๒๐๒
๑.๕ จิตฺตาทิวณฺณนา
ว่าด้วยจิตเป็นต้น
[๑๕๒] จิตฺตํ เจโต มโน นิตฺถี วิญฺญาณํ หทยํ ตถา
มานสํ ธี ตุ ปญฺญา จ พุทฺธิ เมธา มติ มุติ.
[๑๕๓] ภูรี มนฺตา จ ปญฺญาณํ ญาณํ วิชฺชา จ โยนิ จ
ปฏิภานมโมโหถ ปญฺญาเภทา วิปสฺสนา.
[๑๕๔] สมฺมาทิฏฺฐิปภุติกา วีมํสา ตุ วิจารณา
สมฺปชญฺญํ ตุ เนปกฺกํ เวทยิตํ ตุ เวทนา.
จิต, ใจ ๖ ศัพท์
จิตฺต (จินฺต จินฺตายํ+ต) จิต, ใจ.
จินฺเตตีติ จิตฺตํ สภาพที่คิด ชื่อว่าจิตตะ (ลบ นฺ). อารมฺมณํ จินฺเตติ ชานาตีติ จิตฺตํ สภาพที่รู้อารมณ์ ชื่อว่าจิตตะ (ลบ นฺต, ซ้อน ตฺ). สมาหิตํ จิตฺตํ เอกคฺคํ ๑ จิตอันตั้งมั่นแล้วในอารมณ์เดียว. ปฐมํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ ปฐมํ วิญฺญาณํ ปาตุภูตํ ๒ จิตดวงแรกเกิดขึ้น คือ ปฐมวิญญาณปรากฏ
เจต (จิต สญฺเจตเน+อ) จิต, ใจ.
จินฺเตตีติ เจโต สภาพที่คิด ชื่อว่าเจตะ (วุทธิ อิ เป็น เอ). อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน สพฺพาวนฺตํ ภิกฺขุสงฺฆํ เจตสา เจโต ปริจฺจ มนสากาสิ๓ ท่านมหาโมคคัลลานะมนสิการกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ที่มีอยู่ทั้งหมดด้วยจิต
มน (มน ญาเณ+อ) จิต, ใจ, มนัส.
มนติ ชานาตีติ มโน สภาพที่รับรู้ ชื่อว่ามนะ. อนิตฺถี มนศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. ยํ จิตฺตํ ตํ มโน, ยํ มโน ตํ จิตฺตํ ๔ สิ่งใดเป็นจิต สิ่งนั้นเป็นใจ สิ่งใดเป็นใจ สิ่งนั้นเป็นจิต
วิญฺญาณ (วิ+ญา อวโพธเน+ยุ) จิต, ใจ.
วิชานาตีติ วิฺญฺญาณํ สภาพที่รู้ชัด ชื่อว่าวิญญาณะ (ซ้อน ญฺ, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบ อ). วิญฺญาณํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วาติ. อนิจฺจํ ภนฺเตติ๕ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง, ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า
หทย (หร หรเณ+ย) จิต, ใจ, หทัย.
หรติ อตฺตโน อาธารนฺติ หทยํ สภาพที่นำไปสู่ความยินดีของตน ชื่อว่าหทยะ (อาเทศ รฺ เป็น ทฺ). รสตณฺหาย คธิโต หทยํ นาวพุชฺฌติ๖ ผู้ถูกความอยากในรสครอบงำแล้ว ย่อมไม่รู้สึกถึงความตั้งใจ(ที่เกิดขึ้นตั้งแต่บวชว่าเราจะทำที่สุดทุกข์)
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๓/๖ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๑๘๑/๑๓๗ ๓ วิ.จุลฺล. ๗/๔๔๘/๒๘๔
๔ วิ.มหา. ๑/๑๘๔/๑๓๘ ๕ วิ.มหา.๔/๒๑/๒๗ ๖ ขุ.เถร. ๒๖/๓๘๖/๓๗๒
๒๐๓
มานส (มน+สณฺ) จิต, ใจ, มานัส.
มโน เอว มานสํ ใจนั่นแหละคือมานสะ (ลง สณฺ ปัจจัยในสกัตถะ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). สุปณิหิตํ เม มานสํ สจฺจานํ โพธาย๑ เราตั้งใจไว้ดีแล้วเพื่อรู้สัจจะทั้งหลาย
ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ ๑๔ ศัพท์
ธี (เฌ จินฺตายํ+อี) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
ฌายตีติ ธี ปัญญาที่พิจารณา ชื่อว่าธี (อาเทศ เฌ เป็น ธ, ลบสระหน้า). ธาเรตีติ ธี ปัญญาที่ทรงไว้ ชื่อว่าธี (ธา ธารเณ+อี, ลบสระหน้า). ธี วุจฺจติ ปญฺญา๒ ปัญญาเรียกว่า "ธี"
ปญฺญา (ป+ญา อวโพธเน+กฺวิ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
ปญฺญายเต เอตายาติ ปญฺญา สภาวะที่ช่วยให้รู้ ชื่อว่าปัญญา (ซ้อน ญฺ, ลบ กฺวิ). นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา๓ แสงสว่างที่เสมอด้วยปัญญาไม่มี. ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ๔ ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว. ปชานนฏฺเฐน ปญฺญา๕ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ทั่วถึง
พุทฺธิ (พุธ อวคมเน+ติ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
พุชฺฌเต เอตายาติ พุทฺธิ ปัญญาเครื่องตรัสรู้ ชื่อว่าพุทธิ (อาเทศ ต ของ ติ ปัจจัย เป็น ธ, และอาเทศ ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ). กงฺขา ฉิชฺชติ พุทฺธิ วฑฺฒติ๖ ตัดความสงสัยได้ ปัญญาย่อมเจริญ
เมธา (มิ หึสายํ+ธ+อา) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
สมฺโมหํ เมธติ หึสตีติ เมธา ปัญญาที่เบียดเบียนความไม่รู้ ชื่อว่าเมธา (วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า). สุขุมมฺปิ อตฺถํ เมธติ อาททาตีติ เมธา ปัญญาที่ถือเอาเนื้อความที่ละเอียดลึกซึ้งได้ ชื่อว่าเมธา (เม อาทาเน +ธ+อา). เมธา วุจฺจติ ปญฺญา๗ ปัญญาท่านเรียกว่า "เมธา"
มติ (มน ญาเณ+ติ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
มนติ ชานาตีติ มติ ปัญญา ที่รู้ ชื่อว่ามติ (ลบ นฺ). ภีเตน ชายเต มติ๘ ปัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะความกลัว
มุติ (มุน าเณ+ติ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
มุนาตีติ มุติ ปัญญาที่รู้ ชื่อว่ามุติ (ลบ นฺ)
ภูริ, ภูรี (ภู สตฺตายํ+ริ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
ภวตีติ ภูริ, ภูรี ปัญญาที่มีอยู่ ชื่อว่าภูริและภูรี (ทีฆะ อิ เป็น อี บ้าง). ปญฺญาเยว ภูเต อตฺเถ รมตีติ ภูรีติ วุจฺจติ๙ ปัญญานั่นแลยินดีในประโยชน์ที่มีอยู่ จึงเรียกว่าภูรี (ภูสทฺทูปปท+รมุ รมเน+อิ,อี, ลบ มฺ).
๑ มชฺ.มูล. ๑๒/๕๔๓/๕๘๕ ๒ ขุ.มหานิ. ๒๙/๔๙/๕๑ ๓ สํ.สคาถ. ๑๕/๒๙/๙
๔ วิ.มหา. ๔/๑๕/๑๙ ๕ วิ.อฏฺ. ๑/๑๑๙ ๖ ขุ.เถร. ๒๖/๒๑๒/๒๗๗
๗ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๔๑๖/๑๙๙ ๘ ขุ.ชา. ๒๘/๒๑๑/๘๐ ๙ ปฏิสํ.อฏฺ. ๔๗/๑๘๐/๓๙๙
๒๐๔
มหาปญฺโญ ปุถุปญฺโญ หาสปญฺโญ ชวนปญฺโญ ติกฺขปญฺโญ นิพฺเพธิกปญฺโญ ภูริ วุจฺจติ๑ ผู้มีปัญญามาก มีปัญญากว้าง มีปัญญาอาจหาญร่าเริง มีปัญญาไว มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญารู้แจ้ง เรียกว่า ภูริ
มนฺตา (มน าเณ+ต+อา) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
มนติ ชานาตีติ มนฺตา ปัญญาที่รู้ ชื่อว่ามันตา (ลบสระหน้า)
ปญฺญาณ (ป+า อวโพธเน+ยุ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
ปชานาติ เอเตนาติ ปญฺญาณํ ปัญญาเครื่องรู้ทั่วถึง ชื่อว่าปัญญาณะ (ซ้อน ญฺ, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบ อ). ปญฺญาณํ วุจฺจติ วิปสฺสนา อนิจฺจาทิปฺปกาเรสุ ปวตฺตตฺตา๒ วิปัสสนาท่านเรียกว่าปัญญาณะ เพราะเป็นไปในธรรมประการต่างๆ มีความไม่เที่ยงเป็นต้น
ญาณ (า อวโพธเน+ยุ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
ชานาติ อเนนาติ ญาณํ ปัญญาเครื่องรู้ ชื่อว่าญาณะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบ อ). ญาตฏฺเฐน ญาณํ ๓ ปัญญาชื่อว่าญาณะ เพราะอรรถว่ารู้. ญาณนฺติ ติสฺโส วิชฺชา๔ วิชชา ๓ อย่าง ชื่อว่าญาณะ
วิชฺชา (วิท าเณ+ย+อา) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
วิทติ ชานาตีติ วิชฺชา ปัญญาที่รู้ ชื่อว่าวิชชา (อาเทศ ทฺย เป็น ช, ซ้อน ชฺ, ลบสระหน้า). อยํ โข เม พฺราหฺมณ รตฺติยา ปฐเม ยาเม ปฐมา วิชฺชา อธิคตา อวิชฺชา วิหตา๕ พราหมณ์ วิชชาที่ ๑ นี้ เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว
โยนิ (ยุ มิสฺสเน+ยุ+อิ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ.
ยมติ มิสฺสี ภวติ เญยฺเยสูติ โยนิ ปัญญาที่มีรวมอยู่ในเญยธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าโยนิ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า)
ปฏิภาน, ปฏิภาณ (ปฏิ+ภา ทิตฺติยํ+ยุ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ, ปฏิภาณ.
ปฏิมุขํ ภนฺติ อุปฏฺฐหนฺติ เญยฺยา เอเตนาติ ปฏิภานํ ปัญญาที่ช่วยให้เญยธรรมพลันปรากฏต่อหน้า ชื่อว่าปฏิภานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ). ปญฺญวโต กเถนฺตสฺส ปฏิภานํ อนนฺตํ โหติ๖ ปฏิภาณของผู้มีปัญญาที่กำลังกล่าวอยู่ย่อมไม่สิ้นสุด
อโมห (น+มุห เวจิตฺเต+ณ) ญาณ, ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจ, ความไม่หลง.
น มุยฺหติ เอเตนาติ อโมโห ปัญญาที่ช่วยให้ไม่หลง ชื่อว่าอโมหะ (อาเทศ น เป็น อ, ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ)
ปัญญามีอีกหลายศัพท์ เช่น วีมํสา, วิจย, สมุเปกฺขา, อุปลทฺธิ, ปฏิปตฺติ, ญตฺติเจตนา
๑ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๓๙๖/๑๙๑ ๒ ขุ.อฏฺ. ๒๘/๒๐๔/๒๘๒ ๓ วิ.อฏฺ. ๑/๑๑๙
๔ วิ.มหาวิ. ๑/๒๓๓/๑๗๓ ๕ วิ.มหาวิ. ๑/๓/๗ ๖ ขุ.อฏฺ. ๒๖/๕๒/๒๕๖
๒๐๕
ปัญญา ๖ ประเภท
วิปสฺสนาสมฺมาทิฏฐิปภุติกา ปญฺญาเภทา วิปัสสนาและสัมมาทิฐิเป็นต้น เป็นชื่อของปัญญา. วิปสฺสนาทโย เนปกฺกนฺตา ปริยายา ปฺญฺญาเภทา ปญฺญฺาวิเสสา ตั้งแต่
วิปสฺสนาศัพท์ ถึง เนปกฺกศัพท์ เป็นประเภทของปัญญา
วิปสฺสนา (วิ+ทิส เปกฺขเน+ยุ+อา) วิปัสสนา, ปัญญา, ปัญญารู้แจ้ง.
วิวิธํ อนิจฺจาทิกํ สงฺขาเรสุ ปสฺสตีติ วิปสฺสนา ปัญญาที่เห็นสภาวธรรมต่างๆ มีอนิจจลักษณะเป็นต้นในสังขาร ชื่อว่าวิปัสสนา (อาเทศ ทิสฺ ธาตุเป็น ปสฺสฺ, ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า). สญฺญาเวทยิตนิโรธสมาปตฺติยา โข คหปติ เทฺว ธมฺมา พหูปการา สมโถ จ วิปสฺสนา จ๑ คฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนา มีอุปการะมากต่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
สมฺมาทิฏฺฐิ (สมฺมาสทฺทูปปท+ทิส เปกฺขเน+ติ) สัมมาทิฐิ, ปัญญา, ความเห็นถูก.
สมฺมา ทสฺสนํ สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นถูก ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ (อาเทศ สฺตฺ เป็น ฏฺฐฺ). สมฺมาทสฺสนลกฺขณา สมฺมาทิฏฺฐิ สัมมาทิฐิมีความเห็นถูกเป็นลักษณะ. สา ทุวิธา โลกิยโลกุตฺตรวเสน, ตตฺถ ปุริมา ฉพฺพิสุทฺธิปฺปวตฺติกาเล อิตรา ญาณทสฺสนวิสุทฺธิกาเล ลพฺภติ สัมมาทิฐินั้น มี ๒ อย่าง คือ โลกียสัมมาทิฏฐิและโลกุตตรสัมมาทิฐิ, ใน ๒ อย่างนั้น อย่างแรกได้ในเวลาที่ความบริสุทธิ์ ๖ อย่างเกิดขึ้น, อย่างหลังได้ในเวลาบริสุทธิ์ด้วยญาณทัสสนะ. ทสวตฺถุกา สมฺมาทิฏฺฐิ๒ สัมมาทิฐิมีวัตถุ ๑๐ อย่าง
วีมํสา (วิ+มาน วีมํสายํ+ส+อา) วิมังสา, ปัญญา, ปัญญาพิจารณา, การทดลอง.
วิเสเสน มานิยเตติ วีมํสา, จิตฺตาโภคาทิ ปัญญาที่พิจารณาเป็นพิเศษ ชื่อว่าวีมังสา หมายถึงการเอาใจจดจ่อเป็นต้น (อาเทศ มานฺ เป็น มํ, ทีฆะ อิ เป็น อี, ลบสระหน้า). วีมํสนํ วีมํสา การพิจารณา ชื่อว่าวีมังสา (วิ+มํส วีมํสเน+อา, ทีฆะ อิ เป็น อี)
สทฺธาหตฺโถ มหานาโค อุเปกฺขาเสตทนฺตวา
สติ คีวา สิโร ปญฺญา วีมํสา ธมฺมจินฺตนา.๓
ช้างตัวประเสริฐมีศรัทธาเป็นงวง อุเบกขาเป็นงาอันขาวสะอาด
สติเป็นคอ ปัญญาที่พิจารณาธรรมเป็นศีรษะ
วิจารณา (วิ+จร สญฺฺจเย+ยุ+อา) ปัญญา, วิจารณญาณ, ปัญญาพิจารณา.
วิจารยเต เอตายาติ วิจารณา ปัญญาเครื่องพิจารณา ชื่อว่าวิจารณา (วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). วิจารณปญฺญาว เสฏฺฐา๔ ปัญญาพิจารณานั่นแหละประเสริฐสุด. เอสา เต วิจารณปญฺญา๕ ปัญญาพิจารณานั้นไม่มีแก่ท่าน
๑ สํ.สฬา. ๑๘/๕๗๐/๓๖๔ ๒ วิ.ปริ. ๘/๑๐๐๐/๓๔๗ ๓ ขุ.เถร. ๒๖/๓๘๔/๓๖๘
๔ ขุ.อฏฺ. ๓๘/๘๒/๒๗๘ ๕ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๔๓๘/๕๔๗
๒๐๖
สมฺปชญฺญ (สํ+ป+ญา อวโพธเน+ยุ) สติปัฏฐาน, ปัญญา, สัมปชัญญะ, ปัญญารู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์เป็นต้น.
สมฺปชานาตีติ สมฺปชาโน ปัญญาที่รู้ทั่วถึง ชื่อว่าสัมปชานะ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ญา เป็น ชา, ยุ เป็น อน, ลบ อ). สมฺปชานสฺส ภาโว สมฺปชญฺญํ ความเป็นปัญญารู้ทั่วถึง ชื่อว่าสัมปชัญญะ (สมฺปชาน+ณฺย, ลบ ณฺ และสระที่ น, อาเทศ นฺย เป็น ญ, ซ้อน ญฺ). ภิกฺขุ อาตาปี สมฺปชญฺญํน ริญฺจติ๑ ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ย่อมไม่ทอดทิ้งสัมปชัญญะ. สาตฺถกสมฺปชญฺญํ สปฺปายสมฺปชญฺญํ โคจรสมฺปชญฺญํ อสมฺโมหสมฺปชญฺญนฺติ จตุพฺพิธํ สมฺปชญฺญํ ๒ ปัญญามี ๔ ประการ คือ (๑) ปัญญารู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ (๒) ปัญญารู้ว่าควรและไม่ควร (๓) ปัญญารู้สถานที่ควรไปและไม่ควรไป (๔) ปัญญาไม่หลงลืม
เนปกฺก (นิ+ปจ ปาเก+อ) สติปัฏฐาน, ปัญญา, ปัญญาบ่มกุศลธรรมให้สุก.
นิสฺเสสโต ปาเจติ กุสลธมฺเมติ นิปโก, ญาณี ปุคฺคโล บุคคลผู้บ่มกุศลธรรมทั้งหลายให้สุกโดยไม่มีเหลือ ชื่อว่า นิปกะ ได้แก่บุคคลผู้มีปัญญา (อาเทศ จ เป็น ก). นิปกสฺส ภาโว เนปกฺกํ ความเป็นผู้มีปัญญา ชื่อว่าเนปักกะ (นิปก+ณฺย, ลบ ณฺ และสระที่ ก, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ กฺย เป็น ก, ซ้อน กฺ). เนปกฺกํ วุจฺจติ ปญฺญา๓ ปัญญาท่านเรียกว่าเนปักกะ
เวทนา, การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก ๒ ศัพท์
เวทยิต (วิท อนุภวเน+ณฺย+อิ+ต) เวทนา, การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก.
เวทยตีติ เวทยิตํ สุขและทุกข์เป็นต้นที่บุคคลเสวย ชื่อว่าเวทยิตะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า). ทุกฺขํ อสาตํ เวทยิตํ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว โทมนสฺสํ ๔ ภิกษุทั้งหลาย การเสวยอารมณ์อันเป็นทุกข์แสนสาหัสนี้ เราเรียกว่าโทมนัส
เวทนา (วิท อนุภวเน+ยุ+อา) เวทนา, การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก.
เวทยตีติ เวทนา สุขและทุกข์เป็นต้นที่บุคคลเสวย ชื่อว่าเวทนา (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า). เวทนา อนิจฺจาติ สทฺทํ นิจฺฉาเรติ๕ เปล่งเสียงออกมาว่า เวทนาไม่เที่ยง
[๑๕๕] ตกฺโก วิตกฺโก สงฺกปฺโป- ปฺปโนหายุ ตุ ชีวิตํ
เอกคฺคตา ตุ สมโถ อวิกฺเขโป สมาธิ จ.
ความคิด, ความดำริ, ความวิตก ๕ ศัพท์
ตกฺก (ตกฺก วิตกฺเก+อ) ความคิด, ความดำริ, ความวิตก, ความตรึก, ความตริตรอง.
ตกฺเกติ สมฺปยุตฺตธมฺเม อารมฺมณํ อภินิโรเปตีติ ตกฺโก สภาพที่ยกสัมปยุตธรรมขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าตักกะ.
๑ สํ.สฬา. ๑๘/๓๖๔/๒๕๕ ๒ ที.อฏฺ. ๔/๒๑๔/๑๖๖ ๓ ที.อฏฺ. ๕/๓๔๘/๓๑๘
๔ ที.มหา. ๑๐/๒๙๕/๓๔๒ ๕ วิ.มหาวิ. ๒/๒๘๖/๑๙๒
๒๐๗
ตกฺโก วิตกฺโก สงฺกปฺโป อปฺปนา พฺยปฺปนา เจตโส อภินิโรปนา๑ ความตรึก วิตก ดำริ แน่วแน่ ปักใจ
วิตกฺก (วิ+ตกฺก วิตกฺเก+อ) ความคิด, ความวิตก, ความดำริ, ความตรึก, ความตริตรอง.
วิตกฺเกติ สมฺปยุตฺตธมฺเม อารมฺมณํ อภินิโรเปตีติ ตกฺโก สภาพที่ยกสัมปยุตธรรมขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าตักกะ. วิตกฺโก โข เทวานมินฺท ปปญฺจสญฺญาสงฺขานิทาโน๒ ท่านจอมเทพ ความคิดมีสัญญาส่วนที่ประกอบด้วยตัณหา มานะและทิฐิ อันให้ถึงความประมาทมัวเมาเป็นเหตุเกิด
สงฺกปฺป (สํ+กปฺป วิตกฺกสามตฺถิเยสุ+อ) ความคิด, ความดำริ.
สงฺกปฺปนฺติ ปภวนฺติ อเนนาติ สงฺกปฺโป ธรรมเครื่องดำริ ชื่อว่าสังกัปปะ (อาเทศนิคหิตเป็น งฺ). โส เต อิชฺฌตุ สงฺกปฺโป๓ ความดำริ(ในการออกบวช) ของเธอนั้นจงสำเร็จ
อปฺปนา (อป ปาปุณเน+ยุ+อา) ความคิด, ความดำริ.
อปฺเปติ สมฺปยุตฺตธมฺเม ปาเปติ อารมฺมณนฺติ อปฺปนา จิตที่ส่งสัมปยุตธรรมไปสู่อารมณ์ ชื่อว่าอัปปนา (ซ้อน ปฺ, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า)
อูห (อูห วิตกฺเก+อ) ความคิด, ความดำริ.
อูหนฺติ อเนนาติ อูโห ธรรมเครื่องดำริ ชื่อว่าอูหะ
อายุ, ชีวิต, ชีวิตินทรีย์ ๒ ศัพท์
อายุ (อิ คติมฺหิ+ณุ) อายุ, ชีวิต, ชีวิตินทรีย์.
อยติ อทฺธานํ คจฺฉติ เยนาติ อายุ ชีวิต เครื่องช่วยให้สัตว์ไปสู่กาลเวลาอันยืนยาว ชื่อว่าอายุ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อาย). เอติ เอเตนาติ วา อายุ หรือชีวิตที่ช่วยให้สัตว์เป็นไปได้ ชื่อว่าอายุ. อายุ ปนาวุโส กึ ปฏิจฺจ ติฏฺฐตีติ. อายุ อุสฺมํ ปฏิจฺจ ติฏฺฐีติ๔ ท่านผู้มีอายุ อายุอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่ได้ อายุอาศัยไออุ่นจึงตั้งอยู่ได้
ชีวิต (ชีว ปาณธารเณ+อิ+ต) อายุ, ชีวิต, ชีวิตินทรีย์.
ชีวนฺติ อเนนาติ ชีวิตํ อายุที่ช่วยให้สัตว์เป็นอยู่ได้ ชื่อว่าชีวิตะ. ทุชฺชานํ ชีวิตํ ทุชฺชานํ มรณํ ๕ จะเป็นหรือตายก็ยากจะรู้ได้
จิตตั้งมั่น, ความสงบ, สมาธิ ๔ ศัพท์
เอกคฺคตา (เอก+อคฺค+ตา) จิตสงบ, ความมีจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียว, ความสงบ, สมาธิ.
นานาลมฺพณวิสารณาภาวโต เอกํ อคฺคํ อารมฺมณเมตสฺสาติ เอกคฺคํ สภาพที่จิตมีอารมณ์เดียว เพราะไม่มีความฟุ้งไปในอารมณ์ต่างๆ ชื่อว่าเอกัคคะ (ลบสระหน้า). อคฺคสทฺโท เจตฺถ อาลมฺพณวาจโก อคฺคศัพท์ในที่นี้กล่าวถึงอารมณ์. เอกคฺคสฺส ภาโว เอกคฺคตา ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ชื่อว่าเอกัคคตา.
๑ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๒๖๓//๑๘๓ ๒ ที.มหา. ๑๐/๒๕๖/๓๑๒ ๓ ขุ.เถรี. ๒๖/๔๗๐/๔๘๕
๔ มชฺ.มูล. ๑๒/๕๐๑/๕๔๑ ๕ วิ.มหาวิ. ๒/๑๖๑/๑๔๑
๒๐๘
เอกํ วา อารมฺมณํ อชติ คจฺฉตีติ เอกคฺคํ, ตสฺส ภาโว เอกคฺคตา หรือจิตที่ไปสู่อารมณ์เดียว ชื่อว่าเอกัคคะ, ความเป็นจิตไปสู่อารมณ์เดียวนั้น ชื่อว่าเอกัคคตา (เอกสทฺทูปปท+อช คติยํ+อ+ตา, อาเทศ ช เป็น ค, ซ้อน คฺ, ลบสระหน้า). อิเมหิ สตฺตงฺเคหิ จิตฺตสฺส เอกคฺคตา ปริกฺขตา๑ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (สมาธิ) ประกอบด้วยองค์ ๗ เหล่านี้
สมถ (สมุ อุปสเม+ถ) สมถะ, ความมีจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียว, ความสงบ, สมาธิ.
กามจฺฉนฺทํ สเมตีติ สมโถ สมาธิที่ยังความพอใจในกามให้สงบลง ชื่อว่าสมถะ. "สมาธิ กามจฺฉนฺทสฺส ปฏิปกฺโข"ติ หิ วุตฺตํ ท่านกล่าวว่าสมาธิเป็นปฏิปักษ์ของกามฉันทะ. กตเม เทฺว ธมฺมา ภาเวตพฺพา, สมโถ จ วิปสฺสนา จ๒ ธรรม ๒ อย่างที่พวกเธอควรเจริญ คือสมถะและวิปัสสนา
อวิกฺเขป (น+วิกฺเขป) สภาพที่จิตไม่ซัดส่าย, ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน, ความสงบ, สมาธิ.
วิกฺขิปนํ นานารมฺมณเปรณํ วิกฺเขโป จิตที่ฟุ้งไปสู่อารมณ์ต่างๆ ชื่อว่าวิกเขปะ. โส นตฺถิ เอตฺถาติ อวิกฺเขโป สมาธิเป็นสภาพที่จิตไม่ซัดส่ายไปสู่อารมณ์ต่างๆ จึงชื่อว่าอวิกเขปะ (อาเทศ น เป็น อ). พุทฺธานุสฺสติวเสน จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป๓ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจพุทธานุสติ
สมาธิ (สํ,อา+ธา ธารเณ+อิ) จิตตั้งมั่น, ความสงบ, สมาธิ.
เอการมฺมเณ สุฏฺฐุ อาธานํ สมาธิ สภาพที่จิตยินดีในอารมณ์เดียว ชื่อว่าสมาธิ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ลบสระหน้า). นานาลมฺพณวิกฺเขปวสปฺปวตฺตํ อธิสงฺขาตํ จิตฺตพฺยธํ สเมตีติ สมาธิ ธรรมที่ข่มจิตอันฟุ้งไปในอารมณ์ต่างๆ ให้สงบลง ชื่อว่าสมาธิ (สมุ อุปสเม+อาธิ). สมาธีติ สุญฺญโต สมาธิ อนิมิตฺโต สมาธิ อปฺปณิหิโต สมาธิ๔ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ และอัปปณิหิตสมาธิ ชื่อว่าสมาธิ
[๑๕๖] อุสฺสาหาตปฺปปคฺคาหา วายาโม จ ปรกฺกโม
ปธานํ วีริยํ เจหา อุยฺยาโม จ ธิติตฺถิยํ.
ความพยายาม, ความเพียร, อุตสาหะ ๑๐ ศัพท์
อุสฺสาห (อุสทฺทูปปท+สห ขมเน+ณ) ความพยายาม, ความเพียร, ความอุตสาหะ, ความบากบั่น.
อุ ทุกฺขลาภํ อุทฺธํ วา สหติ ขมตีติ อุสฺสาโห ความพยายามที่อดทนต่อความทุกข์ยาก หรืออดทนต่อความทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก ชื่อว่าอุสสาหะ (ซ้อน สฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย๕ เธอพึงอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
๑ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๒๕๓/๑๘๐ ๒ ที.ปาฏิก. ๑๑/๓๗๙/๒๙๐ ๓ ขุ.ปฏิสมฺ. ๓๑/๙๒/๗๐
๔ วิ.มหาวิ. ๑/๒๓๖/๑๗๕ ๕ วิ.มหา. ๔/๘๗/๑๐๖
๒๐๙
อาตปฺป (อาสทฺทูปปท+ตป สนฺตาเป+อ) ความพยายาม, ความเพียร, ความบากบั่น.
อาภุโส กายํ จิตฺตญฺฺจ ตาเปตีติ อาตปฺโป ความพยายามที่ทำกายและจิตให้เร่าร้อนอยู่บ่อยๆ ชื่อว่าอาตัปปะ (ซ้อน ปฺ). ตีหิ ภิกฺขเว ฐาเนหิ อาตปฺปํ กรณียํ ๑ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทำความบากบั่นด้วยฐานะ ๓ อย่าง (คือไม่ให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น และอดกลั้นต่อทุกขเวทนาอันแรงกล้า)
ปคฺคาห (ป+คห อุปาทาเน+ณ) ความพยายาม, ความเพียร.
ลีนํ จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ อุกฺขิปตีติ ปคฺคาโห ความพยายามยกจิตที่เร้นอยู่ให้ขึ้นมา ชื่อว่าปัคคาหะ (ซ้อน คฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อตฺตโน นิสฺสยํ ปรมตฺถํ คณฺหาเปตีติ วา ปคฺคาโห หรือความพยายามที่ถือเอาปรมัตถ์ไว้เป็นที่อาศัยของตน ชื่อว่าปัคคาหะ. ปสทฺโท ปรมตฺเถปิ ปศัพท์ใช้ในอรรถปรมัตถ์ก็มี. ปคฺคาโห จ อวิกฺเขโป จ๒ ความเพียรและสมาธิ. ปคฺคาโหติ วีริยํ ๓ บทว่า ปคฺคาโห คือความเพียร
วายาม (วายม อุสฺสาหเน+ณ) ความพยายาม, ความเพียร.
วายมนฺติ เยนาติ วายาโม ธรรมเครื่องช่วยให้บุคคลพยายาม ชื่อว่าวายามะ (ลบ ณฺ, ทีฆะ อ เป็น อา). สพฺพกาลํ วยติ คจฺฉตีติ วายาโม ความพยายามที่เป็นไปตลอดเวลา ชื่อว่าวายามะ (วย คติมฺหิ+อม, วุทธิ อ ที่ ว เป็น อา, ทีฆะสระ อ ของปัจจัย). วาโย วิย สทา อมติ คจฺฉตีติ วา วายาโม หรือความพยายามที่เป็นไปทุกเมื่อเหมือนลม ชื่อว่าวายามะ (วายสทฺทูปปท+อม คมเน+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า). ฉนฺโท วา วายาโม วา อิทํ วา กรณียํ อิทํ วา อกรณียํ ๔ ความพอใจหรือความพยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือไม่ควรทำ
ปรกฺกม (ปรสทฺทูปปท+กม ปรกฺกเม+อ) ความพยายาม, ความเพียร, ความบากบั่น.
ปรํ ปรํ ฐานํ อกฺกมตีติ ปรกฺกโม ความพยายามที่ย่ำไปทุกที่ ชื่อว่าปรักกมะ (ซ้อน กฺ). ปรํ ปจฺจนีกภูตํ โกสชฺชํ อกฺกมตีติ วา ปรกฺกโม หรือความพยายามที่ย่ำยีความเกียจคร้านอันเป็นข้าศึก ชื่อว่าปรักกมะ. ยสฺส ปรกฺกโม เสฏฺโฐ๕ พระพุทธเจ้าทรงมีความพยายามประเสริฐสุด
ปธาน (ป+ทห ภสฺมีกรเณ+ยุ) ความพยายาม, ความเพียร, ขวนขวาย.
ปทหติ เยนาติ ปธานํ ความพยายามที่ให้เริ่มทำ ชื่อว่าปธานะ (อาเทศ ทหฺ เป็น ธ, ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). เอวํ ปธานํ เอวํ อภิสมฺโพธิ๖ การตั้งความเพียร การตรัสรู้ เป็นอย่างนี้
๑ องฺ.ติก. ๒๐/๔๘๙/๑๙๓ ๒ องฺ.ทุก. ๒๐/๓๓๓/๑๐๔ ๓ องฺ.อฏฺ. ๑๕/๘๙/๖๒
๔ องฺ.ติก. ๒๐/๕๐๑/๒๒๓ ๕ ขุ.อปทาน. ๓๒/๓๙๔/๕๐๒ ๖ ที.มหา. ๑๐/๕๕/๕๙
๒๑๐
วีริย (วีรสทฺทูปปท+อีร คติยํ+อ) ความพยายาม, ความเพียร, วิริยะ, ขวนขวาย.
วีเร สาธุ, วีรานํ วา กมฺมํ, วิธินา วา อีรยิตพฺพํ ปวตฺเตตพฺพนฺติ วีริยํ การทำในสิ่งที่ดีหรือของคนดี หรือความพยายามที่เป็นไปตามวิธี ชื่อว่าวีริยะ (รัสสะ อี ของปัจจัยเป็น อิ). มม ปน อจฺจารทฺธํ วีริยํ ๑ ความเพียรอันเราปรารภอย่างยิ่งแล้ว
อีหา (อีร คติยํ+ห+อา) ความพยายาม, ความเพียร, ขวนขวาย.
อีหติ เอติ วา ยาย สุภาสุภผลนฺติ อีหา ความเพียรที่ทำให้ไปสู่ผลที่ดีและไม่ดี ชื่อว่าอีหา (ลบ รฺ ที่สุดธาตุ, ลบสระหน้า)
อุยฺยาม (อุสทฺทูปปท+อิ คติมฺหิ+อม) ความพยายาม, ความเพียร, ขวนขวาย, บากบั่น.
อุทฺธํ ยนฺติ เยนาติ อุยฺยาโม ความพยายามที่ช่วยให้ไปสู่ที่สูงขึ้น ชื่อว่าอุยยามะ (อาเทศ อิ เป็น ย, ซ้อน ยฺ, ทีฆะ อ เป็น อา)
ธิติ (ฐา คตินิวตฺติยํ+ติ) ความพยายาม, ความเพียร, ความมุ่งมั่น.
ติฏฺฐติ เอตฺถ สุภาสุภผลนฺติ ธิติ ความพยายามอันเป็นที่ตั้งแห่งผลดีและไม่ดี ชื่อว่าธิติ (อาเทศ ฐา เป็น ธิ). อิตฺถียํ ธิติศัพท์ใช้ในอิตถีลิงค์. สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค โส เว เปจฺจ น โสจติ๒ ผู้มีสัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะนั้นแล ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
[๑๕๗] จตฺตาริ วีริยงฺคานิ ตจสฺส จ นหารุโน
อวสิสฺสนมฏฺฐิสฺส มํสโลหิตสุสฺสนํ.
องค์แห่งความเพียร ๔ อย่าง
การเหลืออยู่แต่หนัง เส้นเอ็น กระดูก และการเหือดแห้งไปแห่งเนื้อและเลือด เป็นลักษณะของความเพียร ๔ ประการ
หนัง เส้นเอ็น และกระดูก
ตจ (ตจ ปาลเน+อ) หนัง.
ตจติ สรีรํ ปาเลตีติ ตโจ หนังที่รักษาสรีระไว้ ชื่อว่าตจะ. เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ๓ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
นหารุ, นฺหารุ (นห พนฺธเน+อารุ) เส้นเอ็น.
นหติ พนฺธตีติ นหารุ, นฺหารุ เส้นเอ็นที่รึงรัด ชื่อว่านหารุ. ตโจ จ นหารุ จ อฏฺฐิ อวสิสฺสตุ๔ หนัง เส้นเอ็น และกระดูกจงเหลืออยู่
อฏฺฐิ (อส เขปเน+ติ) กระดูก, อัฐิ.
อสติ เขเปติ อทฺธานนฺติ อฏฺฐิ กระดูกที่ทิ้งกาลเวลาไว้ตลอดกาลนาน (คงทน) ชื่อว่าอัฏฐิ (อาเทศ สฺตฺ เป็น ฏฺฐฺ). อาภุโส ติฏฺฐติ เอเตนาติ วา อฏฺฐิ หรือกระดูกที่ช่วยให้ร่างกายยืนอยู่ได้ ชื่อว่าอัฏฐิ (อา+ฐา คตินิวตฺติมฺหิ+อิ. ซ้อน ฏฺ, รัสสะสระหน้า). อฏฺฐิ นาม ยํ กิญฺจิ อฏฺฐิ๕ กระดูกทุกอย่าง ชื่อว่าอัฐิ
๑ ที.อฏฺ. ๔/๙ ๒ สํ.สคาถ. ๑๕/๘๔๕/๓๑๖ ๓ ที.มหา. ๑๐/๒๗๗/๓๒๘
๔ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๒๓๙/๒๓๔ ๕ วิ.มหาวิ. ๒/๗๕๒/๔๙๙
๒๑๑
เนื้อและเลือด
มํส (มน ญาเณ+ส) เนื้อ.
มนิตพฺพํ ญาตพฺพนฺติ มํสํ เนื้อที่บุคคลรู้จัก ชื่อว่ามังสะ (อาเทศ นฺ เป็นนิคหิต). คาวึ หนฺตฺวา มํสํ ขาทิตฺวา๑ ฆ่าแม่โคแล้วเคี้ยวกินเนื้อ
โลหิต (รุห ชนเน+อิ+ต) เลือด.
รุหติ สรีเร พฺยาปนวเสนาติ โลหิตํ เลือดที่เกิดโดยกระจายไปทั่วสรีระ ชื่อว่าโลหิตะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ร เป็น ล). สญฺชยสฺส ปน ปริพฺพาชกสฺส ตตฺเถว อุณฺหํ โลหิตํ มุขโต อุคฺคจฺฉิ๒ เลือดอุ่นๆ พุ่งออกจากปากของสญชัยปริพาชกในที่นั้นนั่นเอง
[๑๕๘] อุสฺโสฬฺหี ตฺวธิมตฺเตหา สติ ตฺวนุสฺสติตฺถิยํ
ลชฺชา หิรี สมานาถ โอตฺตปฺปํ ปาปภีรุตา.
ความเพียรอันยิ่งใหญ่
อุสฺโสฬฺหี (อุ+สห วายาเม+อ+อี) ความเพียรอันยิ่งใหญ่, ความเพียรแรงกล้า, อุตสาหะ.
อุ ปพลํ ทุกฺกรกมฺมํ สหติ ยายาติ อุสฺโสฬฺหี ความเพียรที่ช่วยให้พยายามกระทำกรรมที่ยุ่งยากให้ลุล่วง จึงชื่อว่าอุสโสฬหี (อาเทศ สหฺ เป็น โสฬฺหฺ, ซ้อน สฺ, ลบสระหน้า). อุสฺสาหานํ อูหาติ วา อุสฺโสฬฺหี หรือความเพียรยิ่งกว่าความพยายามทั้งหลาย ชื่อว่าอุสโสฬหี(อุสฺสาห +อูหา+อี, ลบสระ อ ที่ ห ตัวหน้า และลบสระ อู, อาเทศ หฺ ตัวหน้าเป็น ฬฺ, อาเทศ อา เป็น โอ, ลบสระหน้า). อธิกสตฺติยุตฺตา อีหา อุสฺโสฬฺหี นาม ความเพียรอันแรงกล้า ชื่อว่าอุสโสฬหี. อุสฺโสฬฺหี กรณียา๓ พึงกระทำความเพียรอันยิ่งใหญ่
สติ, ความระลึกได้ ๒ ศัพท์
สติ (สร หึสายํ+ติ) สติ, ความรู้สึกตัว, ความระลึกได้.
ปมาทํ สรติ หึสตีติ สติ ความรู้สึกตัวที่เบียดเบียนความประมาท ชื่อว่าสติ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุ). สรติ จินฺเตตีติ สติ อาการที่ระลึกได้ ชื่อว่าสติ (สร จินฺตายํ+ติ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ). เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา กตเม ธมฺมา สติ จ สมฺปชญฺญญฺจ๔ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้มีอะไรบ้าง คือสติและสัมปชัญญะ
อนุสฺสติ (อนุ+สติ) สติ, อนุสติ, ความระลึกถึง.
อนุ ปุนปฺปุนํ สติ อนุสฺสติ ความระลึกถึงอยู่บ่อยๆ ชื่อว่าอนุสสติ (ซ้อน สฺ). อิตฺถิยํ ทั้ง ๒ ศัพท์มีใช้ในอิตถีลิงค์. อตฺเถสา ภิกฺขเว อนุสฺสติ เนสา นตฺถีติ วทามิ๕ ภิกษุทั้งหลาย ความระลึกได้มีอยู่ เราไม่ได้กล่าวว่าไม่มี
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๑๖๒/๑๒๐ ๒ วิ.มหา. ๔/๗๐/๗๗ ๓ สํ.นิทาน. ๑๖/๓๑๐/๑๖๑
๔ องฺ.ทุก. ๒๐/๔๒๔/๑๑๙ ๕ องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๐๑/๓๗๖
๒๑๒
ความละอายใจ ๒ ศัพท์
ลชฺชา (ลชิ ปีเฬ, ลชฺช ลชฺชเน+อ+อา) ความละอายใจ.
ลชฺชติ ปาปาติ ลชฺชา ความละอายจากบาป ชื่อว่าลัชชา (ซ้อน ชฺ, ลบสระหน้า). ปฐมํ อุปฺปนฺนาปิ เม ลชฺชา ภิชฺชิสฺสติ๑ ความละอายที่เกิดขึ้นตอนแรก เราจักตัดให้ขาด
หิรี (หิร ลชฺชายํ+อ+อี) หิริ, ความละอายใจ.
หิรียติ ปาปาติ หิรี ความละอายจากบาป ชื่อว่าหิรี (ลบสระหน้า). กุสเลสุ ธมฺเมสุ สาธุ หิรี๒ ความละอายจากบาปเป็นสิ่งที่ดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
ความเกรงกลัวบาป ๒ ศัพท์
โอตฺตปฺป (อว+ตป ภเย+อ) โอตตัปปะ, ความเกรงกลัวบาป.
โอตฺตปฺปติ ภายติ ปาปโตติ โอตฺตปฺปํ ความเกรงกลัวต่อบาป ชื่อว่าโอตตัปปะ (อาเทศ อว เป็น โอ, ซ้อน ตฺ และ ปฺ). กุสเลสุ ธมฺเมสุ โอตฺตปฺปํ อตฺถิ๓ โอตตัปปะมีอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย
ปาปภีรุตา (ปาปสทฺทูปปท+ภี ภเย+รุ+ตา) ความเกรงกลัวบาป.
ปาปโต ภายติ สีเลนาติ ปาปภีรุ, ปุคฺคโล จิตฺตํ วา ผู้มีปรกติเกรงกลัวต่อบาป ชื่อว่าปาปภีรุ หมายถึงบุคคล หรือจิต, ตสฺส ภาโว ปาปภีรุตา ความเป็นผู้มีปรกติเกรงกลัวต่อบาปนั้น ชื่อว่าปาปภีรุตา
[๑๕๙] มชฺฌตฺตตา ตุเปกฺขา จ อทุกฺขมสุขา สิยา
จิตฺตาโภโค มนกฺกาโร อธิโมกฺโข ตุ นิจฺฉโย.
ความวางเฉย ๓ ศัพท์
มชฺฌตฺตตา (มชฺฌตฺต+ตา) ความวางเฉย, ความเป็นกลาง.
มชฺฌตฺเต มชฺฌตฺตสภาเว ปวตฺตา มชฺฌตฺตตา กิริยาที่เป็นไปในสภาพที่เป็นกลาง ชื่อว่ามัชฌัตตตา. จตุตฺเถ ฌาเน ... มชฺฌตฺตตา จิตฺตสฺส๔ ความที่จิตเป็นกลางในจตุตถฌาน
อุเปกฺขา (อุป+อิกฺขา) ความวางเฉย, อุเบกขาเวทนา.
ทฺวินฺนํ เวทนานํ สมีเป ปวตฺตา อิกฺขา อนุภาวนนฺติ อุเปกฺขา การเสวยอารมณ์ที่เป็นไปใกล้ระหว่างเวทนา ๒ อย่าง (คือ โทมนัสเวทนาและโสมนัสเวทนา) ชื่อว่าอุเปกขา (ลบสระหน้า, วิการ อิ เป็น เอ)
รโถ สีลปริกฺขาโร ฌานกฺโข จกฺกวีริโย
อุเปกฺขา ธุรสมาธิ อนิจฺฉา ปริวารณํ.๕
รถมีศีลเป็นเครื่องประดับ มีฌานเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ
มีอุเบกขาและสมาธิเป็นแอก มีความไม่อยากได้เป็นประทุน
๑ ที.อฏฺ. ๔/๓๑๘/๒๖๒ ๒ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๑๕/๑๒ ๓ สํ.นิทาน. ๑๖/๔๙๑/๒๔๓
๔ ขุ.มหานิ. ๒๙/๙๗๒/๖๑๘ ๕ สํ.มหา. ๑๙/๒๔/๗
๒๑๓
อทุกฺขมสุขา (อทุกฺข+อสุข) ความวางเฉย, ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข.
อทุกฺขา จ สา อสุขา จาติ อทุกฺขมสุขา สภาพที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ชื่อว่าอทุกขมสุขะ (ลง มฺ อาคม). อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหาสึ ๑ เราบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขา(คือตัตรมัชฌัตตุเบกขา) เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ความเอาใจใส่, จิตจดจ่อ ๒ ศัพท์
จิตฺตาโภค (จิตฺตสทฺทูปปท+อา+ภุช อาวฏฺฏเน+อ) ความเอาใจใส่, จิตจดจ่อ, เจตนารมณ์.
ภวงฺควเสน ปวตฺตสฺส จิตฺตสฺส อาภุชนโต อาวฏฺฏาปนโต จิตฺตาโภโค ความเอาใจใส่ ชื่อว่าจิตตาโภคะ เพราะการดึงจิตที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ให้หวนกลับคืน. จิตฺตสฺสารมฺมเณ อาภุชนํ ปวตฺตนํ วา จิตฺตาโภโค หรือการยังจิตให้เป็นไปในอารมณ์ ชื่อว่าจิตตาโภคะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ชฺ เป็น คฺ, ลบสระหน้า)
มนกฺการ (มนสทฺทูปปท+กร กรเณ+ณ) ความเอาใจใส่, จิตจดจ่อ, การทำไว้ในใจ.
ภวงฺคมนโต วิสทิสํ มนํ กโรตีติ มนกฺกาโร การทำจิตให้แตกต่างจากภวังค์ ชื่อว่ามนักการะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ซ้อน กฺ). กรณํ วา กาโร, มนสฺมึ กาโร มนกฺกาโร หรือการกระทำ ชื่อว่าการะ (กร กรเณ+ณ. ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา), การกระทำไว้ในใจ ชื่อว่ามนักการะ (มน+การ, ซ้อน กฺ)
การตัดสิน ๒ ศัพท์
อธิโมกฺข (อธิ+มุจ โมจเน+ข) การตัดสิน, อธิโมกข์, ตกลงใจ.
อธิมุจฺจนํ "อิทเมวา"ติ สนฺนิฏฺฐานกรณํ อธิโมกฺโข การตัดสิน คือการตกลงใจได้ว่า "สิ่งนี้แหละ" ชื่อว่าอธิโมกขะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ จฺ เป็น กฺ). สุขํ อุปฺปชฺชติ อธิโมกฺโข อุปฺปชฺชติ๒ ความสุขย่อมเกิดขึ้น การตกลงใจย่อมเกิดขึ้น
นิจฺฉย (นิ+ฉิทิ ทฺวิธากรเณ+อ) การตัดสิน, การตกลงใจ, ความแน่ใจ.
นิจฺฉายนํ นิณฺณยนํ นิจฺฉโย, นิ ภุสํ เฉทนํ วา นิจฺฉโย การตัดสิน ชื่อว่านิจฉยะ, หรือการตัดสินได้แน่นอน ชื่อว่านิจฉยะ (อาเทศ อิ ที่ ฉิ เป็น อ, ทฺ เป็น ย, ซ้อน จฺ). สเจ เต เทว เอกนฺเตน อยํ นิจฺฉโย๓ ขอถวายพระพรมหาบพิตร หากว่าการตัดสินนี้เป็นของพระองค์ส่วนเดียว
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๓/๖ ๒ ขุ.ปฏิสมฺ. ๓๑/๕๔๒/๔๔๖ ๓ ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๓๒
๒๑๔
[๑๖๐] ทยานุกมฺปา การุญฺญํํ กรุณา จ อนุทฺทยา
ถิยํ เวรมณี เจว วิรตฺยารติ จาปฺยถ.
ความกรุณา, ความสงสาร, ความเอ็นดู ๕ ศัพท์
ทยา (ทย ทานคติหึสารกฺขเณสุ+อ+อา) ความกรุณา, ความสงสาร, ความเอ็นดู.
ทยติ ปรทุกฺขํ อตฺตสุขญฺฺจ หึสตีติ ทยา ความกรุณาที่เบียดเบียนความทุกข์ของผู้อื่นและความสุขของตน ชื่อว่าทยา (ลบสระหน้า). ยสฺส ปาเณ ทยา นตฺถิ๑ ผู้ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์
อนุกมฺปา (อนุ+กปิ จลเน+อ+อา) ความกรุณา, ความสงสาร, ความเอ็นดู.
อนุ ปุนปฺปุนํ กมฺเปติ อตฺตาธารสฺส จิตฺตนฺติ อนุกมฺปา การทำจิตที่เห็นแก่ตัวให้หวั่นไหวอยู่บ่อยๆ ชื่อว่าอนุกัมปา (ลงนิคหิตอาคมหลัง ก, อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ลบสระหน้า). น หิ นาม ภิกฺขเว ตสฺส โมฆปุริสสฺส ปาเณสุ อนุทฺทยา อนุกมฺปา อวิเหสา ภวิสฺสติ๒ ภิกษุทั้งหลาย ความเอ็นดู ความสงสาร ความไม่เบียดเบียนหมู่สัตว์ ไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้นเลย
การุญฺญ (กรุณา+ณฺย) ความกรุณา, ความสงสาร, ความเอ็นดู.
กรุณา เอว การุญฺญํ ความกรุณานั่นแหละ ชื่อว่าการุญญะ (ลบ ณฺ ปัจจัย และ อา ที่ ณา, อาเทศ ณฺย เป็น ญ, ซ้อน ญฺ). การุญฺญํ ปฏิจฺจ ปเรสํ ธมฺมํ เทเสติ๓ อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
กรุณา (กสทฺทูปปท+รุธิ อาวรเณ+อ+อา) ความกรุณา, ความสงสาร.
กํ สุขํ รุนฺธตีติ กรุณา ความสงสารที่กั้นความสุข(ของตน)ไว้ ชื่อว่ากรุณา (อาเทศ ธฺ เป็น ณฺ, ลบสระหน้า). อตฺตานมธีนเมตาย กโรนฺตีติ กรุณา ความสงสารเป็นธรรมที่บุคคลกระทำกับผู้อาศัยตน ชื่อว่ากรุณา (กร กรเณ+ยุ+อา, อาเทศ ยุ เป็น อน, อ เป็น อุ, น เป็น ณ, ลบสระหน้า). ยสฺมึ ภิกฺขเว ปุคฺคเล อาฆาโต ชายเต กรุณา ตสฺมึ ปคฺคเล ภาเวตพฺพา๔ ภิกษุทั้งหลาย ความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญความกรุณาในบุคคลนั้น
อนุทฺทยา (อนุ+ทห หึสายํ+อ+อา) ความกรุณา, ความสงสาร, ความเอ็นดู.
ปรทุกฺขญฺจ อตฺตสุขญฺจ อนุทหตีติ อนุทฺทยา ความกรุณาที่เบียดเบียนความทุกข์ของผู้อื่นและความสุขของตน ชื่อว่าอนุททยา (ซ้อน ทฺ, อาเทศ หฺ เป็น ยฺ, ลบสระหน้า). อตฺถิ เม ตุมฺเหสุ อนุกมฺปา อนุทฺทยา หิเตสิตา๕ เรามีความสงสาร ความเอ็นดู การแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลในพวก
๑ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๐๖/๒๕๐ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๗๙/๗๗ ๓ สํ.นิทาน. ๑๖/๔๗๒/๒๓๕
๔ องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๖๑/๒๐๗ ๕ มชฺ.อฏฺ. ๗/๒๙/๙๙
๒๑๕
การเว้น, การงด, การงดเว้น, การละเว้น ๓ ศัพท์
เวรมณี (วิ+รมุ อุปรเม+ยุ+อี) การเว้น, การงด, การงดเว้น, การละเว้น.
วิรมณํ เวรมณี การเว้น ชื่อว่าเวรมณี (อาเทศ อิ เป็น เอ, ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). เวรํ มณติ วินาเสตีติ วา เวรมณี หรือการทำเวรให้พินาศไป ชื่อว่าเวรมณี (เวรสทฺทูปปท+มณ วินาเส+อ+อี, ลบสระหน้า). ปาณาติปาตา เวรมณี ปสตฺถา๑ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ประเสริฐที่สุด
วิรติ (วิ+รมุ อุปรเม+ติ) การเว้น, การงด, วิรัติ.
วิรมณํ วิรติ การเว้น ชื่อว่าวิรติ (ลบ มฺ ที่สุดธาตุ). ตีหิปิ กายทุจฺจริเตหิ อารติ วิรติ๒ การงดเว้นจากกายทุจริต ๓ อย่าง
อารติ (อา+รมุ อุปรเม+ติ) การเว้น, การงด.
ทูรโต วิรมณํ อารติ การเว้นห่าง ชื่อว่า อารติ (ลบ มฺ ที่สุดธาตุ). จตูหิปิ วจีทุจฺจริเตหิ อารติ๓ การเว้นจากวจีทุจริต ๔ อย่าง
[๑๖๑] ติติกฺขา ขนฺติ ขมนํ ขมา เมตฺตา ตุ เมตฺยถ
ทสฺสนํ ทิฏฺฐิ ลทฺธิตฺถี สิทฺธนฺโต สมโย ภเว.
ความอดทน, ความอดกลั้น ๔ ศัพท์
ติติกฺขา (ติช ขนฺติยํ+ข+อา) ความอดทน, ความอดกลั้น.
ติติกฺขนํ ขมนํ ติติกฺขา ความอดทน ชื่อว่าติติกขา (ซ้อน ติ ต้นธาตุ, อาเทศ ชฺ เป็น กฺ, ลบสระหน้า). ขนฺตี ปรมํ ตโป ติติกฺขา๔ ความอดทนเป็นตบะอย่างยอดเยี่ยม
ขนฺติ (ขม สหเน+ติ) ความอดทน, ความอดกลั้น, ขันติ.
ขมนํ สหนํ ขนฺติ ความอดทน ชื่อว่าขันติ (อาเทศ มฺ เป็น นฺ). ยา ขนฺติ ขมนตา อธิวาสนตา อจณฺฑิกฺกํ อนสุโรโป อตฺตมนตา จิตฺตสฺส อยํ วุจฺจติ ขนฺติ๕ ความอดทน ความอดกลั้น ความยับยั้ง ความไม่ดุร้าย ความไม่ปากร้าย ความแช่มชื่นใจ นี้เรียกว่าขันติ
ขมน (ขม สหเน+ยุ) ความอดทน, ความอดกลั้น.
ขมียเต ขมนํ ความอดทน ชื่อว่าขมนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน). หีนสฺส วจนํ ขมนํ ๖ ความอดทนต่อคำพูดของคนเลว
ขมา (ขม สหเน+อ+อา) ความอดทน.
ขมนํ สหณํ ขมา ความอดทน ชื่อว่าขมา (ลบสระหน้า). โสวจสฺสกรเณหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคตา ขมา๗ มีความอดทนประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑ วิ.มหา. ๕/๑๗/๒๗ ๒ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๒๗๓/๑๘๕ ๓ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๒๖๘/๑๘๔
๔ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๗๙๖/๓๔๓ ๕ อภิ.ธมฺมสงฺ. ๓๔/๘๖๐/๓๓๓ ๖ ชา.อฏฺ. ๔๑/๓๘๐
๗ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๖๐/๑๙๙
๒๑๖
ความเมตตา, ความรัก ๒ ศัพท์
เมตฺตา (มิท เสฺนเห+ต+อา) ความเมตตา, ความรัก.
มิชฺชติ สิเนหตีติ เมตฺตา ความรักที่เอ็นดู ชื่อว่าเมตตา (ลบ ท, ซ้อน ตฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า). มิตฺเต ภวา เมตฺตา ความรักที่มีอยู่ในมิตร ชื่อว่าเมตตา (มิตฺต+ณ+อิ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า). จตสฺโส อปฺปมญฺญาโย เมตฺตา กรุณา มุทิตา อุเปกฺขา๑ อัปปมัญญามี ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
เมตฺติ (มิท เสฺนเห+ติ) ความเมตตา, ความรัก, ความเอ็นดู, ไมตรีจิต.
มิชฺชติ สิเนหตีติ เมตฺติ ความรักที่เอ็นดู ชื่อว่าเมตติ (ลบ ท, ซ้อน ตฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). มิตฺเต ภวา เมตฺติ ความรักที่มีอยู่ในมิตร ชื่อว่าเมตติ (มิตฺต+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). อิเมสํ ทฺวินฺนํ ภิกฺขูนํ เมตฺติ อติวิย ทฬฺหา๒ ไมตรีจิตของภิกษุทั้ง ๒ รูปนั้น แน่นแฟ้นยิ่งนัก
ความเห็น, ลัทธิ, ความเชื่อถือ ๕ ศัพท์
ทสฺสน (ทิส เปกฺขเน+ยุ) ความเห็น, ลัทธิ, ความเชื่อถือ, ความนิยม.
ทสฺสิยเต ทสฺสนํ ความเห็น ชื่อว่าทัสสนะ (อาเทศ ทิสฺ เป็น ทสฺสฺ, ยุ เป็น อน). สีลวา ทสฺสเนน สมฺปนฺโน๓ มีศีล สมบูรณ์ด้วยความเห็นถูก
ทิฏฺฐิ (ทิส เปกฺขเน+ติ) ความเห็น, ลัทธิ, ความเห็นผิด, ทิฐิ.
ทสฺสนํ ทิฏฺฐิ ความเห็น ชื่อว่าทิฐิ (อาเทศ สฺตฺ เป็น ฏฺฐฺ). สีลญฺจ สุวิสุทฺธํ ทิฏฺฐิ อุชุกา๔ ศีลบริสุทธิ์ดีและความเห็นก็ตรง
ลทฺธิ (ลภ ลาเภ+ติ) ความเห็นผิด, ลัทธิ, ความเชื่อถือ, ความนิยม.
ลภิตพฺพาติ ลทฺธิ, มิจฺฉาทิฏฺฐิยเมว ความเห็นที่บุคคลได้รับ ชื่อว่าลัทธิ ได้แก่มิจฉาทิฐิเท่านั้น (อาเทศ ตฺ เป็น ธฺ, ภฺ เป็น ทฺ). อิตฺถี ทิฏฺฐิและลทฺธิศัพท์เป็นอิตถีลิงค์. มม ลทฺธิ อนิยฺยานิกา สารวิรหิตา๕ ความเห็นผิดของเราไม่ควรนำไป ไม่มีสาระ
สิทฺธนฺต (สิทฺธ+อนฺต) ความเห็น, ลัทธิ, ความเชื่อถือ, หลักการ.
ฐิตปกฺโข สิทฺธนฺโต ความเห็นที่เป็นฝ่ายมั่นคง ชื่อว่าสิทธันตะ. สิทฺโธ อนฺโต อเนนาติ สิทฺธนฺโต ความเห็นที่ให้สำเร็จ(ซึ่งการยอมรับ)ในที่สุด ชื่อว่าสิทธันตะ(ลบสระหน้า)
สมย (สมสทฺทูปปท+อิ คติยํ+อ) ความเห็น, ลัทธิ, ทิฐิ.
สมนฺตโต อยนํ คติ สมโย ทัศนะที่เป็นไปโดยครอบคลุม ชื่อว่าสมยะ (อาเทศ อิ เป็น ย)
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๗๕๐/๓๗๕ ๒ องฺ.อฏฺ. ๑๔/๒๑๑/๒๓๓ ๓ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๑๐/๑๔
๔ ที.อฏฺ. ๔/๑๙๐/๑๕๙ ๕ ที.อฏฺ. ๖/๑๖๔/๙๕
๒๑๗
[๑๖๒] ตณฺหา จ ตสิณา เอชา ชาลินี จ วิสตฺติกา
ฉนฺโท ชฏา นิกนฺตฺยาสา สิพฺพินี ภวเนตฺติ จ.
[๑๖๓] อภิชฺฌา วนโถ วานํ โลโภ ราโค จ อาลโย
ปิหา มโนรโถ อิจฺฉา- ภิลาโส กามโทหฬา
อากงฺขารุจิ วุตฺตา สา ตฺวธิกา ลาลสา ทฺวิสุ.
ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความปรารถนา, ความใคร่ ๒๕ ศัพท์
ตณฺหา (ตส ปิปาสายํ+ณฺห+อา) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความปรารถนา, ความใคร่.
ยาย ตสนฺติ สา ตณฺหา ความอยากที่ทำให้กระหาย ชื่อว่าตัณหา. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา๑ ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย (ลบ สฺ ที่สุดธาตุ, ลบสระหน้า)
ตสิณา (ตส ปิปาสายํ+อิน+อา) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความปรารถนา, ความใคร่.
ตสนํ ตสิณา ความอยาก ชื่อว่าตสิณา (อาเทศ น เป็น ณ, ลบสระหน้า). เยสํ ตสิณา ตณฺหา อปฺปหีนา๒ ความอยาก ความต้องการที่บุคคลเหล่าใดยังไม่ละ
เอชา (เอช กมฺปเน+อ+อา) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความปรารถนา, ความใคร่.
เอชติ กมฺเปตีติ เอชา ความอยากที่ทำให้หวั่นไหว ชื่อว่าเอชา (ลบสระหน้า). เอชา ภิกฺขเว โรโค เอชา คณฺโฑ เอชา สลฺลํ ๓ ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเป็นดั่งโรค เป็นดั่งหัวฝี เป็นดั่งลูกศร
ชาลินี (ชาล+อินี) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความปรารถนา, ความใคร่.
สํสารโต นิสฺสริตุมปฺปทานวเสน ชาลสทิสตฺตา ชาลินี ตัณหาชื่อว่าชาลินี เพราะเป็นเหมือนข่าย ด้วยอำนาจการไม่ให้หลุดออกจากสงสาร (ลบสระหน้า). ยสฺส ชาลินี วิสตฺติกา ตณฺหา นตฺถิ๔ พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีตัณหาที่เป็นดุจข่ายอันแผ่ไปในอารมณ์ต่างๆ
วิสตฺติกา (วิสตฺต+อิก+อา) ตัณหา, ความอยาก, ความปรารถนา.
สพฺพตฺร วิสตา ปตฺถฏาติ วิสตฺติกา ตัณหาที่ซ่านไปในอารมณ์ทั้งปวง ชื่อว่าวิสัตติกา (ลบสระหน้า)
ฉนฺท (ฉนฺท อิจฺฉายํ+อ) ความต้องการ, ความพอใจ.
ฉนฺทนํ ฉนฺโท ความพอใจ ชื่อว่าฉันทะ. ตตฺถ เม วิคโต ฉนฺโท๕ เราปราศจากความพอใจในอารมณ์เหล่านั้น
ชฏา (ชฏา+วิย) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ชัฏคือตัณหา.
เตสุ เตสุ อารมฺมเณสุ อากุลีภูตตฺตา ชฏา วิยาติ ชฏา ตัณหาเหมือนชัฏป่า เพราะมีความสับสนในอารมณ์นั้นๆ จึงชื่อว่าชฏา (ลบ วิย). อนฺโต ชฏา พหิ ชฏา ชฏาย ชฏิตา ปชา๖ หมู่สัตว์ ถูกตัณหาทั้งภายในทั้งภายนอกรึงรัดเอาไว้
๑ วิ.มหา. ๔/๑/๑ ๒ ขุ.อฏฺ. ๔๙/๙๐/๑๕๔ ๓ สํ.สฬา. ๑๘/๑๒๐/๘๑
๔ สํ.สคาถ. ๑๕/๔๓๖/๑๕๗ ๕ วิ.มหา. ๔/๓๓/๔๐ ๖ สํ.สคาถ. ๑๕/๖๔๕/๒๔๒
๒๑๘
นิกนฺติ (นิ+กมุ อิจฺฉายํ+ติ) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความอาลัย, ความปรารถนา, ความพึงพอใจ.
นิกาเมตีติ นิกนฺติ อาการที่อยาก ชื่อว่านิกันติ (อาเทศ มฺ เป็น นฺ). นิกนฺติ นตฺถิ ชีวิเต๑ ไม่มีความอยากในชีวิต
อาสา (อิสุ อิจฺฉายํ+อ+อา) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความมั่นหมาย, ความหวัง.
อิจฺฉติ เอตายาติ อาสา ตัณหาที่ทำให้อยาก ชื่อว่าอาสา (อาเทศ อิ เป็น อา, ลบสระหน้า). อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ๒ ผู้ใดไม่มีความหวังทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
สิพฺพินี (สิวุ ตนฺตสนฺตาเน+อ+อินี) ตัณหา, ความอยาก, เครื่องร้อยรัด, ความต้องการ.
ภวาทีหิ ภวาทโย สิพฺพตีติ สิพฺพินี ตัณหาที่ร้อยภพติดไว้กับภพเป็นต้น ชื่อว่าสิพพีนี (ซ้อน วฺ, อาเทศ วฺวฺ เป็น พฺพฺ, ลบสระหน้า)
ภวเนตฺติ (ภวสทฺทูปปท+นี นเย+ติ) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ.
สตฺเต ภวํ เนตีติ ภวเนตฺติ ตัณหาที่นำสัตว์ไปสู่ภพ ชื่อว่าภวเนตติ (วุทธิ อี เป็น เอ, ซ้อน ตฺ). ภวเนตฺตีติ ภวรชฺชุ, ตณฺหาเยตํ นามํ ๓ บทว่า ภวเนตฺติ คือเชือกที่ร้อยรัดภพไว้ คำนี้เป็นชื่อของตัณหา
อภิชฺฌา (อภิ+เฌ จินฺตายํ+อ+อา) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ.
อารมฺมณาภิมุขํ ฌายตีติ อภิชฺฌา ตัณหาที่จดจ้องต่ออารมณ์ ชื่อว่าอภิชฌา (ซ้อน ชฺ, ลบสระหน้า). ภิกฺขุโน อภิชฺฌาลุสฺส อภิชฺฌา อปฺปหีนา โหติ๔ ภิกษุผู้มีอภิชฌายังละอภิชฌาไม่ได้
วนถ (วน สมฺภตฺติยํ+ถ) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ.
วนติ อเนนาติ วนโถ ตัณหาเป็นเครื่องทำให้อยาก ชื่อว่าวนถะ. สํสคฺคา วนโถ อสํสคฺเคน ฉิชฺชติ๕ ตัณหาเกิดขึ้นเพราะการคลุกคลี ตัณหาขาดไปเพราะการไม่คลุกคลี
วาน (วา คติยํ+ยุ) ตัณหา, เครื่องร้อยรัด, ความต้องการ.
วาติ อารมฺมณนฺติ วานํ ตัณหาที่ไปสู่อารมณ์ ชื่อว่าวานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ). สตฺเตสุ วาติ ปวตฺตตีติ วานํ ตัณหาที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าวานะ (วา ปวตฺตเน+ยุ, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ). สุคติทุคฺคติวเสน วินาตีติ วานํ ตัณหาที่ร้อยสัตว์ไว้ด้วยอำนาจสุคติและทุคติ ชื่อว่าวานะ (วิสํสิพฺพเน +ยุ, อาเทศ อิ เป็น อา, ยุ เป็น อน, ลบ อ). วานํ วุจฺจติ ตณฺหา๖ ตัณหาเรียกว่าวานะ
โลภ (ลุภ อิจฺฉายํ+ณ) โลภะ, ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความโลภ.
ลุพฺภนํ โลโภ ความอยาก ชื่อว่าโลภะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). โลโภ จ ปาปโก โทโส จ ปาปโก๗ โลภะและโทสะ เป็นบาปธรรม
๑ ขุ.เถร. ๒๖/๑๕๗/๒๖๕ ๒ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๗๐๗/๖๔๖ ๓ มชฺ.อฏฺ. ๙/๓๕๒/๒๔๘
๔ มชฺ.มูล. ๑๒/๔๘๐/๕๑๒ ๕ สํ.นิทาน. ๑๖/๓๗๒/๑๙๐ ๖ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๓๘๑/๑๘๔
๗ มชฺ.มูล. ๑๒/๒๖/๒๖
๒๑๙
ราค (รญฺช ราเค+ณ) ตัณหา, ความอยาก, ความกำหนัด, ราคะ.
รญฺชนํ รญฺชนฺติ วา อเนนาติ ราโค ความกำหนัดหรือตัณหาที่ทำให้กำหนัด ชื่อว่าราคะ (ลบ ญฺ, อาเทศ ชฺ เป็น คฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ราโค อุปฺปโถติ วุจฺจติ๑ ราคะท่านกล่าวว่าเป็นทางผิด
อาลย (อา+ลย คติยํ+อ) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความอาลัย.
อา ปุนปฺปุนํ อารมฺมเณสุ ลยตีติ อาลโย ตัณหาที่ไปในอารมณ์ทั้งหลายอยู่เนืองๆ ชื่อว่าอาลยะ. ปุนปฺปุนํ ลยติ สํสิเลสติ เอเตนาติ วา อาลโย หรือตัณหาเป็นเหตุให้ติดแน่น(ในอารมณ์) ชื่อว่าอาลยะ. น หิ ชีวิเต อาลยํ กุพฺพาโน๒ ไม่กระทำความอาลัยในชีวิต
ปิหา (ปิห อิจฺฉายํ+อ+อา) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ.
ปิหยติ เอตายาติ ปิหา ตัณหาที่ทำให้ต้องการ ชื่อว่าปิหา (ลบสระหน้า). ปิหา วุจฺจติ ตณฺหา๓ ตัณหาท่านเรียกว่าปิหา
มโนรถ (มน+รถ) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, มโนรถ.
จิตฺตสฺส นานารมฺมเณสุ วิพฺภมกรณโต มนโส รโถ อิว มโนรโถ ตัณหาเหมือนรถของจิต เพราะทำให้จิตแล่นวนไปในอารมณ์ต่างๆ จึงชื่อว่ามโนรถะ. มโน เอว รโถ วิยาติ วา มโนรโถ หรือใจนั่นแหละเป็นเหมือนรถ จึงชื่อว่ามโนรถะ (อาเทศ อ ที่สุดของ มน ศัพท์เป็น โอ กลางสมาส). อชฺช มม มโนรโถ ปูเรติ๔ ความต้องการแห่งใจของเราเพิ่งจะเต็มในวันนี้
อิจฺฉา (อิสุ อิจฺฉากนฺตีสุ+อ+อา) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความปรารถนา.
อิจฺฉนํ อิจฺฉา ความต้องการ ชื่อว่าอิจฉา (อาเทส สฺ เป็น จฺฉ, ลบสระหน้า). ชาติธมฺมานํ ภิกฺขเว สตฺตานํ เอวํ อิจฺฉา อุปฺปชฺชติ๕ ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีการเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้
อภิลาส (อภิ+ลส กนฺติยํ+ณ) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ.
อภิมุขํ กตฺวา ลสติ เอเตนาติ อภิลาโส ตัณหาเป็นเหตุให้อยากเฉพาะหน้า ชื่อว่าอภิลาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). สเจ เต มธุราทิเภเท รเส ตณฺหา อภิลาโส อุปฺปชฺเชยฺย๖ หากว่า ความอยากความต้องการในรสต่างๆ มีรสหวานเป็นต้นเกิดขึ้นแก่ท่าน
กาม (กมุ อิจฺฉายํ+ณ) กาม, ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความปรารถนา, ความใคร่.
กาเมตีติ กาโม๗ อาการที่ปรารถนา ชื่อว่ากามะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
๑ สํ.สคาถ. ๑๕/๒๑๐/๕๙ ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๓๙๖/๑๐๗ ๓ ขุ.มหานิ. ๒๙/๓๙๘/๒๗๑
๔ ธมฺม.อฏฺ. ๒๕/๔๓ ๕ ที.มหา. ๑๐/๒๙๕/๓๔๓ ๖ ขุ.อฏฺ. ๓๓/๔๔๖/๑๒๙
๗ ขุ.อฏฺ. ๔๕/๑/๑๒
๒๒๐
โทหฬ (โทหสทฺทูปปท+ลา เฉทเน+อ) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความปรารถนา.
ทุหนํ โทโห, ตํ ลาตีติ โทหโฬ ความเต็ม ชื่อว่าโทหะ (ทุห ปริปูรเณ+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ), ตัณหาที่ตัดความเต็มนั้น(ทำให้พร่องอยู่เสมอ) จึงชื่อว่าโทหฬะ (อาเทศ ล เป็น ฬ, ลบสระหน้า). ทุฏฺฐํ หทยเมเตนาติ วา โทหโฬ หรือตัณหาเป็นเหตุให้ใจเสีย ชื่อว่าโทหฬะ (ทุ+หทย, อาเทศ อุ เป็น โอ, หทย เป็น หฬ). ยาทิโส มม โทหโฬ๑ ความต้องการ(การแพ้พระครรภ์)ของหม่อมฉันเป็นเช่นใด
อากงฺขา (อา+กงฺข อิจฺฉายํ+อ+อา) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความหวัง, ความปรารถนา.
อากงฺขตีติ อากงฺขา ตัณหาที่อยาก ชื่อว่าอากังขา (ลบสระหน้า). ตสฺมา ตสิณํ วิโนทเย ภิกฺขุ อากงฺขํ วิราคมตฺตโน๒ เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อหวังความปราศจากราคะแก่ตน ควรบรรเทาตัณหาที่ทำให้สะดุ้งเสีย
รุจิ (รุจ อิจฺฉายํ+อิ) ตัณหา, ความอยาก, ความต้องการ, ความชอบใจ, ความปรารถนา.
รุจฺจติ อิจฺฉตีติ รุจิ ตัณหาที่ต้องการ ชื่อว่ารุจิ. รุจิ เจปิ ภารทฺวาช ปุริสสฺส โหติ๓ ท่านภารัทวาชะ หากบุรุษมีความชอบใจ
ความมักมากกามคุณ, หื่นกระหาย, ตัณหาแรง
ลาลสา (ลส กนฺติยํ+อ+อา) ความมักมากกามคุณ, หื่นกระหาย, ตัณหาแรง.
สา รุจิ อธิกา ลาลสา นาม ความอยากอันยิ่ง ชื่อว่าลาลสา, ปุนปฺปุนํ อติสยํ วา ลสตีติ ลาลสา ตัณหาที่อยากอยู่บ่อยๆ หรืออยากมาก ชื่อว่าลาลสา (ซ้อน ล, อาเทส อ เป็น อา, ลบสระหน้า). ยาจนายํ มหิจฺฉายํ อุสฺสุกฺเก ลาลสา ทฺวีสุ ลาลสาศัพท์มีใช้ในปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ ในอรรถการขอ ความต้องการมาก ความพยายาม
[๑๖๔] เวรํ วิโรโธ วิทฺเทโส โทโส จ ปฏิฆํ จ วา
โกธาฆาตา โกปโรสา พฺยาปาโทนภิรทฺธิ จ.
โทสะ, ความโกรธ, ความขัดเคือง, การกระทบกระทั่ง ๙ ศัพท์
เวร (วีร+ณ) โทสะ, ความขัดเคือง, การกระทบกระทั่ง, เวร.
ปาเยน วีเรสุ ภวํ เวรํ ความโกรธมีอยู่ในผู้กล้าเป็นส่วนมาก จึงชื่อว่าเวระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). เวรํ เวเรน น วูปสเมยฺย๔ เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร
วิโรธ (วิ+รุธ ปฏิฆาเต+ณ) ความขัดแย้ง, ความกระทบกระทั่ง, ความขัดเคือง.
วิรุชฺฌนํ วิโรโธ ความขัดเคือง ชื่อว่าวิโรธะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). ฉ วิโรธวตฺถูนิ อมนาปิเกสุ รูเปสุ จิตฺตสฺส อาฆาโต ปฏิฆาโต ... สทฺเทสุ ... คนฺเธสุ ... รเสสุ ... โผฏฺฐพฺเพสุ ... ธมฺเมสุ ...๕ ความโกรธมี ๖ อย่าง คือ ความอาฆาต ขัดเคืองใจในรูป ...ในเสียง ...ในกลิ่น ...ในรส ...ในสัมผัส ... ในธรรมที่ไม่น่าชอบใจ
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๒๓๒๘/๔๙๑ ๒ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๓๔/๖๑ ๓ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๖๕๖/๖๐๒
๔ วิ.มหา. ๕/๒๔๔/๓๔๔ ๕ อภิ.วิ. ๓๕/๙๙๓/๕๑๔
๒๒๑
วิทฺเทส (วิ+ทิส อปฺปีติยํ+ณ) ความโกรธ, ความขัดเคือง, ความไม่พอใจ.
วิทฺเทสนํ วิทฺเทโส ความไม่พอใจ ชื่อว่าวิทเทสะ (ซ้อน ทฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). ตว วิทฺเทโส ภเวยฺย๑ ความไม่พอใจจะมีแก่ท่าน
โทส (ทุส อปฺปีติยํ+ณ) โทสะ, ความฉุนเฉียว, ความโกรธ, ความขัดเคือง, ความไม่ยินดี.
ทุสฺสนํ โทโส ความโกรธ ชื่อว่าโทสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). มา เม โทสนีเยสุ ธมฺเมสุ โทโส อุทปาทิ๒ ความขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ อย่าเกิดขึ้นแก่เราเลย
ปฏิฆ (ปฏิ+หน หึสายํ+อ) ปฏิฆะ, ความโกรธ, ความขัดเคือง, ความคับแค้น.
อารมฺมเณ ปฏิหญฺญฺตีติ ปฏิฆํ อาการที่ขัดเคืองในอารมณ์ ชื่อว่าปฏิฆะ (อาเทศ หนฺ เป็น ฆ). ปฏิฆศัพท์ เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. เอเตสํ ปฏิฆํ นตฺถิ๓ ความขัดเคืองไม่มีแก่ภิกษุเหล่านี้
โกธ (กุธ โกเป+ณ) ความโกรธ, ความขัดเคือง, โทสะ.
กุชฺฌนํ โกโธ ความโกรธ ชื่อว่าโกธะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). สเจปิ เม โกโธ อุปฺปชฺเชยฺย ขิปฺปเมว นํ ปฏิวิเนยฺยํ ๔ หากความโกรธเกิดขึ้น เราควรกำจัดมันเสียโดยเร็วพลัน
อาฆาต (อา+หน หึสายํ+ต) ความโกรธ, ความแค้นเคือง, ความอาฆาต.
อาคนฺตฺวา หญฺญฺตีติ อาฆาโต ความโกรธที่มาเบียดเบียน ชื่อว่าอาฆาตะ (อาเทศ หนฺ ธาตุเป็น ฆา). เทวทตฺตสฺส ภควติ ปฐโม อาฆาโต อโหสิ๕ พระเทวทัตได้ผูกอาฆาตไว้ในพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งแรก
โกป (กุป โกเป+ณ) ความโกรธ, ความขัดเคือง.
กุปฺปตีติ โกโป, โกปยติ วา จิตฺตนฺติ โกโป อาการที่โกรธหรืออาการที่ขัดใจ ชื่อว่าโกปะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). โกโป พุทฺเธ น ชายติ๖ ความโกรธย่อมไม่เกิดในพระพุทธเจ้า
โรส (รุส โรสเน+ณ) ความโกรธ, ความขัดเคือง.
รุสนํ ทุสฺสนํ โรโส ความโกรธ ชื่อว่าโรสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). ปรสฺส โรโส โหติ๗ มีความโกรธต่อผู้อื่น
ความพยาบาท, การปองร้าย ๒ ศัพท์
พฺยาปาท (วิ,อา+ปท คติมฺหิ+ณ) ความพยาบาท, การปองร้าย.
พฺยาปชฺชติ วินสฺสติ จิตฺตเมเตนาติ พฺยาปาโท ความพยาบาทที่ทำลายจิตให้พินาศ ชื่อว่าพยาปาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ ที่ ป เป็น อา, อาเทศ อิ เป็น ย, วฺ เป็น พฺ). พฺยาปาโท จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส๘ ความพยาบาทเป็นอุปกิเลสของจิต.
๑ ชา.อฏฺ. ๓๙/๑๖๕ ๒ องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๔๔/๑๙๐ ๓ ขุ.อปทาน. ๓๒/๘/๖๘
๔ สํ.สคาถ. ๑๕/๙๐๖/๓๓๕ ๕ วิ.จุลฺล. ๗/๓๖๑/๑๗๓ ๖ ขุ.อปทาน. ๓๒/๘/๖๖
๗ ขุ.อฏฺ. ๒๖/๑๔/๑๑๗ ๘ มชฺ.มูล. ๑๒/๙๓/๖๔
๒๒๒
อยํ พฺยาปาโท นาม อนตฺถกโร๑ ชื่อว่าความพยาบาทนี้ ทำแต่สิ่งที่เป็นโทษให้
อนภิรทฺธิ (น+อภิ+รมุ รมเณ+ติ) ความพยาบาท, การปองร้าย, การเบียดเบียน, ความไม่พอใจในสมบัติของคนอื่น.
ปรสมฺปตฺตีสุ นาภิรมตีติ อนภิรทฺธิ ความรู้สึกไม่พอใจในสมบัติของคนอื่น ชื่อว่าอนภิรัทธิ (อาเทศ น เป็น อน, ตฺ เป็น ธฺ, มฺ เป็น ทฺ). เนว อตฺตโน น ปเรสํ หิตํ อภิราธยตีติ อนภิรทฺธิ, โกปสฺเสตํ อธิวจนํ ๒ อาการที่ไม่ยินดีเกื้อกูลทั้งแก่ตนและบุคคลอื่น ชื่อว่าอนภิรัทธิ, คำนี้ เป็นชื่อของความโกรธ
[๑๖๕] พทฺธเวรมุปนาโห สิยา โสโก ตุ โสจนํ
โรทิตํ กนฺทิตํ รุณฺณํ ปริเทโว ปริทฺทโว.
การผูกเวร, การจองเวร, ผูกอาฆาต ๒ ศัพท์
พทฺธเวร (พทฺธ+เวร) การผูกเวร, การจองเวร, ผูกอาฆาต.
เวรํ พชฺฌติ อเนนาติ พทฺธเวรํ กรรมที่เป็นเหตุให้ผูกเวรไว้ ชื่อว่าพัทธเวระ
อุปนาห (อุป+นห พนฺธเน+ณ) การผูกเวร, การจองเวร.
ปุนปฺปุนํ อุปคนฺตฺวา วา นยฺหติ จิตฺตนฺติ อุปนาโห เวรที่จิตผูกไว้บ่อยๆ หรือเข้าไปผูกจิตไว้ ชื่อว่าอุปนาหะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อุปนาโห จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส๓ การผูกเวรเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต
ความโศกเศร้า ๒ ศัพท์
โสก (สุจ โสเก+ณ) ความโศกเศร้า.
สุจนํ โสโก ความโศกเศร้า ชื่อว่าโสกะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ จฺ เป็น กฺ). อปิจ สตฺถุ ปรินิพฺพาเนน ตุมฺหากํ โสโก อุทปาทิ๔ ความโศกเศร้าเกิดขึ้นแก่พวกท่าน เพราะการปรินิพพานของพระศาสดาหรือ
โสจน (สุจ โสเก+ยุ) ความโศกเศร้า.
สุจียเต โสจนํ ความโศกเศร้า ชื่อว่าโสจนะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ยุ เป็น อน). โสจนํ โสโก๕ ความโศกเศร้า ชื่อว่าโสกะ
การร้องไห้ ๓ ศัพท์
โรทิต (รุทิ อสฺสุวิโมจเน+อิ+ต) การร้องไห้.
โรทนํ โรทิตํ การร้องไห้ ชื่อว่าโรทิตะ (วุทธิ อุ เป็น โอ). โรทิตํ โมฆมาหุ สนฺโต๖ สัตบุรุษกล่าวว่าการร้องไห้ไม่มีประโยชน์
๑ ที.อฏฺ. ๔/๒๔๔/๑๙๔ ๒ ที.อฏฺ. ๔/๕/๕๑ ๓ มชฺ.มูล. ๑๒/๙๕/๖๖
๔ ที.อฏฺ. ๔/๔๔๘/๓๒๐ ๕ ขุ.อฏฺ. ๒๖/๑/๔๔ ๖ ขุ.ชา. ๒๗/๘๑๐/๑๘๓
๒๒๓
กนฺทิต (กทิ อวฺหาเน+นิคฺคหีตาคม+อิ+ต) การร้องไห้.
กนฺทนํ กนฺทิตํ การร้องไห้ ชื่อว่ากันทิตะ (อาเทศนิคหิตเป็น นฺ). กนฺทิตรุทิตํ นิรตฺถกํ ๑ การร้องไห้คร่ำครวญไม่มีประโยชน์เลย
รุณฺณ (รุ สทฺเท+ต) การร้องไห้.
รวนํ รุณฺณํ การร้องไห้ ชื่อว่ารุณณะ (อาเทศ ต เป็น อณฺณ, ลบ อ)
น หิ รุณฺณํ วา โสโก วา ยาวญฺญา ปริเทวนา
น ตํ เปตานมตฺถาย เอวํ ติฏฺฐนฺติ ญาตโย.๒
ไม่ควรร้องไห้โศกเศร้าเสียใจรำพัน การร้องไห้เป็นต้นนั้นไม่เป็นประโยชน์
แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เพราะว่าญาติทั้งหลายย่อมเป็นไปอยู่อย่างนั้น
การคร่ำครวญ, การร่ำไร ๒ ศัพท์
ปริเทว, ปริทฺทว (ปริ+ทิวุ โสเก+ณ) การคร่ำครวญ, การร่ำไร, ความเสียใจ.
เทวนํ โสเกน วิลาโป ปุนปฺปุนํ สมนฺตโต วา เทโว ปริเทโว ปริทฺทโว จ การคร่ำครวญร่ำไรด้วยความโศกเศร้าหรือความโศกเศร้าทุกอย่าง ชื่อว่าปริเทวะและปริททวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, หรืออาเทศ อิ เป็น อ แล้วซ้อน ทฺ บ้าง).
สาวกานํ ยุเค ปรินิพฺพุเต นตฺถิ ตถาคตสฺส โสโก วา ปริเทโว วา๓ เมื่อพระสาวกปรินิพพานทั้งคู่ พระศาสดามิได้ทรงโศกเศร้าเสียใจเลย. ชาติชฺชรญฺจ โสกญฺจ ปริทฺทวญฺจ ตรนฺติ๔ ข้ามพ้นชาติ ชรา ความโศกเศร้า และคร่ำครวญ
[๑๖๖] ภีติตฺถิ ภยมุตฺตาโส เภรวํ ตุ มหพฺภยํ.
ภัย, ความกลัว, ความน่ากลัว, สิ่งน่ากลัว ๓ ศัพท์
ภีติ (ภี ภเย+ติ) ภัย, ความกลัว, ความน่ากลัว, สิ่งน่ากลัว.
ภายนํ ภีติ ความกลัว ชื่อว่าภีติ. อิตฺถี ภีติศัพท์เป็นอิตถีลิงค์
ภย (ภี ภเย+ณ) ภัย, ความกลัว, ความน่ากลัว, สิ่งน่ากลัว.
ภายนํ ภยํ ความน่ากลัว ชื่อว่าภยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). นตฺถิ ภิกฺขเว ปณฺฑิตโต ภยํ ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภัยจากบัณฑิตย่อมไม่มี
อุตฺตาส (อุ+ตส อุพฺเพเช+ณ) ความกลัว, ความน่ากลัว, ความสะดุ้งกลัว.
อุตฺตสเต อุตฺตาโส ความน่ากลัว ชื่อว่าอุตตาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ซ้อน ตฺ)
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๕๖๘/๑๓๙ ๒ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๘/๑๐ ๓ สํ.มหา. ๑๙/๗๔๓/๒๑๘
๔ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๑๖๓/๘๒ ๕ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๒๓๕/๑๖๖
๒๒๔
อุตฺตาส (อุ+ตส อุพฺเพเช+ณ) ความกลัว, ความน่ากลัว, ความสะดุ้งกลัว.
อุตฺตสเต อุตฺตาโส ความน่ากลัว ชื่อว่าอุตตาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ซ้อน ตฺ)
สิ่งที่น่ากลัวมาก, ความหวาดกลัว, ภัยใหญ่ ๒ ศัพท์
เภรว (ภีรุ+ณ) สิ่งที่น่ากลัวมาก, ความหวาดกลัว, ภัยใหญ่.
ภีรุโน อิทํ เภรวํ ความหวาดกลัวนี้เป็นของคนขี้ขลาด จึงชื่อว่าเภรวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ อุ เป็น อว). ภยานกํ เภรวํ อิมํ ปสฺสิตฺวา อุตฺตสิตฺวา มริสฺสติ๑ เห็นสิ่งที่น่ากลัวนี้แล้วจักสะดุ้งตาย
มหพฺภย, มหาภย (มหนฺต+ภย) สิ่งที่น่ากลัวมาก, ความหวาดกลัว, ภัยใหญ่, มหันตภัย, มหาภัย.
มหนฺตญฺจ ตํ ภยชนกตฺตา ภยญฺจาติ มหพฺภยํ, มหาภยํ ความกลัวมีมาก เพราะเกิดจากความหวาดผวา จึงชื่อว่ามหัพภยะและมหาภยะ (อาเทศ มหนฺต เป็น มหา, ซ้อน พฺ, รัสสะ อา เป็น อ บ้าง). กึสุ ตสฺส มหพฺภยํ ... ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ ๒ อะไรเป็นสิ่งน่ากลัวมากสำหรับเขา... ความทุกข์เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับเขา. มยฺหํ ภนฺเต อวิทูเร มหาภยเภรวสทฺโท อโหสิ๓ ท่านผู้เจริญ เสียงที่น่ากลัวมากได้มีแก่ข้าพเจ้าในที่ไม่ไกลนัก
[๑๖๗] เภรวํ ภีสนํ ภีมํ ทารุณํ จ ภยานกํ
โฆรํ ปฏิภยํ เภสฺมํ ภยงฺกรมิเม ตีสุ.
ภัย, สิ่งที่น่ากลัว ๙ ศัพท์
เภรว (ภีรุ+ณ) ภัย, สิ่งที่น่ากลัว.
ภีรุโน อิทํ เภรวํ สิ่งน่ากลัวของคนขี้ขลาดนี้ ชื่อว่าเภรวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ อุ เป็น อว). สรํ กตฺวาน เภรวํ ๔ กระทำเสียงให้น่ากลัว
ภึสน (ภี ภเย+ส+ยุ) ภัย, สิ่งที่น่ากลัว, ความหวาดหวั่น.
ภายติ ยสฺมาติ ภึสนํ สิ่งที่บุคคลกลัว ชื่อว่าภิงสนะ (รัสสะ อี เป็น อิ, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า). กุมคฺคํ ปฏิปนฺนมฺหา ภึสนํ โลมหํสนํ ๕ สิ่งที่น่ากลัวจนทำให้ขนลุกชูชันเกิดจากการเดินไปสู่ทางที่น่ากลัว
ภีม (ภี ภเย+ม) ภัย, สิ่งที่น่ากลัว.
ภายติ ยสฺมาติ ภีมํ สิ่งที่บุคคลกลัว ชื่อว่าภีมะ. กุหึ อยํ นียติ ภีมกาโย๖ งูที่น่ากลัวตัวนี้ ท่านจะนำไปที่ไหน
ทารุณ (ทร วิทารเณ+อุณ) ภัย, สิ่งที่น่ากลัว, ร้ายกาจ, ทารุณ, โหดร้าย.
ทรียตีติ ทารุณํ ภัยที่บุคคลกลัว ชื่อว่าทารุณะ (วุทธิ อ เป็น อา). ทารุณํ นิรยํ คนฺตฺวา๗ ไปสู่นรกอันน่ากลัว
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๒๐๐/๑๔๔ ๒ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๔๒๕/๕๓๐ ๓ สํ.สคาถ. ๑๕/๔๘๔/๑๗๕
๔ ที.มหา. ๑๐/๒๔๖/๒๙๖ ๕ ขุ.วิมาน. ๒๖/๑๒๓/๒๔๒ ๖ ขุ.ชา. ๒๗/๒๔๙๘/๕๕๐
๗ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๗๙/๓๙๙
๒๒๕
ภยานก (ภี ภเย+ณฺวุ) ภัย, สิ่งที่น่ากลัว.
ภายติ ยสฺมาติ ภยานกํ สิ่งที่บุคคลกลัว ชื่อว่าภยานกะ (อาเทศ ณฺวุ เป็น อานก, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). สพฺพํ สรีรสญฺชาตํ ปูติคนฺธํ ภยานกํ ๑ อวัยวะที่เนื่องในสรีระทั้งหมดมีกลิ่นเหม็นและน่ากลัว
โฆร (ฆุร ภีเม+ณ) ภัย, สิ่งที่น่ากลัว.
ฆุรติ ภึสตีติ โฆรํ สิ่งที่ทำให้กลัว ชื่อว่าโฆระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). อุเปนฺติ โรรุวํ โฆรํ ๒ พากันเข้าถึงโรรุวนรกอันน่ากลัว
ปฏิภย (ปฏิ+ภี ภเย+ณ) ภัย, สิ่งที่น่ากลัว.
ปฏิวตฺตติ ภยํ จิตฺตุตฺราโส ยสฺมาติ ปฏิภยํ สิ่งที่ทำให้จิตสะดุ้งกลัว ชื่อว่าปฏิภยะ (ลบ ณ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). ปณฺฑิโต อารกา ปริวชฺเชยฺย มคฺคํ ปฏิภยํ ยถา๓ บัณฑิตพึงเว้น(คนพาล)เสียให้ห่างไกล เหมือนคนเดินทางเว้นทางมีภัย
เภสฺม (ภี ภเย+สฺม) ภัย, สิ่งที่น่ากลัว.
ภายติ เอตสฺมาติ เภสฺมํ สิ่งที่บุคคลกลัว ชื่อว่าเภสมะ (วุทธิ อี เป็น เอ). เอโก อโหสิ นิคฺโฆโส เภสฺมา อจฺจุคฺคโต สทฺโท๔ มีเสียงกรีดร้องอย่างหนึ่งน่าหวาดกลัว
ภยงฺกร (ภยสทฺทูปปท+กร กรเณ+อ) ภัย, สิ่งที่น่ากลัว.
ภยํ กโรตีติ ภยงฺกรํ สิ่งที่ทำ ความน่ากลัวให้ ชื่อว่าภยังกระ (บทนี้เป็นอลุตตสมาสไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ).
ตีสุ อิเม ศัพท์ทั้ง ๙ เหล่านี้มีใช้ในลิงค์ทั้ง ๓
[๑๖๘] อิสฺสา อุสูยา มจฺเฉรํ ตุ มจฺฉริยมจฺฉรํ
โมโห วิชฺชา ตถาญาณํ มาโน วิธา จ อุนฺนติ.
ความริษยา, อิจฉา, ชิงชัง ๒ ศัพท์
อิสฺสา (อิสฺส อิสฺสายํ+อ+อา) ความริษยา, อิจฉา, ความชิงชัง.
อิสฺสติ สนฺเตสุปิ คุเณสุ วจสา มนสา วา โทสาโรปนํ กโรตีติ อิสฺสา ความอิจฉา คือการกล่าวโทษในคุณแม้มีอยู่ ด้วยวาจาหรือด้วยใจ ชื่อว่าอิสสา (ลบสระหน้า). อิสฺสา จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส๕ ความอิจฉา เป็นความเศร้าหมองของจิต
อุสูยา (อุสูย โทสาวิกรเณ+อ+อา) ความริษยา, อิจฉา, ความชิงชัง.
อุสูยติ โทสํ อาวี กโรตีติ อุสูยา ความอิจฉาที่จะทำความผิดให้กระจ่าง(คอยจับผิด) ชื่อว่าอุสูยา (ลบสระหน้า). ปรสมฺปตฺติอสหนลกฺขณา อุสูยา๖ ความอิจฉามีการทนต่อสมบัติของคนอื่นไม่ได้เป็นลักษณะ
๑ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๖๕/๓๔๗ ๒ สํ.สคาถ. ๑๕/๑๓๒/๔๑ ๓ ที.ปาฏิก. ๑๑/๑๙๑/๒๐๑
๔ ข.ชา. ๒๘/๗๗๙/๒๗๓ ๕ มชฺ.มูล. ๑๒/๙๓/๖๕ ๖ ขุ.อฏฺ. ๓๓/๗๖๘/๓๑๖
๒๒๖
ความตระหนี่, มัจฉริยะ, เห็นแก่ตัว ๓ ศัพท์
มจฺเฉร (มสุ อามสเน+จฺเฉร) ความตระหนี่, มัจฉริยะ, เห็นแก่ตัว.
ตณฺหาย ปรามสนํ มจฺเฉรํ การยึดไว้เพราะต้องการ ชื่อว่ามัจเฉระ. สตฺตสมฺปตฺตีนํ มจฺเฉรติ นิคูหตีติ มจฺเฉโร ความตระหนี่ ที่ปกปิดสมบัติของสัตว์ไว้ ชื่อว่ามัจเฉระ (ลบ สฺ). อตฺตโน สมฺปตฺตินิคูหนลกฺขณํ มจฺเฉรํ ๑ ความตระหนี่มีการปกปิดสมบัติของตนไว้เป็นลักษณะ
มจฺฉริย (มจฺฉร+อิย) ความตระหนี่, มัจฉริยะ, เห็นแก่ตัว.
มจฺฉรเมว มจฺฉริยํ ความตระหนี่นั่นเอง ชื่อว่ามัจฉริยะ. อตฺตสมฺปตฺติยา ปเรหิ สาธารณภาวอสหนลกฺขณํ มจฺฉริยํ ๒ ความตระหนี่ มีการทนไม่ได้ที่สมบัติของตนตกเป็นของสาธารณะแก่บุคคลอื่นเป็นลักษณะ
มจฺฉร (มสุ อามสเน+จฺฉร) ความตระหนี่, มัจฉริยะ, เห็นแก่ตัว.
ตณฺหาย ปรามสนํ มจฺฉรํ การหวงแหนไว้เพราะยังมีความต้องการ ชื่อว่ามัจฉระ (ลบ สฺ). สพฺเพ มจฺฉริโน โลเก จาเคน อติโรจติ๓ ย่อมรุ่งเรืองกว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลกด้วยการบริจาค
โมหะ, ความไม่รู้, ความหลง, ความโง่ ๓ ศัพท์
โมห (มุห เวจิตฺเต+ณ) โมหะ, ความไม่รู้, ความหลง, ความโง่, ความเขลา.
มุหตีติ โมโห อาการที่หลง ชื่อว่าโมหะ. สมฺปยุตฺตธมฺมา มุยฺหนฺติ เอเตนาติ โมโห อาการที่ทำให้สัมปยุตธรรมหลง ชื่อว่าโมหะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). อาโรปิโต สงฺเฆน อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน โมโห๔ ความไม่รู้ของภิกษุชื่อนี้อันสงฆ์ยกขึ้นมากล่าวแล้ว
อวิชฺชา (น+วิท าเณ+ย+อา) โมหะ, ความไม่รู้, อวิชชา, ความหลง, ความโง่, ความเขลา.
น วิทตีติ อวิชฺชา อาการที่ไม่รู้ ชื่อว่าอวิชชา (อาเทศ น เป็น อ, อาเทศ ทฺย เป็น ช, ซ้อน ชฺ, ลบสระหน้า). ปฐมา วิชฺชา อธิคตา อวิชฺชา วิหตา๕ วิชชาที่ ๑ เราบรรลุแล้ว อวิชชาเราละขาดแล้ว
อาณ (น+า อวโพธเน+ยุ) โมหะ, ความไม่รู้, ความหลง, ความโง่.
น วิชานาตีติ อาณํ อาการที่ไม่รู้ ชื่อว่าอญาณะ (อาเทศ น เป็น อ, ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบ อ). จตูสุ สจฺเจสุ อาณํ อวิชฺโชโฆ นาม๖ ความไม่รู้ในสัจจะทั้ง ๔ ชื่อว่าอวิชโชฆะ
๑ มชฺ.อฏฺ. ๗/๓๓/๑๑๕ ๒ ที.อฏฺ. ๕/๓๕๗/๓๓๔ ๓ องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๓๑/๓๖
๔ วิ.มหาวิ. ๒/๖๙๑/๔๕๗ ๕ วิ.มหาวิ. ๑/๓/๗ ๖ สํ.อฏฺ. ๑๑/๑/๑๖
๒๒๗
ความถือตัว, ความสำคัญตน ๓ ศัพท์
มาน (มาน ปูชายํ+อ) ความถือตัว, ความสำคัญตน.
มาเนตีติ มาโน อาการที่ให้เขาบูชา ชื่อว่ามานะ. เสยฺยาทิวเสน มญฺญตีติ มาโน อาการสำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเป็นต้น ชื่อว่ามานะ (มน ญาเณ +ณ. ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). มานิยเต อเนนาติ มาโน อาการที่เป็นเหตุอยากให้คนนับถือ ชื่อว่ามานะ (มา มาเน+ยุ, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ). อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป อิสฺสา มาโน จ วฑฺฒติ๑ คนพาลดำริอย่างนี้ ความอิจฉาและความถือตัวย่อมเจริญ
วิธา (วิ+ธา ธารเณ+กฺวิ) ความถือตัว.
เสยฺยาทิภาเว อตฺตานํ วิทธาติ เอตายาติ วิธา อาการที่เป็นเหตุให้ยกตนไว้ในฐานะที่ประเสริฐกว่าเป็นต้น ชื่อว่าวิธา (ลบ กฺวิ ปัจจัย). วิธาศัพท์ เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์. เสยฺโยหมสฺมีติ วิธาติ อาทีสุ มาโน วิธา นาม๒ ความถือตัวเป็นต้นว่า ถือตัวว่าเราเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ชื่อว่าวิธา
อุนฺนติ (อุ+นมุ นมเน+ติ) ความถือตัว.
อุนฺนมนํ อุนฺนติ การถือตัว ชื่อว่าอุนนติ. อุทฺธํ นมติ เอตายาติ อุนฺนติ อาการที่ให้ยืดอกขึ้นสูงๆ ชื่อว่าอุนนติ (ลบ มฺ, ซ้อน นฺ). อุนฺนติศัพท์ เป็นอิตถีลิงค์. มยา สทิโส นตฺถีติ อติกฺกมิตฺวา อุนฺนติ๓ ความถือตัวเกินท่านว่า ผู้เช่นกับเราไม่มี
[๑๖๙] อุทฺธจฺจมุทฺธฏํ จาถ ตาโป กุกฺกุจฺจเมว จ
ปจฺฉาตาโปนุตาโป จ วิปฺปฏิสาโร ปกาสิโต.
ความฟุ้งซ่าน ๒ ศัพท์
อุทฺธจฺจ (อุทฺธต+ณฺย) ความฟุ้งซ่าน.
อุทฺธตสฺส ภาโว อุทฺธจฺจํ ความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุทธัจจะ (ลบ ณฺ และสระหน้า, อาเทศ ตฺย เป็น จ, ซ้อน จฺ). อุทฺธจฺจํ วิจิกิจฺฉา จ สพฺพโสว น วิชฺชติ๔ ความฟุ้งซ่านและความสงสัยย่อมไม่มีโดยประการทั้งปวง
อุทฺธต (อุ+หน คติยํ+ต) ความฟุ้งซ่าน.
อุทฺธํ อุทฺธํ หนติ คจฺฉตีติ อุทฺธโต อาการที่ฟุ้งขึ้นข้างบนเรื่อยๆ ชื่อว่าอุทธตะ (อาเทศ หนฺ เป็น ธ, ซ้อน ทฺ). เอกจฺโจ ปุคฺคโล อุทฺธโต โหติ๕ บุคคลบางคนมีความฟุ้งซ่าน
ความร้อนใจ, ความเดือดร้อน, ความกระวนกระวาย ๕ ศัพท์
ตาป (ตป สนฺตาเป+ณ) ความร้อนใจ, ความเดือดร้อน, ความกระวนกระวาย.
ตปติ จิตฺตเมเตนาติ ตาโป อาการที่ทำให้จิตร้อนรุ่ม ชื่อว่าตาปะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). น ตาปํ ชเนติ๖ ไม่ให้ความร้อนใจเกิดขึ้น
๑ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๑๕/๒๔ ๒ ที.อฏฺ. ๖/๓๐๕/๑๘๔ ๓ ขุ.อฏฺ. ๔๘/๑๘๘/๓๑
๔ องฺ.ทสก. ๒๔/๑๒/๑๘ ๕ องฺ.ติก. ๒๐/๕๕๕/๓๔๒ ๖ ชา.อฏฺ. ๓๗/๒๓๗
๒๒๘
กุกฺกุจฺจ (กุสทฺทูปปท+กร กรเณ+ต+ณฺย) ความร้อนใจ, ความเดือดร้อน, รำคาญใจ.
กุจฺฉิตํ กโรตีติ กุกฺกุตํ สภาพที่ทำอาการน่าเกลียด ชื่อว่ากุกกุตะ (อาเทศ กรฺ เป็น กุ, ซ้อน กฺ). กุกฺกุตสฺส ภาโว กุกฺกุจฺจํ ความมีอาการน่าเกลียด ชื่อว่ากุกกุจจะ (กุกฺกุต+ณฺย, ลบ ณฺ และสระหน้า, อาเทศ ตฺย เป็น จ, ซ้อน จฺ). เอวรูปํ กุกฺกุจฺจํ กุกฺกุจฺจายนา กุกฺกจฺจายิตตฺตํ เจตโส วิปฺปฏิสาโร มโนวิเลโข อิทํ วุจฺจติ กุกฺกุจฺจํ ๑ ความเดือดร้อนใจ กระวนกระวายใจ ร้อนรุ่มใจ ทุรนทุรายใจ นี้เรียกว่าความร้อนใจ
ปจฺฉาตาป (ปจฺฉาสทฺทูปปท+ตป สนฺตาเป+ณ) ความร้อนใจ, ความเดือดร้อน, ความร้อนรุ่ม.
ปจฺฉา ตปติ เอเตนาติ ปจฺฉาตาโป เหตุที่ทำให้ร้อนใจภายหลัง ชื่อว่าปัจฉาตาปะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
อนุตาป (อนุ+ตป สนฺตาเป+ณ) ความร้อนใจ, ความเดือดร้อน, ความกระวนกระวาย.
อนุตปติ เยน โส อนุตาโป เหตุที่ทำให้ร้อนใจภายหลัง ชื่อว่าอนุตาปะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). โหติ จ เม อนุตาโป๒ ข้าพเจ้ามีความร้อนใจ
วิปฺปฏิสาร (วิ+ปติ+สร คติยํ+ณ) ความร้อนใจ, วิปฏิสาร, ความร้อนรุ่มใจ.
วิรูเปน ปติ ปุนปฺปุนํ สรติ จิตฺตเมเตนาติ วิปฺปฏิสาโร เหตุที่ทำให้จิตเป็นไปด้วยอาการอันแปลกบ่อยๆ ชื่อว่าวิปปฏิสาระ (ซ้อน ปฺ, อาเทศ ตฺ เป็น ฏฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ปญฺจหากาเรหิ วิปฺปฏิสาโร อุปทหาตพฺโพ๓ ภิกษุโจทก์(ผู้อื่น)ไม่เป็นธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง
[๑๗๐] มโนวิเลขสนฺเทหา สํสโย จ กถํกถา
เทฺวฬฺหกํ วิจิกิจฺฉา จ กงฺขา สงฺกา วิมตฺยปิ.
ความสงสัย, ความเคลือบแคลงใจ, ความลังเล, ฉงนสนเท่ห์ ๙ ศัพท์
มโนวิเลข (มนสทฺทูปปท+วิ+ลิข เลขเน+ณ) ความสงสัย, ความเคลือบแคลงใจ, ความลังเล, ฉงนสนเท่ห์.
มนํ วิเลขติ ทฺวิธากรณวเสนาติ มโนวิเลโข อาการที่แยกจิตออกเป็น ๒ อย่าง ชื่อว่ามโนวิเลขะ (อาเทศ อ ของ มน เป็น โอ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). วิจิกิจฺฉาสงฺขาโต มโนวิเลโข จ อุปฺปชฺชติเยว๔ ความสงสัย กล่าวคือวิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น
สนฺเทห (สํ+ทิห สํสเย+ณ) ความสงสัย, ความเคลือบแคลงใจ, ความลังเล, ฉงนสนเท่ห์.
สนฺเทหนํ สนฺเทโห ความสงสัย ชื่อว่าสันเทหะ (อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). ปมตฺตกรณฏฺเฐน สนฺเทโห๕ ความสงสัยชื่อว่าสันเทหะ เพราะอรรถว่าทำให้งงงวย
๑ วิ.อฏฺ. ๑/๒๗๙ ๒ ขุ.วิมาน. ๒๖/๔๐/๗๐ ๓ วิ.จุลฺล. ๗/๕๐๖/๓๑๔
๔ วิ.อฏฺ. ๒/๔๗๔ ๕ ขุ.อฏฺ. ๔๕/๗/๙๐
๒๒๙
สํสย (สํ+สี กงฺขายํ+ณ) ความสงสัย, ความเคลือบแคลงใจ, ความลังเล.
สมนฺตโต เสตีติ สํสโย อาการที่สงสัยทั่วทุกอย่าง ชื่อว่าสังสยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). อิติ เม นตฺถิ สํสโย๑ ความสงสัยอย่างนี้ไม่มีแก่เรา
กถํกถา (กถํสทฺทูปปท+กถ กถเน+อ+อา) ความสงสัย, ความเคลือบแคลงใจ, ความลังเล.
"กถมิท"มิติ กถยติ เอตายาติ กถํกถา อาการที่เป็นเหตุทำให้บุคคลพูดคำถามว่า "สิ่งนี้เป็นอย่างไร" ชื่อว่ากถังกถา (ลบสระหน้า). กถํกถา วุจฺจติ วิจิกิจฺฉา๒ ความสงสัย เรียกว่า กถังกถา
เทฺวฬฺหก (ทฺวิสทฺทูปปท+อิล คติกมฺปเนสุ+ห+ก) ความสงสัย, ความเคลือบแคลงใจ.
ทฺวิธา อิลติ จิตฺตเมเตนาติ เทฺวฬฺหกํ เหตุที่ทำให้จิตเป็นไป ๒ อย่าง (สองจิตสองใจ) ชื่อว่าทฺเวฬหกะ (วุทธิ อิ ของ อิลฺ เป็น เอ, อาเทศ ลฺ เป็น ฬฺ, ลบ อิ ที่ ทฺวิ). เทฺวฬฺหกํ นตฺถิ สํสโย นตฺถิ๓ ไม่มีความสงสัยเคลือบแคลงใจ
วิจิกิจฺฉา (วิ+กิต โรคาปนยเน+ฉ+อา) ความสงสัย, ความเคลือบแคลงใจ, วิจิกิจฉา.
วิคตา จิกิจฺฉา เอตายาติ วิจิกิจฺฉา ความสงสัยที่เป็นเหตุอับจนความคิด ชื่อว่าวิจิกิจฉา (ซ้อน กิ เป็น กิกิ, อาเทศ กฺ ตัวหน้าเป็น จฺ, ลบ ตฺ, ซ้อน จฺ, ลบสระหน้า). โสหํ ตถา กริสฺสามิ ยถา เม ปุน น วิจิกิจฺฉา อุปฺปชฺชิสฺสติ๔ เราจักทำโดยประการที่ความสงสัยจักไม่เกิดขึ้นอีก
กงฺขา (กงฺข วิจิกิจฺฉายํ+อ+อา) ความสงสัย, ความเคลือบแคลง, ความลังเล, กังขา.
กงฺขติ วิจิกิจฺฉตีติ กงฺขา อาการที่สงสัย ชื่อว่ากังขา (ลบสระหน้า). อิเมสุ ฉสุ ฐาเนสุ กงฺขา ปหีนา โหติ๕ ละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้
สงฺกา (สงฺก สงฺกายํ+อ+อา) ความสงสัย, ความเคลือบแคลง, สงกา.
สงฺกนํ สงฺกา อาการที่สงสัย ชื่อว่าสังกา (ลบสระหน้า)
วิมติ (วิ+มน ญาเณ+ติ) ความสงสัย, ความเคลือบแคลง, วิมัติ.
วิวิเธนากาเรน มญฺญติ เอตสฺมาติ วิมติ ความสงสัยเป็นเหตุให้เข้าใจว่าเป็นอาการต่างๆ ชื่อว่าวิมติ (ลบ นฺ ที่สุดธาตุ). วิมติศัพท์เป็นอิตถีลิงค์. ยสฺส ชายติ วิมติ๖ ความเคลือบแคลงของภิกษุใดเกิดขึ้น
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๗๕๘/๑๗๕ ๒ ขุ.มหานิ. ๒๙/๔๗๒/๓๒๑ ๓ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๖๖๒/๓๑๖
๔ มชฺ.อุปริ. ๑๔/๔๕๒/๓๐๒ ๕ สํ.ขนฺธ. ๑๗/๔๑๙/๒๕๐ ๖ วิ.ปริ. ๘/๑๓๖๖/๕๕๔
๒๓๐
[๑๗๑] คพฺโพภิมาโนหํกาโร จินฺตา ตุ ฌานมุจฺจเต
นิจฺฉโย นิณฺณโย วุตฺโต ปฏิญฺญา ตุ ปฏิสฺสโว.
ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง, ความทะนงตัว, ถือตัว ๓ ศัพท์
คพฺพ (คพฺพ มาเน+อ) ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง, ความทะนงตัว, ถือตัว.
คพฺเพติ น สํกุจตีติ คพฺโพ อาการเย่อหยิ่ง คือไม่ยอมท้อถอย ชื่อว่าคัพพะ. ครติ อญฺเญ อเนน ปีเฬตีติ คพฺโพ ความหยิ่งทำให้เบียดเบียนคนอื่น ชื่อว่าคัพพะ (คร ปีฬเน+พ. อาเทศ รฺ เป็น พฺ)
อภิมาน (อภิ+มาน ปูชายํ+อ) ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง, ความทะนงตัว, ถือตัว.
อตฺตานํ อภิมญฺญติ เอเตนาติ อภิมาโน อาการที่ทำให้มีความสำคัญตนยิ่ง ชื่อว่าอภิมานะ. วิเสสโต มาเนตีติ อภิมาโน อาการที่ถือตนอย่างยิ่ง ชื่อว่าอภิมานะ. สตฺตรชาทีสุ อภิมาโน อหํกาโร อสฺมิมตฺตา๑ ผู้เย่อหยิ่งจองหองในสัตตคุณ(ความสุข) รชคุณ(ความทุกข์) ตมคุณ(ความหลง)
อหํการ (อหํสทฺทูปปท+กร กรเณ+ณ) ความหยิ่งจองหอง, อหังการ.
"อห"มิติ อตฺตานํ กโรติ เอเตนาติ อหํกาโร อาการที่เป็นเหตุให้ยกตนว่า "เรา" ชื่อว่าอหังการะ (มาจาก อหํ นิบาต หรือ อมฺห ศัพท์ก็ได้, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). เอวํ อหํกาโร อุปฺปชฺเชยฺย๒ ความจองหองเช่นนี้ จะเกิดขึ้น
ความคิด, ความสร้างสรรค์ ๒ ศัพท์
จินฺตา (จินฺต จินฺตายํ+อ+อา) ความคิด, ความสร้างสรรค์.
จินฺตตีติ จินฺตา ความคิด ชื่อว่าจินตา (ลบสระหน้า). ทานํ ทาตุํ น ลภิสฺสามีติ จินฺตา อุปฺปนฺนา๓ เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักไม่ได้ถวายทาน
ฌาน (เฌ จินฺตายํ+ยุ) ความคิด, ความเพ่งพินิจ.
ฌายเต ฌานํ ความคิด ชื่อว่าฌานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง)
การตัดสินใจ, ความตกลงใจ ๒ ศัพท์
นิจฺฉย (นิ+จย คมเน+อ) การตัดสินใจ, ความตกลงใจ.
นิจฺฉยนํ นิจฺฉโย การตัดสิน ชื่อว่านิจฉยะ (อาเทศ จ เป็น ฉ, ซ้อน จฺ). ชายมานสมีปมฺหิ วนวาสาย นิจฺฉโย๔ ในเวลาใกล้คลอด ท่านตัดสินใจอยู่ในป่า
๑ วิสุทฺธิ.ฏี. ๓/๒๑๓/๔๑๐ ๒ ที.อฏฺ. ๕/๑๒๔/๑๐๖ ๓ มชฺ.อฏฺ. ๘/๒๕๒/๔๓
๔ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๓๙/๒๔๗
๒๓๑
นิณฺณย (นิ+นี นเย+ณ) การตัดสินใจ, ความตกลงใจ.
อารมฺมณํ นิจฺฉินนฺโต นยตีติ นิณฺณโย อาการที่ตัดสินนำอารมณ์ไป ชื่อว่านิณณยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย, น เป็น ณ, ซ้อน ณฺ). อธิโมกฺขนิณฺณยายํ โก เภโท. อธิโมกฺโข อารมฺมณํ อชฺโฌคาเหตฺวา ติฏฺฐติ, นิณฺณโย วินิจฺฉยมตฺตเมวาติ อยเมเตสํ วิเสโส. อถวา อธิโมกฺโข ปสาเทปิ สมฺภวติ, อิตโร ปน น ตถาติ อยํเปฺยเตสํ เภโท. ตตฺร นิจฺฉยสทฺโท อิธาปิ ปวตฺตตีติ ทฺวีสุปิ วุตฺโต อธิโมกข์กับนิณณยะต่างกันอย่างไร ต่างกันอย่างนี้ คือ อธิโมกข์ดิ่งลงสู่อารมณ์แล้วตั้งอยู่ ส่วนนิณณยะเพียงตัดสินเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง อธิโมกข์มีอยู่ในปสาทรูป ส่วนนิณณยะไม่มี. นิจฺฉยศัพท์ท่านกล่าวว่าใช้ได้ทั้งในอธิโมกข์และนิณณยะทั้ง ๒
คำรับรอง, การยืนยัน, คำปฏิญญา ๒ ศัพท์
ปฏิญฺญา (ปติ+า อวโพธเน+กฺวิ) คำรับรอง, การยืนยัน, คำปฏิญญา.
ปฏิชานนํ ปฏิญฺญา การรับรอง ชื่อว่าปฏิญญา (อาเทศ ตฺ เป็น ฏฺ, ซ้อน ญฺ, ลบ กฺวิ). เทฺว ปฏิญฺา กาเยน วา ปฏิชานาติ วาจาย วา ปฏิชานาติ๑ ปฏิญญามี ๒ อย่าง คือ ปฏิญญาด้วยกาย และปฏิญญาด้วยวาจา
ปฏิสฺสว (ปติ+สุ สวเน+อ) คำรับรอง, การยืนยัน, คำมั่นสัญญา, คำปฏิญญา.
ปฏิสวนํ ปฏิสฺสโว การรับรอง ชื่อว่าปฏิสสวะ (อาเทศ ตฺ เป็น ฏฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว, ซ้อน สฺ). กโต จ เต จิตฺต ปฏิสฺสโว มยา๒ ท่านจิตตะ เราทำการรับรองแก่ท่านเอง
คำรับรองมีอีกหลายศัพท์ เช่น สํวิทา, อาคู, ปฏิญฺญาณ, นิยม, สฺสว, สํสว, องฺคีการ, อภฺยุปคม, สมาธิ
[๑๗๒] อวมานํ ติรกฺกาโร ปริภโว ปฺยนาทโร
ปราภโว ปฺยวญฺญาถ อุมฺมาโท จิตฺตวิพฺภโม.
การดูหมิ่น, การดูถูก, เหยียดหยาม, สบประมาท, นินทา ๖ ศัพท์
อวมาน (อว+มาน ปูชายํ+อ) การดูหมิ่น, ดูถูก, เหยียดหยาม, สบประมาท.
เหฏฺฐา กตฺวา ชานนํ อวมานํ การดูหมิ่น ชื่อว่าอวมานะ. ปริสมชฺเฌ เม อวมานํ กโรสิ๓ ท่านดูหมิ่นเราในท่ามกลางบริษัท
ติรกฺการ (ติรสทฺทูปปท+กร กรเณ+ณ) การดูหมิ่น, ดูถูก, เหยียดหยาม, สบประมาท.
อญฺญํ ติรํ กโรตีติ ติรกฺกาโร อาการที่ข่มบุคคลอื่นไว้เบื้องล่าง ชื่อว่าติรักการะ (ซ้อน กฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ติโรธานกรณํ ติรกฺกาโร การข่มผู้อื่น ชื่อว่าติรักการะ
๑ วิ.ปริ. ๘/๙๔๖/๒๙๙ ๒ ขุ.เถร. ๒๖/๓๙๙/๔๒๐ ๓ ที.อฏฺ. ๖/๒๕๑/๑๓๘
๒๓๒
ปริภว (ปริ+ภู สตฺตายํ+ณ) การดูหมิ่น, ดูถูก, เหยียดหยาม, สบประมาท.
ปริภวนํ ปริภโว การดูถูก ชื่อว่าปริภวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อู เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว). ปริภวํ ปรํ ปญฺหํ ปุจฺฉติ๑ ถามปัญหาที่ดูถูกภิกษุรูปอื่น
อนาทร (น+อา+ทร อาทเร+อ) การดูหมิ่น, ดูถูก, ความไม่อาทร, ไม่เอื้อเฟื้อ.
อาทโร สกฺกาโร ตพฺพิปรีโต อนาทโร อาการที่ตรงข้ามกับความอาทรและการยกย่อง ชื่อว่าอนาทระ (อาเทศ น เป็น อน, ลบสระหน้า). อนาทโร อปฺปฏิกาโร๒ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ
ปราภว (ปรา+ภู สตฺตายํ+ณ) การดูหมิ่น, ดูถูก, นินทา, ความเสื่อมเสีย, ความพินาศ.
ปราภวนํ ปราภโว การดูหมิ่น ชื่อว่าปราภวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อู เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว)
อวญฺญา (อว+า อวโพธเน+กฺวิ) การดูหมิ่น, การดูถูก, เหยียดหยาม, สบประมาท.
อวชานนํ อวญฺญา การดูหมิ่น ชื่อว่าอวัญญา (ซ้อน ญฺ, ลบ กฺวิ)
ความเป็นบ้า, วิกลจริต, เสียสติ ๒ ศัพท์
อุมฺมาท (อุ+มท อุมฺมาเท+ณ) ความเป็นบ้า, วิกลจริต, เสียสติ, บ้าคลั่ง, มัวเมา.
อุคฺคเตหิ อุมฺมคฺคสณฺฐิเตหิ วา โทเสหิ มทนํ อุมฺมาโท ความมัวเมาเพราะโทสะที่ฟุ้งขึ้นหรือที่ทำให้ตั้งตนอยู่นอกลู่นอกทาง ชื่อว่าอุมมาทะ (ซ้อน มฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อุณฺหํ วา โลหิตํ มุขโต อุคฺคจฺเฉยฺย อุมฺมาทํ วา ปาปุเณยฺย๓ เลือดอุ่นๆ ไหลทะลักออกจากปากหรือถึงความเป็นบ้า
จิตฺตวิพฺภม (จิตฺต+วิพฺภม) ความเป็นบ้า, วิกลจริต, เสียสติ.
จิตฺตสฺส วิพฺภโม ภนฺติ จิตฺตวิพฺภโม ความวิปลาสแห่งจิต ชื่อว่าจิตตวิพภมะ
[๑๗๓] เปมํ สิเนโห เสฺนโหถ จิตฺตปีฬา วิสญฺญิตา
ปมาโท สติโวสฺสคฺโค โกตูหลํ กุตูหลํ.
ความรัก, ความมีเยื่อใย, เสน่หา ๓ ศัพท์
เปม (ปิย+อิม) ความรัก, ความมีเยื่อใย, เสน่หา.
ปิยสฺส ภาโว เปมํ การมีความรัก ชื่อว่าเปมะ (อาเทศ ปิย เป็น ป, ลบสระหน้า, วิการ อิ เป็น เอ). ปีนยตีติ วา ปี, ปิโน ภาโว เปมํ หรือความอิ่มเอิบ ชื่อว่าปี (ปี ตปฺปเน+กฺวิ, ลบ กฺวิ), การมีความอิ่มเอิบ ชื่อว่าเปมะ (ปี+อิม, ลบสระหน้า, วิการ อิ เป็น เอ). อธิมตฺตํ เปมํ โหติ๔ มีความรักใคร่ยิ่ง
สิเนห (สินิห ปีติยํ+ณ) ความรัก, ความมีเยื่อใย, สิเนหา.
สิเนหนํ สิเนโห ความรัก ชื่อว่าสิเนหะ (ลบ ณฺ, อาเทศ อิ เป็น เอ). น หิ นูนมฺหากํ อยฺยสฺส ปุตฺเต สิเนโห อชายถ๕ พระอัยกาของเราไม่ทรงเกิดสิเนหาในพระโอรสแน่นอน
๑ องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๖๕/๒๑๓ ๒ วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๘/๑๕ ๓ สํ.สคาถ. ๑๕/๕๑๔/๑๘๔
๔ วิ.มหา. ๔/๘๔/๑๐๐ ๕ ขุ.ชา. ๒๘/๑๒๓๕/๔๔๑
๒๓๓
เสฺนห (สฺนิห ปีติยํ+ณ) ความรัก, ความมีเยื่อใย, เสน่หา.
เสฺนหนํ เสฺนโห ความรัก ชื่อว่าเสนหะ (ลบ ณฺ, อาเทศ อิ เป็น เอ). สิเนหกรณวเสน เสฺนโห๑ ความรักด้วยอำนาจการทำให้เสน่หา ชื่อว่าสเนหะ
การสลบ, หมดสติ, หมดความรู้สึก, วิสัญญี ๒ ศัพท์
จิตฺตปีฬา (จิตฺต+ปีฬา) การสลบ, หมดสติ, หมดความรู้สึก, วิสัญญี.
จิตฺตสฺส ปีฬา จิตฺตปีฬา การแน่นิ่งไปของจิต ชื่อว่าจิตตปีฬา. ปุนปฺปุนานุโสจนวเสน ปน จิตฺตปีฬาปิ นาโหสิ๒ แม้จะโศกเศร้าอยู่บ่อยๆ ก็ไม่ถึงกับหมดสติ
วิสญฺญี, วิสญฺญิตา (วิ+สญฺญา+อี,อิ+ต) การสลบ, หมดสติ, หมดความรู้สึก, วิสัญญี.
วิคตา นีลาทิสญฺชานนลกฺขณา สญฺญา เอตสฺมาติ วิสญฺญี, ตสฺส ภาโว วิสญฺญิตา ไม่มีความจำลักษณะมีสีเขียวเป็นต้นจากการสลบ ฉะนั้น การสลบนั้น จึงชื่อว่าวิสัญญี, ความเป็นแห่งวิสัญญีนั้น ชื่อว่าวิสัญญิตา (ลบสระหน้า)
ความประมาท, เผลอ, พลั้งเผลอ ๒ ศัพท์
ปมาท (ป+มท ปมาเท+ณ) ความประมาท, เผลอ, พลั้งเผลอ.
สกฺโก สมาโน สยํ กตฺตพฺพํ น กโรติ, โส ปมาโท ผู้มีความสามารถแต่ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยตนเอง ชื่อว่าปมาทะ. ปมชฺชนํ ปมาโท ความประมาท ชื่อว่าปมาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). มา จ มโท มา จ ปมาโท๓ อย่ามัวเมาและอย่าประมาท
สติโวสฺสคฺค (สติสทฺทูปปท+วิ+สช วิสชฺชนาลิงฺคนนิมฺมาเนสุ+อ) ความประมาท, เผลอ, พลั้งเผลอ.
สติยา วิสชฺชนํ สติโวสฺสคฺโค การละจากสติ ชื่อว่าสติโวสสัคคะ (อาเทศ อิ เป็น โอ, ซ้อน สฺ, อาเทศ ชฺ เป็น คฺ, ซ้อน คฺ). ปมตฺโตติ สติโวสฺสคฺเคน สมนฺนาคโต๔ คำว่าประมาท คือมีความพลั้งเผลอ
โกลาหล, อื้ออึง, กระฉ่อน, แตกตื่น ๒ ศัพท์
โกตูหล (กุสทฺทูปปท+ตุช หึสายํ+อล) โกลาหล, อื้ออึง, กระฉ่อน, แตกตื่น.
กุํ ปาปํ โตชตีติ โกตูหลํ ความโกลาหลที่เบียดเบียนบาป ชื่อว่าโกตูหละ (อาเทศ อุ ที่ กุ เป็น โอ, ทีฆะ อุ เป็น อู, อาเทศ ชฺ เป็น หฺ)
กุตูหล (กุสทฺทูปปท+ตุล นิกฺกรีเส+อ) โกลาหล, อื้ออึง, กระฉ่อน, แตกตื่น.
กุํ ปาปํ ตุลยตีติ กุตูหลํ ความแตกตื่น(พากันทำความดี)ให้บาปเบาบาง ชื่อว่ากุตูหละ (ลง ห อักษรอาคมกลางธาตุ, ทีฆะ อุ เป็น อู)
โกลาหลมีอีกหลายศัพท์ เช่น โกตุล, กุตุก
๑ มชฺ.อฏฺ. ๘/๓๗๔/๑๙๕ ๒ วิ.ฏี. ๑/๒๕๘/๖๗๕ ๓ วิ.ฏี. ๑/๒๕๘/๖๗๕
๔ ธมฺม.อฏฺ. ๒๔/๑๒๖
๒๓๔
[๑๗๔] วิลาโส ลลิตํ ลีลา หาโว เหฬา จ วิพฺภโม
อิจฺจาทิกา สิยุํ นาริ สิงฺคารภาวชา กิริยา.
กิริยาอาการของสตรีผู้มีความรัก ๖ อย่าง
กิริยาอาการเกิดขึ้นกับสตรี เพราะต้องการความรักความสนใจจากบุรุษ เช่น วิลาสะ ชมดชม้อยเมียงมอง ลลิตะ ท่าทางละมุนละม่อม ลีลา ความงามชดช้อย หาวะ เล่นหูเล่นตาให้ท่า เหฬา ยั่วยวน วิพภมะ เหนียมอายขวยเขิน
วิลาส (วิ+ลส กนฺติยํ+ณ) ชมดชม้อยเมียงมอง.
วิเสเสน ลสตีติ วิลาโส อาการรักใคร่พิเศษ ชื่อว่าวิลาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). คมนาทีหิ วา อริยาปเถหิ อลงฺกาเรหิ วา วิลาสํ ทสฺเสติ๑ ท่านแสดงความงามชมดชม้อยด้วยอิริยาบถต่างๆ มีการเดินเป็นต้น หรือด้วยการประดับตกแต่ง
ลลิต (ลล วิลาเส+อิ+ต) ท่าทางละมุนละม่อม.
ลลิยเต ลลิตํ ความอ่อนหวาน ชื่อว่าลลิตะ
ลีลา (ลล วิลาเส+อ+อา) ความงามอ่อนช้อย.
ลลิยเต ลีลา ความงาม ชื่อว่าลีลา (อาเทศ อ เป็น อี, ลบสระหน้า). อนวฏฺฐิตรูปานํ อวยวานํ สา ลีลา วิลาโส๒ ความงามของอวัยวะนั้น ไม่ยั่งยืน
หาว (หุ หวเน+ณ) เล่นหูเล่นตาให้ท่า.
หุยนฺเต ราคิโน อตฺราติ หาโว อาการที่คนมีราคะเรียกหา ชื่อว่าหาวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาว)
เหฬา, เหลา (หิล หาวกรเณ+อ+อา) ยั่วยวน.
หิลนฺติ เอตฺถาติ เหฬา, สุรโต ปวุฑฺเฒจฺฉา เหฬา อาการที่หญิงเล่นหูเล่นตายั่วยวน ชื่อว่าเหฬา (อาเทศ ลฺ เป็น ฬฺ, ลบสระหน้า), ความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างแรงกล้า ชื่อว่าเหฬา. หิ อิจฺฉิตาลาภาทิวเสน ปวตฺตํ ทุกฺขํ ลุนาติ ฉินฺทตีติ เหลา อาการที่ตัดความทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนาเป็นต้น ชื่อว่าเหลา (หิสทฺทูปปท+ลา เฉทเน+กฺวิ, ลบ กฺวิ ปัจจัย, อาเทศ อิ เป็น เอ)
๑ ชา.อฏฺ. ๔๒/๓๗๑ ๒ วิสุทฺธิ.ฏี. ๑/๒๓๔/๓๑๓
๒๓๕
วิพฺภม (วิ+ภมุ อนวฏฺฐาเน+อ) เหนียมอายขวยเขิน, ประหม่า.
วิพฺภมตีติ วิพฺภโม อาการที่ขวยเขิน ชื่อว่าวิพภมะ (ซ้อน พฺ). อานนฺทตฺเถรสฺส เยภุยฺเยน นวกาย ปริสาย วิพฺภเมน มหากสฺสปตฺเถโร เอวมาห๑ โดยมาก ท่านมหากัสสปเถระกล่าวอย่างนี้ด้วยความขวยเขินต่อบริษัท ๙ หมู่ของท่านอานนทเถระ
ส่วนคัมภีร์นาฏกรตนโกสะกล่าวกิริยาอาการของหญิงผู้มีความรักไว้ ๑๐ ประการ ดังนี้
ลีลา วิลาโส วิจฺฉิตฺติ วิพฺภโม กิลกิญฺจิตํ
โมฏฺฏายิตํ กุฏฺฏมิตํ วิพฺโพโก ลลิตํ ตถา
วิกตญฺเจติ วิญฺเยฺยา ทส ถีนํ สภาวชา.
กิริยาอาการที่เกิดขึ้นจากความเป็นสตรีผู้มีความรัก พึงรู้ว่ามี ๑๐ ประการ คือ ลีลา งามอ่อนช้อย วิลาสะ ชมดชม้อยเมียงมอง อิจฉิตติ รู้จักแต่งเนื้อแต่งตัว วิพภมะ เหนียมอายขวยเขิน กิลกิญจิตะ ออดอ้อน โมฏฏายิตะ กะมิดกะเมี้ยน กุฏฏมิตะ เล่นตัว ลลิตะ ท่าทางละมุนละม่อม วิกตะ ทำท่าทางพิลึก
[๑๗๕] หสนํ หสิตํ หาโส มนฺโท โส มิหิตํ สิตํ
อฏฺฏหาโส มหาหาโส โรมญฺโจ โลมหํสนํ.
การหัวเราะ, ขำขัน, ตลกขบขัน ๓ ศัพท์
หสน (หส หสเน+ยุ) การหัวเราะ, ขำขัน, ตลกขบขัน.
หสิยเต หสนํ การหัวเราะ ชื่อว่าหสนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)
หสิต (หส หสเน+อิ+ต) การหัวเราะ, ขำขัน, ตลกขบขัน.
หสิยเต หสิตํ การหัวเราะ ชื่อว่า หสิตะ. ปุพฺเพ หสิตํ ลปิตํ กีฬิตํ สมนุสฺสรามิ๒ ข้าพเจ้าหวนระลึกถึงการหัวเราะ พูดหยอกเย้า เล่นสนุกสนานในครั้งก่อน
หาส (หส หสเน+ณ) การหัวเราะ, ขำขัน, ตลกขบขัน.
หสิยเต หาโส การหัวเราะ ชื่อว่า หาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). โก นุ หาโส กิมานนฺโท๓ หัวเราะขำขันอะไรกันหนอ
การยิ้ม, ยิ้มแย้ม ๒ ศัพท์
มิหิต (มิห อีสํหสเน+อิ+ต) การยิ้ม, ยิ้มแย้ม.
โส หาโส มนฺโท สมาโน มหิตํ การหัวเราะเล็กน้อยนั้น(การยิ้ม)ชื่อว่ามิหิตะ. หสนียสฺมึ วตฺถุสฺมึ มิหิตมตฺตํ กโรติ๔ ในเรื่องที่น่าหัวเราะก็ทำได้เพียงยิ้ม
๑ วิ.ฏี. ๑/๓๖/๗๐ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๓๐/๔๕ ๓ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๒๑/๓๕
๔ วิ.มหาวิ. ๒/๘๑๐/๕๓๖
๒๓๖
สิต (มิห อีสํหสเน+ต) การยิ้ม, ยิ้มแย้ม.
หสิยเตติ สิตํ การยิ้ม ชื่อว่าสิตะ (อาเทศ มิหฺ เป็น สิ). อถ โข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน คิชฺฌกูฏา ปพฺพตา โอโรหนฺโต อญฺญตรสฺมึ ปเทเส สิตํ ปาตฺวากาสิ๑ ครั้งนั้น ขณะที่ท่านมหาโมคคัลลานะลงจากเขาคิชฌกูฏถึงที่แห่งหนึ่ง ได้ยิ้มให้เห็น
การยิ้มมีอีกหลายศัพท์ เช่น มนฺทสฺสิต, มฺหิต
การหัวเราะเสียงดัง, หัวเราะร่วน ๒ ศัพท์
อฏฺฏหาส (อติ+หาส) การหัวเราะเสียงดัง, หัวเราะร่วน.
ทูรคามิหาโส อฏฺฏหาโส, อติกฺกนฺโต วา หาโส อฏฺฏหาโส การหัวเราะดังก้องไปไกล หรือการหัวเราะเสียงดัง ชื่อว่าอัฏฏหาสะ (อาเทศ อิ เป็น อ, ต เป็น ฏ, ซ้อน ฏฺ). ปีติวสํ คตหทยตาย มิหิตมตฺตํ อกตฺวา อฏฺฏหาสํ หสนฺติ๒ ไม่เพียงแค่ยิ้ม พากันหัวเราะจนเสียงดัง เพราะเบิกบานใจ
มหาหาส (มหนฺต+หาส) การหัวเราะเสียงดัง, หัวเราะร่วน.
มหนฺโต จ โส หาโส จาติ มหาหาโส การหัวเราะเสียงดัง(หัวเราะร่วน) ชื่อว่ามหาหาสะ (อาเทศ มหนฺต เป็น มหา)
ขนลุกขนพอง, สยดสยอง, ขนพองสยองเกล้า ๒ ศัพท์
โรมญฺจ (โรมสทฺทูปปท+อญฺจ คติยํ+อ) ขนลุกขนพอง, สยดสยอง, ขนพองสยองเกล้า.
โรมานํ อญฺจนํ โรมญฺโจ อาการขนลุกขนพอง ชื่อว่าโมมัญจะ
โลมหํสน (โลม+หํสน) ขนลุกขนพอง, สยดสยอง, ขนพองสยองเกล้า, ขนลุกชูชัน.
โลมานํ หํสนํ อุทฺธคฺคภาโว โลมหํสโน อาการที่ขนตั้งชูชันขึ้นข้างบน ชื่อว่าโลมหังสนะ. กุมคฺคํ ปฏิปนฺนมฺหา ภีสนํ โลมหํสนํ ๓ พวกเราเดินทางผิดไปสู่ทางที่น่าสะพรึงกลัวจนขนลุกขนพอง
[๑๗๖] ปริหาโส ทโว ขิฑฺฑา เกฬิ กีฬา จ กีฬิตํ
นิทฺทา ตุ สุปินํ โสปฺปํ มิทฺธํ จ ปจลายิกา.
กีฬา, การเล่น, ความสนุกสนาน, การหยอกล้อ ๖ ศัพท์
ปริหาส (ปริ+หส หสเน+ณ) กีฬา, การเล่น, ความสนุกสนาน, การหยอกล้อ.
ปริหสนฺติ เอตฺถาติ ปริหาโส สถานที่สำหรับเล่น ชื่อว่าปริหาสะ. ปริภวิตุกาเมน หาโสติ วา ปริหาโส การหัวเราะเพราะต้องการจะเล่น ชื่อว่าปริหาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). โส ภิกฺขุ เตน ปริหาเสน ลชฺชิโต๔ ภิกษุนั้นละอายเพราะการเล่นนั้น
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๒๙๕/๒๑๐ ๒ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๓๗/๗๒ ๓ ขุ.เปต. ๒๖/๑๒๓/๒๔๒
๔ ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๗๘
๒๓๗
ทว (ทุ ปริหาเส+อ) กีฬา, การเล่น, ความสนุกสนาน, การหยอกล้อ, การล้อเลียน.
ทุโนตีติ ทโว. ทวตีติ วา ทโว อาการที่เล่นร่าเริง ชื่อว่าทวะ (ทว ทาเห+อ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว). น ภิกฺขเว พุทฺธํ วา ธมฺมํ วา สงฺฆํ วา อารพฺภ ทโว กาตพฺโพ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ควรเล่นล้อเลียนพระพุทธเจ้า พระธรรมหรือพระสงฆ์
ขิฑฺฑา (ขิฑ กีฬายํ+อ+อา) กีฬา, การเล่น, ความสนุกสนาน, การหยอกล้อ.
ขิฑิยเตติ ขิฑฺฑา การเล่น ชื่อว่าขิฑฑา (ซ้อน ฑฺ, ลบสระหน้า). ขํ ตุจฺฉํ อิฑฺฑา วาจา เอตฺถาติ ขิฑฺฑา การเล่นที่กล่าวคำอันเปล่าประโยชน์ ชื่อว่าขิฑฑา (ข+อิฑฺฑา, ลบสระหน้า). ขิฑฺฑา รตี โหติ สหายมชฺเฌ๑ การเล่นสนุกสนาน ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางเพื่อนฝูง
เกฬิ (กีฬ ปีติกีฬเนสุ+ณิ) กีฬา, การเล่น, ความสนุกสนาน, การหยอกล้อ.
กีฬนํ เกฬิ การเล่น ชื่อว่าเกฬิ (ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ). เกฬิญฺจ ปริหาสญฺจ กโรนฺตา นิสีทึสุ๒ พากันนั่งเล่นและหัวเราะอย่างสนุกสนาน
กีฬา (กีฬ ปีติกีฬเนสุ+อ+อา) กีฬา, การเล่น, ความสนุกสนาน, การหยอกล้อ.
กีฬนํ กีฬา การเล่น ชื่อว่ากีฬา (ลบสระหน้า). เตสํ สา กีฬา จตูหิ มาเสหิ ปริโยสานํ คจฺฉติ๓ การเล่นอย่างนั้น ของเทวดาเหล่านั้น เล่นถึง ๔ เดือนจึงสิ้นสุด
กีฬิต (กีฬ ปีติกีฬเนสุ+อิ+ต) กีฬา, การเล่น, ความสนุกสนาน, การหยอกล้อ.
กีฬนํ กีฬิตํ การเล่น ชื่อว่ากีฬิตะ. เอส ตยา กีฬิตกีฬิตํ กีฬติ๔ เขาเล่นสิ่งที่เราเล่นแล้วเล่นอีก
การเล่นมีอีกหลายศัพท์ เช่น กีฬก, กีฬต, กีฬนก, กิฬากิจฺจ, กีฬิก
การนอนหลับ, ความฝัน, นิทรา ๓ ศัพท์
นิทฺทา (นิ+ทา สุปเน+กฺวิ) การนอนหลับ, นิทรา.
นิทายเต นิทฺทา การนอนหลับ ชื่อว่า นิททา (ซ้อน ทฺ, ลบ กฺวิ). ปริชนสฺสปิ ปจฺฉา นิทฺทา โอกฺกมิ๕ บริวารนอนหลับภายหลัง
สุปิน (สุป สเย+อิน) การนอนหลับ, ความฝัน, สุบิน.
สุปิยเต สุปินํ การนอนหลับ ชื่อว่า สุปินะ. ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ๖ ฝันเห็นสิ่งชั่วร้าย
โสปฺป (สุป สเย+อ) การนอนหลับ, ความฝัน.
สุปิยเต โสปฺปํ การนอนหลับ ชื่อว่าโสปปะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, ซ้อน ปฺ). โสปฺปํ สุปนา สุปิตตฺตํ ๗ การนอนหลับ ความเคลิบเคลิ้ม ความโงกง่วง
๑ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๒๙๖/๓๓๓ ๒ ชา.อฏฺ. ๓๘/๒๑๘ ๓ ที.อฏฺ. ๕/๒๙๔/๒๖๒
๔ ธมฺม.อฏฺ. ๒๕/๑๘๒ ๕ วิ.มหา. ๔/๒๕/๒๙ ๖ วิ.มหา. ๕/๑๕๖/๒๑๖
๗ อภิ.ธมฺมสงฺ. ๓๔/๗๕๑/๒๙๖
๒๓๘
ความโงกง่วง, เคลิบเคลิ้ม, สัปหงก ๒ ศัพท์
มิทฺธ (มิท การิยกฺขมเน+ต) การโงกง่วง, ความซึมเซา.
อจฺจนฺตปริสฺสมาทิการณา สพฺพงฺคนิมีลนํ มิทฺธํ ความโงกง่วงจนร่างกายโอนเอียง เพราะความเหน็ดเหนื่อยเป็นต้น ชื่อว่า มิทธะ (อาเทศ ต เป็น ธ). ฉ ภิกฺขเว ธมฺเม อปฺปหาย อภพฺโพ อรหตฺตํ สจฺฉิกาตุํ. กตเม ฉ. ถีนํ มิทฺธํ อุทฺธจฺจํ กุกฺกุจฺจํ อสฺสทฺธิยํ ปมาทํ ๑ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ อย่างไม่ได้ ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นพระอรหันต์ ธรรม ๖ ได้แก่ ความง่วงเหงา ความซึมเซา ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญใจ ความไม่มีศรัทธา และความประมาท
ปจลายิกา (ปจลสทฺทูปปท+อย คมเน+ณฺวุ+อา) ความโงกง่วง, เคลิบเคลิ้ม, สัปหงก.
อกฺขิทลานํ ปจลภาเวน อยติ ปวตฺตตีติ ปจลายิกา อาการโงกง่วงที่เป็นไปโดยการสัปหงก ชื่อว่า ปจลายิกา. ปจลภาเวน อยนํ ปวตฺตนํ ปจลายิกา อาการที่เป็นไปเพราะความง่วงนอน ชื่อว่าปจลายิกา (อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, อ เป็น อิ, ลบสระหน้าแล้วทีฆะสระหลัง)
[๑๗๗] ถิยํ นิกติ กูฏํ จ ทมฺโภ สฐฺยํ จ เกตวํ
สภาโว ตุ นิสฺสคฺโค จ สรูปํ ปกติตฺถิยํ.
[๑๗๘] สีลํ จ ลกฺขณํ ภาโว อุสฺสโว ตุ ฉโณ มโห.
การคดโกง ๕ ศัพท์
นิกติ (นิ+กร กรเณ+ติ) การโกง.
กรณํ กติ, นินฺทิตา กติ นิกติ การกระทำ ชื่อว่ากติ, การกระทำที่ถูกตำหนิ ชื่อว่านิกติ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุ). ถิยํ นิกติศัพท์เป็นอิตถีลิงค์
อาโลปสาหสาการา นิกติ วญฺจนานิ จ
ทิสฺสนฺติ โลภธมฺเมสุ ตสฺมา โลภํ น โรจเย.๒
ความโลภมีอาการหยาบ เป็นเหตุให้เที่ยวปล้นสะดม ขู่เอาสิ่งของ แสดง ของปลอม โกงเอาของคนอื่น หลอกลวง บาปธรรมทั้งหลายนี้มีปรากฏอยู่เพราะความโลภ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจความโลภเลย
กูฏ (กุ+อฏ คมเน+อ) การโกง.
กุจฺฉิเตนากาเรน อฏตีติ กูฏํ การคดโกงที่เป็นไปโดยอาการน่ารังเกียจ ชื่อว่ากูฏะ (ลบสระหลัง, ทีฆะสระหน้า)
ทมฺภ (ทภิ พฺยาเช+อ) การโกง.
ทมฺภนํ ทมฺโภ การคดโกง ชื่อว่าทัมภะ (ลงนิคหิต อาคม, อาเทศนิคหิตเป็น มฺ)
๑ องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๓๗/๔๗๑ ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๑๓๓๖/๒๗๓
๒๓๙
สฐฺย, สฐ (สฐ เกตเว+ย,อ) การโกง, การโอ้อวด.
สฐยติ น สมฺมา ภาสติ เยนาติ วา สฐฺยํ, สฐํ อาการที่โกงหรือการคดโกงที่เป็นเหตุให้พูดคำไม่สมควร ชื่อว่าสฐยะและสฐะ. สมฺปชาโน สฐานิ น กยิรา๑ เมื่อรู้สึกตัวไม่พึงทำการคดโกง
เกตว (กิต นิวาเส+อว) การโกง.
กิตวสฺส ธมฺโม เกตวํ, กิตโว นาม ชูตกาโร โจโร วา พฤติกรรมของคนขี้โกง หรือนักเลงการพนัน ชื่อกิตวะ ชื่อว่าเกตวะ (อาเทศ อิ เป็น เอ)
การโกงมีอีกหลายศัพท์ เช่น กปฏ, พฺยาช, อุปธิ, กุสติ
สภาวะ, สภาพ, ลักษณะ, ปรกติ, ธรรมชาติ ๗ ศัพท์
สภาว (ส+ภู สตฺตายํ+อ) สภาวะ, สภาพ, ลักษณะ, ธรรมชาติ.
ภวนํ ภาโว ความมีความเป็น ชื่อว่าภาวะ (วุทธิ อู เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาว). สสฺส อตฺตโน, สนฺโต วา สํวิชฺชมาโน ภาโว สภาโว ความมีอยู่หรือความเป็นของตน ชื่อว่าสภาวะ (ส+ภาว). อยํ สภาโว อยํ นิยโม๒ นี้เป็นสภาพ เป็นความนิยม
นิสฺสคฺค (นิ+สช วิสชฺชนาลิงฺคนนิมฺมาเนสุ+อ) สภาวะ, สภาพ.
นตฺถิ วิสชฺชนเมตสฺสาติ นิสฺสคฺโค สภาพที่ไม่ละลักษณะของตน ชื่อว่่านิสสัคคะ (อาเทศ ชฺ เป็น คฺ, ซ้อน สฺ และ คฺ)
สรูป (ส+รูป) สภาวะ, สภาพ, ลักษณะ, ธรรมชาติ.
สํวิชฺชมานํ รูปํ สรูปํ สภาพที่บอกให้รู้ว่ามีอยู่ ชื่อว่าสรูปะ. ทานปารมิยา สรูปํ ทสฺเสติ๓ แสดงสภาพของทานบารมี
ปกติ (ป+กร กรเณ+ติ) สภาวะ, สภาพ, ลักษณะ, ปรกติ, ธรรมชาติ.
กรณํ ภวนํ กติ ความมีอยู่ ชื่อว่ากติ. ปฐมํ กติ ปกติ ความมีอยู่ตั้งแต่เริ่มต้น ชื่อว่าปกติ (ลบ รฺ ที่สุดธาตุ). ปกติศัพท์ใช้ในอิตถีลิงค์. ปุพฺเพ เทวทตฺตสฺส อญฺญา ปกติ อโหสิ๔ เมื่อก่อนพระเทวทัตมีปรกติเป็นอย่างอื่น
สีล (สีล สมาธิมฺหิ+อ) สภาพเดิม, ลักษณะ, ภาวะ, ปรกติ.
จิตฺตํ สีลติ สมาทหติ เอเตนาติ สีลํ, สมาธินิยโม สภาวะที่ทำให้จิตสงบ ชื่อว่าสีละ ได้แก่สมาธิ
ลกฺขณ (ลกฺข ทสฺสนงฺเกสุ+ยุ) สภาพเดิม, ลักษณะ, ภาวะ.
ตเถว ลกฺขิตพฺพนฺติ ลกฺขณํ สภาพที่บุคคลกำหนดเอาอย่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าลักขณะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). อิมินา ลกฺขเณน สมนฺนาคโต ราชา โหติ๕ ทรงเป็นพระราชาผู้ประกอบด้วยลักษณะอย่างนี้
ภาว (ภู สตฺตายํ+อ) สภาพเดิม, ลักษณะ, ภาวะ.
ตเถว ภวตีติ ภาโว สภาพที่มีอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ชื่อว่าภาวะ (วุทธิ อู เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อาว). ถีนํ ภาโว ทุราชาโน๖ อาการของผู้หญิงรู้ได้ยาก
๑ ขุ.มหานิ. ๒๙/๗๗๒/๔๗๙ ๒ ที.อฏฺ. ๕/๑๗/๒๖ ๓ ขุ.อฏฺ. ๕๒/๓๑/๕๒
๔ วิ.จุลฺล. ๗/๓๖๒/๑๗๓ ๕ ที.อฏฺ. ๔/๒๑/๘๗ ๖ ขุ.ชา. ๒๗/๖๔/๒๑
๒๔๐
การสมโภช, การฉลอง, มหรสพ, การละเล่น ๓ ศัพท์
อุสฺสว (อุส ทาเห+อว) การสมโภช, การฉลอง, มหรสพ, การละเล่น.
กํ อุสวนฺติ อุคฺคิรยนฺติ เอตฺถาติ อุสฺสโว งานที่ผู้คนพากันหลั่งน้ำ ชื่อว่าอุสสวะ (ซ้อน สฺ). นานาสมิทฺธีหิ สวนฺติ เอตฺถาติ วา อุสฺสโว หรืองานที่ผู้คนหลั่งไหลไปเพราะความสำเร็จต่างๆ ชื่อว่าอุสสวะ. เตน โข ปน สมเยน ตสฺมึ คามเก อุสฺสโว โหติ๑ เวลานั้น มีงานสมโภชในหมู่บ้านนั้น
ฉณ (ฉิ เฉทเน+ยุ) การสมโภช, การฉลอง, มหรสพ, การละเล่น.
ฉินฺทติ โสกเมตฺถาติ ฉโณ งานที่บุคคลตัดความโศกเศร้า ชื่อว่าฉณะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบสระหน้า). โสกํ ปาปญฺจ ฉินฺทนฺตา อณนฺติ สทฺทายนฺติ เอตฺถาติ วา ฉโณ หรืองานที่ผู้คนส่งเสียงดัง เพราะตัดขาดความโศกเศร้าและสิ่งเลวร้าย จึงชื่อว่าฉณะ (ฉิสทฺทูปปท+อณ สทฺเท+อ, ลบสระหน้า). ยสฺส ปน ฆเร ฉโณ น กรียติ, ตสฺส เอตฺตโก นาม ทณฺโฑ๒ ที่บ้านของบุคคลใดไม่ทำมหรสพ บุคคลนั้นจะมีโทษอย่างนี้
มห (มห ปูชายํ+อ) การสมโภช, การฉลอง, มหรสพ, งานบวงสรวง.
มหติ ปูชยติ เอตฺถาติ มโห งานที่บุคคลบูชา ชื่อว่ามหะ. ตสฺส มโห ปูชา อโหสิ๓ การบูชาของเขาได้มีแล้ว
[๑๗๙] ธาเรนฺโต ชนฺตุ สเสฺนห- มภิธานปฺปทีปิกํ
ขุทฺทกาทฺยตฺถชาตานิ สมฺปสฺสติ ยถาสุขํ.
บุคคลที่ใส่ใจทรงจำคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ซึ่งมีศัพท์และไวพจน์ต่างๆ เช่น พุทฺธศัพท์และไวพจน์ของ พุทฺธศัพท์เป็นต้นไว้ได้แล้ว ย่อมเข้าใจง่ายถึงอรรถาธิบายน้อยบ้าง มากบ้าง ย่อบ้าง พิสดารบ้าง เป็นต้น
จิตฺตาทิวณฺณนา สมตฺตา.
ว่าด้วยจิตเป็นต้น จบ
ปฐมา สคฺคกณฺฑวณฺณนา นิฏฺฐิตา.
การพรรณนาในสัคคกัณฑ์ที่ ๑ จบ