<<    >>

คู่มืออภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓

ปกิณณกสังคหวิภาค

คู่มือการศึกษา

ปกิณณกสังคหะวิภาค

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปริจเฉทที่ ๓

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส


ความเบื้องต้น


คู่มือการศึกษาเล่มนี้ ได้รวบรวมคำสอนพระอภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่ง พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้รจนา อันเป็นปริจเฉทที่ ๓ ที่มีชื่อว่า ปกิณณกสังคหะวิภาค

ปกิณณกะ แปลว่า กระจัดกระจาย คละกัน เบ็ดเตล็ด ต่าง ๆ
สังคหะ แปลว่า รวบรวมโดยย่อ
วิภาค แปลว่า ส่วน
เมื่อประมวลรวมกันเข้าแล้ว ปกิณณกะสังคหวิภาค ก็แปลว่า ส่วนที่รวบรวม แสดงโดยย่อซึ่งธรรมต่าง ๆ ธรรมต่าง ๆ ในที่นี้ หมายถึงธรรม ๖ หมวด คือ

๑. หมวด เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์
๒. หมวด เหตุ ธรรมชาติที่ทำให้ผลเกิด
๓. หมวด กิจ คือ การงานของจิต ๑๔ อย่าง
๔. หมวด ทวาร คือ ทางรับรู้อารมณ์ของจิต
๕. หมวด อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้, สิ่งที่ถูกจิตรู้
๖. หมวด วัตถุ คือ ที่ตั้งที่อาศัยเกิดรับรู้อารมณ์ของจิต
ทั้ง ๖ หมวดนี้ เป็นการเรียนรู้ถึงจิตและเจตสิกโดยละเอียด สรุปได้ว่าให้เรียนรู้ว่า
จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น มีเวทนาเป็นสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา เป็น โทมนัสเวทนา หรือโสมนัสเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา
จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น มีเหตุประกอบหรือไม่ ถ้ามี มีเหตุประกอบเท่าไร อะไรบ้าง เหตุมี ๖ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ ในแต่ละเหตุนั้น ประกอบกับจิตอะไรได้บ้าง

 จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น ทำกิจ(งาน)อะไรใน ๑๔ อย่าง ในกิจทั้ง ๑๔ นั้น มีจิตอะไรทำหน้าที่ได้บ้าง
จิตและเจตสิก อาศัยทวารไหนในการรู้อารมณ์ อาศัยจักขุทวารหรือโสตทวาร อาศัยฆานทวารหรือชิวหาทวาร อาศัยกายทวารหรือมโนทวาร หรือไม่ได้อาศัยทวาร ใด ๆ เลย
จิตและเจตสิก รับรู้อารมณ์อะไรได้บ้างในอารมณ์ ๖ และอารมณ์ ๖ นั้น องค์ ธรรมได้แก่อะไร
จิตและเจตสิก อาศัยวัตถุอะไรเกิด อาศัยจักขุวัตถุหรือโสตวัตถุ อาศัยฆานวัตถุ หรือชิวหาวัตถุ อาศัยกายวัตถุหรือหทยวัตถุ หรือไม่ได้อาศัยวัตถุใดๆ เกิดขึ้นเลย

ปกิณณกสังคหะวิภาคนี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้ประพันธ์เป็นคาถาสังคหะรวม ๑๔ คาถา คาถาที่ ๑ ว่า


๑. สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ เตปญฺญาส สภาวโต
จิตฺตเจตสิก ธมฺมา เตสนฺทานิ ยถารหํ ฯ


แปลความว่า สภาวธรรม ๕๓ คือ จิตและเจตสิก ทั้งลักษณะและการประกอบซึ่งกันและกัน ตามควรแก่การที่จะ ประกอบได้นั้น ได้แสดงมาแล้ว

มีความหมายว่า ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ คือ สรุป ธรรม ๖ หมวด อันมีจิตและเจตสิก ทำหน้าที่ต่าง ๆ จิตและเจตสิก รวมเรียกว่า สภาวธรรม ๕๓ คือ จิต ๑ และ เจตสิก ๕๒ ที่นับจิตเพียง ๑ นั้น เพราะจิตมีลักษณะ รับรู้อารมณ์เพียงลักษณะเดียวเท่านั้น ส่วนที่นับเจตสิกเต็มจำนวนทั้ง ๕๒ ก็เพราะว่า เจตสิกนั้นมีลักษณะ แตกต่างกันทั้ง ๕๒ ดวง


หน้า ๒

ปกิณณกแสดงธรรม ๖ หมวด

ปกิณณกสังคหะวิภาคนี้ แสดงธรรม ๖ หมวด ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๒ แสดงว่า

๒. เวทนาเหตุโต กิจฺจ ทฺวาราลมฺพน วตฺถุโต
จิตฺตุปฺาทวเสเนว สงฺคโห นาม นียเต ฯ

แปลความว่า บัดนี้จักแสดงการระคนกันต่างๆ ของนามธรรม คือ จิตและเจตสิกด้วยอำนาจแห่ง จิตตุปปาทะ โดย ประเภทของ เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และ วัตถุ ตามควรต่อไป

หมายความว่า จิตตุปปาทะ คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบนั้น ย่อมเกี่ยวข้อง ต้องระคนกับธรรมทั้ง ๖ หมวดดังกล่าวแล้วอย่างแน่นอนเสมอไปทุกขณะ ไม่มีเว้น เลย ดังจะได้กล่าวต่อไปทีละหมวด


หมวดที่ ๑ เวทนาสังคหะ

เวทนาสังคหะ คือ การรวบรวมแสดงโดยย่อเรื่องเวทนา มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๓ ว่า


๓. สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ ติวิธา ตตฺถ เวทนา
โสมนสฺสํ โทมนสฺส มิติ เภเทน ปญฺจธา


แปลความว่า ธรรม ๓ อย่าง คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา นี้เป็นเวทนา ๓ เมื่อเอา โสมนัส โทมนัส รวมเข้าอีก ก็เป็น เวทนา ๕

อธิบาย

เวทนา เป็นเจตสิกธรรม ที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ หรือมีความรู้สึกในอารมณ์ ที่มาปรากฏนั้น จัดแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ

 
ก. จัดตามลักษณะของการเสวยอารมณ์ คือ จัดตามความรู้สึก มีชื่อเรียกว่า อารัมมณานุภวนนัย หรือ อารัมมณานุภวนลักขณนัย ตามนัยดังกล่าวนี้ จำแนก เวทนาออกเป็น ๓ คือ


หน้า ๓

๑. สุขเวทนา การเสวยอารมณ์เป็นสุข (หมายถึงความสุขกายและสุขใจ)
๒. ทุกขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ (หมายถึง ความทุกข์กาย และความทุกข์ใจ)
๓. อทุกขมสุขเวทนา การเสวยอารมณ์เป็นกลาง คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ได้แก่เฉย ๆ (หมายถึงไม่ทุกข์และไม่สุข ก็คือ อุเบกขานั่นเอง)


ข. จัดตามประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ มีชื่อเรียกว่าอินทริยเภทนัย ตามนัยนี้จำแนกเวทนาออกเป็น ๕ คือ
๑. สุขเวทนา รู้สึกสบายกาย หมายเฉพาะความสุขกาย
๒. ทุกขเวทนา รู้สึกไม่สบายกาย หมายเฉพาะความทุกข์กาย
๓. โสมนัสเวทนา รู้สึกสบายใจ หมายเฉพาะความสุขใจ ดีใจ
๔. โทมนัสเวทนา รู้สึกไม่สบายใจ หมายเฉพาะความทุกข์ใจ เสียใจ
๕. อุเบกขาเวทนา รู้สึกเฉย ๆ หมายถึงความไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นกลาง ๆ


เวทนา ๓

กล่าวโดย อารัมมณานุภวนนัย นั้น จำแนกจิตโดยเวทนา ๓ ตามลักษณะของ การเสวย หรือความรู้สึกในอารมณ์ ได้ดังนี้

๑. จิตที่เกิดพร้อมกับสุขเวทนา คือ ทั้งสุขกายและสุขใจ ก็มีจำนวน ๖๓ ดวง ได้แก่
สุขกาย ๑ ดวง คือ สุขสหคต กุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑
สุขใจ ๖๒ ดวง คือ กามโสมนัส ๑๘ ฌานโสมนัส ๔๔
กามโสมนัส ๑๘ ได้แก่ โสมนัส โลภมูลจิต ๔
โสมนัส สันตีรณจิต ๑
โสมนัส หสิตุปปาทะ ๑
โสมนัส มหากุสล ๔
โสมนัส มหาวิบาก ๔
โสมนัส มหากิริยา ๔
ฌานโสมนัส ๔๔ ได้แก่ ปฐมฌาน ๑๑ ทุติยฌาน ๑๑
ตติยฌาน ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑
ปฐมฌาน ๑๑ คือ โลกียปฐมฌาน ๓ โลกุตตรปฐมฌาน ๘
โลกียปฐมฌาน ๓ ได้แก่ ปฐมฌานกุสลจิต ๑ ปฐมฌานวิบากจิต
๑ ปฐมฌานกิริยาจิต ๑
โลกุตตรปฐมฌาน ๘ ได้แก่ ปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปฐมฌานสกทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปฐมฌานอนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปฐมฌานอรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑


หน้า ๔

ทุติยฌาน ๑๑ ตติยฌาน ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑ ก็แจกตามนัยที่แสดง แล้วนี้

๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา คือ ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ มีจำนวน ๓ ดวง ได้แก่
ทุกข์กาย ๑ ดวง คือทุกขสหคต อกุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑
ทุกข์ใจ ๒ ดวง คือโทสมูลจิต ๒ ซึ่งต้องเกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนาเสมอไป

๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ อทุกขมสุขเวทนา คือไม่ทุกข์และไม่สุข หรืออุเบกขา เวทนานั่นเอง มี ๕๕ ดวง ได้แก่  

อุเบกขา โลภมูลจิต ๔
โมหมูลจิต ๒
อุเบกขา อเหตุกจิต ๑๔
อุเบกขา กามาวจรโสภณจิต ๑๒
ฌานอุเบกขา หรือ ปัญจมฌาน ๒๓
ปัญจมฌาน ๒๓ ได้แก่ โลกียปัญจมฌาน ๑๕
โลกุตตรปัญจมฌาน ๘
โลกียปัญจมฌาน ๑๕ คือ โลกียรูปาวจรปัญจมฌาน ๓
โลกียอรูปาวจร ๑๒
โลกุตตรปัญจมฌาน ๘ คือ ปัญจมฌานโสดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปัญจมฌานสกทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปัญจมฌานอนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปัญจมฌานอรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑

เวทนา ๕

๔. สุขเมกตฺถ ทุกฺขญฺจ โทมนสฺสํ ทฺวเย ฐิตํ
ทฺวาสฏฺฐิสุ โสมนสฺสํ ปญฺจปญฺญาสเกตรา ฯ

แปลความว่า สุขเวทนา ๑, ทุกขเวทนา ๑, โทมนัสเวทนา ๒, โสมนัสเวทนา ๖๒, อุเบกขาเวทนา ๕๕


หน้า ๕

กล่าวโดย อินทริยเภทนัย นั้น จำแนกจิตโดยเวทนา ๕ ตามประเภทแห่ง ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์นั้น ได้ดังนี้
๑. จิตที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา คือ เฉพาะสุขกายก็มีดวงเดียว ได้แก่ สุขสหคต กุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑
๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา คือเฉพาะทุกข์กายก็มีดวงเดียว ได้แก่ ทุกขสหคต อกุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑
๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา คือสุขใจ มี ๖๒ ดวง กามโสมนัส ๑๘ ฌานโสมนัส ๔๔
๔. จิตที่เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา คือทุกข์ใจ มี ๒ ดวง ได้แก่ โทสมูลจิต ๒
๕. จิตที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา คือเฉยๆ ไม่ทุกข์และก็ไม่สุข มี ๕๕ ดวง ได้แก่ อุเบกขา โลภมูลจิต ๔ โมหมูลจิต ๒ อุเบกขา อเหตุกจิต ๑๔ อุเบกขา กามาวจรโสภณจิต ๑๒ ฌานอุเบกขา ๒๓


อทุกขมสุขเวทนา (ในเวทนา ๓) กับ อุเบกขาเวทนา เป็นเวทนาเดียวกัน มี อัตถะ คือ เนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ พยัญชนะ เท่านั้น


สรุป

เวทนา ๕

เวทนา ๓

สุขเวทนา = สุขกาย ๑
โสมนัสเวทนา = สุขใจ ๖๒

รวม ๖๓ เป็น สุขเวทนา

ทุกขเวทนา = ทุกข์กาย ๑
โทมนัสเวทนา = ทุกข์ใจ ๒

รวม ๓ เป็น ทุกขเวทนา

อุเบกขาเวทนา = เฉย ๆ ๕๕

คง ๕๕ เป็น อทุกขมสุขเวทนา

ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงเวทนาของจิตโดยพิสดาร ๑๒๑ ดวง ต่อไปนี้ จะแสดงเวทนาของจิตโดยย่อ ๘๙ ดวง โดยเปรียบเทียบกับ ๑๒๑ ดวง ดังนี้


หน้า ๖

จำแนกโดยเวทนา ๓

จิตโดยพิสดาร ๑๒๑

จิตโดยย่อ ๘๙

สุขเวทนา ๖๓

สุขเวทนา ๓๑

ทุกขเวทนา ๓

ทุกขเวทนา ๓

อทุกขมสุขเวทนา ๕๕

อทุกขมสุขเวทนา ๕๕

ที่สุขเวทนาเหลือเพียง ๓๑ เพราะตัดโลกุตตรปฐมฌาน ๘, โลกุตตรทุติยฌาน ๘, โลกุตตรตติยฌาน ๘, โลกุตตรจตุตถฌาน ๘ รวม ๓๒ ดวง ซึ่งเป็นจิตพิสดาร ออกเสียจาก ๖๓ จึงเหลือเพียง ๓๑
ที่เหลือเพียง๓๑ นั้นได้แก่ สุขกายวิญญาณ ๑, กามโสมนัส ๑๘ และโลกีย ฌานโสมนัส ๑๒ คือ โลกียปฐมฌาน ๓, โลกียทุติยฌาน ๓, โลกียตติยฌาน ๓, โลกียจตุตถฌาน ๓
ที่อทุกขมสุขเวทนา ได้แก่ จิต ๕๕ เท่ากันทั้ง ๒ ข้างนั้น เป็นเพราะทางจิต พิสดารหมายถึง ปัญจมฌานโลกุตตรจิต๘ ดวง ส่วนทางจิตโดยย่อหมายถึงโลกุตตร จิตโดยย่อ ๘ ดวง ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน
อนึ่งโลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น ในที่นี้นับเป็นอทุกขมสุขเวทนา คือ อุเบกขาเวทนาทั้ง ๘ ดวง


จำแนกโดยเวทนา ๕

จิตโดยพิสดาร ๑๒๑

จิตโดยย่อ ๘๙

สุขเวทนา ๑

สุขเวทนา ๑

ทุกขเวทนา ๑

ทุกขเวทนา ๑

โสมนัสเวทนา ๖๒

โสมนัสเวทนา ๓๐

โทมนัสเวทนา ๒

โทมนัสเวทนา ๒

อุเบกขาเวทนา ๕๕

อุเบกขาเวทนา ๕๕


หน้า ๗

เวทนากับเจตสิก

เวทนาเจตสิก มีการแสดงเป็น ๒ นัย คือ
ก. แสดงว่า เวทนาใดเกิดกับเจตสิกอะไรได้บ้าง
ข. แสดงว่า เจตสิกใดเกิดกับเวทนาอะไรได้บ้าง


ก. เวทนาเกิดกับเจตสิก

สุขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
ทุกขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
โสมนัสเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๔๖ ดวงคือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นเวทนา เจตสิก)
อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)
โสภณ เจตสิก ๒๕
โทมนัสเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๒๑ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น เวทนาปิติ)
อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโลติกะ ๓ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)
อุเบกขาเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๔๖ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น เวทนาปิติ)
อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔)
โสภณเจตสิก ๒๕


ข. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา

๑. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนาอย่างเดียว มี ๖ ดวง คือ
โทจตุกเจตสิก ๔ เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา อย่างเดียว
ปิติเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา อย่างเดียว
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา


หน้า ๘

๒. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๒ มี ๒๘ ดวง คือ
โลติกเจตสิก ๓ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้ อุเบกขาเวทนาก็ได้
โสภณเจตสิก ๒๕ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้ อุเบกขาเวทนาก็ได้

๓. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๓ มี ๑๑ ดวง คือ

โมจตุกเจตสิก ๔
ถีนมิทธเจตสิก ๒
วิตกเจตสิก ๑
วิจารเจตสิก ๑
อธิโมกขเจตสิก ๑
วิริยเจตสิก ๑
ฉันทเจตสิก ๑

เจตสิก ๑๑ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา
โทมนัสเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาอย่างใดก็ได้

๔. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๕ มี ๖ ดวงคือ
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

๕. เจตสิกที่ไม่เกิดพร้อมกับเวทนา มี ๑ ดวง คือ
เวทนาเจตสิก

หมวดที่ ๒ เหตุสังคหะ

เหตุ คือ ธรรมที่เป็นรากเง่าเค้ามูลที่ให้จิตเป็นอกุสล เป็นกุสล หรือเป็น อพยากตะ เหตุสังคหะ เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องเหตุ มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๕ แสดงว่า


๕. โลโภ โทโส จ โมโห จ เหตู อกุสลา ตโย
อโลภาโทสาโมโห จ กุสลาพฺยากตา ตถา ฯ

แปลความว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็น อกุสลเหตุ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นกุสลเหตุ และอพยากตเหตุ


อธิบาย

เหตุ มี ๖ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ


หน้า ๙

โลภเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก
โทสเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ โทสเจตสิก
โมหเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ โมหเจตสิก
อโลภเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ อโลภเจตสิก
อโทสเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ อโทสเจตสิก
อโมหเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก


ลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ เป็นเจตสิก ๓ ดวง เป็น อกุสลเจตสิก เมื่อ เจตสิกทั้ง ๓ คือเหตุทั้ง ๓ นี้ประกอบกับจิต ก็เป็นมูลฐานให้จิตเป็นอกุสล อันเป็นจิตที่ชั่วที่บาป เป็นจิตที่มีโทษและจักให้ผลเป็นทุกข์ ดังนั้น โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ จึงได้ชื่อว่าเป็น อกุสลเหตุ อกุสลเหตุประกอบกับจิตใด จิตนั้นก็เป็น อกุสลจิต

 
อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
เป็นโสภณเจตสิกทั้ง ๓ ดวง เมื่อเจตสิกทั้ง ๓ คือเหตุทั้ง ๓ นี้ประกอบกับจิต ก็เป็นมูลฐานให้จิตเป็นโสภณ เป็นจิตที่ดีงาม เรียกว่า โสภณจิต
อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตประเภทกุสล เป็นจิตที่ดี งาม ฉลาด เป็นจิตที่ปราศจากโทษ และจักให้ผลเป็นสุขด้วย ดังนั้น อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ที่ประกอบกับกุสลจิตทั้งปวง จึงได้ชื่อว่าเป็น กุสลเหตุ
อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตประเภทวิบากและกิริยา อันรวมเรียกว่า อพยากตจิต เป็นจิตที่ดี งาม ฉลาด ปราศจากโทษเหมือนกัน แต่ ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป เพราะไม่สามารถให้เกิดผลอย่างใดขึ้นมาได้ ดังนั้นอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ที่ประกอบกับวิบากจิตหรือกิริยาจิตทั้งหลาย จึงได้ชื่อว่าเป็น อพยากตเหตุ
รวมได้ความว่า เมื่อกล่าวถึงจำนวนเหตุโดยประเภทที่ประกอบกับจิตก็มี ๙ เหตุ คือ
อกุสลเหตุ มี ๓ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
กุสลเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
อพยากตเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
ถ้ากล่าวถึง จำนวนเหตุโดยประเภทแห่งองค์ธรรมแล้ว ก็มี ๖ เหตุ คือ โลภ เหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ


หน้า ๑๐

เหตุ กับ จิต

เหตุที่ประกอบกับจิต จิตทั้งหมดมี ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ จิตที่มีเหตุประกอบ กับ จิตที่ไม่มีเหตุประกอบ

ก. อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุประกอบ (ไม่มีสัมปยุตตเหตุ) คือ ไม่มี เหตุ ๖ ประกอบเลยแม้แต่เหตุเดียว
ข. สเหตุกจิต เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ คือ มีเหตุ ๖ ประกอบอย่างน้อย ที่สุด ก็ ๑ เหตุ และอย่างมากไม่เกิน ๓ เหตุ

มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๖ แสดงว่า


๖. อเหตุกาฏฺฐารเสก เหตุกา เทฺว ทฺวาวีสติ
ทฺวิเหตุกา มตา สตฺต จตฺตาฬีส ติเหตุกา ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต มี ๑๘
เอกเหตุกจิต มี ๒
ทวิเหตุกจิต มี ๒๒
ติเหตุกจิต มี ๔๗

อธิบาย

๑. อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือ ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบเลยแม้แต่ เหตุเดียว อเหตุกจิต มี ๑๘ ดวง ได้แก่

ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐
สัมปฏิจฉันนจิต ๒
สันตีรณจิต ๓
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
หสิตุปปาทจิต ๑

๒. เอกเหตุกจิต จิตที่มีเหตุประกอบเพียงเหตุเดียว เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ เป็นสเหตุกจิต เอกเหตุกจิต มี ๒ ดวง ได้แก่


โมหมูลจิต ๒ ซึ่งเป็นจิตที่มีเหตุประกอบเพียงเหตุเดียว คือ โมหเหตุ

๓. ทวิเหตุกจิต จิตที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ เป็น สเหตุกจิต ทวิเหตุกจิต มี ๒๒ ดวง ได้แก่
โลภมูลจิต ๘ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ
โทสมูลจิต ๒ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ โมหเหตุ
มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ

๔. ติเหตุกจิต จิตที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ เป็น สเหตุกจิต ติเหตุกจิต มี ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง ได้แก่

มหากุสล ญาณสัมปยุตตจิต ๔
มหาวิบาก ญาณสัมปยุตตจิต ๔
มหากิริยา ญาณสัมปยุตตจิต ๔
มหัคคตจิต ๒๗
โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ
อโทสเหตุ และอโมหเหตุ

ข้อสังเกต

อเหตุกจิต ไม่มีเหตุประกอบเลย
อกุสลจิต มีเหตุประกอบอย่างน้อย ๑ เหตุ อย่างมาก ๒ เหตุ
โสภณจิต มีเหตุประกอบอย่างน้อย ๒ เหตุ อย่างมาก ๓ เหตุ


หน้า ๑๒

นับจำนวนเหตุ
อกุสลเหตุ ๓

โลภเหตุ ประกอบใน

โลภมูลจิต ๘

เป็น ๘ เหตุ

รวมอกุสลเหตุ ๒๒ เหตุ

โทสเหตุ ประกอบใน

โทสมูลจิต ๒

เป็น ๒ เหตุ

โมหเหตุ ประกอบใน

โลภมูลจิต ๘
โทสมูลจิต ๒
โมหมูลจิต ๒

เป็น ๑๒ เหตุ

กุสลเหตุ ๓

อโลภเหตุ

ประกอบใน มหากุสล ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกุสล ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มัคคจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ

รวมอโลภเหตุ ๒๑ เหตุ

(มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)

(อย่างพิสดาร ๓๗ เหตุ)

 

อโทสเหตุ

ประกอบใน มหากุสล ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกุสล ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มัคคจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ

รวมอโทสเหตุ ๒๑ เหตุ

(มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)

(อย่างพิสดาร ๓๗ เหตุ)

 

อโมหเหตุ

ประกอบในมหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ เป็น ๔ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกุสล ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มัคคจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ

รวมอโมหเหตุ ๑๗ เหตุ

(มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)

(อย่างพิสดาร ๓๓เหตุ)

รวม กุสลเหตุ คืออโลภเหตุ ๒๑ อโทสเหตุ ๒๑ อโมหเหตุ ๑๗ เป็น ๕๙ เหตุ
อย่างพิสดาร คือ อโลภเหตุ ๓๗ อโทสเหตุ ๓๗ อโมหเหตุ ๓๓ เป็น ๑๐๗ เหตุ


หน้า ๑๓

อพยากตเหตุ ๓

อโลภเหตุ

ประกอบใน มหาวิบาก ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหากิริยา ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตวิบาก ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกิริยา ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน ผลจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ

รวมอโลภเหตุ ๓๘ เหตุ

(ผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)

(อย่างพิสดาร ๕๔ เหตุ)

 

อโทสเหตุ

ประกอบใน มหาวิบาก ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหากิริยา ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตวิบาก ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกิริยา ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน ผลจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ

รวมอโทสเหตุ ๓๘ เหตุ

(ผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)

(อย่างพิสดาร ๕๔ เหตุ)

 

อโมหเหตุ

ประกอบในมหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ เป็น ๔ เหตุ
ประกอบในมหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ เป็น ๔ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตวิบาก ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกิริยา ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน ผลจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ

รวมอโมหเหตุ ๓๐ เหตุ

(ผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)

(อย่างพิสดาร ๔๖ เหตุ)

รวม อพยากตเหตุ คืออโลภเหตุ ๓๘ อโทสเหตุ ๓๘ อโมหเหตุ ๓๐ เป็น ๑๐๖ เหตุ
อย่างพิสดาร อโลภเหตุ ๕๔ อโทสเหตุ ๕๔ อโมหเหตุ ๔๖ เป็น ๑๕๔ เหตุ

รวม อกุสลเหตุ ๒๒ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๒๒ เหตุ
กุสลเหตุ ๕๙ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๑๐๗ เหตุ
อพยากตเหตุ ๑๐๖ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๑๕๔ เหตุ
รวมเหตุทั้งหมดเป็น ๑๘๗ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๒๘๓ เหตุ


หน้า ๑๔

คิดจำนวนเหตุอย่างง่าย

โลภมูลจิต ๘ ดวง x ๒ เหตุ เป็น ๑๖ เหตุ
โทสมูลจิต ๒ ดวง x ๒ เหตุ เป็น ๔ เหตุ
โมหมูลจิต ๒ ดวง x ๑ เหตุ เป็น ๒ เหตุ

รวม ๒๒ เหตุ

กามโสภณ ญาณวิปปยุตต ๑๒ ดวง x ๒ เหตุ เป็น ๒๔ เหตุ
กามโสภณ ญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวง x ๓ เหตุ เป็น ๓๖ เหตุ

รวม ๖๐ เหตุ

มหัคคตจิต ๒๗ ดวง x ๓ เหตุ เป็น ๘๑ เหตุ
โลกุตตรจิต ๘ ดวง x ๓ เหตุ เป็น ๒๔ เหตุ
( โลกุตตรจิต อย่างพิสดาร ๔๐ x ๓ เป็น ๑๒๐ เหตุ )

รวม ๑๐๕ เหตุ

รวมเหตุใน อกุสลจิต มี ๒๒ เหตุ
รวมเหตุใน กามโสภณจิต มี ๖๐ เหตุ
รวมเหตุใน มหัคคตจิต มี ๘๑ เหตุ
รวมเหตุใน โลกุตตรจิต มี ๒๔ เหตุ หรือ ๑๒๐ เหตุ
รวมเหตุทั้งสิ้น ๑๘๗ เหตุ หรือ ๒๘๓ เหตุ


เหตุกับเจตสิก

เหตุกับเจตสิกนี้ เป็นการแสดงว่า เจตสิกใดมีเหตุอะไรบ้าง หรือว่า เจตสิกใด เกิดพร้อมกับเหตุอะไรได้บ้าง มีแสดง
เป็น ๒ นัย มีชื่อว่า อคหิตัคคหณนัย และ คหิตัคคหณนัย
อคหิตัคคหณนัย คือ นับแล้วไม่นับอีก หมายความว่า ธรรมใดเจตสิกใดที่ได้ ยกเป็นหัวข้อขึ้นแสดงแล้ว ยกมากล่าวแล้ว จะไม่นำมาแสดง ไม่นำมากล่าวอ้าง ไม่นำมานับซ้ำอีก
คหิตัคคหณนัย คือ นับแล้วนับอีก หมายความว่า ธรรมใดเจตสิกใดที่ได้ยก เป็นหัวข้อขึ้นแสดงแล้ว ยกมากล่าวอ้างแล้ว ก็ยังจะต้องนำมาแสดง ยกมากล่าวอ้าง นำมานับซ้ำอีก


อคหิตัคคหณนัย

๑. เจตสิกที่มี เหตุเดียว มี ๓ ดวง ได้แก่ โลภะ โทสะ วิจิกิจฉา
๒. เจตสิกที่มี ๒ เหตุ มี ๙ ดวง ได้แก่ โมหะ ทิฏฐิ มานะ อิสสา มัจฉริยะ
กุกกุจจะ อโลภะ อโทสะ ปัญญา


หน้า ๑๕

๓. เจตสิกที่มี ๓ เหตุ มี ๒๗ ดวง ได้แก่ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ ถีนะ
มิทธะ และ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้น อโลภะ อโทสะ ปัญญา)
๔. เจตสิกที่มี ๕ เหตุ มี ๑ ดวง ได้แก่ ปิติ
๕. เจตสิกที่มี ๖ เหตุ มี ๑๒ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปิติ)


อธิบาย

ในข้อ ๑ โลภเจตสิก จะต้องเกิดพร้อมกับโมหะอย่างแน่นอน จะเกิดแต่ลำพัง โดยไม่มีโมหะไม่ได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โลภเจตสิก มีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ
โทสเจตสิกก็ดี วิจิกิจฉาเจตสิกก็ดี ก็จะต้องเกิดกับโมหะเช่นเดียวกัน ดังนั้น โทสเจตสิก จึงมีเหตุเดียว คือโมหเหตุ และวิจิกิจฉาเจตสิก ก็มีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ
ในข้อ ๒ โมหเจตสิก เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ เพราะว่าโมหเจตสิกที่เกิดพร้อม กับโลภะก็มีโลภเหตุเป็นเหตุ เมื่อโมหเจตสิกเกิดพร้อมกับโทสะ ก็มีโทสะเหตุเป็น เหตุ รวมความว่า โมหเจตสิก มีโลภเหตุเป็นเหตุก็ได้ มีโทสเหตุเป็นเหตุก็ได้ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า โมหเจตสิก มี ๒ เหตุ
ทิฏฐิเจตสิก กับ มานเจตสิก รวม ๒ ดวงนี้จะต้องเกิดพร้อมกับโลภะ โลภะ ก็ต้องเกิดพร้อมกับโมหะ เป็นอันว่า ทิฏฐิเจตสิกก็ดี มานเจตสิกก็ดี แต่ละดวงต่างก็ จะต้องเกิดพร้อมกับโลภะและโมหะ ดังนั้น ทิฏฐิ มานะ เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ คือ มีโลภเหตุ โมหเหตุเป็นเหตุร่วมพร้อมกัน
อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก รวม ๓ ดวงนี้ แต่ละดวงที่เกิด จะต้องเกิดร่วมกับโทสะและโมหะด้วยพร้อมกัน ดังนั้น เจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้ แต่ละ ดวงมี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ โมหเหตุ เป็นเหตุร่วมพร้อมกัน
อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ที่ประกอบพร้อมกันในจิตดวง ใด เจตสิก ๓ ดวงนี้ต่างก็เป็นเหตุซึ่งกันและกัน คือ
อโลภเจตสิก ก็มี อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ รวมมี ๒ เหตุ
อโทสเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ และ อโมหเหตุ รวมมี ๒ เหตุ
ปัญญาเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ รวมมี ๒ เหตุ
ในข้อ ๓ อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก อุทธัจจเจตสิก รวมเจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้อยู่ใน


หน้า ๑๖

ประเภทโมจตุกเจตสิก ซึ่งประกอบกับอกุสลจิตได้ทุก ๆ ดวงทั้ง ๑๒ ดวง อกุสลจิตทั้งหมดนั้นมี ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ ดังนั้นเจตสิก ทั้ง ๓ ดวงที่กล่าวนี้จึงสามารถเกิดกับเหตุทั้ง ๓ นั้นได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ
ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก ๒ ดวงนี้ ประกอบกับโลภมูลจิตก็ได้ ประกอบกับ โทสมูลจิตก็ได้ โลภมูลจิตมีโลภเหตุกับโมหเหตุ โทสมูลจิตมีโทสเหตุกับโมหเหตุ รวมจิต ๒ ประเภทนี้มี ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ ดังนั้น ถีนะ มิทธะ ซึ่งประกอบกับจิต ๒ ประเภทนี้ได้ จึงได้ชื่อว่า เป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ซึ่งเป็น ต้นเหตุ และได้กล่าวในข้อ ๒ แล้ว) เป็นเจตสิกที่สามารถเกิดพร้อมกับอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิกได้ จึงกล่าวว่า โสภณเจตสิก ๒๒ ดวงนี้มี ๓ เหตุ
ในข้อ ๔ ปีติเจตสิก ดวงเดียว เป็นเจตสิกที่มี ๕ เหตุ คือ เมื่อเกิดพร้อมกับ โลภโสมนัสก็มี โลภเหตุ โมหเหตุ เมื่อเกิดกับโสมนัสญาณสัมปยุตต ก็มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ จึงรวมเป็น ๕ เหตุ เว้นโทสเหตุอย่างเดียว เพราะโทสมูลจิต นั้นไม่มีปิติ มีแต่โทมนัส
ในข้อ ๕ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก) เป็นเจตสิกที่มีเหตุทั้ง ๖ ครบบริบูรณ์ เพราะอัญญสมานาเจตสิก ๑๒ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับเหตุใด ๆ ได้ทั้ง ๖ เหตุ
ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นการแสดงตามนัยที่ นับแล้วไม่นับอีก ที่ชื่อ อคหิตัคคหณนัย และคงจะเห็นแล้วว่า เจตสิก ดวงใดที่ได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวอ้างแล้ว เช่น โลภ เจตสิก โทสเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก หรือเจตสิกดวงอื่น ๆ ก็ดี เมื่อได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวอ้างในข้อใดที่ใดแล้ว ก็ไม่ได้ยกมากล่าวอ้าง หรือยกมาแสดงซ้ำในข้อ อื่น ๆ อีกเลย ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า นับแล้วไม่นับอีก


คหิตัคคหณนัย

๑. อเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่ไม่มีเหตุ มี ๑๓ ดวง ได้แก่
ก. อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทเจตสิก) ที่ประกอบกับอเหตุกจิต ๑๘
ข. โมหเจตสิก ๑ เฉพาะที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒
๒. เอกเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มีเหตุเดียว มี ๒๐ ดวง ได้แก่
ก. เจตสิก ๑๕ ดวง ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒ (เว้นโมหเจตสิก)
ข. เจตสิก ๓ ดวง คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก (สำหรับโมห เจตสิก


หน้า ๑๗

นี้ หมายถึง ประกอบกับโลภมูลจิตโดยเฉพาะ และที่ประกอบ กับ โทสมูลจิตโดยเฉพาะ)
ค. เจตสิก ๒ ดวง คือ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ที่ประกอบกับ ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒
๓. ทวิเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มี ๒ เหตุ มี ๔๘ ดวง ได้แก่
ก. เจตสิก ๔๕ ดวง (เว้นโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ ที่เป็น ตัวเหตุ) ที่ ประกอบกับทวิเหตุกจิต ๒๒
ข. เจตสิก ๓ ดวง คือ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ที่ ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙
๔. ติเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มี ๓ เหตุ มี ๓๕ ดวง ได้แก่
ก. อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
ข. โสภณเจตสิก ๒๒ ดวง
(เว้นอโลภะ อโทสะ ปัญญา อันเป็นตัวเหตุ) ที่ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

อธิบาย

๑. อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีเจตสิกประกอบได้อย่างมากที่สุด ๑๒ ดวง คืออัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทเจตสิก) อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ และปิติ ใน บรรดาเจตสิกทั้ง ๑๒ ดวงนี้ ไม่มี โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก และปัญญาเจตสิก อันเป็นตัวเหตุทั้ง ๖ ประกอบร่วมอยู่ด้วยเลยแม้แต่ เหตุเดียว ดังนั้นเจตสิกทั้ง ๑๒ ดวงนี้ จึงได้ชื่อว่าเจตสิกที่ไม่มีเหตุตรงตามข้อ ๑ ก.

 
๒. โมหมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติเจตสิก ฉันทเจตสิก)โมจตุกเจตสิก ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ รวมเป็น ๑๖ ดวง ได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ และวิจิกิจฉา ในบรรดา เจตสิกทั้ง ๑๖ ดวงนี้ มีโมหเจตสิก อันเป็นตัวเหตุอยู่เพียง ๑ เหตุเท่านั้น เจตสิกอีก ๑๕ ดวง นั้น ไม่มีเจตสิกอันเป็นตัวเหตุอีกเลย ดังนั้นจึงไได้ชื่อว่า โมหเจตสิก ที่ใน โมหมูลจิต ๒ ดวงนี้ เป็นเจตสิกที่ไม่มีเหตุ ตรงตามข้อ ๑ ข. เพราะโมหเจตสิก ในที่นี้ แม้ตัวเองจะเป็นตัวเหตุก็จริง แต่ไม่มีเหตุอื่นมาประกอบร่วมอีกด้วยเลย

 
๓. โมหมูลจิต ๒ ดวง มี เจตสิกประกอบได้ ๑๖ ดวง ดังที่ได้กล่าวแล้วใน ข้อ ๒ ข้างบนนี้นั้น ในจำนวนเจตสิก ๑๖ ดวง มีโมหเจตสิกอันเป็นตัวโมหเหตุ ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๑๕ ดวง


หน้า ๑๘

เฉพาะเจตสิก ๑๕ ดวงนี้ เกิดร่วมกับโมหเจตสิกอัน เป็นโมหเหตุ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเจตสิก ๑๕ ดวงนี้เป็นเจตสิกที่มีเหตุ คือ โมหเหตุ เหตุเดียวตรงตามข้อ ๒ก.เพราะเจตสิก ๑๕ดวงนี้มีโมหเหตุเกิดมาร่วมประกอบด้วย  


๔. โลภมูลจิต ๘ ดวง มีเจตสิกที่ประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โมจตุกเจตสิก ๔ โลติกเจตสิก ๓ และถีทุกเจตสิก ๒ รวม ๒๒ ดวง อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ ปีติ ฉันทะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โลภะ ทิฏฐิ มานะ ถีนะ และมิทธะ ในบรรดาเจตสิกทั้ง ๒๒ ดวงนี้ มีโลภเจตสิก อันเป็นโลภเหตุ ๑ มีโมห เจตสิกอันเป็นโมหเหตุ ๑ ร่วมอยู่ด้วยกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โลภเจตสิกมีเหตุ ๑ คือมีโมหเหตุเกิดร่วมด้วย และโดยทำนองเดียวกัน โมหเจตสิกในที่นี้ก็มีเหตุ ๑ คือมี โลภเหตุเกิดร่วมด้วย
โทสมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกที่ประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกเจตสิก ๔
โทจตุกเจตสิก ๔ และถีทุกเจตสิก ๒ รวม ๒๒ ดวง อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ ฉันทะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ และ มิทธะ ในบรรดาเจตสิกทั้ง ๒๒ ดวงนี้ มีโทสเจตสิกอันเป็น โทสเหตุ ๑ มีโมหเจตสิกอันเป็นโมหเหตุ ๑ เกิดร่วมอยู่ด้วยกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โทสเจตสิกมีเหตุ ๑ คือมีโมหเหตุเกิดร่วมด้วย และโดยทำนองเดียวกัน โมหเจตสิก ในที่นี้ (คือในโทสมูลจิตนี้) ก็มีเหตุ ๑ คือมีโทสเหตุเกิดร่วมด้วย
รวมความในข้อ ๔ นี้คงได้ความว่า โลภเจตสิกก็ดี โทสเจตสิกก็ดี โมหเจตสิก ที่ในโลภมูลจิตก็ดี และโมหเจตสิกที่ในโทสมูลจิตก็ดี ต่างก็มีเหตุเดียวเท่านั้น ตรง ตามข้อ ๒ ข.

 
๕. กามาวจรโสภณจิตญาณวิปปยุตต ๑๒ มีเจตสิก ประกอบ ๓๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ในจำนวนเจตสิก ๓๗ ดวงนี้ มี อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เพราะว่า อโลภเจตสิกเกิดร่วมกับอโทสเจตสิกซึ่งต่างก็เป็นตัวเหตุด้วยกันทั้งคู่ และ ต่างก็เป็นเหตุให้แก่กันและกัน ดังนั้นในที่นี้ อโลภเจตสิก ก็มีเหตุ ๑ คือ อโทสเหตุ และ อโทสเจตสิก ก็มีเหตุ ๑ คือ อโลภเหตุ ตรงตามข้อ ๒ ค.

 
๖. ทวิเหตุกจิต ๒๒ นั้นได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ กามาวจรโสภณ ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒
โลภมูลจิต ๘ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ โลภเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ และ


หน้า ๑๙

เจตสิกอื่น ๆ อีก ๒๐ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (เว้นโลภะ โมหะ) ๒๐ ดวงนี้เกิด ร่วมกับโลภเจตสิก โมหเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๒๐ ดวงนี้ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ
โทสมูลจิต ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๒๐ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (เว้นโทสะ โมหะ) ๒๐ ดวงนี้เกิด ร่วมกับโทสเจตสิก โมหเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๒๐ ดวงนี้มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ
กามาวจรโสภณญาณวิปปยุตตจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (ที่ เว้น อโลภะ อโทสะ แล้ว) ๓๕ ดวงนี้ เกิดร่วมกับ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๓๕ ดวงนี้มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ และอโทสเหตุ
เมื่อรวมเจตสิกที่ประกอบกับทวิเหตุกจิต ๒๒ ดวง ที่กล่าวในข้อ ๖ นี้เข้าด้วย กันทั้งหมดแล้วหัก โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ เจตสิกที่เป็นตัวเหตุออก และหักเจตสิกที่ซ้ำกันออกเสียอีกด้วยแล้ว จะได้เจตสิก ๔๕ ดวง ในเจตสิก ๔๕ ดวงนี้แหละที่ได้ชื่อว่า มี ๒ เหตุ คือ
เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ ซึ่งประกอบกับโลภมูลจิตนั้น มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ
เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ ซึ่งประกอบกับโทสมูลจิตนั้น มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ
เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุซึ่งประกอบกับกามจิตวิปปยุตตนั้น มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุกับอโทสเหตุ เป็นอันว่าตรงกับข้อ ๓ ก.

 
๗. จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง จะต้องมี อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก
ประกอบ เจตสิก ๓ ดวงนี้ ก็คือเหตุทั้ง ๓ นั่นเอง เหตุทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกันนี้ ต่างก็เป็นเหตุให้แก่กันและกัน คือ
อโลภเจตสิก ก็มี อโทสเหตุ กับ อโมหเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ
อโทสเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ กับ อโมหเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ
ปัญญาเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ กับ อโทสเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก รวมเจตสิก ๓ ดวงนี้ แต่ละดวงก็เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ ตรงตามข้อ ๓ ข.

 
๘. จิตที่เป็นไตรเหตุ หรือ ติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๘ ดวง คือ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ ปัญญาเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เพราะเจตสิก ๓๕


หน้า ๒๐

ดวงนี้เกิดร่วมพร้อมกับอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก อันเป็นตัวเหตุทั้ง ๓ นั่นเอง จึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๓๕ (เว้น อโลภะ อโทสะ ปัญญา) ประกอบกับติเหตุกจิตนั้นเป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ ตรงตามข้อ ๔
ที่กล่าวมาตอนนี้ เป็นการแสดงตามนัย นับแล้วนับอีก ที่ชื่อ คหิตัคคหณนัย ซึ่งคงจะเห็นแล้วว่า เจตสิก ดวงใดที่ได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวแล้ว อ้างแล้วเช่น อัญญสมานาเจตสิก โมหเจตสิก เป็นต้น ในข้อต่อมาก็ยังยกมาแสดง ยกมากล่าว อ้างซ้ำอีก ดังนี้ จึงได้ชื่อว่า นับแล้วนับอีก

 


หมวดที่ ๓ กิจจสังคหะ

กิจจสังคหะ คือ การรวบรวมแสดงเรื่องกิจ หมายความว่า รวบรวมแสดงเรื่อง กิจการงาน หรือหน้าที่ของจิต เจตสิก เพื่อให้ทราบว่าจิตดวงใดตลอดจนเจตสิกที่ ประกอบกับจิตนั้น มีกิจการงาน หรือมีหน้าที่ทำอะไรกัน นอกจากกิจแล้ว ท่านแสดงฐานให้ทราบไว้ด้วย ฐาน แปลว่าที่ตั้ง ฐานของกิจ ก็คือที่ตั้ง ที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่จิตและเจตสิกทำกิจการงาน มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๗ แสดงว่า


๗. ปฏิสนฺธทโย นาม กิจฺจเภเทน จุทฺทส
ทสธา ฐานเภเทน จิตฺตุปฺปาทา ปกาสิตา ฯ

แปลความว่า บรรดาจิตที่เกิดขึ้น มีกิจการงานที่ต้องทำ ๑๔ ประเภท เช่น ปฏิสนธิกิจ เป็นต้น ฐาน หรือสถานที่ทำงานของจิต มีเพียง ๑๐ เท่านั้น


อธิบาย

จิตทั้งหมด คือ ทั้ง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง มีกิจการงานหรือมีหน้าที่ต้องทำเพียง ๑๔ อย่าง หรือ ๑๔ กิจ เท่านั้น และใน ๑๔ กิจนี้ มีสถานที่สำหรับทำกิจการงาน นั้น ๑๐ แห่ง หรือ ๑๐ ฐาน คือ
๑. ปฏิสนธิกิจ มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า ปฏิสนธิฐาน
๒. ภวังคกิจ
มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า ภวังคฐาน
๓. อาวัชชนกิจ
มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า อาวัชชนฐาน

๔. ทัสสนกิจ
๕. สวนกิจ
๖. ฆายนกิจ
๗. สายนกิจ

๘. ผุสนกิจ

มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า ปัญจวิญญาณฐาน

๙. สัมปฏิจฉันนกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า สัมปฏิจฉันนฐาน
๑๐. สันตีรณกิจ
มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า สันตีรณฐาน
๑๑. โวฏฐัพพนกิจ
มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า โวฏฐัพพนฐาน
๑๒. ชวนกิจ
มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า ชวนฐาน
๑๓. ตทาลัมพนกิจ
มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า ตทาลัมพนฐาน
๑๔. จุติกิจ
มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า จุติฐาน

 

หน้าที่ของกิจ

๑. ปฏิสนธิกิจ ทำหน้าที่สืบต่อภพสืบต่อชาติ คือ ความเกิดขึ้นในภพใหม่ หมายเฉพาะขณะแรกที่เกิดใหม่ขณะเดียวเท่านั้น ฉะนั้นในภพหนึ่งชาติหนึ่ง จิตที่ทำ กิจปฏิสนธิจึงมีเพียงครั้งเดียว ขณะเดียวเท่านั้น
๒. ภวังคกิจ ทำหน้าที่เป็นองค์ของภพ ทำให้ตั้งอยู่ในภพนั้น ๆ เท่าที่อายุ สังขารจะพึงอยู่ได้ จิตทำภวังคกิจนี้ทำอยู่เสมอ น้อยบ้าง มากบ้าง นับประมาณไม่ได้
๓. อาวัชชนกิจ ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ที่มาถึงตน ทั้งทางปัญจทวาร และ มโนทวาร ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว เป็นจิตนำวิถี เพราะเป็นจิตดวง แรกที่ขึ้นวิถีใหม่ในทุก ๆ วิถี
๔. ทัสสนกิจ ทำหน้าที่ เห็น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๕. สวนกิจ ทำหน้าที่ ได้ยิน ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๖. ฆายนกิจ ทำหน้าที่ ได้กลิ่น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๗. สายนกิจ ทำหน้าที่ รู้รส ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๘. ผุสนกิจ ทำหน้าที่ รู้สิ่งที่มากระทบกาย มีเย็น ร้อน อ่อนแข็ง เป็นต้น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว


หน้า ๒๒

๙. สัมปฏิจฉันนกิจ ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๑๐. สันตีรณกิจ ทำหน้าที่ไต่สวนอารมณ์ที่สัมปฏิจฉันนกิจส่งมาให้ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
๑๑. โวฏฐัพพนกิจ ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ กำหนดให้เป็นกุสล อกุสล หรือ กิริยา ในวิถีหนึ่ง ๆ ตามปกติก็เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว แต่ถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัด ตัดสิน ไม่ลง ก็อาจเกิด ๒ ขณะ ก็มี มากที่สุดเพียง ๓ ขณะ
๑๒. ชวนกิจ ทำหน้าที่เสพอารมณ์เป็น กุสล อกุสล หรือ กิริยา ตามที่ โวฏฐัพพนกิจได้ตัดสินและกำหนดมา ในวิถีหนึ่ง ๆ ตามปกติก็เกิดชวนะ ๗ ขณะ แต่ว่าที่เกิดน้อยกว่านี้ก็มี และที่เกิดมากมายจนประมาณไม่ได้ก็มีเหมือนกัน (เช่น เวลาเข้าฌานสมาบัติ)
๑๓. ตทาลัมพนกิจ ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ที่เหลือจากชวนกิจ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิด ขึ้น ๒ ขณะ
๑๔. จุติกิจ ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพเก่า เป็นจิตสุดท้ายในภพนั้นชาตินั้น ในภพ หนึ่งชาติหนึ่ง จิตทำจุติกิจนี้เพียงครั้งเดียวขณะเดียวเท่านั้น


จิตทำกิจ

๑. จิตทำ ปฏิสนธิกิจ มี ๑๙ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
มหาวิบากจิต ๘
มหัคคตวิบากจิต ๙
๒. จิตทำ ภวังคกิจ มี ๑๙ ดวง คือ เท่ากันและเหมือนกันกับปฏิสนธิกิจ
๓. จิตทำ อาวัชชนกิจ มี ๒ ดวง คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
๔. จิตทำ ทัสสนกิจ มี ๒ ดวง คือ จักขุวิญญาณจิต ๒
๕. จิตทำ สวนกิจ มี ๒ ดวง คือ โสตวิญญาณจิต ๒
๖. จิตทำ ฆายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ฆานวิญญาณจิต ๒
๗. จิตทำ สายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๘. จิตทำ ผุสนกิจ มี ๒ ดวง คือ กายวิญญาณจิต ๒
๙. จิตทำ สัมปฏิจฉันนกิจ มี ๒ ดวง คือ สัมปฏิจฉันนจิต ๒


หน้า ๒๓

๑๐. จิตทำ สันตีรณกิจ มี ๓ ดวง คือ อุเบกขา สันตีรณจิต ๒
โสมนัส สันตีรณจิต ๑
๑๑. จิตทำ โวฏฐัพพนกิจ มี ๑ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑

๑๒. จิตทำ ชวนกิจ มี ๕๕ ดวง คือ

อกุสลจิต ๑๒
หสิตุปปาทจิต ๑
มหากุสลจิต ๘
มหากิริยาจิต ๘

กามชวนะ ๒๙

มหัคคตกุสลจิต ๙
มหัคคตกิริยา ๙
โลกุตตรจิต ๘

อัปปนาชวนะ ๒๖

๑๓. ตทาลัมพนกิจ มี ๑๑ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓
มหาวิบากจิต ๘
๑๔. จุติกิจ มี ๑๙ ดวง คือ เท่ากันและเหมือนกันกับปฏิสนธิกิจ

๘. อฏฺฐสฏฺฐี ตถา เทฺว จ นวาฏฺฐ เทฺว ยถากฺกมํ
เอก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ กิจฺจฏฺฐานานิ นิทฺทิเส ฯ

แปลความว่า จิตทำกิจ ๑ มีฐาน ๑ นั้น มีอยู่ ๖๘ ดวง
จิตทำกิจ ๒ มีฐาน ๒ นั้น มีอยู่ ๒ ดวง
จิตทำกิจ ๓ มีฐาน ๓ นั้น มีอยู่ ๙ ดวง
จิตทำกิจ ๔ มีฐาน ๔ นั้น มีอยู่ ๘ ดวง
จิตทำกิจ ๕ มีฐาน ๕ นั้น มีอยู่ ๒ ดวง


อธิบาย

จิตที่ทำกิจ ๑ อย่าง และมีฐาน ๑ นั้น มีจำนวน ๖๘ ดวง คือ

จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ทัสสนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สวนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ฆายนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สายนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน


หน้า ๒๔

กายวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ผุสนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ อาวัชชนกิจ อย่างเดียว ทำที่ อาวัชชนฐาน
สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สัมปฏิจฉันนกิจ อย่างเดียว ทำที่ สัมปฏิจฉันนฐาน
ชวนจิต ๕๕ ดวง ทำหน้าที่ ชวนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ชวนฐาน


จิตที่ทำกิจ ๒ อย่าง และมีฐาน ๒ ฐานนั้น มี ๒ ดวง คือ

โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน
มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ อาวัชชนกิจ ที่ อาวัชชนฐาน
โวฏฐัพพนกิจ ที่ โวฏฐัพพนฐาน

จิตที่ทำกิจ ๓ อย่าง และมี ฐาน ๓ ฐานนั้น มี ๙ ดวง คือ

มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
จุติกิจ ที่ จุติฐาน

จิตที่ทำกิจ ๔ อย่าง และมีฐาน ๔ ฐานนั้น มี ๘ ดวง คือ

มหาวิบากจิต ๘ ดวง ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
จุติกิจ ที่ จุติฐาน
ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน

จิตที่ทำกิจ ๕ อย่าง และมีฐาน ๕ ฐานนั้น มี ๒ ดวง คือ

อุเบกขา สันตีรณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
จุติกิจ ที่ จุติฐาน
สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน


เจตสิกทำกิจ


หน้า ๒๕

๑. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๑ กิจ มี ๑๗ ดวง คือ

อกุสลเจตสิก ๑๔
วีรตีเจตสิก ๓

ทำ ชวนกิจ อย่างเดียว

๒. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๔ กิจ มี ๒ ดวง คือ
อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ
จุติกิจ ชวนกิจ
๓. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๕ กิจ มี ๒๑ ดวง คือ

โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
ปัญญาเจตสิก ๑
ฉันทเจตสิก ๑

ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ
ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ

๔. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๖ กิจ มี ๑ ดวง คือ
ปีติเจตสิก ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ
สันตีรณกิจ ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ
๕. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๗ กิจ มี ๑ ดวง คือ
วิริยเจตสิก ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ
อาวัชชนกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ
๖. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๙ กิจ มี ๓ ดวง คือ

วิตกเจตสิก
วิจารเจตสิก
อธิโมกขเจตสิก

ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ อาวัชชนกิจ
สัมปฏิจฉันนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ
ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ

๗. เจตสิกที่ทำหน้าที่หมดทั้ง ๑๔ กิจ มี ๗ ดวง คือ
สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗ ดวง ทำหน้าที่ทุกกิจ (ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ)


ฐานของกิจอย่างพิสดาร ๒๕ ฐาน

ได้แสดงมาแล้วว่า สถานที่ทำกิจของจิตนั้นได้ชื่อว่า ฐาน คือจิตทำปฏิสนธิกิจ ก็ทำที่ ปฏิสนธิฐาน เป็นต้น ไปถึงจิตที่ทำจุติกิจ ก็ทำที่ จุติฐาน เป็นที่สุด ซึ่งชื่อ ของกิจและชื่อของฐานนั้นก็ตรงกันเหมือนกัน เว้นแต่ ทัสสนกิจ สวนกิจ ฆายนกิจ สายนกิจ และผุสนกิจ รวม


หน้า ๒๖

๕ กิจนี้เท่านั้น ที่ทำกิจที่ปัญจวิญญาณฐาน ซึ่งชื่อของ กิจและชื่อของฐานไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเรียกชื่อจิตที่ทำ ๕ กิจนั้นว่าปัญจวิญญาณจิต ทำกิจที่ ปัญจวิญญาณฐาน ชื่อของจิตกับชื่อของฐานก็เหมือนกันอีก
ส่วนฐานของจิตอย่างพิสดารนี้เป็น ๒๕ ฐาน มุ่งหมายที่จะแสดงให้ทราบอีก นัยหนึ่งว่า ปฏิสนธิฐานนี้มีฐานอะไรเกิดมาก่อน จึงเกิดปฏิสนธิฐาน และเมื่อปฏิสนธิฐานผ่านพ้นไปแล้ว มีฐานอะไรเกิดติดตามมา หรือจิตที่ทำปฏิสนธิกิจนั้นมี จิตทำกิจอะไรเกิดมาก่อน จึงเกิดจิตที่ทำปฏิสนธิกิจขึ้น และเมื่อจิตที่ทำปฏิสนธิกิจ ดับไปแล้ว มีจิตทำกิจอะไรเกิดตามติดมาเป็นลำดับ อันเป็นการแสดงฐานตามนัย แห่ง วิถีจิต หรือแสดงฐานโดยอาศัยวิถีจิตเป็นหลักฐานจึงมากขึ้นเป็น ๒๕ ฐาน

ฐานของกิจอย่างพิสดาร คือ ปฏิสนธิ มี ๑ ฐาน ภวังค มี ๖ ฐาน อาวัชชนะ มี ๒ ฐาน ปัญจวิญญาณ หมายถึง ปัญจวิญญาณ ๑ ฐาน สัมปฏิจฉันนะ ๑ ฐาน สันตีรณะ ๑ ฐาน โวฏฐัพพนะ ๒ ฐาน ชวน ๖ ฐาน ตทาลัมพนะ ๒ ฐาน และ จุติ ๓ ฐาน จึงรวมเป็น ๒๕ ฐาน ด้วยกัน มีรายละเอียดดังนี้

๑. ปฏิสนธิ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง จุติ กับ ภวังค
๒. ภวังค มี ๖ ฐาน คือ (๑) ระหว่าง ปฏิสนธิ กับ อาวัชชนะ
(๒) ระหว่าง ตทาลัมพนะ กับ อาวัชชนะ
(๓) ระหว่าง ชวนะ กับ อาวัชชนะ
(๔) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ กับ อาวัชชนะ
(๕) ระหว่าง ตทาลัมพนะ กับ จุติ
(๖) ระหว่าง ชวนะ กับ จุติ
๓. อาวัชชนะ มี ๒ ฐาน คือ (๑) ระหว่าง ภวังค กับ ปัญจวิญญาณ
(๒) ระหว่าง ภวังค กับ ชวนะ


หน้า ๒๗

๔. ปัญจวิญญาณ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง อาวัชชนะ กับ สัมปฏิจฉันนะ
๕. สัมปฏิจฉันนะ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง ปัญจวิญญาณ กับ สันตีรณะ
๖. สันตีรณะ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง สัมปฏิจฉันนะ กับ โวฏฐัพพนะ
๗. โวฏฐัพพนะ มี ๒ ฐาน คือ (๑) ระหว่าง สันตีรณะ กับ ชวนะ
(๒) ระหว่าง สันตีรณะ กับ ภวังค
๘. ชวนะ มี ๖ ฐาน คือ (๑) ระหว่าง อาวัชชนะ กับ ตทาลัมพนะ
(๒) ระหว่าง อาวัชชนะ กับ ภวังค
(๓) ระหว่าง อาวัชชนะ กับ จุติ
(๔) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ กับ ตทาลัมพนะ
(๕) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ กับ ภวังค
(๖) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ กับ จุติ
๙. ตทาลัมพนะ มี ๒ ฐาน คือ (๑) ระหว่าง ชวนะ กับ ภวังค
(๒) ระหว่าง ชวนะ กับ จุติ
๑๐. จุติ มี ๓ ฐาน คือ (๑) ระหว่าง ตทาลัมพนะ กับ ปฏิสนธิ
(๒) ระหว่าง ชวนะ กับ ปฏิสนธิ
(๓) ระหว่าง ภวังค กับ ปฏิสนธิ
ฐานพิสดาร ๒๕ ฐาน นี้ เมื่อได้ศึกษาถึงวิถีจิต ซึ่งเป็นปริจเฉทที่ ๔ แล้ว จะเข้าใจได้ดีขึ้น


หมวดที่ ๔ ทวารสังคหะ

ทวารสังคหะ เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องทวาร ทวาร แปลว่า ประตู คือ ทางเข้าออก ในที่นี้หมายถึง ทางที่จิตเจตสิกได้รับอารมณ์ หรือจิตเจตสิกได้รับ อารมณ์ทางนั้น ประตูนั้น ทวารนั้น เช่น จิตเจตสิกได้รับอารมณ์ทางตา ทางจักขุทวาร, ทางหู ทางโสตทวาร, ทางจมูก ฆานทวาร, ทางลิ้น ชิวหาทวาร เป็นต้น มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๙ แสดงว่า


๙. เอกทฺวาริกจิตฺตานิ ปญฺจฉทฺวาริกานิ จ
ฉทฺสาริกวิมุตฺตานิ วิมุตฺตานิ จ สพฺพถา ฯ


แปลความว่า จิตอาศัยทวารเดียวก็มี อาศัย ๕ ทวารก็มี อาศัย ๖ ทวารก็มี บางทีอาศัย ทวารทั้ง ๖ บ้าง ไม่อาศัยบ้างก็มีและที่ไม่อาศัยเลยทั้ง ๖ ทวารก็มี มีอยู่ทุกประการ


หน้า ๒๘

อธิบาย

ที่ว่ามีอยู่ทุกประการนั้น รวมมีอยู่ด้วยกัน ๕ ประการ คือ
๑. จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารเดียว เรียกว่า เอกทวาริกจิต
๒. จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารทั้ง ๕ เรียกว่า ปัญจทวาริกจิต
๓. จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารทั้ง ๖ เรียกว่า ฉทวาริกจิต
๔. จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารทั้ง ๖ บ้าง แต่บางทีก็เกิดพ้นทวาร คือไม่ต้อง อาศัยทวารบ้าง เรียก ฉทวาริกวิมุตตจิต
๕. จิตที่เกิด พ้นทวารแน่นอน คือ จิตนั้นเกิดโดยไม่ต้องอาศัยทวารทั้ง ๖ เลยทีเดียว เรียกว่า ทวารวิมุตตจิต
ทวาร
คือ ประตู หรือ ทาง ที่จิตเจตสิกอาศัยเป็นทางให้ได้รับอารมณ์ ซึ่งมีอยู่ ๖ ทวาร หรือ ๖ ทางด้วยกัน คือ
๑. จักขุทวาร คือ ทางตา องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป
๒. โสตทวาร
คือ ทางหู องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาทรูป
๓. ฆานทวาร
คือ ทางจมูก องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาทรูป
๔. ชิวหาทวาร
คือ ทางลิ้น องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาทรูป
๕. กายทวาร
คือ ทางกาย องค์ธรรมได้แก่ กายปสาทรูป
๖. มโนทวาร
คือ ทางใจ องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิต

ตั้งแต่เลข ๑ ถึง ๕ รวม ๕ ทวารนี้เรียกว่า ปัญจทวาร องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูปทั้ง ๕ เป็นรูปทวาร เป็นทางให้ทวิปัญจวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ ทั้ง ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสถูกต้อง และเป็นทางให้เกิดวิถีจิต ทางปัญจทวารอีกด้วย
เฉพาะเลข ๖ มโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิตนั้น เป็นนามทวาร ภวังค จิตนี้เป็นเหตุแห่งความเกิดขึ้นของจิตทั้งปวงและเป็นทางให้เกิดวิถีจิตทางมโนทวาร อีกด้วย
ทวารทั้ง ๖ นี้เป็น รูปธรรม ๕ ทวาร เป็น นามธรรม เพียงทวารเดียว และทวารใดมีจิตอาศัยเป็นทางให้เกิดได้เป็นจำนวนเท่าใดนั้น มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๐ ว่า


๑๐. ฉตฺตีสติ ตถา ตีณิ เอกตฺตีส ยถากฺกมํ
ทสธา นวธาเจติ ปญฺจธา ปริทีปเย ฯ


แปลความว่า พึงกำหนดจำนวนจิตเหล่านั้น ๕ ประเภทตามลำดับ คือ


หน้า ๒๙

เอกทวาริกจิต มี ๓๖ ดวง
ปัญจทวาริกจิต มี ๓ ดวง
ฉทวาริกจิต มี ๓๑ ดวง
ฉทวาริกวิมุตตจิต มี ๑๐ ดวง
ทวารวิมุตตจิต มี ๙ ดวง


อธิบาย

๑. เอกทวาริกจิต จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารเดียว มีจำนวน ๓๖ ดวง ได้แก่
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อัปปนาชวนะ ๒๖
๒. ปัญจทวาริกจิต จิตที่อาศัยเกิดได้ทางทวารทั้ง ๕ (ปัญจทวาร) มี ๓ ดวง ได้แก่

ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
สัมปฏิจฉันนจิต ๒

รวมเรียก มโนธาตุ

๓. ฉทวาริกจิต จิตที่อาศัยเกิดได้ทางทวารทั้ง ๖ มี ๓๑ ดวง ได้แก่
โสมนัส สันตีรณจิต ๑
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
๔. ฉทวาริกวิมุตตจิต บ้างก็เรียกว่า ฉทวาริกทวารวิมุตตจิต จิตที่บางทีก็ อาศัยทวารทั้ง ๖ เกิด และบางทีก็ไม่อาศัยทวารทั้ง ๖ เกิด มี ๑๐ ดวง ได้แก่
อุเบกขา สันตีรณจิต ๒
มหาวิบากจิต ๘
เมื่ออุเบกขา สันตีรณจิต ๒ ดวงนี้ ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ หรือ ตทาลัมพน กิจก็ดี มหาวิบากจิต ๘ ดวง ทำหน้าที่ ตทาลัมพนกิจก็ดี ก็ต้องอาศัยทวารเป็นทางเกิด แต่ถ้าจิต ๑๐ ดวงนี้ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ๓ อย่างนี้ ก็ไม่ต้องอาศัยทวารเลย
๕. ทวารวิมุตตจิต จิตที่เกิดพ้นจากทวารทั้ง ๖ คือ จิตที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัย ทวารทั้ง ๖ เลย มี ๙ ดวง ได้แก่ มหัคคตวิบากจิต ๙ ที่กล่าวมาแล้วข้างบนนี้ เป็นการแสดงจำนวนจิตที่ต้องอาศัยทวาร หรือไม่ต้อง อาศัยทวารโดยแน่นอน (เอกันตะ) แต่อย่างเดียว


หน้า ๓๐

ต่อไปนี้ จะแสดงรายละเอียดของจำนวนจิตที่เกิดได้แต่ละทวาร ทั้งที่ แน่นอน (เอกันตะ) และที่ ไม่แน่นอน (อเนกันตะ) ด้วย
๑. จิตที่เกิดได้ทาง จักขุทวาร เรียกว่า จักขุทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๒. จิตที่เกิดได้ทาง โสตทวาร เรียกว่า โสตทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๓. จิตที่เกิดได้ทาง ฆานทวาร เรียกว่า ฆานทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๔. จิตที่เกิดได้ทาง ชิวหาทวาร เรียกว่า ชิวหาทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๕. จิตที่เกิดได้ทาง กายทวาร เรียกว่า กายทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๖. จิตที่เกิดได้ทาง มโนทวาร เรียกว่า มโนทวาริกจิต มี ๖๗ ดวง
๗. จิตที่เกิดได้ทาง ทวารเดียว เรียกว่า เอกทวาริกจิต มี ๘๐ ดวง
๘. จิตที่เกิดได้ทาง ทวาร ๕ เรียกว่า ปัญจทวาริกจิต มี ๔๔ ดวง
๙. จิตที่เกิดได้ทาง ทวาร ๖ เรียกว่า ฉทวาริกจิต มี ๔๑ ดวง
๑๐. จิตที่เกิดพ้นจากทวารทั้ง ๖ เรียกว่า ทวารวิมุตตจิต มี ๑๙ ดวง

เฉพาะ จักขุทวาริกจิต และโสตทวาริกจิต สองประเภทนี้เท่านั้น ถ้านับอภิญญา จิต ๒ ดวง คือ ทิพพจักขุญาณที่เป็นกุสล ๑ กิริยา ๑ รวมเข้าด้วย จักขุทวาริกจิตก็ มี ๔๘ ดวง และนับทิพพโสตญาณที่เป็นกุสล ๑ กิริยา ๑ รวมเข้าด้วย โสตทวาริกจิต ก็มี ๔๘ ดวง


๑. จักขุทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่

จักขุวิญญาณจิต ๒

มโนธาตุ ๓

 

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

 

กามชวนจิต ๒๙

 

ตทาลัมพนจิต ๑๑

 

๒. โสตทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่

โสตวิญญาณจิต ๒

มโนธาตุ ๓

 

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

 

กามชวนจิต ๒๙

 

ตทาลัมพนจิต ๑๑

 

๓. ฆานทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่

ฆานวิญญาณจิต ๒

มโนธาตุ ๓

 

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

 

กามชวนจิต ๒๙

 

ตทาลัมพนจิต ๑๑

 

๔. ชิวหาทวาริกจิต

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่

ชิวหาวิญญาณจิต ๒

มโนธาตุ ๓

 

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

 

กามชวนจิต ๒๙

 

ตทาลัมพนจิต ๑๑

 

๕. กายทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่

กายวิญญาณจิต ๒

มโนธาตุ ๓

 

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

 

กามชวนจิต ๒๙

 

ตทาลัมพนจิต ๑๑


เฉพาะ อภิญญาจิต ๒ ดวง ถ้าจะนับรวมเข้ากับ จักขุทวาริกจิต โสตทวาริกจิต ด้วยดังที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้น ก็จัดอยู่ในประเภทอเนกันตะ ไม่แน่นอน เพราะบางที ก็เกิด บางทีก็ไม่เกิด

 

๖. มโนทวาริกจิต มี ๖๗ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๒๖ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๑ ดวง ได้แก่

อัปปนาชวนจิต ๒๖

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

 

กามชวนจิต ๒๙

 

ตทาลัมพนจิต ๑๑

 

๗. เอกทวาริกจิต มี ๘๐ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๓๖ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๔๔ ดวง ได้แก่

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

มโนธาตุ ๓

อัปปนาชวนจิต ๒๖

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

 

กามชวนจิต ๒๙

 

ตทาลัมพนจิต ๑๑

 

๘. ปัญจทวาริกจิต มี ๔๔ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๓ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน (อเนกันตะ) ๔๑ ดวง ได้แก่

มโนธาตุ ๓

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

 

กามชวนจิต ๒๙

 

ตทาลัมพนจิต ๑๑

 

๙. ฉทวาริกจิต มี ๔๑ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๓๑ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๑๐ ดวง ได้แก่

โสมนัส สันตีรณจิต ๑

อุเบกขา สันตีรณจิต ๒

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

มหาวิบากจิต ๘

กามชวนกิจ ๒๙

 


หน้า ๓๒

๑๐. ทวารวิมุตตจิต มี ๑๙ ดวง

แน่นอน(เอกันตะ) ๙ ดวง ได้แก่

ไม่แน่นอน(อเนกันตะ) ๑๐ ดวง ได้แก่

มหัคคตวิบากจิต ๙

อุเบกขา สันตีรณจิต ๒

 

มหาวิบากจิต ๘

 

เจตสิก กับ ทวาร

๑. วิรตีเจตสิก ๓ ดวง เมื่อประกอบกับโลกุตตรจิต ย่อมเกิดเฉพาะทางมโน ทวารทางเดียว
๒. อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ที่ประกอบกับมหัคคตจิต ก็ย่อมเกิดเฉพาะทาง มโนทวาร ทางเดียวเหมือนกัน
๓. เจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง ที่ประกอบกับจิต ๘๐ ดวง (เว้นมหัคคตวิบากจิต ๙) เกิดได้ในทวารทั้ง ๖ ทั้งที่แน่นอน (เอกันตะ) และไม่แน่นอน (อเนกันตะ) ด้วย
๔. เจตสิก ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ ดวง (เว้นวิรตี ๓) ที่ประกอบกับมหัคคตวิบากจิตนั้น เป็นเจตสิกที่พ้นทวาร
ที่กล่าวมาสั้น ๆ เพียงเท่านี้ ก็เพราะมีหลักอันเป็นข้อกำหนดที่ควรจะทราบอยู่ ว่า เจตสิกประกอบกับจิตใด ก็มีฐานะเช่นเดียวกับจิตนั้น ดังนั้น จิตอาศัยทวารใด เป็นทางเกิด เจตสิกที่ประกอบกับจิตนั้น ก็อาศัยทวารนั้นเป็นทางเกิดเช่นเดียวกัน


หมวดที่ ๕ อารัมมณสังคหะ

อารัมมณสังคหะ คือ การรวบรวมกล่าวเรื่องอารมณ์ คำว่า อารัมมณะ นี้บางทีเรียกว่า อารัมพนะ มีความหมายอย่างเดียวกัน
อารมณ์ คือ ธรรมชาติอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก " สภาวะที่สามารถยังให้จิตและเจตสิกธรรมข้องได้นั้น ชื่อว่า อารมณ์ "


อารมณ์ มี ๖ ประเภท

จิตจะต้องมีอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวอย่างแน่นอน จิตที่ไม่มีอารมณ์ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนั้นไม่มีเลย


หน้า ๓๓

อารมณ์ในสังคหะนี้มี ๖ ประเภท อันเป็นการจำแนกตามความสามารถแห่ง ทวารที่จะพึงรับอารมณ์นั้น ๆ ได้ คือ
๑. รูปารมณ์ แปลว่า รูปเป็นอารมณ์ ได้แก่ วัณณะ (สี) เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ของจิตและเจตสิก ทางตา
๒. สัททารมณ์
แปลว่า เสียงเป็นอารมณ์ ได้แก่ สัททะ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ของจิตและเจตสิก ทางหู
๓. คันธารมณ์
แปลว่า กลิ่นเป็นอารมณ์ ได้แก่ คันธะ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ของจิตและเจตสิก ทางจมูก
๔. รสารมณ์
แปลว่า รสเป็นอารมณ์ ได้แก่ รสะ คือ อมฺพิล รสเปรี้ยว, มธุร รสหวาน, โลณิก รสเค็ม, กฎก รสเผ็ด, ติตฺต รสขม และ กสาว รสฝาด รวมทั้งหมด ๖ รสเท่านี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางลิ้น
๕. โผฏฐัพพารมณ์
แปลว่า การสัมผัสถูกต้องกาย เป็นอารมณ์ ได้แก่ ปฐวี ความแข็ง ความอ่อน, เตโช ความร้อน ความเย็น, วาโย ความหย่อน ความเคร่ง ตึง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางกาย ทั้ง ๕ อารมณ์นี้ รวมเรียกว่า ปัญจารมณ์
๖. ธัมมารมณ์
แปลว่า สภาพธรรมที่สาธารณแก่ใจเป็นอารมณ์ ได้แก่ สภาว ธรรม ๖ ประการ คือ ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพาน และ บัญญัติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางใจ (ทางมโน)
รวมอารมณ์ทั้ง ๖ นี้เรียกว่า ฉอารมณ์
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ อันรวมเรียกว่า ปัญจารมณ์ หรือ อารมณ์ทั้ง ๕ นี้เป็น รูปธรรม
ส่วน ธัมมารมณ์ นั้น จิต เจตสิก และนิพพาน เป็น นามธรรม ปสาทรูป ๕ และสุขุมรูป ๑๖ เป็น รูปธรรม เฉพาะบัญญัติ นั้น ไม่ใช่รูปธรรม และไม่ใช่นาม ธรรมด้วย แต่เป็น บัญญัติธรรม

 


หน้า ๓๔

อารมณ์ ๖ จำแนกเป็น ๔ นัย

อารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และ ธัมมารมณ์ นี้ จำแนกได้เป็น ๔ นัย คือ
๑. กามอารมณ์ ๒. มหัคคตอารมณ์
๓. บัญญัติอารมณ์ ๔. โลกุตตรอารมณ์

นัยที่ ๑ กามอารมณ์ บ้างก็เรียก กามารมณ์ องค์ธรรม ได้แก่ กามจิต ๕๔, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘ หมายความว่า เมื่อจิตยึดหน่วงเอากามจิต ๕๔ ดวงนั้น ดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี หรือยึดหน่วงเอารูป ๒๘ นั้นรูปใดรูปหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี ก็ได้ชื่อว่า จิตนั้นยึดหน่วงกามอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็น กามธรรม
นัยที่ ๒ มหัคคตอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ มหัคคตจิต ๒๗ เจตสิก ๓๕ หมายความว่า เมื่อจิตยึดหน่วงเอามหัคคตจิต ๒๗ นั้นดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ ก็ได้ชื่อว่าจิตนั้นยึดหน่วงมหัคคตอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็น มหัคคตธรรม
กามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์
เป็น โลกียอารมณ์ เพราะองค์ธรรมของ อารมณ์ทั้ง ๒ นี้ เป็นโลกียธรรมทั้งนั้น เมื่อจิตยึดหน่วงเอาโลกียธรรมเป็นอารมณ์ ก็ได้ชื่อว่าจิตนั้นมีอารมณ์เป็นโลกีย
นัยที่ ๓ บัญญัติอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ บัญญัติธรรม ๒ ประการ คือ อัตถบัญญัติ และ สัททบัญญัติ
อัตถบัญญัติ ได้แก่ การสมมติขึ้นเพื่อให้รู้เนื้อความ หรือความหมายแห่ง รูปร่าง สัณฐาน หรือลักษณะอาการของชื่อนั้น ๆ เช่น ภูเขา ต้นไม้ บ้านเรือน เดิน วิ่ง เป็นต้น
สัททบัญญัติ ได้แก่ รู้จักเสียงที่เรียกชื่อนั้น ๆ คือ รู้ด้วยเสียงที่หมายถึง อัตถบัญญัตินั้น ๆ เช่น ในขณะที่ไม่ได้เห็นภูเขา ไม่ได้เห็นต้นไม้ แต่เมื่ออกเสียง พูดว่าภูเขา พูดว่าต้นไม้ ก็รู้และเข้าใจได้ว่า ภูเขา ต้นไม้ มีรูปร่างสัณฐานเป็น อย่างนั้น ๆ หรือไม่ได้เห็นขณะที่เดิน ขณะที่วิ่ง แต่เมื่ออกเสียงพูดว่า เดิน วิ่ง ก็รู้และเข้าใจได้ว่า เดิน วิ่ง มีอาการอย่างนั้น ๆ เช่นนี้เป็นต้น
เมื่อจิตยึดหน่วงเอาบัญญัติอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ ก็ได้ชื่อว่าจิตนั้นยึด หน่วงบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็นบัญญัติธรรม


หน้า ๓๕

นัยที่ ๔ โลกุตตรอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ และ เจตสิก ๓๖ และ นิพพาน เมื่อจิตยึดหน่วงเอามัคคจิตดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี ยึด หน่วงเอาผลจิตดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ดีก็ได้ชื่อว่า จิตนั้นยึดหน่วงโลกุตตรอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็น โลกุตตรธรรม


จิตใดยึดหน่วงอารมณ์อะไร

ขอกล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า จิตต้องมีอารมณ์ ขึ้นชื่อว่าจิตแล้วจะไม่ยึดหน่วง อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นไม่มีเลย แต่ว่า จิตใดยึดหน่วง หรือข้องอยู่ในอารมณ์ใด บ้างนั้น มีคาถาสังคหะ อันเป็นคาถาที่ ๑๑ และ ๑๒ แสดงไว้ว่า


๑๑. ปญฺจวีส ปริตฺตมฺหิ ฉ จิตฺตานิ มหคฺคเต
เอกวีสติ โวหาเร อฏฺฐ นิพฺพานโคจเร ฯ

 
๑๒. วีสานุตฺตร มุตฺตมฺหิ อคฺค มคฺค ผลุชฺฌิเต
ปญฺจ สพฺพตฺถ ฉจฺเจติ สตฺตธา ตตฺถ สงฺคโหฯ


แปลความว่า จิต ๒๕ ดวง ยึดหน่วง กามอารมณ์
จิต ๖ ดวง ยึดหน่วง มหัคคตอารมณ์
จิต ๒๑ ดวง ยึดหน่วง บัญญัติอารมณ์
จิต ๘ ดวง ยึดหน่วง นิพพานอารมณ์
จิต ๒๐ ดวง ยึดหน่วง อารมณ์ที่เว้นจาก โลกุตตร
จิต ๕ ดวง ยึดหน่วง อารมณ์ที่เว้นจาก อรหัตตมัคค อรหัตตผล
จิต ๖ ดวง ยึดหน่วง อารมณ์ได้ทั้งหมดทั้งสิ้น


อธิบาย

๑. จิต ๒๕ ดวง ยึดหน่วง กามอารมณ์ นั้น คือ
ก. จิต ๑๐ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ยึดหน่วงปัญจารมณ์ โดยเฉพาะๆ ที่เป็นปัจจุบัน
ข. จิต ๓ ดวง ได้แก่ มโนธาตุ ๓ ยึดหน่วงปัญจารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน


หน้า ๓๖

ค. จิต ๑๒ ดวง ได้แก่ ตทาลัมพน ๑๑ หสิตุปปาท ๑ ยึดหน่วงอารมณ์ ๖ ที่เป็น กามธรรม
๒. จิต ๖ ดวง ยึดหน่วง มหัคคตอารมณ์ นั้น คือ
ก. วิญญาณัญจายตนจิต ๓ ดวง มี อากาสานัญจายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ เป็นอารมณ์
ข. เนวสัญญานาสัญญายตนจิต ๓ ดวง มีอากิญจัญญายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ เป็นอารมณ์
๓. จิต ๒๑ ดวง ยึดหน่วง บัญญัติอารมณ์ นั้น คือ
ก. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ข. อากาสานัญจายตนจิต ๓ ดวง มีกสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติเป็นอารมณ์
ค. อากิญจัญญายตนจิต ๓ ดวง มีนัตถิภาวบัญญัติ เป็นอารมณ์
๔. จิต ๘ ดวง ยึดหน่วง นิพพานอารมณ์ นั้น คือ
โลกุตตรจิต ๘ ดวง ได้แก่ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่อย่างเดียว
๕. จิต ๒๐ ดวง ยึดหน่วง อารมณ์ที่เว้นจากโลกุตตรนั้น คือ

ก. อกุสลจิต ๑๒ ดวง
ข. มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ ดวง
ค. มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ ดวง

มีอารมณ์ ๖ ที่เป็นโลกีย และบัญญัติ
คือ มีกามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์
บัญญัติอารมณ์ได้(เว้นโลกุตตรอารมณ์)

๖. จิต ๕ ดวงยึดหน่วงอารมณ์ที่เว้นจากอรหัตตมัคค อรหัตตผล คือ

ก. มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ดวง
ข. อภิญญากุสล ๑ ดวง

มีอารมณ์ ๖ ที่เป็นโลกีย บัญญัติ และ
โลกุตตรได้(เว้นเฉพาะอรหัตตมัคคอรหัตตผล)

๗. จิต ๖ ดวง ยึดหน่วง อารมณ์ได้ทั้งหมดนั้น คือ

ก. มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
ข. มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ดวง
ค. อภิญญา กิริยา ๑ ดวง

มีอารมณ์ ๖ ที่เป็น โลกีย บัญญัติ และ
โลกุตตรได้ทั้งหมด ไม่มีเว้นเลย


หน้า ๓๗

ขยายความ
๑. กามอารมณ์

ในข้อ ๑ ก. ที่ว่าจิต ๑๐ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มี ปัญจารมณ์ โดยเฉพาะ ๆ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวนั้น
คือ
จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ รูปารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์
โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ สัททารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์
ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ คันธารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ รสารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์
กายวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์

ในข้อ ๑ ข. ที่ว่าจิต ๓ ดวง ได้แก่ มโนธาตุ ๓ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ มีปัญจารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารมณ์นั้น คือ
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวงนี้ จิตแต่ละดวงก็มี รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ หรือ โผฏฐัพพารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ก็ได้ ไม่จำกัดเป็นเฉพาะอย่างเหมือนในข้อ ๑ ก. แต่ข้อสำคัญอารมณ์ นั้นจะต้องเป็นปัจจุบันด้วย
ในข้อ ๑ ค. ที่ว่าจิต ๑๒ ดวง ได้แก่ ตทาลัมพนจิต ๑๑ หสิตุปปาทจิต ๑ มีอารมณ์ ๖ ที่เป็นกามธรรมนั้น คือ จิต ๑๒ ดวงที่ว่านี้มีอารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่งเฉพาะที่เป็นกามธรรมเป็น อารมณ์ได้ และอารมณ์นั้นจะเป็นปัจจุบัน หรืออดีต หรืออนาคตก็ได้ ไม่จำกัดว่า จะต้องเป็นปัจจุบันอย่างเดียว เหมือนข้อ ๑ ก. และข้อ ๑ ข.
ในข้อ ๑ นี้ รวมจิตได้ ๒๕ ดวง แม้จะมีอารมณ์ต่างกันก็จริง แต่ว่าอารมณ์ เหล่านั้นล้วนแต่เป็นกามธรรมทั้งนั้น เมื่อจิตทั้ง ๒๕ ดวงนี้ต่างก็มีกามธรรมเป็น อารมณ์ จึงได้ชื่อว่า จิต ๒๕ ดวงยึดหน่วง กามอารมณ์


๒. มหัคคตอารมณ์

ในข้อ ๒ ก. วิญญาณัญจายตนจิต ๓ ดวง มี อากาสานัญจายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ เป็นอารมณ์ นั้น คือ
(๑) เบื้องต้นต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ผู้ที่ได้อากาสานัญจายตนฌานแล้ว เจริญสมถภาวนาต่อ เพื่อให้ได้มาซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานก็ดี


หน้า ๓๘

หรือผู้ที่ได้วิญญาณัญจาย ตนฌานแล้ว จะเข้าวิญญาณัญจายตนฌานอีกครั้งใดเมื่อใดก็ดี จะต้องมีอากาสานัญ จายตนกุสลจิต หรือกิริยาจิตที่เคยเกิดแล้วแก่ตนนั้น เป็นอารมณ์เสมอไปอย่าง แน่นอน (จะใช้อารมณ์อย่างอื่นใด หาได้ไม่) วิญญาณัญจายตนฌานจึงจะเกิดขึ้นได้
(๒) ติเหตุกปุถุชนก็ดี ผลเสกขบุคคลก็ดี ผู้เป็นวิญญาณัญจายตนฌานลาภี บุคคลเข้าฌาน เพื่อให้
วิญญาณัญจายตนกุสลเกิด ก็มีอากาสานัญจายตนกุสล ที่เคย เกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์
(๓) เมื่อบุคคลใน (๒) ตายไป ก็ไปบังเกิดเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ปฏิสนธิด้วยวิญญาณัญจายตนวิบากจิต สถิตในวิญญาณัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนวิบากจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจนี้ ก็มีอากาสานัญจายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ ตนในภพก่อนนั้นเป็นอารมณ์ ตลอดจนวิญญาณัญจายตนวิบาก ที่ทำหน้าที่ภวังคกิจ และจะทำหน้าที่จุติกิจ ต่อไปนั้น ก็มีอากาสานัญจายตนกุสล ที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพก่อนเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน
(๔) เมื่อบุคคลใน (๒) ยังไม่ตาย เจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไปจนบรรลุ อรหัตตมัคค อรหัตตผล เป็นอเสกขบุคคล คือเป็นพระอรหันต์แล้ว เข้าวิญญาณัญ จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌานที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นวิญญาณัญจายตนกิริยา (ไม่ ใช่กุสลเพราะขณะนี้เป็นพระอรหันต์แล้ว) วิญญาณัญจายตนกิริยานี่แหละมีอากาสา นัญจายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์
(๕) พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคล เข้าอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อ อากาสานัญจายตนฌานเกิด ก็เป็นกิริยาจิต แล้วเข้าวิญญาณัญจายตนฌานต่อไป ฉะนั้น วิญญาณัญจายตนกิริยาจิตที่เกิดขึ้นนี้โดยมีอากาสานัญจายตนกิริยาจิต ที่เคย เกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์
ความในข้อ ๒ ก. นี้ สรุปได้ว่า วิญญาณัญจายตน กุสลจิต ๑ วิบากจิต ๑ กิริยาจิต ๑ รวม ๓ ดวง
มีอากาสานัญจายตนกุสล ๑ กิริยา ๑ ที่เคยเกิดมาแล้ว แก่ตนในภพนี้ หรือภพก่อนเป็นอารมณ์
ในข้อ ๒ ข. ที่ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนจิต ๓ ดวง มี อากิญจัญญายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ เป็นอารมณ์นั้น คือ


หน้า ๓๙

เนวสัญญานาสัญญายตน กุสลจิต ๑ วิบากจิต ๑ กิริยาจิต ๑ รวม ๓ ดวง มีอากิญจัญญายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ ที่เคยเกิดแล้วแก่ตน ในภพนี้ หรือภพก่อน เป็นอารมณ์
(๑) ผู้ที่ได้อากิญจัญญายตนฌานแล้ว เจริญสมถภาวนต่อเพื่อให้ได้มาซึ่ง เนว สัญญานาสัญญายตนฌานก็ดี หรือผู้ที่ได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว จะเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอีกครั้งใดเมื่อใดก็ดี จะต้องมีอากิญจัญญายตนกุสลจิตหรือกิริยาจิตที่เคยเกิดแล้วแก่ตนนั้นเป็นอารมณ์
(๒) ติเหตุกปุถุชนก็ดี ผลเสกขบุคคลก็ดี ผู้เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ลาภีบุคคลเข้าฌาน เพื่อให้เนวสัญญานาสัญญายตนกุสลเกิด ก็มีอากิญจัญญายตน กุสล ที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์
(๓) เมื่อบุคคลใน (๒) ตายไป ก็ไปบังเกิดเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิต สถิตในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจนี้ ก็มีอากิญจัญญายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพก่อนนั้นเป็นอารมณ์ ตลอดจนเนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก ที่ทำหน้าที่ภวังคกิจ และจะทำหน้าที่จุติกิจต่อไปนั้น ก็มีอากิญจัญญายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพก่อนเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน
(๔) เมื่อบุคคลใน (๒) ยังไม่ตาย เจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไปจนบรรลุ อรหัตตมัคค อรหัตตผล เป็นอเสกขบุคคล คือเป็นพระอรหันต์แล้ว เข้าเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเนวสัญญานา สัญญายตนกิริยา (ไม่ใช่กุสล เพราะขณะนี้เป็นพระอรหันต์แล้ว) เนวสัญญา นาสัญญายตนกิริยานี่แหละ มีอากิญจัญญายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็น อารมณ์
(๕) พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคล เข้าอากิญจัญญายตนฌาน เมื่ออากิญ จัญญายตนฌานเกิด ก็เป็นกิริยาจิต แล้วเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานต่อไป ฉะนั้นเนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิตที่เกิดขึ้นนี้โดยมีอากิญจัญญายตนกิริยาจิตที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์ ความในข้อ ๒ ข. นี้ สรุปได้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตน กุสลจิต ๑ วิบากจิต ๑ กิริยาจิต ๑ รวม ๓ ดวง มีอากิญจัญญายตนกุสล ๑ กิริยา ๑ ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ ตนในภพนี้หรือภพก่อนเป็นอารมณ์
ในข้อ ๒ นี้ รวมจิตได้ ๖ ดวง มีมหัคคตจิต (๔ ดวง) เป็นอารมณ์ จึงได้ชื่อ ว่าจิต ๖ ดวงยึดหน่วง มหัคคตอารมณ์


๓. บัญญัติอารมณ์

ในข้อ ๓ ก. ที่ว่า รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง มีบัญญัติเป็นอารมณ์ นั้น คือ
รูปาวจรจิต เป็นจิตที่เกิดจากการเพ่งกัมมัฏฐาน ๒๖ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ ตามวิธีการจนเกิดฌานจิต กัมมัฏฐานทั้ง ๒๖ อย่างนั้นล้วนแต่เป็น บัญญัติทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่า รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง มีอารมณ์เป็นบัญญัติกัมมัฏฐาน ๒๖ อย่างนั้น ได้แก่ กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, กายคตาสติ ๑, อานาปาณสติ ๑ และ พรหมวิหาร ๔
ในข้อ ๓ ข. ที่ว่า อากาสานัญจายตนจิต ๓ ดวง มีกสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ เป็นอารมณ์นั้น คือ
กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ หมายถึง ความว่างเปล่า จากที่ได้เพิกกสิณแล้ว ความว่างเปล่านี้แหละเป็นบัญญัติ เมื่อหน่วงเอาความว่างเปล่าซึ่งเป็นบัญญัติเป็น อารมณ์ จึงได้ชื่อว่า อากาสานัญจายตนจิต ๓ ดวง มีอารมณ์เป็นบัญญัติ
ในข้อ ๓ ค. ที่ว่าอากิญจัญญายตนจิต ๓ ดวง มีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ นั้น คือ
นัตถิภาวบัญญัติ หมายถึง ความไม่มี นิดหนึ่งก็ไม่มี หน่อยหนึ่งก็ไม่มี อะไร ๆ ก็ไม่มี เอาบัญญัติที่สมมติว่าไม่มีอะไร นี่แหละเป็นอารมณ์ จึงได้ชื่อว่า อากิญจัญญา ยตนจิต ๓ ดวง มีอารมณ์เป็นบัญญัติ
ความในข้อ ๓ นี้ รวมจิตได้ ๒๑ ดวง ล้วนแต่มีบัญญัติธรรมเป็น อารมณ์ทั้งนั้น จึงได้ชื่อว่าจิต ๒๑ ดวงนี้ ยึดหน่วงอารมณ์ที่เป็นบัญญัติ


หน้า ๔๐

๔. นิพพานอารมณ์

ในข้อ ๔ ที่ว่า โลกุตตรจิต ๘ ดวง ได้แก่ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ มีนิพพานเป็น อารมณ์ แต่อย่างเดียวนั้น
นิพพาน หมายถึง ความสิ้นไปแห่งตัณหาอันเป็นเครื่องร้อยรัดไว้ไม่ให้พ้นไป จากวัฏฏะ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ เป็นจิตที่ตัดวัฏฏะ ตัดเครื่องร้อยรัด เพื่อให้พ้น จากความเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้น มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ จึงต้องมีพระนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว จะมีอารมณ์อย่างอื่นหาได้ไม่ เหตุนี้จึงได้ชื่อว่า โลกุตตรจิต ๘ ดวง ยึดหน่วงพระนิพพานอารมณ์


กาลวิมุตตอารมณ์

ทั้ง ๔ ข้อที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า ข้อ ๑ มีกามอารมณ์ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต ได้ คือ มีกามอารมณ์ในกาลทั้ง ๓ ได้
ข้อ ๒ มีมหัคคตอารมณ์เฉพาะที่เป็นอดีตแต่อย่างเดียว จะมีมหัคคตธรรมที่ เป็นปัจจุบันหรืออนาคตเป็นอารมณ์หาได้ไม่
ส่วนข้อ ๓ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ และข้อ ๔ มีนิพพานเป็นอารมณ์นั้น ไม่ได้ แสดงว่า บัญญัติ หรือ นิพพาน นั้นเป็น ปัจจุบัน หรืออดีต อนาคต แต่อย่างใดเลย ทั้งนี้เพราะบัญญัติและนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีกาลทั้ง ๓ พ้นจาก กาลทั้ง ๓ อัน เรียกว่า กาลวิมุตต
ธรรมที่มีกาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต ได้นั้น ต้องเป็นธรรมที่ไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือ มีการเกิดขึ้น มีการดำรงคงอยู่ แล้วก็ มีการดับไป ธรรมใดที่ดับไปแล้วนั้นเป็นอดีต คือล่วงเลยไปแล้ว, ธรรมใดที่ยังดำรงคงอยู่นั้น เป็นปัจจุบัน คือกำลังมีอยู่ และธรรมใดที่จะเกิดขึ้นอีกต่อไปนั้นเป็นอนาคต คือจะมี มาในภายหน้า
บัญญัติธรรม เป็นธรรมที่ไม่มีสภาวะ จึงไม่มีสภาพที่จะมีความเปลี่ยนแปลง แปรผัน เพราะไม่มีความเที่ยงหรือไม่เที่ยง ทั้งไม่มีการเกิดการดับ อันเป็น สัญญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปร และแห่งความไม่เที่ยงนั้นด้วย จึงไม่เข้าอยู่ในกาลทั้ง ๓ เพราะไม่มีอดีต ปัจจุบัน และอนาคต บัญญัติจึงเป็นกาลวิมุตต คือพ้นจาก กาลทั้ง ๓ ไม่มีกาลทั้ง ๓
นิพพาน เป็นธรรมที่มีสภาวะ มีสภาพเป็นของเที่ยงถาวร ไม่มีความ เปลี่ยนแปลงแปรผัน เป็นไม่เที่ยง และไม่มีการเกิดดับเพราะเป็นสิ่งที่เที่ยงอยู่เสมอ จึงไม่เข้าอยู่ในกาลทั้ง ๓ เพราะไม่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ดังนั้น นิพพานจึงเป็นกาลวิมุตต คือ พ้นจากกาลทั้ง ๓ ไม่มีกาลทั้ง ๓


รวมความว่า ธรรมที่เป็นกาลวิมุตต หรืออารมณ์ที่เป็นกาลวิมุตตนั้น มีเพียง ๑ คือ บัญญัติ และ นิพพาน
จำนวนจิตที่กล่าวแล้วทั้ง ๔ ข้อ รวมได้ ๖๐ ดวง คือ
จิตที่รับ กามอารมณ์ ได้นั้นมี ๒๕ ดวง
จิตที่รับ มหัคคตอารมณ์ ได้นั้นมี ๖ ดวง
จิตที่รับ บัญญัติอารมณ์ ได้นั้นมี ๒๑ ดวง
จิตที่รับ นิพพานอารมณ์ ได้นั้นมี ๘ ดวง
ล้วนแต่เป็นจิตที่มีอารมณ์ดังกล่าวแล้วนั้นแน่นอน อย่างที่เรียกว่าเป็น เอกันตะ
จิตทั้งหมด ๘๙ ดวง มีอารมณ์ที่แน่นอนดังกล่าวแล้ว ๖๐ ดวง คงเหลืออีก ๒๙ ดวง เป็นจิตที่มีอารมณ์ได้หลาย
อย่างทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่า สัพพารมณ์

 

สัพพารมณ์

ส่วนที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นจำนวนจิต ๒๙ ดวง และนับอภิญญาจิตกุสล ๑ กิริยา ๑ รวม ๒ ดวงนั้น รวมเข้าไปอีกด้วย จึงเป็นจิต ๓๑ ดวง ในจำนวนจิต ๓๑ ดวงนี้เป็นจิตที่มีอารมณ์ได้หลายอย่าง หลายกาล ตลอดจนกาลวิมุตตด้วย จึงเรียกว่า สัพพารมณ์
ในข้อ ๕ ที่ว่าจิต ๒๐ ดวง ยึดหน่วงอารมณ์ที่พ้นจากโลกุตตรนั้น คือ
อกุสลจิต ๑๒ มหากุสลญาณวิปปยุตตจิต ๔ และมหากิริยาญาณวิปปยุตตจิต ๔ นี้ มีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ได้ทั้งที่เป็นโลกียและบัญญัติ คือ มีกาม อารมณ์ก็ได้มีมหัคคตอารมณ์ก็ได้ หรือมีบัญญัติอารมณ์ก็ได้ทั้งนั้น เว้นแต่โลกุตตร อารมณ์ เพราะว่า
อกุสลจิต ๑๒ เป็นจิตที่ชั่ว ที่หยาบ ที่บาป จึงไม่สามารถที่จะมีโลกุตตรธรรม คือ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ นิพพาน ๑ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ได้ เพราะ โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ นี้ เป็นธรรมที่ดี ที่ประณีต ที่สุขุม ที่ประเสริฐ
แม้มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔, มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ ก็ไม่สามารถรับ โลกุตตรอารมณ์ได้ เพราะจิต ๘ ดวงนี้ เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่ ไม่ได้ใช้ปัญญาประกอบ จิตที่จะรับโลกุตตรธรรมเป็นอารมณ์ได้นั้น จะต้องเป็นจิต ที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่ใช้ปัญญาประกอบด้วยเสมอไป


หน้า ๔๒

ในข้อ ๖ ที่ว่าจิต ๕ ดวงยึดหน่วงอารมณ์ที่เว้นจากอรหัตตมัคค อรหัตตผลนั้น
มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ก็ดี อภิญญากุสล ๑ ก็ดี รับอารมณ์ ๖ ที่เป็น โลกีย และบัญญัติ ตลอดจนโลกุตตรอารมณ์ก็ได้ เว้นแต่จะรับอรหัตตมัคค อรหัตตผล มาเป็นอารมณ์หาได้ไม่ เพราะอรหัตตมัคค อรหัตตผลนั้น จะต้องเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงจะหน่วงเอาเป็นอารมณ์ได้ ผู้ที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ จะได้อรหัตตมัคค อรหัตตผลที่ไหนมาเป็นอารมณ์ได้

 
ในข้อ ๗ ที่ว่า จิต ๖ ดวง ยึดหน่วงอารมณ์ได้ทั้งหมด นั้น
มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔, อภิญญากิริยาจิต ๑ รวม ๖ ดวงนี้ รับอารมณ์ได้ทั้งหมด ไม่มียกเว้นเลย เพราะจิตเหล่านี้เป็นจิตของ พระอรหันต์ จึงรับอารมณ์ได้ทั้งสิ้น ไม่มีเว้นเลย
จำนวนจิตที่กล่าวแล้วในข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ นี้รวมได้ ๓๑ ดวง เป็นจิต ที่รับอารมณ์ได้หลายอย่าง อย่างนั้นก็ได้อย่างนี้ก็ได้ ไม่แน่นอนว่าจะต้องเป็นอารมณ์ นั้นอารมณ์นี้แต่อย่างเดียว เพราะเหตุที่รับอารมณ์ได้มากกว่า ๑ จึงเรียกว่าเป็น อเนกันตะ หมายความว่า ไม่แน่นอนด้วย


อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต

ได้กล่าวแล้วในทวารสังคหะ ว่าจิตที่พ้นทวาร เป็นจิตที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัย ทวารนั้น มี ๑๙ ดวง ได้แก่
อุเบกขา สันตีรณจิต ๒
มหาวิบากจิต ๘
มหัคคตวิบากจิต ๙
ด้วยเหตุที่จิต ๑๙ ดวงนี้ทำหน้าที่ ปฏิสนธิ ภวังคกิจ จุติกิจ จึงไม่ต้องอาศัย ทวาร แต่ก็ต้องมีอารมณ์ตามหลักที่ว่า จิตต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว อารมณ์ ของจิต ๑๙ ดวงที่ทำหน้าที่ ปฏิสนธิ ภวังค จุติ นี้มีชื่อเรียกเป็นพิเศษโดย
เฉพาะว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และ คตินิมิตอารมณ์
ในกาลแห่งสัตว์อันใกล้มรณะนั้น จะต้องมี กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏแก่ชวนจิตในมรณาสันนวิถี อารมณ์ นี้ จะต้องเกิดทั่วทุกตัวสัตว์ เว้นแต่ อสัญญสัตต และ พระอรหันต์


หน้า ๔๓

ที่เว้น อสัญญสัตตนั้น เพราะอสัญญสัตตไม่มีจิต จึงไม่มีอารมณ์ ส่วนที่เว้นพระ อรหันต์นั้น เพราะพระอรหันต์ไม่ต้องไปเกิดอีกแล้ว จึงไม่มีอารมณ์ ๓ อย่างนี้ อัน เป็นเครื่องหมายแห่งการเกิดชวนจิตในมรณาสันนวิถี เรียกว่า มรณาสันนชวนะ ก็ได้ แต่ชาติก่อน มีสิ่งใด เป็นอารมณ์ จิตที่เป็นปฏิสนธิ และ
ภวังค ตลอดจนจุติจิตในปัจจุบันชาตินี้ ก็ถือเอาสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ในภพเดียวกัน ในชาติเดียวกัน ในบุคคลเดียวกัน เป็นจิตดวงเดียวกัน และมีอารมณ์ก็อย่างเดียวกัน


กรรมอารมณ์

กรรมอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายกุสล คือ ตนได้ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญ ภาวนามานั้น เคยทำอย่างไร ก็นึกก็คิดอย่างที่ทำอยู่อย่างนั้น มรณาสันนชวนจิต ก็ถือเอาเป็นอารมณ์
ที่เป็นฝ่ายอกุสล คือ ตนเคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฉ้อ ชิง เฆี่ยนตี จำจองสัตว์ อย่างไร ก็นึกก็คิดอย่างที่ได้ทำอยู่อย่างนั้น มรณาสันนชวนจิต ก็น้อมเอามาเป็นอารมณ์
กรรมอารมณ์นี้ปรากฏทางมโนทวารทางเดียว ไม่ปรากฏทางทวารทั้ง ๕ คือ ปัญจทวาร เพราะกรรมอารมณ์นี้ นึกถึงคิดถึงการกระทำในอดีตเป็นอดีตอารมณ์ เป็นกรรมในอดีตที่ตนได้ทำแล้วอย่างไร ก็หน่วงโน้มน้ำใจให้คิดให้นึกเหมือนดังที่ได้ ทำอยู่อย่างนั้น เป็นแต่นึก เป็นแต่คิด ไม่ถึงกับมีเป็นภาพเป็นนิมิตมาปรากฏ
เมื่อมีกรรมอารมณ์เป็นกุสล ก็นำไปสู่สุคติ ถ้าหากว่ามีกรรมอารมณ์เป็นอกุสล ก็จะต้องไปสู่ทุคคติ


กรรมนิมิตอารมณ์

กรรมนิมิตอารมณ์ หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ตนได้ใช้ในการกระทำ กรรมนั้น ๆ ที่เป็นฝ่ายกุสลก็เห็นเครื่องที่ตนได้ทำกุสล เป็นต้นว่า เห็นเครื่องสักการะที่ตนใช้บูชา เห็นผ้าผ่อนที่ตนให้ทาน เห็นโบสถ์ เห็นพระพุทธรูปที่ตนสร้าง เห็นพระสงฆ์ที่ตนอุปการะบวชให้ มรณาสันนชวนจิตก็หน่วงเอาเป็นอารมณ์
ที่เป็นฝ่ายอกุสล เช่น เห็นแห อวน หอก ดาบ มีด ไม้ ปืน เครื่องเบียดเบียน สัตว์ ที่ตนเคยใช้ในการทำบาปเหล่านี้ เป็นต้น มรณาสันนชวนจิตก็น้อมมาเป็นอารมณ์


หน้า ๔๔

ทั้งนี้ถ้าเป็นแต่เพียงนึก เพียงคิดถึงวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้นั้น ๆ ก็ปรากฏทาง มโนทวาร เป็นอดีตอารมณ์ แต่ถ้าได้เห็นด้วยนัยตาจริง ๆ ด้วย ได้ยินทางหูจริง ๆ ด้วย ได้กลิ่นทางจมูกจริง ๆ ด้วย ก็เป็นทางปัญจทวารและเป็นปัจจุบันอารมณ์
เมื่อมีกรรมนิมิตอารมณ์เป็นกุสลก็นำไปสู่สุคติ แต่ถ้าหากว่ามีกรรมนิมิตอารมณ์ เป็นอกุสลแล้ว ย่อมนำไปสู่ทุคคติ


คตินิมิตอารมณ์

คตินิมิตอารมณ์ เป็นการนึกเห็นเครื่องหมายที่จะนำไปสู่ สุคติ หรือ ทุคคติ ถ้าจะไปสู่สุคติ ก็จะปรากฏเป็นวิมาน เป็นปราสาททิพยสมบัติ เป็นนางเทพอัปสร เป็นรั้ววัง เป็นครรภ์มารดา เป็นวัดวาอาราม เป็นภิกษุ สามเณร ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดี คตินิมิตอารมณ์ที่จะนำไปสู่ทุคคติ ก็จะปรากฏเป็นเปลวไฟ เป็นเหว เป็นถ้ำอัน มืดมัว เป็นนายนิรยบาล เป็นสุนัข แร้ง กา เป็นต้น จะมาเบียดเบียนทำร้ายตน ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เลวร้าย
ทั้งนี้ปรากฏทางมโนทวารแต่ทางเดียว คือ เห็นทางใจ และจัดเป็นปัจจุบัน อารมณ์ เพราะกำลังนึกเห็นนิมิตนั้น ๆ อยู่ สำหรับผู้ไปเกิดเป็น รูปพรหม และ อรูปพรหมนั้น มรณาสันนชวนจิตมีเฉพาะ กรรมนิมิตอารมณ์แต่อย่างเดียว โดยมีบัญญัติธรรม หรือ มหัคคตธรรม เป็นอารมณ์ ตามควรแก่ฌาน
รวมความว่า กรรมอารมณ์ กล่าวโดยอารมณ์ได้เฉพาะ ธัมมารมณ์ กล่าวโดย ทวาร เกิดเฉพาะทางมโนทวาร กล่าวโดยกาล ได้แก่อารมณ์ที่เป็นอดีต

 กรรมนิมิตอารมณ์ กล่าวโดยอารมณ์ได้ในอารมณ์ทั้ง ๖ กล่าวโดยทวาร เกิดได้ ทั้ง ๖ ทวาร กล่าวโดยกาลได้แก่ อารมณ์ที่เป็นอดีต และอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วย
คตินิมิตอารมณ์ กล่าวโดยอารมณ์ได้เฉพาะธัมมารมณ์ กล่าวโดยทวารเกิดได้ เฉพาะทางมโนทวาร กล่าวโดยกาลเป็นได้เฉพาะปัจจุบัน


หน้า ๔๕

อารมณ์กับจิต

ต่อไปนี้จะแสดงว่า อารมณ์แต่ละอย่างนั้น มีจิตอะไรบ้างที่ยึดหน่วงเอาเป็น อารมณ์ได้ จะแสดงทั้งที่เป็นเอกันตะ คืออย่างแน่นอน และที่เป็น อเนกันตะ คืออย่างไม่แน่นอนด้วย ตลอดจนแสดงว่าจิตอะไรบ้างที่รับอารมณ์นั้นไม่ได้

๑. กามอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๕๖ ดวง ได้แก่ กามจิต ๕๔ และ
อภิญญาจิต ๒

ไม่ได้ ๓๕ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๒๕ คือ

มหัคคตจิต ๒๗

อเหตุกจิต (เว้นมโน) ๑๗

โลกุตตรจิต ๘

มหาวิบากจิต ๘

 

ไม่แน่นอน ๓๑ คือ

 

อกุสลจิต ๑๒

 

มโนทวาราวัชชนจิต ๑

 

มหากุสลจิต ๘

 

มหากิริยาจิต ๘

 

อภิญญาจิต ๒

 

 

๒. มหัคคตอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๓๗ ดวง ได้แก่

ไม่ได้ ๕๔ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๖ คือ

อเหตุกจิต (เว้นมโน) ๑๗

วิญญาณัญจายตนะ ๓

มหาวิบาก ๘

เนวสัญญานาสัญญายตน ๓

รูปาวจรจิต ๑๕

ไม่แน่นอน ๓๑ คือ

อากาสานัญจายตนะ ๓

อกุสล ๑๒

อากิญจัญญายตนะ ๓

มโนทวาราวัชชนะ ๑

โลกุตตรจิต ๘

มหากุสล ๘

 

มหากิริยา ๘

 

อภิญญาจิต ๒

 


หน้า ๔๖

๓. นิพพานอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๑๙ ดวง ได้แก่

ไม่ได้ ๗๒ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๘ คือ

อกุสล ๑๒

โลกุตตรจิต ๘

อเหตุกจิต (เว้นมโน) ๑๗

ไม่แน่นอน ๑๑ คือ

มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔

มโนทวาราวัชชนะ ๑

มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔

มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔

มหาวิบาก ๘

มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔

มหัคคตจิต ๒๗

อภิญญาจิต ๒

 

 

๔. บัญญัติอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๕๒ ดวง ได้แก่

ไม่ได้ ๓๙ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๒๑ คือ

อเหตุกจิต (เว้นมโน) ๑๗

รูปาวจรจิต ๑๕

มหาวิบาก ๘

อากาสานัญจายตนะ ๓

วิญญาณัญจายตนะ ๓

อากิญจัญญายตนะ ๓

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๓

ไม่แน่นอน ๓๑ คือ

โลกุตตรจิต ๘

อกุสล ๑๒

 

มโนทวาราวัชชนะ ๑

 

มหากุสล ๘

 

มหากิริยา ๘

 

อภิญญาจิต ๒

 


หน้า ๔๗

๕. ปรมัตถอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๗๐ ดวง ได้แก่

ไม่ได้ ๒๑ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๓๙ คือ

รูปาวจรจิต ๑๕

อเหตุกจิต (เว้นมโน) ๑๗

อากาสานัญจายตนะ ๓

มหาวิบาก ๘

อากิญจัญญายตนะ ๓

วิญญาณัญจายตนะ ๓

 

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๓

 

โลกุตตรจิต ๘

 

ไม่แน่นอน ๓๑ คือ

 

อกุสล ๑๒

 

มโนทวาราวัชชนะ ๑

 

มหากุสล ๘

 

มหากิริยา ๘

 

อภิญญาจิต ๒

 

 

๖. ธัมมารมณ์ มีจิตที่รับได้

ได้ ๗๘ ดวง (ไม่จัดเป็นแน่นอน และไม่แน่นอน ได้แก่

ไม่ได้ ๑๓ ดวง ได้แก่

กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ และมโนธาตุ) ๔๑

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

รูปาวจรจิต ๑๕

มโนธาตุ ๓

อรูปาวจรจิต ๑๒

 

โลกุตตรจิต ๘

 

อภิญญาจิต ๒

 

 

๗. นามอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๕๗ ดวง ได้แก่

ไม่ได้ ๓๕ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๑๔ คือ

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

โลกุตตรจิต ๘

มโนธาตุ ๓

วิญญาณัญจายตนะ ๓

รูปาวจรจิต ๑๕

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๓

อากาสานัญจายตนะ ๓

ไม่แน่นอน ๔๓ คือ

อากิญจัญญายตนะ ๓

กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ และมโนธาตุ) ๔๑

 

อภิญญาจิต ๒

 


หน้า ๔๘

๘. ปัญจารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๕๖ ดวง (ไม่จัดเป็นแน่นอนและ ไม่แน่นอน) ได้แก่

ไม่ได้ ๓๕ ดวง ได้แก่

กามจิต ๕๔

มหัคคตจิต ๒๗

อภิญญาจิต ๒

โลกุตตรจิต ๘

 

๙. รูปอารมณ์ และปัจจุบันอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๕๖ ดวง ได้แก่ กามจิต ๕๔ และ อภิญญา ๒

ไม่ได้ ๓๕ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๑๓ คือ

มหัคคตจิต ๒๗

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

โลกุตตรจิต ๘

มโนธาตุ ๓

 

ไม่แน่นอน ๔๓ คือ

 

กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ และมโนธาตุ) ๔๑

 

อภิญญาจิต ๒

 

 

๑๐. อดีตอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๔๙ ดวง ได้แก่

ไม่ได้ ๔๒ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๖ คือ

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

วิญญาณัญจายตนะ ๓

มโนธาตุ ๓

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๓

รูปาวจรจิต ๑๕

ไม่แน่นอน ๔๓ คือ

อากาสานัญจายตนะ ๓

กามจิต(เว้นทวิปัญจวิญญาณ และมโนธาตุ) ๔๑

อากิญจัญญายตนะ ๓

อภิญญาจิต ๒

โลกุตตรจิต ๘

 

๑๑. อนาคตอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๔๓ ดวง (ไม่จัดเป็นแน่นอน และไม่แน่นอน) ได้แก่

ไม่ได้ ๔๘ ดวง ได้แก่

กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ และมโนธาตุ) ๔๑

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

อภิญญาจิต ๒

มโนธาตุ ๓

 

มหัคคตจิต ๒๗

 

โลกุตตรจิต ๘


หน้า ๔๙

๑๒. กาลวิมุตตอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๖๐ ดวง ได้แก่

ไม่ได้ ๓๑ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๒๙ คือ

อเหตุกจิต (เว้นมโน) ๑๗

รูปาวจรจิต ๑๕

มหาวิบาก ๘

อากาสานัญจายตนะ ๓

วิญญาณัญจายตนะ ๓

อากิญจัญญายตนะ ๓

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๓

โลกุตตรจิต ๘

 

ไม่แน่นอน ๓๑ คือ

 

อกุสล ๑๒

 

มโนทวาราวัชชนะ ๑

 

มหากุสล ๘

 

มหากิริยา ๘

 

อภิญญาจิต ๒

 

 

๑๓. อัชฌัตตอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๖๒ ดวง ได้แก่

ไม่ได้ ๒๙ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๖ คือ

รูปาวจรจิต ๑๕

วิญญาณัญจายตนะ ๓

อากาสานัญจายตนะ ๓

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๓

อากิญจัญญายตนะ ๓

ไม่แน่นอน ๕๖ คือ

โลกุตตร ๘

กามจิต ๕๔

 

อภิญญาจิต ๒

 

 

๑๔. พหิทธอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๘๒ ดวง ได้แก่

ไม่ได้ ๙ ดวง ได้แก่

แน่นอน ๒๖ คือ

วิญญาณัญจายตนะ ๓

รูปาวจรจิต ๑๕

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๓

อากาสานัญจายตนะ ๓

อากิญจัญญายตนะ ๓

โลกุตตรจิต ๘

 

ไม่แน่นอน ๕๖ คือ

 

กามจิต ๕๔

 

อภิญญาจิต ๒

 


หน้า ๕๐

๑๕. อัชฌัตตพหิทธอารมณ์ มีจิตที่รับ

ได้ ๕๖ ดวง (ไม่จัดเป็นแน่นอน และไม่แน่นอน) ได้แก่

ไม่ได้ ๓๕ ดวง ได้แก่

กามจิต ๕๔

มหัคคตจิต ๒๗

อภิญญาจิต ๒

โลกุตตรจิต ๘

 

จิตมีอารมณ์ได้กี่อย่าง

จิตต้องมีอารมณ์ และจิตที่เกิดขึ้นขณะหนึ่ง ๆ นั้น มีอารมณ์แต่อย่างเดียว เท่านั้น จิตดวงเดียวที่เกิดขึ้นขณะเดียว จะมีอารมณ์หลายอย่างไม่ได้ แต่ว่าจิตดวงเดียวกันเกิดขึ้นในขณะนี้มีอารมณ์อย่างนี้ แต่เมื่อเกิดขึ้นในขณะอื่น อาจมีอารมณ์อย่างอื่นก็ได้ อย่างนี้ เรียกว่า จิตมีอารมณ์ได้ หลายอย่าง
จิตบางดวงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในขณะนี้หรือขณะไหน ๆ ก็ต้องมีอารมณ์ อย่างนั้นแต่อย่างเดียว ไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอารมณ์อย่างอื่นเลย ก็มีเหมือนกัน อย่างนี้เรียกว่า จิตมีอารมณ์ได้อย่างเดียว ดังต่อไปนี้

๑. จิตที่มีอารมณ์ได้ อย่างเดียว มี ๒๘ ดวง
๒. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๒ อย่าง มี ๒ ดวง
๓. จิตที่มีอารมณได้ ๕ อย่าง มี ๓ ดวง
๔. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๖ อย่าง มี ๑๒ ดวง
๕. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง มี ๓ ดวง
๖. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง มี ๙ ดวง
๗. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๒๕ อย่าง มี ๓ ดวง

มีรายละเอียดดังนี้  


๑. จิตที่มีอารมณ์ได้อย่างเดียว มี ๒๘ ดวง

จักขุวิญญาณจิต ๒ มีอารมณ์ คือ รูปารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว
โสตวิญญาณจิต ๒ มีอารมณ์ คือ สัททารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว
ฆานวิญญาณจิต ๒ มีอารมณ์ คือ คันธารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ มีอารมณ์ คือ รสารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว


กายวิญญาณจิต ๒ มีอารมณ์ คือ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว
อากาสานัญจายตนจิต ๓ มีอารมณ์ คือ กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ
อากิญจัญญายตนจิต ๓ มีอารมณ์ คือ นัตถิภาวบัญญัติ

วิญญาณัญจายตนะกุสล ๑ วิบาก ๑ มีอารมณ์ อากาสานัญจายตนกุสล ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตน ในภพนี้หรือภพก่อน แต่อย่างเดียว
เนวสัญญานาสัญญายตนกุสล ๑ วิบาก ๑ มีอารมณ์ อากิญจัญญายตนกุสล ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตน ในภพนี้หรือภพก่อนแต่อย่างเดียว
โลกุตตรจิต ๘ มีอารมณ์ นิพพาน แต่อย่างเดียว


๒. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๒ อย่าง มี ๒ ดวง

วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต ๑ มีอารมณ์ อากาสานัญจายตนกุสลที่เคยเกิดมา แล้วแก่ตนในภพนี้หรือภพก่อน ๑, มีอารมณ์ อากาสานัญจายตนกิริยาที่เคยเกิดแล้ว แก่ตนในภพนี้ ๑
เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต ๑ มีอารมณ์ อากิญจัญญายตนกุสล ที่เคย เกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้หรือภพก่อน ๑, มีอารมณ์ อากิญจัญญายตนกิริยาที่เคยเกิด มาแล้วแก่ตนในภพนี้ ๑


๓. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๕ อย่าง มี ๓ ดวง

มโนธาตุ ๓ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ มีปัญจารมณ์ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ก็ได้


๔. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๖ อย่าง มี ๑๒ ดวง

หสิตุปปาทจิต ๑
ตทาลัมพนจิต ๑๑

มีอารมณ์ คือ อารมณ์ทั้ง ๖ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

 

๕. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง มี ๓ ดวง

รูปาวจรปัญจมฌาน ๓ มีอารมณ์ คือ กสิณ ๑๐, อานาปาณสติ ๑, อุเบกขา พรหมวิหาร ๑


หน้า ๕๒

๖. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง มี ๙ ดวง

รูปาวจร จตุตถฌาน ๓
รูปาวจร ตติยฌาน ๓
รูปาวจร ทุติยฌาน ๓

มีอารมณ์ คือ กสิณ ๑๐, อานาปาณสติ ๑,
เมตตา กรุณา มุทิตา ๓

๗. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๒๕ อย่าง มี ๓ ดวง

รูปาวจร ปฐมฌาน ๓ มีอารมณ์ คือ กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, กายคตาสติ ๑, อานาปาณสติ ๑, เมตตา กรุณา มุทิตา ๓ อารมณ์ของ เมตตา คือ ปิยมนาปสัตวบัญญัติ
อารมณ์ของ กรุณา คือ ทุกขิตสัตวบัญญัติ
อารมณ์ของ มุทิตา คือ สุขิตสัตวบัญญัติ
อารมณ์ของ อุเบกขา คือ มัชฌัตตสัตวบัญญัติ


เจตสิก กับ อารมณ์

ปรมัตถธรรม ๔ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้น จิตและเจตสิก เป็นธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ แต่รูป และ นิพพานไม่สามารถที่จะรู้อารมณ์ได้เลย
จิตรับอารมณ์อย่างใด รู้อารมณ์อะไร เจตสิกที่ประกอบกับจิตนั้นก็รับอารมณ์ รู้อารมณ์อย่างเดียวกันนั้นเอง
สมกับที่ว่า เอกาลัมพนะ แต่เมื่อกล่าวเป็นส่วนรวม แล้ว เจตสิกรับอารมณ์ได้ดังนี้
เจตสิกที่รับ ปัญจารมณ์ ได้นั้นมี ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา)
เจตสิกที่รับ ธัมมารมณ์ ได้นั้นมี ๕๒ (ครบจำนวนเจตสิก)
อกุสลเจตสิก ๑๔ รับอารมณ์ ๖ ที่เป็น โลกีย และบัญญัติ
อิสสาเจตสิก ๑ รับอารมณ์ ๖ ที่เป็น พหิทธะ
โลกีย วิรตี ๓ รับอารมณ์ ๖ ที่เป็น กามธรรม


หน้า ๕๓

โลกุตตร วิรตี ๓ รับอารมณ์ ธัมมารมณ์ ที่เป็น นิพพาน แต่อย่างเดียว
อัปปมัญญา ๒ รับอารมณ์ ธัมมารมณ์ ที่เป็น สัตวบัญญัติ และเป็น พหิทธอารมณ์ด้วย
ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๓๓ ดวง คือ

อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
ปัญญาเจตสิก ๑

รับอารมณ์ ๖ ได้ทั้งที่เป็นโลกียโลกุตตร
อดีต อนาคต ปัจจุบัน กาลวิมุตตะ อัชฌัตตะ และ พหิทธะ

 

หมวดที่ ๖ วัตถุสังคหะ


วสนฺติ ปติฏฺฐหนฺติ จิตฺตเจตสิกา เอตฺถาติ วตฺถุ ฯ


จิต เจตสิก ทั้งหลาย ย่อมอาศัยตั้งอยู่ในธรรมใด ฉะนั้น ธรรมที่เป็นที่อาศัย ตั้งอยู่ของจิตเจตสิกเหล่านั้น ชื่อว่า วัตถุ
วัตถุสังคหะ
เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องวัตถุ อันเป็นที่อาศัยเกิดของจิตและ เจตสิก วัตถุอันเป็นที่จิตและเจตสิก
อาศัยเกิดนี้ มี ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัตถุ ๖ และวัตถุ ๖ นี้เป็น รูปธรรม ทั้งนั้น คือ
๑. จักขุวัตถุ ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ จักขุวิญญาณจิต ๒
๒. โสตวัตถุ ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ โสตวิญญาณจิต ๒
๓. ฆานวัตถุ ได้แก่ ฆานปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ ฆานวิญญาณจิต ๒
๔. ชิวหาวัตถุ ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
๕. กายวัตถุ ได้แก่ กายปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ กายวิญญาณจิต ๒
๖. หทยวัตถุ ได้แก่ หทยรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ จิต ๗๕ ดวง (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔)


วิญญาณธาตุ

ในวัตถุสังคหะนี้ ได้กล่าวถึง วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้ด้วย ในจำนวนจิตทั้ง หมด ๘๙ ดวง เมื่อจัดโดยความเป็นธาตุก็ได้ วิญญาณธาตุ ๗ คือ


หน้า ๕๔

๑. จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น จักขุวิญญาณธาตุ
๒. โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น โสตวิญญาณธาตุ
๓. ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น ฆานวิญญาณธาตุ
๔. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ
๕. กายวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น กายวิญญาณธาตุ

ทั้ง ๕ นี้มีชื่อรวมเรียก
ว่าวิญญาณธาตุ ๕
หรือ ปัญจวิญญาณธาตุ

๖. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
สัมปฏิจฉันนจิต ๒

รวม ๓ ดวง เป็น มโนธาตุ

๗. จิตที่เหลืออีก ๗๖ ดวง เป็น มโนวิญญาณธาตุ


ภูมิกับวัตถุ

ในภูมิไหน มีวัตถุอะไร เป็นที่อาศัยให้เกิดวิญญาณธาตุใดนั้น มีคาถาสังคหะที่ ๑๓ แสดงว่า


๑๓. ฉวตฺถํ นิสฺสิตา กาเม สตฺต รูเป จตุพฺพิธา
ติวตฺถุํ นิสฺสิตา รูเป ธาเตวฺกา นิสฺสิตา มตา ฯ

แปลความว่า ท่านกล่าวว่า
ในกามภูมิ วิญญาณธาตุ ๗ อาศัยวัตถุ ๖ เกิด
ในรูปภูมิ วิญญาณธาตุ ๔ อาศัยวัตถุ ๓ เกิด
ในอรูปภูมิ วิญญาณธาตุ ๑ ไม่ต้องอาศัยวัตถุเลย ก็เกิดได้


อธิบาย

๑. ในกามาวจรภูมิ หรือ กามภูมิ ซึ่งมี ๑๑ ภูมิ ได้แก่ อบายภูมิ ๔, มนุษยภูมิ ๑ และ เทวภูมิ ๖ นั้น มีวัตถุ ๖ ครบบริบูรณ์ จึงเป็นที่อาศัยให้เกิด วิญญาณธาตุครบ ทั้ง ๗ เหมือนกัน คือ
(๑) จักขุวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของ จักขุวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒
(๒) โสตวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของ โสตวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒
(๓) ฆานวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของ ฆานวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒
(๔) ชิวหาวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของชิวหาวิญญาณธาตุ ๑ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
(๕) กายวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิดของ กายวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒


(๖) หทยวัตถุ

มโนธาตุ ๓ ได้แก่

ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
สัมปฏิจฉันนจิต ๒

มโนวิญญาณธาตุ ๑ ได้แก่

จิตที่เหลือ ๗๖


หน้า ๕๕

๒. ในรูปาวจรภูมิ หรือรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตตภูมิ) นั้น มีวัตถุเพียง ๓ อันเป็นที่อาศัยให้เกิดวิญญาณธาตุ ๔ เท่านั้น คือ
(๑) จักขุวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิด จักขุวิญญาณธาตุ ๑
(๒) โสตวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิด โสตวิญญาณธาตุ ๑


(๓) หทยวัตถุ เป็นที่อาศัยเกิด

มโนธาตุ ๑
มโนวิญญาณธาตุ ๑

 

ส่วนฆานวัตถุ อันเป็นที่อาศัยเกิด ฆานวิญญาณธาตุ ๑, ชิวหาวัตถุ อันเป็นที่ อาศัยให้เกิด ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑ และกายวัตถุ อันเป็นที่อาศัยให้เกิดกายวิญญาณ ธาตุ ๑ รวม ๓ วัตถุ ๓ ธาตุนี้ไม่มี
แต่ว่า รูปพรหมทั้ง ๑๕ ภูมินี้ มีจมูก แต่ไม่มีฆานวัตถุ คือไม่มีฆานปสาทรูป, มีลิ้น แต่ไม่มีชิวหาวัตถุ คือไม่มีชิวหาปสาทรูป, มีกาย แต่ไม่มีกายวัตถุ คือไม่มีกาย ปสาทรูป ดังนั้น ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และ กายวิญญาณ ไม่มีที่อาศัยเกิด จึงเกิดไม่ได้

 
อนึ่ง กามภูมิ ๑๑ และรูปภูมิ ๑๕ รวม ๒๖ ภูมินี้ มีชื่อรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัญจโวการภูมิ คือ ภูมิที่มีขันธ์ ๕ ได้แก่มี รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
เฉพาะอสัญญสัตตภูมิ ซึ่งเป็นรูปภูมิอีกภูมิหนึ่งนั้น ไม่มีวัตถุทั้ง ๖ และไม่มี วิญญาณธาตุทั้ง ๗ เลยแม้แต่สักอย่างเดียว ทั้งนี้ เป็นเพราะภูมินี้มีแต่รูปขันธ์ เท่านั้น ส่วนนามขันธ์อีก ๔ ขันธ์นั้นไม่มี ดังนั้น อสัญญสัตตภูมินี้จึงมีชื่อเรียกอีก ชื่อหนึ่งว่า เอกโวการภูมิ คือ ภูมิที่มีขันธ์ ๑ ได้แก่ มีรูปขันธ์เพียงขันธ์เดียว
 

 

๓. อรูปาวจรภูมิ หรือ อรูปภูมิ ซึ่งมี ๔ ภูมินั้น วัตถุ ๖ ไม่มีเลย เพราะ อรูปภูมิเป็นภูมิที่ไม่มีรูปธรรม มีแต่นามธรรมเท่านั้น ดังนั้นวัตถุ ๖ ซึ่งเป็นรูปธรรม ทั้ง ๖ จึงไม่มีในอรูปภูมิ แต่ว่าในอรูปภูมิทั้ง ๔ นี้ วิญญาณธาตุ ๗ นั้นเกิดได้ ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยหทยวัตถุใด ๆ เลยทั้งนั้น เพราะเหตุว่าอรูปภูมิทั้ง ๔ นี้มีแต่นามขันธ์ทั้ง ๔ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ส่วนรูปขันธ์ไม่มี จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จตุโวการภูมิ คือ ภูมิที่มี ๔ ขันธ์ (ขาดรูปขันธ์ไปขันธ์หนึ่ง)


หน้า ๕๖

สรุปเพื่อให้จำได้ง่าย

กามภูมิ ๑๑ มีวัตถุทั้ง ๖ เป็นที่อาศัยให้เกิดวิญญาณธาตุทั้ง ๗ คือ
จักขุวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด โสตวิญญาณธาตุ
ฆานวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด กายวิญญาณธาตุ
หทยวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ

รูปภูมิ ๑๕ มีวัตถุ ๓ เป็นที่อาศัยให้เกิดวิญญาณธาตุ ๔ คือ
จักขุวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด โสตวิญญาณธาตุ
หทยวัตถุ เป็นที่อาศัยให้เกิด มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ

อสัญญสัตตภูมิ ๑ นั้นวัตถุทั้ง ๖ วิญญาณธาตุทั้ง ๗ ไม่มีเลยแม้แต่สักอย่าง เดียว

อรูปภูมิ ๔ นั้น วัตถุทั้ง ๖ ไม่มีเลย แต่มีวิญญาณธาตุ ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ ซึ่งเกิดได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุใด ๆ เลย


จิตกับวัตถุ

จิตใดจะต้องอาศัยวัตถุอะไรเกิด หรือไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้นั้น มีคาถาสังคหะที่ ๑๔ อันเป็นคาถาสุดท้ายในปริจเฉทนี้ แสดงว่า


๑๔. เตจตฺตาฬีส นิสฺสาย เทฺวจตฺตาฬีส ชายเร
นิสฺสาย จ อนิสฺสาย ปาการุปฺปา อนิสฺสิตา ฯ

แปลความว่า จิต ๔๓ ดวง ต้องอาศัยวัตถุเสมอ
จิต ๔๒ ดวง บางทีก็อาศัย บางทีก็ไม่อาศัย
อรูปวิบาก ๔ ดวง ไม่ต้องอาศัยวัตถุเลย


หน้า ๕๗

อธิบาย

๑. จิต ๔๓ ดวง ต้องอาศัยวัตถุเสมอ จะเกิดโดยไม่ต้องอาศัยวัตถุหาได้ไม่ ดังนั้นในภูมิใดไม่มีวัตถุ จิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย จิต ๔๓ ดวง ได้แก่

 โทสมูลจิต ๒ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้

อเหตุกจิต ๑๗ (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑) คือ
จักขุวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย จักขุวัตถุ จึงจะเกิดได้
โสตวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย โสตวัตถุ จึงจะเกิดได้
ฆานวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย ฆานวัตถุ จึงจะเกิดได้
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย ชิวหาวัตถุ จึงจะเกิดได้
กายวิญญาณจิต ๒ ต้องอาศัย กายวัตถุ จึงจะเกิดได้
สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
สันตีรณจิต ๓ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้
หสิตุปปาทจิต ๑ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้

มหาวิบากจิต ๘ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้

รูปาวจรจิต ๑๕ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้

โสดาปัตติมัคคจิต ๑ ต้องอาศัย หทยวัตถุ จึงจะเกิดได้


๒. จิต ๔๒ ดวง บางทีก็อาศัย บางทีก็ไม่อาศัยนั้น ได้แก่
อกุสล ๑๐ (เว้นโทสจิต ๒)
มหากุสล ๘
มหากิริยา ๘
อรูปาวจรกุสล ๔
อรูปาวจรกิริยา ๔
โลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑)
มโนทวาราวัชชนจิต ๑

ที่ว่าจิต ๔๒ ดวงนี้ บางทีก็อาศัยวัตถุเกิด บางทีไม่ต้องอาศัยวัตถุก็เกิดได้นั้น เป็นดังนี้ ถ้าจิตนี้เกิดใน
ปัญจโวการภูมิ คือภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็จะต้องอาศัยหทย วัตถุเกิด


หน้า ๕๘

กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ถ้าจิต ๔๒ ดวงนี้ เกิดในกามภูมิ ๑๑ ก็ดี เกิดในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นสัญญสัตตภูมิ) ก็ดี ซึ่งเป็นภูมิที่มีหทยวัตถุแล้ว ก็จะต้องอาศัยหทยวัตถุรูป เกิดตามควรแก่ที่จะพึงเกิดได้
แต่ว่า ถ้าจิตเหล่านี้เกิดในจตุโวการภูมิ ภูมิที่มีขันธ์ ๔ คือ อรูปภูมิแล้ว ไม่ต้อง อาศัยวัตถุเลยก็เกิดได้
จิต ๔๒ ดวงนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จิตที่อาศัยวัตถุเกิดไม่แน่นอน(อเนกันตะ) เพราะบางทีก็อาศัย บางทีก็ไม่อาศัย เป็นที่ไม่แน่นอน


๓. อรูปวิบาก ๔ ไม่ต้องอาศัยวัตถุเลย เพราะอรูปวิบากจิต ๔ เป็นจิตที่เกิด ที่มีในอรูปภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่ไม่มีวัตถุรูปใด ๆ แม้แต่สักอย่างเดียว ดังนั้นจึงไม่ต้อง อาศัยวัตถุก็เกิดได้


เจตสิก กับ วัตถุ

เจตสิกที่อาศัยวัตถุ ๖ เกิด โดยไม่แน่นอน มี ๗ ดวง ได้แก่
สัพพจิตตสาธารณ เจตสิก ๗

เจตสิกที่อาศัยหทยวัตถุเกิดโดยแน่นอนมี ๖ ดวง ได้แก่
อัปปมัญญาเจตสิก ๒
โทจตุกเจตสิก ๔

เจตสิกที่อาศัยหทยวัตถุเกิดโดยไม่แน่นอน มี ๓๙ ดวง ได้แก่
ปกิณณกเจตสิก ๖
อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกเจตสิก ๔)
โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา ๒)


วัตถุกับทวาร

วัตถุ เป็นที่อาศัยให้จิตเจตสิกเกิด ทวาร เป็นทางให้จิตเจตสิกเกิด เมื่อกล่าว ควบคู่กันทั้งวัตถุและทวาร คือ กล่าวทั้งที่อาศัยเกิด และทางให้เกิดด้วยแล้ว ก็กล่าว ได้เป็น ๔ นัย คือ
จิตที่ ต้องอาศัยทั้งวัตถุทั้งทวาร
จิตที่ ต้องอาศัยวัตถุ แต่ไม่ต้องอาศัยทวาร
จิตที่ ไม่ต้องอาศัยวัตถุ แต่ต้องอาศัยทวาร
จิตที่ ไม่ต้องอาศัยทั้งวัตถุทั้งทวาร


หน้า ๕๙

๑. จิตที่ต้องอาศัยทั้งวัตถุทั้งทวารด้วยนั้น มี ๓๘ ดวง ได้แก่
โทสมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๗ (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑)
มหาวิบากจิต ๘ รูปาวจรกุสล ๕
รูปาวจรกิริยาจิต ๕ โสดาปัตติมัคคจิต ๑

ในข้อ ๑ นี้ มีสิ่งที่ควรสังเกตอยู่ ๒ ประการ ประการแรก จิต ๓๘ ดวงนี้ เป็นกลุ่มเดียวกับจิต ๔๓ ดวง ที่ต้องอาศัยวัตถุเสมอนั่นเอง เพียงแต่เอารูปาวจร วิบาก ๕ ดวง หักออกเสียจากจำนวน ๔๓ ดวงนั้น ก็คงเหลือ ๓๘ เป็นจิตที่ต้องอาศัยทั้งวัตถุและทั้งทวารด้วย รูปาวจรวิบาก ๕ ดวง ต้องอาศัยวัตถุเกิดจริง แต่ไม่ต้องอาศัยทวารเป็นทางให้เกิดไม่ครบทั้ง ๒ อย่าง จึงต้องหักออก
อีกประการหนึ่ง จิตที่อาศัยวัตถุเกิด กับจิตที่อาศัยทวารเกิดนั้นมีจำนวนไม่ เท่ากัน กล่าวคือ จิตที่อาศัยวัตถุเกิดนั้นมีจำนวนจำกัด โดยเฉพาะแท้ ๆ แต่จิตที่ อาศัยทวารเกิดนั้น มีจำนวนกว้างขวางมากกว่ากัน คือ
จิตที่อาศัย จักขุวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย จักขุทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย โสตวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย โสตทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย ฆานวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย ฆานทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย ชิวหาวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย ชิวหาทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย กายวัตถุ เกิดมีเพียง ๒ ดวง แต่อาศัย กายทวาร เกิดได้ถึง ๔๖ ดวง
จิตที่อาศัย หทยวัตถุ เกิดมีเพียง ๗๕ ดวง แต่อาศัย มโนทวาร เกิดได้ถึง ๖๗ ดวง


๒. จิตที่ต้องอาศัยวัตถุ แต่ไม่ต้องอาศัยทวาร มี ๕ ดวง ได้แก่ รูปาวจรวิบากจิต ๕  


รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวงนี้ ต้องอาศัยหทยวัตถุเกิด เพราะรูปาวจรวิบาก ที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจนั้น ปฏิสนธิจิตกับหทยวัตถุนี้เกิดพร้อมกัน ปฏิสนธิจิตก็ต้อง อาศัยหทยวัตถุเกิด และหทยวัตถุก็ต้องอาศัยปฏิสนธิจิตจึงจะเกิดขึ้นได้ ต่างก็อาศัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย
ส่วนที่ว่า รูปาวจรวิบาก ๕ ดวงนี้ เกิดโดยไม่ต้องอาศัยทวารนั้น เพราะเป็น เอกันตทวารวิมุตตจิต เป็นจิตที่พ้นทวารแน่นอนอยู่แล้ว ดังแจ้งใน ทวารสังคหะ ที่กล่าวข้างต้น


หน้า ๖๐

๓. จิตที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุ แต่ต้องอาศัยทวาร มี ๔๒ ดวง ได้แก่
อกุสล ๑๐ (เว้นโทสจิต ๒)
มหากุสล ๘
มหากิริยา ๘
อรูปาวจรกุสล ๔
อรูปาวจรกิริยา ๔
โลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑)
มโนทวาราวัชชนจิต ๑

เมื่อจิตเหล่านี้เกิดกับอรูปพรหมในอรูปภูมิแล้ว ไม่ต้องอาศัยวัตถุก็เกิดได้ แต่ ต้องอาศัยทวาร คือ มโนทวาร จึงจะเกิดได้ ซึ่งในอรูปภูมิมีมโนทวารแต่อย่างเดียว ส่วนวัตถุนั้นไม่มีเลย
พึงสังเกตว่า จิต ๔๒ ดวงนี้ เป็นจิตกลุ่มเดียวกัน จิต ๔๒ ดวงที่เรียกว่า จิตที่อาศัยวัตถุเกิดไม่แน่นอน ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น


๔. จิตที่ไม่ต้องอาศัยทั้งวัตถุทั้งทวารเลยนั้น มี ๔ ดวง ได้แก่
อรูปาวจรจิบากจิต ๔ ไม่ต้องอาศัยวัตถุ เพราะไม่มีวัตถุที่จะอาศัย และไม่ต้อง อาศัยทวาร เพราะเป็น
เอกันตทวารวิมุตตจิต

อวสานคาถาปริจเฉทที่ ๓

อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถ สงฺคเห
ตติโย ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ


นี้ปริจเฉทที่ ๓ ( ชื่อ ปกิณณกสังคหวิภาค ) ในปกรณ์ อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม ที่พระอนุรุทธาจารย์รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อ เพียงเท่านี้แล

<<    >>