๑๓๕
๑.๔ กุสลาทิวณฺณนา
ว่าด้วยกุศลเป็นต้น
[๘๕] กุสลํ สุกตํ สุกฺกํ ปุญฺญํ ธมฺมมนิตฺถิยํ
สุจริตมโถ ทิฏฺฐ- ธมฺมิกํ อิหโลกิกํ.
บุญ, กุศล, กรรมดี, ธรรม ๖ ศัพท์
กุสล (กุสสทฺทูปปท+ลุ เฉทเน+อ) บุญ, กุศล, กรรมดี, ธรรม, ธรรมฝ่ายขาว.
กุจฺฉิเตน อากาเรน สนฺตาเน เสนฺตีติ กุสา, ราคาทโย ราคะเป็นต้นที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน โดยอาการน่ารังเกียจ ชื่อว่ากุสะ (กุสทฺทูปปท+ สิ สเย+อล). กุเส ลุนาติ ฉินฺทตีติ กุสลํ ธรรมที่ตัดราคะเป็นต้นให้ขาด ชื่อว่ากุสละ. กุโส วิย ปาปธมฺเม ลุนาตีติ กุสลํ ธรรมที่ตัดบาปธรรมเหมือนหญ้าคาบาด ชื่อว่ากุสละ (ลบสระหน้า). กุจฺฉิเต ปาปเก ธมฺเม สลยนฺติ จลยนฺติ กมฺเปนฺติ วิทฺธํเสนฺติ กุสลา. กุจฺฉิเตน วา อากาเรน สยนฺติ ปวตฺตนฺตีติ กุสา, อกุสลสงฺขาตกุเส ลุนนฺติ ฉินฺทนฺตีติ กุสลา. กุจฺฉิตานํ วา สานโต ตนุกรณโต กุสํ, ญาณํ. เตน กุเสน ลาตพฺพา คเหตพฺพา ปวตฺเตตพฺพาติ กุสลา. ยถา วา กุสา อุภยภาคคตํ หตฺถปฺปเทสํ ลุนนฺติ, เอวมิเมปิ อุปฺปนฺนานุปฺปนฺนภาเวน อุภยภาคคตํ สงฺกิเลสปกฺขํ ลุนนฺติ, ตสฺมา กุสา วิย ลุนนฺติ กุสลา๑ ธรรมที่กำจัดบาปธรรมอันน่าเกลียด ชื่อว่ากุสละ. หรืออกุศลที่เป็นไปโดยอาการน่าเกลียด ชื่อว่ากุสะ, ธรรมที่ตัดซึ่งอกุศล ชื่อว่ากุสละ. หรือปัญญาชื่อว่ากุสะ เพราะทำอกุศลอันน่าเกลียดให้เบาบางลง, ธรรมที่เป็นไปด้วยปัญญานั้น ชื่อว่ากุสละ. อีกนัยหนึ่ง หญ้าคาย่อมบาดบริเวณมือทั้ง ๒ ข้าง ฉันใด ธรรมเหล่านี้ ย่อมตัดอกุศลธรรมที่เป็นไปพร้อมกิเลสทั้ง ๒ ฝ่าย คือที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิดขึ้น ฉันนั้น, เหตุนั้น ธรรมที่ตัดอกุศลเหมือนกับหญ้าคา จึงชื่อว่ากุสละ
สุกต (สุ+กร กรเณ+ต) บุญ, กุศล, กรรมดี.
สุขํ กโรติ โสภนํ วา กรณมสฺส สุกตํ กรรมที่ทำให้มีความสุข หรือกรรมที่ทำให้ดีงาม ชื่อว่าสุกตะ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุ). กตญฺจ กมฺมํ สุกตํ ภเวยฺย๒ กรรมที่ทำแล้ว เป็นการทำที่ดีแล้ว
สุกฺก (สุ+กร กรเณ+กฺวิ) บุญ, กุศล, ธรรมขาว.
สุขํ กโรตีติ สุกฺกํ กรรมที่ทำความสุขให้ ชื่อว่าสุกกะ (ซ้อน กฺ, ลบ รฺ และ กฺวิ). อตฺถาวุโส กมฺมํ สุกฺกํ สุกฺกวิปากํ ๓ ผู้มีอายุ กรรมอันเป็นกุศล มีผลเป็นกุศล มีอยู่
๑ ขุ.อฏฺ. ๔๗/๙๘/๑๔๑ ๒ วิ.ปริ. ๘/๑๓๑๙/๕๓๒ ๓ ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๕๖/๒๔๒
๑๓๖
ปุญฺญํ (ปุ ปวเน+นา+ณฺย) บุญ, กุศล, กรรมดี.
ปุนาตีติ ปุญฺญํ กรรมที่ชำระให้สะอาด ชื่อว่าปุญญะ (ลบ ณฺ และสระหน้า, อาเทศ นฺย เป็น ญ, ซ้อน ญฺ). ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ๑ บุญย่อมเจริญแก่ผู้ให้
ธมฺม (ธร ธารเณ+รมฺม) ธรรม, บุญ, ความดี, กุศล.
ธรติ สพฺพนฺติ ธมฺมํ กรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีทุกอย่าง ชื่อว่าธัมมะ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ รฺ ของปัจจัย). อปเร ปนิทํ "ปุญฺญธมฺม" มีเตฺยกปทํ วทนฺติ บางอาจารย์กล่าวว่า ปุญฺญธมฺม เป็นบทเดียวกัน. อิทํ กุสลํ ธมฺมํ สมาทาย วตฺเตยฺยาม๒ พวกเราควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติตาม
ในปทรูปสิทธิว่า อปาเยสฺวปตมาเน อธิคตมคฺคาทิเก สตฺเต ธาเรติ ธรติ เตนาติ วา, สลกฺขณํ ธาเรติ ปจฺจเยหิ ธรียตีติ วา ธมฺโม๓ ธรรมเครื่องป้องกันสัตว์ผู้บรรลุมรรคเป็นต้น ไม่ให้ตกไปในอบาย หรือธรรมที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน หรือธรรมที่ถูกปัจจัยทรงไว้ ชื่อว่าธัมมะ
ในโมคคัลลานะว่า อตฺตานํ ธาเรนฺเต อปาเย วฏฺฏทุกฺเข จ อปตมาเน กตฺวา ธาเรตีติ ธมฺโม, ปริยตฺยาทิ๔ ธรรมที่ทรงตน(ผู้มีธรรม)ไว้ไม่ให้ตกไปในอบายและทุกข์ในวัฏฏะ ชื่อว่าธัมมะ ได้แก่ปริยัติธรรมเป็นต้น
ในสัททนีติว่าธมฺโมติ อเนกวิเธสุ ธมฺเมสุ โลกุตฺตโร อุปฺปาทิโต สจฺฉิกโต จ,จตูสุ อปาเยสุ สํสาเร วา สตฺเต อปตมาเน ธาเรตีติ ธมฺโม. อถวา โสตาปนฺนาทีหิ อริเยหิ ธาริยติ น ปุถุชฺชเนหีติ ธมฺโม. จตุภูมิโก ปน สกลกฺขณํ ธาเรตีติ ธมฺโม, กกฺขฬตฺตาทินา ผุสนาทินา สนฺติอาทินา สกสกภาเวน ปณฺฑิเตหิ ธาริยติ สลฺลกฺขียตีติปิ ธมฺโม. เตปิฏโก ปน ปาฬิธมฺโม, สกตฺถปรตฺถาทิเภเท อตฺเถ ธาเรตีติ ธมฺโม. เกจิ ตุ วิทู "ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ธุนาติ กมฺปติ วิทฺธํเสตีติ ธมฺโม๕ คำว่า "ธมฺม" หมายถึง โลกุตตรธรรมที่เกิดขึ้นและทำให้แจ้งในธรรมมีอเนกประการ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ทรงสัตว์ไว้ไม่ให้ตกไปในอบาย ๔ หรือในสงสาร ชื่อว่าธัมมะ, ธรรมที่พระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้นทรงไว้ มิใช่ปุถุชนทรงไว้ ชื่อว่าธัมมะ, ส่วนธรรมที่มีอยู่ในภูมิ ๔ ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ก็ชื่อว่าธัมมะ, ธรรมที่บัณฑิตสังเกตรู้ได้โดยมีสภาพของตนๆ เป็นต้นว่า หยาบกระด้าง กระทบสัมผัส และสงบ ชื่อว่าธัมมะ, ส่วนพระบาลีคือพระไตรปิฎกมีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ, ธรรมที่ทรงไว้ซึ่งประโยชน์ต่างกัน มีประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านเป็นต้น ชื่อว่าธัมมะ, ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า ธรรมที่กำจัดบาปอกุศล ชื่อว่าธัมมะ
๑ ที.มหา. ๑๐/๑๒๗/๑๕๙ ๒ ที.ปาฏิก. ๑๑/๔๗/๘๐ ๓ รูปสิทฺธิ. ๕๘๙/๒๘๗
๔ โมคฺ. ๗/๑๓๖ ๕ สทฺทนีติ.ธาตุ. ๓๓๖-๗
๑๓๗
สุจริต (สุ+จร จรเณ+อิ+ต) บุญ, กุศล, ความสุจริต, กรรมดี.
สุนฺทรํ จรณมสฺสาติ สุจริตํ กรรมที่มีการประพฤติที่ดี ชื่อว่าสุจริตะ. โส กาเยน สุจริตํ จริตฺวา วาจาย สุจริตํ จริตฺวา มนสา สุจริตํ จริตฺวา กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺเชยฺย เทวานํ ตาวตึสานํ สหพฺยตํ ๑ เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตแล้ว หลังจากตายไป จะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์
[๘๖] สนฺทิฏฺฐิกมโถ ปาร- โลกิกํ สมฺปรายิกํ
ตกฺกาลํ ตุ ตทาตฺวํ โจ- ตฺตรกาโล ตุ อายติ.
โลกนี้, ภพปัจจุบัน, ชาตินี้ ๓ ศัพท์
ทิฏฺฐธมฺมิก (ทิฏฺฐธมฺม+อิก) โลกนี้, ภพปัจจุบัน, ชาตินี้.
ทิฏฺฐธมฺโม นาม ปจฺจกฺโข อตฺตภาโว, ตตฺถ นิพฺพตฺตํ ทิฏฺฐธมฺมิกํ อัตภาพที่ปรากฏอยู่ ชื่อว่าทิฏฐธัมมะ, กรรมที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ชื่อว่าทิฏฐธัมมิกะ (ลบสระหน้า). ทิฏฺฐธมฺมิกํ วา อตฺถํ สมฺปรายิกํ วา๒ ประโยชน์ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
อิหโลกิก (อิหโลก+อิก) โลกนี้, ภพปัจจุบัน, ชาตินี้.
อิหโลเก ชาตํ อิหโลกิกํ สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ชื่อว่าอิหโลกิกะ (ลบสระหน้า)
สนฺทิฏฺฐิก (สนฺทิฏฺฐ+อิก) โลกนี้, ภพปัจจุบัน, ชาตินี้, สิ่งที่เห็นเอง.
สนฺทิฏฺเฐ ปจฺจกฺเข อตฺตภาเว ชาตํ สนฺทิฏฺฐิกํ สิ่งที่เกิดขึ้นในอัตภาพที่เห็นปรากฏอยู่ ชื่อว่าสันทิฏฐิกะ (ลบสระหน้า). เอวํปิ โข พฺราหฺมณ สนฺทิฏฺฐิกํ นิพฺพานํ โหติ๓ พราหมณ์ ดังกล่าวมานี้แล นิพพาน ในโลกนี้มีอยู่
โลกหน้า, ภพหน้า, ชาติหน้า ๒ ศัพท์
ปรโลกิก (ปรโลก+อิก) โลกหน้า, ภพหน้า, ชาติหน้า, ภายหน้า.
ปรโลเก ชาตํ ปรโลกิกํ สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกหน้า ชื่อว่าปรโลกิกะ (ลบสระหน้า)
สมฺปรายิก (สมฺปราย+อิก) โลกหน้า, ภพหน้า, ชาติหน้า, ภายหน้า.
สมฺปราเย ชาตํ สมฺปรายิกํ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกหน้า ชื่อว่าสัมปรายิกะ (ลบสระหน้า). โหติ สมฺปรายิกํ มรณภยํ ๔ ความตายที่จะมาถึงในภายหน้า
๑ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๒๘๒/๒๗๕ ๒ ที.มหา. ๑๐/๒๒๖/๒๗๔ ๓ องฺ.ติก. ๒๐/๔๙๕/๒๐๒
๔ สํ.มหา. ๑๙/๑๕๗๑/๔๘๖
๑๓๘
ขณะนั้น, เวลานั้น ๒ ศัพท์
ตกฺกาล (ต+กาล) ขณะนั้น, เวลานั้น.
ตสฺมึเยว กาเล ชาตํ นาสนฺนกาลาทีสูติ ตกฺกาลํ สิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานั้นไม่ช้าไม่นานเป็นต้น ชื่อว่าตักกาละ (ซ้อน กฺ)
ตทาตฺว, ตทาตฺต (ตทา+ตฺว,ตฺต) ขณะนั้น, เวลานั้น.
ตทา ตสฺมึเยว กาเล ชาตํ ตทาตฺวํ, ตทาตฺตํ สิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานั้นเช่นกัน ชื่อว่าตทาตวะ และ ตทาตตะ
กาลข้างหน้า ๒ ศัพท์
อุตฺตรกาล (อุตฺตร+กาล) กาลข้างหน้า, กาลต่อไป.
อุตฺตรกาโล ปจฺฉิโม กาโล กาลภายหลัง ชื่อว่าอุตตรกาละ. อุตฺตรกาเล อิฏฺฐานิฏฺฐาทีสุ ตาทิลกฺขณปฺปตฺตสฺส ขีณาสวสฺส ปจฺจเวกฺขณญาณํ อุปฺปชฺชติ๑ ในเวลาต่อไป ปัจจเวกขณญาณ ย่อมเกิดขึ้นแก่พระอรหันต์ผู้บรรลุตาทิลักขณะในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นต้น
อายติ (อา+อิ คติมฺหิ+ติ) กาลข้างหน้า, กาลต่อไป, ต่อไป.
อาคมิสฺสตีติ อายติ กาลที่จะมาถึง ชื่อว่าอายติ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย, ลบ อ). เอตฺถ จ ยํ อิมสฺมึ อตฺตภาเว ทูรมาสนฺนํ วา, ตํ ทิฏฺฐธมฺมิกํ. ยํ ปน อิมสฺมึ อตฺตภาเว วา สมฺปราเย วา ทูรตรํ, ตํ อายติ ในที่นี้ ในชาตินี้จะไกลหรือใกล้ก็ตาม ให้ใช้ ทิฏฺฐธมฺมิก, ส่วนไกลออกไปกว่านี้ ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้า ให้ใช้ อายติ. กิเลสาภาเว วิชฺชมานมฺปิ กมฺมํ อายตึ อปฏิสนฺธิกํ โหติ๒ ในผู้ไม่มีกิเลส แม้มีกรรมอยู่ ก็ไม่มีปฏิสนธิอีกต่อไป
[๘๗] หาโสตฺตมนตา ปีติ วิตฺติ ตุฏฺฐิ จ นาริยํ
อานนฺโท ปมุทาโมโท สนฺโตโส นนฺทิ สมฺมโท.
[๘๘] ปาโมชฺชํ จ ปโมโทถ สุขํ สาตํ จ ผาสฺวถ
ภทฺทํ เสยฺโย สุภํ เขมํ กลฺยาณํ มงฺคลํ สิวํ.
ความยินดี, ความร่าเริง ๑๓ ศัพท์
หาส (หส หาเส+ณ) ความยินดี, ความร่าเริง, ความสบายใจ.
หสติ เยนาติ หาโส เหตุแห่งความยินดี ชื่อว่าหาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). โก นุ หาโส กิมานนฺโท๓ ร่าเริงยินดีอะไรกันหนอ. หาโสติ ตุฏฺฐิ๔ บทว่า หาโส คือความยินดี
อตฺตมนตา (อตฺตมน+ตา) ความยินดี, ความร่าเริง, ความมีใจเป็นของตน, ความสบายใจ.
อตฺตา มโน ยสฺสาติ อตฺตมโน ผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่าอัตตมนะ. ทุฏฺฐสฺส หิ มโน อตฺตา นาม น โหติ, ตสฺส ภาโว อตฺตมนตา, ปาโมชฺชํ เพราะว่าผู้มีใจเสียแล้ว ย่อมไม่มีใจเป็นของตน, ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่าอัตตมนตา ได้แก่ความปราโมทย์ใจ. ยถารหํ ทานํ ทตฺวา จ อตฺตมนตา๕ มีความยินดีเพราะได้ถวายทานตามสมควร
๑ ขุ.อฏฺ. ๒๗/๖๒/๒๓๘ ๒ วิ.อฏฺ. ๑/๑๙๐ ๓ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๒๑/๓๕
๔ ขุ.อฏฺ. ๓๐/๑๑๙๖/๓๗๓ ๕ ขุ.อฏฺ. ๓๑/๓๐๕/๑๔๒
๑๓๙
ปีติ (ปี ตปฺปเน+ติ) ความยินดี, ความร่าเริง, ปีติ.
ปีเณติ ตปฺเปตีติ ปีติ ความยินดีชื่อว่าปีติ. ปมุทิตสฺส ปีติ ชายติ๑ เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ. ปีตีติ ตุฏฺฐาการภูตา พลวปีติ๒ บทว่า ปีติ คือปีติที่มีกำลังอันเป็นอาการของความยินดี
วิตฺติ (วิท ลาเภ+ติ) ความยินดี, ความร่าเริง.
วินฺทติ สุขํ เอตายาติ วิตฺติ เหตุให้ได้ความสุข ชื่อว่าวิตติ (ลบ ทฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน ตฺ). ปญฺจกามคุณปฏิสญฺญุตฺตา ปีติ ปาโมชฺชํ อาโมทนา ปโมทนา หาโส ปหาโส วิตฺติ ตุฏฺฐิ๓ มีความอิ่มใจ ปราโมทย์ เบิกบาน บันเทิง ร่าเริง ยิ้มแย้ม ปลื้มใจ ยินดี เพราะประกอบด้วยกามคุณ ๕
ตุฏฺฐิ (ตุส ปีติมฺหิ+ติ) ความยินดี, ความร่าเริง, ความสบายใจ.
โตสนํ ตุฏฺฐิ ความยินดี ชื่อว่าตุฏฐิ. ตุสฺสนฺติ เอตายาติ ตุฏฺฐิ เหตุแห่งความยินดี ชื่อว่าตุฏฐิ (อาเทศ สฺตฺ เป็น ฏฺฐฺ).
ตุฏฺฐิ โหติ สุขาวหา๔ ความยินดี ย่อมนำสุขมาให้. อตฺตมนตาศัพท์ ถึง ตุฏฺฐิศัพท์ (๔ ศัพท์) เป็นอิตถีลิงค์
อานนฺท (อา+นนฺท นนฺทเน+อ) ความยินดี, ความร่าเริง.
อาภุโส นนฺทยตีติ อานนฺโท สิ่งที่บุคคลยินดีอยู่เนืองๆ ชื่อว่าอานันทะ. อานนฺโทติ อานนฺทปีติ๕ บทว่า อานนฺโท คือความปีติยินดี
ปมุท (ป+มุท หาเส+อ) ความยินดี, ความร่าเริง.
ปมุทนฺเต เอเตนาติ ปมุโท เหตุแห่งความร่าเริง ชื่อว่าปมุทะ
อาโมท (อา+มุท หาเส+อ) ความยินดี, ความร่าเริง.
อาโมทนฺเต อเนนาติ อาโมโท เหตุแห่งความร่าเริง ชื่อว่าอาโมทะ (วุทธิ อุ เป็น โอ)
สนฺโตส (สํ+ตุส สนฺโตเส+อ) ความยินดี, ความร่าเริง, ความพอใจ, สันโดษ.
สนฺตุสฺสนํ สนฺโตโส ความยินดี ชื่อว่าสันโตสะ (อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). จีวรสฺมิญฺหิ ตโย สนฺโตสา ยถาลาภสนฺโตโส ยถาพลสนฺโตโส ยถาสารุปฺปสนฺโตโส๖ จริงอยู่ ความพอใจในจีวรมี ๓ อย่าง คือ พอใจตามที่ได้ พอใจตามกำลัง พอใจตามสมควร
นนฺทิ (นนฺท นนฺทเน+อิ) ความยินดี, ความร่าเริง.
นนฺทนํ นนฺทิ ความร่าเริง ชื่อว่านันทิ. โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺทิ ยา ตณฺหา๗ ความพอใจ ความใคร่ ความยินดี ความอยากใด
สมฺมท (สํ+มุท หาเส+อ) ความยินดี, ความร่าเริง.
สมฺโมทนํ สมฺมโท, สมฺมทา ความเบิกบาน ชื่อว่าสัมมทะและสัมมทา (อาเทศ อุ ที่ มุ เป็น อ, นิคหิต เป็น มฺ)
๑ ที.สีล. ๙/๑๒๗/๙๘ ๒ ที.อฏฺ. ๖/๓๒๒/๒๓๑ ๓ ขุ.มหานิ. ๒๙/๔/๓
๔ สํ.สคาถ. ๑๕/๒๓๒/๖๖ ๕ มชฺ.อฏฺ. ๘/๒๔๖/๒๕ ๖ ที.อฏฺ. ๖/๓๐๙/๒๐๕
๗ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๑๗๑/๑๒๗
๑๔๐
ปาโมชฺช (ป+มุท หาเส+ณฺย) ความยินดี, ความร่าเริง, ความปราโมทย์.
ปโมทิตสฺส ปุคฺคลสฺส จิตฺตสฺส วา ภาโว ปาโมชฺชํ ความเป็นบุคคลผู้ยินดี หรือความเป็นจิตที่ยินดี ชื่อว่า
ปาโมชชะ (ทีฆะ อ เป็น อา, วุทธิ อุ เป็น โอ, ลบ ณฺ, อาเทศ ทฺย เป็น ช, ซ้อน ชฺ).
ปกฏฺโฐ โมโท ปโมโท, โสเยว ปาโมชฺชํ ความยินดียิ่ง ชื่อว่าปโมทะ, ปโมทะนั่นแหละ ชื่อว่าปาโมชชะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ ที่ ป เป็น อา, ลบ อ ที่ ท, อาเทศ ทฺย เป็น ช, ซ้อน ชฺ). โส ตโตนิทานํ ลเภถ ปาโมชฺชํ อธิคจฺเฉยฺย โสมนสฺสํ ๑ เขาได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส เพราะความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ
ปโมท (ป+มุท หาเส+ณ) ความยินดี, ความร่าเริง.
ปกฏฺโฐ โมโท ปโมโท ความยินดียิ่งชื่อว่าปโมทะ (ลบ ณฺ แล้ววุทธิ อุ เป็น โอ). วีถิปฏิปนฺนตาย ภาวนาจิตฺตสหคโต ปโมโท ขุทฺทกาทิเภทา ตรุณปีติ อุปฺปชฺชติ๒ เพราะปฏิบัติถูกทาง ความยินดีที่ประกอบด้วยภาวนาจิต และปีติมีกำลังแตกต่างกับปีติเพียงเล็กน้อยเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น
ความสุข, ความสะดวก, ความสบาย, ความสำราญ ๓ ศัพท์
สุข (สุ+ขนุ อวธารเณ+กฺวิ) ความสุข, ความสะดวก, ความสบาย, ความสำราญ.
สุฏฺฐุ ขณตีติ สุขํ ธรรมที่ห้ามความทุกข์ได้ดี ชื่อว่าสุขะ (ลบ นฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ). น สุขํ ลภามิ๓ เราไม่ได้ความสุข. อพฺยาปชฺชํ สุขํ โลเก๔ ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก
สาต (สาท อสฺสาทเน+อ) ความสุข, ความสะดวก, ความสบาย, ความสำราญ.
สาทียติ อสฺสาทียตีติ สาตํ ความสุขที่บุคคลยินดี ชื่อว่าสาตะ (อาเทศ ทฺ เป็น ตฺ). สทนํ อารมฺมณสฺส อสฺสาทนํ สาตํ ความยินดีแห่งอารมณ์ ชื่อว่าสาตะ (สท สทเน+อ, ทีฆะ อ เป็น อา, อาเทศ ทฺ เป็น ตฺ). กายิกํ สุขํ กายิกํ สาตํ กายสมฺผสฺสชํ สุขํ สาตํ เวทยิตํ ๕ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย การเสวยความสุขสำราญเกิดจากการสัมผัส
ผาสุ (ผส สิเนหเน+ณุ) ความสุข, ความสะดวก, ความสบาย, ความสำราญ, ผาสุก.
ผสฺสติ สิเนหตีติ ผาสุ สภาวะที่สบาย ชื่อว่าผาสุ (ลบ ณฺ แล้ววุทธิ อ เป็น อา). ผุสติ วา พาธติ ทุกฺขนฺติ ผาสุ หรือความสุขที่เบียดเบียนความทุกข์ ชื่อว่าผาสุ (ผุส พาธเน+อุ, อาเทศ อุ เป็น อา). สมคฺโค หิ สงฺโฆ สมฺโมทมาโน อวิวทมาโน เอกุทฺเทโส ผาสุวิหรติ๖ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดี ไม่วิวาท มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่เป็นสุข
๑ ที.สีล. ๙/๑๒๖/๙๖ ๒ วิสุทฺธิ.ฏี. ๔๕/๔๖ ๓ วิ.มหาวิ. ๑/๔๒๕/๒๙๗
๔ วิ.มหา. ๔/๕/๖ ๕ สํ.มหา. ๑๙/๙๒๖/๒๗๘ ๖ วิ.มหาวิ. ๑/๕๙๕/๔๐๒
๑๔๑
ความดี, ความเจริญ, ความประเสริฐ, มงคล ๗ ศัพท์
ภทฺท (ภทิ กลฺยาเณ+นิคฺคหีตาคม+อ) ความดี, ความเจริญ, ความประเสริฐ, มงคล.
ภทฺทตีติ ภทฺทํ ความดีที่เจริญ ชื่อว่าภัททะ (อาเทศนิคหิตเป็น ทฺ). สติมโต สทา ภทฺทํ ๑ ผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ
เสยฺย (ปสตฺถ+อิย) ความดี, ความเจริญ, ความประเสริฐ, มงคล.
ปสตฺถตรตฺตา เสยฺโย ความดีชื่อว่าเสยยะ เพราะเป็นความประเสริฐสุด (อาเทศ ปสตฺถ เป็น ส, ลบสระหน้า, วิการ อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ)
เสยฺโย อโยคุโฬ ภุตฺโต ตตฺโต อคฺคิสิขูปโม
ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย ทุสฺสีโล รฏฺฐปิณฺฑํ อสญฺญโต.๒
ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม ฉันก้อนข้าวของชาวบ้าน จะประเสริฐอะไร
บริโภคก้อนเหล็กแดงดุจถ่านไฟยังประเสริฐกว่า
สุภ (สุภ โสภเณ+อ) ความดี, ความงาม, ความประเสริฐ, มงคล.
โสภตีติ สุภํ ความดีที่งดงาม ชื่อว่าสุภะ. ยสฺมึ สมเย สุภํ วิโมกฺขํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ๓ ในสมัยใด ท่านเข้าวิโมกข์อันประเสริฐอยู่
เขม (ขี ขเย+ม) ความดี, ความหมดจด, มงคล.
อสุขํ เขเปตีติ เขมํ ธรรมที่ทำให้ความทุกข์เสื่อมไป ชื่อว่าเขมะ (วุทธิ อี เป็น เอ). สุภิกฺขํ ภวิสฺสติ ทุพฺภิกฺขํ ภวิสฺสติ เขมํ ภวิสฺสติ ภยํ ภวิสฺสติ๔ จักมีทั้งข้าวอุดมสมบูรณ์ ทั้งข้าวยากหมากแพง จักมีทั้งความเกษมและมีภัย
กลฺยาณ (กลฺยสทฺทูปปท+อณ คมเน+ณ) ความดี,ความงาม, มงคล, ไพเราะ.
กลฺยํ นิโรคํ อณติ คจฺฉติ กลฺยํ วา หิตํ อณยติ ปาปยตีติ กลฺยาณํ ความดีที่ถึงความปราศจากโรค หรือความดีที่ให้ถึงประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่ากัลยาณะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า). โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ ๕ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด
๑ สํ.สคาถ. ๑๕/๘๑๒/๓๐๖ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๒๓๐/๑๗๑ ๓ ที.ปาฏิก. ๑๑/๑๗/๓๖
๔ ที.สีล. ๙/๒๓/๑๔ ๕ วิ.มหาวิ. ๑/๑/๑
๑๔๒
มงฺคล (มคิ คตฺยตฺเถ+นิคฺคหีตาคม+อล) ความดี, มงคล.
ธญฺญํ มงฺคตีติ มงฺคลํ ความดีที่ถึงโชคลาภ ชื่อว่ามังคละ (อาเทศนิคหิตเป็น งฺ). มงฺคนฺติ สตฺตา เอเตน สุทฺธึ คจฺฉนฺตีติ มงฺคลํ ความดีที่ช่วยสัตว์ให้ถึงความบริสุทธิ์ ชื่อว่ามังคละ. มาเรติ สตฺเตติ โม ธรรมที่ยังสัตว์ให้ตาย ชื่อว่ามะ (มร ปาณจาเค+กฺวิ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ). คเมติ สตฺเต อปายนฺติ โค ธรรมที่ยังสัตว์ให้ถึงอบาย ชื่อว่าคะ (คมุ คติมฺหิ+กฺวิ, ลบ มฺ และ กฺวิ ปัจจัย). โม จ โส โค จาติ มงฺโค มะและคะ ชื่อว่ามังคะ (ม+ค, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ). อถวา มํอิติ อปายํ ตํ คจฺฉนฺติ วา ทุจฺจริตสมงฺคี สตฺตา เอเตนาติ มงฺคํ ธรรมเครื่องยังสัตว์ ผู้ทำแต่ทุจริตกรรมให้ถึงอบายที่ชื่อมะ จึงชื่อว่ามังคะ ได้แก่อกุศล. มงฺคํ ปาปํ ลุนาติ ฉินฺทตีติ มงฺคลํ ความดีที่ตัดบาปเครื่องยังสัตว์ให้ถึงอบาย ชื่อว่ามังคละ (มงฺคสทฺทูปปท+ลุ เฉทเน+อ). ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ๑ การบูชาผู้ควรบูชา นี้เป็นมงคลอันประเสริฐสุด
สิว (สมุ อุปสเม+ว) ความดี, มงคล, ประเสริฐ.
สเมติ ทุกฺขนฺติ สิวํ ความดีที่สงบความทุกข์ได้ ชื่อว่าสิวะ (อาเทศ อ เป็น อิ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ). ปปฺปุยฺย สมฺโพธิมนุตฺตรํ สิวํ ๒ ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐสุด
[๘๙] ทุกฺขํ จ กสิรํ กิจฺฉํ นีโฆ จ พฺยสนํ อฆํ
ทพฺเพ ตุ ปาปปุญฺญานิ ตีสฺวากิจฺฉํ สุขาทิ จ.
ความทุกข์, ความลำบาก, ความยาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ๖ ศัพท์
ทุกฺข (ทุ+ขม ขนฺติยํ+กฺวิ) ความทุกข์, ความลำบาก, ยาก.
ทุกฺกรํ ขมนเมตฺถาติ ทุกฺขํ ในขณะที่อดทนได้ยาก ชื่อว่าทุกขะ (ซ้อน กฺ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ). กุจฺฉิตํ ขํ สุขนฺติ วา ทุกฺขํ, ทฺวิธา จิตฺตํ ขณตีติ ทุกฺขํ หรือความสุขที่ถูกรังเกียจ หรืออาการที่ห้ามจิตไม่ให้คิดเป็น ๒ อย่าง ชื่อว่าทุกขะ (ทุ+ขณุ อวธารเณ+อ, ซ้อน กฺ, ลบ ณฺ ที่สุดธาตุ). ตํ ปกาเสสิ ทุกฺขํ สมุทยํ นิโรธํ มคฺคํ ๓ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศอริยสัจนั้น ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. กตมมฺปนาวุโส ทุกฺขํ ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ ๔ ท่านผู้มีอายุ ความทุกข์ มีอะไรบ้าง คือ การเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์
ทุกฺขธาตุวสา จาปิ ทุปพฺพขาทโตปิ วา
ทุปุพฺพขณุโต จาปิ ทุกฺขสทฺทคตี วเท.
การสำเร็จบทของ ทุกฺขศัพท์ ท่านกล่าวว่า มาจาก ทุกฺขธาตุก็มี, มาจากทุอุปสัค ขาทธาตุก็มี, มาจาก ทุอุปสัค ขณุธาตุก็มี
กสิร (กส คมเน+อิร) ความทุกข์, ความลำบาก, ยาก.
กสติ อปุญฺญนฺติ กสิรํ ความทุกข์ที่ไปสู่สิ่งอันไม่ใช่บุญ ชื่อว่ากสิระ. กุจฺฉิเตนากาเรน เสตีติ วา กสิรํ หรือความทุกข์ที่นอนเนื่องอยู่โดยอาการอันน่าเบื่อหน่าย ชื่อว่ากสิระ. กสิรํ ชีวิกํ กปฺเปติ๕ เลี้ยงชีพลำบาก
๑ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๖/๓ ๒ สํ.สคาถ. ๑๕/๗๑๑/๒๖๖ ๓ ที.สีล. ๙/๑๗๖/๑๔๐
๔ มชฺ.มูล. ๑๒/๑๑๕/๘๘ ๕ องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๔๔/๒๙๑
๑๔๓
กิจฺฉ (กิร วิกฺเขปเน+ฉ) ความทุกข์, ความลำบาก, ยาก.
กิรติ สุขนฺติ กิจฺฉํ ความทุกข์ที่ทำลายความสุขให้กระจายไป ชื่อว่ากิจฉะ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน จฺ). กตา วา ปุญฺญกรณิจฺฉา เยนาติ กิจฺฉํ หรือความทุกข์ที่เป็นเหตุให้บุคคลต้องการทำบุญ ชื่อว่ากิจฉะ, ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า "ทุกฺขูปนิสา สทฺธา ศรัทธามีความทุกข์เป็นเหตุ". กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ ๑ การฟังพระสัทธรรม เป็นสิ่งได้ยาก
นีฆ (น+อีหา+ณ) ความทุกข์, ความลำบาก.
นตฺถิ อธิคมนตฺถํ อีหา เอตฺถาติ นีโฆ ความทุกข์ที่ไม่มีความพยายามเพื่อให้บรรลุมรรคผล ชื่อว่านีฆะ (อาเทศ ห เป็น ฆ, ลบ ณฺ และสระหน้า). อถวา นิหนฺตฺยปุญฺญํ หึสติ คจฺฉตีติ วา นีโฆ, ปุญฺญํ วา น หนฺติ น คจฺฉตีติ นีโฆ อีกอย่างหนึ่ง ความทุกข์ที่เบียดเบียนความสุข ชื่อว่านีฆะ (นิ+หนหึสายํ+อ, ทีฆะ อิ เป็น อี, อาเทศ หน เป็น ฆ) หรือความทุกข์ที่ไม่ไปสู่สิ่งที่ดีงาม ชื่อว่านีฆะ (น+หน คติยํ+อ, อาเทศ อ ที่ น เป็น อี, หนฺ เป็น ฆ). ตโย เม ภิกฺขเว นีฆา. กตเม ตโย. ราโค นีโฆ โทโส นีโฆ โมโห นีโฆ๒ ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์มี ๓ อย่าง ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ราคะเป็นทุกข์ โทสะเป็นทุกข์ โมหะเป็นทุกข์
พฺยสน (วิ+อส ภกฺขเน+ยุ) ความทุกข์, ความลำบาก, ยาก, พินาศ, เสื่อม.
วิรูปมสติ เยนาติ พฺยสนํ ความทุกข์ที่ให้เสวยแต่ความแปรปรวน ชื่อว่าพยสนะ. วิสิฏฺฐํ วา อสติ เขเปตีติ พฺยสนํ หรือ ความทุกข์ที่ละทิ้งความประเสริฐ ชื่อว่าพยสนะ (วิ+อส เขปเน+ยุ, อาเทศ อิ เป็น ยฺ, วฺ เป็น พฺ, ยุ เป็น อน). พฺยสนํ เต คมิสฺสนฺติ๓ สัตว์เหล่านั้นจักถึงความพินาศ
อฆ (น+หน คติยํ +อ) ความทุกข์, ความลำบาก.
น หนติ ธญฺญนฺติ อฆํ ความทุกข์ที่ไม่ไปสู่โชคลาภ ชื่อว่าอฆะ (อาเทศ น เป็นอ, หนฺ เป็น ฆ). ฉนฺทชํ อฆํ ฉนฺทชํ ทุกฺขํ ๔ ความลำบากเกิดจากความพอใจ ความทุกข์เกิดจากความพอใจ เอเต ปาปาทโย คุเณ ยถาวุตฺตลิงฺคา. ปาปปุญฺญานิ สุขาทิ จ อากิจฺฉํ กิจฺฉนฺตํ คุณโยคโต ทพฺเพ วิเสเสฺย วตฺตมานานิ ตีสุ ปาปศัพท์เป็นต้นเหล่านั้น มีลิงค์ตามบทที่ตนขยาย. ปาปศัพท์ ปุญฺญศัพท์ และ สุขศัพท์เป็นต้น ที่อยู่หน้าหรืออยู่หลัง กิจฺฉศัพท์ ใช้เป็นวิเสสยะ (ถูกขยาย) เพราะมีบทอื่นขยาย และเป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ เช่น
๑ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๒๔/๓๙ ๒ สํ.มหาวาร. ๑๙/๓๒๕/๘๖ ๓ ขุ.ชา. ๒๗/๒๔๑/๗๑
๔ สํ.สคาถ. ๑๕/๑๐๓/๓๑
๑๔๔
ปาปา อุตุมตี กญฺญา ปาโป ราชาปฺยรกฺขโก
ปาปํ พฺยาธกุลํ หึสํ ปาโป วิปฺโป จ เสวโก.
หญิงสาวผู้มีระดูย่อมเจ็บป่วย พระราชาปราศจากผู้อารักขาย่อมทรงเหน็ดเหนื่อย ตระกูลนายพรานที่ชอบเบียดเบียนย่อมลำบาก พราหมณ์ผู้เป็นข้าราชบริพารย่อมเป็นทุกข์
ปุญฺญํ ติตฺถมิทํ ปุญฺญา นที ปฺุญฺโญยมสฺสโม
สุขํ กามิกุลํ ทพฺพํ สุโข วาโส สหามฺพยา
สุขา ยุวติริจฺฉนฺตี สุขา เว มฆวคฺคหา.
ท่าน้ำแห่งนี้ก็ดี แม่น้ำก็ดี อาศรมหลังนี้ก็ดี เย็นสบาย, ตระกูลที่มั่งคั่ง ได้ทุกอย่างดังปรารถนา ก็มีความสุข, การอยู่ร่วมกับภรรยาที่ดี ก็มีความสุข, หญิงสาวได้ชายหนุ่มที่ตนปรารถนา ก็มีความสุข, หญิงแม่เรือนรู้สึกว่าตนยังสาวอยู่ ก็มีความสุข
[๙๐] ภาคฺยํ นิยติ ภาโค จ ภาคเธยฺยํ วิธีริโต
อโถ อุปฺปตฺติ นิพฺพตฺติ ชาติ ชนนมุพฺภโว.
ผลกรรมเก่า, วิบาก, โชค ๕ ศัพท์
ภาคฺย (ภาค+ณฺย) ผลกรรมเก่า,วิบาก, โชค.
อิฏฺฐานิฏฺฐวิปากภาโค ยตฺถ อตฺถีติ ภาคฺยํ กรรมที่การจำแนกผลอันน่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ชื่อว่าภาคยะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). ภาคฺยนฺติ กุสลํ ๑ บทว่า ภาคฺยํ คือ กุศล
นิยติ (นี หรเณ+ติ) ผลกรรมเก่า, วิบาก, โชค.
สุภาสุภผลํ เนตีติ นิยติ กรรมอันนำไปสู่ผลทั้งที่ดีและไม่ดี ชื่อว่านิยติ (อาเทศ อี เป็น อิย)
ภาค (ภช ปุถกฺกรเณ+ณ) ผลกรรมเก่า, โชค.
สุภาสุภผลํ ภาเชตีติ ภาโค กรรมที่ส่งผลทั้งดีและไม่ดีให้มากขึ้น ชื่อว่าภาคะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ช เป็น ค)
ภาคเธยฺย (ภาคฺยสทฺทูปปท+ธา ธารเณ+เณยฺย) ผลกรรมเก่า, โชค.
อิฏฺฐานิฏฺฐวิภาคภาโค ธียติ เอตฺถาติ ภาคเธยฺยํ กรรมอันทรงไว้ซึ่งส่วนที่จำแนกว่าน่ายินดีและไม่น่ายินดี ชื่อว่าภาคเธยยะ (ลบ ณฺ และสระหน้า)
วิธิ (วิ+ธา ธารเณ+อิ) ผลกรรมเก่า, โชค.
สุภาสุภผลํ วิทธาตีติ วิธิ กรรมที่สร้างผลทั้งดีและไม่ดี ชื่อว่าวิธิ (ลบสระหน้า)
กรรมเก่ามีอีกหลายศัพท์ เช่น อย, สุภาวห, เทว, ทิฏฺฐ
การเกิด, การอุบัติ ๕ ศัพท์
อุปฺปตฺติ (อุ+ปท คติมฺหิ+ติ) การเกิด, การอุบัติ.
อุปฺปชฺชนํ อุปฺปตฺติ การเกิด ชื่อว่าอุปปัตติ (ซ้อน ปฺ, ลบ ทฺ, ซ้อน ตฺ). อยํ สกฺยโกลิยานํ อุปฺปตฺติ๒ นี้เป็นการเกิดของพวกเจ้าศักยะและโกลิยะ
๑ วิสุทฺธิ.ฏี. ๒๕๖/๓๖๗ ๒ ที.อฏฺ. ๔/๒๖๗/๒๓๖
๑๔๕
นิพฺพตฺติ (นิ+ปท คติมฺหิ+ติ) การเกิด.
นิปฺปชฺชนํ นิพฺพตฺติ การเกิด ชื่อว่านิพพัตติ (อาเทศ ป เป็น พ แล้วซ้อน พฺ, ลบ ทฺ, ซ้อน ตฺ). เตสํ เตสํ สตฺตานํ ตมฺหิ ตมฺหิ สตฺตนิกาเย ชาติ สญฺชาติ โอกฺกนฺติ นิพฺพตฺติ อภินิพฺพตฺติ๑ การเกิดในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ, ชาติ, สญฺชาติ, โอกฺกนฺติ, นิพฺพตฺติ, อภินิพฺพตฺติ ศัพท์ มีอรรถเหมือนกัน
ชาติ (ชน ชนเน+ติ) การเกิด, ชาติ.
ชนนํ ชาติ การเกิด ชื่อว่าชาติ (อาเทศ นฺ ที่สุดธาตุเป็น อา). กึปจฺจยา ชาติ ... ภวปจฺจยา ชาติ๒ ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย... ชาติมีภพเป็นปัจจัย
ชนน (ชน ชนเน+ยุ) การเกิด.
ชนียเต ชนนํ การเกิด ชื่อว่าชนนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)
อุพฺภว (อุ+ภู สตฺตายํ+อ) การเกิด.
อุทฺธํ ภวนํ อุพฺภโว การเกิดขึ้น ชื่อว่าอุพภวะ (ซ้อน พฺ, วุทธิ อู เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว)
[๙๑] นิมิตฺตํ การณํ ฐานํ ปทํ พีชํ นิพนฺธนํ
นิทานํ ปภโว เหตุ สมฺภโว เสตุ ปจฺจโย.
เหตุ, ปัจจัย, นิมิต ๑๒ ศัพท์
นิมิตฺต (นิ+มา ปริมาเณ+ต) เหตุ, ปัจจัย, นิมิต.
อตฺตโน ผลํ นิมินาตีติ นิมิตฺตํ เหตุที่ให้ผลของตนเกิดขึ้น ชื่อว่านิมิตตะ (อาเทศ อา เป็น อิ, ซ้อน ตฺ). นิมิตฺตนฺติ ปจฺจยสฺส นามํ ๓ คำว่า นิมิตฺตํ เป็นชื่อของเหตุ
การณ (กร กรเณ+ยุ) เหตุ, ปัจจัย.
กโรติ ผลนฺติ การณํ เหตุที่ทำให้มีผล ชื่อว่าการณะ (วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). การณํ นปฺปชานามิ๔ ข้าพเจ้าไม่รู้เหตุ. อหํ โข กึ การณํ เอกํเสเนว ภยํ อากงฺขมาโน๕ เพราะเหตุอะไรหนอ ข้าพเจ้าจึงหวังได้แต่ภัยอย่างเดียวเท่านั้น
ฐาน (ฐา คตินิวตฺติมฺหิ+ยุ) เหตุ, ปัจจัย.
ติฏฺฐติ ผลเมตฺถาติ ฐานํ เหตุอันเป็นที่ตั้งของผล ชื่อว่าฐานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ). ตํ ฐานนฺติ ตํ การณํ ๖ คำว่า ตํ ฐานํ คือ เพราะเหตุนั้น
ปท (ปท คติมฺหิ+อ) เหตุ, ปัจจัย.
ปชฺชติ นิปชฺชติ ผลเมเตนาติ ปทํ เหตุที่ทำให้ผลเป็นไป ชื่อว่าปทะ
พีช (วิ+ชน ชนเน+กฺวิ) เหตุ, ปัจจัย, พันธุ์พืช.
วิเสเสน ชายเตติ พีชํ เหตุที่ทำให้ผลเกิดยิ่งขึ้น ชื่อว่าพีชะ (ทีฆะ อิ เป็น อี, อาเทศ วฺ เป็น พฺ, น เป็น อา, ลบ นฺ และ กฺวิ)
นิพนฺธน (นิ+พนฺธ พนฺธเน+ยุ) เหตุ, ปัจจัย.
นิสฺเสเสน อตฺตโน ผลํ พนฺธติ ปวตฺเตตีติ นิพนฺธนํ เหตุที่ยังผลของตนให้เป็นไปโดยไม่มีเหลือ ชื่อว่านิพันธนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)
๑ สำ.นิทาน. ๑๖/๗/๓ ๒ ที.มหา. ๑๐/๓๙/๓๕ ๓ องฺ.อฏฺ. ๑๔/๑๑/๒๘
๔ ที.มหา. ๑๐/๒๔๘/๓๐๐ ๕ มชฺ.อฏฺ. ๗/๔๙/๑๓๐ ๖ องฺ.อฏฺ. ๑๕/๑๙๕/๔๑๔
๑๔๖
นิทาน (นิ+ทา ทาเน+ยุ) เหตุ, ต้นเหตุ, นิทาน.
นิทียเต นิจฺฉียเต อเนนาติ นิทานํ, นิททาติ ผลนฺติ วา นิทานํ เหตุอันเป็นเครื่องกำหนด หรือแสดงผล ชื่อว่านิทานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ). ตสฺมาติหานนฺท เอเสว เหตุ เอตํ นิทานํ เอส สมุทโย เอส ปจฺจโย ชรามรณสฺส ยทิทํ ชาติ๑ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละอานนท์ มูล เหตุ ปัจจัยแห่งความแก่และความตาย ก็คือชาตินี่เอง
ปภว (ป+ภู สตฺตายํ+อ) เหตุ, ที่เริ่มต้น, แดนเกิด, ปัจจัย.
ปภวติ ผลํ เอตสฺมาติ ปภโว เหตุอันเป็นแดนเกิดของผล ชื่อว่าปภวะ (วุทธิ อู เป็น โอ, อาเทส โอ เป็น อว). โส เหตุ โส ปภโว๒ นั้นเป็นเหตุเป็นแดนเกิด
เหตุ (หิ คติมฺหิ+ตุ) เหตุ, ปัจจัย.
หิโนติ คจฺฉติ ปริณมติ การิยรูปตฺตนฺติ เหตุ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผล ชื่อว่าเหตุ (วุทธิ อิ เป็น เอ). หิโนติ วา ปติฏฺฐาติ ผลํ เอตฺถาติ เหตุ หรือสิ่งอันเป็นที่ตั้งของผล ชื่อว่าเหตุ (หิ ปติฏฺฐายํ+ตุ). หิโนติ วา ปวตฺตติ ผลํ เอเตนาติ เหตุ หรือธรรมที่เป็นเหตุให้ผลเป็นไป ชื่อว่าเหตุ (วุทธิ อิ เป็น เอ). โก นุ โข ภนฺเต เหตุ โก ปจฺจโย๓ ท่านผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยหรือ
สมฺภว (สํ+ภู สตฺตายํ+อ) เหตุ, ปัจจัย, การเกิด.
สมฺภวติ เยน ผลนฺติ สมฺภโว เหตุที่ทำให้เกิดผล ชื่อว่าสัมภวะ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, วุทธิ อู เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว, ลบสระหน้า). สพฺพุปาทานกฺขยา นตฺถิ ทุกฺขสฺส สมฺภโว๔ เพราะสิ้นอุปาทานทุกอย่าง เหตุแห่งทุกข์จึงไม่มี
เสตุ (สิ พนฺธเน+ตุ) เหตุ, ปัจจัย.
สิโนติ ผลํ พนฺธตีติ เสตุ เหตุที่เนื่องถึงผล ชื่อว่าเสตุ (วุทธิ อิ เป็น เอ). สีลํ เสตุ มเหสกฺโข ความเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีศีลเป็นเหตุ. ปจฺจโย หิ อิธ เสตูติ อธิปฺเปโต๕ บทว่า เสตุ ในที่นี้ ท่านหมายเอาเหตุ
ปจฺจย (ปติ+อิ คติมฺหิ+อ) เหตุ, ปัจจัย.
ปฏิจฺจ ผลเมตสฺมา เอตีติ ปจฺจโย เหตุที่ผลอาศัยเป็นไป ชื่อว่าปัจจยะ (อาเทศ ติ เป็น จ, ซ้อน จฺ, วุทธิ อิ ธาตุเป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). อยํ โข สาริปุตฺต เหตุ อยํ ปจฺจโย๖ สารีบุตร สิ่งนี้เป็นเหตุ สิ่งนี้เป็นปัจจัย
๑ ที.มหา. ๑๐/๕๘/๖๗ ๒ ขุ.เถรี. ๒๖/๔๗๔/๕๐๗ ๓ วิ.มหาวิ. ๑/๗/๑๒
๔ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๘๔/๑๒๒ ๕ อภิ.อฏฺ. ๕๓/๒๙๙/๒๗๖ ๖ วิ.มหาวิ. ๑/๗/๑๔
๑๔๗
[๙๒] การณํ ยํ สมาสนฺนํ ปทฏฺฐานํ ติ ตํ มตํ
ชีโว ตุ ปุริโสตฺตาถ ปธานํ ปกตีตฺถิยํ.
เหตุใกล้ผล, ปทัฏฐาน
ปทฏฺฐาน (ปท+ฐาน) เหตุใกล้ผล, ปทัฏฐาน.
ยํ การณํ สมาสนฺนํ อาสนฺนตรํ ผเลน, ตํ ปทฏฺฐานนฺติ เหตุที่ใกล้กับผล ชื่อว่าปทัฏฐานะ. ปทานํ เหตูนํ ฐานํ ปทฏฺฐานํ ที่ตั้งของเหตุ ชื่อว่าปทัฏฐานะ. โอตฺตปฺปญฺจ หิรี เจว ปทฏฺฐานนฺติ วณฺณิตํ ๑ โอตตัปปะและหิริ ท่านพรรณาว่าเป็นเหตุผลของกันและกัน
เหตุใกล้ผล มี ๓ อย่าง คือ
(๑) อุปาทานการณะ เหตุที่ถือเอาผล เช่น พีชํ องฺกุรสฺส เชื้อของหน่อ
(๒) สหการีการณะ เหตุที่ทำร่วมกันกับผล เช่น ภูมิชลํ น้ำและดิน
(๓) การณการณะ เหตุที่ทำผลให้เป็นเหตุ เช่น กมฺปสฺส การณํ ชโร, ตสฺส การณํ กโผ เหตุแห่งอาการหนาวสั่น คือความเจ็บป่วย เหตุบ่งบอกถึงความเจ็บป่วยนั้นคือเสลดเหนียว
ตัวตน, วิญญาณ, อาตมัน, อัตตา ๓ ศัพท์
ชีว (ชีว ชีวเน+อ) ตัวตน, วิญญาณ, อาตมัน, อัตตา.
ชีวนฺติ สตฺตา เยนาติ ชีโว อัตตาที่ทำให้สัตว์เป็นอยู่ ชื่อว่าชีวะ. อิเธว ชีวติ ชีโว เปจฺจ เปจฺจ วินสฺสติ๒ อัตตามีอยู่ในโลกนี้เท่านั้น ล่วงลับไปแล้วก็พินาศไป
ปุริส (ปุร ปูรเณ+อิส) ตัวตน, วิญญาณ, อาตมัน อัตตา.
ปูเรติ นิสฺสยสฺสาภิลาสนฺติ ปุริโส อัตตาที่ยังความอยากของสิ่งที่อาศัยตนให้บริบูรณ์ ชื่อว่าปุริสะ
อตฺต (อต คมเน+ต) ตัวตน, ตน, วิญญาณ, อาตมัน, อัตตา.
อตนฺติ สตตํ คจฺฉนฺติ สตฺตา เยนาติ อตฺตา ตัวตนที่ทำให้สัตว์เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ชื่อว่าอัตตะ. อาตุมา วุจฺจติ อตฺตา๓ อัตตาเรียกว่าตน
ปรกติ, ธาตุเดิม, ธาตุแท้ ๒ ศัพท์
ปธาน (ป+ธา ธารเณ+ยุ) ปรกติ, ธาตุเดิม, ธาตุแท้, สภาพเสมอกันของลักษณะ ๓ อย่าง คือโมหะ ราคะ โทสะ.
ปธียนฺเต ปลียนฺเต อตฺร คุณา สตฺตรโชตโมรูปาติ ปธานํ สภาพที่มีโมหะ ราคะและโทสะตั้งอยู่เสมอกัน ชื่อว่าปธานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ). โมหราคโทสานํ ยถาสงฺขยํ สตฺตรโชตมานีติ สญฺญา คำว่า "สตฺตรโชตมานิ" เป็นชื่อเรียกโมหะ ราคะ และโทสะ ตามลำดับ. ปกติ ปธานนฺติ วุจฺจติ๔ สภาพปรกติ เรียกว่าปธานะ
๑ ขุ.อฏฺ. ๔๕/๑๐/๑๑๙ ๒ ขุ.ชา. ๒๘/๖๑/๒๕ ๓ ขุ.มหานิ. ๒๙/๘๔/๘๑
๔ วิสุทฺธิ.ฏี. ๓/๒๑๓/๔๑๐
๑๔๘
ปกติ (ป+กร กรเณ+ติ) ปรกติ, ธาตุเดิม, ธาตุแท้, สภาพเสมอกันของคุณลักษณะ ๓ อย่าง คือ โมหะ ราคะ โทสะ.
ปกโรติ ปุริโสปโภคตฺถํ สทฺทาทิการิยนฺติ ปกติ สภาพที่เริ่มทำเสียงเป็นต้นให้สำเร็จ เพื่อการใช้สอยของบุคคล ชื่อว่าปกติ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุ)
[๙๓] ปาโณ สรีริ ภูตํ วา สตฺโต เทหี จ ปุคฺคโล
ชีโว ปาณี ปชา ชนฺตุ ชโน โลโก ตถาคโต.
สัตว์, บุคคล ๑๓ ศัพท์
ปาณ (ปาณ ชีวเน+อ) สัตว์, ผู้มีปราณ.
ปาณนฺติ ชีวนฺติ สตฺตา เยนาติ ปาโณ, โส ยสฺสตฺถิ, โส ปาโณ ลมปราณที่ช่วยให้สัตว์มีชีวิตอยู่ ชื่อว่าปาณะ, สัตว์ที่มีลมปราณ ชื่อว่าปาณะ. ปาโณ อปทํ ทฺวิปทํ จตุปฺปทํ พหุปฺปทํ ๑ สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์ ๒ เท้า สัตว์ ๔ เท้า สัตว์หลายเท้า
สรีรี (สรีร+อี) สัตว์, ผู้มีร่างกาย.
สรีรสงฺขาโต กาโย ยสฺสตฺถิ, โส สรีรี สัตว์ที่มีร่างกาย ชื่อว่าสรีรี (ลบสระหน้า)
ภูต (ภู สตฺตายํ+ต) สัตว์, ผู้เป็นไปตามกรรม.
กมฺเมน ภวตีติ ภูตํ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ชื่อว่าภูตะ. ภูตศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. ภวนฏฺเฐน ภูตํ ๒ สัตว์ชื่อว่าภูต เพราะมีอรรถว่าเป็นอยู่
สตฺต (สญฺช สงฺเค+ต) สัตว์, ผู้ติดอยู่ในอารมณ์.
รูปาทีสุ สฺญฺชตีติ สตฺโต, นิจฺฉนฺทราคาปิ รูฬฺหิยา สตฺตาติ วุจฺจนฺติ ผู้ยังเกี่ยวข้องอยู่ในรูปารมณ์เป็นต้น ชื่อว่าสัตตะ (ลบ ญฺชฺ, ซ้อน ตฺ). แม้ผู้ปราศจากฉันทราคะแล้ว ท่านก็ยังเรียกว่าสัตว์ตามสำนวนนิยม. เอวรูโปปิ นาม สตฺโต ภวิสฺสติ๓ สัตว์รูปร่างอย่างนี้มีอยู่
เทหี (เทห+อี) สัตว์, ผู้มีร่างกาย.
เทโห กาโย ยสฺสตฺถีติ เทหี สัตว์ผู้มีร่างกาย ชื่อว่าเทหี (ลบสระหน้า). สพฺเพปิ เทหิโน โหนฺตุ วิมุตฺติรสภาคิโน๔ ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิมุตติรส
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๙๐/๘๗ ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๔๓/๑๘๖ ๓ วิ.มหาวิ. ๑/๒๙๕/๒๑๑
๔ ขุ.อฏฺ. ๒๖/๘๐/๔๖๕
๑๔๙
ปุคฺคล (ปูติสทฺทูปปท+คล คลเน+อ) สัตว์, บุคคล.
ปูเรตีติ ปูติ, ปูติสงฺขาตํ อาหารํ คิลติ อทตีติ ปุคฺคโล ของเน่าที่เต็มอยู่ ชื่อว่าปูติ (ปูร ปูรเณ+ติ, ลบ รฺ), ผู้เคี้ยวกินของเน่าเป็นอาหาร ชื่อว่าปุคคละ (ลบ ติ, ซ้อน คฺ, รัสสะ อู เป็น อุ). สตฺตานํ อายุํ ปูเรนฺโต คจฺฉตีติ ปุคฺโค, ตํ ลาติ ภกฺขตีติ ปุคฺคโล อาหารที่ยังอายุของสัตว์ให้เต็มแล้วจึงเป็นไป ชื่อว่าปุคคะ, ผู้กินอาหารนั้น ชื่อว่าปุคคละ (ปุคฺคสทฺทูปปท+ลา ภกฺขเน+อ, ลบสระหน้า). ตโย ปุคฺคลา เสกฺโข ปุคฺคโล อเสกฺโข ปุคฺคโล เนวเสกฺโข นาเสกฺโข ปุคฺคโล๑ บุคคลมี ๓ จำพวก คือ ผู้ยังต้องศึกษา ผู้ไม่ต้องศึกษา และผู้จะต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่
ชีว (ชีว ชีวเน+อ) สัตว์, ผู้มีชีวิต.
ชีวนฺติ เยนาติ ชีวํ, ตมสฺสตฺถีติ ชีโว ลมปราณที่ช่วยให้สัตว์มีชีวิตอยู่ ชื่อว่าชีวะ, สัตว์ผู้มีชีวะ ชื่อว่าชีวะ. โปโส ปุคฺคโล ชีโว๒ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต
ปาณี (ปาณ+อี) สัตว์, ผู้มีปราณ.
ยถาวุตฺตตฺโถ ปาโณ ยสฺสตฺถีติ ปาณี สัตว์ผู้มีลมปราณ ชื่อว่าปาณี (ลบสระหน้า). กากา คิชฺฌา จ ขาทนฺติ เย จญฺเญ สนฺติ ปาณิโน๓ ฝูงกา ฝูงแร้งและสัตว์เหล่าอื่น พากันจิกกิน
ปชา (ป+ชน ชนเน+กฺวิ+อา) สัตว์, ประชา.
ปกาเรน ชาตตฺตา ปชา สัตว์ชื่อว่าปชา เพราะเกิดมาแตกต่างกัน (ลบ นฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ, ลบสระหน้า). โลโก สมารโก สพฺรหฺมโก สสฺสมณพฺราหฺมณี ปชา สเทวมนุสฺสา๔ มนุษยโลก มารโลก พรหมโลก สมณะ พราหมณ์ หมู่สัตว์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ชนฺตุ (ชน ชนเน+ตุ) สัตว์, ผู้เกิด, บุคคล.
ชายตีติ ชนฺตุ สัตว์ผู้เกิดมา ชื่อว่าชันตุ. โย ธมฺมลทฺธสฺส ททาติ ทานํ อุฏฺฐานวีริยาธิคตสฺส ชนฺตุ๕ บุคคลใดผู้เกิดมาให้ทานแก่ท่านผู้บรรลุธรรมด้วยความขยันหมั่นเพียร
ชน (ชน ชนเน+อ) สัตว์, ชน.
กุสลากุสลํ ชเนตีติ ชโน สัตว์ผู้ยังกุศลกรรมและอกุศลกรรมให้เกิด ชื่อว่าชนะ. ตเมนํ ชโน ทิสฺวา เอวํ วเทยฺย๖ ชนเห็นภาชนะสัมฤทธิ์นั้นแล้วพึงกล่าวอย่างนี้
โลก (ลุช วินาเส+ณ) สัตว์, สัตว์โลก.
ลุชฺชตีติ โลโก สัตว์ผู้จะพินาศ ชื่อว่าโลกะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ชฺ เป็น กฺ). กมฺมุนา วตฺตตี โลโก กมฺมุนา วตฺตตี ปชา๗ สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม
ตถาคต (ตถาสทฺทูปปท+คมุ คติมฺหิ+ต) สัตว์.
ยถา ปุริมกา สตฺตา ชาติชรามรณํ คจฺฉนฺติ ตถา อยมฺปิ คจฺฉตีติ ตถาคโต สัตว์พวกที่เกิดมาก่อนพากันไปสู่การเกิด ความแก่และความตาย ฉันใด สัตว์นี้ก็เป็นไปเหมือนกัน ฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคตะ (ลบ มฺ ที่สุดธาตุ). ตถาคโตติ สตฺโต๘ บทว่า ตถาคโต ได้แก่สัตว์
๑ ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๒๘/๒๓๐ ๒ ขุ.มหานิ. ๒๙/๕/๓ ๓ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๑๒/๓๖๓
๔ มชฺ.มูล. ๑๒/๓๖๘/๓๙๕ ๕ สำ.สคาถ. ๑๕/๙๘/๒๙ ๖ มชฺ.มูล. ๑๒/๗๐/๕๓
๗ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๘๒/๔๕๗ ๘ ที.อฏฺ. ๖/๑๘๙/๑๐๕
๑๕๐
[๙๔] รูปํ สทฺโท คนฺธรสา ผสฺโส ธมฺโม จ โคจรา
อาลมฺพา วิสยา เตฉา- รมฺมณา ลมฺพณานิ จ.
อารมณ์ ๖ อย่าง
รูป (รูป ปกาสเน+อ) รูป.
รูปยติ ปกาเสติ อตฺตโน สภาวนฺติ รูปํ รูปที่ประกาศสภาพของตน ชื่อว่ารูปะ. รุปฺปติ วิการํ อาปชฺชตีติ รูปํ สภาพที่ถึงความเปลี่ยนแปลงไป ชื่อว่ารูปะ (รุป รุปฺปเน+อ, ทีฆะ อุ เป็น อู). นอกจากนี้ รูปยังมีอรรถว่า กุปฺปนํ ความกำเริบ, ฆฏฺฏนํ การเสียดสี, ปีฬนํ ความบีบคั้น. ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า รุปฺปตีติ โข ภิกฺขเว ตสฺมา รูปนฺติ วุจฺจติ. เกน รุปฺปติ. สีเตนปิ รุปฺปติ, อุณฺเหนปิ รุปฺปติ, ชิฆจฺฉายปิ รุปฺปติ, ปิปาสายปิ รุปฺปติ, ฑํสมกสวาตาตปสิรีสปสมฺผสฺเสนปิ รุปฺปติ๑ ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น คำว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปท่านเรียกว่ารูป เปลี่ยนแปลงเพราะอะไร เปลี่ยนแปลงไป เพราะความเย็นบ้าง เพราะความร้อนบ้าง เพราะความหิวกระหายบ้าง เพราะเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานกัดต่อยบ้าง. รูปํ อนิจฺจํ ๒ รูปไม่เที่ยง
สทฺท (สปฺป อุจฺจารเณ+อ) เสียง.
ปฺปติ อุจฺจารียตีติ สทฺโท เสียงที่บุคคลพูด ชื่อว่า สัททะ (อาเทศ ปฺป เป็น ทฺท). สปฺปเต ญายเต อเนนาติ สทฺโท เสียงที่ให้รู้เนื้อความ ชื่อว่าสัททะ (สปฺป ญาเณ+อ, อาเทศ ปฺปฺ เป็น ทฺทฺ). สปนฺติ อเนนาติ สทฺโท เสียงที่ทำให้ได้ยิน ชื่อว่า สัททะ (สป สทฺเท+ท, อาเทศ ปฺ เป็น ทฺ). สทฺทียตีติ สทฺโท, สทฺทียติ อตฺโถ อเนนาติ วา สทฺโท เสียงที่บุคคลได้ยิน หรือเสียงที่ทำให้รู้เนื้อความ ชื่อว่าสัททะ (สทฺท สทฺทเน +อ). น ภิกฺขเว โส สทฺโท จิรํ ภวิสฺสติ๓ ภิกษุทั้งหลาย เสียงนั้นจักมีอยู่ไม่นาน
คนฺธ (คนฺธ ปกาสเน+อ) กลิ่น.
คนฺเธติ อตฺตโน วตฺถุํ สูเจติ ปกาเสตีติ คนฺโธ กลิ่นที่ประกาศวัตถุของตน ชื่อว่าคันธะ. คนฺโธ นาม โย โกจิ คนฺโธ๔ กลิ่นทุกอย่าง ชื่อว่ากลิ่น
รส (รส อสฺสาทเน+อ) รส.
รสนฺติ ตํ สตฺตา อสฺสาเทนฺตีติ รโส รสที่ทำให้สัตว์ยินดี ชื่อว่ารสะ. น วณฺโณ น คนฺโธ น รโส ปญฺญายติ๕ ไม่ปรากฏสี กลิ่นและรส
ผสฺส (ผุส สมฺผสฺเส+อ) สัมผัส, ผัสสะ.
ผุสียตีติ ผสฺโส สัมผัสที่สัตว์กระทบ ชื่อว่าผัสสะ (อาเทศ ผุส เป็น ผสฺส). สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา๖ เพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
ธมฺม (ธร ธารเณ+รมฺม) ธรรม.
ธรตีติ ธมฺโม สภาพที่ทรงไว้ ชื่อว่าธัมมะ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ รฺ ของปัจจัย)
๑ สำ.ขนฺธ. ๑๗/๑๕๙/๑๐๕ ๒ วิ.มหาวิ. ๒/๒๘๖/๑๙๒ ๓ วิ.มหาวิ. ๑/๗๔/๗๙
๔ วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๔๖๑/๒๔๙ ๕ วิ.มหา. ๕/๓๙/๔๙ ๖ วิ.มหา. ๔/๑/๑
๑๕๑
อารมณ์ ๔ ศัพท์
โคจร (โคสทฺทูปปท+จร จรเณ+อ) อารมณ์.
คาโว อินฺทฺริยานิ จรนฺเตฺยเตสุ โคจรา อารมณ์เป็นที่เที่ยวไปแห่งอินทรีย์ ชื่อว่าโคจระ. อฏฺฐ จิตฺตสฺส โคจรา๑ สังขารุเปกขาญาณ ๘ เป็นอารมณ์ของสมาธิจิต
อาลมฺพ, อาลมฺพณ (อา+ลพิ อาลมฺเพ+นิคฺคหีตาคม+อ) อารมณ์, ที่ยึดเหนี่ยวของจิต.
จิตฺต-เจตสิเกหิ อาลมฺพียนฺเตติ อาลมฺพา อารมณ์ที่จิตและเจตสิกยึดเหนี่ยวชื่อว่าอาลัมพะ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ). อารมฺมณํ อาลมฺพณํ นิสฺสยํ อุปนิสฺสยํ พฺรูหิ๒ ขอพระองค์จงตรัสบอกอารมณ์ ที่ยึดเหนี่ยว ที่อาศัย ที่เข้าไปอาศัย
วิสย (วิ+สิ พนฺธเน+ณ) อารมณ์, วิสัย.
วิสิโนนฺติ วิพนฺธนฺติ อินฺทฺริยานีติ วิสยา อารมณ์ที่ผูกพันอินทรีย์ไว้ ชื่อว่าวิสยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). คมฺภีโร วต พุทฺธานํ วิสโย๓ วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ลึกซึ้งจริงหนอ
อารมฺมณ (อา+รมุ รมเน+ยุ) อารมณ์.
อาคนฺตฺวา จิตฺตเจตสิกา รมนฺติ เอเตสุติ อารมฺมณานิ รูปเป็นต้นเป็นที่จิตและเจตสิกมายินดี จึงชื่อว่าอารัมมณะ (ซ้อน มฺ, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). สมุฏฺฐานํ ปุจฺฉติ อาหารํ ปุจฺฉติ อารมฺมณํ ปุจฺฉติ๔ ถามถึงสมุฏฐาน ถามถึงอาหาร ถามถึงอารมณ์
[๙๕] สุกฺโก โคโร สิโตทาตา ธวโล เสตปณฺฑรา
โสโณ ตุ โลหิโต รตฺโต ตมฺพมญฺเชฏฺฐโรหิตา.
สีขาว ๗ ศัพท์
สุกฺก (สุจ โสเก+อ) สีขาว.
โสจนฺติ เอเตน ตทตฺถิกาติ สุกฺโก สีขาวที่ทำให้ผู้ต้องการสีดำเศร้าโศก ชื่อว่าสุกกะ (อาเทศ จฺ เป็น กฺ, ซ้อน กฺ). พฺราหฺมโณว สุกฺโก วณฺโณ กณฺหา อญฺเญวณฺณา๕ พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ
โคร (คุ สทฺเท+ร) สีขาว.
คุยเต กิตฺตียเตติ โคโร สีขาวที่คนออกเสียงทักท้วง ชื่อว่าโคระ (วุทธิ อุ เป็น โอ)
๑ ขุ.ปฏิสมฺ. ๓๑/๑๓๕/๙๔ ๒ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๒๔๕/๑๒๗ ๓ ขุ.อฏฺ. ๓๓/๑๐๙๓/๕๐๔
๔ ขุ.มหานิ. ๒๙/๔๔๒/๓๐๕ ๕ ที.ปาฏิก. ๑๑/๕๑/๘๘
๑๕๒
สิต (สิ เสวายํ+ต) สีขาว.
เสวียเตติ สิโต สีขาวที่คนใช้สอย ชื่อว่าสิตะ. สิโนติ วา พนฺธติ จิตฺตนฺติ สิโต หรือสีที่ผูกจิตไว้ได้ ชื่อว่าสิตะ (สิ พนฺธเน+ต)
โอทาต (อว+ทา อวขณฺฑเน+ต) สีขาว.
อวทายติ สพฺพวณฺเณติ โอทาโต สีที่เอื้อเฟื้อ (เข้าได้กับ) ทุกสี ชื่อว่าโอทาตะ (อาเทศ อว เป็น โอ). กณฺโห จ วณฺโณ โอทาโต วณฺโณ๑ สีดำและสีขาว
ธวล (ธุ โสธเน+อล) สีขาว.
ธาวติ สุชฺฌติ อเนนาติ ธวโล สีที่ทำให้ดูสะอาด ชื่อว่าธวละ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว). ธวลจฺฉตฺตํ จ ปคฺคยฺห๒ และกั้นฉัตรสีขาว
เสต (สิ เสวายํ+ต) สีขาว.
เสวียเตติ เสโต สีขาวที่คนใช้สอย ชื่อว่าเสตะ (วุทธิ อิ เป็น เอ). เสโต หิมวตํ เสฏฺโฐ๓ ภูเขาสีขาวเป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่าหิมพานต์. เสตวณฺณํ ปพฺพเต อุฏฺฐหติ๔ เกลือสีขาวผุดขึ้นบนภูเขา
ปณฺฑร (ปฑิ คติยํ+นิคฺคหีตาคม+อร) สีขาว.
ปณฺฑติ ปกาเสตีติ ปณฺฑโร สีที่เจิดจ้า ชื่อว่าปัณฑระ (อาเทศนิคหิตเป็น ณฺ). อนาวิลํ มม จิตฺตํ วิสุทฺธํ ปณฺฑรํ สทา๕ จิตของเราไม่ ขุ่นมัว ขาวสะอาดบริสุทธิ์ทุกเมื่อ
สีขาวมีอีกหลายศัพท์ เช่น สุจ, วิสท, อชฺชุน
สีแดง ๖ ศัพท์
โสณ (โสณ วณฺเณ+ณ) สีแดง.
โสณวณฺณตาย โสโณ เพราะมีสีแดง จึงชื่อว่าโสณะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). รตฺตุปฺปลวณฺโณ สีแดงเหมือนดอกบัวแดง
โลหิต (รุห ชนเน+อิ+ต) สีแดง.
รุหตีติ โลหิโต สีแดงที่เกิดขึ้น ชื่อว่าโลหิตะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ รฺ เป็น ลฺ). ลตฺเต โลหิโต โลหิตศัพท์เป็นไปในสีเลือดสด. เอโก โลหิตวณฺโณ๖ นกตัวหนึ่งมีสีแดง
รตฺต (รญฺช ราเค+ต) สีแดง.
รฺญฺชนฺติ อเนนาติ รตฺโต สีแดงสำหรับย้อมวัตถุ ชื่อว่ารัตตะ (ลบ ญฺชฺ, ซ้อน ตฺ). โส รตฺตวณฺโณ โหติ๗ ต้นอ้อนั้นมีสีแดง
ตมฺพ (ตมฺพ วณฺเณ+ณ) สีแดง.
ตมฺโพ อุทุมฺพรสงฺขาโต โลหวิเสโส, ตพฺพณฺณตาย ตมฺโพ โลหะชนิดหนึ่งมีสีแดงมะเดื่อสุก ชื่อว่าตัมพะ, สีแดงชื่อว่าตัมพะ เพราะมีสีเช่นมะเดื่อสุกนั้น. น ตมฺพโลหมโย ปตฺโต ธาเรตพฺโพ๘ ภิกษุไม่ควรใช้บาตรทองแดง
มฺญฺเชฏฺฐ, มญฺเชฏฺฐก (มญฺเชฏฺ€า+ณ) สีแดง, สีบานเย็น.
มฺญฺเชฏฺฐา นาม รตฺตวลฺลี, ยาย หตฺถิทนฺตาทิวิกติโย รตฺตา ภวนฺติ, ตพฺพณฺณตาย มฺญฺเชฏฺโฐ เถาวัลย์แดง ชื่อว่ามัญเชฏฐา, วัตถุมีงาช้างเป็นต้นที่ย้อมด้วยเถาวัลย์สีแดงให้มีสีเช่นนั้น ชื่อว่ามัญเชฏฐะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). มญฺเชฏฺฐกณฺหจีวรา๙ จีวรสีแดงและสีดำ (ภิกษุไม่ควรใช้สอย)
โรหิต (รุห ชนเน+อิ+ต) สีแดง.
รุหตีติ โรหิโต สีแดงที่เกิดขึ้น ชื่อว่าโรหิตะ (วุทธิ อุ เป็น โอ). โรหิโต โลหิตสโม โรหิตศัพท์เหมือนกับ โลหิตศัพท์
๑ ขุ.มหานิ. ๒๙/๗๒๗/๔๒๙ ๒ ขุ.อฏฺ. ๕๐/๑๕๙๕/๒๔๐ ๓ สำ.สคาถ. ๑๕//๓๒๑/๙๗
๔ วิ.อฏฺ. ๓/๑๘๘ ๕ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๑/๒๔ ๖ องฺ.อฏฺ. ๑๖/๑๙๖/๘๑
๗ ชา.อฏฺ. ๔๐/๗๑ ๘ วิ.จุลฺล. ๗/๓๔/๑๗ ๙ วิ.จุลฺล. ๗/๖๑๓/๓๗๕
๑๕๓
[๙๖] นีโล กณฺหาสิตา กาโฬ เมจโก สามสามลา
สิตปีเต ตุ ปณฺฑุตฺโต อีสํ ปณฺฑุ ตุ ธูสโร.
สีดำ, สีเขียวคราม, สีนิล ๗ ศัพท์
นีล (นีล วณฺเณ+อ) สีดำนิล, สีเขียวคราม, สีเทาดำ.
นีลุปฺปลวณฺโณ วิย นีโล สีนิลเหมือนสี ดอกอุบลเขียว ชื่อว่านีละ. นีลศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. นีลํ นาม เทฺว นีลานิ กํสนีลํ ปลาสนีลํ๑ ชื่อว่าสีเขียวคราม ได้แก่สีเขียวคราม ๒ ชนิด คือ สีเขียวเหมือนสำริด และ สีเขียวเหมือนใบไม้
กณฺห (กส วิเลขเน+ณฺห) สีดำ, สีคล้ำ.
กสฺสเตติ กณฺโห สีดำที่ใช้ขีดเขียน ชื่อว่ากัณหะ (ลบ สฺ ที่สุดธาตุ). มํสจกฺขุมฺหิ ภควโต ปญฺจวณฺณา สํวิชฺชนฺติ นีโล จ วณฺโณ ปีตโก จ วณฺโณ โลหิโต จ วณฺโณ กณฺโห จ วณฺโณ โอทาโต จ วณฺโณ๒ พระมังสจักษุของพระผู้มีพระภาค มี ๕ สี คือ สีเขียวเข้ม สีเหลือง สีแดง สีดำและสีขาว
อสิต (น+สิต) สีดำ.
น สิโต อสิโต ไม่ใช่สีขาว ชื่อว่าอสิตะ (อาเทศ น เป็น อ)
กาฬ (กล สงฺขฺยาเน+ณ) สีดำ, สีคล้ำ.
วณฺเณสุ เอกโกฏฺฐาสภาเวน กลียเตติ กาโล, โส เอว กาโฬ สีที่นับว่าเป็นสีเดียวกันในสีทั้งหมด (เมื่อผสมสีทั้งหมดเข้าด้วยกันจะเป็นสีดำคล้ำ) จึงชื่อว่ากาละ, กาละนั่นแหละเป็นกาฬะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ล เป็น ฬ). อปิสฺส มํ อคฺคิเวสฺสน มนุสฺสา ทิสฺวา เอวมาหํสุ กาโฬ สมโณ โคตโมติ๓ อัคคิเวสสนะ หมู่มนุษย์เห็นเราแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดำไป
เมจก (มจ,มจิ กกฺกเน+ณฺวุ) สีดำ, สีเขียวคราม.
เสตาทิกํ มจตีติ เมจโก สีที่ทำลายสีขาวเป็นต้น ชื่อว่าเมจกะ (อาเทศ อ เป็น เอ, ณฺวุ เป็น อก)
สาม (สา ตนุกรเณ+ม) สีดำ, สีเขียวคราม, สีคล้ำ.
สายติ ตนุกรียติ ปฏิปกฺขวณฺเณหีติ สาโม สีที่ต้องใช้สีตรงข้ามผสมมาก ชื่อว่าสามะ. เอกจฺเจ มนุสฺสา เอวมาหํสุ น กาโฬ สมโณ โคตโม สาโม สมโณ โคตโมติ๔ มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ดำ แต่คล้ำไป
สามล (สา ตนุกรเณ+มล) สีดำ, สีเขียวคราม.
สายติ ตนุกรียติ ปฏิปกฺขวณฺเณหีติ สามโล สีที่ต้องใช้สีตรงข้ามผสมมาก ชื่อว่าสามะ
๑ วิ.มหาวิ. ๒/๖๒๐/๔๐๕ ๒ ขุ.มหานิ. ๒๙/๗๒๗/๔๒๙ ๓ มชฺ.มูล. ๑๒/๔๒๔/๔๕๖
๔ มชฺ.มูล. ๑๒/๔๒๔/๔๕๗
๑๕๔
สีที่ผสมกัน ๒ ศัพท์
ปณฺฑุ (ปฑิ คติยํ+นิคฺคหีตาคม+อุ) สีเหลืองอ่อน.
ปณฺฑุสทฺโท สิตปีเต อุตฺโต, สิตปีตสมฺมิสฺสิตวณฺเณ ปณฺฑุสทฺโท วุตฺโตตฺยตฺโถ ปณฺฑุศัพท์ท่านกล่าวไว้ในสีขาวเหลือง, หมายถึงใช้สีขาวผสมกับสีเหลือง. ปณฺฑติ เอกคณนํ คจฺฉตีติ ปณฺฑุ สีที่ถึงการนับว่าเป็นสีเดียวกัน ชื่อว่าปัณฑุ. กีสา ปณฺฑุ ภวิสฺสามิ๑ ดิฉันเป็นคนผอมเหลือง. สีเหลืองอ่อนมีอีกหลายศัพท์ เช่น หริณ, ปณฺฑุร
ธูสร (ธูส กนฺติกรเณ+อร) สีเทามอ.
อีสํปณฺฑุ อพฺยตฺตวณฺโณ ธูสโร นาม, ยถา ธูลิวณฺโณ สีเหลืองอ่อนไม่เข้มมาก ชื่อว่าธูสระ, เป็นเหมือนสีฝุ่นหรือสีควัน
[๙๗] อรุโณ กิฺจิ รตฺโตถ ปาฏโล เสตโลหิโต
อโถ ปีโต หลิทฺยาโภ ปลาโส หริโต หริ.
สีแดงอ่อน, สีชมพู ๒ ศัพท์
อรุณ (อร คมเน+อุณ) สีแดงอ่อน, สีชมพู.
กิญฺจิรตฺโต อพฺยตฺตวณฺโณ อรุโณ นาม, ยถา มจฺฉสฺส จกฺขุ, สูริยาโท อรุโณ วุตฺโต สีแดงอ่อนไม่เข้มมาก ชื่อว่าอรุณะ, เป็นเหมือนสีของตาปลา, สีแดงอ่อนของดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณเป็นต้น ท่านก็เรียกว่าอรุณะ. ตโต อรุณมตฺติกญฺจ โลหิตุปฺปลมาลญฺจ คณฺหิตฺวา เอหิ๒ ท่านจงนำเอาดินสีอรุณและดอกอุบลแดงจากสระนั้นมา
ปาฏล (ปฏ วิภาชเน+อล) สีแดงอ่อน, สีชมพู.
เสตโลหิโต เสตรตฺตมิสฺโส วณฺโณ ปาฏโล นาม, ยถา ปาฏลกุสุมํ สีขาวกับสีแดงผสมกันเป็นสีชมพู ชื่อว่าปาฏละ, เป็นเหมือนสี ดอกโกสุมชมพู. ปาฏยเตติ ปาฏโล สีขาวถูกผสมกับสีแดง ชื่อว่าปาฏละ (วุทธิ อ เป็น อา). เอตฺติกา โอทาตา เอตฺติกา กพรา เอตฺติกา ปาฏลา๓ แม่โคสีขาวมีเท่านี้ สีด่างมีเท่านี้ สีแดงอ่อนมีเท่านี้
สีเหลือง ๒ ศัพท์
ปีต (ปา ปาเน+ต) สีเหลือง.
ปีตวณฺณตาย ปีโต เพราะเป็นสีเหลือง จึงชื่อว่าปีตะ (อาเทศ อา เป็น อี). ทิสฺสมานอุปฑฺฒกาโย นีโล ปีโต โลหิโต โอทาโต๔ ร่างกายครึ่งหนึ่ง ที่มองเห็นมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
หลิทฺยาภ (หลิทฺที+อาภา+ณ) สีเหลือง.
หลิทฺทิยา อิว อาภา ยสฺสาติ หลิทฺยาโภ สีที่เหลืองเหมือนขมิ้น ชื่อว่าหลิทยาภะ (อาเทศ อี เป็น ย, ลบ ณฺ และสระหน้า, ลบ ทฺ หนึ่งตัว)
๑ ขุ.ชา. ๒๘/๑๐๘๑/๓๗๘ ๒ วิ.อฏฺ. ๒/๑๘๒ ๓ องฺ.อฏฺ. ๑๖/๘๙๘/๓๘๙
๔ ชา.อฏฺ. ๔๔/๔๑
๑๕๕
สีเขียว ๓ ศัพท์
ปลาส, ปาลาส (ป+ลส กนฺติยํ+อ) สีเขียวใบไม้.
อติสเยน ลสียเตติ ปลาโส, ปาลาโส สีที่สัตว์ชอบใจยิ่งนัก ชื่อว่าปลาสะและปาลาสะ (วุทธิ อ เป็น อา, ทีฆะ อ ที่ ป เป็น อา บ้าง). เอโก ปณฺฑุปลาสวณฺโณ๑ นกตัวหนึ่งมีสีเหลืองลายปนเขียว
หริต (หร หรเณ+อิ+ต) สีเขียวใบไม้.
มนํ หรตีติ หริโต สีที่นำใจไป ชื่อว่าหริตะ. หริโต ทุโมว เปรียบเหมือนต้นไม้สีเขียวสด. สนฺติ รุกฺขา หริตปตฺตา๒ มีต้นไม้ใบเขียวอยู่มาก
หริ (หร หรเณ+อิ) สีเขียวใบไม้.
มนํ หรตีติ หริ สีที่นำใจไป ชื่อว่าหริ. มญฺเชฏฺฐกํ หริวณฺณํ ๓ มีสีแดงและสีเขียว. หริวณฺณา มโนมยอสฺสราชาโน๔ พญาอัสดรชื่อมโนมยะมีสีเขียว
[๙๘] กฬาโร กปิโล นีล- ปีโตถ โรจนปฺปเภ
ปิงฺโค ปิสงฺโคปฺยถ วา กฬาราที ตุ ปิงฺคเล.
สีเขียวเหลือง ๒ ศัพท์
กฬาร (กล สงฺขฺยาเน+อร) สีเขียวเหลือง, สีตองอ่อน.
กฬารวณฺณตาย กฬาโร เพราะ เป็นสีเขียวเหลือง จึงชื่อว่ากฬาระ. นีลปีตสมฺมิสฺสวณฺเณ กฬาโร วตฺตนฺติ กฬารศัพท์เป็นไปในสีเขียวกับสีเหลืองผสมกัน (อาเทศ ลฺ เป็น ฬฺ, ทีฆะ อ เป็น อา)
กปิล (กพ วณฺเณ+อิล) สีเขียวเหลือง, สีตองอ่อน.
กปิลวณฺณตาย กปิโล เพราะเป็นสีเขียวเหลือง จึงชื่อว่ากปิละ (อาเทศ พฺ เป็น ปฺ). นีลปีตสมฺมิสฺสวณฺเณ กปิโล วตฺตนฺติ กปิลศัพท์เป็นไปในสีเขียวกับสีเหลืองผสมกัน (อาเทศ ลฺ เป็น ฬฺ, ทีฆะ อ เป็น อา)
สีน้ำตาลแดง ๒ ศัพท์
ปิงฺค (ปิงฺค+ณ) สีน้ำตาลแดง, สีเหมือนดอกงิ้ว, สีโคโรจนะ.
ปิงฺควณฺณตาย ปิงฺโค เพราะเป็นสีน้ำตาลแดง จึงชื่อว่าปิงคะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). โรจนปฺปเก โคโรจนสทิสปฺปภายํ ปิงฺโค ปิสงฺโค จ วตฺตนฺติ ปิงฺคและปิสงฺคศัพท์เป็นไปในสีเหมือนดอกงิ้วบานแดงเข้ม
ปิสงฺค (ปิสงฺค+ณ) สีน้ำตาลแดง, สีเหมือนดอกงิ้ว.
ปิสงฺควณฺณตาย ปิสงฺโค เพราะเป็นสีน้ำตาลแดง จึงชื่อว่าปิสงคะ (ลบ ณฺ และสระหน้า)
๑ องฺ.อฏฺ. ๑๖/๑๙๖/๘๗ ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๑๒๓๖/๒๕๗ ๓ อภิ.ธมฺมสงฺ. ๓๔/๕๒๑/๒๐
๔ ชา.อฏฺ. ๔๒/๓๒๕
๑๕๖
[๙๙] กมฺมาโส สพโล จิตฺโต สาโว ตุ กณฺหปีตเก
วาจฺจลิงฺคา คุณินฺเยเต คุเณ สุกฺกาทโย ปุเม.
สีด่าง, สีลาย ๓ ศัพท์
กมฺมาส (กล+มาส) สีด่าง, สีลาย.
กลียเตติ กโล, กโล เอว มาโส กมฺมาโส สีที่เขานับเอา ชื่อว่ากละ (กล สงฺขฺยาเน+อ), กละก็คือมาสะนั่นเอง จึงชื่อว่ากัมมาสะ (ลบ อ ที่ ล, อาเทศ ลฺ เป็น มฺ)
สพล (สพ คติยํ+อล) สีด่าง, สีลาย.
สพตีติ สพโล สีที่เป็นไปต่างๆ ชื่อว่าสพละ. สพลวณฺณตาย สพโล เพราะเป็นสีด่าง จึงชื่อว่าสพละ. โกกิลกณฺฐวณฺโณ วิย สีลายเหมือนสีที่คอนกดุเหว่า
จิตฺต, จิตฺร (จิ จเย+ต,ตฺร) สีด่าง, สีลาย, ลวดลาย.
จิยฺยเตติ จิตฺโต, จิตฺโร หลายสีมารวมกัน ชื่อว่าจิตตะและจิตระ (ซ้อน ตฺ). จิตฺตวณฺณตาย จิตฺโต จิตฺโร จ เพราะเป็นสีด่าง จึงชื่อว่าจิตตะและจิตระ
สีด่างมีอีกหลายศัพท์ เช่น กมฺมีร, กพฺพุร
สีดำคล้ำ
สาว (เส คติมฺหิ+อว) สีดำคล้ำ.
กณฺหปีตมิสฺเส สาโว วุตฺโต สาวศัพท์ถูกกล่าวไว้ในสีดำกับสีเหลืองผสมกัน. สยตีติ สาโว สีที่เป็นไป ชื่อว่าสาวะ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). กปิสศัพท์ ก็แปลว่า สีดำคล้ำ
กณฺหโลหิตมิสฺเส ธูมาเภ ปน ธูมธูมลา วตฺตนฺติ ส่วนธูมและธูมลศัพท์ถูกกล่าวไว้ในสีควันไฟ (สีควันบุหรี่) ที่มีสีดำกับสีแดงผสมกัน. ธูโม วิยาติ ธูโม, ธูมํ ลาตีติ ธูมโล สีเหมือนควัน ชื่อว่าธูมะ, สีที่ตัดกับสีควัน ชื่อว่าธูมละ. เมื่อสีเหล่านั้น ตั้งแต่ สุกฺก ถึง สาว รวม ๓๖ ศัพท์ ใช้เป็นคุณศัพท์ที่ขยายบทอื่น มีวิภัตติเหมือนกัน มีลิงค์ตามบทที่ตนขยายนั้นๆ เช่น สุกฺโก หํโส หงส์ขาว, สุกฺกา หํสี นางหงส์ขาว, สุกฺกํ หํสกุลํ พันธุ์หงส์ขาว. หากเป็นบทวิเสสยะ (บทตั้ง) จะเป็นปุงลิงค์อย่างเดียวเท่านั้น เช่น หํสสฺส สุกฺโก สีขาวแห่งหงส์ (หงส์สีขาว), ปณฺณานํ ปลาโส สีเขียวของใบไม้ (ใบไม้สีเขียว), ติณานํ หริโต สีเขียวของหญ้า (หญ้าสีเขียว), มยูรสฺส จิตฺโต สีลายแห่งนกยูง (นกยูงสีลาย), จีวรสฺส สาโว สีดำคล้ำแห่งจีวร (จีวรสีดำคล้ำ)
[๑๐๐] นจฺจํ นฏฺฏํ จ นฏนํ นตฺตนํ ลาสนํ ภเว
นจฺจนฺตุ วาทิตํ คีต- มิติ นาฏฺยมิทนฺตยํ.
การเต้นรำ, การฟ้อนรำ ๕ ศัพท์
นจฺจ (นต คตฺตวินาเม+ณฺย) การเต้นรำ, การฟ้อนรำ.
นตนํ นจฺจํ, นฏนํ วา นจฺจํ การฟ้อนรำ ชื่อว่านัจจะ (ลบ ณฺ, อาเทศ ตฺย เป็น จฺ, ซ้อน จฺ). นจฺจํ นาม ยงฺกิญฺจิ นจฺจํ ๑ การฟ้อนรำ ทุกอย่าง ชื่อว่านัจจะ. ทั้ง ๕ ศัพท์ เป็นภาวสาธนะทุกที่
นฏฺฏ (นฏ นจฺเจ+อ) การเต้นรำ, การฟ้อนรำ, นาฏศิลป์.
นฏนํ นฏฺฏํ การฟ้อนรำ ชื่อว่านัฏฏะ (ซ้อน ฏฺ). อุปโภคปริโภคสมฺปทญฺจ ปหาย ธมฺมสฺสวนตฺถํ อิธ สมาคตา, น นฏฺฏ-นาฏกาทิทสฺสนตฺถํ ๒ ละทิ้งสมบัติเครื่องอุปโภคบริโภคมาพร้อมกันในที่นี้เพื่อฟังธรรม มิใช่เพื่อชมการแสดงมีการฟ้อนรำเป็นต้น
๑ วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๘๓/๑๑๐ ๒ ขุ.อฏฺ. ๑๗/๒/๑๔
๑๕๗
นฏน (นฏ นจฺเจ+ยุ) การเต้นรำ, การฟ้อนรำ.
นฏียเต นฏนํ การฟ้อนรำ ชื่อว่านฏนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)
นตฺตน (นต คตฺตวินาเม+ยุ) การเต้นรำ, การฟ้อนรำ.
นตียเต นตฺตนํ การฟ้อนรำ ชื่อว่า นัตตนะ (ซ้อน ตฺ, อาเทศ ยุ เป็น อน)
ลาสน (ลส กนฺติยํ+ยุ) การเต้นรำ, การฟ้อนรำ.
ลสียเต ลสิตพฺพนฺติ วา ลาสนํ การฟ้อนรำที่คนยินดี ชื่อว่าลาสนะ (วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ยุ เป็น อน)
นาฏศิลป์
นาฏ, นาฏฺย (นฏ นจฺเจ+ณ,ณฺย) การแสดงละคร, นาฏยะ, นาฏศิลป์, การร้องรำ, การเต้นรำ, การขับร้อง, ดุริยางค์.
นจฺจํ วาทิตํ คีตํ อิติ อิทํ โตริยตฺติกํ นาฏฺยํ นาเมตฺยุจฺจเต องค์ ๓ แห่งดุริยางค์ คือ การฟ้อนรำ การบรรเลงดนตรีและการขับร้อง เรียกว่านาฏยะ (ลบ ณฺ และสระหน้า, วุทธิ อ เป็น อา). ตุรียนฺเต อเนนาติ ตูริยํ, มุรชาทิ เสียงที่ทำให้คนรีบไป ชื่อว่า ตูริยะ มีเสียงกลองเป็นต้น (ลง ณ ปัจจัยในตัพภาวะ มีรูปเป็น โตริยะ). เตน ลกฺขิตํ ติกํ โตริยตฺติกํ องค์ ๓ อย่างที่กำหนดเอาด้วยเสียงกลองเป็นต้นนั้น ชื่อว่าโตริยัตติกะ, หมายถึงองค์ประกอบของนาฏยะ ๓ อย่าง คือ การฟ้อนรำ การบรรเลงดนตรีและการขับร้อง
[๑๐๑] นจฺจฏฺฐานํ สิยา รงฺโค- ภินโย สูจฺยสูจนํ
องฺคหาโรงฺควิกฺเขโป นฏฺฏโก นฏโก นโฏ.
ลานฟ้อนรำ, โรงมหรสพ, เวที
รงฺค (รญฺช ราเค+อ) ลานฟ้อนรำ, โรงมหรสพ, เวที.
นจฺจฏฺฐานํ ราชงฺคณาทิ รงฺโค นาม สิยา สถานที่สำหรับฟ้อนรำมีลานหน้าพระตำหนักเป็นต้น ชื่อว่ารังคะ. รมนฺตา คจฺฉนฺติ เอตฺถ, รชฺชนฺติ เอตฺถาติ วา รงฺโค ลานฟ้อนรำที่บุคคลผู้ยินดีพากันไป หรือสถานที่ซึ่งบุคคลยินดี ชื่อว่ารังคะ (อาเทศ ช เป็น ค, ญฺ เป็นนิคหิต, และนิคหิตเป็นวัคคันตะ งฺ)
การแสดง, ท่าทาง, การร่ายรำ, ท่ารำ, ระบำ
อภินย (อภิ+นี ปาปุณนโพธเนสุ+ณ) การแสดง, ท่าทาง, การร่ายรำ, ท่ารำ, ระบำ.
สูจฺยสูจนํ หตฺถาทีหิ สูจิตพฺพสฺส ปกาเสตพฺพสฺส สตฺถปฺปหาราทิโน สูจนํ ปกาสนํ อภินโย นาม การแสดงท่าทางต่างๆ มีการปรบมือและท่ารำกระบี่ด้วยมือเป็นต้น ชื่อว่าอภินยะ. นยนํ นโย, ปสฺสนฺตานํ อภิมุขํ นโย อภินโย การแสดง ชื่อว่านยะ, การแสดงต่อหน้าคนดู ชื่อว่าอภินยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). กามสฺสาทสํยุตฺตา อาการทสฺสนกา อภินยา๑ อภินยะคือการร่ายรำให้เกิดความยินดีในกาม. พฺยญฺชนกศัพท์ก็เป็นชื่อของการร่ายรำ
๑ สำ.อฏฺ. ๑๓/๓๕๔/๑๖๔
๑๕๘
การยกมือยกเท้าร่ายรำ ๒ ศัพท์
องฺคหาร (องฺค+หาร) การยกมือยกเท้าร่ายรำ, ท่ารำ.
องฺคสฺส หาโร องฺคหาโร การขยับร่างกายร่ายรำ ชื่อว่าอังคหาระ
องฺควิกฺเขป (องฺค+วิกฺเขป) การยกมือยกเท้าร่ายรำ, ท่ารำ.
องฺคสฺส วิกฺเขโป องฺควิกฺเขโป การขยับร่างกายร่ายรำ ชื่อว่าอังควิกเขปะ
นักแสดง, ผู้ฟ้อนรำ ๓ ศัพท์
นฏฺฏก (นฏ นจฺเจ+ณฺวุ) นักแสดง, ผู้ฟ้อนรำ.
นจฺจตีติ นฏฺฏโก ผู้ฟ้อนรำ ชื่อว่านัฏฏกะ (ซ้อน ฏฺ, อาเทศ ณฺวุ เป็น อก)
นฏก (นฏ นจฺเจ+ณฺวุ) นักแสดง, ผู้ฟ้อนรำ.
นจฺจตีติ นฏโก ผู้ฟ้อนรำ ชื่อว่านฏกะ (อาเทศ ณฺวุ เป็น อก)
นฏ (นฏ นจฺเจ+อ) นักแสดง, ผู้ฟ้อนรำ.
นจฺจตีติ นโฏ ผู้ฟ้อนรำ ชื่อว่านฏะ
[๑๐๒] สิงฺคาโร กรุโณ วีรา- พฺภุตหสฺสภยานกา
สนฺโต พีภจฺฉรุทฺทานิ นว นาฏฺยรสา อิเม.
นาฏยรส ๙ อย่าง
นาฏยรสมี ๙ อย่างเหล่านี้ คือ สิงคาระ ความรัก, กรุณะ ความสงสาร, วีระ ความกล้าหาญ, อัพภุตะ ความน่าอัศจรรย์, หาสะ ความสนุกสนาน, ภยานกะ ความน่ากลัว, สันตะ ความสงบสุข, พีภัจฉะ ความน่ารังเกียจ, รุททะ การร้องไห้เศร้าโศก
สิงฺคาราทโย นว รสา นาฏฺยรสา อสฺสาทนียตฺตา รสทั้ง ๙ อย่าง มีความรักเป็นต้น ชื่อว่านาฏยรส เพราะเป็นเหตุให้เกิดความบันเทิง. ยถา หิ นานาพฺยฺญฺชนสงฺขตมนฺนํ ภุญฺฺชนฺตา รเส อสฺสาทยนฺติ สุมนา ปุริสา หาสํว อธิคจฺฉนฺติ, ตถา นานาภินยพฺยฺญฺชเต องฺคสตฺโตเปเต ฐายีภาเว อสฺสาทยนฺติ สุมนา บุคคลบริโภคข้าวมีกับหลายอย่าง ย่อมพอใจในรสอาหาร มีความเบิกบานสบายใจ ฉันใด ผู้ยินดีในสัดส่วนของร่างกายที่ยักย้ายร่ายรำท่าต่างๆ ต่อหน้า ย่อมมีความเบิกบานใจ ฉันนั้น
สิงฺคาร (สร คติหึสาจินฺตาสุ+อาร) ความรัก.
เปเมน สรติ คจฺฉตีติ สิงฺคาโร อาการที่เป็นไปด้วยความรัก ชื่อว่าสิงคาระ (อาเทศ สรฺ เป็น สิงฺคฺ)
กรุณ (กร กรเณ+อุณ+อา) ความสงสาร.
สาธูนํ หทยกมฺปนํ กโรตีติ กรุณา, สา อสฺสตฺถีติ กรุโณ, โสโกปจยสภาโว กรุโณ สภาพที่ทำจิตใจของคนดีให้หวั่นไหว ชื่อว่ากรุณา (ลบสระหน้า), อาการที่มีความสงสารนั้น ชื่อว่ากรุณะ (กรุณา+ณ, ลบ ณฺ และสระหน้า), ความสงสารเกิดจากความเศร้าโศก
วีร (วี กมเน+ร) ความกล้าหาญ.
อุตฺตมภาวํ เวติ ยาตีติ วีโร สภาพที่ไปสู่ความประเสริฐสุด ชื่อว่าวีระ. อุสฺสาหวฑฺฒโน วีโร ความกล้าหาญเกิดจากความอุตสาหะ. ส จายํ ทานวีโร ธมฺมวีโร ยุทฺธวีโรติ ติวิโธ ความกล้าหาญนั้นมี ๓ อย่าง คือ กล้าในการให้ กล้าในการประพฤติธรรม และกล้าในการต่อสู้
อพฺภุต (น+ภู สตฺตายํ+ต) ความน่าอัศจรรย์.
น ปุพฺเพ ภวตีติ อพฺภุโต สิ่งที่ไม่เคยมี ชื่อว่าอัพภุตะ (อาเทศ น เป็น อ, ซ้อน พฺ, รัสสะ อู เป็น อุ). วิมฺหโยปจยวฑฺฒโน อพฺภุโต ความน่าอัศจรรย์เกิดจากความตื่นตาตื่นใจ
๑๕๙
หาส (หส หสเน+ณ) ความสนุกสนาน.
หสนํ หาโส ความสนุกสนาน ชื่อว่าหาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). หาโสปจยสภาโว หาโส ความสนุกสนานเกิดจากความบันเทิง
ภยานก (ภี ภเย+อานก) ความน่ากลัว.
ภายติ เอตสฺมาติ ภยานกํ สิ่งที่บุคคลกลัว ชื่อว่าภยานกะ (วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). ภโยปจยสภาโว ภยานโก ความกลัวเกิดจากภัยอันตราย
สนฺต (สมุ อุปสเม+ต) ความสงบสุข.
สมนํ สนฺโต ความสงบสุข ชื่อว่าสันตะ (อาเทศ มฺ เป็น นฺ). สมโณปจยสภาโว สนฺโต สภาพที่เกิดจากความสงบ ชื่อว่าสันตะ
พีภจฺฉ (พีภจฺฉ ชิคุจฺฉายํ+อ) ความน่ารังเกียจ.
พีภจฺฉนํ พีภจฺฉํ ความน่ารังเกียจ ชื่อว่าพีภัจฉะ. ชิคุจฺโฉปจยสภาโว พีภจฺโฉ สภาพที่เกิดจากความน่ารังเกียจ ชื่อว่าพีภัจฉะ
รุทฺท (รุส โรเส+ท) การร้องไห้เศร้าโศก.
รุสตีติ รุทฺทํ อาการร้องไห้ ชื่อว่ารุททะ (อาเทศ สฺ เป็น ทฺ). โกโธปจยสภาโว รุทฺทํ สภาพที่เกิดจากความโกรธ ชื่อว่ารุททะ
ตั้งแต่ สิงฺคาร ถึง สนฺต ศัพท์เป็นปุงลิงค์, พีภจฺฉ และ รุทฺท ศัพท์เป็นนปุงสกลิงค์
[๑๐๓] โปสสฺส นาริยํ โปเส อิตฺถิยา สงฺคมมฺปติ
ยาปิหา เอส สิงฺคาโร รติกีฬาทิการโณ.
ความรักที่อาศัยการอยู่ร่วมกันระหว่างบุรุษกับสตรี หรือสัตว์ตัวผู้กับสัตว์ตัวเมีย โดยมีการเสพเมถุนและการเล่นสนุกสนานเป็นต้นเป็นเหตุ ชื่อว่าสิงคาระ
[๑๐๔] อุตฺตมปฺปกติปฺปาโย อิตฺถีปุริสเหตุโก
โส สมฺโภโค วิโยโคติ สิงฺคาโร ทุวิโธ มโต.
ความรัก ๒ อย่าง
ความรักอันแน่นแฟ้นของบุรุษต่อสตรีหรือของสตรีต่อบุรุษ มี ๒ อย่าง คือ สัมโภคะ ความรักเวลาอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข วิโยคะ ความรักเวลาพลัดพรากจากกัน
สมฺโภค (สํ+ภุช ปาลนชฺโฌหรเณสุ+ณ) ความรักเวลาอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข.
สหภุญฺชนํ อนุภวนํ สมฺโภโค การร่วมทุกข์ร่วมสุข ชื่อว่าสัมโภคะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ชฺ เป็น คฺ)
วิโยค (วิ+ยุช โยเค+ณ) ความรักเวลาพลัดพรากจากกัน.
วิยุชฺชนํ นานาภวนํ วิโยโค การพลัดพรากจากกัน ชื่อว่าวิโยคะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ชฺ เป็น คฺ)
ความรักมีอีกหลายศัพท์ เช่น สุจิ, อุชฺชล
๑๖๐
[๑๐๕] ภาสิตํ ลปิตํ ภาสา โวหาโร วจนํ วโจ
อุตฺติ วาจา คิรา วาณี ภารตี กถิตา วจี.
คำพูด ๑๓ ศัพท์
ภาสิต (ภาส วิยตฺติยํ วาจายํ+อิ+ต) คำพูด, ภาษิต.
ภาสิตพฺพนฺติ ภาสิตํ คำที่ควรพูด ชื่อว่าภาสิตะ. อตฺตมนา ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุนฺติ๑ ภิกษุปัญจวัคคีย์พอใจ พากันสรรเสริญภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลปิต (ลป วจเน+อิ+ต) คำพูด, ถ้อยคำ, การเจรจา.
ลปิตพฺพนฺติ ลปิตํ คำที่ควรพูด ชื่อว่าลปิตะ. ปุพฺเพ หสิตํ ลปิตํ กีฬิตํ สมนุสฺสรามิ๒ ข้าพเจ้าหวนระลึกถึงการหัวเราะ การเจรจา การเล่นในกาลก่อน
ภาสา (ภาส วิยตฺติยํ วาจายํ+อ+อา) คำพูด, ภาษา.
ภาสียเตติ ภาสา คำที่บุคคลพูด ชื่อว่าภาสา. ตสฺส เจ อานนฺท ภิกฺขุโน อิมินา วิหาเรน วิหรโต ภาสาย จิตฺตํ นมติ๓ อานนท์ หากภิกษุอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด
โวหาร (วิ,อว+หร หรเณ+ณ, โวหาร วจเน+อ) คำพูด, โวหาร, สำนวน.
โวหรียเตติ โวหาโร คำที่บุคคลเรียก ชื่อว่าโวหาระ (อาเทศ อว เป็น โอ, ลบสระหน้า, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). พุทฺธสฺส ภควโต โวหาโร โลกุตฺตโร๔ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเป็นโลกุตตระหรือ
วจน (วจ วิยตฺติยํ วาจายํ+ยุ) คำพูด, ถ้อยคำ, พจน์.
วุจฺจเตติ วจนํ คำที่บุคคลกล่าว ชื่อว่าวจนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน). โส นาหํ ตุยฺหํ วจนํ กริสฺสามิ๕ ข้าพเจ้าจักไม่ทำตามคำพูดของท่าน
วจ (วจ วิยตฺติยํ วาจายํ+อ) คำพูด, ถ้อยคำ.
วุจฺจเตติ วโจ คำที่บุคคลกล่าว ชื่อว่าวจะ. วจศัพท์เป็นมโนคณะ แจกเหมือน มนศัพท์. ตํ สุโณม วโจ ตว๖ พวกเราเชื่อฟังคำนั้นของท่าน
อุตฺติ (วจ วิยตฺติยํ วาจายํ+ติ) คำพูด, ถ้อยคำ.
อุจฺจเตติ อุตฺติ คำที่บุคคลกล่าว ชื่อว่าอุตติ (อาเทศ ว เป็น อุ, ลบ จฺ, ซ้อน ตฺ)
วาจา (วจ วิยตฺติยํ วาจายํ+ณ+อา) คำพูด, วาจา.
วุจฺจเตติ วาจา คำที่บุคคลพูด ชื่อว่าวาจา (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า). ทุฏฺฐุลฺลา นาม วาจา วจฺจมคฺคปสฺสาวมคฺคเมถุน-ธมฺมปฏิสํยุตฺตา วาจา๗ วาจาชื่อว่าชั่วหยาบ คือคำพูดเกี่ยวกับทวารหนัก ทวารเบา และการเสพเมถุน
คิรา (เค สทฺเท+อิร+อา) คำพูด, ถ้อยคำ, วาจา.
คิณนฺติ สทฺทายนฺติ ตนฺติ คิรา, คายิตพฺพาติ วา คิรา คำที่บุคคลพูด หรือคำที่ควรสวด ชื่อว่าคิรา (ลบสระหน้า). วาจา คิรา พฺยปโถ อุทีรณํ โฆโส๘ การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าวประกาศ
วาณี (วา สทฺเท+ยุ+อี) คำพูด, ถ้อยคำ, คำพูดแทงใจ.
วายเต สทฺทายเตติ วาณี คำที่บุคคลพูด ชื่อว่าวาณี (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบ อ). ปเรสํ มมฺมวิชฺฌนฏฺเฐน วาโณ วิยาติ วา วาณี หรือคำพูดที่เป็นดุจเข็ม เพราะอรรถว่าแทงจุดอ่อนของบุคคลอื่น จึงชื่อว่าวาณี (วาณ+อี, ลบสระหน้า)
๑ วิ.มหา. ๔/๒๔/๒๘ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๓๐/๔๕ ๓ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๓๔๘/๒๓๘
๔ อภิ.กถา. ๓๗/๖๗๑/๒๔๔ ๕ วิ.มหาวิ. ๑/๒๒๕/๑๖๔
๖ สำ.สคาถ. ๑๕/๙๓๙/๓๔๖ ๗ วิ.มหาวิ. ๑/๓๙๘/๒๗๕
๘ อภิ.ธมฺมสงฺ. ๓๔/๕๒๙/๒๑๓
๑๖๑
ภารตี (ภรต+ณี) คำพูด, ถ้อยคำ.
ภรโต นาม สตฺถกาโร อิสิ ฤษีผู้เป็นช่างทำพิธีกรรม ชื่อว่าภรตะ. ตสฺเสสา ภารตี คำพูดของภรตะฤษีนั้น ชื่อว่าภารตี (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า)
กถิตา (กถ กถเน+อิ+ต+อา) คำพูด, ถ้อยคำ.
กถียเตติ กถิตา คำที่บุคคลพูด ชื่อว่ากถิตา (ลบสระหน้า)
วจี (วจ วิยตฺติยํ วาจายํ+อ+อี) คำพูด, ถ้อยคำ.
วุจฺจเตติ วจี คำที่บุคคลพูด ชื่อว่าวจี (ลบสระหน้า). ยสฺส วจี ขรา๑ คำพูดของบุคคลใดกระด้าง
คำพูดมีอีกหลายศัพท์ เช่น พฺรหฺมี, สโรวตี
[๑๐๖] เอกาขฺยาโต ปทจโย สิยา วากฺยํ สการโก
อาเมฑิตนฺติ วิฺญเญยฺยํ ทฺวตฺติกฺขตฺตุมุทีรณํ.
วากยะ, ประโยค
วากฺย (วจ วยตฺติยํ วาจายํ+ณฺย) วากยะ, พากย์, ประโยค, คำพูด.
วตฺตพฺพนฺติ วากฺยํ เนื้อความที่ควรกล่าว ชื่อว่าวากยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ จฺ เป็น กฺ). หนฺท วากฺยํ สุโณม เต๒ ข้าพระพุทธเจ้าจักฟังพระดำรัสของพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า
เอกาขฺยาโต ปทจโย สิยา วากฺยํ สการโก หมายถึงหมู่บท (ประโยค) ที่มีอาขยาต ๑ บท พร้อมด้วยการกะ ตั้งแต่ ๑-๖ บท ทั้งที่เป็นวิเสสยะและวิเสสนะ ชื่อว่าวากยะ เช่น เวสฺสนฺตโร ราชา สุขวิปากํ กมฺมํ กโรติ พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญกรรมอันให้ผลเป็นความสุข. ปุริโส คจฺฉติ บุรุษคนหนึ่งกำลังไป. อาขฺยาตคฺคหณญฺฺเจตฺถ กฺริยาสทฺโทปลกฺขณํ อาขฺยาตศัพท์ในที่นี้รวมเอาศัพท์กิริยา กิตก์อื่นก็ชื่อว่าวากยะด้วย เช่น เทวทตฺโต กฏํ กตฺวา เทวทัตทอเสื่อ
ในอมรโกสอภิธานกล่าววากยะไว้ด้วยลักษณะ ๒ อย่าง คือ ติสฺยาทฺยนฺตจโย วากฺยํ, กฺริยา วา การกานฺวิตา บทที่มี ติ วิภัตติ (อาขยาต) และ สิ วิภัตติ (นาม) เป็นต้น ประกอบอยู่ท้ายบท รวมกันเข้าหลายๆ บท เป็นวากยะ หรือประโยคที่มีกิริยาอาขยาตตามหลังการกะ (นาม) และมีเนื้อความสัมพันธ์เข้ากันได้ ชื่อว่าวากยะ เช่น อุจฺจํ ปฐติ สวดเสียงสูง, โอทนํ ปจติ หุงข้าว, ราชา คจฺฉติ พระราชาเสด็จไป. อาทิศัพท์หมายเอาวากยะที่มีกิริยาอื่นจากอาขยาต อยู่ท้ายประโยค เช่น ราชา คโต พระราชาเสด็จไปแล้ว
๑ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๓๓/๔๑๖ ๒ วิ.ปริ. ๘/๑๐๑๙/๓๖๓
๑๖๒
เอเกกวณฺโณ อกฺขโร อกฺขรสมูโห ปทํ
ปทสมูโห วากฺยํ วากฺยสมูโห คนฺโถ.๑
วัณณะตัวหนึ่งๆ เรียกว่าอักษร, การรวมกันของอักษร เรียกว่าบท,
การรวมกันของบท เรียกว่าวากยะ, การรวมกันของวากยะ เรียกว่าคัมภีร์
คำพูดซ้ำ
อาเมฑิต (อา+เมฑิ อุมฺมาทเน+อิอาคม+ต) คำพูดซ้ำ.
อาเมฑิตํ ตุ วิญฺเญยฺยํ ทฺวตฺติกฺขตฺตุมุทีรณํ คำพูดซ้ำ ๒-๓ ครั้ง เพราะหวาดกลัวเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นอาเมฑิตะ เช่น สปฺโป สปฺโป งู ๆ, วิชฺฌ วิชฺฌ แทงเลย ๆ, ภาตา ภาตา พี่ ๆ
[๑๐๗] ภเย โกเธ ปสํสายํ ตุริเต โกตูหลจฺฉเร
หาเส โสเก ปสาเท จ กเร อาเมฑิตํ พุโธ.
เวลากล่าวคำพูดซ้ำ
บัณฑิตท่านกล่าวคำพูดซ้ำไว้ในเวลาหวาดกลัว เวลาโกรธ การสรรเสริญ เวลารีบเร่ง เวลาโกลาหล (ฉุกละหุก) เวลาอัศจรรย์ เวลาดีใจ เวลาเศร้าโศก และเวลาเลื่อมใส
อาเมฑิตสฺส วิสยํ ทสฺเสตุมาห ท่านกล่าวอุทาหรณ์เพื่อแสดงอารมณ์ของการกล่าวคำพูดซ้ำ ดังนี้
ในเวลาหวาดกลัว เช่น สปฺโป สปฺโป งู ๆ, โจโร โจโร โจร ๆ
ในเวลาโกรธ เช่น วิชฺฌ วิชฺฌ แทง ๆ, ปหร ปหร ตี ๆ
ในการสรรเสริญ เช่น สาธุ สาธุ ดีแล้ว ๆ
ในเวลารีบเร่ง เช่น คจฺฉ คจฺฉ ไป ๆ, ลุนาหิ ลุนาหิ เกี่ยว ๆ
ในเวลาโกลาหล เช่น อาคจฺฉ อาคจฺฉ มา ๆ
ในเวลาอัศจรรย์ เช่น พุทฺโธ พุทฺโธติ จินฺตยนฺโต รำพึงอยู่ว่า "พุทโธ พุทโธ"
ในเวลาดีใจ เช่น อภิกฺกมถายสฺมนฺโต อภิกฺกมถายสฺมนฺโต ผู้มีอายุ เชิญก้าวไป ๆ
ในเวลาเศร้าโศก เช่น กหํ เอกปุตฺตก, กหํ เอกปุตฺตก ลูกน้อยคนเดียว (ของแม่)
เจ้าอยู่ที่ไหน ๆ
ในเวลาจิตใจเบิกบาน เช่น อโห สุขํ อโห สุขํ สุขจริงหนอ ๆ
จสทฺโท อวุตฺตสมุจฺจยตฺโถ จศัพท์ในคาถานี้มีอรรถอวุตตสมุจจยะรวมเอาอรรถที่ยังไม่ได้กล่าวถึง คือ ครหายํ ในเวลาติเตียน, สมฺมาเน ในเวลาชมชอบ
ในเวลาติเตียน เช่น ปาโป ปาโป บาป ๆ
ในเวลาชมชอบ เช่น อภิรูปก อภิรูปก พ่อรูปหล่อ ๆ
๑ โปราณาจริยวจนํ
๑๖๓
[๑๐๘] อิรุ นารี ยชุ สาม- มิติ เวทา ตโย สิยุํ
เอเตเอว ตยี นารี เวโท มนฺโต สุติตฺถิยํ.
คัมภีร์ไตรเพท ๓ คัมภีร์
อิรุ (อิจ ถุติยํ+อุ) คัมภีร์อิรุเวท, ฤคเวท.
อิจฺจนฺเต เทวา เอตายาติ อิรุ เวทที่เทวดาพากันใช้กล่าวคำสรรเสริญ จึงชื่อว่าอิรุ (อาเทศ จฺ เป็น รฺ). อิรุ นารี อิรุศัพท์เป็นอิตถีลิงค์
ยชุ (ยช เทวปูชายํ+อุ) คัมภีร์ยชุเวท, ยชุรเวท.
ยชนฺเต อเนนาติ ยชุ เวทที่มนุษย์ใช้กล่าวคำบูชาเทวดา ชื่อว่ายชุ
สาม (สา ตนุกรณาวสาเนสุ+ม) คัมภีร์สามเวท.
โสยนฺติ ปาปมเนนาติ สามํ เวทที่ช่วยให้บาปสิ้นสุด (เวทที่ใช้สวดสะเดาะเคราะห์) ชื่อว่าสามะ
คัมภีร์เวท ๓ ศัพท์
เวท (วิท าเณ+ณ) คัมภีร์เวท, มนต์, อาคม.
วิทนฺติ ธมฺมเมเตหีติ เวทา วิชาที่ช่วยให้บัณฑิตรู้ธรรม ชื่อว่าเวทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ)
มนฺต (มุน าเณ+ต) คัมภีร์เวท, มนต์, อาคม.
ติกํ เวเท มุนาติ ชานาติ ธมฺมํ อเนนาติ มนฺโต วิชาที่ช่วยให้รู้ข้อปฏิบัติหมวด ๓ ในคัมภีร์เวท ชื่อว่ามันตะ (อาเทศ อุ เป็น อ)
สุติ (สุ สวเณ+ติ) คัมภีร์เวท, มนต์, อาคม.
สุยฺยเต ธมฺมํ เอตายาติ สุติ วิชาที่ช่วยให้ฟังธรรมเข้าใจ ชื่อว่าสุติ. สุติตฺถิยํ สุติศัพท์เป็นอิตถีลิงค์
เอเต เอว ตโย เวทา ตยี นาม คัมภีร์เวททั้ง ๓ (คือ อิรุ ยชุ สามะ) นั่นแหละ เรียกว่าตยี, ตโย อวยวา อสฺสาติ ตยี คัมภีร์เวทชื่อว่าตยี เพราะมีคัมภีร์ทั้ง ๓ เป็นองค์ประกอบ. ตยี นารี ตยีศัพท์เป็นอิตถีลิงค์
[๑๐๙] อฏฺฐโก วามโก วาม- เทโว จงฺคีรโส ภคุ
ยมทคฺคิ จ วาสิฏฺโฐ ภารทฺวาโช จ กสฺสโป
เวสฺสามิตฺโตติ มนฺตานํ กตฺตาโร อิสโย อิเม.
ฤษีผู้รจนาคัมภีร์เวท ๑๐ ท่าน
ฤษีผู้รจนาคัมภีร์เวทมนต์มี ๑๐ ท่านเหล่านี้ คือ อฏฺฐโก วามโก วามเทโว เวสฺสามิตฺโต ยมทคฺคิ องฺคีรโส ภารทฺวาโช วาสิฏฺโฐ กสฺสโป ภคุ๑ อัฏฐกฤษี วามกฤษี วามเทวฤษี เวสสามิตตฤษี ยมทัคคิฤษี อังคีรสฤษี ภารทวาชฤษี วาสิฏฐฤษี กัสสปฤษี และภคุฤษี
๑ วิ.มหาวิ. ๕/๘๖/๑๒๒
๑๖๔
อฏฺฐก (อตฺถสทฺทูปปท+กร กรเณ+กฺวิ) อัฏฐกฤษี.
อตฺถํ หิตํ อตฺเถ วา สตฺเถ กโรตีติ อฏฺฐโก ฤษีผู้รจนาเนื้อความที่เป็นประโยชน์ไว้ในคัมภีร์อัตถศาสตร์ ชื่อว่าอัฏฐกะ (อาเทศ ตฺถ เป็น ฏฺฐ เหมือนกับคำว่า อตฺถกถา เป็น อฏฺฐกถา, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ)
วามก (วามสทฺทูปปท+กร กรเณ+กฺวิ) วามกฤษี.
วามํ กลฺยาณวจนํ กโรตีติ วามโก ฤษีผู้รจนาถ้อยคำอันไพเราะ ชื่อว่าวามกะ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ). รสฺสสรีรตฺตา วา วามโน, โส เอว วามโก หรือเพราะท่านฤษีเป็นผู้มีร่างกายเตี้ย จึงชื่อว่าวามนะ, วามนะนั่นแหละเป็น วามกะ (อาเทศ น เป็น ก)
วามเทว (วาม+เทว) วามเทวฤษี.
วาโม นาม หโร, โส เทโว อสฺส วามเทโว พระศิวะมีชื่อว่าวามะ, ฤษีที่มีวามศิวะนั้นเป็นเทพเจ้า จึงชื่อว่าวามเทวะ
คัมภีร์นานัตถสังคหะกล่าวว่า
วามํ สพฺเย ปตีเป จ ทวิเณ จาติสุนฺทเร,
ปโยธเร หเร กาเม ชญฺญา วามมนิตฺถิยํ.
พึงทราบว่า วามศัพท์เป็นไปในเป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ มีอรรถว่า สัพยะ ข้างซ้าย, ปตีปะ ทวิณะ อติสุนทระ งดงามยิ่ง, ปโยธระ เต้านมผู้หญิง, หระ พระศิวะ, กามะ กามเทพ
องฺคิรส (องฺคิรส+ณ) อังคีรสฤษี.
องฺคิรสสฺส อิสิโน อปจฺจํ องฺคิรโส ฤษีผู้เป็นลูกหลาน ของอังคีรสฤษี ชื่อว่าอังคิรสะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). อถวา องฺคิมฺหิ กาเย รโส สิทฺธิปฺปตฺโต ปารโท ยสฺสาติ องฺคิรโส อีกอย่างหนึ่ง ฤษีผู้มีแร่ปรอทที่ให้ถึงความสำเร็จอยู่ในร่างกาย จึงชื่อว่าอังคิรสะ
ภคุ (ภร ภรเณ+อุ) ภคุฤษี.
ภรตีติ ภคุ ฤษีผู้เลี้ยงดู ชื่อว่าภคุ (อาเทศ รฺ เป็น คฺ). ภํ นกฺขตฺตํ คจฺฉติ ชานาตีติ ภคุ ฤษีผู้รู้ดวงดาว ชื่อว่าภคุ (ภสทฺทูปปท+คมุ คติมฺหิ+กฺวิ, อาเทศ คมฺ เป็น คุ, ลบ กฺวิ)
ยมทคฺคิ (ยมท+อคฺคิ) ยมทัคคิฤษี.
ยมํ สํยมํ ททาติ ปเรสนฺติ ยมโท จ โส ทกฺขิเณยฺ-ยคฺคิตฺตา อคฺคิ เจติ ยมทคฺคิ, รามสฺส ปิตา ฤษีผู้ให้ความสงบจิตแก่บุคคลอื่น ชื่อว่ายมทะ (ยมสทฺทูปปท+ทา ทาเน+อ), ฤษียมทะนั้นเป็นไฟด้วย เพราะเป็นเช่นไฟที่ควรแก่การบูชา (ในลัทธิพราหมณ์) จึงชื่อว่ายมทัคคิ, ได้แก่ฤษีผู้เป็นบิดาของพระราม
วาสิฏฺฐ (วสิฏฺฐ+ณ) วาสิฏฐฤษี.
วสิฏฺฐสฺส อปจฺจํ วาสิฏฺโฐ ฤษีผู้เป็นลูกหลานของวสิฏฐะ ชื่อว่าวาสิฏฐะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า)
ภารทฺวาช (ภารทฺวาช+ณ) ภารทวาชฤษี.
ภารทฺวาชสฺส อปจฺจํ ภารทฺวาโช ฤษีผู้เป็นลูกหลานของภารทวาชะ ชื่อว่าภารทวาชะ (ลบ ณฺ และสระหน้า)
๑๖๕
กสฺสป (กสฺสป+ณ) กัสสปฤษี.
กสฺสปสฺส อปจฺจํ กสฺสโป ฤษีผู้เป็นลูกหลานของกัสสปะ ชื่อว่ากัสสปะ (ลบ ณฺ และสระหน้า)
เวสฺสามิตฺต (เวสฺสามิตฺต+ณ) เวสสามิตตฤษี.
เวสฺสามิตฺตสฺส อปจฺจํ เวสฺสามิตฺโต ฤษีผู้เป็นลูกหลานของเวสสามิตตะ ชื่อว่าเวสสามิตตะ (ลบ ณฺ และสระหน้า)
[๑๑๐] กปฺโป พฺยากรณํ โชติ- สตฺถํ สิกฺขา นิรุตฺติ จ
ฉนฺโทวิจิติ เจตานิ เวทงฺคานิ วทนฺติ จ.
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวถึงคัมภีร์ที่เป็นองค์ประกอบของคัมภีร์เวทไว้ ๖ คัมภีร์ คือ คัมภีร์กัปปะ คัมภีร์พยากรณะ คัมภีร์โชติสัตถะ คัมภีร์สิกขา คัมภีร์นิรุตติ และคัมภีร์ฉันโทวิจิติ
เวทางคศาสตร์ คัมภีร์องค์ประกอบของคัมภีร์เวทมี ๖ คัมภีร์
กปฺป (กปฺป อาทิกมฺเม+ณ) คัมภีร์กัปปศาสตร์.
กปฺปเต ปภวตีติ กปฺโป คัมภีร์ที่เป็นเบื้องต้น ชื่อว่ากัปปะ. ยญฺญกมฺมานมุปเทสโก กปฺโป คัมภีร์กัปปะว่าด้วยวิธีร่ายเวทมนต์เบื้องต้น รจนาโดยโพธายนฤษี
พฺยากรณ (วิ+อา+กร กรเณ+ยุ) คัมภีร์ไวยากรณ์.
วิเสเสน อากรียนฺเต ปกติจฺจาทินา อาพฺยาปาทฺยนฺเต อเนน สทฺทาติ พฺยากรณํ คัมภีร์ที่บัณฑิตอาศัยจำแนกศัพท์ต่างๆ ออกเป็นรูปปรกติเป็นต้น ชื่อว่าพยากรณะ (อาเทศ อิ เป็น ย, วฺ เป็น พฺ, ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). สาธุสทฺทานมนฺวาขฺยายกํ พฺยากรณํ คัมภีร์ไวยากรณ์กล่าวเนื้อความไปตามรูปศัพท์ที่ถูกต้องชัดเจนมีคัมภีร์ปาณินีเป็นต้น
โชติสตฺถ (โชติ+สตฺถ) คัมภีร์โชติศาสตร์, โหราศาสตร์.
โชติสตฺถํ คณนสตฺถํ สุภาสุภกมฺมผลโชตนกํ คัมภีร์โชติศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการคำนวณดูผลของกรรมดีและกรรมชั่ว เพื่อให้รู้ความเจริญและความเสื่อมของมนุษย์
สิกฺขา (สิกฺข สิกฺขเน+อ+อา) คัมภีร์สิกขาศาสตร์.
สิกฺขนฺเต อชฺฌายนฺเต เอตายาติ สิกฺขา, อการทิวณฺณานํ ฐานกรณปยตนานํ ปฏิปาทิกา คัมภีร์ที่ช่วยให้สวดฐาน กรณ์และ ปยตนะของอักษรมี อ เป็นต้น ได้อย่างถูกต้อง ชื่อว่าสิกขา เช่น คัมภีร์ปาณินีสิกขาและคัมภีร์นารทสิกขา เป็นต้น
นิรุตฺติ (นิ+อุตฺติ) คัมภีร์นิรุตติศาสตร์.
นิจฺฉเยน นิสฺเสสโต วา อุตฺติ นิรุตฺติ คัมภีร์ ที่กล่าวตัดสินทุกอย่าง ชื่อว่านิรุตติ. หมายถึงแสดงวิธีแยกศัพท์ให้เห็นศัพท์เดิมว่าเป็นธาตุ ปัจจัย และวิภัตติอะไร พร้อมทั้งแสดงความหมายโดยรูปวิเคราะห์และอักขรวิธีของคำศัพท์ไว้ ๕ วิธี คือ อาคมะ (การลงอักษรอาคม) อาเทสะ (การเปลี่ยนแปลงรูปอักษร) โลปะ (การลบอักษร) ทีฆะ (การทำอักษรเสียงสั้นให้ยาว) และรัสสะ (การทำอักษรเสียงยาวให้สั้น) รจนาโดยยาสกฤษี
ฉนฺโทวิจิติ (ฉนฺท+วิจิติ) คัมภีร์ฉันโทวิจิติ, ฉันทศาสตร์.
ฉนฺทสิ อนุฏฺฐุภาทิวุตฺตานํ ปฏิปาทิกา ฉนฺโทวิจิติ คัมภีร์ที่แสดงฉันทลักษณ์ในคัมภีร์ฉันท์ มีอนุฏฐุภฉันท์เป็นต้น รจนาโดยอาจารย์ปิงคละ ชื่อว่าฉันโทวิจิติ (อาเทศสระที่สุดของมโนคณศัพท์เป็น โอ ท่ามกลางสมาส)
๑๖๖
[๑๑๑] อิติหาโส ปุราวุตฺตปฺ- ปพนฺโธ ภารตาทิโก
นามปฺปกาสกํ สตฺถํ รุกฺขาทีนํ นิฆณฺฑุ โส.
บทประพันธ์ต้นแบบ, พงศาวดาร
อิติหาส (อิติหสทฺทูปปท+อส ภุวิ+อ) บทประพันธ์ต้นแบบ, พงศาวดาร.
อิติโห อตฺถิ อสฺมินฺติ อิติหาโส คัมภีร์ที่มีบทประพันธ์ต้นแบบอยู่ ชื่อว่าอิติหาสะ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). บทประพันธ์ที่บัณฑิตประพันธ์ไว้ในกาลก่อนมีมหาภารตะเป็นต้น เรียกว่าอิติหาสะ. อิติหาสสทฺโท ปารมฺปริโยปเทเส นิปาโต (บางอาจารย์กล่าวว่า) อิติหาสศัพท์เป็นนิบาตแสดงความหมายเป็นบทประพันธ์
คัมภีร์นิฆัณฑุ, พจนานุกรมบาลี
นิฆณฺฑุ (นิ+ฆฑิ ราสิกรเณ+อุ) คัมภีร์นิฆัณฑุ, พจนานุกรมบาลี.
ตตฺถ ตตฺถาคตานิ นามานิ นิสฺเสสโต ฆเฏนฺติ ราสีกโรนฺติ เอตฺถาติ นิฆณฺฑุ คัมภีร์ที่รวบรวมนามศัพท์ที่มาในที่ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ชื่อว่านิฆัณฑุ (ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น ณฺ). วจนียวาจกภาเวน อตฺถํ สทฺทญฺฺจ นิฆณฺฑติ ภินฺทติ วิภชฺช ทสฺเสตีติ วา นิฆณฺฑุ คัมภีร์ที่แสดงการจำแนกอรรถและศัพท์โดยเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงและผู้กล่าว ชื่อว่านิฆัณฑุ. คัมภีร์นิฆัณฑุนี้ แสดงนามบัญญัติมี รุกฺขศัพท์เป็นต้น และศัพท์ที่เป็นไวพจน์ของรุกฺขศัพท์, แสดงความหมายหลายอย่างในศัพท์เดียว และแสดงหลายศัพท์ในความหมายเดียว เป็นต้น
นิฆัณฑุ หมายถึงคัมภีร์อภิธานที่เก่าแก่ที่สุด เป็นคัมภีร์ที่อาจารย์โมคคัลลานเถระอาศัยในการรจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาเป็นต้น, นิฆณฺฑุศัพท์เป็นปุงลิงค์
[๑๑๒] วิตณฺฑสตฺถํ วิญฺเญยฺยํ ยํ ตํ โลกายตํ อิติ
เกฏุภํ ตุ กฺริยากปฺป- วิกปฺโป กวินํ หิโต.
คัมภีร์วิตัณฑะใดมีอยู่ คัมภีร์วิตัณฑะนั้น พึงทราบว่าเป็นคัมภีร์โลกายตะ ส่วนคัมภีร์จินตกวี ว่าด้วยเรื่องบทประพันธ์ของบัณฑิตที่มีประโยชน์ต่อนักกวีทั้งหลาย ชื่อว่าเกฏุภะ (คัมภีร์อลังการะ)
คัมภีร์โลกายตศาสตร์, คัมภีร์วิตัณฑะ ๒ ศัพท์
วิตณฺฑ (วิ+ตนุ วิตฺถาเร+ฑ) คัมภีร์โลกายตศาสตร์, คัมภีร์วิตัณฑะ.
อญฺญมญฺญวิรุทฺธํ สคฺคโมกฺขวิรุทฺธํ วา ตโนนฺติ เอตฺถาติ วิตณฺโฑ คัมภีร์ว่าด้วยเรื่องที่ตรงข้ามกันและกัน หรือเรื่องที่ขัดแย้งกับสวรรค์และนิพพานโดยพิสดาร ชื่อว่าวิตัณฑะ (อาเทศ นฺ เป็น ณฺ). วิรุทฺเธน วา วาททณฺเฑน ตาเฬนฺติ เอตฺถ วาทิโนติ วิตณฺโฑ หรือคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องโต้แย้งด้วยวาทะที่รุนแรง (โต้วาที) ของนักโต้วาทีทั้งหลาย ชื่อว่าวิตัณฑะ (วิ+ตฑิ ตาฬเน+อ, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น ณฺ). วิตณฺฑวาที ปน เอกจิตฺตกฺขณิโก นาม มคฺโค นตฺถิ๑ อาจารย์ผู้สอนคัมภีร์วิตัณฑะกล่าวว่า มรรคเพียงขณะจิตเดียวไม่มี
๑ มชฺ.อฏฺ. ๘/๕๐๐/๓๑๑
๑๖๗
โลกายต (โลกสทฺทูปปท+อา+ยต วายาเม+อ) คัมภีร์โลกายตศาสตร์.
โลเก อายตนฺติ เอตฺถาติ โลกายตํ คัมภีร์ว่าด้วยเรื่องความพยายามในโลก ชื่อว่าโลกายตะ. โลกา พาลโลกา เอตฺถ อายตนฺติ อุสฺสหนฺติ วายมนฺติ วาทสฺสาเทนาติ โลกายตํ ชาวโลก ผู้โง่เขลาพากันพยายามในคัมภีร์นี้ เพราะหลงเชื่อในวาทะ ฉะนั้น คัมภีร์นี้จึงชื่อว่าโลกายตะ. อายตึ หิตํ เตน โลโก น ยตติ น อีหตีติ วา โลกายตํ คัมภีร์ที่สอนให้ชาวโลกไม่พยายามทำสิ่งที่เป็นประโยชน์อีกต่อไป จึงชื่อว่าโลกายตะ. ตฺญฺหิ คนฺถํ นิสฺสาย สตฺตา ปุญฺญกฺริยาย จิตฺตมฺปิ น อุปฺปาเทนฺติ สัตว์โลกอาศัยคัมภีร์นี้แล้วไม่สามารถยังจิตให้ยินดีในการบำเพ็ญบุญให้เกิดขึ้นได้อีกเลย. เนื้อหาในคัมภีร์โลกายตะนี้สอนผิดจากความเป็นจริง เช่น สอนว่า ในโลกนี้ นกกาขาว นกกระยางดำ เป็นต้น. น ภิกฺขเว โลกายตํ ปริยาปุณิตพฺพํ, โย ปริยาปุเณยฺย อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส๑ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ควรศึกษาคัมภีร์โลกายตะ ภิกษุใดขืนศึกษา ต้องอาบัติทุกกฎ
คัมภีร์เกฏุภะ ๒ ศัพท์
เกฏุภ (กิฏ คติยํ+อภ) คัมภีร์เกฏุภะ, คัมภีร์อลังการะ.
โย กวีนํ ปณฺฑิตานํ หิโต กวิตฺตโภคสมฺปตฺตาทิปโยชนกโร กฺริยากปฺปวิกปฺโป กวีนํ กฺริยาสงฺขาตกปฺปพนฺธนวิธิวิธายโก สุโพธาลงฺการาทิโก คนฺโถ, โส เกฏุภํ นาม คัมภีร์ว่าด้วยเรื่องจินตกวีที่เกื้อกูลต่อบัณฑิตผู้เป็นนักกวี สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น ได้โภคสมบัติจากความเป็นนักกวีเป็นต้น เป็นคัมภีร์ที่แสดงวิธีการประพันธ์ชนิดต่างๆ ที่เป็นภูมิความรู้ของนักกวี มีคัมภีร์สุโพธาลังการะเป็นต้น จึงชื่อว่าเกฏุภะ. กิฏนฺติ คจฺฉนฺติ โกสลฺลํ กวโย พนฺธเนสุ เอเตนาติ
เกฏุภํ คัมภีร์ที่ช่วยให้นักกวีถึงความเป็นผู้ฉลาดในบทประพันธ์ จึงชื่อว่าเกฏุภะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ อ เป็น อุ)
นิรุตฺติยา จ กุสโล นิฆณฺฑุมฺหิ วิสารโท
ปทโก เกฏุภวิทู ฉนฺโทวิจิติโกวิโท.๒
ผู้ฉลาดในคัมภีร์นิรุตติ แตกฉานในคัมภีร์นิฆัณฑุ เข้าใจไวยากรณ์ รู้ชัดในคัมภีร์เกฏุภะ ชำนาญในคัมภีร์ฉันท์และกาพย์กลอน
กฺริยากปฺปวิกปฺป (กฺริยากปฺป+วิกปฺป) คัมภีร์เกฏุภะ, คัมภีร์อลังการะ, คัมภีร์จินตกวี, บทร่ายกวี.
วจีเภทาทิลกฺขณา กฺริยา กปฺปียติ วิกปฺปียติ เอเตนาติ กฺริยากปฺโป คัมภีร์ว่าด้วยบทร่ายกวีพจน์ชนิดต่างๆ ชื่อว่ากริยากัปปะ. โส ปน วณฺณปทสมฺพนฺธปทตฺถาทิวิภาคโต อติพหุ วิกปฺโปติ อาห "กฺริยากปฺปวิกปฺโป"ติ เพราะเป็นคัมภีร์ที่แสดงจินตนาการหลากหลาย โดยจำแนกเนื้อความให้สัมพันธ์กับบทเป็นต้น ท่านจึงเรียกโดยเพิ่มเติมบทว่า วิกปฺป เข้าไปเป็น กฺริยากปฺปวิกปฺป มีคัมภีร์นยจริตะเป็นต้น
๑ วิ.จุลฺล. ๗/๑๘๑/๗๐ ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๓๗/๒๔๐
๑๖๘
[๑๑๓] อาขฺยายิโกปลทฺธตฺถา ปพนฺธกปฺปนา กถา
ฑณฺฑนีตฺยตฺถสตฺถสฺมึ วุตฺตนฺโต ตุ ปวตฺติ จ.
ชีวประวัติบุคคลสำคัญ ๒ ศัพท์
อาขฺยายิกา (อา+ขฺยา กถเน+ย+ณฺวุ+อา) ชีวประวัติ.
อาขฺยายเต นายกานุสาสกจริตมสฺสนฺติ อาขฺยายิกา บทประพันธ์เกี่ยวกับแนวการสอนของผู้นำศาสนาต่างๆ ชื่อว่า อาขยายิกา (อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, อ เป็น อิ, ลบสระหน้า)
อุปลทฺธตฺถา (อุปลทฺธ+อตฺถ+อา) ชีวประวัติ.
อุปลทฺโธ เกนปฺยตฺโถ ยสฺสํ สา อุปลทฺธตฺถา บทประพันธ์เกี่ยวกับชีวประวัติที่ได้เนื้อหาเดิมเป็นหลัก ชื่อว่าอุปลัทธัตถา. หมายถึงบทประพันธ์ชีวประวัติของบุคคลสำคัญ เช่น ศาสดา เจ้าลัทธิและครูต่างๆ เป็นต้น
บทประพันธ์การทำนาย ๒ ศัพท์
ปพนฺธกปฺปนา (ปพนฺธ+กปฺปน+อา) บทประพันธ์การทำนาย.
ปพนฺเธเนว จ สวิตฺถาเรน กปฺปนํ ยสฺสํ สา ปพนฺธกปฺปนา, กาทมฺพรีปภุติ การทำนายด้วยบทประพันธ์ให้มีความพิสดาร ชื่อว่าปพันธกัปปนา ได้แก่คัมภีร์กาทัมพรีเป็นต้น (ลบสระหน้า)
กถา (กถ กถเน+อ+อา) บทประพันธ์การทำนาย.
กถียตีติ กถา บทประพันธ์ที่บัณฑิตกล่าวไว้ ชื่อว่ากถา (ลบสระหน้า)
คัมภีร์อัตถศาสตร์, บทลงโทษ, กฎหมาย ๒ ศัพท์
อตฺถสตฺถ (อตฺถ+สตฺถ) คัมภีร์อัตถศาสตร์, บทลงโทษ, กฎหมาย.
อตฺถา ภูมิหิรญฺญาทโย อัตถะ ได้แก่ แผ่นดินและเงินเป็นต้น. ตตฺร ปธานํ ภูมิ อิตเรสํ ตปฺปภวตฺตา, เตสํ อชฺชเน ปาลเน จ อุปายภูตํ สตฺถํ อตฺถสตฺถํ, ปยานกฺยาทิปณีตํ แผ่นดินเป็นประธานในสิ่งเหล่านั้น เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งอื่น, ศาสตร์ว่าด้วยอุบายในการดูแลรักษาแผ่นดินเป็นต้น ชื่อว่าอัตถสัตถะ
ทณฺฑนีติ (ทณฺฑ+นีติ) คัมภีร์อัตถศาสตร์.
ตสฺมึ ทณฺฑนีติสทฺโท ปวตฺโต ทณฺฑนีติศัพท์เป็นชื่อในคัมภีร์อัตถศาสตร์นั้น. สามาทีนํ จตุตฺโถปาโย วธพนฺธนาทิลกฺขโณ ทณฺโฑ, ตสฺส นีติ ปณยนํ ทณฺฑนีติ อุบาย ๔ อย่าง ของคัมภีร์สามเวทเป็นต้น ซึ่งมีการฆ่าและการจองจำเป็นต้นเป็นลักษณะ ชื่อว่าทัณฑะ, กฎข้อบังคับของทัณฑะนั้น ชื่อว่าทัณฑนีติ
เรื่องราว, ข่าว, หนังสือข่าวสาร ๒ ศัพท์
วุตฺตนฺต (วุตฺต+อนฺต) เรื่องราว, ข่าว, หนังสือข่าวสาร.
วุตฺโต อนุวตฺตนีโย อนฺโต ปริสมตฺติ ยสฺส อตฺตโน การิยภาคสฺส ปาปนโตติ วุตฺตนฺโต เรื่องราวที่เป็นไปตามที่มีผู้กล่าวไว้แล้วจนถึงที่สุด(จบ) ชื่อวุตตันตะ (ลบสระหน้า)
ปวตฺติ (ป+วต วตฺตเน+ติ) เรื่องราว, ข่าว, หนังสือข่าวสาร.
ปวตฺตนฺเต การิยา ยสฺสํ ปวตฺติ หนังสือที่มีการแสดงเรื่องที่ผ่านไปจนจบ (สรุปเรื่องราวทั้งหมด) ชื่อว่าปวัตติ
๑๖๙
[๑๑๔] สญฺญาขฺยาวฺหา สมญฺญา จา- ภิธานํ นามมวฺหโย
นามเธยฺยาธิวจนํ ปฏิวากฺยํ ตุ อุตฺตรํ.
ชื่อ, นาม ๙ ศัพท์
สญฺา (สํ+า อวโพธเน+กฺวิ) ชื่อ, นาม.
สฺชานนฺติ เอตายาติ สญฺา ชื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้บุคคล ชื่อว่าสัญญา (อาเทศนิคหิตเป็น ญฺ, ลบ กฺวิ)
อาขฺยา (อา+ขฺยา กถเน+กฺวิ) ชื่อ, นาม.
อาขฺยายเต เอตายาติ อาขฺยา ชื่อเป็นคำใช้เรียกบุคคล ชื่อว่าอาขยา (ลบ กฺวิ)
อวฺหา (อา+เวฺห อวฺหาเน+อ+อา) ชื่อ, นาม.
อวฺหยเต เอตายาติ อวฺหา ชื่อที่ใช้เรียกบุคคล ชื่อว่าอวหา (รัสสะ อา เป็น อ, ลบสระหน้า)
สมญฺา (สมํ+า อวโพธเน+กฺวิ) ชื่อ, นาม, สมัญญา, สมญานาม.
สมฺมา ชานาติ สมํ วา ชานาติ เอตายาติ สมญฺา ชื่อที่ทำให้รู้จักบุคคลได้ดี ชื่อว่าสมัญญา (อาเทศนิคหิต เป็น ญฺ, ลบ กฺวิ). ตสฺส ปเทสสฺส อยํ สมญฺา๑ นี้เป็นชื่อของสถานที่นั้น
อภิธาน (อภิ+ธา กถเน+ยุ) ชื่อ, นาม.
อภิธียเต เอเตนาติ อภิธานํ ชื่อที่ท่านใช้เรียก ชื่อว่าอภิธานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ)
นาม (นม นมเน+อ) ชื่อ, นาม.
นมียเต อพฺภสฺสเต อสฺมินฺติ นามํ ชื่อที่น้อมเอาวัตถุสิ่งของมาไว้ในตน (โยงวัตถุมา) ชื่อว่านามะ (วุทธิ อ เป็น อา). นมติ นามยตีติ วา นามํ ชื่อที่น้อมเข้าไปหาวัตถุ (โยงไปหาวัตถุ) ชื่อว่านามะ (วุทธิ อ เป็น อา). นมียเต อตฺถยเต อตฺเถสฺวีติ นามํ ชื่อที่น้อมไปในความหมาย ชื่อว่านามะ (วุทธิ อ เป็น อา). อถ โข อายสฺมโต สุทินฺนสฺส สหายกา ตสฺส ทารกสฺส พีชโกติ นามํ อกํสุ, อายสฺมโต สุทินฺนสฺส ปุราณทุติยิกาย พีชกมาตาติ นามํ อกํสุ, อายสฺมโต สุทินฺนสฺส พีชกปิตาติ นามํ อกํสุ๒ ครั้งนั้น สหายของท่านสุทินตั้งชื่อเด็กนั้นว่า พีชกะ ตั้งชื่อภรรยาเก่าของท่านสุทินว่าพีชกมารดา และตั้งชื่อท่านสุทินว่า พีชกบิดา
อวฺหย (อา+เวฺห อวฺหาเน+อ) ชื่อ, นาม.
อวฺหายเตติ อวฺหโย นามที่ท่านเรียก ชื่อว่าอวหยะ (รัสสะ อา เป็น อ, อาเทศ เอ เป็น อย)
๑ วิสุทฺธิ.ฏี. ๑/๑๐๙/๑๖๙ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๑๘/๓๓
๑๗๐
นามเธยฺย (นาม+เธยฺย) ชื่อ, นาม.
นามเมว นามเธยฺยํ, นามรูเปหิ สกตฺเถ เธยฺโย ยทาทินา นามะนั่นแหละ ชื่อว่านามเธยยะ, ลง เธยฺย หลังจาก นาม และ รูป ศัพท์ใน สกัตถะ (ไม่มีความหมาย) ด้วยสูตร ยทนุปปนฺนา นิปาตนา สิชฺฌนฺติ.๑ ติฏฺฐติ วา เอตฺถ อตฺโถติ เธยฺยํ, ธรียเต อุจฺจารียเตติ วา เธยฺยํ, นามเมว เธยฺยํ นามเธยฺยํ ชื่อเป็นที่ตั้งของเนื้อความ จึงชื่อว่าเธยยะ, หรือชื่อที่ท่านสวด เรียกว่าเธยยะ, ชื่อที่ท่านเรียก ชื่อว่านามเธยยะ. ปุพฺเพ เอวํ นามเธยฺยํ สุตํ ๒ เมื่อก่อนเคยได้ยินชื่ออย่างนี้
อธิวจน (อธิ+วจน) ชื่อ, นาม.
อธีนํ วจนํ อธิวจนํ คำเรียกที่ท่านทำให้ยิ่ง ชื่อว่าอธิวจนะ. มหา มิคสงฺโฆติ โข ภิกฺขเว สตฺตานเมตํ อธิวจนํ ๓ ภิกษุทั้งหลาย คำว่า มหา มิคสงฺโฆ นี้ เป็นชื่อเรียกสัตว์ทั้งหลาย
คำตอบ, ตอบกลับ ๒ ศัพท์
ปฏิวากฺย (ปฏิ+วากฺย) คำตอบ, ตอบกลับ.
ปุฏฺฐสฺส ปฏิวจนํ ปฏิวากฺยํ คำตอบของผู้ถูกถาม ชื่อว่าปฏิวากยะ. ปฏิคตํ ปจฺฉาคตํ วากฺยํ ปฏิวากฺยํ คำพูดตอบกลับ ชื่อว่าปฏิวากยะ
อุตฺตร (อุ+ตร ตรเน+อ) คำตอบ, ตอบกลับ.
อุตฺตรียเต อติกฺกมฺยเต อเนนาติ อุตฺตรํ คำตอบที่บุคคลพูดกลับ ชื่อว่าอุตตระ (ซ้อน ตฺ)
[๑๑๕] ปญฺโห ตีสฺวนุโยโค จ ปุจฺฉา ปฺยถ นิทสฺสนํ
อุโปคฺฆาโต จ ทิฏฺฐนฺโต ตโถทาหรณํ ภเว.
คำถาม, ปัญหา ๓ ศัพท์
ปญฺห (ปุจฺฉ ปุจฺฉเน+อ) คำถาม, ปัญหา.
ปุจฺฉิตพฺโพติ ปฺญฺโห เนื้อความที่ควรถาม ชื่อว่า ปัญหะ (อาเทศ ปุจฺฉฺ เป็น ปญฺหฺ). ญาตุมิจฺฉิโต หิ อตฺโถ ปฺญฺโห นาม ความหมายที่บุคคลต้องการรู้ ชื่อว่าปัญหะ. อาเสวเน จ มคฺเค จ เอโก ปญฺโห กาตพฺโพ๔ ควรถามปัญหาในอาเสวนปัจจัยและมัคคปัจจัยอย่างละหนึ่ง. ปญฺหา วิญฺญูวิภาวิตา๕ เป็นปัญหาที่ผู้รู้ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว. ปญฺหศัพท์เป็นปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ (ปฺญฺโห, ปฺญฺหา)
อนุโยค (อนุ+ยุช โยเค+ณ) คำถาม, ปัญหา.
อนุยฺุญฺชิตพฺโพ ปุจฺฉิตพฺโพติ อนุโยโค คำที่ควรถามต่อผู้อนุญาตให้ถาม ชื่อว่าอนุโยคะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ชฺ เป็น คฺ)
๑ กจฺจายน. ๓๙๑ ๒ ที.มหา. ๑๐/๑๙๑/๒๓๕ ๓ มชฺ.มูล. ๑๒/๒๕๔/๒๓๙
๔ อภิ.ปฏฺ. ๔๐/๔๖๓/๑๔๗ ๕ วิ.ปริ. ๘/๑๓๓๙/๕๓๗