<<<<            >>>>

๑๐๐

[๕๗] นกฺขตฺตํ โชติ ภํ ตารา      อปุเม ตารโกฬุ จ.

 

ดาว ๖ ศัพท์

 

นกฺขตฺต (น+ขี ขเย+ต) ดาว, นักษัตร, ฤกษ์.

ปุนปฺปุนํ อุทยตฺตา น ขียเตติ นกฺขตฺตํ ดาวที่ไม่หมดสิ้น เพราะขึ้นอยู่เรื่อยๆ ชื่อว่านักขัตตะ (ซ้อน กฺ และ ตฺ, อาเทศ อี เป็น อ). อตฺตโน คมนฏฺฐานํ น ขรติ น วินาเสตีติ นกฺขตฺตํ ดาวที่ไม่เปลี่ยนทางโคจรของตน ชื่อว่านักขัตตะ (น+ขร วินาเส+ต, ลบ รฺ, ซ้อน กฺ และ ตฺ), นกฺขตีติ นกฺขตฺตํ ดาวที่โคจรไป ชื่อว่านักขัตตะ (นกฺข คติยํ+ต, ซ้อน ตฺ) นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา. ประโยชน์ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้

 

โชติ (ชุต ทิตฺติยํ+อิ) ดาว.

โชตติ สุภาสุภนิมิตฺตํ ปกาเสตีติ โชติ ดาวที่แสดงลางดีและลางร้าย ชื่อว่าโชติ.  โชติศัพท์เป็นนปุงสกลิงค์

 

(ภา ทิตฺติยํ+อ) ดาว.

ยถาวุตฺตํ นิมิตตฺตํ ภาติ ปกาเสตีติ ภํ ดาวที่แสดงลางดีและลางร้ายดังกล่าว ชื่อว่าภะ

 

ตารา (ตร ตรเณ+ณ+อา) ดาว.

ตายติ อวิชหนวเสน อากาสํ ปาเลตีติ ตารา ดาวที่รักษาท้องฟ้าไว้โดยไม่ทอดทิ้งไป ชื่อว่าตารา (ตา ปาลเน+ร+อา, ลบสระหน้า). กตฺตพฺพํ ตรนฺติ โลกา เอตายาติ ตารา ดาวที่เป็นเครื่องบอกให้ชาวโลกพักงานที่ควรทำไว้ก่อน (เพราะเริ่มพลบค่ำ) ชื่อว่าตารา (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อตฺตโน วีถึ ตายติ อรติ คจฺฉตีติ ตารา ดาวที่โคจรไปตามวิถีของตน ชื่อว่าตารา (ตา คมเน+อร+อา, ลบ อ). นภํ ตารา จิตามิว เหมือนหมู่ดาวประดับท้องฟ้าให้งดงาม. ตารา, ตารกาศัพท์เป็นอิตถีลิงค์

 

ตารกา (ตารา+ก+อา) ดาว.

ตารา เอว ตารกา ตารานั่นแหละชื่อว่าตารกา (รัสสะ อา เป็น อ, ลบสระหน้า). โอสธี วิย ตารกา เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์

 

อุฬุ (อุ+ลุ คติยํ+กฺวิ) ดาว.

อุจฺจํ ลวติ คจฺฉตีติ อุลุ. โส เอว อุฬุ ดาวที่ขึ้นไป ชื่อว่าอุลุ. อุลุนั่นแหละ ชื่อว่าอุฬุ (อาเทศ ล เป็น ฬ, ลบ กฺวิ). ยถา คคนํ อุฬุภิ เปรียบเหมือน ท้องฟ้างดงามด้วยหมู่ดาว. อุฬุศัพท์เป็นนปุงสกลิงค์

 

๑ ขุ.ชา. ๒๗/๔๙/๑๖      ๒ สีล.ฏี. ๑/๑๙๓      ๓ ขุ.ชา. ๒๘/๑๑๔๐/๔๐๓

๔ ขุ.วิมาน. ๒๖/๑๐/๑๔      ๕ ขุ.อปทาน. ๓๓/๓/๔๔๓

๑๐๑

[๕๘] อสฺสยุโช ภรณิตฺถี          สกตฺติกา โรหิณี ปิจ

       มิคสิรมทฺทา จ ปุนพฺพสุ    ผุสฺโส จาสิเลสปิ.

[๕๙] มาฆา จ ผคฺคุนี เทฺว จ      หตฺถา จิตฺตา จ สาติ ปิ

      วิสาขานุราธา เชฏฺฐา       มูลาสาฬฺหา ทุเว ตถา.

[๖๐] สวโณ จ ธนิฏฺฐา จ          สตภิสโช ปุพฺพุตฺตรภทฺทปทา

      เรวตฺยปีติ กมโต            สตฺตาธิกวีส นกฺขตฺตา.

 

กลุ่มดาวฤกษ์ ๒๗ กลุ่ม

ตั้งแต่ อสฺสยุชศัพท์ ถึง เรวตีศัพท์ เป็นชื่อกลุ่มดาวฤกษ์ ๒๗ กลุ่ม ตามลำดับที่ดาวนั้นๆ ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า

 

อสฺสยุช (อสฺสสทฺทูปปท+ยุช โยเค+อ) ดาวอัสสยุชะ, ดาวม้า.

อสฺสรูปโยคโต อสฺสยุโช เพราะเป็นกลุ่มดาวที่รวมกันเข้าเป็นรูปร่างเหมือนม้า จึงได้ชื่อว่าอัสสยุชะ. อสฺสยุชนกฺขตฺเตน เทโวโรหณนฺติ เอตฺตกํ อาหริตฺวา ทีเปตพฺพํ ผู้รู้ควรนำคำว่า "การเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้าพร้อมกันกับดาวม้าขึ้น" นี้ มาแสดงประกอบ

 

ภรณี (ภร ภรเณ+ยุ+อี) ดาวภรณี, ดาวก้อนเส้า.

ภมสทิสตฺตา สพฺพตฺร ภรตีติ ภรณี ดาวที่ประคองกันไว้ตลอดเวลาเพราะเป็นเหมือนก้อนเส้า ชื่อว่าภรณี (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบสระหน้า)

 

กตฺติกา (กติ เฉทเน+ก+อา) ดาวกัตติกา, ดาวลูกไก่.

อคฺคิสทิสตฺตา กนฺตติ ฉินฺทตีติ กตฺติกา กลุ่มดาวที่มีแสงระยับแล้วขาดหายไปเหมือนไฟกระพริบ ชื่อว่ากัตติกา (ซ้อน ตฺ, ลง อิ อาคม, ลบสระหน้า). จนฺทโยควเสน อชฺช กตฺติกา อชฺช โรหิณีติ วุตฺตํ ท่านกล่าวว่า วันนี้มีดาวกัตติกา วันนี้มีดาวโรหิณี โดยหมายเอาการลอยเด่นคู่กับดวงจันทร์. กตฺติกาย สหิตา สกตฺติกา, ภรณี โรหิณี วา ดาวที่ขึ้นพร้อมดาวกัตติกา ชื่อว่าสกัตติกา ได้แก่ ดาวภรณีและดาวโรหิณี

 

โรหิณี (รุห วฑฺฒเน+ณ+อินี) ดาวโรหิณี, ดาวคางหมู, ดาวพราหมี.

รุหติ วฑฺฒตีติ โรหิณี กลุ่มดาวที่เจริญ ชื่อว่าโรหิณี (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ น เป็น ณ). อตฺถงฺคมิเต ปน สุริเย โรหิณีนกฺขตฺเตน ปฐวิยํ ปติฏฺฐติ เมื่อดวงอาทิตย์ตก ต้นโพธิ์ก็ตั้งอยู่บนพื้นดินพร้อมดาวโรหิณีขึ้น

 

มิคสิร (มิค+สิร) ดาวมิคสิระ, ดาวหัวเนื้อ.

มิคสีสสณฺฐานตฺตา ตาราปุญฺโช มิคสิรํ กลุ่มดาวที่มีรูปทรงเหมือนหัวเนื้อ ชื่อว่ามิคสิระ. มิคสิรนกฺขตฺเต ชาตตฺตา มิคสิโร ผู้ชื่อว่า มิคสิระ เพราะเป็นคนเกิดในฤกษ์ดาวมิคสิระ

 

อทฺทา (อท ภกฺขเน+อา) ดาวอัททา, ดาวตาสำเภา.

อทติ ฆสตีติ อทฺทา ดาวที่กลืนกิน(โชคดีและโชคร้าย) ชื่อว่าอัททา (ซ้อน ทฺ). อทฺทติ หึสตีติ อทฺทา ดาวที่เบียดเบียน ชื่อว่าอัททา (อทฺท หึสายํ+อา)

 

๑ ที.อฏฺ. ๕/๑๒/๒๐      ๒ มชฺ.อฏฺ. ๙/๔๐๐/๒๙๒      ๓ วิ.อฏฺ. ๑/๑๐๐

๔ ขุ.อฏฺ. ๓๒/๑๘๐/๔๗๐

๑๐๒

ปุนพฺพสุ (ปุนสทฺทูปปท+วสฺส เสจเน+อุ) ดาวปุนัพพสุ, ดาวสำเภาทอง, ดาวสำเภา.

ปุนปฺปุนํ สตฺเตสุ หิตํ วสฺสตีติ ปุนพฺพสุ กลุ่มดาวที่หลั่งประโยชน์เกื้อกูลสัตว์เนืองๆ ชื่อว่าปุนัพพสุ (ซ้อน วฺ, อาเทศ วฺว เป็น พฺพ, ลบ สฺ หนึ่งตัว)

 

ปุสฺส, ผุสฺส (ปุส โปสเน+ย) ดาวปุสสะหรือผุสสะ, ดาวสมอสำเภา, ดาวปุยฝ้าย, ดาวดอกบัว, พวงดอกไม้.

โปเสติ กฺริยานิ, โปเสนฺติ อสฺมินฺติ วา ปุสฺโส กลุ่มดาวที่เอื้อเฟื้อซึ่งการกระทำ หรือเป็นฤกษ์ให้กระทำ ชื่อว่าปุสสะ (อาเทศ สฺย เป็น ส, ป เป็น ผ บ้าง, ซ้อน สฺ). ผุสตีติ ผุสฺโส ดาวที่สัมผัสท้องฟ้า ชื่อว่าผุสสะ (ผุส สมฺผสฺเส+ส). ปุสฺสนกฺขตฺเตน อุปฺปนฺนํ ตรุณเวฬุวลฏฺฐึ หน่อไผ่อ่อนงอกพร้อมกับดาวปุสสะขึ้น. จนฺโท น ภาสติ น ผุสฺโส ดวงจันทร์ไม่สว่าง ดาวผุสสะก็ไม่สว่าง

 

อสิเลส (น+สิลิส สิเลสเน+อ) ดาวอสิเลสะ, ดาวงู, ดาวเรือน.

ภุชคสทิสตฺตา น สิลิสยเต นาลิงฺคยเตติ อสิเลโส กลุ่มดาวที่ลอยไปเหมือนงูเลื้อย ชื่อว่าอสิเลสะ (อาเทศ น เป็น อ, อิ เป็น เอ)

 

มฆา, มาฆา (มห ปูชายํ+อา) ดาวมฆา, ดาววานร, ดาวงอนไถ, ดาวงูผู้.

มหียเต การิยตฺถิเกหีติ มฆา กลุ่มดาวที่ผู้ปรารถนาผลสำเร็จพากันบูชา ชื่อว่ามฆา (อาเทศ ห เป็น ฆ, วุทธิ อ เป็น อา บ้าง)

 

ผคฺคุนี (ผลสทฺทูปปท+คห อุปาทาเน+ยุ+อี) ดาวผัคคุนี, ดาววัวตัวผู้, ดาวงูตัวเมีย, ดาววัวตัวเมีย, ดาวเพดาน.

ผลํ คณฺหาเปตีติ ผคฺคุนี กลุ่มดาวที่ให้สัตว์รับเอาผล ชื่อว่าผัคคุนี (ลบ ล, ซ้อน คฺ, อาเทศ อ เป็น อุ, ยุ เป็น อน, ลบ อ และ หฺ). โส ปน ผคฺคุนีปุณฺณมาสิยํ จินฺเตสิ อติกฺกนฺโต เหมนฺโต ในเดือนที่ประกอบด้วยดาวผัคคุนี เขาคิดอยู่ว่า ฤดูหนาวล่วงไปแล้ว. เทฺวติ ปุพฺพผคฺคุนี อุตฺตรผคฺคุนี เจติ เทฺว คำว่า "เทฺว" ในคาถา หมายถึงดาว ๒ กลุ่ม คือ ปุพพผัคคุนี และอุตตรผัคคุนี

 

หตฺถ (หตฺถ+ณ) ดาวหัตถะ, ดาวศอกคู้.

หตฺถสณฺฐานตาย หตฺโถ เพราะเป็นกลุ่มดาวที่มีสัณฐานเหมือนศอก จึงชื่อว่าหัตถะ (ลบ ณฺ และสระหน้า)

 

จิตฺตา (จิตฺต+อา) ดาวจิตตา, ดาวตาจระเข้, ดาวไต้ไฟ, ดาวต่อมน้ำ.

ตจฺฉกสทิสตฺตา วิจิตฺตํ ผลํ ททาตีติ จิตฺตา เพราะเป็นดาวที่ให้ผลวิจิตร เหมือนผลงานช่างแกะสลัก จึงชื่อว่าจิตตา (ลบสระหน้า)

 

๑ โมคฺ. ๗/๒๑๕     ๒ ขุ.อฏฺ. ๔๕/๒๕/๒๑๓      ๓ ขุ.วิมาน. ๒๖/๕๓/๙๔

๔ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๖

๑๐๓

สาติ (สุ+อาติ) ดาวสาติ, ดาวช้างพัง, ดาวงูเหลือม.

โสภนา อาติ สาติ กลุ่มดาวที่สวยงาม ชื่อว่าสาติ (ลบสระหน้า). สาติ วา ตนุกโรติ สุภาสุภนฺติ สาติ หรือกลุ่มดาวที่ทำความดีและความชั่วให้เหลือน้อย ชื่อว่าสาติ (สา ตนุกรเณ+ติ). สุภาสุภผลทานโต วา สาติ หรือกุล่มดาวที่ให้ผลดีและร้าย ชื่อว่าสาติ. สาติศัพท์เป็นปุงลิงค์และอิตถีลิงค์. ส่วนคัมภีร์นานัตถสังคหะว่า สาติ ทานาวสาเนสุ   สาติศัพท์ใช้ในอรรถว่า การให้และการสิ้นสุด

 

วิสาขา (วิสทิสสทฺทูปปท+ขณุ วิทารเณ+อา) ดาววิสาขา, ดาวคันฉัตร.

วิสทิสํ ผลํ ขณตีติ วิสาขา กลุ่มดาวที่จำแนกผลให้แตกต่างกัน ชื่อว่าวิสาขา (ลบ ทิส, ทีฆะ อ เป็น อา, ลบ ณฺ และสระหน้า). วิวิธา สขา มิตฺตา อสฺสาติ วิสาขา กลุ่มดาวที่มีบริวารมาก ชื่อว่าวิสาขา (วิ+สขา, ทีฆะ อ เป็น อา). วิสาขนกฺขตฺเตน ชาโต จ อภิสมฺพุทฺโธ จ ปรินิพฺพุโต จ พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยวิสาขฤกษ์

 

ตาราคณา วิโรจนฺติ     นกฺขตฺตา คคนมณฺฑเล

วิสาขา จนฺทิมายุตฺตา    ธุวํ พุทฺโธ ภวิสฺสสิ.

หมู่ดวงดาวสว่างไสวอยู่บนท้องฟ้า มีดาววิสาขาลอยเด่นอยู่ใกล้ดวงจันทร์ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

 

อนุราธา (อนุ+ราธ สิทฺธิยํ+อา) ดาวอนุราธา, ดาวประจำฉัตร, ดาวนกยูง.

อนุราธยติ สํสิชฺฌติ สุภาสุภผลเมตายาติ อนุราธา กลุ่มดาวที่เป็นเหตุให้สำเร็จผลดีและไม่ดี ชื่อว่าอนุราธา

 

เชฏฺฐา (วุฑฺฒ+อิฏฺฐ+อา) ดาวเชฏฐา, ดาวช้างใหญ่, ดาวงาช้าง, ดาวคอนาค, ดาวแพะ.

คุเณหิ สพฺพาสํ วุฑฺฒตฺตา เชฏฺฐา เพราะเป็นดาวที่เจริญด้วยคุณกว่าดาวทั้งปวง จึงชื่อว่าเชฏฐา (อาเทศ วุฑฺฒ เป็น ช, ลบสระหน้า, วิการ อิ เป็น เอ). เชฏฺฐมาสสฺส ปุณฺณมิยํ เชฏฺฐนกฺขตฺตํ วา มูลนกฺขตฺตํ วา โหตีติ อาห เชฏฺฐมูลนกฺขตฺตนฺนาม โหติ ท่านเรียกว่าดาวเชฏฐมูละเพราะในวันเพ็ญเดือน ๗ มีดาวเชฏฐาหรือดาวมูละ

 

มูล (มูล ปติฏฺฐายํ+อ) ดาวมูละ, ดาวช้างน้อย, ดาวแมว.

มูลติ ปติฏฺฐาติ สุภาสุภผลเมตฺถาติ มูลํ ดาวเป็นที่ตั้งแห่งผลดีและไม่ดี ชื่อว่ามูละ

 

อาสาฬฺหา (อาสาฬฺห+อา) ดาวอาสาฬหา, ดาวฉัตรทับช้าง, ดาวราชสีห์ตัวเมีย, ดาวแตรงอน.

อาสาโฬฺห นาม ภตีนํ ทณฺโฑ ไม้คานของคนรับจ้าง ชื่อว่าอาสาฬหะ. ตํสณฺฐานตฺตา อาสาฬฺหา นาม เพราะเป็นดาวที่มีรูปสัณฐานเหมือนไม้คาน จึงชื่อว่าอาสาฬหา (ลบสระหน้า). เทฺว นกฺขตฺตา ปุพฺพาสาฬฺหอุตฺตราสาฬฺหวเสน ดาวอาสาฬหามี ๒ กลุ่ม คือ ปุพพาสาฬหาและอุตตราสาฬหา. ปาจีนทิสาย อาสาฬฺหนกฺขตฺเตน ยุตฺโต ปุณฺณจนฺโท อุคฺคจฺฉติ ดวงจันทร์เต็มดวงขึ้นคู่กับดาวอาสาฬหาทางทิศตะวันออก

 

๑ ที.อฏฺ. ๕/๑๒/๒๐      ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๒/๔๒๖      ๓ วิ.สารตฺถ.ฏี. ๑/๑๐๘/๒๔๕

๔ สํ.อฏฺ. ๑๓/๑๕๐๑/๓๗๙

๑๐๔

สวณ (สุ ปสเว+ยุ) ดาวสวณะ, ดาวหลักชัย, ดาวพระฤาษี.

สวติ สุภาสุภผลเมเตนาติ สวโณ สวณํ วา ดาวที่ช่วยให้ผลดีและไม่ดีไหลออก จึงชื่อว่าสวณะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว, ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า). สวณศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์

 

ธนิฏฺฐา (ธนสทฺทูปปท+เอส มคฺคเน+ต+อา) ดาวธนิฏฐา, ดาวไซ, ดาวเศรษฐี.

ธนํ เอสนฺติ เอตฺถาติ ธนิฏฺฐา, ธนติ วา วิภูติ นิธานํ ธนิฏฺฐา กุล่มดาวเป็นที่แสวงหาทรัพย์ ดาวที่สง่างาม หรือดาวที่เป็นขุมทรัพย์(โชคลาภ) ชื่อว่าธนิฏฐา (อาเทศ สฺ กับ ต เป็น ฏฺฐ, เอ เป็น อิ, ลบสระหน้า)

 

สตภิสช (สต+ภิสช) ดาวสตภิสชะ, ดาวพิมพ์ทอง, ดาวยักษ์.

สตํ ภิสชา เอตฺถ สตภิสชานํ วา อธิปติ สตภิสโช กลุ่มดาว ๑๐๐ ดวง หรือดาวดวงใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาว ๑๐๐ ดวง ชื่อว่าสตภิสชะ

 

ภทฺทปท (ภทฺท+ปท) ดาวภัททปทะ, ดาวภัทรบท, ดาวหัวเนื้อทราย, ดาวไม้เท้า, ดาวแรดตัวเมีย.

ภทฺโท โค   ภทฺทศัพท์แปลว่า โค (วัว). ตสฺเสว ปทานิ ปาทา อสฺสํ ภทฺทปทา ดาวที่เหมือนเท้าโค ชื่อว่าภัททปทะ. ปุพฺพภทฺทปทา เทฺว, อุตฺตรภทฺทปทา เทฺว สมูโห เจสํ จตุสงฺขฺยาติ พหุวจนํ ดาวปุพพภัททปทะมี ๒ ดวง ดาวอุตตรภัททปทะมี ๒ ดวง รวมกันเป็น ๔ ดวง จึงนับเป็นพหูพจน์เสมอ

 

เรวตี (รา+วนฺตุ+อี) ดาวเรวตี, ดาวปลาตะเพียน, ดาวนาง.

รา วุจฺจติ ธนํ, ตพฺพนฺตตาย เรวตี ทรัพย์ท่านเรียกว่า "รา", เพราะเป็นดาวที่มีทรัพย์นั้น จึงชื่อว่าเรวตี (อาเทศ อา เป็น เอ, นฺตุ เป็น ต, ลบสระหน้า). เรวโต วา อิสิเภโท, ตสฺส อปจฺจํ เรวตี อีกนัยหนึ่ง เรวตะเป็นชื่อของฤาษีท่านหนึ่ง, ลูกของฤาษีเรวตะนั้น ชื่อว่าเรวตี (เรวต+ณ+อี, ลบ ณ และสระหน้า). เรวตีนกฺขตฺเตน ชาตตฺตา เรวโตติ ลทฺธนาโม พฺรหฺมพนฺธุ พรหมพันธุเทพบุตรได้ชื่อว่าเรวตะ เพราะเกิดโดยเรวตีฤกษ์

 

[๖๑] โสพฺภานุ กถิโต ราหุ     สูราที ตุ นวคฺคหา

ราสิ เมสาทิโก ภทฺท-    ปทา โปฏฺฐปทา สมา.

 

ราหู, อสุรินทราหู ๒ ศัพท์

โสพฺภานุ (โสสทฺทูปปท+ภา ทิตฺติยํ+นุ) ราหู, อสุรินทราหู.

โส วุจฺจติ สคฺโค, ตตฺถ ภาตีติ โสพฺภานุ ผู้รู้เรียกสวรรค์ว่า "โส", ราหูผู้รุ่งเรืองอยู่บนสวรรค์นั้น ชื่อว่าโสพภานุ (ซ้อน พฺ). ราหุมุตฺโตติ ราหุนา โสพฺภานุนา มุตฺโต คำว่า "ราหุมุตฺโต" คือพ้นจากราหูผู้รุ่งเรืองอยู่บนสวรรค์. กถิโตศัพท์ในคาถา บอกให้ทราบว่า โสพฺภานุศัพท์ และ ราหุศัพท์ มีอรรถเหมือนกัน

 

๑ ขุ.อฏฺ. ๔๙/๖๓๗/๓๖๙     ๒ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๒๖๘/๑๗๔

๑๐๕

ราหุ (รห จาเค+ณ+อุ) ราหู, อสุรินทราหู.

รหติ จนฺทาทีนํ โสภํ ชหาเปตีติ ราหุ ผู้ทำให้ความงามของดวงจันทร์เป็นต้นให้สิ้นไป ชื่อว่าราหุ. ราหุ ภิกฺขเว อสุรินฺโท จนฺทิมสุริยานํ อุปกฺกิเลโส ภิกษุทั้งหลาย อสุรินทราหูเป็นนผู้บดบังดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ให้อับแสง. อสุกทิวเส ราหุ จนฺทํ คเหสฺสติ ในวันโน้น ราหูจะบดบังดวงจันทร์ (จะเกิดจันทรุปราคา)

 

ศัพท์ที่แปลว่าราหูมีอีกมาก เช่น ตม, วิธุนฺตุท, จนฺทาท, เสหิเกย, จนฺทคฺคาห

ดาวนพเคราะห์ ๙ ดวง คือ สูร, จนฺท, องฺคารก, พุธ, ชีว, สุกฺก, อสิต, ราหุ, เกตุ

ราศี ๑๒ คือ เมส, อุสภ, มิถุน, กกฺกฏ, สีห, กญฺญา, ตุลา, วิจฺฉิก, ธนุ, มกร, กุมฺภ, มีน

 

 

ตารางเปรียบเทียบเดือนและกลุ่มดาวราศีประจำเดือนทั้ง ๑๒

ที่ ชื่อเดือนบาลี ชื่อเดือนไทย ระหว่างกลางเดือน  กลุ่มดาวราศี 
จิตตะ เดือน ๕ เมษายน-พฤษภาคม เมสะ แพะ
เวสาขะ, วิสาขะ เดือน ๖ พฤษภาคม-มิถุนายน อุสภะ โค
เชฏฐะ เดือน ๗ มิถุนายน-กรกฎาคม มิถุนะ คู่หญิงชาย
อาสาฬหะ เดือน ๘ กรกฎาคม-สิงหาคม กักกฏะ ปู
สาวณะ เดือน ๙ สิงหาคม-กันยายน สีหะ ราชสีห์
โปฏฐปาทะ, ภัททา เดือน ๑๐ กันยายน-ตุลาคม กัญญา หญิงสาว
อัสสยุชะ เดือน ๑๑ ตุลาคม-พฤศจิกายน ตุลา ตราชั่ง
กัตติกา เดือน ๑๒ พฤศจิกายน-ธันวาคม วิจฉิกะ แมงป่อง
มาคสิระ, มิคสิระ เดือน ๑ ธันวาคม-มกราคม ธนุ ธนู
๑๐ ผุสสะ เดือน ๒ มกราคม-กุมภาพันธ์ มกระ มังกร
๑๑ มาฆะ เดือน ๓ กุมภาพันธ์-มีนาคม กุมภะ หม้อ
๑๒ ผัคคุณะ เดือน ๔ มีนาคม-เมษายน มีนะ ปลา

 

ดาวพัททปทะ ๒ ศัพท์

 

ภทฺทปท, โปฏฺฐปท (พทฺท+ปท, โปฏฺฐ+ปท) ดาวพัททปทะ, ดาวโปฏฐปทะ.

ภทฺโท จ โปฏฺโฐ โค, ตสฺเสว ปทานิ ปาทา อสฺสํ ภทฺทปทา โปฏฺฐปทา จ    ภทฺทศัพท์และโปฏฺฐศัพท์ แปลว่า โค, กลุ่มดาวที่รวมกันอยู่เป็นรูปเหมือนเท้าโค ชื่อว่าภัททปทะและโปฏฐปทะ. มีรูปเป็นพหูพจน์เสมอ เหมือนภทฺทปทศัพท์ในคาถาที่ ๖๐

 

๑ วิ.จุลฺล. ๗/๖๓๔/๓๙๘      ๒ ที.อฏฺ. ๔/๒๔/๘๙

๑๐๖

[๖๒] อาทิจฺโจ สูริโย สูโร    สตรํสิ ทิวากโร

 เวโรจโน ทินกโร       อุณฺหรํสิ ปภงฺกโร.

[๖๓] อํสุมาลี ทินปติ         ตปโน รวิ ภานุมา

 รํสิมา ภากโร ภานุ     อกฺโก สหสฺสรํสิ จ.

 

ดวงอาทิตย์ ๑๙ ศัพท์

 

อาทิจฺจ (อา+ทิปฺป ทิตฺติยํ+อ) ดวงอาทิตย์.

อาภุโส ทิปฺปตีติ อาทิจฺโจ ดวงอาทิตย์ที่เจิดจ้า ชื่อว่าอาทิจจะ (อาเทศ ปฺป เป็น จฺจ)

 

อคฺคิหุตฺตมุขา ยญฺญา สาวิตฺตี ฉนฺทโส มุขํ

ราชา มุขํ มนุสฺสานํ นทีนํ สาคโร มุขํ

นกฺขตฺตานํ มุขํ จนฺโท อาทิจฺโจ ตปตํ มุขํ

ปุญฺญํ อากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ.

 

ยัญพิธีมีการบูชาไฟเป็นสำคัญ สาวิตตีเป็นเบื้องต้นของคัมภีร์เวท พระราชาเป็นประมุขของมนุษย์ มหาสมุทรเป็นใหญ่แห่งแม่น้ำ ดวงจันทร์เป็นใหญ่แห่งหมู่ดาว ดวงอาทิตย์เป็นใหญ่แห่งสิ่งมีแสงสว่าง พระสงฆ์เป็นใหญ่แห่งผู้ต้องการบุญที่พากันการบูชาอยู่

 

สุริย, สูริย (สุ หึสายํ+อิส) ดวงอาทิตย์, สุริยะ.

อนฺธการวิธมเนน สตฺตานํ ภยํ สวติ หึสตีติ สุริโย ดวงอาทิตย์ที่เบียดเบียนภัยคือความมืดของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสุริยะ (ลง รฺ อาคม, อาเทศ ส เป็น ย). โลกานํ สูรภาวํ ชเนตีติ สูริโย ดวงอาทิตย์ยังความกล้าหาญของชาวโลกให้เกิดขึ้น ชื่อว่าสูริยะ (สูร+อิย, รัสสะ อู เป็น อุ บ้าง, ลบสระหน้า). อุทยนฺโตว สุริโย เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย. อตฺถงฺคเมตฺวาน ปเลติ สูริโย ดวงอาทิตย์อัสดงไป

 

สูร (สุ หึสายํ+อูร) ดวงอาทิตย์.

อนฺธการวิธมเนน สตฺตานํ ภยํ สวติ หึสตีติ สูโร ดวงอาทิตย์ที่เบียดเบียนภัยคือความมืดของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสูระ. โลกานํ สูรภาวํ ชเนตีติ สูริโย ดวงอาทิตย์ยังความกล้าหาญของชาวโลกให้เกิดขึ้น ชื่อว่าสูระ (ลบสระหน้า). จนฺโท จ สูโร จ อุโภ สุทสฺสนา ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ ส่องสว่างไสวเห็นได้ง่าย

 

๑ วิ.มหา. ๕/๘๗/๑๒๔      ๒ ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๑๑/๒๑๒      ๓ ขุ.ชา. ๒๗/๗๐๔/๑๖๓

๔ องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๓๒/๒๖๐

๑๐๗

สตรํสิ (สต+รํสิ) ดวงอาทิตย์.

สตํ พหโว รํสโย ยสฺส โส สตรํสิ ดวงอาทิตย์มีรัศมีมาก ชื่อว่า สตรังสิ. สตรํสีว อุคฺคโต เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ขึ้น

 

ทิวากร (ทิวาสทฺทูปปท+กร กรเณ+อ) ดวงอาทิตย์, ทิวากร.

ทิวา ทิวสํ กโรตีติ ทิวากโร, ทิวเส วา กโร อาภา ยสฺสาติ ทิวากโร ดวงอาทิตย์ที่ทำให้มีกลางวัน หรือมีรัศมีในเวลากลางวัน ชื่อว่าทิวากระ. ทิวาสทฺโทยํ สพฺพการกวจโน น ตุ อาธารวจโน เอว   ทิวากรศัพท์นี้ใช้ในความหมายของวิภัตติทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะสัตตมีวิภัตติ (แปลว่า กลางวัน ตลอดวัน ทั้งวัน จากกลางวัน ของกลางวัน หรือในกลางวัน). พฺยามปฺปภาปริวุโต สตรํสีว ทิวากโร มีพระรัศมีแวดล้อมด้านละวา เหมือนดวงอาทิตย์ที่มีรัศมีหลายร้อย. นนุ อิทาเนว ทิวากโร อตฺถงฺคโต เวลานี้ดวงอาทิตย์ตกแล้วมิใช่หรือ

 

เวโรจน (วิ+รุจ ทิตฺติมฺหิ+ยุ) ดวงอาทิตย์.

วิเสเสน โรจเต ทิปฺปเตติ เวโรจโน ดวงอาทิตย์ที่สว่างเจิดจ้า ชื่อว่าเวโรจนะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ อิ เป็น เอ, ยุ เป็น อน). เวโรจโน อพฺภุเทติ ดวงอาทิตย์กำลังขึ้น

 

ทินกร (ทิน+กร กรเณ+อ) ดวงอาทิตย์.

ทินํ กโรติ กุมุทานํ วา ทินํ มากุลฺยํ กโรตีติ ทินกโร ดวงอาทิตย์ทำให้มีกลางวัน หรือทำดอกบัวให้บาน จึงชื่อว่าทินกระ. อาจรนฺตมิว ทินกรชาลํ เปรียบเหมือนรัศมีของดวงอาทิตย์ที่แผ่กระจายไป

 

อุณฺหรํสิ (อุณฺห+รํสิ) ดวงอาทิตย์.

อุณฺโห รํสิ ยสฺสาติ อุณฺหรํสิ ดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงร้อน ชื่อว่าอุณหรังสิ

 

ปภงฺกร (ปภาสทฺทูปปท+กร กรเณ+อ) ดวงอาทิตย์.

ปภํ กโรตีติ ปภงฺกโร ดวงอาทิตย์ที่ทำความสว่าง ชื่อว่าปภังกระ (ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ). ปภงฺกโร ยตฺถ จ อตฺถเมติ ดวงอาทิตย์ตกในทิศใด

 

อํสุมาลี, อํสุมาลิน (อํสุ+มาลา+อี,อิน) ดวงอาทิตย์.

อํสุโน มาลา, สา ยตฺถ อตฺถิ อํสุมาลี ดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงเป็นแนว ชื่อว่าอังสุมาลี (ลบสระหน้า). อํสุมาลินมิว วิโรจมานํ เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์สว่างไสวอยู่

 

ทินปติ (ทิน+ปติ) ดวงอาทิตย์.

ทินานํ ปติ ทินปติ ดวงอาทิตย์เป็นเจ้าของกลางวัน จึงชื่อว่าทินปติ

 

ตปน (ตป สนฺตาเป+ยุ) ดวงอาทิตย์.

ตปตีติ ตปโน ดวงอาทิตย์ที่แผดเผา ชื่อว่าตปนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)

 

๑ ขุ.อปทาน. ๓๒/๒๔/๑๐๑     ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๔๐/๒๔๙      ๓ ที.อฏฺ. ๕/๒๔๓/๒๒๘

๔ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๔๗/๖๕      ๕ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๙๘๖/๔๑๔        ๖ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๔๗/๖๕

๗ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๔๔/๗๘

๑๐๘

รวิ (รุ สทฺเท+อิ) ดวงอาทิตย์.

รวนฺติ เอเตน สตฺตา ปภาวิตฺตาติ รวิ ดวงอาทิตย์ที่แผดเผาทำให้สัตว์ร้อง ชื่อว่ารวิ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว). รวิ รํสิปริกิณฺโณ ดวงอาทิตย์มีรัศมีแผ่ออกไป

 

ภานุมนฺตุ (ภานุ+มนฺตุ) ดวงอาทิตย์.

ภานุ อสฺส อตฺถีติ ภานุมา ดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ชื่อว่าภานุมันตุ (รูปสำเร็จ อาเทศ นฺตุ กับ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า). วิโรจติ วีตมโลว ภานุมา เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ที่ปราศจากสิ่งบดบัง สว่างไสวอยู่

 

รํสิมนฺตุ (รํสิ+มนฺตุ) ดวงอาทิตย์.

รํสิ อสฺส อตฺถีติ รํสิมา ดวงอาทิตย์ที่มีรัศมี ชื่อว่า รังสิมันตุ (รูปสำเร็จ อาเทศ นฺตุ กับ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า). อุทยนฺโตว รํสิมา เปรียบเหมือนอาทิตย์อุทัย

 

ภากร (ภาสทฺทูปปท+กร กรเณ+อ) ดวงอาทิตย์.

ภํ อาภํ กโรติ, ตาสํ วา อากโร อุปฺปตฺติฏฺฐานํ ภากโร ดวงอาทิตย์ทำความสว่าง หรือเป็นที่เกิดแห่งแสงสว่างนั้น จึงชื่อว่า ภากระ (ภา+อากร, ลบสระหน้า). อุทยนฺตํว ภากรํ เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์อุทัย

 

ภานุ (ภา ทิตฺติยํ+นุ) ดวงอาทิตย์.

ภาติ ทิปฺปตีติ ภานุ ดวงอาทิตย์ที่สว่างไสว ชื่อว่าภานุ

 

อกฺก (อจฺจ ปูชายํ+อ) ดวงอาทิตย์.

เทเวหิปิ อจฺจเต ปูชียเตติ อกฺโก ดวงอาทิตย์ที่พวกเทวดาพากันบูชา ชื่อว่าอักกะ (อาเทศ จฺจ เป็น กฺก)

 

สหสฺสรํสิ (สหสฺส+รํสิ) ดวงอาทิตย์.

สหสฺสํ พหโว รํสโย ยสฺส สหสฺสรํสิ ดวงอาทิตย์มีรัศมีมาก ชื่อว่าสหัสสรังสิ. สหสฺสรํสิอาทิจฺโจ วิย เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ที่มีรัศมีมาก. สหสฺสรํสิ สตเตโช สุริโย ตมวิโนทโน ดวงอาทิตย์มีรัศมีมาก มีเดชมาก กำจัดความมืดให้หมดไป

 

ศัพท์ที่แปลว่าดวงอาทิตย์มีอีกมาก เช่น ทฺวาทสตฺตา, ปภากร, วิภากร, วิกตฺตน, มตฺตณฺฑ, ทิวมณิ, ตรณิ, มิตฺต, จิตฺรภานุ, คหปฺปติ, หํส, สวิตา

 

๑ วิ.ปริ. ๘/๑๓๖๖/๕๕๔        ๒ สํ.สคาถ. ๑๕/๗๕๙/๒๘๘      ๓ ขุ.วิมาน. ๒๖/๘๑/๑๓๔

๔ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๕๘/๓๐๖    ๕ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๑๕/๖๕           ๖ ธมฺม.อฏฺ. ๑๘/๓๘

๑๐๙

[๖๔] รํสิ อาภา ปภา ทิตฺติ    รุจิ ภา ชุติ ทีธิติ

 มรีจิ ทฺวีสุ ภานฺวํสุ      มยูโข กิรโณ กโร.

  

รัศมี, แสง, แสงสว่าง ๑๔ ศัพท์

 

รํสิ (รส อสฺสาเท+อิ) รัศมี, รังสี, แสง, แสงสว่าง.

รสนฺติ ตํ สตฺตาติ รํสิ รัศมีที่สัตว์ยินดี ชื่อว่ารังสิ (ลงนิคหิตอาคม). กายา นิจฺฉรติ รํสิ รัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย

 

อาภา (อา+ภา ทิตฺติยํ+กฺวิ) รัศมี, ประกายแสง, แสงสว่าง.

อาภุโส ภาตีติ อาภา แสงที่สว่างเจิดจ้า ชื่อว่าอาภา (ลบ กฺวิ ปัจจัย). ตสฺส โข ปนานนฺท มณิรตนสฺส อาภา สมนฺตา โยชนํ ผุฏา อโหสิ อานนท์ ประกายแสงของแก้วมณีนั้น ได้แผ่ออกไปโดยรอบ ๑ โยชน์

 

ปภา (ป+ภา ทิตฺติยํ+กฺวิ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

ปกาเรน ภาตีติ ปภา แสงที่ส่องไปทั่ว ชื่อว่าปภา (ลบ กฺวิ). เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยา กาจิ ตารกรูปานํ ปภา สพฺพา ตา จนฺทิมปฺปภาย กลํ นาคฺฆนฺติ โสฬสึ จนฺทปฺปภาย ตาสํ อคฺคมกฺขายติ ภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างของดวงดาวทั้งหมดบนท้องฟ้า ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงจันทร์ ชนทั้งหลายกล่าวว่า แสงจันทร์เป็นเลิศกว่าแสงของดวงดาวทั้งหมดนั้น

 

ทิตฺติ (ทีป ทิตฺติยํ+ติ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

ทิปฺปตีติ ทิตฺติ แสงสว่างรุ่งเรือง ชื่อว่าทิตติ (อาเทศ ปฺ เป็น ตฺ, รัสสะ อี เป็น อิ)

 

รุจิ (รุจ ทิตฺติยํ+อิ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

โรจเต ทิปฺปเตติ รุจิ แสงสว่าง ชื่อว่ารุจิ. ปริปุณฺณกาโย สุรุจี มีพระวรกายเอิมอิ่ม มีพระรัศมีงาม

 

ภา (ภา ทิตฺติยํ+กฺวิ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

ภาติ ทิปฺปตีติ ภา แสงสว่าง ชื่อว่าภา (ลบ กฺวิ ปัจจัย). อุทยนฺตํว ภากรํ เหมือนดวงอาทิตย์ทำให้มีแสงสว่างขณะขึ้น

 

ชุติ (ชุต ทิตฺติยํ+อิ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

โชตเต ทิปฺปเตติ ชุติ แสงสว่าง ชื่อว่าชุติ. อิทฺธี ชุตี พลวีริยูปปตฺติ มีฤทธิ์ รัศมี กำลัง และความกล้าหาญ

 

ทีธิติ (ทีป ทิตฺติยํ+อิ+ติ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

ทีธฺยติ ทิปฺปตีติ ทีธิติ. ทิปฺปตีติ วา ทีธิติ รัศมีที่สว่าง หรือแสงสว่าง ชื่อว่าทีธิติ (อาเทศ ปฺ เป็น ธฺ). ทีธิติ ปาวกมหาเมฆโต วา ... นิจฺฉรติ แสงสว่างที่ส่องผ่านออก ... จากเมฆก้อนใหญ่ที่ชื่อปาวกะ

 

มรีจิ (มร มรเณ+อีจิ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

อนฺธการํ มาเรติ วินาเสตีติ มรีจิ แสงสว่างที่ทำลายความมืดให้หมดไป ชื่อว่ามรีจิ. ตารานํ มรีจิ ปภา รัศมีของหมู่ดาว

 

ภาณุ, ภานุ (ภา ทิตฺติยํ+นุ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

ภาติ ทิปฺปตีติ ภานุ แสงสว่าง ชื่อว่าภานุ. วิโรจติ วีตมโลว ภานุมา เหมือนดวงจันทร์แผ่รัศมีไร้เมฆหมอกบดบังสว่างไสวอยู่

 

อํสุ (อส คติมฺหิ+นิคฺคหีตาคม+อุ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

อสติ คจฺฉติ ทิสนฺตนฺติ อํสุ แสงที่ถึงความสว่าง ชื่อว่าอังสุ

 

มยูข (มาสทฺทูปปท+อุข คติยํ+อ, หรือ มา มาเน+อูอาคม+ข) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

มาย มานาย อุขตีติ มยูโข รัศมีที่เป็นไปเพื่อการนับ ชื่อว่ามยูขะ (รัสสะ อา เป็น อ, ลง ยฺ อาคม, ทีฆะ อุ เป็น อู)

 

๑ ขุ.อปทาน. ๓๓/๒๐๒/๕๒๘     ๒ ที.มหา. ๑๐/๑๖๗/๒๐๒       ๓ สํ.ขนฺธวาร. ๑๗/๒๗๑/๑๙๐

๔ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๖๐๙/๕๕๓       ๕ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๕๘/๓๐๖     ๖ ขุ.ชา. ๒๘/๑๐๐๘/๓๕๒

๗ องฺ.ฏี. ๓/๑๘๐/๕๕           ๘ สีล.ฏี. ๑๙๓-๔               ๙ สํ.สคาถ. ๑๕/๗๕๙/๒๘๘

๑๑๐

กิรณ (กิร วิกฺเขเป+ยุ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

กิรติ ติมิรํ กิรโณ แสงสว่างที่สลายความมืด ชื่อว่ากิรณะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). สมนฺตโต อนฺธการํ วิธมิตฺวา กิรณสหสฺเสน วิโรจนสภาวตาย เวโรจนนามเก อาทิจฺเจ อุฏฺฐิเต โส ขชฺชูปนโก หตปฺปโภ นิตฺเตโช กาฬโก โหติ เมื่อดวงอาทิตย์ที่ชื่อเวโรจนะเพราะเจิดจ้าด้วยรัศมีนับพันลอยขึ้นแผ่แสงออกไปทำลายความมืดโดยรอบ หิ่งห้อยนั้นก็หมดแสงมืดมิดไป

 

กร (กิร วิกฺเขเป+อ) รัศมี, แสง, แสงสว่าง.

ติมิรํ กิรตีติ กโร แสงสว่างที่ทำลายความมืด ชื่อว่ากระ (อาเทศ อิ เป็น อ)

 

 

[๖๕] ปริธี ปริเวโสถ        มรีจิ มิคตณฺหิกา

สูรสฺโสทยโต ปุพฺพุฏฺ-  ฐิตรํสิ สิยารุโณ.

 

ดวงอาทิตย์ทรงกลด ๒ ศัพท์

 

ปริธิ (ปริ+ธา ธารเณ+อิ) ดวงอาทิตย์ทรงกลด.

สูริยสฺส ปริ สมนฺตโต ธียเตติ ปริธิ รัศมีที่ล้อมรอบดวงอาทิตย์ ชื่อว่าปริธิ (ในคาถาทำทีฆะเพื่อรักษาฉันท์)

 

ปริเวส (ปริ+วิส ปเวสเน+ณ) ดวงอาทิตย์ทรงกลด.

ปริ สมนฺตโต วิสตีติ ปริเวโส, สูริยํ วา ปริเวฐยตีติ ปริเวโส รัศมีที่อยู่ล้อมรอบ ชื่อว่าปริเวสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ), หรือรัศมีที่ล้อมรอบดวงอาทิตย์ ชื่อว่าปริเวสะ (ปริ+เวฐ เวฐเน+อ, อาเทศ ฐฺ เป็น สฺ)

 

ดวงอาทิตย์ทรงกลดมีอีก เช่น อุปสูริยก, มณฺฑล

 

พยับแดด, เงาแดด ๒ ศัพท์

 

มรีจิ (มร ปาณจาเค+อีจิ) พยับแดด, เงาแดด.

ขุทฺทชนฺตโว มรนฺติ อเนนาติ มรีจิ พยับแดดที่ทำให้แมลงเล็กๆ ตาย ชื่อว่ามรีจิ. มรีจิสทิสตาย มรีจิ พยับแดดชื่อว่ามรีจิ เพราะเป็นเหมือนแสงระยิบระยับ. มิคตณฺหิกา มรีจิ พยับแดด ชื่อว่ามรีจิ. ยถา มรีจิ อสฺสารา นิสฺสารา สาราปคตา พยับแดดไม่มีสาระ หาสาระมิได้ ปราศจากสาระ ฉันใด. ยถายํ คิมฺหสมเย อุฏฺฐิตา มรีจิ ทูเร ฐิตานํ รูปคตํ วิย ปญฺญายติ พยับแดดนี้ระอุขึ้นในฤดูร้อน ปรากฏเป็นรูปร่างแก่ผู้ยืนอยู่ในที่ไกล

 

มิคตณฺหิกา (มิค+ตณฺหา+อิก+อา) พยับแดด, เงาแดด.

มิคานํ ตณฺหา ปิปาสา ยสฺสํ ชลาภาสตฺตา สา มิคตณฺหิกา พยับแดดทำให้สัตว์กระหาย เพราะดูระยับเหมือนสายน้ำ จึงชื่อว่ามิคตัณหิกา (ลบสระหน้า)

 

๑ ขุ.อฏฺ. ๒๖/๖๐/๓๘๔      ๒ วิสุทฺธิ.ฏี. ๖๓/๒๖๖/๕๐๗      ๓ ขุ.มหานิ. ๒๙/๗๙๙/๔๙๘

๔ ธมฺม.อฏฺ. ๒๐/๓

๑๑๑

แสงอรุณ

 

อรุณ (อร คมเน+อุน) แสงอรุณ.

สูริยสฺส อุทยโต ปุพฺเพ อุฏฺฐิตรํสิ อุคฺคตรํสิ อรุโณ นาม สิยา แสงสีแดงอ่อนระเรื่อที่ส่องขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ชื่อว่าอรุณะ. อรุณวณฺณตาย อรติ คจฺฉตีติ อรุโณ แสงอาทิตย์ที่ส่องไปมีสีแดงอ่อนระเรื่อ ชื่อว่าอรุณะ (อาเทศ น เป็น ณ). อรุโณ อุคฺคจฺฉติ จีวรานิ นิสฺสคฺคิยานิ โหนฺติ พอแสงอรุณขึ้น จีวรเป็นนิสสัคคีย์

 

ศัพท์ที่แปลว่าแสงอรุณมีอีกมาก เช่น สูรสูต, อนูรุ, กสฺสเปยฺย, กสฺสปิ, ครฑาคฺคช

 

 

[๖๖] กาโลทฺธา สมโย เวลา     ตพฺพิเสสา ขณาทโย

ขโณ ทสจฺฉรากาโล       ขณา ทส ลโย ภเว.

[๖๗] ลยา ทส ขณลโย         มุหุตฺโต เต สิยา ทส

ทส ขณมุหุตฺโต เต        ทิวโส ตุ อหํ ทินํ.

 

กาล, เวลา ๔ ศัพท์

 

กาล (กล สงฺขฺยาเน+ณ) กาล, เวลา.

กลียนฺเต สงฺขฺยายนฺเต อายุปฺปมาณาทโย อเนนาติ กาโล เวลาเป็นเครื่องกำหนดนับอายุเป็นต้น จึงชื่อว่ากาละ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). กรณํ วา กาโร, ภาเว โณ, โส เอว กาโล การกระทำ ชื่อว่าการะ, ลงณปัจจัยในภาวะ, การกระทำนั่นแหละ เป็น กาละ (กร กรเณ+ณ, อาเทศ ร เป็น ล), คำว่า "กาละ" หมายถึงการกระทำทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กาโล โภ โคตม นิฏฺฐิตํ ภตฺตํ ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว. อตีเต กาเล นิพฺพตฺตํ สำเร็จแล้วในอดีตกาล

 

๑ วิ.อฏฺ. ๒/๑๘๒      ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๙/๑๘      ๓ ขุ.อฏฺ. ๒๖/๔๓/๓๑๐

๑๑๒

อทฺธา (อส เขปเน+ต+อา) กาล, เวลา, กาลนาน.

สตฺตานํ ชีวิตํ อสติ เขเปตีติ อทฺธา เวลาละทิ้งชีวิตของสัตว์ไป ชื่อว่าอัทธา (อาเทศ ต เป็น ธ, สฺ เป็น ทฺ, ลบสระหน้า), อทฺธาศัพท์นี้เป็นอาการันต์ปุงลิงค์. ตโย อทฺธา อตีโต อทฺธา อนาคโต อทฺธา ปจฺจุปฺปนฺโน อทฺธา กาลมี ๓ อย่าง คือ อดีตกาล อนาคตกาล และปัจจุบันกาล. ตโย อทฺธาติ ตโย กาลา คำว่า "ตโย อทฺธา" แปลว่า กาลมี ๓ อย่าง

 

สมย (สํ+อิ คติมฺหิ+ณ) กาล, เวลา, สมัย, ครั้ง, คราว.

ปุนปฺปุนํ เอตีติ สมโย เวลาที่ผ่านไปเรื่อยๆ ชื่อว่าสมยะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย, นิคหิต เป็น มฺ). ยสฺมึ สมเย สมฺมุขาวินเยน จ เยภุยฺยสิกาย จ อธิกรณํ วูปสมฺมติ เวลาใดอธิกรณ์สงบได้ด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา. สมยศัพท์มีอรรถมาก ให้ดูเพิ่มเติมในคาถาที่ ๗๗๘

 

เวลา (วิ+ลา อาทาเน+ณ) กาล, เวลา.

วินาสํ ลาตีติ เวลา กาลที่กำหนดความเสื่อม ชื่อว่าเวลา (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). เวลา ตาสํ น วิชฺชติ เวลาย่อมไม่มีแก่พวกเธอ

 

เวลามีอีกหลายศัพท์ เช่น ทิฏฺฐ, อเนห

 

ช่วงเวลา ๕ ศัพท์

 

ขณ (ขณุ หึสายํ+อ) ขณะ, ชั่วขณะ, ชั่วเวลาดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง.

ทสหิ อจฺฉราหิ องฺคุลิโผฏฺเฐหิ ลกฺขิโต กาโล ขโณ นาม ชั่วเวลาที่กำหนดด้วยการดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง ชื่อว่าขณะ. ขโณตีติ ขโณ เวลาที่เบียดเบียน(ชีวิตสัตว์) ชื่อว่าขณะ. สตฺตานํ อายุ ขยติ หายติ เอตฺถาติ ขโณ เวลาที่เป็นกาลเสื่อมอายุของสัตว์ ชื่อว่าขณะ (ขี ขเย+ยุ, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบสระหน้า). ขโณ โว ภิกฺขเว ปฏิลทฺโธ พฺรหฺมจริยวาสาย ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอได้ขณะ(เริ่มต้น)เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว

 

ลย (ลย คติยํ+อ, หรือ ลุ+อย คติยํ+อ) ลยะ, ๑๐ ขณะ, ชั่วระยะ.

ทส ขณา ลโย นาม ภเว ภวนฺติ, เอเตน วา วจเนน วิกติสงฺขฺยาเปกฺขิโนปิ วาจกา สนฺตีติ คมฺยเต ๑๐ ขณะ ชื่อว่าลยะ, อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำว่า "ลยะ" นั้น ให้รู้ว่ากิริยา คือ ภเว ในคาถา เกี่ยวข้องกับการนับวิกติกัตตา (หมายความว่า ภเว เป็นทั้งเอกพจน์และพหูพจน์). ลยติ คจฺฉติ สตฺตานํ ชีวิตํ ลุนนฺโต วา อยติ คจฺฉตีติ ลโย เวลาที่เดินผ่านไป หรือเวลาที่ตัดเอาชีวิตของสัตว์ไป ชื่อว่าลยะ (ลบสระหน้า). ลโย ปรินิปฺผนฺโน สำเร็จชั่วระยะเวลาหนึ่ง

 

ขณลย (ขณ+ลย) ขณลยะ, ชั่วครู่, ชั่วยาม, ๑๐ ลยะ.

ทส ลยา ขณลโย นาม ขณลยานํ สมูหภาวโต ๑๐ ลยะ ชื่อว่าขณลยะ โดยการรวมกันของขณะกับลยะ

 

มุหุตฺต (หุจฺฉ โกฏิเลฺย+ต) มุหุตตะ, ชั่วครู่, ๑๐ ขณลยะ.

เต ทส ขณลยา มุหุตฺโต นาม สิยา ๑๐ ขณลยะ ชื่อว่ามุหุตตะ. รตฺติทิวเส กุฏิลยตีติ มุหุตฺโต เวลาที่ยังคืนและวันให้หมุนเวียนไป ชื่อว่ามุหุตตะ (ลง มุ อาคมหน้าธาตุ, ลบ จฺฉ, ซ้อน ตฺ)

 

ขณมุหุตฺต (ขณ+มุหุตฺต) ขณมุหุตตะ, ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ๑๐ มุหุตตะ.

เต ทส มุหุตฺตา ขณมุหุตฺโต นาม ๑๐ มุหุตตะ ชื่อว่าขณมุหุตตะ

 

๑ ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๒๘/๒๒๘     ๒ ที.อฏฺ. ๖/๓๐๕/๑๘๖        ๓ วิ.ปริ. ๘/๙๐๑/๒๗๒

๔ ขุ.ชา. ๒๗/๖๐/๒๐            ๕ สํ.สฬา. ๑๘/๒๑๓/๑๕๘     ๖ อภิ.กถา. ๓๗/๑๖๑๗/๕๔๕

๑๑๓

มาตรานับระยะเวลาสั้นๆ ตามบาลี

 

ทสจฺฉรปฺปมาโณ กาโล ขโณ นาม, เตน ขเณน ทสกฺขโณ กาโล ลโย นาม, เตน ลเยน จ ทสลโย ขณลโย นาม, เตน ทสคุโณ มุหุตฺโต นาม, เตน มุหุตฺเตน ทสคุโณ ขณมุหุตฺโต นาม.

 

ชั่วเวลาดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง    เป็น ๑ ขณะ (ประมาณ ๒.๘ วินาที)

๑๐ ขณะ                   เป็น ๑ ลยะ (ประมาณ ๒๘.๘ วินาที)

๑๐ ลยะ                    เป็น ๑ ขณลยะ (ประมาณ ๔.๘ นาที)

๑๐ ขณลยะ                 เป็น ๑ มุหุตตะ (ประมาณ ๔๘ นาที)

๑๐ มุหุตตะ                 เป็น ๑ ขณมุหุตตะ (ประมาณ ๘ ชั่วโมง)

 

 

กลางวัน, วัน ๓ ศัพท์

 

ทิวส (ทิวุ กีฬายํ+อส) กลางวัน, วัน.

ทิพฺพนฺติ กีฬนฺติ อสฺมินฺติ ทิวโส กลางวันเป็นเวลาเล่นสนุกสนาน จึงชื่อว่าทิวสะ. รตฺติ วา ทิวโส วา อาคจฺฉติ กลางคืนหรือกลางวัน จะมาถึง

 

อห (น+หา จาเค+อ) กลางวัน, วัน.

ปจฺจาคมนํ น ชหาตีติ อหํ กลางวันที่เวียนกลับมาไม่เว้น ชื่อว่าอหะ (อาเทศ น เป็น อ, ลบสระหน้า). อหศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์

 

ทิน (ทา ทาเน+อิน) กลางวัน, วัน.

ททาติ นิพฺยาปารนฺติ ทินํ กลางวันที่ให้ความพยายาม ชื่อว่าทินะ (ลบสระหน้า). ทิพฺพติ เอตฺถาติ ทินํ กลางวันเป็นเวลาที่ผู้คนร่าเริง ชื่อว่าทินะ (ทิวุ กีฬายํ+อ, อาเทศ วฺ เป็น นฺ). สตฺตานํ อายุ ทียติ ขียติ เอเตนาติ ทินํ วันเป็นเหตุสิ้นอายุของสัตว์ ชื่อว่าทินะ (ที ขเย+อิน, ลบสระหน้า)

 

กลางวันมีอีกหลายศัพท์ เช่น ฆสร, วาสร

 

[๖๘] ปภาตํ จ วิภาตํ จ     ปจฺจูโส กลฺลมปฺยถ

อภิโทโส ปโทโสถ      สาโย สญฺฌา ทินจฺจโย.

 

เวลาเช้า ๔ ศัพท์

 

ปภาต (ป+ภา ทิตฺติยํ+ต) เวลาเช้า, รุ่งเช้า, เช้าตรู่.

โลโก ปภาติ อสฺมินฺติ ปภาตํ เวลาที่โลกเริ่มสว่าง ชื่อว่าปภาตะ. รตฺติยา สุทํ ติกฺขตฺตุํ อุฏฺฐาสิ ปภาตํ มญฺญมาโน ทราบว่า กลางคืนเธอเข้าใจว่าสว่างแล้ว จึงลุกขึ้นถึง ๓ ครั้ง

 

๑ องฺ.อฏฺ. ๑๕/๓๘๘/๒๗๕      ๒ สํ.นิทาน. ๑๖/๔๙๐/๒๔๒      ๓ วิ.จุลฺล. ๗/๒๔๕/๑๐๔

๑๑๔

วิภาต (วิ+ภา ทิตฺติยํ+ต) เวลาเช้า, รุ่งเช้า, เช้าตรู่.

โลโก วิภาติ อสฺมินฺติ วิภาตํ เวลาที่โลกเริ่มสว่าง ชื่อว่าวิภาตะ. รตฺติยา วิภาตกาเล ในเวลารุ่งสาง

 

ปจฺจูส (ปติ+อุส รุชายํ+อ) เวลาเช้า, รุ่งเช้า, เช้าตรู่.

ปจฺจูสติ วินาเสติ ติมิรนฺติ ปจฺจูโส เวลาที่ทำความมืดให้หมดไป ชื่อว่าปัจจูสะ (อาเทศ ติ เป็น จ, ซ้อน จฺ, ทีฆะ อุ เป็น อู). ตสฺส กุลสฺส ทารโก รตฺติยา ปจฺจูสสมยํ ปจฺจุฏฺฐาย โรทติ "มํสํ เม เทถ"ติ เด็กของสกุลนั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ร้องขอว่า "ให้เนื้อแก่หนูหน่อย"

 

กลฺล (กล สงฺขฺยาเน+ย) เวลาเช้า, รุ่งเช้า, เช้าตรู่.

กลียนฺเต สงฺขฺยายนฺเต อเนน สงฺขฺยาทโยติ กลฺลํ เวลาที่เป็นเครื่องกำหนดนับเป็นต้น ชื่อว่ากัลละ (อาเทศ ลฺย เป็น ล, ซ้อน ลฺ) เวลาเช้ามีอีกหลายศัพท์ เช่น อโหมุข, อูส

 

ค่ำ, พลบค่ำ, ปฐมยาม ๒ ศัพท์

 

อภิโทส (อภิ+โทสา+อ) ค่ำ, พลบค่ำ, ปฐมยาม.

โทสาย รตฺติยา อารมฺโภ อภิโทโส เวลาเริ่มต้นของกลางคืน ชื่อว่าอภิโทสะ (ลบสระหน้า). อภิโทสคโตทานิ เอหิสิ ไปตั้งแต่พลบค่ำเมื่อวาน พึ่งจะกลับมาเดี๋ยวนี้

 

ปโทส (ปา+โทสา+ณ) ค่ำ, พลบค่ำ, ปฐมยาม.

โทสาย รตฺติยา ปารมฺโภ ปโทโส เวลาเริ่มต้นของกลางคืน ชื่อว่าปโทสะ (รัสสะ อา เป็น อ, ลบ ณฺ และสระหน้า). อภิทุสฺสนฺติ ปทุสฺสนฺติ จ ยตฺถ สพฺพกมฺมานีติ อภิโทโส ปโทโส จ เวลาหัวค่ำที่เบียดเบียนการงานทุกอย่าง(พอหัวค่ำต้องหยุดทำงาน) ชื่อว่าอภิโทสะและปโทสะ (ป ในบทว่า "ปโทส" คือ ปานิบาตที่ทำรัสสะได้บ้าง). ตสฺมึ ปโทสกาเล เสนโก อตฺตานํ อลงฺกริตฺวา นานคฺครสโภชนํ ภุญฺชิตฺวา โพธิสตฺตสฺส เคหํ อคมาสิ ค่ำนั้น เสนกะแต่งตัวและบริโภคอาหารเลิศรสต่างๆ แล้ว จึงไปสู่เรือนของพระโพธิสัตว์

 

หัวค่ำ, เย็น, สิ้นสุดกลางวัน ๓ ศัพท์

 

สาย (สา อวสาเน+ย) หัวค่ำ, เย็น, สิ้นสุดกลางวัน.

สายติ ทินํ อวสายตีติ สาโย เวลาสิ้นสุดกลางวัน ชื่อว่าสายะ. สายนฺโต วา ทินนฺตํ กโรนฺโต อยตีติ สาโย หรือเวลาที่ทำกลางวันให้สิ้นสุดไป ชื่อว่าสายะ (สาสทฺทูปปท+อย คติมฺหิ+อ, ลบสระหลัง). ปิตา มม มูลผเลสนํ คโต อิทานิ อาคจฺฉติ สายกาเล บิดาของเราไปแสวงหามูลผล จะกลับมาเย็นนี้

 

๑ ขุ.อฏฺ. ๓๑/๒๙/๓๕      ๒ วิ.มหาวิ. ๒/๑๐๕/๘๙       ๓ ขุ.ชา. ๒๗/๒๒๓๘/๔๖๒

๔ ชา.อฏฺ. ๔๓/๒๙๑       ๕ ขุ.ชา. ๒๘/๑๕/๔

๑๑๕

สญฺฌา (สํ+เฌ จินฺตายํ+อ+อา) หัวค่ำ, เย็น, สิ้นสุดกลางวัน.

สมฺมา ฌายนฺติ เอตฺถาติ สญฺฌา เวลาที่สัตว์ต้องเพ่งมองจึงเห็น ชื่อว่าสัญฌา (อาเทศนิคหิตเป็น ญฺ, ลบสระ เอ และสระ อ). สญฺฌาเวลาย มารพลํ วิธมิตฺวา พระมหาโพธิสัตว์ทรงพิชิตกำลังพลของมารได้ในเวลาเย็น. สัญฌา มี ๓ อย่าง คือ ปุพพัณหะ (เช้า) มัชฌัณหะ (กลางวัน) และ อปรัณหะ (เย็น), ในที่นี้ท่านหมายถึงอปรัณหะ. ปุพฺพญฺจ ตํ อหญฺจาติ ปุพฺพณฺหํ เบื้องต้นของกลางวัน ชื่อว่าปุพพัณหะ (ตั้งแต่อรุณขึ้นถึง ๑๐ นาฬิกา). มชฺฌญฺจ ตํ อหญฺจาติ มชฺฌณฺหํ ท่ามกลางของกลางวัน ชื่อว่ามัชฌัณหะ (ตั้งแต่ ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๔ นาฬิกา). อปรญฺจ ตํ อหญฺจาติ อปรณฺหํ เบื้องปลายของกลางวัน ชื่อว่าอปรัณหะ (ตั้งแต่ ๑๔ นาฬิกา ถึงพลบค่ำ). ท่านรวม อหศัพท์ทั้ง ๓ เวลา คือ เช้า กลางวัน และเย็น เข้าเป็นกัมมธารยสมาสว่า "อหญฺจ อหญฺจ อหญฺจาติ อหํ" โดยทำเป็นสรูเปกเสสะ คือ รูปศัพท์เหมือนกัน ลบให้เหลือไว้ศัพท์เดียว

 

ทินจฺจย, ทินนฺต (ทิน+อจฺจย,อนฺต) หัวค่ำ, เย็น, สิ้นสุดกลางวัน.

ทินานํ อจฺจโย อติกฺกโม อวสานํ วา ทินจฺจโย, ทินนฺโต การล่วงเลยผ่านไปหรือการสิ้นสุดของกลางวัน ชื่อว่าทินัจจยะและทินันตะ (ลบสระหน้า)

 

[๖๙] นิสา จ รชนี รตฺติ          ติยามา สํวรี ภเว

ชุณฺหา ตุ จนฺทิกา ยุตฺตา    ตมุสฺสนฺนา ติมิสิกา.

 

กลางคืน ๕ ศัพท์

 

นิสา (นิ+สา ตนุกรเณ+กฺวิ) กลางคืน.

นิสติ ตนุํ กโรติ สพฺพพฺยาปารํ นิสา เวลาที่ทำให้การขวนขวายทุกอย่างลดน้อยลง ชื่อว่านิสา (ลบ กฺวิ). ปุน จ ปรํ มหาราช จนฺโท นิสาย รตฺติยา จรติ๒ มหาบพิตร เวลากลางคืนดวงจันทร์ก็โคจรไปทางทิศตะวันตกอีก

 

รชนี (รญฺช ราเค+ยุ+อี) กลางคืน.

รญฺชนฺติ ราคิโน อตฺราติ รชนี กลางคืนเป็นเวลาที่ผู้มีราคะเกิดความกำหนัด จึงชื่อว่ารชนี (ลบ ญฺ, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า). อุฏฺฐิเต อรุเณ ปภาตาย รตฺติยา รชนิยา เมื่ออรุณขึ้น ราตรีสว่างแล้ว

 

๑ ขุ.อฏฺ. ๓๒/๑๑      ๒ มิลินฺท. ๔๙๗      ๓ มิลินฺท. ๑๓๓

๑๑๖

รตฺติ (รญฺช ราเค+ติ) ราตรี, กลางคืน.

ราติ คณฺหาติ อพฺยาปารนฺติ รตฺติ, รญฺชนฺติ วา เอตฺถ รตฺติ เวลาที่ถือเอาความไม่เบียดเบียน หรือเวลาที่ผู้มีราคะเกิดความกำหนัด ชื่อว่ารัตติ (ลบ ญฺชฺ, ซ้อน ตฺ). รา สทฺโท ติยติ ฉิชฺชตีติ รตฺติ เวลาที่เสียงขาดหายไป ชื่อว่ารัตติ (ราสทฺทูปปท+ติ ฉิชฺชเน+กฺวิ). รา ธนํ ติยติ ภิชฺชติ เอตฺถาติ รตฺติ เวลาที่ทรัพย์สูญหาย ชื่อว่ารัตติ (ราสทฺทูปปท+ติ ภิชฺชเน+กฺวิ). ยาว รตฺติ วิภายติ จนกว่าราตรีจะสว่าง

 

รญฺชธาตุวาสา เจว     ราปุพฺพติรโต ปิจ

รตฺติสทฺทสฺส นิปฺผตฺติ    สทฺทตฺถญฺญูหิ ภาวเย.

  

บัณฑิตผู้รู้อรรถของศัพท์กล่าวว่า การสำเร็จรูปศัพท์เป็น รตฺติ มาจาก รญฺช ธาตุก็มี มาจาก รา บทหน้า ติร ธาตุก็มี

 

ติยาม (ติ+ยาม) กลางคืน.

ปฐมมชฺฌิมปจฺฉิมยามวเสน ตโย ยามา ปหารา ยสฺสา ติยามา เวลาที่มี ๓ ยาม คือ ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ชื่อว่าติยามะ (รูปสำเร็จเป็นพหูพจน์เสมอ). อาวุโส ติยามรตฺตึ สมณธมฺโม จ กาตพฺโพ ผู้มีอายุ ท่านควรประพฤติสมณธรรมตลอดทั้งคืน

 

สํวรี (สํ+วร สํวรเณ+อี) กลางคืน.

ทินํ สํวุโณตีติ สํวรี เวลาที่ปิดบังกลางวัน ชื่อว่าสังวรี. โอภาสยํ สํวรึ จนฺทิมาว ดุจดวงจันทร์ส่องสว่างตลอดคืน

 

กลางคืนมีอีกหลายศัพท์ เช่น นิสีถินี, ขณทา, ขปา, วิภาวรี, ตมสฺสินี, ยามินี, ตมี

 

คืนเดือนหงาย

 

ชุณฺหา (ชุณฺห+อา) คืนเดือนหงาย.

จนฺทิกายุตฺตา จนฺทปฺปภาย ยุตฺตา รตฺติ ชุณฺหา นาม, ชุณฺหาโยคโต ชุณฺหา คืนที่มีดวงจันทร์และแสงจันทร์ ชื่อว่าชุณหา, คืนที่มีเดือนหงาย ชื่อว่าชุณหา (ลบสระหน้า). เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา สาริปุตฺโต ชุณฺหาย รตฺติยา นโวโรปิเตหิ เกเสหิ นิสินฺโน โหติ อญฺญตรํ สมาธึ สมาปชฺชิตฺวา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรปลงผมใหม่ นั่งเข้าสมาธิอย่างหนึ่งในคืนเดือนหงาย

 

คืนเดือนมืด

 

ติมิสิกา (ตม+อิสิก+อา) คืนเดือนมืด.

ตโม อุสฺสนฺโน ยสฺสํ สา ตมุสฺสนฺนา รตฺติ ติมิสิกา นาม คืนที่ความมืดแผ่ไปทั่ว ชื่อว่าติมิสิกา (อาเทศ อ ที่ ต เป็น อิ, ลบสระหน้า). ติมิสํ อุสฺสนฺนํ เอตฺถาติ ติมิสิกา คืนที่มีความมืดปกคลุม ชื่อว่าติมิสิกา (ติมิส+อิก+อา, ลบสระหน้า)

 

๑ วิ.จุลฺล. ๗/๔๔๗/๒๘๓      ๒ ที.อฏฺ. ๕/๓๗๓/๓๖๓      ๓ ขุ.ชา. ๒๗/๒๒๙๒/๔๗๗

๔ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๙๓/๑๓๑

๑๑๗

[๗๐] นิสีโถ มชฺฌิมารตฺติ      อฑฺฒรตฺโต มหานิสา

อนฺธกาโร ตโม นิตฺถี      ติมิสํ ติมิรํ ตมํ.

 

เที่ยงคืน ๔ ศัพท์

 

นิสีถ (นิ+สี สเย+ถ, นิ+สท คตฺยาวสาเน+ถ) เที่ยงคืน.

นิสฺสเต สยเต อสฺมินฺติ นิสีโถ เวลาที่ผู้คนนอน ชื่อว่านิสีถะ (อาเทศ อ ที่ ส เป็น อี และลบ ทฺ ที่สุดธาตุ). ทิวา จ รตฺโต จ นิสีถกาเล ได้รับทุกข์หนักทั้งกลางวัน กลางคืน และเที่ยงคืน

 

มชฺฌิมารตฺติ, มชฺฌิมรตฺต (มชฺฌิมา+รตฺติ) เที่ยงคืน.

มชฺฌิมา จ สา รตฺติ จาติ มชฺฌิมารตฺติ มชฺฌิมรตฺโต จ เวลาเที่ยงคืน ชื่อว่ามัชฌิมารัตติ และ มัชฌิมรัตตะ

 

อฑฺฒรตฺต (อฑฺฒ+รตฺติ) เที่ยงคืน.

อฑฺฒญฺจ ตํ รตฺติ จาติ อฑฺฒรตฺโต, รตฺเตกเทเส รตฺติสทฺโท เวลาเที่ยงคืน ชื่อว่าอัฑฒรัตตะ, รตฺติ มี ๓ ศัพท์ ลบให้เหลือศัพท์เดียวด้วยสรูเปกเสสวิธี. รตฺติยา อฑฺฒนฺติ อฑฺฒรตฺโต เวลาครึ่งของกลางคืน ชื่อว่า อัฑฒรัตตะ (กลับ รตฺติอฑฺฒ เป็น อฑฺฒรตฺติ, อาเทศ อิ ที่ ติ เป็น อ). อฑฺฒรตฺเตว รตฺเต วา นทีว อวสุสฺสติ ดุจแม่น้ำ จักขอดแห้งไปในเวลาเที่ยงคืนหรือใกล้รุ่ง

 

มหานิสา (มหนฺต+นิสา) เที่ยงคืน.

มหตี จ สา นิสา จาติ มหานิสา เวลาที่เป็นกลางคืนมากที่สุด ชื่อว่ามหานิสา (อาเทศ มหนฺต เป็น มหา)

 

ความมืด ๔ ศัพท์

 

อนฺธการ (อนฺธสทฺทูปปท+กร กรเณ+ณ) ความมืด, อนธการ.

อนฺธํ หตทิฏฺฐสตฺติกํ โลกํ กโรตีติ อนฺธกาโร ความมืดที่ทำให้สัตว์โลกไม่อาจมองเห็น ชื่อว่าอันธการะ (ลบ ณ, วุทธิ อ เป็น อา). อนาถปิณฺฑิกสฺส คหปติสฺส อนฺธกาโร อนฺตรธายิ ความมืดมนหายไปสำหรับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี

 

ตม (ตมุ อากงฺขายํ+อ) ความมืด.

รตึ โลกา ตมนฺติ อากงฺขนฺติ เอตฺถาติ ตโม เวลาที่สัตว์ต้องการเสพกาม ชื่อว่าตมะ. ตมสทฺโท อนิตฺถี, ตํสหจรณโต อนฺธกาโรปิ   ตมศัพท์ และ อนฺธการศัพท์ เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ เพราะเรียงไว้ใกล้กัน. รตฺติยา ปฐเม ยาเม ปฐมา วิชฺชา อธิคตา อวิชฺชา วิหตา วิชฺชา อุปฺปนฺนา ตโม วิหโต อาโลโก อุปฺปนฺโน ในปฐมยามแห่งราตรี ทรงบรรลุวิชชาที่ ๑ เมื่อปราศจากอวิชชาแล้ววิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดแล้วความสว่างก็เกิดขึ้น

 

ติมิส (ติมุ กงฺขาเตมเนสุ+อิส) ความมืด.

ติมนฺติ เอตฺถาติ เตมยติ วา ราเคนาติ ติมิสํ ความมืดเป็นเหตุให้สัตว์ลังเลสงสัย หรือความมืดทำให้สัตว์ชุ่มด้วยราคะ ชื่อว่าติมิสะ. อนฺธการติมิสา เนว ตาว รตฺตินฺทิวา ปญฺญายติ มีแต่มืดมิด จนไม่ปรากฏกลางวันกลางคืน

 

๑ ขุ.ชา. ๒๘/๙๕/๔๗      ๒ ขุ.ชา. ๒๘/๔๘๙/๑๘๗       ๓ วิ.จุลฺล. ๗/๒๔๗/๑๐๕

๔ วิ.มหาวิ. ๑/๓/๗        ๕ สํ.มหาวาร. ๑๙/๑๗๒๑/๕๕๓

๑๑๘

ติมิร (ติมุ กงฺขาเตมเนสุ+อิร) ความมืด.

ติมนฺติ เอตฺถาติ เตมยติ วา ราเคนาติ ติมิรํ ความมืดเป็นเหตุทำให้สัตว์ลังเลสงสัย หรือความมืดทำให้สัตว์ชุ่มด้วยราคะ ชื่อว่าติมิสะ (ลบสระหน้า). นาหํ ปสฺสามิ ติมิรํ เอกทีปสฺสิทํ ผลํ ๑ ผลของการถวายประทีปดวงเดียวนี้ ทำให้เราไม่ประสบกับความมืดเลย

 

[๗๑] จตุรงฺคตมํ เอวํ          กาฬปกฺเข จตุทฺทสี

วนสณฺโฑ ฆโน เมฆ-    ปฏลํ จฑฺฒรตฺติ จ.

 

ความมืดมีองค์ ๔

 

จตุรงฺคตม (จตุ+รฺอาคม+องฺค+ตม) ความมืดมีองค์ ๔.

จตุทฺทสนฺนํ รตฺตีนํ ปูรณี จตุทฺทสีสงฺขาโต กาฬปกฺโข จ เอกคฺฆโน วนสณฺโฑ จ เมฆปฏลญฺจ อฑฺฒรตฺติ จ เอเตหิ จตูหิ สมนฺนาคโต ตโม จตุรงฺคตมํ นาม ชื่อว่าความมืดมีองค์ ๔ คือ (๑) กลางคืนแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ (๒) กลางป่าดงดิบที่รกทึบ (๓) วันที่มีเมฆทึบ (๔) เวลาเที่ยงคืน. อนฺธกาเรติ กาฬปกฺขจาตุทฺทสีอฑฺฒรตฺตฆนวนสณฺฑเมฆปฏเลหิ จ จตุรงฺคตเม คำว่า ในความมืด หมายถึง ในความมืด ๔ อย่าง คือ วันดับ เวลาเที่ยงคืน กลางป่าดงดิบ และวันที่มีเมฆปกคลุม

 

 

 

[๗๒] อนฺธตมํ ฆนตเม     ปหาโร ยามสญฺญิโต

ปาฏิปโท ตุ ทุติยา    ตติยาที ติถี ทฺวีสุ.

 

ความมืดสนิท

 

อนฺธตม (อนฺธ+ตม) ความมืดสนิท.

อนฺธญฺจ ตํ ตมญฺจาติ อนฺธตมํ ความมืดอย่างสนิท ชื่อว่าอันธตมะ. อนฺธตมสทฺโท ฆนตเม พาฬฺหตเม วตฺตติ      อนฺธตมศัพท์ใช้ในอรรถว่า ความมืดเพราะมีสิ่งปกปิดและความมืดอย่างถาวร. อนฺธตมํ ตทา โหติ เวลานั้น มีแต่ความมืดมิด

 

ยาม, เวลา, คราว ๒ ศัพท์

 

ปหาร (ป+หร หรเณ+ณ) ยาม, เวลา, คราว.

ปหรียเต เภริยาทิ อตฺราติ ปหาโร เวลาที่เขาตีกลองเป็นต้น (เพื่อบอกเวลา) ชื่อว่าปหาระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)

 

๑ ขุ.อปาทาน. ๓๓/๖/๑๖      ๒ ที.อฏฺ. ๔/๒๕๐/๒๐๕       ๓ สํ.มหาวาร. ๑๙/๑๗๒๑/๕๕๓

๑๑๙

ยาม (ยา คมเน+ม) ยาม, เวลา, คราว.

ยาติ คจฺฉตีติ ยาโม เวลาที่เป็นไป ชื่อว่ายามะ. อุปยเมติ อโห รตฺติ จาเนน ยาโม เวลาที่กำหนดวันคืน ชื่อว่ายามะ (ยมุ อุปรเม +ณ, ลบ ณฺ และวุทธิ อ เป็น อา). ปหาโร เอว ยาโม อิติ สญฺญิโต ยามสญฺญิโต ท่านกำหนดว่า การตีบอกเวลานั่นแหละคือยาม. นิกฺขนฺโต ปฐโม ยาโม ปฐมยามล่วงไปแล้ว

 

วันปาฏิบท, วันแรกของปักษ์

 

ปาฏิปท (ปฏิ+ปท คติมฺหิ+อ) วันปาฏิบท, วันแรกของปักษ์, วันขึ้นหรือวันแรม ๑ ค่ำ.

ปฏิปชฺชเต จนฺโท ขยํ อุทยํ วา ยสฺส ปาฏิปโท วันที่ดวงจันทร์โคจรเปลี่ยนไป หรือการสิ้นสุดและการเริ่มต้นของวัน ชื่อว่าปาฏิปทะ (ทีฆะ อ เป็น อา) หมายถึงวันต่อจากวัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ ของข้างขึ้นและข้างแรม หรือวันที่มองเห็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ได้พร้อมกัน ชื่อว่าปาฏิปทะ. อิธ ปน ภิกฺขเว อาวาสิกานํ ภิกฺขูนํ ปณฺณรโส โหติ อาคนฺตุกานํ ปาฏิปโท ภิกษุทั้งหลาย ในศาสนานี้ วันอุโบสถของภิกษุประจำถิ่นเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ของภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑ ค่ำ

 

ดีถี, วันตามจันทรคติ

 

ติถิ (ตนุ วิตฺถาเร+ถิ, ตา ปาลเน+อิถิ) ดิถี, วันตามจันทรคติ, วัน ๒ - ๑๓ หรือ ๑๔ ค่ำ.

ทุติยา ติถิ ปาฏิปโท นาม, ตติยาที ติถิเยว น ปฏิปโท วัน ๒ ค่ำ เป็นวันปาฏิบท หรืออีกนัยหนึ่ง วัน ๓ ค่ำ เป็นต้นไป เป็นดิถี ไม่ใช่วันปาฏิบท. ตโนตีติ ติถิ วันที่เพิ่มขึ้นไป ชื่อว่าติถิ. ตายติ ปาลยตีติ ติถิ วันที่รักษาไว้ ชื่อว่าติถิ (ลบ นฺ ที่สุดธาตุ, อาเทศ อ ที่ ต เป็น อิ). ติถิสทฺโท ทฺวีสุ    ติถิศัพท์มีใช้ในปุงลิงค์และอิตถีลิงค์. กึ อาจริย อชฺช เต ติถิกรณนกฺขตฺตโยโค โอโลกิโต ท่านอาจารย์ ท่านดูดาวฤกษ์ประจำวันนี้แล้วหรือ

 

 

[๗๓] ปณฺณรสี ปญฺจทสี     ปุณฺณมาสี จ ปุณฺณมา

 อมาวสี ปฺยมาวาสี    ถิยํ ปณฺณรสี ปรา.

 

วัน ๑๕ ค่ำ ๒ ศัพท์

 

ปณฺณรสี, ปนฺนรสี (ปญฺจทส+อี) วัน ๑๕ ค่ำ.

ปณฺณรสนฺนํ ติถีนํ ปูรณี ปณฺณรสี, ปนฺนรสี วันเต็ม ๑๕ ค่ำ(ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม) ชื่อว่าปัณณรสี และ ปันนรสี. หิยฺโย นนฺทกสฺส ธมฺมเทสนา จาตุทฺทสิยํ จนฺทสทิสี อโหสิ, อชฺช ปนฺนรสิยํ จนฺทสทิสี ธรรมเทศนาที่แสดงแก่นันทกะเมื่อวานเป็นเช่นดวงจันทร์ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ที่แสดงในวันนี้เป็นเช่นดวงจันทร์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ

 

๑ วิ.จุลฺล ๗/๔๔๗/๒๘๓      ๒ วิ.มหา. ๔/๑๙๗/๒๖๒       ๓ ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๑๓

๔ องฺ.อฏฺ. ๑๔/๒๒๙/๒๗๙

๑๒๐

ปญฺจทสี (ปญฺจทส+อี) วัน ๑๕ ค่ำ.

ปญฺจทสนฺนํ ติถีนํ ปูรณี ปญฺจทสี วันเต็ม ๑๕ ค่ำ ชื่อว่าปัญจทสี (ลบสระหน้า). อภิลกฺขิตา จาตุทฺทสี ปญฺจทสี อฏฺฐมี จ ปกฺขสฺส ภิกษุกำหนดเอาวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์

 

วันเพ็ญ, วันดวงจันทร์เต็มดวง ๒ ศัพท์

 

ปุณฺณมาสี (ปุณฺณ+มาส+อี) วันเพ็ญ, วันดวงจันทร์เต็มดวง.

มิยฺยเต ติถีนํ ขโย วุฑฺฒิ จาเนน มาโส, จนฺโท ดวงจันทร์ที่ใช้กำหนดนับวันข้างขึ้นและข้างแรม ชื่อว่ามาสะ. ปุณฺโณ จ โส มาโส จาติ ปุณฺณมาโส ดวงจันทร์เต็มดวง ชื่อว่าปุณณมาสะ. ตสฺสายํ ติถิ ปุณฺณมาโส ยสฺสมตฺถีติ วา ปุณฺณมาสี วันดวงจันทร์เต็มดวง หรือวันที่มีดวงจันทร์เต็มดวง ชื่อว่าปุณณมาสี. ปุณฺณมาสิอุโปสเถ ทานํ ทาตุํ อุปาคมึ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เราได้เข้าไปเพื่อถวายทาน

 

ปุณฺณมา (ปุณฺณ+มา) วันเพ็ญ, วันดวงจันทร์เต็มดวง.

มาอิติ จนฺโท วุจฺจติ, โส เอตฺถ ปุณฺโณติ ปุณฺณมา ท่านเรียกดวงจันทร์ว่า "มา", วันที่ดวงจันท์นั้นเต็มดวง ชื่อว่าปุณณมา. ปุณฺโณ มา จนฺโท ยตฺถ ปุณฺณมสฺสายํ วา ติถิ ปุณฺณมา วันที่ดวงจันทร์เต็มดวง หรือวันนี้เป็นของดวงจันทร์เต็มดวง ชื่อว่าปุณณมา. ปุณฺณมาย รตฺติยา ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต อพฺโภกาเส นิสินฺโน โหติ ในคืนวันเพ็ญ พระผู้มีพระภาคมีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง

 

วันดับ, วันแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ ๒ ศัพท์

 

อมาวสี, อมาวาสี (อมาสทฺทูปปท+วส นิวาเส+อี) วันดับ, วันแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ.

อปรา กาฬปกฺขสมฺภูตา ปนฺนรสี ปน อมาวสี อมาวาสีติปิ อุจฺจเต วันแรม ๑๕ ค่ำ ท่านเรียกว่า อมาวสีและอมาวาสี. อมา สห วสนฺติ รวิจนฺทา ยสฺสํ อมาวสี, อมาวาสี วันที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีอยู่พร้อมกัน (ขึ้นและตกพร้อมกัน) ชื่อว่าอมาวสีและอมาวาสี (ทีฆะ อ เป็น อา บ้าง). อมาสทฺโท สหตฺโถ อพฺยยํ   อมาศัพท์เป็นนิบาตอรรถสหศัพท์. อยมฺปน อมาวสี รตฺติ เทโว จ เมฆปฏลสญฺฉนฺโน คืนนี้เป็นคืนของวันดับและท้องฟ้าก็มีเมฆปกคลุม. อมาวาสี อฏฺฐมี เอกาทสีติ สุกฺกปกฺเข ตีณิ ตถา กณฺหปกฺเขปิ ตีณิเยวาติ มาสสฺส ฉ อุโปสถทิวสานิ ๑ เดือน มีวันอุโบสถ ๖ วัน คือ ข้างขึ้น ๓ วัน ได้แก่ วัน ๑๕ ค่ำ วัน ๘ ค่ำ และวัน ๑๑ ค่ำ ข้างแรม ก็มี ๓ วันเหมือนกัน

 

วันดับมีอีกหลายศัพท์ เช่น ทสฺส, สูริยินฺทุสงฺคม

 

๑ มชฺ.มูล. ๑๒/๔๕/๓๖      ๒ ขุ.อฏฺ. ๕๒/๘๑/๙๘       ๓ ที.อฏฺ. ๔/๑๕๐/๑๒๘

๔ มชฺ.อปริ. ๑๔/๑๒๐/๑๐๑      ๕ ขุ.อฏฺ. ๒๖/๕๙/๓๗๙     ๖ มงฺคลตฺถ. ๑๐๗/๙๒

๑๒๑

[๗๔] ฆฏิกา สฏฺฐฺยโหรตฺโต     ปกฺโข เตทส ปญฺจ จ

เตสุ ปุพฺพาปรา สุกฺก-     กาฬา มาโส ตุ เต ทุเว.

 

ระยะวันเวลา ๔ ศัพท์

 

ฆฏิกา (ฆฏ ฆฏฺฏเน+อิก+อา) นาฬิกา, ชั่วโมง, เวลา.

ฆเฏนฺติ อโหรตฺติโยติ ฆฏิกา วันและคืนที่สืบต่อไป ชื่อว่าฆฏิกา (ลบสระหน้า), ๑ ฆฏิกา ประมาณ ๖๐ นาที

 

อโหรตฺต (อห+รตฺติ) ๑ วัน, ๑ วัน ๑ คืน.

อโห จ รตฺติ จ อโหรตฺโต ๑ วัน ๑ คืน ชื่อว่าอโหรัตตะ (สระที่สุดของ อห ศัพท์ซึ่งเป็นมโนคณาทิคณะ เป็น โอ ในบทสมาส, อาเทศ อิ ที่ ติ เป็น อ). อโหรตฺตศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. สฏฺฐิฆฏิกาหิ ลกฺขิโต กาโล อโหรตฺโต นาม เวลาที่กำหนดด้วย ๖๐ ฆฏิกา ชื่อว่าอโหรัตตะ. อโหรตฺตานมจฺจเย๑ เมื่อล่วงไป ๑ วัน ๑ คืน. สํสรนฺติ อโหรตฺตํ ระลึกถึงอยู่ตลอด ๑ วัน ๑ คืน

 

ปกฺข (ปจ ปริณเม+ข) ปักข์ (๑๔ หรือ ๑๕ วัน).

เต ปญฺจทส อโหรตฺตา ปกฺโข นาม ๑๕ วัน ๑๕ คืน ชื่อว่าปักขะ. ปจนฺติ ปริณมนฺติ ภูตานฺยเนเนติ ปกฺโข เวลาที่ทำให้สิ่งที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป ชื่อว่าปักขะ (อาเทศ จฺ เป็น กฺ). จาตุทฺทเส ปณฺณรเส อฏฺฐมิยา จ ปกฺขสฺส อุโปสถํ อุปวส จงเข้าอยู่จำอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์

 

สุกฺกกาฬา (สุกฺก+กาฬ) ข้างขึ้นและข้างแรม.

ปุพฺพาปรภูตา เต จ ปกฺขา ยถากฺกมํ สุกฺกกาฬา สุกฺกปกฺขกาฬปกฺขา นาม ปักษ์แรกและปักษ์หลัง ชื่อว่าสุกกะและกาฬะตามลำดับ ได้แก่ ข้างขึ้นและข้างแรม (ส่วนมากท่านนิยมกำหนดให้ข้างขึ้นเป็นปักษ์แรก ข้างแรมเป็นปักษ์หลัง). นอกจากนี้ยังมีรุฬหีนาม(คือชื่อที่ตั้งเอาตามความพอใจ)ว่า สกปรปักษ์, สกปักษ์ คือ ข้างขึ้น ปรปักษ์ คือ ข้างแรม

 

ข้างขึ้น

สุกฺก (สุจ โสเก+ก, สูจ ปกาสเน+ก) ข้างขึ้น.

โสจนฺติ เอตฺถ อนฺธการาภิลาสิโนติ สุกฺโก ปักษ์ที่ผู้ชอบความมืดพากันเศร้าโศก ชื่อว่าสุกกะ (อาเทศ จฺ เป็น กฺ). สูจติ ปกาเสตีติ สุกฺโก ปักษ์ที่สว่าง ชื่อว่าสุกกะ. สุกฺกปกฺเข ยถา จนฺโท วฑฺฒเตว สุเว สุเว ในวันข้างขึ้น ดวงจันทร์ย่อมเต็มขึ้นทุกๆวัน ฉันใด

 

๑ สํ.สคาถ. ๑๕/๓๒๖/๑๐๐     ๒ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๑๙๒/๒๓๖     ๓ วิ.มหา. ๔/๑๒๗/๑๗๖

๔ ขุ.ชา. ๒๘/๓๙๒/๑๕๐

๑๒๒

ข้างแรม

กาฬ (กิร กิรเณ+ณ) ข้างแรม.

กิรติ สุกฺกนฺติ กาโร, โสว กาโฬ ปักษ์ที่ทำให้ความสว่างจางหายไป ชื่อว่าการะ (อาเทศ อิ เป็น อ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา), การะนั่นแหละเป็นกาฬะ (อาเทศ รฺ เป็น ฬฺ). เกน วา โชตินา อรติ เอตฺถาติ กาโร, โสว กาโฬ หรือปักษ์ที่คนจะไปได้เพราะไฟ ชื่อว่าการะ (กสทฺทูปปท+อร คมเน+อ, ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง), การะ นั่นแหละเป็นกาฬะ (อาเทศ รฺ เป็น ฬฺ). กาฬปกฺเข ยถา จนฺโท หายเตว สุเว สุเว ในวันข้างแรมดวงจันทร์ย่อมแหว่งลงทุกๆวัน ฉันใด

 

เดือน

มาส (มสิ ปริมาเณ+ณ) เดือน.

เต ทุเว สุกฺกกาฬปกฺขา สมุทิตา มาโส นาม รวมสุกกปักษ์และกาฬปักษ์ทั้ง ๒ นั้นเข้ากัน เป็น ๑ เดือน (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). สตฺตานํ อายุํ มิณนฺโต วิย สียติ อนฺตํ กโรตีติ มาโส เวลาที่ทำให้สิ้นสุด เหมือนนับอายุของสัตว์ ชื่อว่ามาสะ (มาสทฺทูปปท+สิ อนฺตกรเณ+อ, ลบสระหน้า). วสฺสานสฺส ปจฺฉิโม มาโส เดือนสุดท้ายของฤดูฝน

 

[๗๕] จิตฺโต เวสาข เชฏฺโฐ จา-    สาฬฺโห ทฺวีสุ จ สาวโณ

โปฏฺฐปาทสฺสยุชา จ         มาสา ทฺวาทส กตฺติโก.

[๗๖] มาคสิโร ตถา ผุสฺโส     กเมน มาคผคฺคุณา

กตฺติกสฺสยุชา มาสา     ปจฺฉิมปุพฺพกตฺติกา.

 

เดือน ๑๒ เดือน

จิตฺต, จิตฺร (จิตฺต+ณ) เดือนจิตตะ, เดือน ๕.

จิตฺตาย ปริปุณฺเณนฺทุยุตฺตาย ยุตฺโต อุปลกฺขิโต วา มาโส จิตฺโต เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยอยู่คู่กับดาวจิตตา ชื่อว่าจิตตะ. จิตฺตมาสกาฬปกฺขสฺส อุโปสถทิวเส ปาโตว รุ่งเช้าวันอุโบสถข้างแรมเดือน ๕. จิตฺรเวสาขมาสา เดือน ๕ และเดือน ๖. ปริปุณฺณจนฺทยุตฺตตํตํนกฺขตฺตนามวเสน ทฺวาทสนฺนํ มาสานํ นามานิ เวทิตพฺพานิ. จิตฺตมาสาทโย ผคฺคุนมาสปริยนฺตา ทฺวาทส โกฏฺฐาสา กเมน มาสาติ เญยฺยา พึงทราบว่า ชื่อของเดือนทั้ง ๑๒ เรียกตามชื่อดาวนั้นๆ ที่ลอยเด่นคู่กับดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ตั้งแต่เดือนจิตตะ (เดือน ๕) จนถึงเดือนผัคคุนะ (เดือน ๔) ตามลำดับ

 

๑ ขุ.ชา. ๒๘/๓๙๒/๑๕๐      ๒ วิ.มหาวิ. ๒/๑๖๒/๑๔๓      ๓ วิ.ฏี. ๑/๑๒๓/๒๖๙

๔ วิสุทฺธิ.ฏี. ๓/๒๕๐/๔๘๒

๑๒๓

เวสาข (วิสาขา+ณ) เดือนเวสาขะ, เดือน ๖.

วิสาขาย ปุณฺณจนฺทยุตฺตตาย ยุตฺโต มาโส เวสาโข เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นคู่กับดาววิสาขา ชื่อว่าเวสาขะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า). จิตฺรเวสาขมาสา เดือน ๕ และเดือน ๖

 

เชฏฺฐ (เชฏฺฐา+ณ) เดือนเชฏฐะ, เดือน ๗.

เชฏฺฐาโยคา เชฏฺโฐ เพราะเป็นเดือนที่ประกอบด้วยดาวเชฏฐานั้น จึงชื่อว่าเชฏฐะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). เชฏฺฐาย นิยุตฺโต มาโส เชฏฺโฐ เดือนที่ประกอบด้วยดาวเชฏฐา ชื่อว่าเชฏฐะ. เชฏฺฐาสาฬฺหมาสา คิมฺโห อุตุ เดือน ๗ และเดือน ๘ เป็นฤดูร้อน

 

อาสาฬฺห (อสยฺห+ณ) เดือนอาสาฬหะ, เดือน ๘.

อสยฺโห รวิ อตฺเรติ อาสาฬฺโห เดือนที่ดวงอาทิตย์แผดแสงร้อนจัด ชื่อว่าอาสาฬหะ (วุทธิ อ เป็น อา, ทีฆะ อ ที่ ส เป็น อา, อาเทศ ยฺ เป็น ฬฺ). อาสาฬฺหาย ปริปุณฺณจนฺทยุตฺเตน ยุตฺโต มาโส อาสาฬฺโห เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงคู่กับดาวอาสาฬหา ชื่อว่าอาสาฬหะ. คิมฺหานํ ปจฺฉิเม มาเสติ อาสาฬฺหมาโส๓ ในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน เป็นเดือน ๘

 

สาวณ (สวณ+ณ) เดือนสาวณะ, เดือน ๙.

สวเณน นกฺขตฺเตน ปริปุณฺณจนฺทยุตฺเตน ยุตฺโต มาโส สาวโณ เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นคู่กับดาวสวณะ ชื่อว่าสาวณะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). โส ปน วสฺสาโน อุตุ สาวณโปฏฺฐปาทมาสา สำหรับฤดูฝนนั้น มีเดือน ๙ และเดือน ๑๐ โปฏฺฐปาท (โปฏฺฐปทา+ณ) เดือนโปฏฐปาทะ, เดือน ๑๐. โปฏฺฐปทาย ปริปุณฺณจนฺทยุตฺเตน ยุตฺโต มาโส โปฏฺฐปาโท เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นคู่กับดาวโปฏฐปทา ชื่อว่า โปฏฐปาทะ (ทีฆะ อ ที่ ป เป็น อา, ลบ ณฺ และสระหน้า).

 

อสฺสยุช (อสฺสยุช+ณ) เดือนอัสสยุชะ, เดือน ๑๑.

อสฺสยุเชน ปริปุณฺณจนฺทยุตฺเตน ยุตฺโต มาโส อสฺสยุโช เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นคู่กับดาวอัสสยุชะ ชื่อว่าอัสสยุชะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). อสฺสยุชมาโส ปุพฺพกตฺติโก นาม เดือนอัสสยุชะ ชื่อว่าปุพพกัตติกะ (เดือนกัตติกะแรก). อสฺสยุชมาสกาฬปกฺขสฺส จาตุทฺทสีอุโปสเถ ในวันอุโบสถแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑

 

๑ วิสุทฺธิ.ฏี. ๓/๒๕๐/๔๘๒     ๒ วิสุทฺธิ.ฏี. ๓/๒๕๐/๔๘๗     ๓ วิ.อฏฺ. ๑/๔๙๕

๔ วิสุทฺธิ.ฏี. ๓/๒๕๐/๔๘๒     ๕ วิ.ฏี. ๑/๑๒๗/๒๘๐

๑๒๔

กตฺติก (กตฺติกา+ณ) เดือนกัตติกะ, เดือน ๑๒.

กตฺติกาย ปริปุณฺณจนฺทยุตฺเตน ยุตฺโต อุปลกฺขิโต มาโส กตฺติโก เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นคู่กับดาวกัตติกา ชื่อว่ากัตติกะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). กตฺติกมาโส ปจฺฉิมกตฺติโก นาม เดือนกัตติกะ ชื่อว่าปัจฉิมกัตติกะ (เดือนกัตติกะหลัง). ภควา หิ กตฺติกชุณฺหปกฺเข เวสาลึ สมฺปาปุณิ พระผู้มีพระภาคเสด็จ ถึงกรุงเวสาลีในวันข้างขึ้นเดือน ๑๒

 

มาคสิร, มิคสิร (มคสิร+ณ) เดือนมาคสิระ, เดือนอ้าย.

มคสิเรน ปุณฺณจนฺทยุตฺเตน ยุตฺโต มาโส มาคสิโร เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นคู่กับดาวมคสิระ ชื่อว่ามาคสิระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า). มาคสิรปุณฺณมา มาคสิรนกฺขตฺตเมว วันเพ็ญเดือนอ้าย มีดาวมาคสิระอยู่ใกล้. มิคสิรปุสฺสมาสา เหมนฺโต ต้นฤดูหนาว มีเดือนอ้ายและเดือนยี่

 

ปุสฺส, ผุสฺส (ปุสฺส+ณ) เดือนปุสสะ, เดือนผุสสะ, เดือนยี่.

ปุสฺเสน นกฺขตฺเตน ปุณฺณจนฺทยุตฺเตน ยุตฺโต มาโส ปุสฺโส ผุสฺโส วา เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นคู่กับดาวปุสสะ ชื่อว่าปุสสะหรือผุสสะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). ปุสฺสมาสสฺส ปฐมทิวเส ในวันแรกแห่งเดือนยี่

 

มาฆ (มฆา+ณ) เดือนมาฆะ, เดือน ๓.

มฆาย ปริปุณฺณจนฺทยุตฺเตน ยุตฺโต มาโส มาโฆ เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นคู่กับดาวมฆา ชื่อว่ามาฆะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า). มาฆผคฺคุณมาสา สิสิโร ปลายฤดูหนาว มีเดือน ๓ และเดือน ๔

 

ผคฺคุน, ผคฺคุณ (ผคฺคุนี+ณ) เดือนผัคคุนะ, เดือน ๔.

ผคฺคุนิยา ปริปุณฺณจนฺทยุตฺเตน ยุตฺโต มาโส ผคฺคุโน เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นคู่กับดาวผัคคุนี ชื่อว่าผัคคุนะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). เถโร ผคฺคุนมาสปุณฺณมายํ จินฺเตสิ พระเถระดำริในวันเพ็ญเดือน ๔

 

[๗๗] สาวโณ นิกฺขมณีโย     จิตฺตมาโส ตุ รมฺมโก.

 

ไวพจน์ศัพท์ของเดือน ๙ และเดือน ๕

นิกฺขมนีย (นิ+กมุ ปทวิกฺเขเป+อนีย) เดือนนิกขมนียะ, เดือน ๙.

สาวโณ นิกฺขมนีโย นาม เดือน ๙ ชื่อว่านิกขมนียะ. อนฺโตวีถิโต พหิ นิกฺขมติ สูริโย เอตฺถาติ นิกฺขมนีโย เดือนที่ดวงอาทิตย์โคจรออกนอกเส้นทาง ชื่อว่านิกขมนียะ (อาเทศ ก ต้นธาตุเป็น ข, ซ้อน กฺ). โปราณกตฺเถรา ปน เอกูนวีสติวสฺสํ สาเณรํ นิกฺขมนียปุณฺณมาสึ อติกฺกมฺม ปาฏิปททิวเส อุปสมฺปาเทนฺติ ส่วนพระเถระสมัยโบราณ ให้สามเณรอายุ ๑๙ ปี อุปสมบทเป็นภิกษุในวันแรม ๑ ค่ำ หลังจากวันเพ็ญเดือน ๙

 

๑ วิ.อฏฺ. ๑/๒๓๔      ๒ องฺ.อฏฺ. ๑๕/๔๖๖/๓๕๘      ๓ วิสุทฺธิ.ฏี. ๓/๒๕๐/๔๘๒

๔ วิ.อฏฺ. ๑/๒๒๘      ๕ วิสุทฺธิ.ฏี. ๓/๒๕๐/๔๘๒      ๖ ขุ.อฏฺ. ๔๙/๑๐๙

๗ วิ.อฏฺ. ๒/๔๖๒

๑๒๕

รมฺมก (รมฺมสทฺทูปปท+กร กรเณ+กฺวิ) เดือน ๕.

จิตฺตมาโส ตุ รมฺมโก ส่วนเดือน ๕ ชื่อว่ารัมมกะ. นานาปุปฺผผลวิจิตฺตตาย โลกานํ รมฺมํ กโรติ รมนฺติ วา เอตฺถาติ รมฺมโก เดือนที่ทำให้ชาวโลกยินดีเพราะงดงามด้วยดอกไม้และผลไม้หลากหลาย หรือเดือนที่ชาวโลกมีความยินดี ชื่อว่ารัมมกะ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุ และ กฺวิ). รมฺมโกติ จิตฺตมาโส เดือน ๕ ชื่อว่ารัมมกะ

ยถาปิ รมฺมโก มาโส    คิมฺหานํ โหติ พฺราหฺมณ

อเตวญฺเญหิ มาเสหิ     ทุมปุปฺเผหิ โสภติ.

ท่านพราหมณ์ เดือน ๕ ในฤดูร้อน ย่อมงดงามยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้ ฉันใด

 

[๗๘] จตุโร จตุโร มาสา       กตฺติกกาฬปกฺขโต

กมา เหมนฺต คิมฺหาน-   วสฺสานา อุตุโย ทฺวิสุ.

[๗๙] เหมนฺโต สิริรมุตู         ฉ วา วสนฺโต จ คิมฺหวสฺสานา

สรโทติ กมา มาสา       เทฺว เทฺว วุตฺตานุสาเรน.

 

ฤดู ๖ ศัพท์

อุตุ (อิ คติมฺหิ+ตุ) ฤดู.

ปุนปฺปุนํ เอตีติ อุตุ ฤดูที่ผ่านไปๆ ชื่อว่าอุตุ (อาเทศ อิ ธาตุเป็น อุ). อุตุปุจฺฉาติ เหมนฺเต วา คิเมฺห วา วสฺเส วา คำว่า ถามถึงฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน

 

เหมนฺต (เหม+อนฺต) ฤดูเหมันต์, ต้นฤดูหนาว.

หิมานิ เอตฺถ สนฺติ เหโม, โส เอว เหมนฺโต, "สุตฺตนฺโต วนนฺโต"ติ ยถา ฤดูที่มีหิมะตก ชื่อว่าเหมะ (หิม+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ), ฤดูเหมะนั่นแหละ ชื่อว่าเหมันตะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า). อนฺตศัพท์มีอรรถปทปูรณะ ใส่ให้เต็มบทเท่านั้นไม่มีความหมาย เหมือนกับคำว่า "สุตฺตนฺต วนนฺต". หิโนติ วา หานึ คจฺฉติ สพฺพเมตฺถาติ เหมนฺโต หรือฤดูที่ทุกสิ่งถึงความเสื่อมสลาย ชื่อว่าเหมันตะ (หิ หานิยํ+มอาคม+อนฺต, ลบสระหน้า)

 

คิมฺห, คิมฺหาน (คิร ปีฬเน+มาน) ฤดูร้อน.

คิรติ ปิฬยตีติ คิมฺหาโน ฤดูที่เบียดเบียนสัตว์ ชื่อว่าคิมหานะ (อาเทศ รฺ เป็น หฺ, กลับ หฺม เป็น มฺห). อฑฺฒมาเส เสเส คิมฺหาเน กตฺวา นิวาเสตพฺพํ เมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่ครึ่ง จึงทำผ้านุ่งได้

 

๑ ชา.อฏฺ. ๔๑/๒๖๕     ๒ ขุ.ชา.๒๗/๒๓๖๕/๕๐๑     ๓ วิ.ปริ. ๘/๑๑๒๑/๔๒๔

๔ วิ.มหาวิ. ๒/๑๔๖/๑๒๖

๑๒๖

วสฺสาน (วสฺส เสเก+ยุ) ฤดูฝน.

วสฺสติ เอตฺถาติ วสฺสาโน ฤดูที่มีฝนตก ชื่อว่าวัสสานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ทีฆะ อ เป็น อา). วสฺสานสฺส ปจฺฉิโม มาโส ชานิตพฺโพ พึงทราบเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน

 

สิสิร (สิสิร+ณ) ปลายฤดูหนาว.

สิสิรํ สีตลํ, ตํโยคา สิสิรํ สิสิระ คือฤดูหนาว, ฤดูชื่อว่าสิสิระ เพราะมีความหนาวเย็น (ลบ ณฺ และสระหน้า). สิสิรกาเล โกกิลา วิย ตุณฺหีภูตา นิสีทึสุ นั่งจุกเจ่าเหมือนนกดุเหว่าในปลายฤดูหนาว

 

วสนฺต (วส กนฺติยํ+อนฺต) ฤดูใบไม้ผลิ.

วสียเตติ วสนฺโต. ปุปฺผวนฺตตฺตา วา วสติ กาโม เอตฺถาติ วสนฺโต ฤดูที่มนุษย์พอใจ ชื่อว่าวสันตะ, หรือฤดูที่ผู้มีความใคร่พากันยินดี เพราะเป็นฤดูที่มีดอกไม้เบ่งบาน ชื่อว่าวสันตะ. อติกฺกนฺโต เหมนฺโต, วสนฺตกาโล อนุปฺปตฺโต เมื่อฤดูหนาวผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิก็มาถึง

 

สรท (สร ปีฬเน+ต) ฤดูใบไม้ร่วง.

สรติ ปีฬยติ อสฺมินฺติ สรโท ฤดูที่เบียดเบียนสัตว์ ชื่อว่าสรทะ (อาเทศ ต เป็น ท). สา สุนขา รมนฺติ เอตฺถาติ วา สรโท หรือฤดูที่สุนัขพากันยินดี(ผสมพันธุ์) ชื่อว่าสรทะ (สาสทฺทูปปท+รมุ กีฬายํ+อ, รัสสะ อา เป็น อ, อาเทศ มฺ เป็น ทฺ). วสฺสานํ ปจฺฉิเม มาเส สรทสมเย ในฤดูใบไม้ร่วงอันเป็นเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน

 

การนับฤดูมี ๒ นัย

ท่านแสดงวิธีการนับฤดูไว้ ๒ นัย คือ ๑ ปี มี ๓ ฤดู และมี ๖ ฤดู ดังนี้

กตฺติกกาฬปกฺขโต ปจฺฉิมกตฺติกโต ปฏฺฐาย จตุโร จตุโร มาสา กมา กมโต เหมนฺตคิมฺหานวสฺสานสญฺญิตา อุตุโย นาม โหนฺติ. อุตุเภทํ ทสฺเสตุํ อริยสามญฺญมาห "เหมนฺโต" อิจฺจาทิ. อถวา วุตฺตานุสาเรน อุตุตฺตยปเภเท วุตฺตวจนสฺสานุสาเรน. อิทํ ปน "กตฺติกกาฬปกฺขโต"ติ วจนํ สนฺธาย วุตฺตํ, ตสฺมา กตฺติกกาฬปกฺขโต ปภุติ เทฺว เทฺว มาสา กมา กมโต เหมนฺโต สิสิโร วสนฺโต คิมฺโห วสฺสาโน สรโท อุตูติ ฉ อุตู ภวนฺติ.

 

๑ ปี มี ๓ ฤดู ๆ ละ ๔ เดือน เริ่มนับจากเดือนปัจฉิมกัตติกะ คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นเหมันตะ ฤดูหนาว, ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นคิมหานะ ฤดูร้อน, ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นวัสสานะ ฤดูฝน

 

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวเป็นอริยสามัญคาถาว่า "เหมนฺโต สิสิรมุตู" เป็นต้น เพื่อแสดงชนิดของฤดู โดยคล้อยตามฤดู ๓ อย่างที่กล่าวแล้ว โดยแบ่งเป็น ๖ ฤดู ๆ ละ ๒ เดือน ดังนี้ คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ เป็นเหมันตะ ต้นฤดูหนาว, ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือนยี่ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นสิสิระ ปลายฤดูหนาว, ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวสันตะ ฤดูใบไม้ผลิ, ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นคิมหะหรือคิมหานะ ฤดูร้อน, ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวัสสานะ ฤดูฝน, ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นสรทะ ฤดูใบไม้ร่วง

 

๑ วิ.ปริ. ๘/๑๑๔๖/๔๓๕      ๒ ขุ.อฏฺ. ๓๐/๓๑๕/๑๔๙      ๓ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๖

๔ มชฺ.มูล. ๑๒/๕๓๔/๕๗๔

๑๒๗

[๘๐] อุณฺโห นิทาโฆ คิมฺโหถ     วสฺโส วสฺสานปาวุสา

อุตูหิ ตีหิ วสฺสานา-        ทิเกหิ ทกฺขิณายนํ.

 

ฤดูร้อน ๓ ศัพท์

 

อุณฺห (อุสุ ทาเห+ณฺห) ฤดูร้อน.

อุสติ ทหตีติ อุณฺโห ฤดูที่ร้อนอบอ้าว ชื่อว่าอุณหะ (ลบ สฺ ที่สุดธาตุ). อุณฺหกาเล มหคฺฆํ โขมํ ปารุปิตฺวา ทรงห่มผ้าโขมพัสตร์มีค่ามากในฤดูร้อน

 

นิทาฆ (นิ+ทห ภสฺมีกรเณ+ณ) ฤดูร้อน.

นิทหนฺเต อสฺมินฺติ นิทาโฆ ฤดูที่มีความร้อน แผดเผา ชื่อว่านิทาฆะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ หฺ เป็น ฆฺ). นิทาฆสมเย สีตฏฺฐาเน ทิวาวิหารํ นิสีทิสฺสามิ ในฤดูร้อน เราจะนั่งพักผ่อนกลางวันในที่ร่มเย็น

 

คิมฺห (คิร ปีฬเน+ม) ฤดูร้อน.

คิรติ ปีฬยตีติ คิมฺโห ฤดูที่เบียดเบียนสัตว์ ชื่อว่าคิมหะ (อาเทศ รฺ เป็น หฺ, กลับ หฺม เป็น มฺห). สํวจฺฉเร คิมฺหสมเย ทวทาโห ปทิปฺปติ ในฤดูร้อนของทุกปี ไฟไหม้ป่าลุกโชน

 

 

ฤดูฝน ๓ ศัพท์

 

วสฺส (วสฺสุ เสเก+อ) ฤดูฝน.

วสฺสติ ปวสฺสติ เอตฺถาติ วสฺโส ฤดูที่มีฝนตก ชื่อว่าวัสสะ. ฉตฺตํ มหนฺตํ วิย วสฺสกาเล เหมือนร่มใหญ่ในฤดูฝน ฉะนั้น

 

วสฺสาน (วสฺสุ เสเก+ยุ) ฤดูฝน.

วสฺสติ ปวสฺสติ เอตฺถาติ วสฺสาโน ฤดูที่มีฝนตก ชื่อว่าวัสสานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ทีฆะ อ เป็น อา). วสฺสานสฺส ปจฺฉิโม มาโส เดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน

 

ปาวุส (ปานิปาต+วสฺสุ เสเก+อ) ฤดูฝน.

วสฺสติ ปวสฺสติ เอตฺถาติ ปาวุโส ฤดูที่มีฝนตก ชื่อว่าปาวุสะ. (อาเทศ อ ที่ ว เป็น อุ, ลบ สฺ สังโยค). ปาวุสสมเย กาลเมโฆ ฝนตกในฤดูฝน

 

[๘๑] อุตฺตรายนมญฺเญหิ      ตีหิ วสฺโสยนทฺวยํ

วสฺส สํวจฺฉรา นิตฺถี      สรโท หายโน สมา.

 

ปี ๕ ศัพท์

 

วสฺสานาทิเกหิ ตีหิ อุตูหิ ทกฺขิณายนํ สูริยสฺส ทกฺขิณทิสาคมนํ ภวติ, อญฺเญหิ ตีหิ สิสิรวสนฺตคิมฺเหหิ อุตฺตรายนํ อุตฺตรทิสาคมนํ ภวติ ใน ๑ ปี ที่มี ๖ ฤดู ดวงอาทิตย์จะโคจรเอียงไปทางขวา(ทิศใต้) ๓ ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูใบไม้ร่วง และต้นฤดูหนาว ดวงอาทิตย์จะโคจรไปทางซ้าย (ทิศเหนือ) ๓ ฤดู คือ ปลายฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน. ปุสฺสสงฺกนฺติมารพฺภ อาสาฬฺหํ ยาว อาทิจฺจสฺส อุตฺตรา คติ อุตฺตรายนํ. อาสาฬฺหสงฺกนฺติมารพฺภ ปุสฺสํ ยาว ทกฺขิณา คติ ทกฺขิณายนํ. วสฺโสยนทฺวยนฺติ อิทํ อยนทฺวยํ สมฺปิณฺฑิตํ วสฺโส นาม ตั้งแต่กลางเดือนปุสสะ(เดือนยี่) ถึงกลางเดือนอาสาฬหะ(เดือน ๘) ดวงอาทิตย์โคจรเอียงไปทางซ้าย(ทิศเหนือ) ตั้งแต่กลางเดือนอาสาฬหะถึงกลางเดือนปุสสะ ดวงอาทิตย์โคจรเอียงไปทางขวา(ทิศใต้) ดวงอาทิตย์โคจรไปครบทั้ง ๒ ทาง ชื่อว่า วัสสะ (๑ ปี)

 

๑ วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๔๒/๙๑       ๒ สํ.อฏฺ. ๑๓/๑๒๗/๔๕        ๓ ขุ.อปทาน. ๓๓/๒๙/๕๘๘

๔ ขุ.ชา. ๒๗/๑๔๒๑/๒๙๐     ๕ วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๒๕๐/๑๔๔     ๖ ขุ.อฏฺ. ๓๓/๑๑๔๘/๕๑๙

๑๒๘

วสฺส (วสสุ เสเก+อ) ปี.

วสฺสนฺติ เอตฺถาติ วสฺโส, วสฺสกาเลน วา อุปลกฺขิโต วสฺโส ปีที่มีฝนตก ชื่อว่าวัสสะ, หรือปีชื่อว่าวัสสะ เพราะเอาฤดูฝนเป็นเครื่องกำหนด(เมื่อฤดูฝนเวียนมาถึงก็นับครบ ๑ ปี). วสฺสศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. วสฺสสหสฺสํ สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺย พระสัทธรรมพึงตั้งอยู่ตลอดพันปี

 

สํวจฺฉร, วจฺฉร (สํ+วส นิวาเส+ฉร) ปี.

สํวสนฺติ เอตฺถาติ สํวจฺฉโร, วจฺฉโร ช่วงเวลาที่มีสัตว์อยู่ ชื่อว่าสังวัจฉระและวัจฉระ (อาเทศ สฺ เป็น จฺ). สํวจฺฉรศัพท์ และ วจฺฉรศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. อกาสิ โยคฺคํ ธุวมปฺปมตฺโต สํวจฺฉรํ พีรณตฺถมฺภกสฺมึ ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิจ ได้ทำความเพียรอยู่ในป่าช้าชื่อพีรณตถัมภกะ ๑ ปี

 

สรท (สรท+อ) ปี.

สรทกาเลน ลกฺขิโต สรโท ปีที่หมายรู้ด้วยฤดูใบไม้ร่วง ชื่อว่าสรทะ (เมื่อฤดูใบไม้ร่วงเวียนมาถึงก็นับครบ ๑ ปี)

 

หายน (หา จาเค+อย คติมฺหิ+ยุ) ปี.

ชหนฺโต อยตีติ หายโน ปีที่ละจากไป ชื่อว่าหายนะ (ลบสระหลัง, อาเทศ ยุ เป็น อน). อายุํ ชหตีติ หายโน ปีที่ละอายุไป ชื่อว่าหายนะ (หา จาเค +ยฺอาคม+ยุ, อาเทศ ยุ เป็น อน)

 

สมา (สม วิตกฺเก+อา) ปี.

สมิยเต วิตกฺกียตีติ สมา ปีที่ผู้คนคิดถึง ชื่อว่าสมา. สมาศัพท์เป็นอิตถีลิงค์

 

การนับปีในภูมิต่างๆ

 

การกำหนดนับปีในมนุษยโลก เทวโลกและพรหมโลก มีช่วงเวลาไม่เท่ากัน ผู้รู้ท่านแสดงวิธีนับไว้ คือ ๑๐๐ ปี ในมนุษยโลก เท่ากับ ๑ วัน ๑ คืน ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์, ๑๒,๓๖๐ ปีในเทวโลก เท่ากับ ๑ ยุค ดังนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า

 

 

๑ วิ.จุลฺล. ๗/๕๑๘/๓๒๖      ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๒๗๑/๗๘

๑๒๙

      เอสา ทฺวาทสสหสฺสี    ยุคาขฺยา ปริกิตฺติตา,

เอตํ สหสฺสคุณิตํ       อโห พฺรหฺมมุทาหฏํ.

 

ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ปีทิพย์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์นี้ ท่านเรียกว่าเป็น ๑ ยุค,

นำ ๑ ยุคมาคูณด้วย ๑ พัน (๑๒,๐๐๐ x ๑,๐๐๐ = ๑๒,๐๐๐,๐๐๐)

ท่านเรียกว่าเป็น ๑ วันในพรหมโลก

 

ตญฺจ นรานํ จตุยุคํ ทิพฺพสหสฺสทฺวเยน พฺรหฺมุโน เทฺว ทิเวติ. กตเตตาทฺวาปรกลิ-

วเสน จตุยุคํ. ตตฺร กตยุคสฺส มนุสฺสสงฺขฺยาย ปมาณํ อฏฺฐวีสติสหสฺสาธิกานิ สตฺตรส-

วสฺสลกฺขานิ, เตตาย ฉนฺนวุติสหสฺสาธิกานิ ทฺวาทสวสฺสลกฺขานิ, ทฺวาปรสฺส จตุสฏฺฐิ-

สหสฺสาธิกานิ อฏฺฐารสวสฺสลกฺขานิ, กลิสฺส พาตฺตึสสหสฺสาธิกานิ จตฺตาริ วสฺสลกฺขานิ

 

ยุคทั้ง ๔ ของมนุษย์นั้น รวมเป็น ๒ พันปีทิพย์ของพรหม, ยุค ๔ คือ กตยุค เตตายุค ทวาปรยุค และกลียุค, ในยุคทั้ง ๔ นั้น กตยุคมีอายุกาลประมาณ ๑,๗๒๘,๐๐๐ ปี ในมนุษยโลก, เตตายุคมีอายุกาลประมาณ ๑,๒๙๖,๐๐๐ ปี ในมนุษยโลก, ทวาปรยุคมีอายุกาลประมาณ ๘๖๔,๐๐๐ ปี ในมนุษยโลก, กลียุคมีอายุกาลประมาณ ๔๓๒,๐๐๐ ปี ในมนุษยโลก

 

ดังนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า

สุญฺญํ สุญฺญํ ขํ นาคา    กรมุนิสสิโน,

มานมาโท ยุคสฺส        เตตาย ขํขํ สุญฺญํ.

รสนวสูริยา             วสฺสสงฺขฺยา ปสิทฺธา,

สุญฺญํ สุญฺญํ ขํ เวทา     รสภุชคมิติ.

ทฺวาปเร วสฺสสงฺขฺยา      สุญฺญากาสํ ขํเนตฺต-

คุณชลนิธโย             วสฺสสงฺขฺยา กลิสฺส.

 

๑,๗๒๘,๐๐๐ ปี ในมนุษยโลก เป็น ๑ กตยุค, ๑,๒๙๖,๐๐๐ ปี ในมนุษยโลก เป็น ๑ เตตายุค, ๘๖๔,๐๐๐ ปี ในมนุษยโลก เป็น ๑ ทวาปรยุค, ๔๓๒,๐๐๐ ปี ในมนุษยโลก เป็น ๑ กลียุค

 

ตตฺร อฏฺฐ นาคา, เทฺว กรา, สตฺต มุนโย, เอโก สสี, ฉ รสา, ทฺวาทส สูริยา,

จตฺตาโร เวทา ชลนิธโย จ, เทฺว เนตฺตานิ, ตโย คุณา, พาตฺตึส ทนฺตา, สงฺขฺยาย

ปสิทฺเธเหเตหิ สงฺขฺยา คเหตพฺพา. ขากาสมฺพรสทฺทา สุญฺญปริยายา สุญฺญญฺจ

คณิเต พินฺทุนา สงฺคหิตํ

 

ในคาถานั้นนักศึกษาควรรู้วิธีการนำสังเกตสังขยามานับ ดังนี้ นาคะ (ช้างประจำทิศ ๘ เชือก) ใช้นับแทนเลข ๘, กระ (มือ ๒ ข้าง) ใช้นับแทนเลข ๒, มุนิ (ฤาษี ๗ ตน) ใช้นับแทนเลข ๗, สสี (ดวงจันทร์) ใช้นับแทนเลข ๑, รสะ (รส ๖ อย่าง) ใช้นับแทนเลข ๖, สูริยะ (ราศี ๑๒) ใช้นับแทนเลข ๑๒, เวทะ (คัมภีร์เวท ๔) ชละ (แม่น้ำ ๔ สาย) นิธิ (ขุมทรัพย์ ๔ แห่ง) ใช้นับแทนเลข ๔, เนตตะ (ดวงตา ๒ ข้าง) ใช้นับแทนเลข ๒, คุณะ (คุณ ๓ คือ รชะ ตมะ สัตวะ) ใช้นับแทนเลข ๓, ทันตะ (ฟัน ๓๒ ซี่) ใช้นับแทนเลข ๓๒, ขะ อกะ อสัมพระ (ท้องฟ้าว่างเปล่า) ใช้นับแทนเลข ๐

 

๑ เวททีปกคนฺถนิสฺสย

๑๓๐

เอกํ ทส สตญฺเจว สหสฺสมยุตํ ยถา,

ลกฺขญฺจ นิยุตญฺเจว กมา ทสคุโณตฺตรํ.

  

สังขยาเหล่านี้ คือ หนึ่ง(หลักหน่วย) สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน

ท่านให้คูณด้วยสิบขึ้นไปตามลำดับ

 

 

[๘๒] กปฺปกฺขโย ตุ สํวฏฺโฏ    ยุคนฺต ปลยา อปิ

อลกฺขี กาลกณฺณิตฺถี    อถ ลกฺขี สิริตฺถิยํ.

 

สิ้นกัป, โลกาวินาศ, กัปประลัย ๔ ศัพท์

 

กปฺป, กปฺปกฺขย (กปฺป+ขย) สิ้นกัป, โลกาวินาศ, กัปประลัย.

กปฺปเต ชคตี วินสฺสเตติ กปฺโป แผ่นดินพินาศไป ชื่อว่ากัปปะ (กปฺป วินาเส+อ). ขยนฺติ เอตฺถาติ ขโย กัปเป็นที่สิ้นไป ชื่อว่าขยะ (ขี ขเย+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). กปฺโป จ ขโย จาติ กปฺปกฺขยา แผ่นดินสิ้นพินาศไป ชื่อว่ากัปปักขยะ (ซ้อน กฺ). กปฺปวินาโส กปฺโป กัปวินาศ ชื่อว่ากัปปะ (ลบ วินาส). เกจิ ปเนตฺถ "กปฺปกฺขโย ตู"ติ ปาฐํ วตฺวา ทฺวินฺนเมกาภิธานตฺตํ กปฺเปนฺติ, ตํ อมรโกเสน จ ตฏฺฏีกาย จ น สเมติ. วุตฺตญฺหิ ตตฺถ "สํวฏฺโฏ ปลโย กปฺโป ขโย กปฺปนฺตมิจฺจปี"ติ จ "ปญฺจกํ ขยกปฺเป"ติ จ ในเนื้อความนี้ อาจารย์บางท่านกล่าวว่า "กปฺปกฺขโย ตุ" สมควร เพราะทั้ง ๒ เป็นชื่อเดียวกัน, คำนั้นไม่ตรงกับคัมภีร์อมรโกสะและอมรโกสฎีกา เพราะในคัมภีร์ทั้ง ๒ นั้นกล่าว กปฺป กับ ขย แยกกันว่า "สํวฏฺโฏ ปลโย กปฺโป ขโย กปฺปนฺตมิจฺจปิî " และว่า "บททั้ง ๕ ใช้ในอรรถสิ้นกัป" ส่วนอภิธานวรรณนานี้ ถือเอาตามนัยเกจิ คือ กปฺปกฺขย เป็นบทเดียวกัน

 

๑ ที.ฏี. ๓/๑๐๔

๑๓๑

สํวฏฺฏ (สํ+วฏฺฏ สํวฏฺฏนอุปรมวินาเสสุ+อ) กาลสิ้นกัป.

สํวตฺตเต อุปรมเต วินสฺสเต วา ชคตี อสฺมินฺติ สํวฏฺโฏ กัปที่มีแผ่นดิน ที่ปราศจากแผ่นดิน หรือที่สิ้นแผ่นดิน ชื่อว่าสังวัฏฏะ. อเนเกปิ สํวฏฺฏกปฺเป ในสังวัฏฏกัปหลายกัป

 

ยุคนฺต (ยุค+อนฺต) กาลสิ้นกัป.

จตุยุคานมนฺเต ชาโต ยุคนฺโต กัปที่เกิดขึ้นปลายสุดแห่งยุคทั้ง ๔ (คือ กตยุค เตตายุค ทวาปรยุค และกลียุค) ชื่อว่ายุคันตะ (ลบสระหน้า)

 

ปลย (ป+ลี ขเย+ณ) สิ้นกัป.

ปลียเต ขียเต ยตฺถ โลโกติ ปลโย กัปที่สิ้นโลก ชื่อว่าปลยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย)

 

 

คนกาลกัณณี, ผู้โชคร้าย, ผู้จัญไร ๒ ศัพท์

 

อลกฺขี (น+ลกฺข ทสฺสนงฺเกสุ+ณี) คนกาลกัณณี, ผู้โชคร้าย, คนจัญไร.

นินฺทิตพฺพตฺตา น ลกฺขียเตติ อลกฺขี ผู้ที่ใครๆ มองไม่เห็น(ไม่อยู่ในสายตา) เพราะเป็นผู้ควรตำหนิ จึงชื่อว่า อลักขี (อาเทส น นิบาตเป็น อ, ลบ ณฺ). อตฺตนา กุรุเต ลกฺขึ อลกฺขึ กุรุตตฺตนา บุคคลทำให้ตนโชคดีเอง ทำให้ตนโชคร้ายเอง

 

กาฬกณฺณี (กาฬสทฺทูปปท+กร กรเณ+ณี) คนกาลกัณณี, ผู้โชคร้าย, คนจัญไร.

อตฺตโน นิสฺสยํ กาฬวณฺณสทิสํ กโรติ อปฺปกาสกตฺตาติ กาฬกณฺณี ผู้ทำคนที่อาศัยตนให้เป็นผู้เช่นกับคนผิวดำ เพราะเป็นผู้ไม่เปิดเผยตัว จึงชื่อว่ากาฬกัณณี (อาเทศ รฺ เป็น ณฺ, ซ้อน ณฺ). อลกฺขีศัพท์ และ กาฬกณฺณีศัพท์ เป็นอิตถีลิงค์. สิรี จ กาฬกณฺณี จ น สเมนฺติ กุทาจนํ สิริกับกาฬกัณณี ย่อมไม่เหมาะสมกันในกาลไหนๆ

 

ผู้มีสิริ, ผู้มีศรี, ผู้มีความดี, มงคล, มิ่งขวัญ ๒ ศัพท์

 

ลกฺขี (ลกฺข ทสฺสนงฺเกสุ+ณี) ผู้มีสิริ, ผู้มีศรี, ผู้มีความดี, มงคล, มิ่งขวัญ.

ปสํสิตพฺพตฺตา ลกฺขียเตติ ลกฺขี ผู้ที่ใครๆ มองเห็น เพราะเป็นผู้ควรสรรเสริญ จึงชื่อว่าลักขี (ลบ ณฺ). อหํ สิรี จ ลกฺขี จ ภูริปญฺญาติ มํ วิทู ข้าพเจ้ามีทั้งสิริและบุญ ทวยเทพต่างรู้จักข้าพเจ้าดีว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจปฐพี

 

สิริ (สิ เสวายํ+รฺอาคม+อี) ผู้มีสิริ, ผู้มีศรี, ผู้มีความดี, มงคล, มิ่งขวัญ.

กตปุญฺเญหิ เสวียเต เต วา เสวตีติ สิรี ผู้ที่คนมีบุญพากันคบหา หรือผู้คบหาคนมีบุญเหล่านั้น จึงชื่อว่าสิริ (รัสสะ อี เป็น อิ). ลกฺขีศัพท์ และ สิริศัพท์ เป็นอิตถีลิงค์. สิริ โภคานมาสโย สิริเป็นที่อาศัยเกิดแห่งโภคทรัพย์

 

๑ วิ.มหาวิ. ๑/๓/๗      ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๘๘๕/๑๙๕      ๓ ขุ.ชา. ๒๗/๒๓๔/๗๐

๔ ขุ.ชา. ๒๗/๘๗๙/๑๙๔      ๕ สํ.สคาถ. ๑๕/๒๑๖/๖๑

 

๑๓๒

[๘๓] ทนุ ทานวมาตาถ     เทวมาตา ปนาทิติ.

 

มารดาของอสูร ๒ ศัพท์

 

ทนุ (ทา อวขณฺฑเน+นุ) มารดาของอสูร.

ทายตีติ ทนุ ผู้ขุดคุ้ย ชื่อว่าทนุ (รัสสะ อา เป็น อ). นางทนุเป็นเทพธิดานางหนึ่งในจำนวนเทพธิดาผู้ฉลาด ๑๓ นาง

 

ทานวมาตุ (ทานว+มาตุ) มารดาของอสูร.

ทานวานํ มาตา ทานวมาตา มารดาของพวกอสูร ชื่อว่าทานวมาตุ (รูปสำเร็จ อาเทศ อุ กับ สิ เป็น อา)

 

มารดาของเทวดา ๒ ศัพท์

 

เทวมาตุ (เทว+มาตุ) มารดาของเทวดา.

เทวานํ มาตา เทวมาตา มารดาของพวกเทวดา ชื่อว่าเทวมาตา (รูปสำเร็จ อาเทศ อุ กับ สิ เป็น อา)

 

อทิติ (น+ทิติ) มารดาของเทวดา.

ทิตีติ อสุรานเมว เวมาติกา มาตา นางเวมาติกามารดาของอสูรนั่นแหละ ชื่อว่าทิติ. ตสฺสา ปฏิปกฺขภาเวน อทิติ มารดาของเทวดาชื่อว่าอทิติ เพราะตรงข้ามกับมารดาของอสูรนั้น (อาเทศ น เป็น อ)

 

 

[๘๔] ปาปํ จ กิพฺพิสํ เวรา-     ฆํ ทุจฺจริตทุกฺกตํ

อปุญฺญากุสลํ กณฺหํ      กลุสํ ทุริตาคุ จ.

 

บาป, อกุศล, ความชั่ว ๑๒ ศัพท์

 

ปาป (ปา รกฺขเน+ปอาคม+อ) บาป, อกุศล, ความชั่ว.

ปานฺติ รกฺขนฺติ สุชนา อตฺตานํ อสฺมาติ ปาปํ อกุศลที่คนดีพากันรักษาตนไว้ให้ออกห่าง ชื่อว่าปาปะ. อปายํ ปาติ รกฺขตีติ ปาปํ ธรรมที่รักษาอบายภูมิไว้ ชื่อว่าปาปะ. ทุคฺคตึ ปาปนโต ปาปํ ธรรมชื่อว่าปาปะ เพราะให้ถึงทุคติ (ป+อป ปาปุณเน+อ, ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). ทุคฺคตึ ปาเปตีติ ปาปํ ธรรมที่ให้คนชั่วเข้าถึงทุคติ ชื่อว่าปาปะ (ป+อป ปาปุณเน+อ). อถวา ปสทฺโท เอตฺถ อปายวจโน อีกอย่างหนึ่ง ปศัพท์กล่าวหมายถึงอบาย. ปํ อปายํ เปติ คจฺฉติ เอเตนาติ ปาปํ ธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลเข้าถึงอบาย ชื่อว่าปาปะ (ป+เป คติยํ+ณ, ลบ ณฺ, ทีฆะ อ ที่ ป เป็น อา, ลบ เอ ที่ เป). กตํ ตยา กลฺยาณํ อกตํ ตยา ปาปํ ความดีท่านทำไว้แล้ว บาปท่านไม่ได้ทำ. ปาปศัพท์เป็นต้น ปรกติเป็นนปุงสกลิงค์ แต่ถ้ากล่าวคุณมีความหมายว่า ทุกข์, ยาก, ลำบาก, เหน็ดเหนื่อย, เจ็บ, ปวด เป็นต้น เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ เช่น

 

๑ วิ.มหาวิ. ๑/๑๘๐/๑๓๕

๑๓๓

ปาปา อุตุมตี กญฺญา   ปาโป ราชาปฺยรกฺขโก

ปาปํ พฺยาธกุลํ หึสํ     ปาโป วิปฺโป จ เสวโก.

 

หญิงสาวผู้มีระดูย่อมเจ็บป่วย พระราชาปราศจากผู้อารักขาย่อมทรงเหน็ดเหนื่อย

ตระกูลนายพรานที่ชอบเบียดเบียนย่อมลำบาก พราหมณ์ผู้เป็นข้าราชบริพารย่อมเป็นทุกข์

 

กิพฺพิส (กร กรเณ+อิพฺพิส) บาป, อกุศล, โทษ, ความผิด.

กโรติ อนิฏฺฐผลนฺติ กิพฺพิสํ ธรรมที่ทำให้เกิดผลอันไม่น่าปรารถนา ชื่อว่ากิพพิสะ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุและสระหน้า). กิลียเต สิถิลี กริยฺยเต เยนาติ กิพฺพิสํ บาปที่เป็นเหตุให้ทำกรรมต่ำทราม ชื่อว่ากิพพิสะ (กิล กรเณ+อิส, อาเทศ ลฺ เป็น วฺ, ซ้อน วฺ, อาเทศ วฺวฺ เป็น พฺพฺ). โย โข เทวทตฺต สมคฺคํ ภินฺทติ กปฺปฏฺฐิติกํ กิพฺพิสํ ปสวติ ดูก่อนเทวทัต ผู้ใดทำลายสงฆ์ที่พร้อมเพรียงกัน ย่อมประสบบาปกรรมอันตั้งอยู่ตลอดกัป

 

เวร (วิ+อร คติมฺหิ+อ) บาป, อกุศล, เวร.

วิรูเปน อรติ คจฺฉตีติ เวรํ กรรมที่เป็นไปโดยน่ารังเกียจ ชื่อว่าเวระ (อาเทศ อิ เป็น เอ, ลบสระหลัง). เวรํ เวเรน น วูปสเมยฺย, เวรํ อเวเรน วูปสมนฺตํ เวรไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ระงับเพราะการไม่จองเวร

 

อฆ (น+หน คติยํ+อ) บาป, อกุศล, ความชั่ว.

สาธูหิ น หนฺตพฺพนฺติ อฆํ กรรมที่คนดีไม่ควรเข้าหา ชื่อว่าอฆะ (อาเทศ น เป็น อ, หนฺ เป็น ฆ). ฉนฺทชํ อฆํ ฉนฺทชํ ทุกฺขํ บาปเกิดจากความพอใจ ทุกข์เกิดจากความพอใจ

 

ทุจฺจริต (ทุ+จร จรเณ+อิ+ต) บาป, อกุศล, ทุจริต, กรรมชั่ว.

ทุ กุจฺฉิตํ จริตํ ทุจฺจริตํ กรรมอันน่ารังเกียจที่บุคคลทำ ชื่อว่าทุจจริตะ (ซ้อน จฺ). ทุฏฺฐุ จริตํ กิเลเสหิ วา ทูสิตํ จริตนฺติ ทุจฺจริตํ กรรมที่ตนทำไม่ดี หรือกรรมที่บุคคลผู้ถูกกิเลสครอบงำแล้วประพฤติ ชื่อว่าทุจจริตะ. ตีณิ ทุจฺจริตานิ กายทุจฺจริตํ วจีทุจฺจริตํ มโนทุจฺจริตํ ทุจริตมี ๓ อย่าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต

 

ทุกฺกฏ, ทุกฺกต (ทุ+กร กรเณ+ต) บาป, อกุศล, ทุกกฏ, กรรมชั่ว.

อโสภนํ กตํ ทุกฺกฏํ กรรมที่บุคคลทำไม่ดี ชื่อว่าทุกกฏะ. ทุ นินฺทิตํ กรณมสฺส ทุกฺกฏํ กรรมอันน่าติเตียน ชื่อว่าทุกกฏะ (ซ้อน กฺ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ, อาเทศ ต เป็น ฏ). ทส อกุสลกมฺมปถา ทุกฺกฏกมฺมานิ นาม อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่ากรรมชั่ว. ยญฺหิ ทุฏฺฐุ กตํ วิรูปํ วา กตํ ตํ ทุกฺกฏํ กรรมที่บุคคลทำไม่ดี หรือทำน่าเกลียด ชื่อว่าทุกกฏะ

 

๑ วิ.จุลฺล. ๗/๓๘๖/๑๙๔      ๒ วิ.มหา. ๕/๒๔๔/๓๓๔      ๓ สํ.สคาถ. ๑๕/๑๐๓/๓๑

๔ วิ.ฏี. ๑/๕๓/๑๑๖          ๕ วิ.ปริ. ๘/๙๖๓/๓๑๓         ๖ วิ.มหาวิ. ๑/๕๙๙/๔๐๔

๗ ขุ.อฏฺ. ๔๘/๑๑๘/๓๘

๑๓๔

อปุญฺญ (น+ปุ ปวเน+นฺอาคม+ณฺย) บาป, อกุศล, ความชั่ว.

น ปุนาตีติ อปุญฺญํ กรรมที่ไม่สะอาด ชื่อว่าอปุญญะ (อาเทศ น เป็น อ, ลบ ณฺ, อาเทศ นฺย เป็น ê, ซ้อน ญฺ). ปุญฺญปฏิปกฺขํ อปุญฺญํ กรรมที่ตรงข้ามกับบุญ ชื่อว่าอปุญญะ (น+ปุญฺê, อาเทศ น เป็น อ). พหุํ วต มยา อปุญฺญํ ปสุตํ เราสร้างบาปไว้มากมายหนอ

 

อกุสล (น+กุสล) บาป, อกุศล, กรรมชั่ว.

กุสลานํ ปฏิปกฺขํ อกุสลํ กรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล ชื่อว่าอกุสละ (อาเทศ น เป็น อ). น กุสลํ อกุสลํ ธรรมที่ไม่ใช่กุศล ชื่อว่าอกุสละ. อกุสลนฺติ ทสอกุสลกมฺมปถา คำว่า "อกุศล" คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐

 

กณฺห (ก+หน หึสายํ+อ) บาป, อกุศล, ธรรมดำ.

กํ สุขํ หนตีติ กณฺหํ กรรมที่เบียดเบียนความสุข ชื่อว่ากัณหะ (วิปริยยะ หนฺ เป็น นฺห, อาเทศ นฺ เป็น ณฺ). อปภสฺสรภาวกรณตฺตา ปณฺฑิเตหิ กุจฺฉิตพฺพํ ครหิตพฺพนฺติ กณฺหํ กรรมที่บัณฑิตพากันรังเกียจติเตียน เพราะทำให้เศร้าหมอง ชื่อว่ากัณหะ (กุ กุจฺฉายํ+ณฺห, อาเทศ อุ เป็น อ). อตฺถาวุโส กมฺมํ กณฺหํ กณฺหวิปากํ ผู้มีอายุ กรรมอันเป็นอกุศล ให้ผลเป็นอกุศล มีอยู่

 

กลุส (กล เฉทเน+อุส) บาป, อกุศล, ความชั่ว.

กลียเต อเนนาติ กลุสํ บาปอันเป็นเครื่องตัดความสุข ชื่อว่ากลุสะ. กํ วา สุขํ ลุนนฺโต เสตีติ กลุสํ หรือกรรมที่เฝ้าบั่นทอนความสุข ชื่อว่ากลุสะ (ก+ลุ เฉทเน+อุส, ลบสระหน้า)

 

ทุริต (ทุ+รฺอาคม+อิ คติมฺหิ+ต) บาป, อกุศล, ความชั่ว.

ทุ นินฺทิตํ อิตํ คมนมสฺส ทุริตํ กรรมเป็นไปน่าติเตียน ชื่อว่าทุริตะ

 

อาคุ (น+คมุ คติมฺหิ+กฺวิ) บาป, อกุศล, ความชั่ว, โทษ, ความผิด.

อคนฺตพฺพํ คจฺฉติ เอเตนาติ อาคุ ธรรมเครื่องนำไปสู่ที่ไม่ควรไป ชื่อว่าอาคุ (อาเทศ น เป็น อ, ทีฆะ อ เป็น อา, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ, อาเทศ อ ที่ ค เป็น อุ). อา ปีฬยํ คจฺฉตีติ วา อาคุ หรือกรรมที่ถึงความบีบคั้น ชื่อว่าอาคุ (อา+คมุ คติมฺหิ+กฺวิ, อาเทศ คมุ เป็น คุ, ลบ กฺวิ ปัจจัย). อาคุ วุจฺจติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เรียกว่าอาคุ

 

 

ทิสาทิวณฺณนา สมตฺตา.

ว่าด้วยทิศเป็นต้น จบ

 

๑ วิ.มหาวิ. ๑/๑๗๖/๑๒๙      ๒ ที.อฏฺ. ๕/๒๘๘/๒๕๕        ๓ ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๕๖/๒๔๒

๔ ขุ.มหานิ. ๒๙/๓๖๓/๒๔๒

 

 

<<<<                >>>>