าผรุสะ. ปเร ชเน อุสฺสาเปติ ทาเหตีติ ผรุสํ คำพูดที่ทำให้คนอื่นร้อนใจ ชื่อว่าผรุสะ (อาเทศ ป เป็น ผ, ลบสระหน้า). จตฺตาริ วจีทุจฺจาริตานิ มุสาวาโท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สมฺผปฺปลาโป๑ วจีทุจริตมี ๔ อย่าง คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ
นิฏฺฐุร (นิ+ฐา คตินิวตฺติยํ+อุร) คำพูดหยาบคาย.
อสวนียตฺตา น อิจฺฉิตพฺพนฺติ นิฏฺฐุรํ คำพูดอันไม่พึงปรารถนา เพราะเป็นคำไม่น่าฟัง ชื่อว่านิฏฐุระ (ซ้อน ฏฺ, ลบสระหน้า)
คำพูดจับใจ, คำไพเราะหู ๒ ศัพท์
มนุญฺญ (มน+ญา ปริมาณโตสนนิสาเนสุ+อ) คำพูดจับใจ, คำไพเราะหู.
มนํ อาภุสํ ญาเปติ โตเสตีติ มนุญฺํญํ คำพูดที่ยังใจให้ยินดียิ่ง ชื่อว่ามนุญญะ (อาเทศ อ ของ มน เป็น โอ, โอ เป็น อุ, ซ้อน ญฺ, ลบสระหน้า). มนุญฺญเมว ภาเสยฺย นามนุญฺญํํ กุทาจนํ ๒ ควรพูดคำไพเราะเท่านั้น ไม่ควรพูดคำไม่ไพเราะ ในกาลไหนๆ
หทยงฺคม (หทยสทฺทูปปท+คมุ คติมฺหิ+อ) คำพูดจับใจ, คำไพเราะหู.
หทยํ มนํ คจฺฉติ ปวิสตีติ หทยงฺคมํ คำพูดที่เข้าถึงใจ ชื่อว่าหทยังคมะ (ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ). มนาปิกํ สทฺทํ อุปสํหรติ เปมนิยํ หทยงฺคมํ ๓ น้อมเสียงที่ไพเราะน่ารักจับใจเข้าไปหา
๑ วิ.ปริ. ๘/๙๗๒/๓๒๐ ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๒๘/๑๐ ๓ วิ.มหาวิ. ๑/๒๐๐/๑๔๔
๑๘๐
คำโต้แย้ง ๒ ศัพท์
สํกุล (สํ+กุล สํกุลเน+อ) คำโต้แย้ง.
สํกุลนฺติ ชฬี ภวนฺติ อเนนาติ สํกุลํ คำพูดที่คนโง่ใช้โต้แย้งกัน ชื่อว่าสังกุละ
กิลิฏฺฐ (กิลิส อุปตาเป+ต) คำโต้แย้ง.
กิลิสฺสนฺเต เอตฺถาติ กิลิฏฺฐํ คำพูดที่ทำให้เดือดร้อนใจ ชื่อว่ากิลิฏฐะ (อาเทศ สฺต เป็น ฏฺฐ)
[๑๒๖] สมุทายตฺถรหิตํ อพทฺธมิติ กิตฺติตํ
วิตถํ ตุ มุสา จาถ ผรุสาที ติลิงฺคิกา.
คำพูดไม่ตรงประเด็น
คำพูดโดยเว้นจากเนื้อความที่เข้ากัน (ไม่ตรงประเด็น) เรียกว่า อพัทธะ (คำพูดไร้สาระ), คำพูดที่ไม่จริง ชื่อว่าวิตถะ (คำเท็จ คำโกหก), ผรุสศัพท์ถึง วิตถศัพท์เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์
คำพูดไร้สาระ, คำพูดสับสน
อพทฺธ (น+พธ พนฺธเน+ต) คำพูดไร้สาระ, คำพูดสับสน.
น พชฺฌเต หทยมตฺราติ อพทฺธํ คำพูดที่ไม่จับใจ ชื่อว่าอพัทธะ (อาเทศ น เป็น อ, ต เป็น ธ, ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ)
คำพูดเท็จ, คำโกหก, คำไม่จริง
วิตถ (วิ+ตถ) คำพูดเท็จ, คำโกหก.
นตฺถิ ตถํ สจฺจมตฺราติ วิตถํ ในคำพูดที่ไม่มีความจริง ชื่อว่าวิตถะ. น หิ ตถาคตา วิตถํ ภณนฺติ๑ พระตถาคตไม่ตรัสคำเท็จ
[๑๒๗] สมฺมาพฺยยํ จาวิตถํ สจฺจํ ตจฺฉํ ยถาตถํ
ตพฺพนฺตา ตีสิวลีกํ ตฺว- สจฺจํ มิจฺฉา มุสาพฺยยํ.
คำพูดจริง, คำสัจ, ความจริง ๕ ศัพท์
สมฺมา (สมฺมา) คำพูดจริง, คำสัจ, ความจริง.
สมฺมาสทฺโทยํ อพฺยยํ สพฺพลิงฺควิภตฺติวจเนสุ จ สมาโน สมฺมาศัพท์นี้เป็นนิบาต ใช้ได้ในทุกลิงค์ ทุกวิภัตติและทุกวจนะ เช่น สมฺมา โวหาโร, สมฺมา วาจา, สมฺมา วจนํ.
อวิตถ (น+วิตถ) คำพูดจริง, คำสัจ, ความจริง.
น วิตถํ อวิตถํ คำพูดไม่โกหก ชื่อว่าอวิตถะ (อาเทศ น เป็น อ). สุโณหิ เม มหาราช สจฺจํ อวิตถํ ปทํ ๒ มหาบพิตร ขอพระองค์โปรดสดับบทที่จริงแท้ของข้าพระองค์
สจฺจ (สต สาตจฺเจ+ย) คำพูดจริง, คำสัจ, ความจริง.
สนฺเตสุ สาธูสุ ภวํ สจฺจํ คำพูดที่มีอยู่ในสัตบุรุษหรือในคนดีทั้งหลาย ชื่อว่าสัจจะ (อาเทศ ตฺย เป็น จ, ซ้อน จฺ). สรติ อายติ ทุกฺขํ หึสตีติ สจฺจํ คำพูดที่เบียดเบียนทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ (สร หึสายํ+จ, ลบ รฺ, ซ้อน จฺ). มุสาวาทํ ปหาย มุสาวาทา ปฏิวิรโต สมโณ โคตโม สจฺจวาที สจฺจสนฺโธ๓ พระสมณโคดม ละคำเท็จ เว้นขาดจากคำเท็จ ทรงมีปรกติตรัสคำจริง ดำรงคำสัตย์
๑ ที.มหา. ๑๐/๖๗/๘๕ ๒ ขุ.ชา. ๒๘/๘๔๕/๒๙๕ ๓ ที.สีล. ๙/๔/๕
๑๘๑
ตจฺฉ (ตถ+ณฺย) คำพูดจริง, คำสัจ, ความจริง.
ตเถ สาธุ ตจฺฉํ คำพูดดีในความเป็นจริง ชื่อว่าตัจฉะ (ลบ ณฺ และ อ ที่ ถ, อาเทศ ถฺย เป็น ฉ, ซ้อน จฺ). สมโณ โคตโม ภูตํ ตจฺฉํ ตถํ ปฏิปทํ ปญฺญาเปติ๑ พระสมณโคดมทรงบัญญัติปฏิปทาที่จริงแท้แน่นอน
ยถาตถ (ยถาตถ) คำพูดจริง, คำสัจ, ความจริง.
ยถาตถสทฺทาปิ จ สจฺจตฺถา อลิงฺคา ยถาตถศัพท์มีอรรถว่า คำจริง และเป็นอลิงคศัพท์ คือมีรูปเป็น ยถาตถํ ในลิงค์ทั้ง ๓. เอตํ โลกสฺส นิยฺยานํ อกฺขาตํ โว ยถาตถํ ๒ เราบอกธรรมเป็นเครื่องออกจากโลกนี้ตามความเป็นจริงแก่ท่านทั้งหลายแล้ว
ตพฺพนฺตา ตีสุ ศัพท์ที่มีอรรถคำพูดจริงเป็นไปในลิงค์ทั้ง ๓ ตามบทที่อยู่ท้าย เช่น สจฺโจ พฺรหฺมโณ, สจฺจา นารี, สจฺจํ วิปฺปกุลํ. หรืออีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวว่าเป็นอลิงคศัพท์มีรูปเหมือนกันในลิงค์ทั้ง ๓ เช่น สจฺจํ พฺรหฺมโณ, สจฺจํ นารี, สจฺจํ วิปฺปกุลํ
คำพูดเท็จ, พูดปด, คำพูดไม่ถูกต้อง ๔ ศัพท์
อลิก (อล พนฺธเน+อิก) คำพูดเท็จ, คำพูดปด, คำพูดไม่ถูกต้อง.
อลติ พนฺธติ เอเตนาติ อลิกํ คำพูดที่ปกปิดคำจริงไว้ ชื่อว่าอลิกะ (ลบสระหน้า)
อสจฺจ (น+สจฺจ) คำพูดเท็จ, คำพูดปด, คำพูดไม่ถูกต้อง.
น สจฺจํ อสจฺจํ คำพูดไม่จริง ชื่อว่า อสัจจะ (อาเทศ น เป็น อ)
มิจฺฉา (มิจฺฉา) คำพูดเท็จ, คำพูดปด, คำพูดไม่ถูกต้อง. มิจฺฉา เป็นนิบาตบท
มุสา (มุสา) คำพูดเท็จ, คำพูดปด, คำพูดไม่ถูกต้อง. มุสา เป็นนิบาตบท
คำว่า อพฺยยํ ในคาถา หมายถึง มิจฺฉา และ มุสา ศัพท์เป็นนิบาต เช่น มิจฺฉา ทิฏฺฐิ, มิจฺฉา วาจา, มิจฺฉา โวหาโร, มิจฺฉา วจนํ. มุสา วาโท, มุสา วาจา, มุสา โวหาโร, มุสา วจนํ
๑ ที.สีล. ๙/๒๙๕/๒๓๔ ๒ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๐๙/๓๕๙
๑๘๒
[๑๒๘] รโว นินาโท นินโท จ สทฺโท
นิคฺโฆสนาททฺธนโย จ ราโว
อาราวสํราววิราวโฆสา
รวา สุติตฺถี สรนิสฺสนา จ.
เสียง, ศัพท์ ๑๖ ศัพท์
รว (รุ สทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
รุยเต สทฺทายเตติ รโว เสียงที่ได้ยิน ชื่อว่ารวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว). รวนฺโต กรุณํ รวํ มชฺเฌ คงฺคาย คจฺฉติ๑ (บุรุษนั้น) ร้องเสียงน่าสงสารว่ายไปกลางแม่น้ำ
นินาท (นิ+นท อพฺยตฺตสทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
นทนํ นาโท เสียงที่ดัง ชื่อว่านาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา), นิรตฺโถ นาโท นินาโท เสียงที่ไม่มีความหมาย ชื่อว่านินาทะ เช่น เสียงลม เสียงใบไม้ร่วง เป็นต้น
นินท (นิ+นท อพฺยตฺตสทฺเท+อ) เสียง, ศัพท์.
นทนํ นาโท เสียงที่ดัง ชื่อว่านาทะ
สทฺท (สปฺป อุจฺจารเณ+อ) เสียง, ศัพท์.
สปฺปติ อุจฺจารียตีติ สทฺโท เสียงที่คนเปล่งออกมา ชื่อว่าสัททะ (อาเทศ ปฺป เป็น ทฺท). สปฺปเต ฐายเต อเนนาติ สทฺโท เสียงที่ทำให้รู้เนื้อความ ชื่อว่าสัททะ (สปฺป คติยํ+อ). สปนฺติ อเนนาติ สทฺโท เสียงที่คนรู้ ชื่อว่าสัททะ (สป คติยํ+อ, อาเทศ ปฺ เป็น ทฺ, ซ้อน ทฺ). สทฺทียตีติ สทฺโท เสียงที่คนได้ยิน ชื่อว่าสัททะ (สทฺท สทฺทเน+อ). ภุมฺมานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา จาตุมฺมหาราชิกา เทวา๒ เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นภุมมะแล้ว
นิคฺโฆส (นิ+ฆุส สทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
ปาตุภาโว โฆโส นิคฺโฆโส เสียงที่ปรากฏ ชื่อว่านิคโฆสะ (ซ้อน คฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). สุตฺวา ธีรานํ นิคฺโฆสํ ๓ ได้ยินเสียงสรรเสริญ ของบัณฑิตทั้งหลาย
นาท (นท อพฺยตฺตสทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
นทนํ นาโท เสียงที่ดัง ชื่อว่านาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). สีหนาทสทิสํ วา นาทํ นทติ๔ บันลือเสียงดุจสีหนาท
ธนิ (ธน สทฺเท+อิ) เสียง, ศัพท์.
ธนียตีติ ธนิ เสียงที่ได้ยิน ชื่อว่าธนิ
ราว (รุ สทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
รวตีติ ราโว เสียงดัง ชื่อว่าราวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาว). รุทนฺตา กรุณํ ราวํ ๕ ร้องเสียงที่น่าสงสาร
อาราว (อา+รุ สทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
อารวตีติ อาราโว เสียงดัง ชื่อว่าอาราวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาว)
๑ ขุ.อปทาน. ๓๓/๒๒๔/๕๗๔ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๑๘/๓๒ ๓ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๘๙/๔๗๒
๔ มชฺ.อฏฺ. ๗/๑๔๘/๓๔๘ ๕ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๕๗/๒๙๕
๑๘๓
สํราว (สํ+รุ สทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
สํรวตีติ สํราโว เสียงดัง ชื่อว่าสังราวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาว)
วิราว (วิ+รุ สทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
วิรวตีติ วิราโว เสียงดัง ชื่อว่าวิราวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาว)
โฆส (ฆุส สทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
ฆุสนํ โฆโส เสียงที่ดัง ชื่อว่าโฆสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). พุทฺโธติ โฆสํ ยทิ ปรโต สุณาสิ๑ ถ้าได้ยินเสียงว่า พระพุทธเจ้า จากบุคคลอื่น
อารว (อา+รุ สทฺเท+ณ) เสียง, ศัพท์.
อารุยเต สทฺทายเตติ อารโว เสียงที่ได้ยิน ชื่อว่าอารวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว)
สุติ (สุ สวเน+ติ) เสียง, ศัพท์.
สุยฺยเตติ สุติ เสียงที่บุคคลฟัง ชื่อว่าสุติ. อิตฺถีศัพท์ ในคาถาแสดงให้รู้ว่า สุติศัพท์เป็นอิตถีลิงค์. น ทิฏฺฐิยา น สุติยา น ญาเณน สีลพฺพเตนาปิ น สุทฺธิมาห๒ เราไม่กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น ด้วยเสียง ด้วยการรู้ ทั้งด้วยศีลและพรต
สร (สร คติยํ+อ) เสียง, ศัพท์.
สรติ สุยฺยมานตํ คจฺฉตีติ สโร เสียงที่ลอยไปสู่ผู้ฟัง ชื่อว่าสระ. อฏฺฐงฺคสมนฺนาคโต สโร โหติ โส วุจฺจติ พฺรหฺมสฺสโรติ๓ เราเรียกผู้มีเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ว่า ผู้มีเสียงดุจเสียงพรหม
นิสฺสน (นิ+สน สมฺภตฺติยํ+อ) เสียง, ศัพท์.
นิสฺสนติ เอเตนาติ นิสฺสโน เสียงที่ทำให้ได้ยิน ชื่อว่านิสสนะ (ซ้อน สฺ)
[๑๒๙] วิสฺสฏฺฐมญฺชุ วิญฺเญยฺยา สวนียาวิสาริโน
พินฺทุ คมฺภีร นินฺทาที เตฺยวมฏฺฐงฺคิโก สโร.
เสียงมีองค์ ๘
เสียงมีองค์ ๘ ได้แก่ เสียงของพรหมและเสียงของพระพุทธเจ้า ดังพระบาลีว่า อฏฺฐงฺคสมนฺนาคโต โข ปนสฺส โภโต โคตมสฺส มุขโต โฆโส นิจฺฉรติ วิสฺสฏฺโฐ จ วิญฺเยฺโย จ มญฺชุ จ สวนีโย จ วินฺทุ จ อวิสารี จ คมฺภีโร จ นินฺทาที จ๔ พระสุรเสียงที่เปล่งออกจากพระโอษฐ์ของพระโคดมผู้เจริญนั้น ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สละสลวย ชัดเจน ไพเราะ เสนาะโสต กลมกล่อม ไม่เครือพร่า ลุ่มลึก และก้องกังวาล
วิสฺสฏฺฐ (วิ+สญฺช สงฺเค+ต) เสียงใส, เสียงชัดเจน, เสียงเป็นวรรคเป็นตอน.
วิสชฺชียเต น ลคฺคียเต เสมฺหาทีหีติ วิสฏฺโฐ เสียงที่เปล่งออกมาโดยไม่มีเสมหะเป็นต้นติดคอ ชื่อว่า วิสสัฏฐะ (ซ้อน สฺ, อาเทศ ต เป็น ฐ, ญฺช เป็น ฏฺ)
๑ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๘๘/๔๖๙ ๒ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๔๑๖/๔๙๘ ๓ ที.มหา. ๑๐/๑๙๘/๒๔๒
๔ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๕๘๙/๕๓๗
๑๘๔
มญฺชุ (มน าเณ+ชุ) เสียงไพเราะ.
มานิตพฺพนฺติ มญฺฺชุ เสียงที่น่ายกย่อง ชื่อว่ามัญชุ (อาเทศ นฺ เป็น ญฺ). สุณนฺตานํ วา มนํ รฺญฺเชตีติ มฺญฺชุ หรือเสียงที่ประทับใจผู้ฟัง ชื่อว่ามัญชุ (มนสทฺทูปปท+รญฺช ราเค+อุ, ลบ น และ ร)
วิญฺเญยฺย (วิ+า อวโพธเน+เณยฺย) เสียงชัดเจน, เสียงใส.
สุเขเนว วิชานิตพฺพตฺตา วิญฺฺเญยฺโย เสียงชื่อว่าวิญเญยยะ เพราะเป็นเสียงที่ฟังเข้าใจง่าย (ซ้อน ญฺ, ลบ ณฺ, และสระหน้า)
สวนีย (สุ สวเน+อนีย) เสียงเสนาะโสต.
หิตสุขนิปฺผาทนโต โสตพฺโพติ สวนีโย เสียงที่ควรฟังเพราะสามารถทำให้สำเร็จประโยชน์ได้ ชื่อว่าสวนียะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว)
อวิสารี (น+วิ+สร คติยํ+ณี) เสียงไม่เครือพร่า.
พหิทฺธาปริสา องฺคุลิมตฺตมฺปิ น วิสรติ น คจฺฉตีติ อวิสารี เสียงที่ไม่ขาดสายแม้องคุลีเดียว จากบริษัทที่ฟังอยู่ข้างนอก ชื่อว่าอวิสารี. วิวิเธน วา น สรตีติ อวิสารี, ฉินฺนสฺสรานํ วิย เทฺวธา น โหตีตฺยตฺโถ เสียงที่ไม่แตกพร่า ชื่อว่าอวิสารี, หมายถึงเสียงที่ไม่ขาดกระท่อนกระแท่น (อาเทศ น เป็น อ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
พินฺทุ, วินฺทุ (วิท ลาเภ+นิคฺคหีตาคม+อุ) เสียงกลมกล่อม.
วินฺทียเต ลพฺภเตติ พินฺทุ เสียงที่ผู้ฟังได้ยิน ชื่อว่าพินทุและวินทุ (อาเทศ ว เป็น พ บ้าง, นิคหิตเป็น นฺ). วฏฺฏตฺตา วา พินฺทุ เสียงที่ชื่อว่าพินทุ เพราะเป็นเสียงกลมกล่อม
คมฺภีร (คมุ คติมฺหิ+อีร) เสียงลุ่มลึก.
ปฺญฺจนฺนํ ฐานคตีนํ ทูรฏฺฐานโต ชาตตฺตา คมฺภีโร เสียงชื่อว่าคัมภีระ เพราะเป็นเสียงที่เกิดไกลฐานของเสียงทั้ง ๕ (ลง ภฺ อาคม). เสียงคัมภีระนี้เกิดจากฐาน ๒ คือ กัณฐฐานและอุรฐาน เว้นฐาน ๕ คือ ตาลุ มุทธะ ทันตะ โอฏฐะและนาสิกะ
นินฺนาที (นิ+นท สทฺเท+ณี) เสียงก้องกังวาล.
ปุนปฺปุนํ นาโท นินฺนาโท เสียงที่ดังเป็นคลื่นกังวาล ชื่อว่านินนาที (ซ้อน นฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
[๑๓๐] ติรจฺฉานคตานํ หิ รุตํ วสฺสิตมุจฺจเต
โกลาหโล กลหโล คีตํ คานํ จ คีติกา.
เสียงร้องหรือเสียงขันของสัตว์ดิรัจฉาน
วสฺสิต (วสฺส สทฺเท+อิ+ต) เสียง, เสียงขัน, เสียงร้อง, เสียงเห่า, เสียงหอน.
ขคฺคาทีนํ ติรจฺฉานคตานํ รุตํ วสฺสิตนฺตฺยุจฺจเต เสียงร้องของสัตว์ดิรัจฉานมีแรดเป็นต้น ชื่อว่าวัสสิตะ. วสฺสนํ รวนํ วสฺสิตํ เสียงทั่วไป ชื่อว่าวัสสิตะ
สุวิชานํ สิคาลานํ สกุณานญฺจ วสฺสิตํ
มนุสฺสวสฺสิตํ ราช ทุพฺพิชานตรํ ตโต.๑
เสียงของสุนัขจิ้งจอกและนกรู้ได้ง่าย ส่วนเสียงของมนุษย์รู้ได้ยากกว่านั้น พระเจ้าข้า
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๑๗๕๖/๓๔๗
๑๘๕
เสียงอื้ออึง, เสียงวุ่นวาย, โกลาหล ๒ ศัพท์
โกลาหล (โกลสทฺทูปปท+อา+หล วินฺทเน+อ) เสียงอื้ออึง, เสียงวุ่นวาย, โกลาหล.
โกลนํ โกโล เสียงที่มารวมกัน ชื่อว่าโกละ (กุล สงฺฆาเต+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ), โกลํ อาหลติ วินฺทตีติ โกลาหโล เสียงที่ผสมกับเสียงที่มารวมกันนั้น ชื่อว่าโกลาหละ (ลบสระหน้า). เตน โข ปน สมเยน สงฺโฆ จีวรํ ภาเชนฺโต โกลาหลํ อกาสิ๑ สมัยนั้น พระสงฆ์แบ่งจีวรกัน ได้ส่งเสียงดังอื้ออึง
กลหล (กลสทฺทูปปท+หล วิเลขเน+อ) เสียงอื้ออึง, เสียงวุ่นวาย.
กโรติ หึสติ มธุรนฺติ กโล เสียงที่เบียดเบียนความสงบ ชื่อว่ากละ (กล หึสายํ+อ), กลํ หลตีติ กลหโล เสียงที่ซ้ำเติมเสียงกละนั้น ชื่อว่ากลหล
เสียงร้องเพลง, เสียงขับ ๓ ศัพท์
คีต (เค สทฺเท+อิ+ต) เสียงร้องเพลง, เสียงขับ.
เคตพฺพนฺติ คีตํ เสียงที่ควรเปล่งออกมา ชื่อว่าคีตะ. คีตเรหิ อียเต อุจฺจารียเตติ คีตํ เสียงที่นักร้องขับร้อง ชื่อว่าคีตะ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง)
คาน (เค สทฺเท+ยุ) เสียงร้องเพลง, เสียงขับ.
เคตพฺพนฺติ คานํ เสียงที่ควรเปล่งออกมา ชื่อว่าคานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). คายนฺตานํ อิยนํ อุจฺจารณํ คานํ เสียงขับร้องของนักร้อง ชื่อว่าคานะ
คีติ, คีติกา (เค สทฺเท+ติ) เสียงร้องเพลง, เสียงขับ.
เคตพฺพนฺติ คีติ เสียงที่ควรเปล่ง ออกมา ชื่อว่าคีติ (อาเทศ เอ เป็น อี). คีติ เอว คีติกา คีตินั่นแหละ ชื่อว่าคีติกา (คีติ+ก+อา, ลบสระหน้า)
[๑๓๑] สรา สตฺต ตโย คามา เจกวีสติ มุจฺฉนา
ฐานาเนกูนปญฺญาส อิจฺเจตํ สรมณฺฑลํ.
ระดับเสียงร้อง ดีด สี ตี เป่า ๘๐ ประการ ชื่อว่าสรมัณฑละ แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มใหญ่ ดังนี้
๑. เสียงร้องของโคเป็นต้น ๗ ประการ
กณฺโฐฏฺฐิตา อุสภาทโย สตฺต สรา เสียงร้องที่ดังอยู่ในลำคอและริมฝีปาก มีเสียงร้องของโคเป็นต้น มี ๗ ประการ
๒. หมู่เสียงร้อง ๓ ประการ
ฉชฺชาทโย ตโย คามา สมูหาตฺยตฺโถ หมู่เสียง ๓ ประการ มีเสียงนกยูงร้องเป็นต้น. คาโม นาม สรสมูหสฺส สนฺธานํ การรวบรวมหมู่เสียง ชื่อว่าคามะ
๓. เสียงร้องที่มีระดับต่ำ กลางและสูง ๒๑ ประการ
มนุสฺสโลกวาทนวิธินา เอเกกสฺส สรสฺส วเสน ตโย ตโย มุจฺฉนา กตฺวา เอกวีสติ มุจฺฉนา ระดับเสียง ๒๑ ประการ โดยแบ่งระดับเสียงหนึ่งๆ จากการออกเสียงในมนุษยโลก
๑ วิ.มหา. ๕/๑๔๖/๑๙๙
๑๘๖
๔. ระดับเสียงร้อง ดีด สี ตี เป่า ที่ละเอียด ๔๙ ประการ
เทวโลกวาทนวิธินา ปน สมปญฺญาส มุจฺฉนา วทนฺติ ส่วนการแบ่งระดับเสียงใน เทวโลก ท่านกล่าวว่ามี ๕๐ ประการพอดี. ตตฺถ หิ เอเกกสฺส สรสฺส วเสน สตฺต มุจฺฉนา อนฺตสรสฺส จ เอกาติ สมปญฺญาส มุจฺฉนา อาคตา ในคาถานั้นระดับเสียงสุดท้ายใน ๗ ประการ มาตรงกับเสียง ๕๐ ประการ (จึงนับเพียง ๔๙ ประการ). ยถา กเมน วีณา วาทิตุํ สกฺกา, เอวํ สชฺชนาหิ มุจฺฉนฏฺฐานานิ เอกูนปญฺญาสาตฺยตฺโถ หมายความว่า ระดับเสียงพิณสามารถดีดให้ดังได้ ฉันใด, ระดับเสียงร้องก็สามารถปรับระดับได้ถึง ๔๙ ระดับ ฉันนั้น
มุจฺฉนา (มุจฺฉ โมหสมุสฺสเยสุ+ยุ+อา) ระดับเสียงร้อง ดีด สี ตี เป่า.
มุจฺฉนํ มุจฺฉนา การปรับแต่งเสียง ชื่อว่ามุจฉนา. เอเกกสฺส สรสฺส สตฺต สตฺต ฐานานิ ฐานของเสียงหนึ่งๆ มี ๗ ฐาน ฐานละ ๗ ระดับเสียง. ยโต สรสฺส มนฺทตารววตฺถานํ โหติ เตน เอกูนปญฺญาส ฐานานิ ฉะนั้นการปรับแบ่งเสียงตั้งแต่เสียงต่ำจนถึงเสียงสูง จะได้ฐาน ๔๙ ฐาน (๗ x ๗ = ๔๙) อิจฺเจตํ สรมณฺฑลํ สรสมูโห หมู่ของระดับเสียงที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เรียกว่าสรมัณฑละ
เสียง ๗ ชนิด
สตฺเตเต คทิตา สรา เสียงท่านกล่าวว่ามี ๗ อย่าง คือ
อุสภ (อิส คติยํ+อภ) เสียงอุสภะ, เสียงโคร้อง.
อิสติ จิตฺตํ ปวิสตีติ อุสโภ เสียงที่เข้าไปสู่จิต ชื่อว่าอุสภะ (อาเทศ อิ เป็น อุ). ยสฺมา ปน โส สโร อุสโภ วิย นทติ, ตสฺมา อุสโภติ วุจฺจติ เพราะเหตุที่เสียงอุสภะนั้นดังเหมือนเสียงโคร้อง จึงเรียกว่าอุสภะ
เธวต (ธีสทฺทูปปท+วธ คายเน+อ) เสียงเธวตะ, เสียงผู้มีปัญญาร้อง, เสียงม้าร้อง.
ธีมนฺเตหิ คียเตติ เธวโต เสียงผู้มีปัญญาร้อง ชื่วว่าเธวตะ (อาเทศ อี เป็น เอ, ธ เป็น ต)
ฉชฺช (ฉสทฺทูปปท+ชน ชนเน+กฺวิ) เสียงฉัชชะ, เสียงนกยูงร้อง, เสียงที่เกิดจากฐาน ๖
นาสํ กณฺฐมุโร ตาลุํ ชิวฺหา ทนฺเต จ นิสฺสิโต,
ฉธา สฺญฺชายเต ยสฺมา ตสฺมา ฉชฺโช ส อุจฺจเต.
เสียงที่อาศัยฐาน ๖ คือ จมูก คอ อก เพดาน ลิ้นและฟัน เกิดขึ้น ท่านเรียกว่าฉัชชะ (ซ้อน ชฺ, ลบ นฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ)
คนฺธาร (คนฺธสทฺทูปปท+อร คติมฺหิ+ณ) เสียงคันธาระ, เสียงแพะร้อง.
คนฺธํ เลสํ อรตีติ คนฺธาโร เสียงที่ไปสู่เสียงเล็ก (สูง) ชื่อว่าคันธาระ. คนฺธารชานปเทหิ อยํ คียเตติ คนฺธาโร เสียงนี้ที่ชาวคันธารชนบทพากันขับร้อง จึงชื่อว่าคันธาระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
๑๘๗
มชฺฌิม (มชฺฌ+อิม) เสียงมัชฌิมะ, เสียงนกกระเรียนร้อง.
มชฺเฌ ลยวิเสเส รโว มชฺฌิโม เสียงร้องเป็นจังหวะๆ ในท่ามกลาง ชื่อว่ามัชฌิมะ (ลบสระหน้า)
ปญฺจม (ปญฺจ+ม) เสียงปัญจมะ, เสียงนกดุเหว่าร้อง.
ปฺญฺจนฺนมฺปิ เธวตาทีนํ ปูรโณ ปฺญฺจโม เสียงผู้มีปัญญาเป็นต้น คนที่ ๕ ขับร้อง ชื่อว่าปัญจมะ
นิสาท (นิ+สท วิสรณคตฺยาวสาเนสุ+ณ) เสียงนิสาทะ, เสียงดังลั่น, เสียงช้างร้อง.
นิสฺเสสโต สีทนฺติ สรา ยสฺมินฺติ นิสาโท เสียงที่กลบเสียงอื่นให้หายไป ชื่อว่านิสาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). นิสาทํ โรติ กุญฺชโร ช้างร้องเสียงดังลั่น
[๑๓๒] อุสโภ เธวโต เจว ฉชฺชคนฺธารมชฺฌิมา
ปญฺจโม จ นิสาโทติ สตฺเตเต คทิตา สรา.
[๑๓๓] นทนฺติ อุสภํ คาโว ตุรคา เธวตํ ตถา
ฉชฺชํ มยูรา คนฺธาร- มชา โกญฺจา จ มชฺฌิมํ.
[๑๓๔] ปญฺจมํ ปรปุฏฺฐาที นิสาทํ ปิ จ วารณา
ฉชฺโช จ มชฺฌิโม คามา ตโย สาธารโณ ติ จ.
สัตว์ที่ร้องเสียงต่างๆ ดังนี้
นทนฺติ อุสภํ คาโว พวกโคพากันร้องเสียงอุสภะ
เธวตํ ตุรงฺคา อสฺสา นทนฺติ พวกม้าพากันร้องเสียงเธวตะ
ฉชฺชํ มยูรา สิขณฺฑิโน นทนฺติ พวกนกยูงพากันร้องเสียงฉัชชะ
คนฺธารํ อชา นทนฺติ พวกแพะพากันร้องเสียงคันธาระ
มชฺฌิมํ โกญฺฺจา สกุณวิเสสา นทนฺติ พวกนกกระเรียนพากันร้องเสียง มัชฌิมะ
ปฺญฺจมํ ปรปุฏฺฐาที โกกิลาทโย นทนฺติ พวกนกดุเหว่าเป็นต้น พากันร้องเสียงปัญจมะ
นิสาทํ วารณา หตฺถิโน นทนฺติ พวกช้างพากันร้องเสียงนิสาทะ
ดังนั้น ท่านนารทมุนีจึงกล่าวว่า
ฉชฺชํ นทติ มยูโร คาโว นทนฺติ อุสภํ
อโช โรติ จ คนฺธารํ โกฺญฺจา นทนฺติ มชฺฌิมํ
ปุปฺผสาธารเณ กาเล โกกิโล โรติ ปฺญฺจมํ
อสฺโส ตุ เธวตํ โรติ นิสาทํ โรติ กฺุญฺชโร.
นกยูงร้องเสียงฉัชชะ โคร้องเสียงอุสภะ แพะร้องเสียงคันธาระ นกกระเรียนร้องเสียงมัชฌิมะ นกกดุเหว่าร้องเสียงปัญจมะในฤดูดอกไม้บานสะพรั่ง ม้าร้องเสียงเธวตะ ช้างร้องเสียงนิสาทะ
ฉชฺโช จ มชฺฌิโม คามา ตโย สาธารโณ ติ จ กลุ่มเสียงใหญ่ๆ มี ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มเสียงฉัชชะ กลุ่มเสียงมัชฌิมะ และกลุ่มเสียงสาธารณะ
๑๘๘
กลุ่มเสียงฉัชชะ
มยูราทโยปิ สพฺเพ อิเม สตฺตา สมทา ปฺญฺจมํ นทนฺติ. วีณาทณฺฑํ วิภาคํ กตฺวา อโธภาคสฺส "ฉชฺชคาโม"ติ สญฺญา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีนกยูงเป็นต้น พากันร้องเสียงปัญจมะเหมือนกัน แบ่งเสียงดีดพิณออกแล้ว กลุ่มเสียงต่ำชื่อว่ากลุ่มเสียงฉัชชะ
กลุ่มเสียงมัชฌิมะและกลุ่มเสียงสาธารณะ
มชฺฌภาคสฺส "มชฺฌิมคาโม"ติ, อุปริภาคสฺส "สาธารณคาโม"ติ สญฺญา กลุ่มเสียงกลาง เรียกว่า กลุ่มเสียงมัชฌิมะ, กลุ่มเสียงสูง เรียกว่า กลุ่มเสียงสาธารณะ
[๑๓๕] สเรสุ เตสุ ปจฺเจเก ติสฺโส ติสฺโส หิ มุจฺฉนา
สิยุํ ตเถว ฐานานิ สตฺต สตฺเตว ลพฺภเร.
ระดับของเสียง
เสียงทั้ง ๗ อย่าง มีอสุภะและเธวตะเป็นต้น มีการเปล่งเสียงต่ำ เสียงกลางและเสียงสูง ๓ ครั้ง ระดับของฐานเสียงนั้น ได้เสียงละ ๗ ระดับเหมือนกันทั้งหมด ทำไมจึงแบ่งเสียงออกเป็น ๓ กลุ่ม เพราะว่า ในกลุ่มเสียงหนึ่งๆ ยังแบ่งออกได้อีกกลุ่มละ ๗ เสียง
อิธ อุสภาทีสุ สตฺตสุ สเรสุ ปจฺเจกํ ติสฺโส ติสฺโส มุจฺฉนา กถิตา ในเสียงทั้ง ๗ มีเสียงอุสภะเป็นต้นนี้ แต่ละเสียงแบ่งออกเป็นเสียงละ ๓ ระดับ คือ ต่ำ กลางและสูง. กึการณา อิธ มนุสฺสโลกวาทนวิธินา ตตฺถ จ เทวโลกวาทนวิธินา กถิตตฺตา ตเถว ฐานานิ สตฺต สตฺเตว ลพฺภเรติ เพราะเหตุใด เพราะว่า เมื่อจำแนกเสียงในมนุษยโลกและในเทวโลกแล้ว เสียงทั้ง ๗ นั้น ได้ฐานของเสียงๆ ละ ๗ ฐาน
[๑๓๖] ติสฺโส ทุเว จตสฺโส จ จตสฺโส กมโต สเร
ติสฺโส ทุเว จตสฺโสติ ทฺวาวีสติ สุตี สิยุํ.
การแบ่งระดับเสียง
ทฺวาวีสติ สุตี สิยุํ ระดับของเสียงมีทั้งหมด ๒๒ ระดับ โดยแบ่งตามลำดับ ดังนี้
อุสภสฺส สรสฺส ตารกลมนฺทวเสน ติสฺโส สุติโย เสียงอุสภะแบ่งได้ ๓ ระดับ คือ ตาระ (เสียงสูง) กละ (เสียงกลางหรือเสียงประสานระหว่างเสียงสูงกับเสียงต่ำ) และ มันทะ (เสียงต่ำ)
เธวตสฺส สรสฺส ตารมนฺทวเสน ทุเว เสียงเธวตะแบ่งได้ ๒ ระดับ คือ ตาระ (เสียงสูง) และ มันทะ (เสียงต่ำ)
๑๘๙
ฉชฺชสฺส ตารกลมนฺทกากลีวเสน จตสฺโส เสียงฉัชชะแบ่งได้ ๔ ระดับ คือ ตาระ (เสียงสูง) กละ (เสียงประสานระหว่างเสียงสูงกับเสียงต่ำ) มันทะ (เสียงต่ำ) และ กากลี (เสียงครวญเบาๆ)
คนฺธารสฺส จ ตถา เสียงคันธาระก็แบ่งได้ ๔ ระดับเหมือนเสียงฉัชชะ
มชฺฌิมสฺส ตารกลกากลีวเสน ติสฺโส เสียงมัชฌิมะแบ่งได้ ๓ ระดับ คือ ตาระ (เสียงสูง) กละ (เสียงประสานระหว่างเสียงสูงกับเสียงต่ำ) และ กากลี (เสียงครวญเบาๆ)
ปฺญฺจมสฺส กลกากลีวเสน ทุเว เสียงปัญจมะแบ่งได้ ๒ ระดับ คือ กละ (เสียงประสานระหว่างเสียงสูงกับเสียงต่ำ) และ กากลี (เสียงครวญเบาๆ)
นิสาทสฺส ตาราทิวเสน จตสฺโส สุติโย นิสาทะแบ่งได้ ๔ ระดับ คือ ตาระ (เสียงสูง) กละ (เสียงประสานระหว่างเสียงสูงกับเสียงต่ำ) มันทะ (เสียงต่ำ) และ กากลี (เสียงครวญเบาๆ)
ในมาฆฎีกาท่านกล่าวระดับของเสียงอย่างอื่นไว้อีกว่า
จตุสฺสุติ สุวิฺญฺเญยฺโย มชฺฌิโม มชฺฌิมฏฺฐิโต
ทฺวิสฺสุติ จาปิ คนฺธาโร ติสฺสุติ อุสโภ ตถา.
ฉชฺโช จตุสฺสุติ เญยฺโย นิสาโท ทฺวิสฺสุตี ตถา
จตุสฺสุติ เธวโต ตุ ปญฺฺจโม ติสฺสุติ มโต.
เสียงที่อยู่ในระดับกลางนักศึกษาย่อมรู้ดีว่ามัชฌิมะ มี ๔ ระดับ, เสียงคันธาระ มี ๒ ระดับ, เสียงอุสภะ มี ๓ ระดับ, เสียงฉัชชะ มี ๔ ระดับ, เสียงนิสาทะ มี ๒ ระดับ, เสียงเธวตะ มี ๔ ระดับ, เสียงปัญจมะ มี ๓ ระดับ (รวมเป็นเสียง ๒๒ ระดับ)
สพฺพเมตํ นาฏกสตฺถโต คเหตพฺพํ ชนิดของเสียงที่ว่ามาทั้งหมดนี้ นักศึกษาควรค้นคว้าเอาจากคัมภีร์นาฏกศาสตร์
[๑๓๗] อุจฺจตเร รเว ตาโร ถาพฺยตฺเต มธุเร กโล
คมฺภีเร ตุ รเว มนฺโท ตาราที ตีสฺวโส กเล
กากลี สุขุเม วุตฺโต กฺริยาทิสมตา ลโย.
ระดับเสียง ๔ ระดับ
ตาร (ตร ตรเณ+ณ) เสียงสูง.
อุจฺจตเร รเว อตฺยุจฺจธนิมฺหิ ตาโร ตารศัพท์เป็นไปในเสียงสูงที่สุด. ตารยติ โพธยตีติ ตาโร เสียงที่ผู้ร้องเปล่งให้สูงขึ้นไป ชื่อว่าตาระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
๑๙๐
กล (กล มเท+อ) เสียงประสาน, เสียงหวาน.
อพฺยตฺเต อพฺยตฺตกฺขเร มธุเร สุติสุเข กโล กลศัพท์เป็นไปในเสียงหวานที่ร้องประสานกัน. อพฺยตฺตมธุรสทฺโท กโล กละเป็นเสียงที่ไม่ชัดเจนแต่หวานหู
มนฺท (มทิ ถุติโมทมทโมหสุปนคตีสุ+อ) เสียงต่ำ.
คมฺภีเร ธนิมฺหิ มนฺโท มนฺทศัพท์ ใช้ในเสียงลุ่มลึก. มนฺทยเต พุชฺฌเตเนนาติ มนฺโท เสียงที่ทำให้ผู้ฟังตื่นเต้น ชื่อว่ามันทะ (ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ)
กากลี (กาสทฺทูปปท+กเล สุขุเม+อี) เสียงแผ่วเบา, เสียงครวญ.
กา อีสํ กลา วาณี กากลี นาม เสียงที่ขับร้องแผ่วเบา ชื่อว่ากากลี (ลบสระหน้า)
ตาราที ตีสุ ตาร กล และ มนฺทศัพท์ใช้ในลิงค์ทั้ง ๓ เช่น ตาโร ธนิ, ตารา วาณี,
ตารํ รุตํ
เสียงขับร้องเป็นจังหวะ
ลย (ลย สามฺยคตีสุ+อ) เสียงเป็นจังหวะ.
กฺริยาทิสมตาติ คีตวาทิตปาทนฺยาสาทิกฺริยานํ กาลสฺส จ สมตฺตํ ลโย นาม เสียงขับร้องเข้ากับจังหวะของเพลงและดนตรีเป็นต้น ชื่อว่า ลยะ. สพฺพาภินยานมฺปิ สามฺยํ ลโย จังหวะของการร้องรำทุกอย่าง ชื่อว่าลยะ
[๑๓๘] วีณา จ วลฺลกี สตฺต- ตนฺตี สา ปริวาทินี
โปกฺขโร โทณิ วีณาย อุปวีโณ ตุ เวฐโก.
พิณ ๒ ศัพท์
วีณา (วิณ เวฐเน+อ+อา) พิณ.
วิณตีติ วีณา เครื่องดนตรีที่พันขึ้นสาย ชื่อว่าวีณา (ทีฆะ อิ เป็น อี, ลบสระหน้า). คจฺฉถ เม โภ ตํ วีณํ อาหรถ๑ พวกท่านไปนำเอาพิณนั้นมาให้แก่เรา
วลฺลกี (วลฺล สํวรเณ+ณฺวุ+อี) พิณ.
ธนิวิเสสํ วลฺลยเตติ วลฺลกี เครื่องดนตรีที่เก็บความแตกต่างกันของเสียงเอาไว้ ชื่อว่าวัลลกี (อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, ลบสระหน้า). วิปญฺฺจีศัพท์ก็แปลว่าพิณ
พิณ ๗ สาย ๒ ศัพท์
สตฺตตนฺตี (สตฺต+ตนฺตี) พิณ ๗ สาย.
สา วีณา สตฺตตนฺตี สตฺตหิ ตนฺตีหิ วิสิฏฺฐา สตฺตตนฺตี นาม พิณนั้นมี ๗ สาย เป็นดนตรีที่เลิศด้วยสายทั้ง ๗ จึงชื่อว่าสัตตตันตี
ปริวาทินี (ปริ+วท กถเน+ณ+อินี) พิณ ๗ สาย.
ปริโต วทตีติ ปริวาทินี พิณที่ดังได้หลายเสียง ชื่อว่าปริวาทินี (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า) วีณาทโย จตฺตาโรปิ วีณาสามญฺญวาจกา อิจฺเจเก ทั้ง ๔ ศัพท์มี วีณา เป็นต้น แต่ละศัพท์ก็เรียกว่าพิณเหมือนกัน และเป็นอิตถีลิงค์
๑ สํ.สฬา. ๑๘/๓๔๕/๒๔๔ ???
๑๙๑
โปกฺขร (ปุส โปสเน+ขร) รางพิณ, ช่องพิณ.
กฏฺฐาทีหิ โทณิสณฺฐาเนน กตํ วชฺชภณฺฑํ วีณาย โปกฺขโร นาม เครื่องดนตรีที่นำไม้เป็นต้นมาทำสัณฐานเป็นช่องของพิณ ชื่อว่าโปกขระ. โปเสติ วฑฺเฒหิ สทฺเทติ โปกฺขโร รางพิณที่ทำให้เสียงดังกังวาล ชื่อว่าโปกขระ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ สฺ เป็น กฺ)
โทณิ (ทุ คมเน+ยุ+อิ) รางพิณ, ช่องพิณ.
วีณาย ทวติ คจฺฉติ ปวตฺตตีติ โทณิ รางที่เป็นไปในพิณ ชื่อว่าโทณิ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบสระหน้า)
รางพิณมีอีกหลายศัพท์ เช่น กกุภ, ปเสวก
หนังหุ้มรางพิณ ๒ ศัพท์
อุปวีณ (อุป+วีณา+ณ) หนังหุ้มรางพิณ.
วีณาภาวํ อุปคจฺฉติ เยนาติ อุปวีโณ หนังที่หุ้มรางพิณทำให้สำเร็จเป็นพิณได้ ชื่อว่าอุปวีณะ (ลบ ณฺ และสระหน้า)
เวฐก (เวฐ เวฐเน+ณฺวุ) หนังหุ้มรางพิณ.
เวฐติ โปกฺขรนฺติ เวฐโก หนังที่หุ้มรางพิณ ชื่อว่าเวฐกะ (อาเทศ ณฺวุ เป็น อก)
[๑๓๙] อาตตํ เจว วิตต- มาตตวิตตํ ฆนํ
สุสิรํ เจติ ตูริยํ ปญฺจงฺคิกมุทีริตํ.
เครื่องดนตรี ๕ อย่าง
เครื่องดนตรีท่านกล่าวว่ามีองค์ ๕ คือ อาตตะ กลอง, วิตตะ ตะโพน, อาตตวิตตะ กลองบัณเฑาะว์เป็นต้น, ฆนะ กรับหรือทับ, สุสิระ เครื่องเป่ามีปี่และขลุ่ยเป็นต้น (โปรดดูคำอธิบายในคาถาถัดไป)
[๑๔๐] อาตตํ นาม จมฺมาว- นทฺเธสุ เภริยาทิสุ
ตเลเกกยุตํ กุมฺภ- ถุณททฺทริกาทิกํ.
ในจำนวนกลองมีกลองใหญ่เป็นต้นที่ขึงด้วยหนังตรึงแน่นหนา กลองสี่เหลี่ยมจตุรัสและกลองใหญ่มีรูกลวงเป็นต้นซึ่งมีหน้าด้านเดียว ชื่อว่าอาตตะ (กลองหลายขนาดที่ขึงด้วยหนังหน้าเดียว)
๑๙๒
กลองอาตตะ, กลองหน้าเดียว
อาตต (อา+ตนุ วิตฺถาเร+อ) กลองอาตตะ, กลองหน้าเดียว.
อาตโนตีติ อาตตํ กลองที่มีหน้าแผ่ไป (ด้านเดียว) ชื่อว่าอาตตะ (อาเทศ นฺ เป็น ตฺ)
กลองกุมภถุนะ, กลองรูปจระเข้
กุมฺภถุณ (กุมฺภ+ถุน) กลองกุมภถุณะ, กลองรูปจระเข้.
กุกุมฺภสณฺฐานตฺตา กุมฺโภ จ ตํ ถุนนครสมฺภูตตฺตา ถุนฺญฺเจติ กุมฺภถุนํ กลองที่ชื่อว่ากุมภถุนะ เพราะมีสัณฐานเหมือนจระเข้ และเกิดขึ้นที่เมืองถุนะ. ตเทว กุมฺภถุณํ กุมภถุนะนั่นแหละ ชื่อว่ากุมภถุณะ (อาเทศ น เป็น ณ). กุมฺโภ จ โส ถุโณ จาติ กุมฺภถุโณ กลองที่มีรูปจระเข้เต็มตัว ชื่อว่ากุมภถุณะ
กลองทัททริกา
ททฺทริกา (ททฺทรสทฺทูปปท+กร กรเณ+กฺวิ+อา) กลองทัททริกา, กลองดังทัททระ.
ททฺทรสทฺทํ กโรตีติ ททฺทริกา กลองที่ทำเสียงดังว่า ทัททระ ชื่อว่าทัททริกา (อาเทศ อ เป็น อิ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ, ลบสระหน้า)
[๑๔๑] วิตตํ โจภยตลํ ตูริยํ มุรชาทิกํ
อาตตวิตตํ สพฺพ- วินทฺธํ ปณวาทิกํ.
(กลอง ๒ ชนิด คือ) กลองที่หุ้มหนัง ๒ หน้ามีตะโพนเป็นต้น ชื่อว่าวิตตะ
กลองที่ขึงหนังหุ้มมิดทั้งใบมีกลองบัณเฑาะว์เป็นต้น ชื่อว่าอาตตวิตตะ
กลองวิตตะ, กลอง ๒ หน้า
วิตต (วิ+ตนุ วิตฺถาเร+ต) กลองวิตตะ, กลอง ๒ หน้า.
อุภยตลํ มุรชาทิกํ ตูริยํ วิตตํ นาม เครื่องดนตรีที่หุ้มหนัง ๒ หน้ามีตะโพนเป็นต้น ชื่อว่าวิตตะ. วิเสเสน สทฺทํ ตโนตีติ วิตตํ กลองที่แผ่เสียงพิเศษออกไป ชื่อว่าวิตตะ (ลบ นฺ ที่สุดธาตุ)
กลองอาตตวิตตะ, กลองหุ้มหนังทั้งใบ
อาตตวิตต (อาตต+วิตต) กลองอาตตวิตตะ, กลองหุ้มหนังทั้งใบ.
สพฺพวินทฺธํ สพฺพปสฺเสสุ ปุพฺพปจฺฉาภาเคสุ จ ปริโยนทฺธํ ปณวาทิกํ อาตตวิตตํ นาม กลองที่หุ้มหนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีกลองบัณเฑาะว์เป็นต้น ชื่อว่าอาตตวิตตะ. จมฺมปริโยนทฺธํ หุตฺวา ตนฺติพทฺธํ อาตตวิตตนฺติ หิ วุตฺตํ บางท่านกล่าวว่า กลองอาตตวิตตะเป็นกลองที่ร้อยด้วยเชือกหนังรอบทั้งใบ
๑๙๓
[๑๔๒] สุสิรํ วํสสงฺขาทิ สมฺมตาลาทิกํ ฆนํ
อาโตชฺชํ ตุ จ วาทิตํ วาทิตํ วชฺชมุจฺจเต.
เครื่องเป่าและเครื่องตี
เครื่องดนตรีมี วังสะ (ขลุ่ย) และ สังขะ (สังข์) เป็นต้น ชื่อว่าสุริระ (เครื่องเป่า)
เครื่องดนตรีมี สัมมตาละ (ฉิ่ง) เป็นต้น ชื่อว่าฆนะ (เครื่องตี เครื่องเคาะ)
เครื่องดนตรีทั้ง ๕ อย่างนี้ (คือ อาตตะ วิตตะ อาตตวิตตะ สุสิระและฆนะ) ท่านเรียกรวมกันว่า อาโตชชะบ้าง วาทิตตะบ้าง วาทิตะบ้าง วัชชะบ้าง
[๑๔๓] เภรี ทุนฺทุภิ วุตฺโตถ มุทิงฺโค มุรโชสฺส ตุ
อาลิงฺคงฺโกฺยทฺธกา เภทา ติณโว ตุ จ ฑิณฺฑิโม.
กลองใหญ่ ๒ ศัพท์
เภริ (ภี ภเย+ริ) กลองใหญ่, กลองเภรี.
ภายนฺติ สตฺตุชนา เอเตนาติ เภริ กลองใหญ่ที่ตีทำให้ศัตรูกลัว ชื่อว่าเภริ (วุทธิ อี เป็น เอ)
พุทฺโธ โลเก สมุปฺปนฺโน วตฺตเต ชินสาสนํ
อมตา วาทิตา เภริ โสกสลฺลวิโนทนา.๑
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก คำสั่งสอนของพระองค์กำลังเผยแพร่ไป พระองค์ทรงลั่นกลองอมฤตที่บรรเทาความโศกศัลย์ได้แล้ว
ทุนฺทุภิ (ทุนฺทสทฺทูปปท+อุภ ปริปูรเณ+อิ) กลองใหญ่, กลองทุนทุภิ.
อุภนํ อุภิ, "ทุนฺท"อิติ สทฺเทน อุภิ ยตฺร ส ทุนฺทุภิ เสียงเต็ม ชื่อว่าอุภิ, กลองที่มีเสียงเต็มว่า ทุนทะ ชื่อว่า ทุนทุภิ (ลบสระหน้า). เภริศัพท์ และ ทุนฺทุภิศัพท์เป็นปุงลิงค์และอิตถีลิงค์
กลองตะโพน ๒ ศัพท์
มุทิงฺค (มุทสทฺทูปปท+อิงฺค คมเน+อ) กลองตะโพน.
มุทํ โมทํ อิงฺคติ คจฺฉติ เยนาติ มุทิงฺโค กลองที่ตีให้ถึงความเพลิดเพลิน ชื่อว่ามุทิงคะ (ลบสระหน้า)
มุรช (มุรสทฺทูปปท+ชน ชนเน+กฺวิ) กลองตะโพน.
มุรา อสุรา ชาโต อเนนาติ มุรโช กลองที่ตีเป็นสัญญาณว่าอสูรเกิดแล้ว ชื่อว่ามุรชะ (ลบ นฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ ปัจจัย)
กลองมุรชะมีหลายชนิด เช่น
หริตกฺยากติ ตฺวงฺโกฺย ยวมชฺโฌ ตโถทฺธโก,
อาลิงฺโคฺย เจว โคปุจฺโฉ อากตฺยา สมฺปกิตฺติโต.
กลองหริตักยากติ กลองอังกยะ กลองยวมัชฌะ กลองอุทธกะ กลองอาลิงคยะ กลองโคปุจฉะ และกลองอากัตยา บัณฑิตท่านรวมไว้แล้ว
๑ ขุ.อปทาน. ๓๒/๒๕/๑๐๘
๑๙๔
กลองเล็ก ๒ ศัพท์
ติณว (ตนุ วิตฺถาเร+อว) กลองเล็ก, กลองติณวะ.
ตโนตีติ ติณโว กลองที่แผ่เสียงไป ชื่อว่าติณวะ (อาเทศ อ เป็น อิ, น เป็น ณ)
ฑิณฺฑิม (ฑิณฺฑิสทฺทูปปท+มา สทฺเท+ณ) กลองเล็ก, กลองฑิณฑิมะ.
ฑิณฺฑิอิติ มายเต สทฺทายเตติ ฑิณฺฑิโม กลองที่ส่งเสียงว่า ฑิณฑิ ชื่อว่าฑิณฑิมะ (ลบ ณฺ และสระหน้า)
[๑๔๔] อาลมฺพโร ตุ ปณโว โกโณ วีณาทิวาทนํ
ททฺทรี ปฏโห เภริปฺ- ปเภทา มทฺทลาทโย.
กลองบัณเฑาะว์ ๒ ศัพท์
อาลมฺพร (อา+ลพิ อาลมฺเพ+อร) กลองบัณเฑาะว์.
"อาลมฺพ"อิติ สทฺทายเตติ อาลมฺพโร กลองที่มีเสียงดังว่า "อาลัมพะ" ชื่อว่าอาลัมพระ (ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น มฺ). ยโส กุลปุตฺโต ปฏิกจฺเจว ปพุชฺฌิตฺวา อทฺทส สกํ ปริชนํ สุปนฺตํ อญฺิญิสฺสา กจฺเฉ วีณํ ... อญฺิญิสฺสา อุเร อาลมฺพรํ ๑ ยสกุลบุตรตื่นขึ้นก่อนคนอื่น เห็นปริชนของตนหลับอยู่ บางนางพิณตกอยู่ข้างรักแร้... บางนางกลองบัณเฑาะว์ตกอยู่ข้างคอ
ปณว (ปณ พฺยวหารถุตีสุ+อว) กลองบัณเฑาะว์.
ปณียตีติ ปณโว กลองที่คนชมชอบ ชื่อว่าปณวะ. อาลมฺพรนฺติ ปณวํ ๒ บทว่า อาลมฺพรํ ได้แก่กลองบัณเฑาะว์
ไม้ดีดพิณ, ไม้สำหรับสร้างเสียงดนตรี
โกณ (กุณ สทฺเท+ณ) การดีดพิณ, ไม้ดีดพิณ.
วีณาทีนํ วาทนกฏฺฐกุฏิลาทิกํ โกโณ อุปกรณ์มีไม้โค้งงอนเป็นต้นสำหรับดีดพิณเป็นต้น ชื่อว่าโกณะ. กุณยเต สทฺทายเตเนนาติ โกโณ ไม้ที่ใช้ดีดพิณให้ดัง ชื่อว่าโกณะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). ไม้สำหรับใช้ตีเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ก็ชื่อว่าโกณะเหมือนกัน
กลองรบ ๒ ชื่อ
ททฺทริ (ททฺทสทฺทูปปท+รุ สทฺเท+อิ) กลองรบ.
"ททฺท"อิติ สทฺทํ โรติ กโรตีติ ททฺทริ กลองที่ทำเสียงดังว่า "ทัททะ" ชื่อว่าทัททริ. ททฺทริ วา สทฺทวิเสเสน ปริณมตีติ ททฺทริ หรือกลองอื่นที่เปลี่ยนเสียงให้ดังทัททะได้ ก็ชื่อว่าทัททริ (ททฺทร+อิ, ลบสระหน้า)
ปฏห (ปฏสทฺทูปปท+หน หึสาคตีสุ+กฺวิ) กลองรบ.
"ปฏ"อิติ สทฺทํ ชหาตีติ ปฏโห กลองที่มีเสียงดังว่า "ปฏะ" ชื่อว่าปฏหะ. ปฏํ หนฺตีติ วา ปฏโห หรือกลองที่เบียดเบียนปฏัก ชื่อว่าปฏหะ (ลบ นฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ)
กลองรบมีอีกหลายศัพท์ เช่น มทฺทลา, มนฺทลา, ฑมรุ
๑ วิ.มหา. ๔/๒๕/๒๙ ๒ วิ.ฏี. ๔/๕๑/๙๓
๑๙๕
[๑๔๕] ชนปฺปิเย วิมทฺทุฏฺเฐ คนฺเธ ปริมโล ภเว
โส ตฺวาโมโท ทูรคามี วิสฺสนฺตา ตีสฺวิโต ปรํ.
ของหอม ๒ ศัพท์
ปริมล (ปริ+มล ธารเณ+อ) ของหอม.
ชนปฺปิเย ชเนหิ ปิยายิตพฺเพ วิมทฺโทฏฺเฐ วิเลปนกุงฺกุมาทีนํ นานาคนฺธทพฺพานฺญฺจ วิมทฺทโนพฺภูเต ปริมโล ภเว ของหอมที่เป็นเครื่องลูบไล้และของหอมจากธรรมชาติมีหญ้าฝรั่นเป็นต้น นำมาบดเป็นผงซึ่งคนชอบใช้ ชื่อว่าปริมละ. ปริมลียเต ธารียเตติ ปริมโล ของหอมที่บุคคลใช้สอย ชื่อว่าปริมละ
อาโมท (อา+มุท หาเส+ณ) ของหอมที่ฟุ้งไปไกล.
อาโมทนฺเต อเนนาติ อาโมโท ของหอมที่ทำให้คนพอใจ ชื่อว่าอาโมทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). โส อาโมโท ทูรคามี โหติ ของหอมที่ชื่อว่าอาโมทะนั้นหอมฟุ้งไปไกล
วิสฺสสนฺตา ตีสฺวโต ปรํ ตั้งแต่ อิฏฺฐคนฺธ ถึง วิสฺส ศัพท์ในคาถาต่อไป มีใช้ในลิงค์ทั้ง ๓
[๑๔๖] อิฏฺฐคนฺโธ จ สุรภิ สุคนฺโธ จ สุคนฺธิ จ
ปูติคนฺธิ ตุ ทุคฺคนฺโธ- ถ วิสฺสํ อามคนฺธิ ยํ.
กลิ่นหอม, กลิ่นดี ๔ ศัพท์
อิฏฺฐคนฺธ (อิฏฺฐ+คนฺธ) กลิ่นหอม, กลิ่นดี.
อิฏฺโฐ คนฺโธ อิฏฺฐคนฺโธ กลิ่นอันน่าชอบใจ ชื่อว่าอิฏฐคันธะ. อิฏฺโฐ คนฺโธ อสฺส อิฏฺฐคนฺโธ วัตถุที่มีกลิ่นหอม ชื่อว่าอิฏฐคันธะ
สุรภิ (สุ+รภ ราภสฺเส+อิ) กลิ่นหอม, กลิ่นดี.
สุฏฺฐุ รภนฺติ ตุสฺสนฺติ อเนนาติ สุรภิ กลิ่นหอมดีที่บุคคลชอบ ชื่อว่าสุรภิ. ปตฺตาปิ สุรภิ วายนฺติ๑ แม้ใบก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป
สุคนฺธ (สุ+คนฺธ) กลิ่นหอม, กลิ่นดี.
สุนฺทโร คนฺโธ อสฺสาติ สุคนฺโธ วัตถุที่มีกลิ่นหอม ชื่อว่าสุคันธะ. ปทุมํ ยถา โกกนทํ สุคนฺธํ ๒ เหมือนดอกบัวโกกนุทที่มีกลิ่นหอม
สุคนฺธิ (สุ+คนฺธ+อี) กลิ่นหอม, กลิ่นดี.
สุนฺทโร คนฺโธ อสฺสาติ สุคนฺธิ วัตถุที่มีกลิ่นหอม ชื่อว่าสุคันธิ(รัสสะ อี เป็น อิ)
กลิ่นไม่ดี, กลิ่นเหม็น ๒ ศัพท์
ปูติคนฺธิ (ปูติ+คนฺธ) กลิ่นไม่ดี, กลิ่นเหม็น.
ปูติ คนฺโธ อสฺสาติ ปูติคนฺธิ วัตถุที่มีกลิ่นเหม็น ชื่อว่าปูติคันธิ (อาเทศ อ เป็น อิ)
ทุคฺคนฺธ (ทุ+คนฺธ) กลิ่นไม่ดี, กลิ่นเหม็น.
ทุฏฺฐุ คนฺโธ อสฺสาติ ทุคฺคนฺโธ วัตถุที่มีกลิ่นไม่ดี ชื่อว่าทุคคันธะ (ซ้อน คฺ). จีวรํ ทุคฺคนฺธํ โหติ๓ จีวรมีกลิ่นเหม็น
๑ ขุ.ติก. ๒๕/๒๕๔/๒๘๓ ๒ สำ.สคาถ. ๑๕/๓๖๒/๑๑๘ ๓ วิ.มหา. ๕/๑๔๗/๒๐๐
๑๙๖
กลิ่นคาว ๒ ศัพท์
วิสฺส (วิส วิปฺปโยเค+ส) กลิ่นคาว.
วิสตีติ วิสฺสํ กลิ่นเหม็นคาว ชื่อว่าวิสสะ. วิสฺสํ ธมฺมํ สมาทาย ภิกฺขุ โหติ น ตาวตา๑ ผู้สมาทานอกุศลธรรมอันเหม็นคาว ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุอยู่ตราบนั้น. วิสฺสํ ธมฺมนฺติ ทุคฺคนฺธํ อกุสลํ ธมฺมํ คำว่า ธรรมอันเหม็นคาว ได้แก่ อกุศลธรรมอันมีกลิ่นเหม็น
อามคนฺธิ (อาม+คนฺธ+อี) กลิ่นคาว.
อามสฺส วสาทิวตฺถุโน คนฺโธ อามคนฺธิ กลิ่นของวัตถุที่ยังสดมีมันเหลวเป็นต้น ชื่อว่าอามคันธิ (รัสสะ อี เป็น อิ). อามคนฺธิศัพท์เป็นนปุงสกลิงค์
[๑๔๗] กุงฺกุมํ เจว ยวน- ปุปฺผํ จ ตครํ ตถา
ตุรุกฺโขติ จตุชฺชาติ คนฺธา เอเต ปกาสิตา.
ของหอม ๔ ชนิด
ของหอมโดยธรรมชาติที่ท่านแสดงไว้มี ๔ ชนิด คือ กุงกุมะ (หญ้าฝรั่น) ยวนปุปผะ (กานพลู) ตคระ (กฤษณา) ตุรุกขะ (กำยาน)
กุงฺกุม (กุก อาทาเน+อุม) หญ้าฝรั่น.
กุกตีติ กุงฺกุมํ หญ้าที่ถือเอากลิ่นหอม ชื่อว่ากุงกุมะ (อาเทศ กุก เป็น กุงฺก). กามิยตีติ กุงฺกุมํ หญ้าฝรั่นที่คนต้องการ ชื่อว่ากุงกุมะ (กมุ อิจฺฉายํ+อุม, อาเทศ กมุ เป็น กุงฺก)
ยวนปุปฺผ (ยวน+ปุปฺผ) กานพลู.
ยวตีติ ยวนํ สิ่งที่ผสมกัน ชื่อว่ายวนะ (ยุ มิสฺสเน+ยุ, อาเทศ อุ เป็น อว, ยุ เป็น อน). ยวนํ ปุปฺผํ ยวนปุปฺผํ, เทวกุสุมํ ดอกไม้ที่ผสมกัน ชื่อว่า ยวนปุปผะ ได้แก่กานพลู. ยวนเทเส ชาตํ ปุปฺผนฺติ วา ยวนปุปฺผํ, ลวงฺคํ หรือดอกไม้ที่เกิดในป่าที่มีดอกไม้ปะปนกันอยู่หลายชนิด ชื่อว่ายวนปุปผะ ได้แก่กานพลู. ตํ ปุปฺผํ นุหีปุปฺผสมานํ ดอกไม้นั้นเหมือนกับดอกบัว
ตคร (ตคิ คติยํ+อร) กฤษณา.
กุฏิลํ ตคิรตีติ ตครํ ต้นไม้ที่เลื้อยคดไปคดมา ชื่อว่าตคระ. อนุชานามิ ภิกฺขเว จนฺทนํ ตครํ กาฬานุสาริยํ ตาลีสํ ภทฺทมุตฺตกํ ๒ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้จันทน์ กฤษณา กะลัมพัก ใบเฉียงและหญ้าแห้วหมู
ตุรุกฺข (ตรุ+ข) กำยาน.
ตรุโต ชาโต ตุรุกฺโข ต้นไม้ที่โตเร็ว ชื่อว่าตุรุกขะ (อาเทศ อ เป็น อุ, ซ้อน กฺ). สลฺลกีทโว หิ "ตุรุกฺโข"ติ วุตฺโต ป่าไม้ช้างน้าว ท่านเรียกว่า ตุรุกขะ
๑ สำ.สคาถ. ๑๕/๗๑๗/๒๖๘ ๒ วิ.มหา. ๕/๓๗/๔๕
๑๙๗
[๑๔๘] กสาโว นิตฺถิยํ ติตฺโต มธุโร ลวโณ อิเม
อมฺพิโล กฏุโก เจติ ฉ รสา ตพฺพตี ติสุ.
รส ๖ อย่าง
รสมี ๖ อย่าง คือ กสาวะ ฝาด, ติตตะ ขม, มธุระ หวาน, ลวณะ เค็ม, อัมพิระ เปรี้ยว, กฏุกะ เผ็ด
กสาว (กสทฺทูปปท+สิ เสวายํ+อว) รสฝาด.
กํ ปานียํ เสวเตติ กสาโว รสที่ (ใครกินเข้าไปแล้ว) ต้องการน้ำดื่ม ชื่อว่ากสาวะ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). กํ สวาเปตีติ กสาโว รสฝาดที่ยังน้ำให้เชื่อฟัง (ถามหาน้ำ) ชื่อว่ากสาวะ (กสทฺทูปปท+สุ สวเน+อ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาว). นิตฺถิยํ กสาวศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. อมฺพิลํ ลภิตฺวา กสาวํ ปริเยสนฺติ๑ ได้รสเปรี้ยวแล้วแสวงหารสฝาด
รสฝาดมีอีกหลายศัพท์ เช่น ตุวร, กสาย
ติตฺต (ติช นิสาเน+ต) รสขม.
เตชตีติ ติตฺโต, กฎุ รสที่ขม ชื่อว่าติตตะ ได้แก่การบูรเป็นต้น (อาเทศ ชฺ เป็น ตฺ). เขตฺเต ชาตํ ติตฺตํ อลาพุวลฺลึ ทิสฺวา๒ เห็นเถาบวบขมที่เกิดขึ้นในนา
มธุร (มธุ สาทเน+ร) รสหวาน.
มธุยติ สาทิยตีติ มธุโร รสหวานที่คนชอบ ชื่อว่า มธุระ. สุณนฺติ มธุรํ คิรํ ๓ ได้ยินคำหวาน
ลวณ (ลุ ลวเณ+ยุ) รสเค็ม.
ลุนาติ ชฬตฺตนฺติ ลวโณ รสเค็มที่ตัดความไม่รู้รส ชื่อว่าลวณะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว, ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). มหาสมุทฺเท ลวณํ มธุรํ ๔ น้ำในมหาสมุทรทั้งเค็มทั้งหวาน
อมฺพิล (อมฺพ สทฺเท+อิล) รสเปรี้ยว.
อมฺพนฺติ เอเตนาติ อมฺพิลํ รสที่ทำให้บุคคลออกเสียง ชื่อว่าอัมพิละ. ชนา เอเตน วตฺถุนา อมฺพนฺติ สทฺทํ กโรนฺตีติ อมฺพิลํ วัตถุที่ทำให้คนทั้งหลายพากันทำเสียง (เพราะเปรี้ยวปาก) ชื่อว่าอัมพิละ. กสาวํ ลภิตฺวา อมฺพิลํ ปริเยสนฺติ๕ ได้รสฝาดแล้วแสวงหารสเปรี้ยว
กฏุก (กฏ คติยํ+ณฺวุ) รสเผ็ด, เวทนาที่เผ็ดร้อน.
กฏติ คจฺฉตีติ กฏุโก รสที่เป็นไป ชื่อว่ากฏุกะ (อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, อ เป็น อุ). กฏุกํ เวทนํ อธิวาเสนฺโต๖ อดกลั้นทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อน
ตพฺพติ ทพฺเพ กสาวาทิสทฺทา ตีสุ ลิงฺเคสุ วตฺตนฺติ รสทั้ง ๖ มีกสาวะเป็นต้น ที่อยู่ในวัตถุอันมีรส ใช้ในลิงค์ทั้ง ๓ (คือถ้าเป็นวิเสสนะเป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์)
๑ ขุ.มหานิ. ๒๙/๔๑๑/๑๘๗-๘ ๒ อภิ.อฏฺ. ๕๔/๒๐๔/๑๒๑ ๓ สำ.สคาถ. ๑๕/๗๔๓/๒๗๙
๔ มิลินฺท. ๑๐๕ ๕ ขุ.มหานิ. ๒๙/๔๑๑/๑๘๗-๘ ๖ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๖๖/๑๐๒
๑๙๘
[๑๔๙] สิยา ผสฺโส จ โผฏฺฐพฺโพ วิสยี ตฺวกฺขมินฺทฺริยํ
นยนํ ตฺวกฺขิ เนตฺตํ จ โลจนํ จจฺฉิ จกฺขุ จ.
ผัสสะ, การกระทบสัมผัส ๒ บท
ผสฺส (ผสฺส สมฺผสฺเส+อ) ผัสสะ, การกระทบสัมผัส.
ผุสิตพฺโพ ผสฺโส อาการที่บุคคลสัมผัส ชื่อว่าผัสสะ. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส๑ เพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
โผฏฺฐพฺพ (ผุส สมฺผสฺเส+ตพฺพ) การกระทบสัมผัส.
ผุสิตพฺโพ โผฏฺฐพฺโพ อาการที่บุคคลกระทบสัมผัส ชื่อว่าโผฏฐัพพะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ สฺต เป็น ฏฺฐ). เอวรูโป กายวิญฺเญยฺโย โผฏฺฐพฺโพ น เสวิตพฺโพ๒ โผฏฐัพพะที่รู้ด้วยกายอย่างนี้ ภิกษุไม่พึงเสพ
อินทรีย์ ๓ บท
วิสยี (วิสย+อี) อินทรีย์.
วิสโย อสฺส อตฺถีติ วิสยี อินทรีย์ที่มีอารมณ์ ชื่อว่าวิสยี (ลบสระหน้า)
อกฺข (อุข คติยํ+อ) อินทรีย์.
วิสเย อุขติ คจฺฉตีติ อกฺขํ อินทรีย์ที่เป็นไปในอารมณ์ ชื่อว่าอักขะ (อาเทศ อุ เป็น อ, ซ้อน กฺ). นตฺถิ ขํ เวทนา เอตฺถาติ วา อกฺขํ อินทรีย์ที่ไม่มีเวทนา ชื่อว่าอักขะ (น+ข, อาเทศ น เป็น อ, ซ้อน กฺ). น หิ สุขเวทนาทโย สมฺปโยควเสน ปญฺฺจสุ อินทฺริเยสุ อุปฺปชฺชนฺติ, ชวนาทีสุ เอว ปน อุปฺปชฺชนฺตีติ ตถา วุตฺตํ จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้อย่างนั้นว่า สุขเวทนาเป็นต้นไม่เกิดขึ้นในอินทรีย์ทั้ง ๕ โดยสัมปโยคะ แต่เกิดขึ้นในชวนะ เป็นต้นเท่านั้น. มนินฺทฺริเย ตูปจารา อกฺขํ อักขะนั้นเป็นไปในมนินทรีย์โดยอุปจาระ (โดยอ้อม)
อินฺทฺริย (อินฺท ปรมิสฺสริเย+อิย) อินทรีย์.
อินฺทติ ปรมิสฺสริยํ กโรตีติ อินฺทฺริยํ อินทรีย์ที่กระทำความเป็นใหญ่ ชื่อว่าอินทริยะ (ลง รฺ อาคม). อธิปเตยฺยฏฺเฐน อินฺทฺริยํ ๓ ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
ดวงตา ๖ บท
นยน (นี นเย+ยุ) ดวงตา.
เนติ อตฺตโน นิสฺสิตํ ปุคฺคลนฺติ นยนํ ดวงตาที่นำบุคคลผู้อาศัยตนไป ชื่อว่านยนะ (วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย, ยุ เป็น อน). เอกํ เม นยนํ เทหิ๔ ขอจงพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ข้าพระองค์เถิด
๑ วิ.มหา. ๔/๑/๑ ๒ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๒๘๘/๑๕๙ ๓ ขุ.ปฏิสมฺ. ๓๑/๕๓๓/๔๓๑
๔ ขุ.อปทาน. ๓๓/๘/๓๓๖
๑๙๙
อกฺขิ (อกฺข ทสฺสเน+อิ) ดวงตา.
อกฺขติ อเนนาติ อกฺขิ ดวงตาที่ช่วยให้บุคคลมองเห็น ชื่อว่าอักขิ. วิสยํ อิกฺขตีติ อกฺขิ นัยน์ตาที่เห็นรูปารมณ์ ชื่อว่าอักขิ (อิกฺข ทสฺสนงฺเกสุ+อิ, อาเทศ อิ หน้าธาตุเป็น อ). มุขํ วา โสภณํ อกฺขิ วา โสภณํ ๑ หน้าก็สวย ดวงตาก็สวย
เนตฺต (นี นเย+ต) ดวงตา.
เนตีติ เนตฺตํ ดวงตาที่นำทาง ชื่อว่าเนตตะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, ซ้อน ตฺ). ตฺวํ มม จิตฺตมญฺญาย เนตฺตํ ยาจิตุมาคโต๒ ท่านรู้จิตของเราแล้วจึงมาเพื่อจะขอดวงตา
โลจน (ลุจ ทสฺสเน+ยุ) ดวงตา.
โลจติ ปสฺสติ เอเตนาติ โลจนํ ดวงตาที่ช่วยให้มองเห็น ชื่อว่าโลจนะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ยุ เป็น อน)
อจฺฉิ (อจฺฉ ทสฺสนพฺยาปเนสุ+อิ) ดวงตา.
อจฺฉติ ปสฺสติ อเนนาติ อจฺฉิ ดวงตาที่ช่วยให้มองเห็น ชื่อว่าอัจฉิ
จกฺขุ (จกฺข ทสฺสเน+อุ) ดวงตา.
จกฺขติ อสฺสาเทติ รูปนฺติ จกฺขุ ดวงตาที่ชอบรูป ชื่อว่าจักขุ. จกฺขติ ปสฺสตีติ วา จกฺขุ หรือดวงตาที่มองเห็น ชื่อว่าจักขุ. จกฺขุ เจว รูปา จ โสตํ เจว สทฺทา จ๓ คือดวงตากับรูป หูกับเสียง
[๑๕๐] โสตํ สทฺทคฺคโห กณฺโณ สวนํ สุติ นตฺถุ ตุ
นาสา จ นาสิกา ฆานํ ชิวฺหา ตุ รสนา ภเว.
หู ๕ บท
โสต (สุ สวเน+ต) หู, โสต.
สุณาติ เอเตนาติ โสตํ หูเครื่องฟังเสียง ชื่อว่าโสตะ (วุทธิ อุ เป็น โอ). ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู ภควนฺตํ สุสฺสูสึสุ โสตํ โอทหึสุ๔ ภิกษุปัญจวัคคีย์ยอมเชื่อฟัง พระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ
สทฺทคฺคห (สทฺทสทฺทูปปท+คห อุปาทาเน+อ) หู, เครื่องรับเสียง.
สทฺโท คยฺหเต อเนนาติ สทฺทคฺคโห หูเครื่องช่วยให้ได้ยินเสียง ชื่อว่าสัททัคคหะ (ซ้อน คฺ)
กณฺณ (กณฺณ สวเน+อ) หู, กรรณ, หูภาชนะ, มุม.
กณฺณติ สุณาติ เอเตนาติ กณฺโณ หูเครื่องฟังเสียง ชื่อว่ากัณณะ. อนุชานามิ ภิกฺขเว กณฺเณ พนฺธิตุนฺติ. กณฺโณ ชีรติ. ภควโต เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ ๕ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกมุมจีวรไว้ มุมจีวรชำรุด ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
๑ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๖๖๙/๓๒๔ ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๘/๓๗๖ ๓ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๑๗๐/๑๒๖
๔ วิ.มหาวิ. ๔/๑๒/๑๗ ๕ วิ.มหา. ๕/๑๔๗/๒๐๑
๒๐๐
สวน (สุ สวเน+ยุ) หู.
สุณาติ เอเตนาติ สวนํ หูเครื่องฟังเสียง ชื่อว่าสวนะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว, ยุ เป็น อน). อตฺเถตํ ภิกฺขเว สวนํ เนตํ นตฺถีติ วทามิ๑ ภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี
สุติ (สุ สวเน+ติ) หู.
สุณาติ อเนนาติ สุติ หูเครื่องฟังเสียง ชื่อว่าสุติ
จมูก ๔ บท
นตฺถุ (นส คนฺโธปาทาเน+ถุ) จมูก.
นสนฺติ เอตายาติ นตฺถุ จมูกเครื่องช่วยดมกลิ่น ชื่อว่านัตถุ (อาเทศ สฺ เป็น ตฺ). อนุชานามิ ภิกฺขเว นตฺถุกมฺมํ ๒ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หยอดจมูก
นาสา (นส คนฺโธปาทาเน+ณ+อา) จมูก.
นสนฺติ เอตายาติ นาสา จมูกเครื่องช่วยดมกลิ่น ชื่อว่านาสา (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). เอวํ รูหตุ เต นาสา๓ จมูกของท่านจงงอกขึ้นใหม่อย่างนั้น
นาสิกา (นส คนฺโธปาทาเน+ณฺวุ+อา) จมูก.
นสนฺติ เอตายาติ นาสิกา จมูกเครื่องช่วยดมกลิ่น ชื่อว่านาสิกา (วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, อ เป็น อิ). นาสิกา ทุกฺขา โหนฺติ๔ จมูกเจ็บ
ฆาน (ฆา คนฺโธปาทาเน+ยุ) จมูก.
ฆายติ คนฺโธปาทานํ กโรตีติ ฆานํ, ฆายนฺติ อเนนาติ วา ฆานํ จมูกที่ดมกลิ่น หรือจมูกที่ใช้ดมกลิ่น ชื่อวาฆานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ). ตสฺมาติห เต คหปติ เอวํ สิกฺขิตพฺพํ น ฆานํ อุปาทิยิสฺสามิ๕ คฤหบดี เพราะเหตุนั้น ในข้อนี้ท่านควรศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดถือจมูก
ลิ้น ๒ บท
ชิวฺหา (ชีว ปาณธารเณ+ห+อา) ลิ้น.
ชีวติ เอตายาติ ชิวฺหา ลิ้นที่ช่วยให้มีชีวิตอยู่ ชื่อว่าชิวหา (รัสสะ อี เป็น อิ, ลบสระหน้า). ชีวิตนิมิตฺตํ รโส ชีวิตํ นาม รสชื่อว่าชีวิต เพราะมีชีวิตเป็นเหตุ. ตํ อวฺหายตีติ ชิวฺหา ลิ้นที่ถือเอารสนั้น ชื่อว่าชิวหา. ชิวฺหา นิจฺจา วา อนิจฺจา วาติ. อนิจฺจา ภนฺเตติ๖ พระนันทกะถามว่า ลิ้นเป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุณีตอบว่า ไม่เที่ยง เจ้าข้า
รสนา (รส อสฺสาทเน+ยุ+อา) ลิ้น.
รสนฺติ เอตายาติ รสนา ลิ้นที่ช่วยให้บุคคลพอใจ ชื่อว่ารสนา (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า). รสํ ชานาตีติ วา รสนา หรือลิ้นที่รู้รส ชื่อว่ารสนา (รสสทฺทูปปท+ญา อวโพธเน+กฺวิ, อาเทศ ญา เป็น นา, ลบ กฺวิ). รสํ นยตีติ รสนา ลิ้นที่นำรสไป ชื่อว่ารสนา (รสสทฺทูปปท+นี นเย+อ+อา, ลบสระหน้า)
๑ องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๐๑/๓๖๔ ๒ วิ.มหา. ๕/๓๘/๔๗ ๓ ขุ.ชา. ๒๗/๓๘๒/๑๐๕
๔ วิ.จุลฺล. ๗/๑๕๕/๖๑ ๕ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๗๒๗/๔๖๗ ๖ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๗๖๙/๔๘๘
๒๐๑
[๑๕๑] สรีรํ วปุ คตฺตํ จา- ตฺตภาโว โพนฺทิ วิคฺคโห
เทหํ วา ปุริเส กาโย ถิยํ ตนุ กเฬวรํ.
ร่างกาย ๑๐ บท
สรีร (สร คติยํ+อีร) ร่างกาย, สรีระ.
สรติ คจฺฉตีติ สรีรํ ร่างกายที่เป็นไป ชื่อว่าสรีระ. สรติ วาตํ หึสตีติ สรีรํ ร่างกายที่เบียดเบียนลม ชื่อว่าสรีระ (สร หึสายํ+อีร). มาตาปิตูนํ สรีรํ จิตกํ อาโรเปตฺวา อคฺคึ ทตฺวา๑ ยกพระบรมศพของพระชนกพระชนนีขึ้นบนพระจิตกาธานแล้ว ถวายพระเพลิง
วปุ (วป พีชสนฺตาเน+อุ) ร่างกาย.
วปติ กุสลากุสลพีชเมตฺถาติ วปุ ร่างกายเป็นที่หว่านพืชคือกุศลและอกุศล จึงชื่อว่าวปุ
คตฺต (คมุ คติมฺหิ+ต, คห อุปาทาเน+ต) ร่างกาย.
คจฺฉติ คณฺหาติ วา กุสลากุสลํ เอเตนาติ คตฺตํ ร่างกายที่เป็นไป หรือร่างกายเป็นเครื่องถือเอากุศลและอกุศล ชื่อว่าคัตตะ (ลบ มฺ และ หฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน ตฺ). อตฺตโน คตฺตํ โวทกํ กตฺวา๒ เช็ดร่างกายของตนให้แห้งแล้ว
อตฺตภาว (อตฺตสทฺทูปปท+ภู สตฺตายํ+อ) ร่างกาย.
"อตฺตา"ติ อภิธานํ พุทฺธิ จ ภวนฺติ เอตสฺมาติ อตฺตภาโว การรู้จักชื่อ "อัตตา" จากร่างกายนี้ และอัตตาจากร่างกายนี้มีอยู่ ฉะนั้น ร่างกายนี้จึงชื่อว่าอัตตภาวะ (วุทธิ อู เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาว). ชีวิตํ อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา เอกจิตฺตสมายุตฺตา๓ ชีวิต ร่างกาย สุข และทุกข์ทั้งมวล เป็นธรรมประกอบในจิตอย่างเดียวเหมือนกัน
โพนฺทิ (วุ สํวรเณ+ทิ) ร่างกาย.
วุโณติ สํวรติ เอตฺถาติ โพนฺทิ ร่างกายเป็นที่ให้คอยระวัง จึงชื่อว่าโพนทิ (ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ว เป็น พ). มหตี วต เต โพนฺทิ น จ ปญฺญา ตทูปิกา๔ ร่างกายของท่านใหญ่โตนัก แต่ปัญญาหาควรแก่ร่างกายนั้นไม่
วิคฺคห (วิ+คห อุปาทาเน+อ) ร่างกาย.
วิวิธํ คณฺหาติ เอตฺถาติ วิคฺคโห ร่างกายเป็นที่ถือเอาสิ่งต่างๆ จึงชื่อว่าวิคคหะ (ซ้อน คฺ)
เทห (ทิห อุปจเย+ณ) ร่างกาย.
ทิหติ วฑฺฒติ เอตฺถ กุสลากุสลนฺติ เทหํ ร่างกายเป็นที่เจริญกุศลและอกุศล ชื่อว่าเทหะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). เทหํ ปุริเส วา เทหศัพท์มีใช้ในปุงลิงค์บ้าง. ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ๕ ละกายมนุษย์แล้ว จักยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์
กาย (กุ+อาย) ร่างกาย.
กุจฺฉิตานํ อาโย อุปฺปตฺติฏฺฐานนฺติ กาโย ร่างกายเป็นที่เกิดขึ้นของสิ่งสกปรกทั้งหลาย จึงชื่อว่ากายะ (บทนี้เป็นพหุพพีหิสมาส)
ตนุ (ตนุ วิตฺถาเร+อุ) ร่างกาย.
สํสารทุกฺขํ ตโนตีตี ตนุ ร่างกายที่แผ่ไปสู่ความทุกข์ในสงสาร ชื่อว่าตนุ. ตนุสทฺโทยํ อิตฺถิยํ ตนุศัพท์นี้มีใช้ในอิตถีลิงค์
กเฬวร (กฬสทฺทูปปท+วร สํวรเณ+อ) ร่างกาย.
กเฬ เจตสิ วรติ สํวรตีติ กเฬวรํ ร่างกายอันระวังที่จิต ชื่อว่ากเฬวระ (ไม่ลบสัตตมีวิภัตติ)
กุสลาทิวณฺณนา สมตฺตา.
ว่าด้วยกุศลเป็นต้น จบ
๑ วิ.มหา. ๕/๒๔๔/๓๒๘ ๒ วิ.มหา. ๔/๘๑/๘๖ ๓ ขุ.มหานิ. ๒๙/๔๙/๔๘
๔ ขุ.ชา. ๒๗/๒๖๖/๗๗ ๕ ที.มหา. ๑๐/๒๓๙/๒๘๘