<<<                  >>>

๖๒

๑.๓. ทิสาทิวณฺณนา

ว่าด้วยทิศเป็นต้น

 

[๒๙] ปาจีปตีจฺยุทีจิตฺถี       ปุพฺพปจฺฉิมอุตฺตรา

       ทิสาถ ทกฺขิณาปาจี     วิทิสานุทิสา ภเว.

 

ทิศตะวันออก, ทิศปราจีน, ทิศบูรพา

ปาจี, ปาจีน (ป+อญฺจ คติยํ+อี,อีน) ทิศตะวันออก, ทิศปราจีน.

ปฐมํ ปาโต อญฺจติ รวิ ยสฺสํ สา ปาจี ปาจีนํ ทิศที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในเวลาเช้า ชื่อว่าปาจีและปาจีนะ (ลบสระหน้าแล้ว ทีฆะสระหลัง, ลบ ญฺ อักษร). ปุพฺพภาคํ ปญฺจติ อาปชฺชตีติ ปาจี ทิศที่ถึงก่อน ชื่อว่าปาจี (ปญฺจ คติยํ+อี, ลบ ญฺ, ทีฆะ อ เป็น อา). โส ปาจีนทิสํ อาทึ กตฺวา สพฺพทิสา โอโลเกสิ พระสารีบุตรเหลียวดูทิศทั้งปวง เริ่มจากทิศตะวันออก

 

ทิศตะวันตก, ทิศประจิม, ทิศปัจฉิม

ปตีจี (ปติ+อญฺจ คติยํ+อี) ทิศตะวันตก, ทิศประจิม, ทิศปัจฉิม.

ปจฺฉา ทิวาวสาเน อญฺจติ รวิ ยสฺสํ สา ปตีจี ทิศที่ดวงอาทิตย์โคจรถึงเมื่อสิ้นสุดกลางวัน ชื่อว่าปตีจี. ปติญฺจติ ปจฺฉาภาเค อาปชฺชเตติ ปตีจี ทิศที่ถึงภายหลัง ชื่อว่าปตีจี (ลบ ญฺ, ลบสระหลัง, ทีฆะสระหน้า)

 

ทิศเหนือ, ทิศอุดร

อุทีจี (อุ+ทิ+อญฺจ คติยํ+อี) ทิศเหนือ.

อุทฺธํ อญฺจติ รวิ ยสฺสํ สา อุทีจี, ยสฺสํ วา สีตวิโยคํ ทตฺวา อญฺจติ สา อุทีจี. วิโยคตฺถวาจโก เหตฺถ อุกาโร, ทิสทฺโท ทานตฺโถ ทิศที่ดวงอาทิตย์โคจรขึ้นไปในแนวตรง หรือทิศที่ดวงอาทิตย์เมื่อโคจรผ่านไปทำให้โลกปราศจาก ความเย็น ชื่อว่าอุทีจี, อุอักษรในคำว่า "อุทีจี" นี้ กล่าวอรรถว่าปราศจาก, ส่วน ทิศัพท์ มีอรรถว่า ให้ (ลบ ญฺ, ลบสระหลัง, ทีฆะสระหน้า)

 

ทิศใต้, ทิศทักษิณ ๒ ศัพท์

อปาจี, อปาจีน (อป+อญฺจ คติยํ+อี,อีน) ทิศใต้.

มชฺเฌ อปายํ อญฺจติ ยสฺสํ รวิ, สา อปาจี ทิศเบื้องล่างจากทางโคจรของดวงอาทิตย์ ชื่อว่าอปาจี (ลบ ญฺ, ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). มชฺฌตฺโถยํ อปสทฺโท, ยถา อปทิสํ    อปศัพท์นี้มีอรรถว่าท่ามกลางแห่งทิศทั้ง ๒ (ทิศเฉียง) เช่น อปทิส ทิศเฉียง. อปาจีนนฺติ เหฏฺฐา คำว่า "อปาจีนํ" คือ ทิศใต้

 

๑ ธมฺม.อฏฺ. ๒๓/๙๒    ๒ ขุ.อฏฺ. ๒๗/๑๑๑/๔๐๙

๖๓

อวาจี (อว+อญฺจ อโธมุขีภาเว+อี) ทิศใต้.

อวญฺจติ อโธมุุขี ภวติ ยสฺสํ รวิ, สา อวาจี, อุณฺหาทิเก วา ตพฺพิโยเค กโรนฺโต ยสฺสํ รวิ อญฺจติ, สา อวาจี ทิศที่ดวงอาทิตย์หันหน้าลง หรือทิศที่ดวงอาทิตย์ทำให้ปราศจากความร้อนเป็นต้นแล้วโคจรไป ชื่อว่าอวาจี (ลบ ญฺ, ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง)

อถ วา ปญฺจติ ปุพฺพภาวมาปชฺชเตติ ปาจี, ปติญฺจติ ปจฺฉาภาวมาปชฺชเตติ ปตีจี, อุทญฺจติ สีตวิโยคทานตฺตมาปชฺชเตติ อุทีจี อีกนัยหนึ่ง ทิศที่ถึงก่อนชื่อว่าปาจี, ทิศที่ถึงภายหลัง ชื่อว่าปตีจี, ทิศที่ให้ความอบอุ่นชื่อว่าอุทีจี, ทั้ง ๓ ศัพท์ คือ อุทีจี ปาจี ปตีจี เป็นอิตถีลิงค์

ปุพฺพ ทิศตะวันออก, ปจฺฉิม ทิศตะวันตก, ทิกฺขิณ ทิศใต้, อุตฺตร ทิศเหนือ เป็นสัพพนามปุงลิงค์ ดังนั้น ศัพท์ที่มีความหมายว่า ทิศตะวันออก มี ๒ ศัพท์ คือ ปาจี (ปาจีน) และ ปุพฺพ, ทิศตะวันตกมี ๒ ศัพท์ คือ ปตีจี และ ปจฺฉิม, ทิศเหนือมี ๒ ศัพท์ คือ อุทีจี และ อุตฺตร, ทิศใต้ มี ๒ ศัพท์ คือ อปาจี (อปาจีน) และ ทกฺขิณ

 

ทิศเฉียง ๒ ศัพท์

วิทิสา (วิ+ทิสา) ทิศเฉียง.

ทิสาหิ วินิคฺคตา วิทิสา ทิศที่ประกอบด้วยทิศทั้ง ๒ ชื่อว่าวิทิสา. ทิสา จ วิทิสา จ ทิศใหญ่และทิศเฉียง

อนุทิสา (อนุ+ทิสา) ทิศเฉียง.

ทิสานมนุรูปา อนุวตฺตกา วา ทิสา อนุทิสา ทิศที่อนุวัตรเอาตามควรแก่ทิศทั้ง ๒ ชื่อว่าอนุทิสา. อปทิสนฺติปิ วิทิสาย นามํ แม้คำว่า "อปทิส" ก็เป็นชื่อของทิศเฉียง. อนุทิสา อนุวิโลเกตพฺพา โหติ ควรมองหาทิศเฉียง

 

[๓๐] เอราวโณ ปุณฺฑรีโก        วามโน กุมุโทญฺชโน

      ปุปฺผทนฺโต สพฺพภุมฺโม      สุปฺปตีโก ทิสาคชา.

 

ช้างประจำทิศ ๘ เชือก

เอราวณ (อิราวณ+ณ) ช้างเอราวัณ, ช้างประจำทิศบูรพา(ตะวันออก).

เอราวณาทโย อฏฺฐ คชา ปุพฺพาทีนํ ทิสานํ รกฺขณโต ทิสาคชา นาม ช้าง ๘ เชือก มีเอราวัณเป็นต้น เป็นช้างรักษาทิศตะวันออกเป็นต้น. อิราวโณ นาม สมุทฺโท, ตตฺร ชาโต เอราวโณ สมุทรชื่อว่าอิราวณะ, ช้างที่เกิดในแถบสมุทรนั้น ชื่อว่าเอราวณะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). เอราวโณติ ตสฺส หตฺถิโน นามํ คำว่า เอราวโณ เป็นชื่อของช้าง

 

๑ ที.ปาฏิก. ๑๑/๑๖๙/๑๙๑      ๒ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙/๑๖๙       ๓ ชา.อฏฺ. ๔๔/๑๒๓

๖๔

ปุณฺฑรีก (ปุณฺฑ ขณฺฑเน+อิก) ช้างปุณฑรีกะ, พญาช้างเผือก, ช้างประจำทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้).

ปุณฺฑรีกํ นาม สิตมฺโพชํ, ตํสทิสวณฺณตาย ปุณฺฑรีโก ดอกบัวขาวชื่อว่าปุณฑรีกะ, เพราะเป็นช้างที่มีสีเหมือนดอกบัวขาว จึงชื่อว่าปุณฑรีกะ (ลง รฺ อาคม, ทีฆะ อิ เป็น อี)

 

วามน (วา คมเน+มน) ช้างวามนะ, ช้างประจำทิศทักษิณ(ใต้).

รสฺสสรีรตาย วามโน เพราะเป็นช้างที่มีลำตัวสั้น จึงชื่อว่าวามนะ. พฺยามปฺปมาณํ ลาตีติ วามโน ช้างที่มีลำตัวยาวประมาณหนึ่งวา ชื่อว่าวามนะ (ลา คมเน+มน, อาเทศ ล เป็น ว)

 

กุมุท (กุสทฺทูปปท+มุท โมทเน+อ) ช้างกุมุทะ, ช้างประจำทิศหรดี(ตะวันตกเฉียงใต้).

กุยํ ปถวิยํ โมทเตติ กุมุโท ช้างที่ชอบคลุกแผ่นดิน ชื่อว่ากุมุทะ

 

อญฺชน (อญฺช มกฺขเณ+ยุ) ช้างอัญชนะ, ช้างประจำทิศปัจฉิม(ตะวันตก).

อญฺชนวณฺณตาย อญฺชโน เพราะเป็นช้างที่มีสีเหมือนยาหยอดตา (ให้ตาดำสวย) จึงชื่อว่าอัญชนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)

 

ปุปฺผทนฺต (ปุปฺผ+ทนฺต) ช้างปุปผทันตะ, ช้างประจำทิศพายัพ(ตะวันตกเฉียงเหนือ).

ปุปฺผา ปกาสมานา ทนฺตา อสฺสาติ ปุปฺผทนฺโต ช้างที่มีงาขาวสว่าง ชื่อว่าปุปผทันตะ

 

สพฺพภุมฺม (สพฺพภูมิ+ณฺย) ช้างสัพพภุมมะ, ช้างประจำทิศอุดร(เหนือ).

สพฺพภูมิยํ จรตีติ สพฺพภุมฺโม ช้างที่เที่ยวไปทั่วทั้งแผ่นดิน ชื่อว่าสัพพภุมมะ (ลบ ณฺ และสระหน้า, อาเทศ มฺย เป็น ม, ซ้อน มฺ, รัสสะ อู เป็น อุ). สพฺพภุมฺโม วา จกฺกวตฺตี, ตสฺสานุรูปตฺตา สพฺพภุมฺโม หรือสัพพภุมมะคือพระเจ้าจักรพรรดิ, เพราะเป็นช้างที่ควรแก่พระเจ้าจักรพรรดินั้น จึงชื่อว่าสัพพภุมมะ

 

สุปฺปตีก (สุ+ปตีก) ช้างสุปปตีกะ, ช้างประจำทิศอีสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ).

โสภนทนฺตา-วยวตฺตา สุปฺปตีโก เพราะเป็นช้างที่มีงาและรูปร่างงดงาม จึงชื่อว่าสุปปตีกะ (ซ้อน ปฺ). คัมภีร์นานัตถสังคหะว่า "สุปฺปตีโก โสภนงฺเค ภเว อีสานทิสาคเช   สุปฺปตีกศัพท์ใช้ในอรรถว่า ผู้มีรูปร่างงดงามและช้างประจำทิศอีสาน"

 

คัมภีร์อมรโกสอภิธานว่า ช้างพังของช้างประจำทิศ มีชื่อดังนี้

 

อพฺภมุ กปิลา เจว       ปิงฺคลานุปมา มตา,

ตมฺพกณฺณี สุภทนฺตี     องฺคนา อญฺชนาวตี.

 

บัณฑิตพึงทราบว่า ช้างพังเหล่านี้ คือ ช้างอัพภมุ ช้างกปิลา ช้างปิงคลา ช้างอนุปมา ช้างตัมพกัณณี ช้างสุภทันตี ช้างอังคนา และช้างอัญชนาวดี เป็นช้างพังคู่กับช้างประจำทิศทั้ง ๘ ตามลำดับ

๖๕

[๓๑] ธตรฏฺโฐ จ คนฺธพฺพา-     ธิโป กุมฺภณฺฑสามิ ตุ

      วิรุฬฺหโก วิรูปกฺโข          ตุ นาคาธิปตีริโต.

 

เทวดารักษาทิศ ๖ ศัพท์

 

ธตรฏฺฐาทิทฺวยํ ปุพฺพทิสาธิปติเทเว ท้าวธตรฐและท้าวคันธัพพาธิปะเป็นใหญ่ในสวรรค์ด้านทิศตะวันออก

 

ธตรฏฺฐ (ธร ธารเณ+รฏฺฐ) ท้าวธตรฐ, ท้าวจาตุมหาราชประจำทิศตะวันออก.

ธาริตํ รฏฺฐมเนนาติ ธตรฏฺโฐ เทวดาผู้รักษาแว่นแคว้น ชื่อว่าธตรัฏฐะ (อาเทศ ร เป็น ต). ปุรตฺถิมาย ทิสาย ธตรฏฺโฐ มหาราชา ปจฺฉิมาภิมุโข นิสินฺโน โหติ ในทิศตะวันออก ท้าวธตรฐมหาราชนั่งผินหน้าไปทางทิศตะวันตก

 

คนฺธพฺพาธิป (คนฺธพฺพ+อธิป) ท้าวคันธัพพาธิปะ, ชื่อของท้าวธตรฐ.

ปญฺจสิขาทีนํ คนฺธพฺพานํ อธิโป นายโก คนฺธพฺพาธิโป เทวดาที่เป็นผู้นำของคนธรรพ์มีปัญจสิขเทพบุตรเป็นต้น ชื่อว่าคันธัพพาธิปะ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). กุมฺภณฺฑสามฺยาทิทฺวยํ ทกฺขิณทิสาธิปติเทเว ท้าวกุมภัณฑสามีและท้าววิรุฬหกเป็นใหญ่ในสวรรค์ด้านทิศใต้

 

กุมฺภณฺฑสามิ (กุมฺภณฺฑ+สามิ) ท้าวกุมภัณฑสามิ, ยักษ์กุมภัณฑ์, ท้าวจาตุมหาราชประจำทิศใต้.

กุมฺภณฺฑานํ สามิ นายโก กุมฺภณฺฑสามิ เทวดาที่เป็นผู้นำของกุมภัณฑเทพบุตร ชื่อว่ากุมภัณฑสามิ

 

วิรูฬฺหก (วิ+รุห วุฑฺฒิยํ+ก) ท้าววิรุฬหก, ท้าวจาตุมหาราชประจำทิศใต้.

วิรุหนฺติ วุฑฺฒึ วิรูฬฺหิมาปชฺชนฺติ เอตสฺมึ กุมฺภณฺฑาติ วิรูฬฺหโก. วิรูฬฺหํ วุฑฺฒิปฺปตฺตํ วา กํ สุขเมตสฺสาติ วิรูฬฺหโก เทวดาผู้เป็นที่ตั้งให้กุมภัณฑเทพบุตรถึงความเจริญ ชื่อว่าวิรูฬหกะ (ลง ฬฺ อาคม, กลับ หฺฬ เป็น ฬฺห, ทีฆะ อุ เป็น อู), หรือเทวดาผู้มีความสุขอันถึงความเจริญ ชื่อว่าวิรูฬหกะ (วิรุฬฺห+ก). ทกฺขิณาย ทิสาย วิรูฬฺหโก มหาราชา อุตฺตราภิมุโข นิสินฺโน โหติ ในทิศใต้ ท้าววิรุฬหกมหาราชนั่งผินหน้าไปทางทิศเหนือ. วิรูปกฺขาทิทฺวยํ ปจฺฉิมทิสาธิปติเทเว ท้าววิรูปักษ์และท้าวนาคาธิบดีิ เป็นใหญ่ในสวรรค์ด้านทิศตะวันตก

 

วิรูปกฺข (วิรูป+อกฺขิ+ณ) ท้าววิรูปักษ์, ท้าวจาตุมหาราชประจำทิศตะวันตก.

วิรูปานิ อกฺขีนิ ยสฺส วิรูปกฺโข, วิวิธสณฺฐานานิ อกฺขีนิ ยสฺส วา วิรูปกฺโข เทวดาผู้มีนัยน์ตาแปลก หรือเทวดาผู้มีนัยน์ตาสัณฐานแปลก ชื่อว่าวิรูปักขะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). ปจฺฉิมาย ทิสาย วิรูปกฺโข มหาราชา ปุรตฺถิมาภิมุโข นิสินฺโน โหติ ในทิศตะวันตก ท้าววิรูปักษ์มหาราช นั่งผินหน้าไปทางทิศตะวันออก

 

๑ ที.มหา. ๑๐/๑๙๒/๒๓๗     ๒ ที.มหา. ๑๐/๑๙๒/๒๓๗     ๓ ที.มหา. ๑๐/๑๙๒/๒๓๗ 

๖๖

นาคาธิปติ (นาค+อธิปติ) ท้าวนาคาธิบดี, ท้าวจาตุมหาราชประจำทิศตะวันตก.

นาคานํ อธิปติ นาคาธิปติ เทวดาผู้ปกครองนาค ชื่อว่านาคาธิปติ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). อหมฺปิ นาคาธิปติวิมานํ ทกฺเขมิ แม้เราก็มองหาวิมานของท้าวนาคาธิบดี

 

[๓๒] ยกฺขาธิโป เวสฺสวโณ       กุเวโร นรวาหโน

 อฬกาฬกมนฺทาสฺส        ปุรี ปหรณํ คทา

 จตุทฺทิสานมธิปา           ปุพฺพาทีนํ กมา อิเม.

 

ท้าวกุเวรผู้รักษาทิศเหนือ, ท้าวเวสสุวัณ ๔ ศัพท์

 

ยกฺขาธิป (ยกฺข+อธิป) ท้าวกุเวร, ท้าวเวสสุวัณ, ท้าวยักขาธิปะ, ท้าวจาตุมหาราชประจำทิศเหนือ.

อาฬวกาทิยกฺขานํ อธิโป ยกฺขาธิโป เทวดาผู้ปกครองอาฬวกยักษ์เป็นต้น ชื่อว่า ยักขาธิปะ. ในวินยฎีกามีรูปบาลีเป็น ยกฺขาธิปติ เช่น เวสฺสวณสฺส ยกฺขาธิปติภาเวปิ แม้ในความเป็นผู้ปกครองยักษ์ของท้าวเวสสุวัณ

 

เวสฺสวณ (วิสฺสวณ+ณ) ท้าวกุเวร, ท้าวเวสสุวัณ, ท้าวจาตุมหาราชประจำทิศเหนือ.

วิสฺสวณสฺส อปจฺจํ เวสฺสวโณ เทพบุตรลูกของวิสสวณเทพ ชื่อว่าเวสสวณะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ ที่มีสังโยคอยู่หลังเป็น เอ ได้บ้าง). อุตฺตราย ทิสาย เวสฺสวโณ มหาราชา ทกฺขิณาภิมุโข นิสินฺโน โหติ ในทิศเหนือ ท้าวเวสสุวัณมหาราชนั่งผินหน้าไปทางทิศใต้

 

กุเวร (กุ+เวร) ท้าวกุเวร, ท้าวเวสสุวัณ, ท้าวจาตุมหาราชประจำทิศเหนือ.

ติจรณาฏฺฐาภยานกมตฺถิตาย กุจฺฉิตํ เวโร สรีรมสฺสาติ กุเวโร เทวดาผู้มีร่างกายอัปลักษณ์ ชื่อว่ากุเวระ ท้าวกุเวรมีอีกศัพท์ เช่น ตฺยมฺพกสข, ยกฺขราช, คุยฺหเกสร, มนุสฺสธมฺม, ธนท, ราชราช, ธนาธิป, กินฺนเรส

 

ปุริมทิสํ ธตรฏฺโฐ        ทกฺขิเณน วิรูฬฺหโก

ปจฺฉิเมน วิรูปกฺโข       กุเวโร อุตฺตรํ ทิสํ.

 

ท้าวธตรฐเป็นใหญ่ในทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกเป็นใหญ่ในทิศใต้

ท้าววิรูปักษ์เป็นใหญ่ในทิศตะวันตก ท้าวกุเวรเป็นใหญ่ในทิศเหนือ

 

นรวาหน (นร+วาหน) ท้าวกุเวร, ท้าวเวสสุวัณ, ท้าวนรวาหนะ, ท้าวจาตุมหาราชประจำทิศเหนือ.

นโร วาหนมสฺส นรวาหโน เทวดาผู้มีคนเป็นพาหนะ ชื่อว่านรวาหนะ หมายถึง

 

๑  ขุ.ชา ๒๘/๙๙๘/๓๕๐ ๒  วิ.ฏี. ๖๕/๑๘๖/๓๙๗ ๓  ที.มหา. ๑๐/๑๙๒/๒๓๗ ๔  ที.มหา. ๑๐/๒๔๒/๒๙๒

๖๗

ผู้มีวอที่เทวดาหามเป็นพาหนะ. เอกํ นรวาหนยานํ เทฺว เวสฺสวณา วิย เหมือนท้าวเวสสุวัณ ๒ องค์ ขึ้นวอคนหามเดียวกัน อิเม จตฺตาโร ยถาวุตฺตา ธตรฏฺฐาทโย เทวา กมโต ปุพฺพาทีนํ จตุทฺทิสานํ อธิปา อธิปตโย นาม เทวดาทั้ง ๔ มีท้าวธตรฐเป็นต้น ตามที่กล่าวแล้ว เป็นเทวดารักษาทิศทั้ง ๔  มีทิศตะวันออกเป็นต้น

 

คัมภีร์อมรโกสะกล่าวไว้ว่า

 

อินฺโท อคฺคิ ปิตุปติ      เนริโต วรุโณนิโล

กุเวโร อีโส ปตโย       ปุพฺพาทีนํ อิเม กมา.

รวิ สุกฺโก มหีสูนุ        ตโม จ ภานุโช วิธุ

พุโธ สุรคุรุ เจติ         ทิสาธิปา ตถา คหา.

 

เทวดาผู้เป็นใหญ่ในทิศตะวันออกเป็นต้น มีตามลำดับดังนี้ คือ อินทะ อัคคิ ปิตุปติ เนริตะ วรุณะ อนิละ กุเวระ อีสะ, วิมานใหญ่ในทิศนั้นๆ คือ รวิ สุกกะ มหีสูนุ ตมะ ภานุชะ วิธุ พุธะ สุรคุรุ

 

วิมานของท้าวกุเวร ๒ ศัพท์

อสฺส กุเวรสฺส ปุรี "อฬกา อฬกมนฺทา" ติ จ วุจฺจติ วิมานของท้าวกุเวรนั้น ท่านเรียกว่า "อฬกา, อฬกมนฺทา"

 

อฬกา (อลํ วิภูสเน+ก+อา) อฬกาวิมาน.

อลํ วิภูสเน, อลํ วิภูสนํ กโรตีติ อลกา, สา เอว อฬกา วิมานที่มีการประดับตกแต่ง ชื่อว่าอลกา, อลกานั่นแหละ ชื่อว่าอฬกา

 

อฬกมนฺทา (อฬกา+มุท โมทเน+อา) อฬกมันทาวิมาน.

อฬกา เอว โมทกรโณติ อฬกมนฺทา อฬกาวิมานเท่านั้นทำให้ร่าเริง จึงชื่อว่าอฬกามันทา (รัสสะ อา เป็น อ, อาเทศ อุ เป็น อ, ลง นฺ อาคม)

 

อาวุธของท้าวกุเวร

 

คทา (คสทฺทูปปท+ทา ทาเน+อา) คทา, อาวุธของท้าวกุเวร.

อสฺส กุเวรสฺส ปหรณํ อายุธํ คทา อาวุธของท้าวกุเวร ชื่อว่าคทา. คํ วุจฺจติ วชิรํ, ตํ วิย ทุกฺขํ ททาตีติ คทา เพชรท่านเรียกว่า "ค", อาวุธที่ทำให้ทุกข์ทรมานเหมือนวชิราวุธ ชื่อว่าคทา. เวสฺสวณฺเณน กุชฺฌนกาเล วิสฺสชฺชิตา คทา พหุนฺนํ ยกฺขสหสฺสานํ สีสํ ปาเตตฺวา คทาที่ท้าวเวสสุวัณขว้างออกไปในเวลาโกรธ ตัดศีรษะของยักษ์หลายพันให้ตกลง

 

๑  สำ.อฏฺ. ๑๑/๒๔๖/๓๐๗ ๒  อมรโกส. ๓/๓-๔      ๓  มชฺ.อฏฺ. ๘/๒๕๖/๖๓

๖๘

[๓๓] ชาตเวโท สิขี โชติ         ปาวโก ทหโนนโล

       หุตาวโหจฺจิมา ธูม-        เกตฺวคฺคิ คินิ ภานุมา.

[๓๔] เตโช ธูมสิโข วายุ-        สโข จ กณฺหวตฺตนี

       เวสฺสานโร หุตาโสถ       สิขา ชาลจฺจิ จาปุเม.

 

ไฟ ๑๘ ศัพท์

 

ชาตเวท (ชาตสทฺทูปปท+วิท ลาเภ+อ) ไฟ.

อนฺธกาเร ชาตํ วิชฺชมานํ วินฺทติ ลภติ วิทติ ชานาติ เอเตนาติ วา ชาตเวโท, ชนนํ ชาตํ เวโท ปากโฏ ยสฺส วา โส

ชาตเวโท ไฟที่ให้ได้ ให้รู้สิ่งที่มีอยู่ในที่มืด หรือไฟที่มีการเกิดปรากฏขึ้น ชื่อว่าชาตเวทะ (วุทธิ อิ เป็น เอ). ชาเต อุปฺปนฺเน วินฺทติ ฆาตยตีติ ชาตเวโท ไฟที่ให้กระทบ(ให้พบเห็น)สิ่งที่เกิดขึ้น ชื่อว่าชาตเวทะ (ชาตสทฺทูปปท+ วิท ฆาตเย+อ, วุทธิ อิ เป็น เอ). กฏฺฐา หเว ชายติ ชาตเวโท ไฟย่อมเกิดจากฟืนแล. อคฺคิ หิ ชาตมตฺโตว เวทิยติ ขายติ ปากโฏ โหติ, ตสฺมา ชาตเวโทติ วุจฺจติ ไฟเกิดขึ้นให้คนรู้เห็นปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงเรียกไฟว่า ชาตเวทะ

 

สิขี (สิขา+อี) ไฟ.

สิขา วุจฺจติ ชาลา, ตาย โยคโต สิขี เปลวไฟเรียกว่าสิขา, เพราะไฟมีเปลว จึงชื่อว่าสิขี (ลบสระหน้า). ปชฺชลิตฺถ ยถา สิขี เหมือนไฟลุกโพลง. สจฺเจ กเต มยฺหํ มหาปชฺชลิโต สิขี เมื่อเราตั้งสัจจะแล้ว ไฟก็ลุกโชติช่วงสว่างไสว

 

โชติ (ชุต ทิตฺติยํ+อิ) ไฟ.

โชตติ ทิปฺปตีติ โชติ ไฟที่มีความโชติช่วง ชื่อว่าโชติ (วุทธิ อุ เป็น โอ). โชติ นาม อคฺคิ วุจฺจติ ท่านเรียกไฟว่าโชติ

 

ปาวก (ปุ ปวเน+ณฺวุ) ไฟ.

ปุนาตีติ ปาวโก ไฟที่ชำระ ชื่อว่าปาวกะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาวฺ, ณฺวุ เป็น อก). วนํ ยทคฺคิ ฑหติ ปาวโก ไฟที่ไหม้ป่า

 

ทหน (ทห ทหเน+ยุ) ไฟ.

ทหตีติ ทหโน ไฟที่เผาไหม้ ชื่อว่าทหนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน). ตตฺถ อรญฺเญ ฌาเปสึ ทหนํ เราจุดไฟเผาป่านั้นแล้ว

 

อนล (อน ปาลเน+อล) ไฟ.

อนนฺติ ปาเลนฺติ อเนนาติ อนโล ไฟที่เป็นเครื่องป้องกัน (เช่นป้องกันสัตว์ร้าย) ชื่อว่าอนละ. ชลมาโน วเน คจฺเฉ อนโล ไฟป่าไหม้ลามไปในป่า

 

หุตาวห (หุตสทฺทูปปท+วห ปาปเน+อ) ไฟ.

เวเท หุตํ วหติ ปาปยติ สยํ วา ลภเตติ หุตาวโห

 

๑ สำ.สคาถ. ๑๕/๖๖๐/๒๔๖    ๒ ชา.อฏฺ. ๓๖/๓๙๐            ๓ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๓๘/๒๔๔     

๔ ชา.อฏฺ. ๓๕/๓๒๐            ๕ วิ.มหาวิ. ๒/๖๐๗/๓๙๖       ๖ สำ.สคาถ. ๑๕/๓๒๖/๑๐๐

๗ ขุ.อฏฺ. ๕๐/๑๔๙๖/๒๓๒      ๘ ขุ.ชา. ๒๗/๒๓๖๕/๕๐๒

 

 

๖๙

ไฟที่ถึงการบูชาในคัมภีร์เวท หรือไฟที่ได้รับการบูชาเอง ชื่อว่าหุตาวหะ (ทีฆะ อ เป็น อา)

 

อจฺจิมนฺตุ (อจฺจิ+มนฺตุ) ไฟ.

อจฺจิ วุจฺจติ ชาลา, ตาย โยคโต อจฺจิมา เปลวไฟเรียกว่าอัจจิ, เพราะไฟมีเปลว จึงชื่อว่าอัจจิมันตุ (รูปสำเร็จ อาเทศ นฺตุ กับ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า). กตโม นุ โข อสฺส อคฺคิ อจฺจิมา ไฟไหนหนอมีเปลว

 

ธูมเกตุ (ธูม+เกตุ) ไฟ.

ธูโม เกตุ ธโช ยสฺสาติ ธูมเกตุ ไฟที่มีควันเป็นเครื่องสังเกต ชื่อว่าธูมเกตุ. ธูมเกตุ ปทิสฺสถ ไฟปรากฏแล้ว. อคฺคิ หิ ตสฺส อคฺคโต ธูโม ปญฺญายติ, ธูมสิโข ธูมเกตูติ วุจฺจติ ไฟมีควันปรากฏเป็นยอด หรือมีควันเป็นยอด เรียกว่า ธูมเกตุ

 

อคฺคิ (อคฺค คติโกฏิลฺเล+อิ) ไฟ.

อชติ ชลมาโน กุฏิลํ คจฺฉตีติ อคฺคิ ไฟที่คดไปคดมา ชื่อว่าอัคคิ. ชนฺตาฆเร อคฺคิ มุขํ ฑหติ ไฟในเรือนไฟลุกไหม้ใบหน้า. อคฺคีติ อนุทหนฏฺเฐน อคฺคิ บทว่า "อคฺคิ" คือไฟ เพราะมีอรรถว่าไหม้ไปตามลำดับ. ตโยเม ภิกฺขเว อคฺคี ราคคฺคิ โทสคฺคิ โมหคฺคิ ภิกษุทั้งหลาย ไฟมีอยู่ ๓ กอง คือ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ. ราคคฺคีติ ราโค อุปฺปชฺชมาโน สตฺเต อนุทหติ ฌาเปติ บทว่า "ราคคฺคิ" คือ ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมตามไหม้สัตว์ทั้งหลาย

 

คินิ (ค+อินิ) ไฟ.

โค รํสิ เอตสฺสตฺถีติ คินิ, อคฺคินีติปิ ปาโฐ, โส อคฺคิสทิโส ไฟที่มีรัศมี ชื่อว่าคินิ, มีรูปเป็น อคฺคินิ บ้าง, เหมือนกันกับ อคฺคิ. ตเมว กฏฺฐํ ทหติ, ยสฺมา โส ชายเต คินิ ไฟนั้นเกิดจากฟืนใด ย่อมไหม้ฟืนนั้น. อคฺคิ คินีติ โวหรียติ ท่านเรียกไฟโดยโวหารว่า คินิ

 

ภานุมนฺตุ (ภานุ+มนฺตุ) ไฟ.

ภานุ ปภา ยสฺสตฺถีติ ภานุมา ไฟที่มีแสงสว่าง ชื่อว่าภานุมันตุ (รูปสำเร็จ อาเทศ นฺตุ กับ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า)

 

เตช (ติช นิสาเน+ณ) ไฟ.

เตเชติ เสสภูโตปาทารูปานีติ เตโช ไฟเผารูปที่เกิดขึ้นทุกอย่างให้มอดไหม้ ชื่อว่าเตชะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). เตโช สุจิมฺปิ ฑหติ อสุจิมฺปิ ฑหติ๑๐ ไฟย่อมไหม้ทั้งของที่สะอาดและไม่สะอาด. เตโชติ อคฺคิธูโม๑๑ บทว่า "เตโช" คือไฟที่มีควัน

 

ธูมสิข (ธูม+สิขา+ณ) ไฟ.

ธูโม สิขา จูฬา ยสฺสาติ ธูมสิโข ไฟที่มีควันเป็นยอด ชื่อว่าธูมสิขะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). ชลมิว ธูมสิโข๑๒ เหมือนไฟที่กำลังลุกโพลง. ชลมิว ธูมสิโขติ ชลนฺโต อคฺคิ วิย ๑๓ คำว่า "ชลมิว ธูมสิโข" หมายถึง เหมือนไฟที่กำลังโชติช่วง

 

วายุสข (วายุ+สขา+ณ) ไฟ.

วายุ สขา อสฺสาติ วายุสโข ไฟที่มีลมพัดพาไป ชื่อว่าวายุสขะ (ลบ ณฺ และสระหน้า)

 

๑ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๗๒๔/๖๕๙       ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๒๔/๑๙๒       ๓ ขุ.อฏฺ. ๓๐/๖๕๒/๑๘๑

๔ วิ.จุลฺล. ๗/๘๕/๓๒            ๕ ที.อฏฺ. ๖/๓๐๕/๑๘๙             ๖ ขุ.อฏฺ. ๒๖/๓๐/๒๒๐

๗ ที.อฏฺ. ๖/๓๐๕/๑๘๙          ๘ ขุ.ชา. ๒๗/๑๓๗๕๒๘๐           ๙ ขุ.อฏฺ. ๒๘/๑๘/๒๗

๑๐ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๑๔๒/๑๓๙      ๑๑ สํ.อฏฺ. ๑๓/๕๐๙/๓๑๗         ๑๒ ขุ.วิมาน. ๒๖/๓๕/๖๒

๑๓ ขุ.อฏฺ. ๓๐/๖๕๒/๑๘๑

๗๐

กณฺหวตฺตนี (กณฺห+วตฺตนี) ไฟ.

ฑหิตฺวา คจฺฉโต กณฺหา วตฺตนี มคฺโค ยสฺสาติ กณฺหวตฺตนี ไฟที่ไหม้ไปให้เกิดรอยดำเป็นทาง ชื่อว่ากัณหวัตตนี. วนํ ยทคฺคิ ฑหติ ปาวโก กณฺหวตฺตนี ไฟไหม้ป่า. ปาวโก กณฺหวตฺตนีติ อคฺคิโน นามํ บททั้ง ๒ คือ "ปาวโก กณฺหวตฺตนี" เป็นชื่อของไฟ

 

เวสฺสานร (วิสฺสานร+ณ) ไฟ.

วิสฺสานรสฺส อิสิโน อปจฺจํ เวสฺสานโร ไฟเป็นลูก(ที่เกิด จากฤทธิ์)ของวิสสานรฤาษี ชื่อว่าเวสสานระ (ลบ ณฺ และสระหน้า, วุทธิ อิ เป็น เอ ได้บ้าง). เวสฺสานรมาทหาโน บูชาไฟ. เวสฺสานรมาหาโนติ เวสฺสานรํ อคฺคึ อาทหนฺโต บทว่า "เวสฺสานรมาทหาโน" คือบูชาไฟ

 

หุตาส (หุตสทฺทูปปท+อส ภกฺขเน+อ) ไฟ.

หุตํ หวึ อสติ ภุญฺชตีติ หุตาโส ไฟที่กลืนกินวัตถุที่ใส่เข้าไป ชื่อว่าหุตาสะ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). โฆเร นิรเย หุตาโส ไฟในนรกแรงกล้า

 

ศัพท์ที่แปลว่าไฟมีอีกมาก เช่น ชลน, อาสยาส, โรหิตสฺส, สตฺตาจฺจิ, สุกฺก, จิตฺรภานุ, วิภาวสุ, สุจิ

 

เปลวไฟ ๓ ศัพท์

 

สิขา (สิ นิสาเน+ข+อา) เปลวไฟ.

สิโนติ นิสานี ภวตีติ สิขา เปลวไฟที่มีความคม ชื่อว่าสิขา (ลบสระหน้า). สิขา และ ชาลา ศัพท์เป็นอิตถีลิงค์

 

ชาลา (ชล ทิตฺติยํ+ณ+อา) เปลวไฟ.

ชลตีติ ชาลา เปลวไฟที่ลุกโพลง ชื่อว่าชาลา (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า). ยาว ชาลา น อุฏฺฐหติ ตราบเท่าเปลวไฟจะไม่เกิดขึ้น. สรีรโต ชาลา อุฏฺฐหิ เปลวไฟเกิดขึ้นจากสรีระ

 

อจฺจิ (อจฺจ ปูชายํ+อิ) เปลวไฟ.

อจฺจเต ปุชฺชเต อเนเนติ อจฺจิ เปลวไฟที่ใช้บูชา ชื่อว่าอัจจิ. อจฺจิ นิกฺขมิตฺวา ติณานิ ฌาเปสิ น อุตฺตราสงฺคํ ฌาเปสิ เปลวไฟแลบออกไป ไหม้หญ้าแต่ไม่ไหม้จีวร. อจฺจิศัพท์เป็นนปุงสกลิงค์

 

๑ สํ.สคาถ. ๑๕/๓๒๖/๑๐๐      ๒ ชา.อฏฺ. ๓๘/๔๐๓          ๓ ขุ.ชา. ๒๘/๗๖๕/๒๕๙

๔ ชา.อฏฺ. ๔๔/๖๗                ๕ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๑๑๔/๑๒๓      ๖ วิ.อฏฺ. ๒/๔๕๔

๗ มชฺ.อฏฺ. ๑๐/๒๑๒/๑๔๒       ๘ สํ.สฬา. ๑๘/๕๕๗/๓๕๘

๗๑

[๓๕] วิปฺผุลิงฺคํ ผุลิงฺคํ จ     ภสฺมา ตุ เสฏฺฐิ ฉาริกา.

 

ประกายไฟ ๒ ศัพท์

 

วิปฺผุลิงฺค (วิปุพฺพ+ผุลฺลสทฺทูปปท+คมุ คติมฺหิ+กฺวิ) ประกายไฟ, สะเก็ดไฟ.

วิวิธาสุ ทิสาสุ ผุลฺลํ คจฺฉตีติ วิปฺผุลิงฺคํ ประกายไฟที่แตกกระจายไปในทิศต่างๆ ชื่อว่าวิปผุลิงคะ (ซ้อน ปฺ, ลบ ลฺ, ลง อิ และนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ ปัจจัย)

 

ผุลิงฺค (ผุลิสทฺทูปปท+คมุ คติมฺหิ+กฺวิ) ประกายไฟ, สะเก็ดไฟ.

ผุลึ คจฺฉตีติ ผุลิงฺคํ ประกายไฟที่แตกกระจายไป ชื่อว่าผุลิงคะ (ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ และ กฺวิ ปัจจัย). ผุลิงฺคศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. ตสฺส ผุลิงฺคานิ ปตนฺติ กาเย สะเก็ดไฟตกลงที่ร่างกายของเขา

 

ขี้เถ้า ๓ ศัพท์

 

ภสฺม (ภสทฺทูปปท+สิ สเย+ม) ขี้เถ้า.

มลีนกํสวตฺถาทีนํ ภํ ทิตฺตึ เสติ ปวตฺเตตีติ ภสฺมํ, ภสติ วา อโธ ปตติ วตฺถาทีนํ มลเมเตนาติ ภสฺมํ, ภสฺมา ขี้เถ้าที่ใช้ขัดภาชนะสัมฤทธิ์ และผ้าเป็นต้นที่เศร้าหมองให้เงางาม หรือขี้เถ้าเป็นเครื่องขัดความเศร้าหมองของวัตถุมีผ้าเป็นต้นให้หมดไป ชื่อว่าภัสมะ (ลบ อิ ที่สุดธาตุ). อหํ อิมํ นาฬนฺทํ เอเกน มโนปโทเสน ภสฺมํ กริสฺสามิ เราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นขี้เถ้า ด้วยความไม่พอใจขณะเดียว

 

เสฏฺฐิ (สุ+อิฏฺฐิ) ขี้เถ้า.

กํสาทีนํ สุกฺกภาวตฺตํ อิจฺฉิตพฺพตฺตา อิฏฺฐิ อภิลาโส โสภนํ เอติสฺสา อตฺถีติ เสฏฺฐิ ขี้เถ้าที่ทำให้เงางามเพราะเป็นสิ่งที่ผู้ขัดภาชนะสัมฤทธิ์เป็นต้นต้องการ ชื่อว่าเสฏฐิ (ลบสระหน้า, วิการสระ อิ เป็น เอ)

 

ฉาริกา (สร หึสายํ+ณิก+อา) ขี้เถ้า.

มลสฺส สรณํ กโรตีติ สาริกา, สา เอว ฉาริกา ขี้เถ้าที่ขจัดคราบสกปรก ชื่อว่าสาริกา, สาริกานั่นแหละ ชื่อว่าฉาริกา (อาเทส ส เป็น ฉ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า). ฑยฺหมานานํ เนว ฉาริกา ปญฺญายติ ขี้เถ้าไม่ปรากฏแก่ผู้ที่กำลังถูกไฟไหม้. ฉาริกาติ ภสฺมํ คำว่า "ฉาริกา" แปลว่า ขี้เถ้า

 

[๓๖] กุกฺกุโฬ ตุณฺหภสฺมสฺมิ-      มงฺคาโร ลาตมุมฺมุกํ

        สมิธา อิธุมํ เจโธ             อุปาทานํ ตถินฺธนํ.

 

ขี้เถ้าร้อน ๒ ศัพท์

 

กุกฺกุฬ (กุกฺกุสทฺทูปปท+ลา เฉทเน+อ) ขี้เถ้าร้อน, เร่าร้อน.

 

๑ ขุ.อฏฺ. ๒๗/๘๑/๒๘๕      ๒ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๗๐/๖๔      ๓ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๖๓/๑๐๔

๔ ขุ.อฏฺ. ๒๖/๗๙/๔๖๑

๗๒

 

อุณฺหตฺตา กุกฺกุํ กุจฺฉิตํ ลาตีติ กุกฺกุโล ขี้เถ้าที่ลวกอวัยวะให้พุพองน่ารังเกียจ เพราะมีความร้อน ชื่อว่ากุกกุละ (ลบสระหน้า). คัมภีร์นานัตถสังคหะว่า "กุกฺกุ วิทตฺถิยํ หตฺเถ ปโกฏฺเฐ กุจฺฉิเตปิ จ    กุกฺกุศัพท์ใช้ในอรรถว่า คืบ มือ ข้อมือ และอวัยวะอันน่ารังเกียจ". กุกฺกุํ วา หตฺถํ ลุนาติ ฉินฺทติ ทหตีติ กุกฺกุโล, โส เอว กุกฺกุโฬ ขี้เถ้าร้อนที่ลวกมือ ชื่อว่ากุกกุละ, กุกกุละนั่นแหละ ชื่อว่ากุกกุฬะ (ลบสระหน้า, อาเทศ ล เป็น ฬ). รูปํ ภิกฺขเว กุกฺกุฬํ เวทนา กุกฺกุฬา สญฺญา กุกฺกุฬา ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของร้อน เวทนาเป็นของร้อน สัญญาเป็นของร้อน. กุกฺกุฬาติ ฆราวาโส กิร อุณฺหฏฺเฐน กุกฺกุฬา นาม โหติ บทว่า "กุกฺกุฬา" หมายความว่า การอยู่ครองเรือน ชื่อว่าเป็นความเร่าร้อน เพราะมีความหมายว่าร้อน

 

อุณฺหภสฺม (อุณฺห+ภสฺม) ขี้เถ้าร้อน.

อุณฺหเมว ภสฺมํ อุณฺหภสฺมํ ขี้เถ้าอันร้อน ชื่อว่า อุณหภัสมะ

 

ถ่านไฟ ๑ ศัพท์

 

องฺคาร (องฺค คติมฺหิ+อาร) ถ่านไฟ.

องฺคติ หานึ คจฺฉตีติ องฺคาโร ถ่านไฟที่ถึงความหมดสิ้นไป(กลายเป็นขี้เถ้า) ชื่อว่าอังคาระ. คัมภีร์ติกัณฑเสสะกล่าวว่า "อลาเตนิตฺถิ กุเชงฺคาโร   องฺคารศัพท์ใช้ในอรรถว่า ดุ้นฟืนติดไฟและดาวอังคาร เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์". ปาเทน วา องฺคารํ อกฺกมิตฺวา ไม่ให้เท้าเหยียบถ่านไฟ. ฉาริกา วา องฺคาโร วา น ปญฺญายติ ขี้เถ้าหรือถ่านไฟย่อมไม่ปรากฏ

 

ดุ้นฟืนติดไฟ, คบไฟ, ซากไฟไหม้ ๒ ศัพท์

 

อลาต (น+ลา เฉทเน+ต) ดุ้นฟืนติดไฟ, คบไฟ, ซากไฟไหม้.

หานิเมว ลาติ น ฐิตึ วิเสสญฺจาติ อลาตํ ถ่านไฟที่ติดไฟจนกว่าจะหมดไป ชื่อว่าอลาตะ. ฌาเปตฺวา อลาตํ กตฺวา ฉฑฺเฑติ เผาทำให้เป็นถ่านแล้วทิ้ง

 

อุมฺมุก (อุปุพฺพ+มุจ โมจเน+ต) ดุ้นฟืนติดไฟ, คบไฟ, ซากไฟไหม้.

อุทฺธํ ธูมํ มุญฺจตีติ อุมฺมุตํ, ตเทว อุมฺมุกํ ดุ้นไฟที่ปล่อยควันขึ้นเบื้องบน ชื่อว่าอุมมุตะ, อุมมุตะนั่นแหละ ชื่อว่าอุมมุกะ (ซ้อน มฺ, ลบ จฺ, อาเทศ ต เป็น ก). อิมาสํ อุปสฺสยํ ฌาเปสฺสามีติ อุมฺมุกํ คเหตฺวา อุปสฺสยํ ปวิสติ เขาคิดว่าจะเผาที่อยู่ของภิกษุณีเหล่านี้ จึงถือเอาคบไฟเข้าไปสู่ที่อยู่ของพวกนาง

 

๑ สํ.ขนฺธ. ๑๗/๓๓๔/๒๑๗         ๒ สํ.อฏฺ. ๑๑/๒๓๙/๒๙๒        ๓ มชฺ.มูล. ๑๒/๕๔๖/๕๘๖

๔ องฺ.อฏฺ. ๑๖/๔๙๙/๑๙๙          ๕ วิ.อฏฺ. ๑/๕๖๐                ๖ วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๕๗/๑๐๖

๗๓

เชื้อไฟ, เชื้อเพลิง ๕ ศัพท์

 

สมิธา (สํปุพฺพ+อิธ วุฑฺฒิยํ+อ+อา) เชื้อไฟ, เชื้อเพลิง.

สนฺตมคฺคึ เอธยติ วทฺฒยตีติ สมิธา เชื้อที่ช่วยให้ไฟที่มีอยู่ลุกโพลงขึ้น ชื่อว่าสมิธา (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ลบสระหน้า)

 

อิธุม (อิธ วุฑฺฒิยํ+อุม) เชื้อไฟ, เชื้อเพลิง.

เอธยตีติ อิธุมํ เชื้อที่ทำให้ไฟลุก ชื่อว่าอิธุมะ

 

เอธ (เอธ วุฑฺฒิยํ+อ) เชื้อไฟ, เชื้อเพลิง.

เอธติ วฑฺฒติ อคฺคิ เอเตนาติ เอโธ เชื้อที่ทำให้ไฟลุกโพลง ชื่อว่าเอธะ

 

อุปาทาน (อุป-อาปุพฺพ+ทา ทาเน+ยุ) เชื้อไฟ, เชื้อเพลิง.

อุปาทิยเต อคฺคินาติ อุปาทานํ เชื้อที่ไฟติด ชื่อว่าอุปาทานะ (ลบสระหน้า, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ)

 

อินฺธน (อิธ วุฑฺฒิยํ+นิคฺคหีตาคม+ยุ) เชื้อไฟ, เชื้อเพลิง.

เอธยติ เอเตนาติ อินฺธนํ เชื้อที่ทำให้ไฟลุก ชื่อว่าอินธนะ (อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, ยุ เป็น อน). อคฺคิ ยเทว อินฺธนํ นิสฺสาย อุปฺปชฺชติ ไฟอาศัยเชื้อใดเกิดขึ้น

 

 

[๓๗] อโถภาโส ปกาโส จา-     โลโกชฺโชตาตปา สมา

       มาลุโต ปวโน วายุ           วาโตนิรสมีรณา

       คนฺธวาโห ตถา วาโย        สมีโร จ สทาคติ.

 

แสง, ความสว่าง, แสงแดด ๕ ศัพท์

 

โอภาส (อวปุพฺพ+ภาส ทิตฺติยํ+อ) แสง, ความสว่าง, แสงแดด.

โอภาสติ ทิปฺปตีติ โอภาโส แสงที่สว่าง ชื่อว่าโอภาสะ (อาเทศ อว เป็น โอ). โอภาโส โลเก ปาตุรโหสิ แสงสว่าง มีปรากฏในโลก. โอภาโส นาม ทีโปภาโสปิ โหติ แม้แสงสว่างของประทีป ก็ชื่อว่าโอภาสะ

 

ปกาส (ปปุพฺพ+กาส ทิตฺติยํ+อ) แสง, ความสว่าง, แสงแดด.

ปกาสติ ทิปฺปตีติ ปกาโส แสงสว่าง ชื่อว่าปกาสะ. อนฺธการํ ปกาสญฺจ ทสฺสยิตฺวา อเนกธา แสดงทั้งความมืดและแสงสว่างเป็นเอนก

 

อาโลก (อาปุพฺพ+โลก ทสฺสเน+อ) แสง, ความสว่าง, แสงแดด.

อาโลจยติ ปสฺสติ เอเตนาติ อาโลโก, อาโลเกติ วา เอเตนาติ อาโลโก ความสว่างที่ทำให้มองเห็น หรือแสงที่ช่วยให้มองเห็น ชื่อว่าอาโลกะ. อาโลโก อุปฺปนฺโน ความสว่างเกิดขึ้นแล้ว. โอภาสกรณตฺเถน อาโลโก ชื่อว่าอาโลกะ เพราะมีอรรถว่าทำให้สว่าง

 

๑ ขุ.อฏฺ. ๒๗/๙๓/๓๓๖       ๒ วิ.มหา. ๔/๑๗/๒๓  

๓ ที.อฏฺ. ๔/๒๑๔/๑๗๑       ๔ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๓๘/๒๔๔

๗๔

อุชฺโชต (อุปุพฺพ+โชต ทิตฺติยํ+อ) แสง, ความสว่าง, แสงแดด.

อุชฺโชตตีติ อุชฺโชโต, อนฺธการํ วิทฺธํเสนฺโต โชตตีติ วา อุชฺโชโต แสงที่สว่างขึ้น หรือแสงที่กำจัดความมืดแล้วสว่างขึ้น ชื่อว่าอุชโชตะ (ซ้อน ชฺ)

 

อาตป (อาปุพฺพ+ตป ทิตฺติยํ+อ) แสง, ความสว่าง, แสงแดด.

อา สมนฺตโต ตปติ ทิปฺปตีติ อาตโป แสงที่สว่างไปโดยรอบ ชื่อว่าอาตปะ. ยํ ฉายา ชหติ ตํ อาตโป ผรติ เงาละที่ใดไป แสงแดด ย่อมแผ่ไปถึงที่นั้น

สมาติ เอเต ปญฺจ ตุลฺยตฺถาติ ภาโว บทว่า "สมา" ในคาถา หมายถึงศัพท์ทั้ง ๕ นี้ มีความหมายอย่างเดียวกัน

 

ลม ๑๐ ศัพท์

 

มาลุต (มร ปาณจาเค+ณ+ต) ลม.

อาหาโร วิย ปาณภูโตปิ กทาจิ สตฺเต มาเรตีติ มารุโต, โสว มาลุโต แม้จะเป็นเพียงลมปราณ บางครั้งสามารถฆ่าสัตว์ให้ตายได้ เหมือนกับอาหาร จึงชื่อว่ามารุตะ, มารุตะนั่นแหละ ชื่อว่ามาลุตะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ อ เป็น อุ, รฺ เป็น ลฺ). มาลุโต วิชฺชุตา จรติ นเภ ลมก็ปั่นป่วน สายฟ้าก็แลบอยู่บนท้องฟ้า

 

ปวน (ปุ ปวเน+ยุ) ลม.

ปุนาติ สงฺการาทิกนฺติ ปวโน ลมที่พัดเศษมูลฝอย ชื่อว่าปวนะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว, ยุ เป็น อน)

 

วายุ (วา คมเน+ยฺอาคม+อุ) ลม, พายุ.

วายติ คจฺฉตีติ วายุ, วายติ วา ปุปฺผาทีนํ คนฺโธ เยน โส วายุ ลมที่พัดไป หรือลมที่พัดพากลิ่นดอกไม้เป็นต้นไป ชื่อว่าวายุ. โสโม ยโม จนฺทิมา วายุ ท้าวโสมะ พญายม พระจันทร์ พระวายุ. มหาราช วายุ นาม มหาบพิตร ชื่อว่าลม

 

วาต (วา คมเน+ต) ลม.

วายติ คจฺฉตีติ วาโต ลมที่พัดไป ชื่อว่าวาตะ. อสงฺคหิตานิ ตานิ วาโต วิกิรติ ลมพัดดอกไม้ที่ยังไม่ได้ร้อยเหล่านี้ให้กระจัดกระจายไป

 

อนิล (อน ปาณชีวเน+อิล) ลม.

อนนฺติ ปาณนฺติ อเนนาติ อนิโล ลมที่ช่วยให้สัตว์มีชีวิตอยู่ ชื่อว่าอนิละ. อนิโล วิย เยน กามํจรา ไปตามปรารถนาเหมือนลม

 

สมีรณ (สํ+อีร ขิปเน+ยุ) ลม.

สนฺตํ นิจฺจลํ อีรยตี กมฺเปตีติ สมีรโณ, สมีริตุํ กมฺปิตุํ สีลมสฺสาติ วา สมีรโณ ลมที่พัดวัตถุที่ยังไม่ไหวให้ไหว หรือลมที่มีปรกติพัดเพื่อให้ไหว ชื่อว่าสมีรณะ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ยุ เป็น อน, น เป็น ณ)

 

๑ วิ.มหาวิ. ๑/๓/๗              ๒ วิ.อฏฺ. ๑/๑๘๑              ๓ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๓๗/๓๖

๔ ขุ.เถร. ๒๖/๑๘๗/๒๗๑    ๕ ขุ.ชา. ๒๘/๗๖๒/๑๕๘      ๖ มิลินฺท. ๕๖/๔๙๓

๗ วิ.มหาวิ. ๑/๗/๑๓           ๘ ขุ.ชา. ๒๘/๓๐๐/๑๑๓

 

๗๕

คนฺธวาห (คนฺธสทฺทูปปท+วห ปาปเน+ณ) ลม.

คนฺธํ วหตีติ คนฺธวาโห ลมที่พัดพากลิ่นไป ชื่อว่าคันธวาหะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). (คนฺธวายุนา, คนฺธวาโต)

 

วาย (วา คมเน+ยฺอาคม+อ) ลม.

วายติ คจฺฉตีติ วาโย, วายติ วา ปุปฺผาทีนํ คนฺโธ เยน โส วาโย ลมที่พัดไป หรือลมที่พัดพากลิ่นดอกไม้เป็นต้นไป ชื่อว่าวายะ. วาโย สุจิมฺปิ อปวายติ อสุจิมฺปิ ลมย่อมพัดทั้งสิ่งที่สะอาดและไม่สะอาดไป

 

สมีร (สํปุพฺพ+อีร ขิปเน+อ) ลม.

สมนฺตโต อีรติ ขิปติ รุกฺขาทโยติ สมีโร ลมที่พัดต้นไม้เป็นต้นให้โอนเอียงไปทุกทิศทุกทาง ชื่อว่าสมีระ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ)

 

สทาคติ (สทาสทฺทูปปท+คมุ คติมฺหิ+ติ) ลม.

สทา สพฺพทา คติ ยสฺสาติ สทาคติ ลมที่พัดไปตลอดเวลา ชื่อว่าสทาคติ (ลบ มฺ ที่สุดธาตุ)

 

ลมมีอีกหลายศัพท์ เช่น สสน, คนฺธวห, อาสุค, มรุต, ชคติปาณ, ปวมาน, ปภญฺชน

 

[๓๘] วายุเภทา อิเม ฉุทฺธงฺ-       คโม จาโธคโม ตถา

       กุจฺฉิฏฺโฐ จ โกฏฺฐาสโย      อสฺสาสงฺคานุสาริโน.

 

ลมในกาย ๖ อย่าง

 

อุทฺธงฺคม (อุทฺธํสทฺทูปปท+คมุ คติมฺหิ+อ) ลมพัดขึ้นเบื้องบน.

อุทฺธํ คจฺฉตีติ อุทฺธงฺคโม ลมที่พัดขึ้นไปเบื้องบน ชื่อว่าอุทธังคมะ (อาเทศนิคหิตเป็นวัคคันตะ งฺ). อุทฺธงฺคมา วาตา ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน

 

อโธคม (อโธสทฺทูปปท+คมุ คติมฺหิ+อ) ลมพัดลงเบื้องล่าง.

อุจฺจารปสฺสาวาทีนํ นีหรณวเสน อโธภาคํ คจฺฉตีติ อโธคโม ลมที่พัดลงเบื้องล่าง คือ ลมที่เบ่งอุจจาระและปัสสาวะออกไป ชื่อว่าอโธคมะ. อโธคมา วาตา ลมที่พัดลงเบื้องล่าง

 

กุจฺฉิฏฺฐ, กุจฺฉิสย (กุจฺฉิสทฺทูปปท+üา คตินิวตฺติมฺหิ+อ) ลมในท้อง.

กุจฺฉิมฺหิ อุทเร ติฏฺฐตีติ กุจฺฉิฏฺโฐ ลมที่อยู่ในท้อง ชื่อว่ากุจฉิฏฐะ (ซ้อน ฏฺ, ลบสระหน้า). กุจฺฉิมฺหิ อุทเร สยตีติ กุจฺฉิฏฺโฐ ลมที่อยู่ในท้อง ชื่อว่ากุจฉิฏฐะ. กุจฺฉิสยา วาตา ลมที่อยู่ในท้อง

 

๑ ขุ.อฏฺ. ๓๑/๓๕๙/๑๖๖         ๒ ธมฺม.อฏฺ. ๒๕/๑๗๑           ๓ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๑๔๓/๑๓๙

๔ มชฺ.มูล. ๑๒/๓๔๕/๓๕๕       ๕ มชฺ.มูล. ๑๒/๓๔๕/๓๕๕      ๖ มชฺ.มูล. ๑๒/๓๔๕/๓๕๕

๗๖

โกฏฺฐาสย (โกฏฺüสทฺทูปปท+อา+สิ สเย+อ) ลมในลำไส้.

โกฏฺเฐ อนฺเต เสติ ติฏฺฐตีติ โกฏฺฐาสโย ลมที่ตั้งอยู่ในลำไส้ ชื่อว่าโกฏฐาสยะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย, ลบสระหน้า). โกฏฺฐาสยา วาตา ลมที่ตั้งอยู่ในลำไส้

 

อสฺสาส (อา+สส ปาณเน+ณ) ลมหายใจออก.

อา ปุนปฺปุนํ สสนฺติ เยนาติ อสฺสาโส, พหินิกฺขนฺตวาโต ลมที่ใช้หายใจเนืองๆ ชื่อว่าอัสสาสะ ได้แก่ ลมหายใจออก (ซ้อน สฺ, รัสสะ อา เป็น อ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ ของธาตุเป็น อา)

 

องฺคานุสารี (องฺคสทฺทูปปท+อนุ+สร คติมฺหิ+ณี) ลมที่ไหลเวียนไปตามอวัยวะน้อยใหญ่.

ปสฺสาโสติ อนฺโตปวิสนกวาโตปิ อสฺสาโสติ เอเตน สงฺคยฺหเต สหจาริตตฺตา สพฺพงฺเคสุ อนุสรติ สีเลน เสทโลหิตาทิสมฺปาทนโตติ องฺคานุสารี ลมที่เข้าไปภายใน ชื่อว่าปัสสาสะ (ป-อาปุพฺพ+สส ปาณเน+ณ, ลบ ณฺ, ซ้อน สฺ, ลบสระหน้า), ท่านรวม ปสฺสาส เข้ากับ อสฺสาส หมายถึง ลมที่หมุนเวียนไปทั่วสรรพางค์กายเป็นปรกติ เพื่อช่วยให้เหงื่อและโลหิตไหลเวียน ชื่อว่าอังคานุสารี. องฺคานุสาริโน วาตา ลมที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย

คัมภีร์อมรโกสอภิธานว่า "ปาโณปาโน สมาโน โจทานพฺยานา จ วายโว สรีรฏฺฐา อิเม ลมที่มีอยู่ในร่างกาย คือ ปาณะ อปานะ สมานะ อุทานะ พยานะ"

คัมภีร์จินตามณิฏีกาของอมรโกสอภิธานกล่าวว่า

หทเย ปาโณ คุเทปาโน    สมาโน นาภิมชฺฌฏฺโฐ,

อุทาโน กณฺฐเทเส ตุ       พฺยาโน สพฺพงฺคสนฺธิสุ.

ลมที่ไหลเวียนอยู่ในหัวใจ ชื่อว่าปาณะ, ลมที่ระบายออกทางทวารหนัก ชื่อว่าอปานะ, ลมที่ตั้งอยู่ช่วงกลางสะดือ ชื่อว่าสมานะ, ลมที่เปล่งออกทางลำคอ ชื่อว่าอุทานะ, ลมที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ชื่อว่าพยานะ

 

ในคาถานี้ท่านแสดงถึงลม ๕ ชนิด คือ (๑) ปาณะ คือ ลมที่ใช้กลืนอาหารเข้าไป วิเคราะห์ว่า ปกฏฺเฐน อนนฺตฺยเนน ภตฺตาทิปฺปเวสนโตติ ปาโณ (ปปุพฺพ+อน ปาณเน+อ, ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง, อาเทศ น เป็น ณ). (๒) อปานะ คือ ลมที่ช่วยเบ่งปัสสาวะและอุจจาระออกไป วิเคราะห์ว่า มุตฺตาทิกํ อปเนตฺวา อนนฺตฺยเนนาติ อปาโน (อปปุพฺพ+อนปาณเน+อ, ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). (๓) สมานะ คือ ลมที่ช่วยย่อยอาหาร ท่านวิเคราะห์ไว้ว่า สมฺมา อนนฺติ อเนน ภุตฺตปริปาจนโตติ สมาโน (สํปุพฺพ+อน ปาณเน+อ, อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ทีฆะ อ เป็น อา). (๔) อุทานะ คือ ลมที่เปล่งออกมาขณะพูดและขับร้อง วิเคราะห์ว่า อุทฺธมนนฺตฺยเนน ภาสิตาโท สามตฺถิยชนนโตติ อุทาโน (อุปุพฺพ+ทฺอาคม+อน ปาณเน+อ, ทีฆะ อ เป็น อา). (๕) พยานะ คือ ลมที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ช่วยขับเหงื่อไคลและเสมหะเป็นต้น วิเคราะห์ว่า วิเสเสน อนนฺตฺยเนน เสทรตฺตเสมฺหาทิสมฺปาทนโตติ พฺยาโน (วิ+อน ปาณเน+อ, อาเทศ อิ เป็น ย, วฺ เป็น พฺ, ทีฆะ อ เป็น อา)

 

๑ มชฺ.มูล. ๑๒/๓๔๕/๓๕๕      ๒ มชฺ.มูล. ๑๒/๓๔๕/๓๕๕      ๓ อมรโกส. ๑/๖๗

๗๗

[๓๙] อโถ อปานํ ปสฺสาโส อสฺสาโส อานมุจฺจเต.

 

ลมหายใจเข้า ๒ ศัพท์

 

อปาน (อป+อน ปาณเน+อ) ลมหายใจเข้า.

อานํ วุจฺจติ พหินิกฺขมนวาโต, ตโต อปคตํ อปานํ ลมที่พัดออกไปภายนอก เรียกว่าอานะ, ลมที่ตรงข้ามกับอานะนั้น ชื่อว่าอปานะ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง)

 

ปสฺสาส (อป-อาปุพฺพ+สส ปาณเน+ณ) ลมหายใจเข้า.

อสฺสาสโต อปคโต ปสฺสาโส ลมที่ตรงข้ามจากลมหายใจออก ชื่อว่าปัสสาสะ (ลบสระหลัง, ซ้อน สฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ปสฺสาโสติ อนฺโต ปวิสนวาโต ลมหายใจเข้าไปภายใน ชื่อว่าปัสสาสะ

 

ลมหายใจออก ๒ ศัพท์

 

อสฺสาส (อา+สส ปาณเน+ณ) ลมหายใจออก.

อาทิมฺหิ ปวตฺโต สาโส อสฺสาโส ลมหายใจครั้งแรก ชื่อว่าอัสสาสะ (ซ้อน สฺ, รัสสะ อา เป็น อ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อสฺสาโสติ พหิ นิกฺขมนวาโต ลมหายใจออกไปภายนอก ชื่อว่าอัสสาสะ

 

อาน, สมาน (อา+อน ปาณเน+ณ) ลมหายใจออก.

อนนฺติ ปาณนฺติ อเนนาติ อานํ, อาทิมฺหิ ปวตฺตํ อานํ อานํ ลมหายใจ ชื่อว่าอานะ, ลมหายใจครั้งแรก ชื่อว่า อานะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบ อา ๑ ตัว)

 

อานาปานสตี ยสฺส     ปริปุณฺณา สุภาวิตา

อนุปุพฺพํ ปริจิตา        ยถา พุทฺเธน ภาสิตา.

ผู้เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธองค์ทรงภาษิตไว้แล้ว

 

ในขุททกนิกายอรรถกถาท่านกล่าวถึงลมหายใจออกหายใจเข้าไว้ว่า อานนฺติ อสฺสาโส, อปานนฺติ ปสฺสาโส. อสฺสาสปสฺสาสนิมิตฺตารมฺมณา สติ อานาปานสติ คำว่า "อานํ" ได้แก่ลมหายใจออก, คำว่า "อปานํ" ได้แก่ลมหายใจเข้า, สติอันมีลักษณะของลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเป็นอารมณ์ ชื่อว่าอานาปานสติ

 

๑ วิ.อฏฺ. ๑/๕๐๐        ๒ วิ.อฏฺ. ๑/๕๐๐        ๓ ขุ.เถร. ๒๖/๓๗๒/๓๕๐

๔ ขุ.อฏฺ. ๓๓/๕๖๖/๒๐๖

๗๘

[๔๐] เวโค ชโว รโย ขิปฺปํ      ตุ สีฆํ ตุริตํ ลหุ

       อาสุ ตุณฺณมรํ จาวิ-     ลมฺพิตํ ตุวฏํปิ จ.

 

ความเร็ว ๓ ศัพท์

 

เวค (วช ปาปุณเน+อ) ความเร็ว.

อิจฺฉิตฏฺฐานํ วชนฺติ ปาปุณนฺติ เอเตนาติ เวโค ความเร็วที่ช่วยให้ไปสู่ที่อันตนปรารถนา ชื่อว่าเวคะ (อาเทศ อ เป็น เอ, ชฺ เป็น คฺ). เอกขุโร เวโค อสฺโส เป็นม้ามีกีบเท้าเดียว(แตะพื้น) วิ่งเร็ว

 

ชว (ชุ ชวเน+ณ) ความเร็ว.

ชวนฺติ เอเตนาติ ชโว อาการที่ไปด้วยความรวดเร็ว ชื่อว่าชวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว). มยฺหํ ภนฺเต เอวรูโป ชโว อโหสิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความเร็วอย่างนี้

 

รย (รย คติยํ+อ) ความเร็ว.

รยนฺติ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ รโย อาการที่ไปอย่างเร็ว ชื่อว่ารยะ

 

 

เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที, ว่องไว ๑๐ ศัพท์

 

ขิปฺป (ขิป เปรเณ+อ) เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที, ว่องไว.

ขิปฺปติ เปรตีติ ขิปฺปํ อาการที่เป็นไปโดยเร็ว ชื่อว่าขิปปะ (ซ้อน ปฺ). ขิปฺปเมว อคมาสิ เลื้อยไปอย่างรวดเร็ว

 

สีฆ (สิ คติยํ+ฆ) เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที, ว่องไว.

ลหุํ หุตฺวา เสติ ปวตฺตตีติ สีฆํ อาการที่เป็นไปได้เร็ว ชื่อว่าสีฆ (ทีฆะ อิ เป็น อี). สีฆํ สีฆํ คจฺฉถ จงไปเร็วๆ. ท่านอธิบายเพิ่มเติมว่า สเวคคติวจนา ชวาทโย, สีฆาทโย ตุ ธมฺมวจนา     ชวศัพท์เป็นต้นกล่าวถึงการไปด้วยความเร็ว(เป็นนามนาม), ส่วน สีฆศัพท์เป็นต้นกล่าวถึงการกระทำที่เร็วเป็นปรกติ(เป็นคุณนาม) เช่น สีฆํ ปจติ หุงเร็ว, สีฆํ คจฺฉติ ไปเร็ว, ชวํ ปจติ หุงให้เร็ว, ชวํ คจฺฉติ ไปให้เร็ว, หรือเป็น เวเคน คจฺฉติ, ชเวน คจฺฉติ ก็มี

 

ตุริต (ตร ตรเณ+อิ+ต) เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที, ว่องไว.

ตรตีติ ตุริตํ อาการที่ข้ามไป ชื่อว่าตุริตะ. ตุริตํ อาจฺฉตุ จงมาเร็วไว

 

ลหุ, ลฆุ (ลงฺฆ คติโสสเนสุ+อุ) เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที, เบา, คล่องแคล่ว.

ลงฺฆตีติ ลหุ ลฆุ อาการที่เป็นไปอย่างคล่องแคล่ว ชื่อว่าลหุและลฆุ (ลบ งฺ, อาเทศ ฆ เป็น ห บ้าง). จกฺกวตฺติโน อสฺสรตนํ สีฆํ ลหุํ ชวํ ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิมีฝีเท้าเร็ว

 

๑ ขุ.ชา. ๒๘/๘๑๕๒๘๔       ๒ สํ.สคาถ. ๑๕/๒๙๖/๘๘      ๓ วิ.มหาวิ. ๑/๔๙๙/๓๓๓

๔ ที.มหา. ๑๐/๓๑๙/๓๘๑    ๕ วิ.อฏฺ. ๑/๔๖                 ๖ สํ.อฏฺ. ๑๓/๖๔๓/๒๒๓

๗๙

อาสุ (อส เขปเน+อุ) เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที, รีบ.

อสติ เขปตีติ อาสุ อาการที่เร่งรีบ ชื่อว่าอาสุ (วุทธิ อ เป็น อา). อาสุํ สีฆํ เอตสฺส วิสํ อาคจฺฉติ พิษของงูนั้นแล่นมาเร็ว

 

ตุณฺณ (ตร ตรเณ+อ) เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที, รีบ.

อุตรตีติ ตุณฺณํ อาการที่ขึ้นอย่างฉับพลัน ชื่อว่าตุณณะ (อาเทศ อ เป็น อุ, รฺ เป็น ณฺ, ซ้อน ณฺ)

 

อร (อร คติยํ+อ) เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที.

อรติ คจฺฉตีติ อรํ อาการที่ไปด่วน ชื่อว่าอระ

 

อวิลมฺพิต (น+วิ+ลพิ อวสํสเน+นิคฺคหีตาคม+อิ+ต) เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที, รีบ.

น วิลมฺพียติ น โอหียตีติ อวิลมฺพิตํ อาการที่ไม่อืดอาดยืดยาด ชื่อว่าอวิลัมพิตะ (อาเทศ น เป็น อ, นิคหิตเป็น มฺ)

 

ตุวฏ (ตุสทฺทูปปท+วฏ วฏฺฏเน+อ) เร็ว, ด่วน, พลัน, ทันที, รีบ.

ตุวฏฺฏติ สยตีติ ตุวฏํ, ตุริตภาเวน วตฺตตีติ วา ตุวฏํ อาการที่ไปอย่างรวดเร็ว หรืออาการเป็นไปด้วยความเร็ว ชื่อว่าตุวฏะ. ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ จิตสงบเร็ว

 

[๔๑] สตตํ นิจฺจมวิรตา-

นารตสนฺตตมนวรตํ จ ธุวํ

ภุสมติสโย จ ทฬฺหํ

ติพฺเพกนฺตาติมตฺตพาฬฺหานิ

ขิปฺปาที ปณฺฑเก ทพฺเพ

ทพฺพคา เตสุ เย ติสุ.

 

เที่ยง, แน่นอน, เนืองนิตย์, มั่นคง, ยั่งยืน, คงทน, ต่อเนื่อง ๗ ศัพท์

 

สตต (สํ+ตนุ วิตฺถาเร+ต) เที่ยง, แน่นอน, ต่อเนื่อง.

สมนฺตโต ตโนตีติ สตตํ ความเที่ยงที่แผ่ไปโดยรอบ ชื่อว่าสตตะ (ลบนิคหิตและ นฺ). สตตํ สมิตํ ญาณทสฺสนํ ญาณทัสสนะ ที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

นิจฺจ (น+อิ คติมฺหิ+ต) เที่ยง, แน่นอน.

นาสภาเวน น อิจฺจํ น คนฺตพฺพํ นิจฺจํ, นาสํ วา น คจฺฉตีติ นิจฺจํ สภาพที่ไม่ถึงความพินาศไป หรือไม่ไปสู่ความพินาศ ชื่อว่านิจจะ (อาเทศ ต เป็น จ, ซ้อน จฺ, ลบสระหน้า). นาโคตฺยาทีสุ วิยาติ เอตฺถาปิ น โทโส ในที่นี้ การไม่อาเทศ น เป็น อน เพราะสระหลังนั้น ไม่ถือว่าผิด เหมือนในอุทาหรณ์เป็นต้นว่า "นาโค". ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว รูปํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วาติ. อนิจฺจํ ภนฺเต ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญสิ่งนั้นเป็นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง, ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า

 

อวิรต (น+วิ+รมุ รมเน+ต) เที่ยง, แน่นอน.

น วิรมตีติ อวิรตํ สิ่งที่ไม่เว้น ชื่อว่าอวิรตะ (อาเทศ น เป็น อ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ)

 

๑ วิ.อฏฺ. ๑/๒๕๗       ๒ วิ.ปริ. ๘/๑๐๐๔/๓๕๓      ๓ มชฺ.มูล. ๑๒/๒๑๙/๑๘๕

๔ วิ.มหา. ๔/๒๐/๒๖

๘๐

อนารต (น+อา+รมุ รมเน+ต) เที่ยง, แน่นอน.

น อารมตีติ อนารตํ สิ่งที่ไม่เว้น ชื่อว่าอนารตะ (อาเทศ น เป็น อน, ลบสระหน้า, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ)

 

สนฺตต (สํ+ตนุ วิตฺถาเร+ต) เที่ยง, แน่นอน, ต่อเนื่อง, เนืองๆ.

สมนฺตโต ปุนปฺปุนํ วา ตโนตีติ สนฺตตํ ความเที่ยงที่แผ่ไปโดยรอบหรือเนืองๆ ชื่อว่าสันตตะ (อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, ลบ นฺ ที่สุดธาตุ). สนฺตตชีวิกา เลี้ยงชีพได้ต่อเนื่อง

 

อนวรต (น+อว+รมุ รมเน+ต) เที่ยง, แน่นอน, เนืองๆ.

น อวรมตีติ อนวรตํ สิ่งที่ไม่เว้น ชื่อว่าอนวรตะ (อาเทศ น เป็น อน, ลบสระหน้า, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ)

 

ธุว (ธุ คติยํ+ว) เที่ยง, แน่นอน.

สทา ธวติ คจฺฉตีติ ธุวํ สิ่งที่เป็นไปอยู่ตลอดเวลา ชื่อว่าธุวะ. อิทํ นิจฺจํ อิทํ ธุวํ สิ่งนี้เที่ยงแท้แน่นอน

 

มาก, ยิ่ง, แรง, ล่วงเลย ๗ ศัพท์

 

ภุส (ภาส ภาสเน+อ) ยิ่ง, แรง, บ่อยๆ.

สพฺเพสํ ภาสตีติ ภุสํ สิ่งที่รุ่งเรืองกว่าทุกสิ่ง ชื่อว่าภุสะ (อาเทศ อา เป็น อุ). ภสฺสติ อโธ ปตตีติ ภุสํ สิ่งที่ตกลงเบื้องล่าง ชื่อว่าภุสะ (ภส อโธปตเน+อ, อาเทศ อ เป็น อุ). ตสฺมา โสจามหํ ภุสํ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเศร้าโศกยิ่งนัก

 

อติสย (อติ+สิ สเย+ณ) มาก, ยิ่ง, เกิน.

อติสยนํ อติสโย, อติกฺกมิตฺวา วา สยนํ ปวตฺตนํ อติสโย ความยิ่ง หรือความล่วงเลยไป ชื่อว่าอติสยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). อธิโก อติสโย อติเรกตโร สกฺโก พฺรหฺมา จ ท้าวสักกะและพรหมมีความเป็นใหญ่ยิ่งกว่า

 

ทฬฺห (ทห ธารเณ+อ) ยิ่ง, มั่นคง, แข็งแรง.

ทหติ สพฺพนฺติ ทฬฺหํ สิ่งที่คงสรรพสิ่งไว้ ชื่อว่าทัฬหะ (ลง ฬฺ อาคมหน้า หฺ). ทหนฺโต ลาตีติ วา ทฬฺหํ หรือสิ่งที่ทรงเอาไว้ ชื่อว่าทัฬหะ (ทหสทฺทูปปท+ลา อาทาเน+อ, ลบ อา ที่ ลา, อาเทศ ลฺ เป็น ฬฺ, กลับ หฺฬ เป็น ฬฺห, ลบสระหน้า). พลวํ พนฺธนํ ทฬฺหํ พนฺธนํ ถิรํ พนฺธนํ เป็นเครื่องผูกที่แข็งแรงมั่นคงถาวร

 

๑ มชฺ.อฏฺ. ๙/๒/๓          ๒ มชฺ.มูล. ๑๒/๕๕๐/๕๙๐      ๓ ขุ.เปต. ๒๖/๑๐๔/๑๘๕

๔ วิสุทฺธิ.ฎี. ๖๑/๒/๑๑      ๕ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๑๗๘/๑๘๓

๘๑

ติพฺพ (ตร อติกฺกมเน+อ) ยิ่ง, แรง, กล้า, คม.

ตรติ อติกฺกมตีติ ติพฺพํ สิ่งที่ล้ำหน้าไป ชื่อว่าติพพะ (อาเทศ ร เป็น ว, ซ้อน วฺ, อาเทศ วฺว เป็น พฺพ, อ เป็น อิ). ติพฺโพ พฺยาปาโท ติพฺโพ มโนปโทโส ติพฺพํ วธกจิตฺตํ พยาบาท คิดร้าย คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้า

 

เอกนฺต (อิ คติมฺหิ+ก+อนฺต) ยิ่ง, แรง, แน่นอน, ส่วนเดียว.

เอติ คจฺฉตีติ เอโก, โส เอว เอกนฺตํ, เอกํ ตรติ อติกฺกมตีติ วา เอกนฺตํ สิ่งที่ไปได้ ชื่อว่าเอกะ, สิ่งที่ไปนั่นแหละ ชื่อว่าเอกันตะ (อนฺตปัจจัยในสกัตถะ ไม่มีความหมาย), หรือสิ่งที่ล้ำหน้าไปอย่างเดียว ชื่อว่า เอกันตะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า). จตฺตาโรเม จุนฺท สุขลฺลิกานุโยคา เอกนฺตํ นิพฺพิทาย ... นิพฺพานาย สํวตฺตนฺติ จุนทะ การประกอบตนให้เนื่องอยู่ในความสุข ๔ อย่างเหล่านี้ ... เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อนิพพานอย่างแน่นอน

 

อติมตฺต (อติ+มตฺต) ยิ่ง, แรง, เกินประมาณ, เกินพอดี.

มตฺตโต อติกฺกนฺตํ อติมตฺตํ ยิ่งกว่าประมาณ ชื่อว่าอติมัตตะ. อิทานิ ยเสน อติมตฺโต ภวิสฺสติ บัดนี้เขาเป็นผู้ยิ่งด้วยยศ

 

พาฬฺห (พหุสทฺทูปปท+ลา อาทาเน+อ) ยิ่ง, แรง, มากมาย, หนัก.

พหุํ ลาตีติ พาฬฺหํ สิ่งที่ถือเอาให้มาก ชื่อว่าพาฬหะ (ลบ อุ, ทีฆะ อ เป็น อา, กลับ หฺล เป็น ลฺห, อาเทศ ลฺ เป็น ฬฺ, ลบสระหน้า). พาฬฺหํ โรคาตงฺกํ ผุสติ ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างหนัก

 

ศัพท์ที่แปลว่ายิ่งมีอีกมาก เช่น อติเวล, อจฺจตฺถ, นิพฺภร, นิตนฺต, คาฬฺห

ขิปฺปศัพท์ในคาถาที่ ๔๐ ถึง พาฬฺหศัพท์ในคาถานี้ ยกเว้น อติสยศัพท์ ปรกติจัดเป็นนปุงสกลิงค์ เช่น ขิปฺปํ ภุญฺชติ กินเร็ว, สตตํ ชุโหติ บูชาอยู่เนืองๆ, สตตํ รมณีโย น่ารื่นรมย์อยู่เนืองนิตย์ เป็นต้น. อติสยศัพท์เป็นปุงลิงค์ เช่น อสฺส คุณสฺสาติสโย คุณนั้นมีมากยิ่ง, อสฺส ทพฺพสฺสาติสโย สิ่งของนั้นมีมากยิ่ง. ถ้า ขิปฺปศัพท์เป็นต้น ขยายทัพพวัตถุ เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ เช่น ขิปฺปา ชรา แก่เร็ว, ขิปฺโป มจฺจุ ตายเร็ว, ขิปฺปํ คมนํ ไปเร็ว. สนฺตตา ตณฺหา ความอยากเนืองๆ, สนฺตตํ ทุกฺขํ เป็นทุกข์เนืองๆ, สนฺตโต อากาโส มีอากาศเสมอ. อติมตฺตา กฺริยา ทำเกินไป, อติมตฺโต นโร คนเกินพอดี, อติมตฺตํ ปทํ บทเกิน

 

๑ ที.ปาฏิก. ๑๑/๔๖/๗๙       ๒ ที.ปาฏิก. ๑๑/๑๑๕/๑๔๔       ๓ ชา.อฏฺ. ๔๓/๓๑๒

๔ องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๒๑๑/๒๘๐

๘๒

[๔๒] อวิคฺคโห ตุ กาโม จ    มโนภู มทโน ภเว

       อนฺตโก วสวตฺตี จ       ปาปิมา จ ปชาปติ.

 

[๔๓] ปมตฺตพนฺธุ กณฺโห จ   มาโร นมุจิ ตสฺส ตุ

        ตณฺหารตีรคา ธีตู       หตฺถี ตุ คิริเมขโล.

 

มาร ๑๒ ศัพท์

 

อวิคฺคห (น+วิคฺคห) มาร, กิเลสมาร.

นตฺถิ วิคฺคโห สรีรํ เอตสฺสาติ อวิคฺคโห กิเลสมารไม่มีสรีระ จึงชื่อว่าอวิคคหะ (อาเทศ น เป็น อ)

 

กาม (กมุ อิจฺฉายํ+ณ) มาร, กิเลสมาร.

กามยติ รติจฺฉํ อุปฺปาทยตีติ กาโม กิเลสมารที่ทำความยินดีในกามให้เกิดขึ้น ชื่อว่ากามะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)

 

มโนภู (มนสทฺทูปปท+ภู สตฺตายํ+กฺวิิ) มาร, กิเลสมาร.

สิงฺคารรูเปน ปาณีนํ มนสิ ภวตีติ มโนภู กิเลสมารที่แฝงอยู่ในจิตของสัตว์ด้วยรูปแห่งความใคร่ ชื่อว่ามโนภู (ในบทสมาส ท่านอาเทศสระที่สุดของมโนคณาทิคณศัพท์เป็น โอ)

 

มทน (มท มทเน+ยุ) มาร, กิเลสมาร.

ปญฺจกามคุเณสุ มทยตีติ มทโน มารที่มัวเมา อยู่ในกามคุณ ๕ ชื่อว่ามทนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)

 

อนฺตก (อนฺตสทฺทูปปท+กร กรเณ+กฺวิ) มาร, พญามาร.

โลกานํ อนฺตํ วินาสํ กโรตีติ อนฺตโก มารผู้ทำความพินาศแก่ชาวโลก ชื่อว่าอันตกะ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ ปัจจัย). อนฺตโก กุรุเต วสํ พญามารคือความตาย ทำบุคคลไว้ในอำนาจ

 

วสวตฺตี (วสสทฺทูปปท+วตฺต ปวตฺตเน+อ+อี) พญามาร, วสวัตตีมาร.

วเส วตฺเตติ สีเลนาติ วสวตฺตี พญามารผู้มีปรกติควบคุมสัตว์ไว้ในอำนาจ ชื่อว่าวสวัตตี (ลบสระหน้า). วสวตฺตี อิสฺสโร พญามารผู้เป็นใหญ่

 

ปาปิมนฺตุ (ปาป+อิมนฺตุ) มาร, พญามาร.

ปาปํ อิจฺฉติ กโรติ เตน ยุตฺโตติ วา ปาปิมา พญามารผู้ชอบทำบาป หรือผู้มีบาป ชื่อว่าปาปิมันตุ (รูปสำเร็จ อาเทศ นฺตุ กับ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า). อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ครั้งนั้นพญามารใจบาป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

 

ปชาปติ (ปชา+ปติ) มาร, พญามาร, ปชาบดีมาร.

สตฺตสงฺขาตาย ปชาย อธิปติภาเวน อิธ ปชาปติ ในที่นี้ มารชื่อว่าปชาปติ เพราะเป็นใหญ่ในหมู่สัตว์. มาโร ปชาปตีติ เวทิตพฺโพ พึงทราบว่า มารชื่อว่าปชาบดี

 

ปมตฺตพนฺธุ (ปมตฺต+พนฺธุ) มาร, พญามาร.

เย กุสลธมฺเมสุ ปมตฺตา, เตสเมว พนฺธุ ปมตฺตพนฺธุ พญามารเป็นพวกพ้องของผู้ประมาทในกุศลธรรม ชื่อว่าปมัตตพันธุ. ปมตฺตพนฺธุ ปาปิม น ตฺวํ ชานาสิ ตํ ปทํ แน่ะพญามารใจบาป เจ้าไม่รู้จักทางนั้นหรอก

 

๑ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๑๔/๒๑      ๒ มชฺ.มูล. ๑๒/๕๕๓/๕๙๑      ๓ วิ.มหา. ๔/๓๒/๔๐

๔ มชฺ.อฏฺ. ๗/๓/๓๖             ๕ มชฺ.อฏฺ. ๗/๓/๓๖                 ๖ สํ.สคาถ. ๑๕/๕๒๔/๑๘๙

๘๓

กณฺห (กณฺห+ณ) มาร, พญามาร.

กณฺหธมฺมยุตฺตตาย กณฺโห เพราะพญามารเป็นผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรม จึงชื่อว่ากัณหะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). ส เว กณฺโห สุชมฺปติ ข้าแต่ท่านท้าวสักกะ พญามารตนนั้นแล

 

มาร (มร มรเณ+ณ) มาร, พญามาร.

กุสลธมฺเม มาเรตีติ มาโร ผู้ฆ่ากุศลธรรม ชื่อว่ามาระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). มาโร ปาปิมา ชานาติ พญามารใจบาปย่อมรู้

 

นมุจิ (น+มุจ มุญฺจเน+อิ) มาร, พญามาร.

อกุสลธมฺเม น มุญฺจตีติ นมุจิ พญามารผู้ไม่ปลดเปลื้องอกุศลธรรม ชื่อว่านมุจิ. นมุจีติ มารํ อาลปติ ท่านเรียกพญามารว่า "นมุจิ"

 

ศัพท์ทั้ง ๔ คือ อวิคฺคห กาม มโนภู มทน เป็นกิเลสมาร, อีก ๘ ศัพท์ที่เหลือ คือ อนฺตก ถึง นมุจิ เป็นเทวปุตตมารหรือพญามาร

ศัพท์ที่แปลว่ามารมีอีกมาก เช่น มีนเกตน, กนฺทปฺป, ทปฺปก, อนงฺค, ปญฺจสร, สมฺพราริ, มนสิช, กุสุเมสุ, อนญฺญช, ปุปฺผธนฺวา, รติปติ, มกรทฺธช

 

 

ธิดาของพญามาร ๓ นาง

 

ตณฺหา (ตส ปิปาสายํ+ณฺหา) นางตัณหา.

โย ตํ ปสฺสติ, ตํ ตสิตํ กโรตีติ ตณฺหา ธิดาของพญามารทำให้ผู้พบเห็นเกิดความหื่นกระหาย ชื่อว่าตัณหา (ลบ สฺ ที่สุด)

 

อรติ (น+รมุ รมเน+ติ) นางอรดี.

ปเรสํ กุสลธมฺเมสุ อรตึ กโรตีติ อรตี ธิดาของพญามารผู้ทำคนอื่นไม่ให้ยินดีในกุศลธรรม ชื่อว่าอรติ (อาเทศ น เป็น อ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ)

 

รคา (รญฺช ราเค+อ+อา) นางรคา.

รญฺชนฺติ เอตฺถาติ รคา ธิดาของพญามารผู้เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ชื่อว่ารคา (ลบ ญฺ, อาเทศ ชฺ เป็น คฺ, ลบสระหน้า). ตสฺมึ จ สมเย ตณฺหา อรติ รคา จาติ ติสฺโส มารธีตโร สมัยนั้น ธิดาของพญามารทั้ง ๓ นาง คือ นางตัณหา นางอรดี และนางรคา

 

๑ ขุ.เถร. ๒๖/๒๖๗/๑๙๐       ๒ วิ.มหา. ๔/๓๕/๔๓       ๓ สํ.อฏฺ. ๑๑/๑๑๑/๑๒๑

๔ ขุ.อฏฺ. ๔๙/๑๐๐

๘๔

ช้างของพญามาร

 

คิริเมขล (คิริ+เมขลา+ณ) ช้างคิริเมขละ, ช้างของพญามาร.

สรีรมหนฺตภาเวน คิริสทิสตฺตา คิริ วิยาติ คิริ, มาเรน มมายนวเสน "อยํ เม หตฺถี เมขโล นาม โหตู"ติ กตนามตฺตา เมขลา วิยาติ เมขโลติ สมุทิตนามทฺวเยน เอกเมว หตฺถึ วทติ, ยถา "วชิราสนิ สีตุณฺห"นฺติ ท่านเรียกช้างเชือกเดียวโดยสมมุติชื่อ ๒ ชื่อรวมกัน คือ ชื่อว่าคิริ เพราะเป็นช้างที่มีร่างกายสูงใหญ่ดุจขุนเขา และชื่อว่าเมขละ เพราะเหมือนไหล่เขา (ลบ ณฺ และสระหน้า) ดังนั้น พญามารจึงตั้งชื่อให้ด้วยความภาคภูมิใจว่า "ช้างของเราเชือกนี้ต้องมีชื่อว่าเมขละ" เหมือนกับบทว่า วชิราสนิ (วชิร+อสนิ) และสีตุณหะ (สีต+อุณฺห). มาโร พาหุสหสฺสํ มาเปตฺวา ทิยฑฺฒโยชนสติกํ คิริเมขลนฺนาม หตฺถึ อารุยฺห มารเนรมิตแขนให้มีหนึ่งพันแล้ว ขึ้นขี่ช้างคิริเมขละตัวสูงใหญ่ ๑๕๐ โยชน์

 

[๔๔] ยมราชา จ เวสายี    ยโมสฺส นยนาวุธํ

 เวปจิตฺติ ปุโลโม จ    กิมฺปุริโส จ กินฺนโร.

 

พญายม, ยมราช ๓ ศัพท์

 

ยมราช (ยมสทฺทูปปท+ราช ทิตฺตยํ+อ) พญายม, ยมราช.

ปชาสํยมนโต ยมา, มจฺจุปฺปภุตโย อสฺส กิงฺการา, เตสุ ราชเตติ ยมราชา มัจจุราชชื่อว่ายมะ เพราะเป็นผู้กำหนด ชีวิตสัตว์ หมายถึงมัจจุราชเป็นต้นผู้คอยรับใช้พญายมนั้น, พญายมผู้รุ่งเรืองในหมู่มัจจุราช ชื่อว่า ยมราชะ. ยมราชา นาม เวมานิกเปตราชา เจ้าแห่งเวมานิกเปรต ชื่อว่ายมราช

 

เวสายี (วิสย+ณี) พญายม, ยมราช.

เตธาตุเกสุปิ อาณาปวตฺตกตฺตา มหนฺโต วิสโย เอตสฺส วิสยี, โส เอว เวสายี พญายมผู้เป็นใหญ่ เพราะแผ่อำนาจไปใน ๓ โลกธาตุ ชื่อว่าวิสยี, วิสยีนั่นแหละ ชื่อว่าเวสายี (ลบ ณฺ อนุพันธ์, วุทธิ อิ เป็น เอ, ทีฆะ อ เป็น อา). ทุกฺขชนกตฺตา วิสทิสฏฺฐานํ คจฺฉนฺตีติ เวสา, เนรยิกา, เตสํ อธิปติภาเวน อยติ ปวตฺตตีติ เวสายี ผู้ไปสู่สถานที่อันแตกต่างกัน เพราะเกิดในภูมิที่ทุกข์ลำบาก จึงชื่อว่าเวสะ ได้แก่ สัตว์นรก (วิสทิส+ณ, ลบ ทิส และ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ), พญายมผู้ปกครองสัตว์นรก ชื่อว่าเวสายี (เวสสทฺทูปปท+อิ คติมฺหิ+อี, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อาย, ลบสระหน้า)

 

ยม (ยมุ สํยมเน+อ) พญายม, ยมราช. ยมานํ ราชา ยโม

เจ้าแห่งความตาย ชื่อว่ายมะ. ยโม ราชา เอวมาห พญายมกล่าวอย่างนี้

 

ศัพท์ที่แปลว่าพญายมมีอีกมาก เช่น ธมฺมราช, กตนฺต, สมวตฺตี, กาล, ทณฺฑธร, อนฺตก

 

อาวุธของพญายม

 

นยน (นี ปาปุณเน+ยุ) อาวุธของพญายม, นัยนาวุธ.

อตฺตโน นิสฺสิตํ ปุคฺคลํ เนตีติ นยนํ นัยน์ตานำทางบุคคลผู้อาศัยตนไป ชื่อว่านยนะ. อสฺส ยมสฺส อาวุธํ นยนเมว พญายมนั้น มีนัยน์ตาเป็นอาวุธ. เตน กิร โกธจิตฺเตน โอโลกิตมตฺเตน สตฺตานํ สรีรานิ อาตเป ขิตฺตฆตปิณฺฑานิ วิย วิลียนฺติ ทราบว่า ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย เพียงพญายมมองด้วยความโกรธ ย่อมละลายไปชั่วพริบตา ดุจหยดเนยใสลงบนเตาไฟที่ร้อนระอุ

 

๑ มชฺ.อฏฺ. ๘/๒๘๔/๙๑      ๒ มชฺ..อฏฺ. ๑๔/๕๐๖/๓๓๕      ๓ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๕๐๗/๓๓๕

๘๕

ท้าวเวปจิตติ, บิดาของนางสุชาดา ๒ ศัพท์

 

เวปจิตฺติ (เวป+จิตฺต+อิ) เวปจิตติอสูร, บิดาของนางสุชาดา.

ยุทฺธาทีสุ เวปิตํ กมฺปิตํ จิตฺตเมตสฺสาติ เวปจิตฺติ อสูรผู้มีจิตคิดแต่เรื่องทำสงครามเป็นต้น ชื่อว่าเวปจิตติ. อสุรา ทานเวฆสา เวปจิตฺติ สุจิตฺติ จ พวกเวฆสอสูร เวปจิตติอสูร และสุจิตติอสูร

 

ปุโลม (ปุณฺณ+โลม) ปุโลมอสูร, บิดาของนางสุชาดา.

ปุณฺณํ โลมํ ยสฺส โส ปุโลโม, ปุลา มหตี อุมากิตฺติ กนฺติ วา ยสฺสาติ ปุโลโม อสูรผู้มีขนมาก หรืออสูรผู้มีอำนาจมาก ชื่อว่าปุโลมะ (ลบ ณฺณ). อยํ ปน สกฺกสฺส ภริยาย สุชาตาย ปิตา ปุโลมอสูรนี้เป็นบิดาของนางสุชาดาชายาของท้าวสักกะ

 

กินนร, คนหน้าม้า ๒ ศัพท์

 

กิมฺปุริส, กึปุริส (กึ+ปุริส) กินนร, คนหน้าม้า.

อสฺสมุขนรสรีรตาย กุจฺฉิโต ปุริโส กิญฺจิ วา ปุริโส ปุริสสทิโสติ วา กิมฺปุริโส คนที่น่าเกลียด เพราะมีหัวเหมือนม้าตัวเหมือนคน หรือคนประหลาด หรือผู้คล้ายกับคน ชื่อว่ากิมปุริสะ (อาเทศนิคหิตเป็นวัคคันตะ มฺ บ้าง). โย กิมฺปุริสํ อวธิ ผู้ใดฆ่ากินนรเสียแล้ว

 

กินฺนร (กึ+นร) กินนร, คนหน้าม้า.

อสฺสมุขนรสรีรตาย กุจฺฉิโต ปุริโส กิญฺจิ วา ปุริโส ปุริสสทิโสติ วา กิมฺปุริโส คนที่น่าเกลียด เพราะมีหัวเหมือนม้าตัวเหมือนคน หรือคนประหลาด หรือผู้คล้ายกับคน ชื่อว่ากิมปุริสะ (อาเทศนิคหิตเป็นวัคคันตะ มฺ บ้าง). อโหสึ กินฺนโร ตทา ครั้งนั้น เราเป็นกินนร

 

กินนรมีอีกหลายศัพท์ เช่น ตุรงฺควทน, อสฺสมุข

 

[๔๕] อนฺตลิกฺขํ ขมาทิจฺจ-     ปโถพฺภํ คคนมฺพรํ

  เวหาโส จานิรปโถ         อากาโส นิตฺถิยํ นภํ.

[๔๖] เทโว เวหายโส ตารา-    ปโถ สุรปโถ อฆํ.

 

ท้องฟ้า ๑๕ ศัพท์

 

อนฺตลิกฺข (อนฺตรสทฺทูปปท+อิกฺข ทสฺสนงฺเกสุ+อ) ท้องฟ้า.

เตสํ เตสํ วตฺถูนํ อนฺตรํ นานตฺถํ อิกฺขเต โลโก เอตฺถ อเนนาติ วา อนฺตลิกฺขํ ท้องฟ้าเป็นพื้นที่หรือเป็นเครื่องช่วยให้ชาวโลกมองเห็นประโยชน์ต่างๆ ของวัตถุนั้นๆ จึงชื่อว่าอันตลิกขะ.

 

๑ ที.มหา. ๑๐/๒๔๔/๒๙๓      ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๑๘๘๖/๓๖๙      ๓ ขุ.อปทาน. ๓๒/๑๓๕/๒๓๘

๘๖

อิกฺขนํ วา ทสฺสนํ อิกฺขํ, ตสฺส อนฺตรํ การณํ อนฺตลิกฺขํ การดูหรือการมองเห็น ชื่อว่าอิกขะ, เหตุแห่งการมองเห็นนั้น ชื่อว่าอันตลิกขะ (อาเทศ ร เป็น ล, ลบสระหน้า). อถ โข อายสฺมา จูฬปนฺถโก เวหาสํ อพฺพุคฺคนฺตฺวา อากาเส อนฺตลิกฺเข จงฺกมติปิ เวลานั้น ท่านจูฬปันถกเหาะขึ้นกลางเวหา เดินจงกรมอยู่บนท้องฟ้า

 

(ขน ขณเน+กฺวิ) ท้องฟ้า.

ขนติ พฺยวธานนฺติ ขํ ท้องฟ้าที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง ชื่อว่าขะ หมายถึงท้องฟ้าโปร่ง ว่างเปล่า ไม่มีสิ่งใดกีดขวางอยู่ (ลบ นฺ และ กฺวิ). ขํสทฺโท ปน ตุจฺเฉ, ตุจฺฉํ หิ อากาสํ "ข"นฺติ วุจฺจติ  ขํศัพท์ใช้ในอรรถว่าว่างเปล่า ฉะนั้น ท้องฟ้าที่โปร่งใสเรียกว่า "ขํ"

 

อาทิจฺจปถ (อาทิจฺจ+ปถ) ท้องฟ้า.

อาทิจฺจสฺส ปโถ มคฺโค อาทิจฺจปโถ ท้องฟ้าเป็นทางโคจรของดวงอาทิตย์ จึงชื่อว่าอาทิจจปถะ. หํสา อาทิจฺจปเถ ยนฺติ ฝูงหงส์บินอยู่บนท้องฟ้า

 

อพฺภ (น+ภู สตฺตายํ+อ) ท้องฟ้า.

น ภวตีติ อพฺภํ ท้องฟ้าที่ว่างเปล่า ชื่อว่าอัพภะ (อาเทศ น เป็น อ, ซ้อน พฺ, ลบสระหน้า)

 

คคน (คมุ คติมฺหิ+ยุ) ท้องฟ้า.

คจฺฉนฺตฺยเนน เทวาติ คคนํ ท้องฟ้าเป็นทางไปของเทวดา ชื่อว่าคคนะ (ลบ มฺ, ค เทฺวภาว, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า). วิชฺชูว คคเน ยถา เปรียบเหมือนสายฟ้าบนท้องฟ้า

 

อมฺพร (อมฺพ สทฺเท+อร) ท้องฟ้า.

อมฺพเต สทฺทายเต อตฺราติ อมฺพรํ ท้องฟ้าเป็นที่ร้องคำรามของเมฆ ชื่อว่าอัมพระ. หํสราชาว อมฺพเร ดุจพญาหงส์บินขึ้นสู่ท้องฟ้า

 

เวหาส (วิ+หย คติมฺหิ+ณ) ท้องฟ้า.

วิเสเสน หยติ คจฺฉติ สพฺพตฺราติ เวหาโส ท้องฟ้าที่แผ่ไปทั่วทุกที่ ชื่อว่าเวหาสะ (อาเทศ อิ เป็น เอ, ยฺ เป็น สฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). วิคโต วา หาโส จิตฺตสฺส เอตฺถารมฺมณาลาภโตติ เวหาโส หรือท้องฟ้าที่ปราศจากสิ่งอันน่ายินดี เพราะจิตไม่ได้อารมณ์อย่างใดบนท้องฟ้านี้ ชื่อว่าเวหาสะ (วิ+หาส+ณ, ลบ ณฺ, อาเทศ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า). อถ โข อุปฺปลวณฺณา ภิกฺขุนี ... เวหาสํ อพฺภุคฺคนฺตฺวา เวฬุวเน ปจฺจุฏฺฐาสิ ครั้งนั้น นางอุบลวัณณาภิกษุณี ... เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วลงไปปรากฏตัวที่เวฬุวัน

 

อนิรปถ (อนิล+ปถ) ท้องฟ้า.

อนิลสฺส วาตสฺส ปโถ อนิลปโถ ท้องฟ้าที่เป็นทางของลม ชื่อว่าอนิรปถะ (อาเทศ ล เป็น ร)

 

๑ วิ.มหาวิ. ๒/๔๒๕/๒๗๕        ๒ ขุ.อฏฺ. ๔๗/๖๐/๖๐          ๓ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๒๓/๓๘

๔ ขุ.อปทาน. ๓๒/๓๙๕/๕๐๗     ๕ ขุ.อปทาน. ๓๒/๒๑/๙๑      ๖ วิ.มหาวิ. ๒/๔๖/๒๙

 ๘๗

อากาส (อา+กาส ทิตฺติยํ+อ) ท้องฟ้า.

อาภุสํ กาสนฺเต ทิปฺปนฺเต ปทตฺถา เอเตนาติ อากาโส, น กสฺสติ น วิเลขียตีติ วา อากาโส ท้องฟ้าเป็นเครื่องส่องข้อความให้ชัดเจน หรือท้องฟ้าที่ขีดเขียนไม่ได้ ชื่อว่าอากาสะ. อากาสศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. อากาเส อนฺตลิกฺเข จงฺกมติปิ เดินจงกรมอยู่บนท้องฟ้า

 

นภ (น+ภู สตฺตายํ+อ) ท้องฟ้า.

น ภวติ เอตฺถ กิญฺจิปิ วตฺถูติ นภํ, นตฺถิ ภูมิ เอตฺถาติ วา นภํ ท้องฟ้าไม่มีวัตถุอะไรเลย หรือเป็นที่ไม่มีภูมิ ชื่อว่านภะ (ลบสระหน้า). น ภายนฺติ ปกฺขิโน อเนน เอตฺถาติ วา นภํ หรือสถานที่ซึ่งฝูงนกไม่กลัว ชื่อว่านภะ (น+ภี ภเย+อ, ลบสระหน้า). จนฺโท ยถา วีตวลาหเก นเภ เหมือนดวงจันทร์บนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก

 

เทว (ทิวุ กีฬายํ+ณ) ท้องฟ้า.

ทิพฺพนฺติ เอตฺถาติ เทโว สถานที่เล่นของเทวดา ชื่อว่าเทวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). วิคตวลาหเก เทเว อาทิจฺโจ ดวงอาทิตย์ในท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก

 

เวหายส (วิ+หิ คติมฺหิ+อส) ท้องฟ้า.

วิโน ปกฺขิโน หยนฺติ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ เวหายสํ ท้องฟ้าอันเป็นสถานที่ซึ่งนกบินขึ้นไป ชื่อว่าเวหายสะ (อาเทศ อิ ที่ วิ เป็น เอ, วุทธิ อิ ที่ หิ ธาตุเป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อาย, ลบสระหน้า). เวหายสํ อคมา ภูริปญฺโญ ฤาษีผู้มีปัญญามาก เหาะขึ้นไปสู่ท้องฟ้า

 

ตาราปถ (ตารา+ปถ) ท้องฟ้า.

ตารา วุจฺจนฺติ นกฺขตฺตาทโย, เตสํ ปโถ ตาราปโถ หมู่ดาวเป็นต้น ท่านเรียกว่า "ตารา", ทางโคจรของหมู่ดาว ชื่อว่าตาราปถะ

 

สุรปถ (สุร+ปถ) ท้องฟ้า.

สุรานํ เทวานํ ปโถ สุรปโถ ทางสัญจรของเทวดา ชื่อว่าสุรปถะ. สุรปเถน คนฺตฺวา เหาะไปทางท้องฟ้า

 

อฆ (น+หน หึสายํ+อ) ท้องฟ้า.

น หญฺญเตติ อฆํ ท้องฟ้าที่ไม่ถูกคุกคาม ชื่อว่าอฆะ (อาเทศ หน เป็น ฆ, น เป็น อ). อเฆ เวหายสสณฺฐิตา ยืนอยู่บนท้องฟ้า

 

ท้องฟ้ามีอีกหลายศัพท์ เช่น อนนฺต, วิสณุปท

 

๑ วิ.มหาวิ. ๒/๔๒๕/๒๗๕      ๒ สํ.สคาถ. ๑๕/๗๕๙/๒๘๘      ๓ ที.มหา. ๑๐/๑๗๘/๒๑๑

๔ ขุ.ชา. ๒๗/๒๐๔๕/๔๑๑     ๕ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๘๒๖/๓๕๑          ๖ ขุ.ชา. ๒๗/๑๖๑๓/๓๒๔

๘๘

[๔๗] เมโฆ วลาหโก เทโว     ปชฺชุนฺโนมฺพุธโร ฆโน

ธาราธโร จ ชีมูโต        วาริวาโห ตถามฺพุโท.

[๔๘] อพฺภํ ตีสฺวถ วสฺสํ จ       วสฺสนํ วุฏฺฐิ นาริยํ

สเตรตากฺขตา วิชฺชุ       วิชฺชุตา จาจิรปฺปภา.

 

เมฆ ๑๑ ศัพท์

 

เมฆ (มิห เสจเน+ณ) เมฆ, เมฆฝน.

เมหติ ฆรติ เสจตีติ เมโฆ เมฆที่หลั่งน้ำฝนลง ชื่อว่าเมฆะ (อาเทศ ห เป็น ฆ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). มหา จ เมโฆ อุคฺคโต โหติ เมฆใหญ่กำลังตั้งขึ้น

 

วลาหก (วาริสทฺทูปปท+วห ปาปเณ+ณฺวุ) เมฆ, เมฆฝน.

วารึ วหตีติ วลาหโก เมฆที่นำพาน้ำมา ชื่อว่าวลาหกะ (อาเทศ วาริ เป็น ว, ว ของ วห เป็น ล, วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ณฺวุ เป็น อก). โส ภิกฺขเว วลาหโก คชฺชิโต โน วสฺสิโต ภิกษุทั้งหลาย เมฆนั้นร้องแต่ฝนไม่ตก

 

เทว (ทิวุ กีฬายํ+ณ) เมฆ, เมฆฝน.

ทิพฺพนฺติ วุฑฺฒึ วิรูฬฺหึ คจฺฉนฺติ โลกา อเนนาติ เทโว เมฆเป็นเครื่องช่วยให้ชาวโลกถึงความเจริญงอกงาม ชื่อว่าเทวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). เทโว จ โถกํ โถกํ ผุสายติ ฝนตกพรำๆ

 

ปชฺชุนฺน (ปชา+อนฺน) เมฆ, เมฆฝน.

ปชานํ โลกานํ อนฺนํ โภชนํ ภวติ เอเตนาติ ปชฺชุนฺโน เมฆที่ให้โภชนาหารเกิดมีแก่ชาวโลก ชื่อว่าปัชชุนนะ (อาเทศ อ เป็น อุ, ซ้อน ชฺ, ลบสระหน้า). ปชฺชุนฺโน วิย วสฺสิตฺถ เหมือนฝนตก

 

อมฺพุธร (อมฺพุ+ธร ธารเณ+อ) เมฆ, เมฆฝน.

อมฺพุํ อุทกํ ธาเรตีติ อมฺพุธโร เมฆที่อุ้มน้ำไว้ ชื่อว่าอัมพุธระ

 

ฆน (หน หึสายํ+อ) เมฆ, เมฆฝน.

โลกานํ สนฺตาปํ หนตีติ ฆโน เมฆฝนที่บดบังความร้อนของชาวโลก ชื่อว่าฆนะ (อาเทศ ห เป็น ฆ). อพฺภฆนาติ อพฺภสงฺขาตา ฆนา คำว่า "อพฺภฆนา" คือก้อนเมฆ

 

ธาราธร (ธาราสทฺทูปปท+ธร ธารเณ+อ) เมฆ, เมฆฝน.

ชลธารํ ธาเรตีติ ธาราธโร เมฆที่ทรงสายน้ำไว้ ชื่อว่าธาราธระ

 

ชีมูต (ชีวน+มูต) เมฆ, เมฆฝน.

ชีวนํ ชลํ มูตํ พนฺธมเนเนติ ชีมูโต เมฆที่รวมน้ำฝนเป็นกลุ่มก้อน ชื่อว่าชีมูตะ (ลบ วน). โลกานํ วา ชีวิตํ มุนาติ พนฺธตีติ ชีมูโต เมฆที่เกี่ยวข้องกับการยังชีพของชาวโลก ชื่อว่าชีมูตะ (ชีวิตสทฺทูปปท+มุ พนฺธเน+ต, ลบ วิต หรืออาเทศ ชีวิต เป็น ชี, ทีฆะ อุ เป็น อู)

 

วาริวาห (วาริสทฺทูปปท+วห ปาปเน+ณ) เมฆ, เมฆฝน.

วารึ วหตีติ วาริวาโห เมฆที่นำฝนมา ชื่อว่า วาริวาหะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)

 

อมฺพุท (อมฺพุ+ทา ทาเน+อ) เมฆ, เมฆฝน.

อมฺพุํ ททาตีติ อมฺพุโท เมฆที่ให้หยดน้ำฝน ชื่อว่าอัมพุทะ (ลบสระหน้า)

 

๑ วิ.มหา. ๔/๒๔๔/๓๔๕      ๒ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๐๑/๑๓๕      ๓ วิ.มหาวิ. ๒/๖๑๕/๔๐๑

๔ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๓๘/๒๔๔

๘๙

อพฺภ (อาปสทฺทูปปท+ภร ภรเณ+กฺวิ) เมฆ, เมฆฝน.

อาปํ ภรตีติ อพฺภํ เมฆที่อุ้มน้ำไว้ ชื่อว่าอัพภะ (ลบ อ ที่ ป, อาเทศ ปฺ เป็น พฺ, ลบ ร ที่สุดธาตุ และ กฺวิ, รัสสะ อา เป็น อ). อพฺภํ ภิกฺขเว จนฺทิมสุริยานํ อุปกฺกิเลโส ภิกษุทั้งหลาย ก้อนเมฆที่บดบังดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

 

ฝน, ฤดูฝน ๓ ศัพท์

  

วสฺส (วสฺส เสจเน+อ) ฝน, ฤดูฝน.

วสฺสติ สิญฺจตีติ วสฺสํ ฝนที่หลั่งรดลง ชื่อว่าวัสสะ. วสฺสํ วสนฺติ อยู่ตลอดฤดูฝน

 

วสฺสน (วสฺส เสจเน+ยุ) ฝน.

วสฺสติ สิญฺจตีติ วสฺสนํ ฝนที่หลั่งรดลง ชื่อว่าวัสสนะ. (อาเทศ ยุ เป็น อน). เมโฆ หิ วสฺสนกาเล สตปฏลสหสฺสปฏโล อุฏฺฐหิตฺวา เมฆฝนตั้งเค้าเป็นร้อยเป็นพันในฤดูฝน

 

วุฏฺฐิ (วสฺส เสจเน+อิ) ฝน.

วสฺสติ สิญฺจตีติ วุฏฺฐิ ฝนที่ตกรดลง ชื่อว่าวุฏฐิ (อาเทศ วสฺส เป็น วุฏฺฐ). ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏฺฐิ สมติ วิชฺฌติ เหมือนฝนรั่วรดบ้านที่มุงไม่ดี

 

สายฟ้า, ฟ้าแลบ ๕ ศัพท์

 

สเตรตา (สตตสทฺทูปปท+อีร กมฺปเน+อ+ตา) สายฟ้า, ฟ้าแลบ.

สตตํ อีรติ กมฺปตีติ สเตโร, โส เอว สเตรตา สายฟ้าที่สะเทือนเลื่อนลั่น ชื่อว่าสเตระ (ลบ ต ที่สุดศัพท์, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า), สเตระนั่นแหละ ชื่อว่าสเตรตา (สเตร+ตา). สเตรตา วิชฺชุริวนฺตลิกฺเข เหมือนฟ้าแลบบนท้องฟ้า

 

อกฺขตา (น+ขณ+ตา) สายฟ้า, ฟ้าแลบ.

ขณมตฺตมฺปิ น ติฏฺฐตีติ อกฺขตา สายฟ้าที่ไม่ตั้งอยู่แม้ชั่วขณะหนึ่ง ชื่อว่าอักขตา (อาเทศ น เป็น อ, ซ้อน กฺ, ลบ ณ)

 

วิชฺชุ (วิ+ชุ ชเว+กฺวิ) สายฟ้า, ฟ้าแลบ.

กุฏิลํ อจิรฏฺฐายิตตฺตา วิรูปํ หุตฺวา ชวตีติ วิชฺชุ สายฟ้าที่แลบไปไม่ปรากฏรูปร่าง เพราะเป็นสายคดไปคดมาอยู่ชั่วขณะ ชื่อว่าวิชชุ (ซ้อน ชฺ, ลบ กฺวิ). วิชฺชุริวปฺปภาสเร สว่างไสวดังสายฟ้าแลบ

 

๑ วิ.จุลฺล. ๗/๖๓๔/๓๙๘       ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๙/๑๗          ๓ ขุ.อฏฺ. ๓๒/๕๑/๑๙๖

๔ ขุ.เถร. ๒๖/๒๖๔/๒๘๙      ๕ ขุ.ชา. ๒๗/๒๒๙๒/๔๗๘     ๖ ขุ.วิมาน. ๒๖/๖๔/๑๑๐

๙๐

วิชฺชุตา (วิ+ชุ ชเว+ตา) สายฟ้า, ฟ้าแลบ.

วิชฺโชตตีติ วิชฺชุตา สายฟ้าที่แลบสว่างจ้า ชื่อว่าวิชชุตา (ซ้อน ชฺ). วิชฺชุตา จรติ นเภ สายฟ้าแลบไปในท้องฟ้า

 

อจิรปฺปภา (อจิร+ปภา) สายฟ้า, ฟ้าแลบ.

อจิรํ ปภา เอติสฺสาติ อจิรปฺปภา สายฟ้า ที่แลบสว่างไม่นาน ชื่อว่าอจิรัปปภา (ซ้อน ปฺ). จิรฏฺฐิติกา อจิรปฺปภา สายฟ้าแลบอยู่หลายครั้ง

 

[๔๙] เมฆนาเท ตุ ธนิตํ    คชฺชิตํ รสิตาทิ จ

อินฺทาวุธํ อินฺทธนุ     วาตกฺขิตฺตมฺพุ สีกโร.

 

เสียงฟ้าร้อง ๔ ศัพท์

 

เมฆนาท (เมฆ+นาท) เสียงฟ้าร้อง, เสียงเมฆคำราม.

เมฆานํ นาโท เมฆนาโท เสียงคำรามของเมฆ ชื่อว่าเมฆนาทะ

 

ธนิต (ธน สทฺเท+อิ+ต) เสียงฟ้าร้อง, เสียงเมฆคำราม.

ธนียเต ธนิตํ เสียงฟ้าร้อง ชื่อว่าธนิตะ

 

คชฺชิต (คชฺช สทฺเท+อิ+ต) เสียงฟ้าร้อง, เสียงเมฆคำราม.

คชฺชนํ คชฺชิตํ เสียงฟ้าร้อง ชื่อว่าคัชชิตะ. คชฺชิตา โน วสฺสิตา, วสฺสิตา โน คชฺชิตา มีเสียงฟ้าร้องแต่ฝนไม่ตก, มีฝนตกแต่ฟ้าไม่ร้อง

 

รสิต (รส สทฺเท+อิ+ต) เสียงฟ้าร้อง, เสียงเมฆคำราม.

รสียเต รสิตํ เสียงฟ้าร้อง ชื่อว่ารสิตะ

 

รุ้งกินน้ำ ๒ ศัพท์

 

อินฺทาวุธ (อินฺท+อาวุธ) รุ้งกินน้ำ.

อินฺทสฺส อาวุธํ อินฺทาวุธํ อาวุธของพระอินทร์ ชื่อว่าอินทาวุธะ (ลบสระหน้า). อินฺทาวุธํ อิว อินฺทาวุธํ รุ้งกินน้ำเป็นเหมือนอาวุธของพระอินทร์ ชื่อว่าอินทาวุธะ (ลบ อิว ศัพท์)

 

อินฺทธนุ (อินฺท+ธนุ) รุ้งกินน้ำ.

อินฺทสฺส ธนุ อินฺทธนุ คันธนูของพระอินทร์ ชื่อว่าอินทธนุ. อินฺทธนุ อิว อินฺทธนุ รุ้งกินน้ำเป็นเหมือนคันธนูของพระอินทร์ ชื่อว่าอินทธนุ (ลบ อิว ศัพท์). อากาเส อินฺทธนุ อิว เหมือนรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้า

 

ละอองฝน, ฝนตกประปราย ๒ ศัพท์

 

วาตกฺขิตฺตมฺพุ (วาต+ขิตฺตมฺพุ) ละอองฝน, ฝนตกประปราย.

วาเตน ขิตฺตมฺพุ วาตกฺขิตฺตมฺพุ, พินฺทุ น้ำฝนที่ลมพัดกระจาย ชื่อว่าวาตักขิตตัมพุ ได้แก่ ละอองฝน (ซ้อน กฺ)

 

สีกร (สีตสทฺทูปปท+กร กรเณ+อ, สิจ ปคฺฆรเณ+อร) ละอองฝน, ฝนตกประปราย.

สีตํ กโรตีติ สีกโร, สิญฺจตีติ วา สีกโร ฝนที่ทำให้ชุ่มเย็น หรือที่รดลง ชื่อว่าสีกระ (ลบ ต, อาเทศ จ เป็น ก). วาตวเสน วา ตโต ตโต สรตีติ สีกโร ฝนที่กระจายไปตามลม ชื่อว่าสีกระ (สร คติยํ+อ, อาเทศ อ เป็น อี, ก อาคมกลางธาตุ)

 

๑ ขุ.เถร. ๒๖/๑๘๗/๒๗๑      ๒ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๕๔/๘๒      ๓ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๐๑/๑๓๕

๔ ขุ.อฏฺ. ๔๙/๔๐๔/๓๒๑

๙๑

[๕๐] อาสาโร ธารา สมฺปาโต     กรกา ตุ ฆโนปลํ

       ทุทฺทินํ เมฆจฺฉนฺนาเห       ปิธานํ ตฺวปธารณํ.

[๕๑] ติโรธานนฺตรธานา-         ปิธาน ฉาทนานิ จ

       อินฺทุ จนฺโท จ นกฺขตฺต-     ราชา โสโม นิสากโร.

[๕๒] โอสธีโส หิมรํสิ             สสงฺโก จนฺทิมา สสี

       สีตรํสิ นิสานาโถ           อุฬุราชา จ มา ปุเม.

 

ฝนตกหนัก ๓ ศัพท์

 

อาสาร (อา+สร คติมฺหิ+ณ) ฝนตกหนัก, ห่าฝน.

เวคโต ชลธารานํ สํภุสํ ปตนํ อาสาโร, ปุนปฺปุนํ สรตีติ อาสาโร การตกอย่างหนักแห่งสายฝน หรือฝนที่ตกนานๆ ชื่อว่าอาสาระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)

 

ธารา (ธร ธารเณ+ณ+อา) ฝนตกหนัก, ห่าฝน, สายธารา.

เวคํ ธาเรตีติ ธารา ฝนที่มีความแรง ชื่อว่าธารา (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า). อนฺตลิกฺขา ธญฺญสฺส ธารา โอปติตฺวา ธญฺญาคารํ ปูเรติ สายธารแห่งธัญพืชตกจากท้องฟ้าจนเต็มฉาง

 

สมฺปาต (สํ+ปต ปตเน+ณ) ฝนตกหนัก, ห่าฝน.

อโธ ปตตีติ สมฺปาโต ฝนที่ตกลง ชื่อว่าสัมปาตะ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)

 

ลูกเห็บ, น้ำแข็ง ๒ ศัพท์

 

กรก, กรกา (กร+ก+อา) ลูกเห็บ, น้ำแข็ง.

กเรน หตฺเถน คยฺหุปคตฺตา กรกา ลูกเห็บชื่อว่ากรกา เพราะเป็นเม็ดที่มือจับได้ (ลบสระหน้า). ชลํ ปิณฺฑํ กโรตีติ วา กรโก กรกา จ หรือน้ำที่จับกันเป็นก้อน ชื่อว่ากรกะและกรกา (กร กรเณ+ณฺวุ+อา, อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, ลบสระหน้า)

 

คัมภีร์นานัตถสังคหะกล่าวว่า "กโร วสฺโสปเล ปาณิโสณฺฑาปจฺจายรํสิสุ   กรศัพท์ใช้ในอรรถว่า ลูกเห็บ มือ งวงช้าง ภาษีและรัศมี"

 

ฆโนปล (ฆน+อุปล) ลูกเห็บ, น้ำแข็ง.

ฆนโต ฆนกาเล วา สญฺชาตํ อุปลํ สิลา ฆโนปลํ น้ำที่แข็งเป็นก้อน หรือก้อนที่เกิดจากน้ำฝนแข็งตัวในฤดูฝน ชื่อว่าฆโนปละ (ลบสระหน้า, วิการ อุ เป็น โอ)

 

๑ วิ.มหา. ๕/๘๓/๑๑๑

๙๒

วันพยับฝน, ครึ้มฟ้าครึ้มฝน, มืดครึ้ม

  

ทุทฺทิน (ทุ+ทิน) วันพยับฝน, ครึ้มฟ้าครึ้มฝน, มืดครึ้ม.

ทุฏฺฐุ ทินํ ทุทฺทินํ วันที่มืดครึ้ม ชื่อว่าทุททินะ (ซ้อน ทฺ). อยํ ทุทฺทินสทฺโท เมฆจฺฉนฺนาเห วตฺตติ, อโสภนตฺโถปฺยตฺถิ  ทุทฺทินสทฺโท   ทุทฺทินศัพท์ใช้ในอรรถว่า วันที่มีเมฆมืดครึ้ม และสิ่งที่ไม่สวยงาม

 

ฝา, เครื่องปกปิด, ฝาปิด, เครื่องกั้น, สิ่งกีดขวาง ๖ ศัพท์

 

ปิธาน (อปิ+ธา อาวรเณ+ยุ) ฝา, เครื่องปกปิด, ฝาปิด, เครื่องกั้น, สิ่งกีดขวาง.

อปิธรติ อาวุโณตีติ ปิธานํ เครื่องปิดกั้น ชื่อว่าปิธานะ (ลบ อ หน้า อปิ, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ). ภาชนํ อามสติ ปิธานํ อามสติ จับภาชนะ จับฝาภาชนะ

 

อปธารณ (อป+ธร อาวรเณ+ยุ) ฝา, เครื่องปกปิด, ฝาปิด, เครื่องกั้น, สิ่งกีดขวาง.

อปธรตีติ อปธารณํ เครื่องปกปิด ชื่อว่าอปธารณะ (วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ)

 

ติโรธาน (ติโรสทฺทูปปท+ธา อาวรเณ+ยุ) ฝา, เครื่องปกปิด, ฝาปิด, เครื่องกั้น, สิ่งกีดขวาง.

ติโร ธรติ ปิทหตีติ ติโรธานํ ฝาปิดด้านนอก ชื่อว่าติโรธานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ)

 

อนฺตรธาน (อนฺตรสทฺทูปปท+ธา อาวรเณ+ยุ) ฝา, เครื่องปกปิด, ฝาปิด, เครื่องกั้น, สิ่งกีดขวาง.

อนฺตรํ ธรตีติ อนฺตรธานํ สิ่งกีดขวางในระหว่าง ชื่อว่าอันตรธานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ ที่ อน)

 

อปิธาน (อปิ+ธา อาวรเณ+ยุ) ฝา, เครื่องปกปิด, ฝาปิด, เครื่องกั้น, สิ่งกีดขวาง.

อปิธรตีติ อปิธานํ. เอตฺถ จ อปาทิอุปสคฺคา ธาตุโน อาวรณตฺถโชตกา เครื่องปกปิด ชื่อว่า อปิธานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ), ในที่นี้ธาตุที่มี อปิอุปสัคอยู่หน้าส่องอรรถว่าปิดกั้น. อนุชานามิ ภิกฺขเว อปิธานํ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มีฝาปิด

 

ฉาทน (ฉท อปวารเณ+ยุ) ฝา, เครื่องปกปิด, ฝาปิด, เครื่องกั้น, สิ่งกีดขวาง.

ฉาทยตีติ ฉาทนํ ฝาที่ปิด ชื่อว่าฉาทนะ (วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ยุ เป็น อน). อุปาทานํ อาวรณํ นีวรณํ ฉาทนํ พนฺธนํ การยึดมั่น กั้น บัง ปกปิด ผูกมัด

 

ฝาปิดมีอีกมาก เช่น พฺยวธา, อนฺตรธิ

 

๑ วิ.อฏฺ. ๒/๔๓๙       ๒ วิ.มหา. ๕/๓๗/๔๖      ๓ อภิ.วิ. ๓๕/๙๒๖/๔๘๙

๙๓

ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว ๑๔ ศัพท์

 

อินฺทุ (อิทิ ปรมิสฺสเร+นิคฺคหีตาคม+อุ) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

อินฺทติ นกฺขตฺตานํ ปรมิสฺสริยํ กโรตีติ อินฺทุ ดวงจันทร์เป็นใหญ่กว่าดวงดาวทั้งหลาย ชื่อว่าอินทุ (อาเทศ นิคหิต เป็น นฺ)

 

จนฺท (จทิ หิลาทเน+อ) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

จนฺทติ หิลาทยติ สุขยติ ปชนฺติ จนฺโท ดวงจันทร์ยังหมู่สัตว์ให้ยินดี ชื่อว่าจันทะ (ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ). จนฺโท ตารคเณ ยถา เหมือนดวงจันทร์ในหมู่ดาว

 

นกฺขตฺตราช (นกฺขตฺต+ราช) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว, ราชาแห่งหมู่ดาว.

นกฺขตฺตานํ ราชา นกฺขตฺตราชา ดวงจันทร์เป็นเจ้าแห่งดวงดาว ชื่อว่านักขัตตราชะ (รูปสำเร็จ อาเทศ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า). นกฺขตฺตราชาริว ตารกาคณานํ (วิโรจติ) เหมือนดวงจันทร์สว่างไสวกว่าหมู่ดาว

 

โสม (สห+อุมา+ณ) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

อุมา กนฺติ, ตาย สห วิชฺชตีติ โสโม    อุมาศัพท์แปลว่าความงาม, ดวงจันทร์ที่มีความงามนั้น ชื่อว่าโสมะ (อาเทศ สห เป็น ส, ลบสระหน้า, วิการ อุ เป็น โอ, ลบ ณฺ และสระหน้า). สุขํ อภิสฺสวตีติ โสโม ดวงจันทร์ที่หลั่งความสุขให้ ชื่อว่าโสมะ (สุข+ม, ลบ ข, อาเทศ อุ เป็น โอ)

 

นิสากร (นิสาสทฺทูปปท+กร กรเณ+อ) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

นิสํ รตฺตึ กโรติ ตตฺถ วา กโร รํสิ เอตสฺสาติ นิสากโร ดวงจันทร์ที่ทำให้รู้เวลากลางคืน หรือมีรัศมีในยามค่ำคืน ชื่อว่านิสากระ. รตฺติมาภาติ จนฺทิมา ดวงจันทร์สว่างไสวในยามราตรี (อุทาหรณ์นี้ไม่ตรง)

 

โอสธีส (โอสธิ+อีส) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

อนฺธการํ อุเสนฺติ ทหนฺติ วินาเสนฺตีติ โอสา รัศมีที่ยังความมืดมิดให้หายไป ชื่อว่าโอสา (อุส วินาเส+อ, วุทธิ อุ เป็น โอ, ลบสระหน้า). เต เอตฺถ ธิยนฺติ ปติฏฺฐหนฺตีติ โอสธิ ดวงดาวอันเป็นที่ตั้งอยู่ของรัศมี ชื่อว่าโอสธิ (โอส+ธิ ธารเณ+กฺวิ, ลบ กฺวิ). ตสฺส อีโส ปติ โอสธีโส เจ้าแห่งดวงดาวที่มีรัศมี ชื่อว่าโอสธีสะ (ลบสระหน้า)

 

หิมรํสิ (หิม+รํสิ) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

หิโม สีตโล รํสิ ยสฺสาติ หิมรํสิ ดวงจันทร์ที่มีรัศมีเย็นตาเย็นใจ ชื่อว่าหิมรังสิ

 

สสงฺก (สส+องฺก) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

สโส องฺโก ลกฺขณํ ยสฺสาติ สสงฺโก ดวงจันทร์ที่มีรูปกระต่ายอยู่ ชื่อว่าสสังกะ (ลบสระหน้า). สสงฺกวิมลานโน มีพระพักตร์ปราศจากมลทินดุจดวงจันทร์

 

๑ วิ.ปริ. ๘/๑๓๖๖/๕๕๔      ๒ ขุ.วิมาน. ๒๖/๑๗/๒๕      ๓ สํ.สคาถ. ๑๕/๖๙/๒๒

๔ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๒๑/๑๗๙

๙๔

จนฺทิมนฺตุ (จนฺท+มนฺตุ) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

จนฺทํ กปฺปูรํ มาติ สทิสํ นยตีติ จนฺทิมา ดวงจันทร์นำความเย็นมาเหมือนการบูร จึงชื่อว่าจันทิมันตุ (รูปสำเร็จ อาเทศ อ เป็น อิ, นฺตุ กับ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า). กาฬปกฺเขว จนฺทิมา ดุจดวงจันทร์ในวันข้างแรม

 

สสี (สส+อี) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

สสลกฺขณเมตฺถ อตฺถีติ สสี ดวงจันทร์ที่มีรูปกระต่าย ชื่อว่าสสี (ลบสระหน้า). สสติ วา หึสติ อุณฺหคุณนฺติ สสี หรือดวงจันทร์ที่ผ่อนคลายความร้อน ชื่อว่า สสี (สส หึสายํ+อี). สสี ... ยถา วิโรจติ เหมือนดวงจันทร์...สว่างไสวอยู่

 

สีตรํสิ (สีต+รํสิ) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

สีตา รํสโย ยสฺสตฺถีติ สีตรํสิ ดวงจันทร์ที่ทอแสงเย็น ชื่อว่าสีตรังสิ

 

นิสานาถ (นิสา+นาถ) ดวงจันทร์.

นิสาย รตฺติยา นาโถ ตทาลงฺการภาวโตติ นิสานาโถ ดวงจันทร์เป็นที่พึ่งในเวลากลางคืน เพราะมีความอลังการในกลางคืนนั้น ชื่อว่านิสานาถะ

 

อุฬุราช (อุฬุ+ราช) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

อุฬูนํ ตารานํ ราชา อุฬุราชา ดวงจันทร์เป็นราชาแห่งหมู่ดาว จึงชื่อว่าอุฬุราชะ (รูปสำเร็จ อาเทศ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า). อุฬุราชาว โสภสิ ท่านงดงามดั่งดวงจันทร์

 

มา (มา ปริมาเณ+กฺวิ) ดวงจันทร์, เจ้าแห่งดวงดาว.

มาติ อตฺตานํ กปฺปูเรน สทิสํ กโรตีติ มา ดวงจันทร์ทำตนให้เย็นเช่นการบูร จึงชื่อว่ามา, มาศัพท์เป็นปุงลิงค์

ศัพท์ที่แปลว่าดวงจันทร์มีอีกมาก เช่น หิมํสุ, กุมุทพนฺธุ, วิธุ, สุธํสุ, สุพฺภํสุ, นิสาปติ, มิคงฺก, กลานิธิ, ทฺวิชราช, สสธร, นกฺขตฺเตส

 

[๕๓] กลา โสฬสโม ภาโค         พิมฺพํ ตุ มณฺฑลํ ภเว

 อฑฺโฒ ตฺวทฺโธ อุปฑฺโฒ จ    วา ขณฺฑํ สกลํ ปุเม.

 

ดวงจันทร์เสี้ยว

 

กลา (กล สงฺขฺยาเน+อา) เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์.

โสฬสนฺนํ ภาคานํ ปูรโณ โสฬสโม ภาโค จนฺทสฺส กลา ดวงจันทร์เต็มดวงมี ๑๖ เสี้ยว, เสี้ยวหนึ่งๆ ของดวงจันทร์ ชื่อว่ากลา. กลียเต เอกาทินา สงฺขฺยายเตติ กลา เสี้ยวที่ท่านนับด้วย ๑ เป็นต้น ชื่อว่ากลา. กลํ นาคฺฆนฺติ โสฬสึ ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖.

 

๑ ที.ปาฏิก. ๑๑/๑๗๗/๑๙๖      ๒ ขุ.วิมาน. ๒๖/๑๗/๒๕      ๓ ขุ.อปทาน. ๓๒/๓/๓๙

๔ วิ.จุลฺล. ๗/๒๔๖/๑๐๕

๙๕

ในฏีกาพระวินัยได้แสดงไว้ว่า กลํ นาคฺฆนฺติ โสฬสินฺติ ตํ เอกํ ปทวีติหารํ โสฬสภาเค กตฺวา ตโต เอโก โกฏฺฐาโส ปุน โสฬสธา ตโต เอโก โสฬสธาติ เอวํ โสฬสวาเร โสฬสธา ภินฺนสฺส เอโก โกฏฺฐาโส โสฬสี กลา นาม คำว่า "กาลํ นาคฺฆนฺติ โสฬสึ" หมายความว่า แบ่งการย่างเท้า ๑ ก้าว ออกเป็น ๑๖ ส่วน, จากนั้น แบ่งส่วนที่ ๑๖ ออกเป็น ๑๖ ส่วนอีก, แบ่งส่วนที่ ๑๖ นั้น ออกเป็น ๑๖ ส่วนอย่างนี้ ถึง ๑๖ ครั้ง, ส่วนหนึ่งๆ ชื่อว่ากลา

 

วงเดือน, วงกลมของดวงจันทร์ ๒ ศัพท์

 

พิมฺพ (มน ญาเณ+ว) วงเดือน, วงกลมของดวงจันทร์.

มญฺญเต ญายเต อเนเนติ พิมฺพํ วงกลมที่ให้รู้รูปลักษณ์ของดวงจันทร์ ชื่อว่าพิมพะ (อาเทศ ม เป็น พ ด้วยนิปาตนะ, อ เป็น อิ, นฺ เป็น มฺ, ว เป็น พ). พิมฺพสทฺโท อนิตฺถิยํ    พิมฺพศัพท์มีใช้ในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์

 

มณฺฑล (มณฺฑ มณฺฑเน+อล) วงเดือน, วงกลมของดวงจันทร์.

มณฺฑยเตติ มณฺฑลํ วงเดือนที่กลม ชื่อว่ามัณฑละ. อยํ ตีสฺวปิ   มณฺฑลศัพท์นี้ใช้ในลิงค์ทั้ง ๓. จนฺทมณฺฑลํ วิยสฺส อุเร มณฺฑลํ วิโรจติ ที่อกของเขางดงามเหมือนวงเดือน

 

กึ่ง, ครึ่ง, ครึ่งเสี้ยว ๕ ศัพท์

 

อฑฺฒ (อส เขปเน+ต) กึ่ง, ครึ่ง, ครึ่งเสีี้ยว.

อสติ เขเปติ สมุทายนฺติ อฑฺโฒ เสี้ยวที่ละทิ้งความบริบูรณ์ ชื่อว่าอัฑฒะ (อาเทศ สฺต เป็น ฑฺฒ)

 

อทฺธ (อส เขปเน+ต) กึ่ง, ครึ่ง, ครึ่งเสีี้ยว.

อสติ เขเปติ สมุทายนฺติ อทฺโธ เสี้ยวที่ละทิ้งความบริบูรณ์ ชื่อว่าอัทธะ (อาเทศ สฺต เป็น ทฺธ)

 

อุปฑฺฒ (อุป+อส เขปเน+ต) กึ่ง, ครึ่ง, ครึ่งเสีี้ยว.

อุปฑฺโฒติ อุปสคฺเคน ปทํ วฑฺฒิตํ ศัพท์ว่า "อุปฑฺฒ" สำเร็จโดยการลง อุปอุปสัคข้างหน้า. อฑฺฒ, อทฺธ, อุปฑฺฒ ทั้ง ๓ ศัพท์ เป็นปุงลิงค์

 

ขณฺฑ (ขฑิ เฉทเน+นิคฺคหีตาคม+อ) กึ่ง, ครึ่ง, ครึ่งเสีี้ยว.

ขณฺฑยติ สมุทายนฺติ ขณฺฑํ ครึ่งที่เว้าแหว่ง ชื่อว่าขัณฑะ (อาเทศนิคหิตเป็น ณฺ)

 

สกล (สก สามตฺเถ+อล) กึ่ง, ครึ่ง, ครึ่งเสีี้ยว.

สกฺยเต อุพฺพาหนาทีสุ โถกตฺตาติ สกลํ ส่วนที่สามารถให้ถูกเบียดเบียนเป็นต้น เพราะมีน้อย ชื่อว่าสกละ. ขณฺฑ, สกลศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ บางคัมภีร์กล่าวว่าเป็นนปุงสกลิงค์เท่านั้น

 

[๕๔] อทฺธํ วุตฺตํ สเม ภาเค      ปสาโท ตุ ปสนฺนตา

       โกมุที จนฺทิกา ชุณฺหา     กนฺติ โสภา ชุติจฺฉวิ.

 

ครึ่ง (เสมอกันและไม่เสมอกัน)

 

อฑฺฒ, อทฺธ, อุปฑฺฒศัพท์แปลว่าครึ่ง ถ้ามีรูปเป็นปุงลิงค์ หมายถึงครึ่งที่ไม่เสมอกัน ถ้ามีรูปเป็นนปุงสกลิงค์ หมายถึงครึ่งที่เสมอกัน ท่านจึงแสดงว่า "อทฺธํ วุตฺตํ สเม ภาเค   อทฺธศัพท์ (อฑฺฒ, อุปฑฺฒ) ท่านกล่าวไว้ในครึ่งที่เสมอกัน", ส่วน ขณฺฑศัพท์และสกลศัพท์ ใช้ได้ครึ่งที่เสมอกันและไม่เสมอกัน เป็นได้ทั้งปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์

 

๑ วิ.ฏี. ๔/๒๔๔/๓๗๙     ๒ ขุ.อฏฺ. ๒๙/๗๙๕/๓๕๙

๙๖

ความผ่องใส, ความแจ่มใส, ความสดใส, ความเลื่อมใน ๒ ศัพท์

 

ปสาท (ป+สาท สาทเน+อ) ความผ่องใส, ความแจ่มใส, ความสดใส, ความเลื่อมใน.

วิเสเสน สาทยติ ปสาทยตีติ ปสาโท ความผ่องใสยิ่ง ชื่อว่าปสาทะ. นยนํ ปสีทติ เอเตนาติ ปสาโท ความผ่องใสช่วยให้นัยน์ตาสดใส ชื่อว่าปสาทะ (ป+สท ปสาเท+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)

 

ปสนฺน, ปสนฺนตา (ปสนฺน+ตา) ความผ่องใส, ความแจ่มใส, ความสดใส.

เอวํ ปสนฺโน, โส เอว ปสนฺนตา  ปสนฺนศัพท์ก็เหมือนกับปสาทศัพท์, ปสันนะนั่นแหละ ชื่อว่าปสันนตา. ทั้ง ๓ ศัพท์ คือ ปสาท ปสนฺน ปสนฺนตา มีอรรถเหมือนกัน

 

แสงจันทร์ ๓ ศัพท์

 

โกมุที (กุมุท+ณี) แสงจันทร์.

กุมุทสฺสายํ วิกาโส โกมุที แสงจันทร์ที่ส่องดอกโกมุท ให้แย้มบานนี้ ชื่อว่าโกมุที (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ)

 

จนฺทิกา (จนฺทสทฺทูปปท+อิกฺข ทสฺสเน+อา) แสงจันทร์.

จนฺทํ อาจิกฺขติ ปฏิปาทยตีติ จนฺทิกา แสงจันทร์ที่บอกให้รู้ว่ามีดวงจันทร์ ชื่อว่าจันทิกา (ลบ ขฺ และสระหน้า)

 

ชุณฺหา (ชุติ+ห+อา) แสงจันทร์.

ชุติ อสฺสาตฺถีติ ชุณฺหา แสงจันทร์ที่มีความงาม ชื่อว่าชุณหา (ลบ อิ, อาเทศ ตฺ เป็น ณฺ, ลบสระหน้า). จนฺทสฺส วา ชุตึ โสภํ นยฺหติ พนฺธตีติ ชุณฺหา หรือแสงจันทร์ที่ผูกความงดงามของดวงจันทร์ไว้ ชื่อว่าชุณหา (ชุติสทฺทูปปท+นห พนฺธเน +อา). วิคตูปกฺกิเลสา ชุณฺหา วิย ทิปฺปติ เหมือนแสงจันทร์ปราศจากเมฆหมอกแล้วสว่างไสว

 

๑ ขุ.อฏฺ. ๒๗/๑๗/๑๐๓

๙๗

ความงามของดวงจันทร์เป็นต้น ๔ ศัพท์

 

กนฺติ (กน ทิตฺติกนฺตีสุ+ติ) ความงาม.

กนติ ทิปฺปตีติ กนฺติ, กามียตีติ วา กนฺติ ความงามแจ่มกระจ่าง หรือความงามที่คนชอบใจ ชื่อว่ากันติ

 

โสภา (สุ+ภา ทิตฺติยํ+กฺวิ) ความงาม.

สุนฺทรํ ภาติ ทิปฺปตีติ โสภา ความงามที่สว่างไสว ชื่อว่าโสภา (วุทธิ อุ เป็น โอ, ลบ กฺวิ). อโห อิมิสฺสา เกสา โสภา ผมของหญิงนี้งามเหลือเกิน

 

ชุติ (ชุต ทิตฺติยํ+อิ) ความงาม.

โชตยตีติ ชุติ ความงามที่สว่างไสว ชื่อว่าชุติ

 

ฉวิ (ฉที อิจฺฉายํ+วิ) ความงาม.

ฉาทยตีติ ฉวิ ความงามที่น่าปรารถนา ชื่อว่าฉวิ (ลบ ทฺ). ฉวิ เม สพฺพทา โหติ เรามีความงามอยู่ทุกเมื่อ

 

[๕๕] กลงฺโก ลญฺฉนํ ลกฺขํ     องฺโกภิญฺญาณ ลกฺขณํ

       จิหนํ จาปิ โสภา ตุ     ปรมา สุสมาถ จ.

 

เครื่องหมาย, รอย, ตรา, ลักษณะ, ตำหนิ ๗ ศัพท์

 

กลงฺก (กสทฺทูปปท+ลก องฺเก+นิคฺคหีตาคม+อ) เครื่องหมาย, รอย, ลักษณะ, ตรา, ตำหนิ.

กํ อตฺตานํ ลงฺกยติ หีนํ กโรตีติ กลงฺโก ตำหนิที่ทำให้ตนเสื่อม ชื่อว่ากลังกะ (ไม่ลบ ทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ)

 

ลญฺฉน (ลฉิ ลญฺฉเน+นิคฺคหีตาคม+ยุ) เครื่องหมาย, รอย, ลักษณะ, ตรา, ตำหนิ.

ลญฺฉเต ลกฺขเต อเนนาติ ลญฺฉนํ ตราที่ใช้เป็นเครื่องหมาย ชื่อว่าลัญฉนะ (อาเทศนิคหิตเป็น ญฺ, ยุ เป็น อน). ลญฺฉนํ ภินฺทิตฺวา ทำลายตราที่ใช้เป็นเครื่องหมาย

 

ลกฺข (ลกฺข ทสฺสนงฺเกสุ+อ) เครื่องหมาย, รอย, ลักษณะ, ตรา, ตำหนิ.

ลกฺขียเต อเนนาติ ลกฺขํ ตราที่ใช้เป็นเครื่องหมาย ชื่อว่าลักขะ

 

ลกฺขณ (ลกฺข ทสฺสนงฺเกสุ+ยุ) เครื่องหมาย, รอย, ลักษณะ, ตรา, ตำหนิ.

ลกฺขียเต อเนนาติ ลกฺขํ ตราที่ใช้เป็นเครื่องหมาย ชื่อว่าลักขะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). อิมินา ลกฺขเณน สมนฺนาคโต ราชา พระราชาผู้ทรงประกอบด้วยลักษณะเช่นนี้

 

องฺก (อก ลกฺขเณ+นิคฺคหีตาคม+อ) เครื่องหมาย, รอย, ลักษณะ, ตรา, ตำหนิ.

องฺกียเต ลกฺขียเต อเนเนติ องฺโก ตราที่ใช้เป็นเครื่องหมาย ชื่อว่าอังกะ (อาเทศนิคหิตเป็น งฺ)

 

อภิญฺญาณ (อภิ+ญา อวโพธเน+ยุ) เครื่องหมาย, รอย, ลักษณะ, ตรา, ตำหนิ.

อภิ วิเสสํ ชานาติ เอเตนาติ อภิญฺญาณํ ลักษณะที่ให้รู้ความพิเศษ ชื่อว่าอภิญญาณะ (ซ้อน ญฺ, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบ อ). อภิญฺญาเณน สญฺชานาติ เข้าใจด้วยเครื่องหมาย

 

จิหน (จิห ลกฺขเณ+ยุ) เครื่องหมาย, รอย, ลักษณะ, ตรา, ตำหนิ.

จิหียติ ลกฺขียติ อเนเนติ จิหนํ ตราที่ใช้เป็นเครื่องหมาย ชื่อว่าจิหนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)

 

ความงดงามยิ่ง

 

สุสมา (สุ+สมา) ความงดงามยิ่ง.

สพฺพาสํ โสภานํ มชฺเฌ ปรมา โสภา สุสมา นาม โสภนํ สมํ สพฺพํ สุสมา, เสฏฺฐา โสภา ความงามยิ่งในท่ามกลางความงามทั้งปวง ชื่อว่าสุสมา, ความงดงามไม่มีที่ติ ชื่อว่าสุสมา ได้แก่ ความงดงามที่สุด

 

๑ ธมฺม.อฏฺ. ๒๒/๑๐๔      ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๑๘/๑๗๐      ๓ มชฺ.อฏฺ. ๑๐/๓๔๒/๒๐๕

๔ ที.อฏฺ. ๔/๒๑/๘๗      ๕ ขุ.อฏฺ. ๔๕/๑๔/๑๖๙

๙๘

[๕๖] สีตํ คุเณ คุณิลิงฺคา     สีตสิสิรสีตลา

      หิมํ ตุหินมุสฺสาโว      นีหาโร มหิกาปฺยถ.

 

ความเย็น, อันเย็น, ที่เย็น ๓ ศัพท์

 

สีต (สิ เสวายํ+ต) ความเย็น, อันเย็น, ที่เย็น.

คุเณ โผฏฺฐพฺพวิเสเส สีตนฺติ นปุํสกํ ภวติ, สีตาทโย ตโย คุณีลิงฺคา คุณิโน ลิงฺคํ คณฺหนฺติ, ตํ ยถา สีตลา ภูมิ, สีตลํ ชลํ, สีตโล วาโต    สีตศัพท์ที่ใช้ในคุณลักษณะ คือ ความเย็นเป็นนปุงสกลิงค์, สีต สิสิร และ สีตลศัพท์ที่ใช้ขยายวัตถุที่มีความเย็น ใช้ได้ทั้ง ๓ ลิงค์ คือมีลิงค์ตามบทที่ตนขยาย เช่น สีตลา ภูมิ พื้นที่เย็น, สีตลํ ชลํ น้ำเย็น, สีตโล วาโต ลมเย็น. อุณฺหาภิตตฺเตหิ เสวียตีติ สีตํ, เตน ยุตฺโต สีโต ความเย็นที่ผู้ถูกความร้อนแผดเผาอาศัย(ดับความร้อน) ชื่อว่าสีตะ, วัตถุที่มีความเย็นนั้น ชื่อว่าสีตะ (ทีฆะ อิ เป็น อี)

 

สิสิร (สร จินฺตายํ+อิร) ฤดูหนาว, ความเย็น, เย็น.

สีตตฺถิเกน สรียตีติ วา สิสิรํ ความเย็นที่ผู้ปรารถนาระลึกถึง ชื่อว่าสิสิระ (อาเทส อ เป็น อิ, รฺ เป็น สฺ). สิสิเร จาปิ วุฏฺฐิโย และฝนตกในฤดูหนาว

 

สีตล (สีตสทฺทูปปท+ลา อาทาเน+อ) ฤดูหนาว, ความเย็น, เย็น.

สีตํ คุณํ ลาตีติ สีตโล วัตถุที่ถือเอาความเย็น ชื่อว่าสีตละ. สุริโย น อุณฺโห น สีตโล ดวงอาทิตย์ไม่ร้อนไม่เย็น

 

๑ วิ.จุลฺล. ๗/๒๐๓/๘๗      ๒ ที.อฏฺ. ๕/๓๑/๓๕

๙๙

หมอก, หิมะ, น้ำค้าง ๕ ศัพท์

 

หิม (หิ คติหึสาสุ+อิม) หมอก, หิมะ, น้ำค้าง.

อตฺตโน สีตลภาเวน สตฺเต หิโนติ หึสตีติ หิมํ น้ำค้างที่เบียดเบียนสัตว์ด้วยความเย็นของตน ชื่อว่าหิมะ (ลบนิคหิต, อาเทศ สฺ เป็น มฺ)

ยทิ วสฺสสตํ เทโว        น วสฺเส น หิมํ ปเต

อุจฺฉิชฺเชยฺย อยํ โลโก    วินสฺเสยฺย อยํ ปชา.

หากฝนไม่ตก น้ำค้างไม่ลงตลอดร้อยปี โลกนี้จะมลายไป หมู่สัตว์จะพินาศไป

 

ตุหิน (ตุห อทฺทเน+อิน) หมอก, หิมะ, น้ำค้าง.

โตหติ หึสตีติ ตุหินํ น้ำค้างที่เบียดเบียน ชื่อว่าตุหินะ

 

อุสฺสว, อุสฺสาว (อุ+สุ ปคฺฆรเณ+ณ) หมอก, หิมะ, น้ำค้าง.

อุปริโต สวตีติ อุสฺสาโว น้ำค้างที่หยดลงจากเบื้องบน ชื่อว่าอุสสาวะ (ซ้อน สฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ , อาเทศ โอ เป็น อว และ อาว). มา นํ สีตํ ... อุสฺสาโว วา พาธยิตฺถ ความหนาวเย็น ... หรือหิมะอย่าได้ต้องพระองค์เลย

 

นีหาร (นี+หร หรเณ+ณ) หมอก, หิมะ, น้ำค้าง.

นีหรนฺติ นิสฺสสนฺตฺยเนเนติ นีหาโร, นตฺถิ อีหา เอตสฺมา เหตุภูตาติ วา นีหาโร หิมะที่ทำให้เหนื่อยหน่าย ชื่อว่านีหาระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา) หรือหิมะเป็นเหตุทำให้หมดความพยายาม จึงชื่อว่านีหาระ (น+อีหา+อาร, ลบสระหน้า)

 

มหิกา (มห ปูชายํ+ณฺวุ+อา) หมอก, หิมะ, น้ำค้าง.

มหียเต ราคีหีติ มหิกา หมอกที่ผู้มีราคะพากันชื่นชอบ ชื่อว่ามหิกา (อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, อ เป็น อิ, ลบสระหน้า). มหิกา ภิกฺขเว จนฺทิมสุริยานํ อุปกฺกิเลโส เยน อุปกฺกิเลเสน อุปกฺกิลิฏฺฐา จนฺทิมสุริยา น ตปนฺติ น วิโรจนฺติ ภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เศร้าหมอง เพราะมีเครื่องปิดบังคือหมอก จึงไม่ส่องแสงสว่างไสว. อุปกิเลสในที่นี้หมายถึงเครื่องบดบังดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มี ๔ อย่าง คือ (๑) อพฺภํ เมฆ (๒) มหิกา หิมะหรือหมอก (๓) ธูมรโช ฝุ่นควัน (๔) ราหุ อสุรินฺโท อสุรินทราหู

 

๑ ขุ.ชา. ๒๘/๖๕/๒๘      ๒ ที.มหา. ๑๐/๓๑/๒๓      ๓ วิ.จุลฺล. ๗/๖๓๓/๓๙๘

 

 

<<<<                  >>>>