<<    >>

คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖

รูปสังคหวิภาค

รูปสังคหวิภาค

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปริจเฉทที่ ๖

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส


ความเบื้องต้น


พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค เป็น ปริจเฉทที่แสดงธรรม ๒ ประการ คือ
รูปป
รมัตถ และ นิพพาน

ก่อนที่จะดำเนินความตามปริจเฉทที่ ๖ นี้ ขอถือโอกาสกล่าวถึงธธรรมและสภาพของธรรมก่อน ธรรมและสภาพของ ธรรมนี้ ก็ได้กล่าวไว้แล้วเป็นหลายแห่งหลายตอนในปริจเฉทต้นๆ แต่ว่ากระจัดกระจายอยู่ใรที่หลายแห่งจึงขอรวมมากล่าวใน ที่นี้อีกโดยสังเขป

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมไว้ว่า ธรรมทั้งหลายย่อม จำแนกได้เป็น ๒ ประการ คือ บัญญัติธรรม และ ปรมัตถธรรม

๑. บัญญัติธรรม คือ สิ่งที่บัญญัติขึ้น สมมุติขึ้นไม่ได้มีอยู่จริง ๆ เป็นการ สมมุติขึ้นเพื่อเรียกขานกันตามโวหารของชาวโลก ตามความนิยมตามความตกลงเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่าเฉพาะ


หน้า ๒

ประเทศชาตินั้นๆ เป็นสมมติสัจจะก็จริง แต่เป็นเพียงความจริงโดยสมมติของชาวโลกที่บัญญัติขึ้นเท่านั้นเอง เพื่อให้รู้ได้ว่าเรียกสิ่งใด เช่น คำว่า "คน" ผู้เรียกจะชี้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายว่า "คน" ไม่ได้ไม่มี หรือ
คำว่า "เก้าอี้" ผู้เรียก จะชี้ส่วนหนึ่งส่วนใดว่าเป็นเก้าอี้ไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกโดยสมมุติขึ้นเท่านั้น

บัญญัติธรรมนี้มี ๒ ประการ คือ อัตถบัญญัติ และ สัททบัญญัติ
ก. อัตถบัญญัติ
เป็นการสมมุติขึ้นตามความหมายแห่งรูปร่างสัณฐาน หรือ ลักษณะอาการของสิ่งนั้น ๆ เช่น ภูเขา ต้นไม้ บ้าน เรือน เดิน วิ่ง การโบกมือ หมายถึงการจากลา หรือหมายถึงการปฏิเสธก็ได้
การพยักหน้า หมายถึงการยอมรับ หรือการให้เข้ามาหาก็ได้
ข. สัททบัญญัติ เป็นการสมมุติขึ้นเพื่อใช้เรียกขานสิ่งนั้น ๆ คือ สมมุติขึ้น เพื่อให้รู้ด้วยเสียงตามอัตถบัญญัตินั้น เช่น ไม่ได้เห็นภูเขา ไม่ได้เห็นการเดิน แต่เมื่อ ออกเสียงว่า ภูเขา พูดว่าเดิน ก็รู้ว่าภูเขามีรูปร่างสัณฐานอย่างนั้น เดินมีลักษณะ อาการอย่างนั้น เป็นต้น
เพราะฉะนั้นทั้งอัตถบัญญัติ และสัททบัญญัติ ก็คือระบบการสื่อสารให้เกิด ความรู้ เกิดความเข้าใจกันของมนุษย์นั่นเอง ไม่ได้มีอยู่จริง ๆ
ตัวอย่างร่างกายของเรา ที่เรียกว่า แขน ขา จมูก ปาก ตับ ปอด ลำไส้ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้ คนไทยก็เรียกอย่างหนึ่ง คนจีนก็เรียกไปอย่างหนึ่ง คนแขกก็เรียกไป อย่างหนึ่ง ฝรั่งก็เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ใครจะสมมุติเรียกว่า อะไร บัญญัติจึงหมายถึงการสมมุติขึ้นของคนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกขานกัน ไม่ได้มีอยู่ จริง ๆ ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นความจริงโดยสมมุติ

๒. ปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรเป็น ธัมมธาตุ เครื่องดำรงอยู่ของธรรม เป็น ธัมมฐีติ เครื่องตั้งอยู่ของธรรม เป็น ธัมมนิยาม กำหนดหมายของธรรม อันเป็นสิ่งที่เป็นไปเอง ตามธรรมดาธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ไม่มีใครแต่งตั้งขึ้น ไม่มีใครสร้างขึ้น มีโดยเหตุโดยปัจจัย ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ด้วยเหตุนี้ ปรมัตถธรรมจึงหมายถึง ธรรมชาติที่มีอยู่จริง ๆ ไม่วิปริตผันแปร เป็นความจริงที่มีอยู่จริง ๆ ซึ่งมีอยู่ ๔ อย่าง คือ
(๑) จิตปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
(๒) เจตสิกปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ให้เกิดการรู้ อารมณ์และรู้สึกเป็นไปตามตนเองที่ประกอบ
(๓) รูปปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่แตกดับย่อยยับด้วยความเย็นความร้อน
(๔) นิพพานปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่สงบจากกิเลสและขันธ์
ทั้ง ๔ นี้เป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงๆ มีอยู่โดยความเป็นปรมัตถ พิสูจน์ได้ รู้ได้ ด้วยปัญญา เป็นอารมณ์ของปัญญา จากการเรียนการศึกษา จากการพิจารณาหาเหตุ ผล และจากการปฏิบัติ คือภาวนามัย

ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรนั้นมีสภาวะ หรือมี ลักษณะ ๒ อย่าง ได้แก่ สามัญญลักษณะ ๑ และวิเสสลักษณะ ๑


หน้า ๓

ก. สามัญญลักษณะ เป็นลักษณะสามัญเป็นลักษณะธรรมดาที่ธรรมทั้งหลาย ที่สิ่งทั้งหลายมีเหมือน ๆ กันเป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป ที่ธรรมทั้งหลายจะต้องเป็นไป อย่างนั้น สามัญญลักษณะมี ๓ อย่าง คือ อนิจจลักษณะ ๑ ทุกขลักษณะ ๑ และ อนัตตลักษณะ ๑

อนิจจลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน อยู่ได้ตลอดกาล
ทุกขลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ จำต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป
อนัตตลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ หมายว่าจะให้เป็นไปตามใจชอบ หาได้ไม่
เพราะเหตุว่า สามัญญลักษณะ มีสภาพ ๓ อย่าง ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อ ว่า ไตรลักษณ์
จิต เจตสิก และรูป มีไตรลักษณ์ คือ สามัญญลักษณะ ครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ อย่าง แต่นิพพานมีสามัญญลักษณะเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะเท่านั้น
ส่วนบัญญัติธรรม ไม่มีสามัญญลักษณะ ๓ อย่าง คือ ไตรลักษณ์นี้แต่อย่าง หนึ่งอย่างใดไม่เพราะบัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรมแต่เป็นบัญญัติธรรมคือ สมมติสัจจะ ที่สมมติขึ้นบัญญัติขึ้น ตามโวหารของโลกเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่มีเองเป็นเองแต่อย่างใด


หน้า ๔

ข. วิเสสลักษณะ เป็นลักษณะพิเศษที่มีประจำ เป็นจำเพาะของสิ่งนั้นๆ เป็น สภาพพิเศษประจำตัวของธรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิด ซึ่งมีไม่เหมือนกันเลย วิเสส ลักษณะมี ๔ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน
ลักษณะ หมายถึง คุณภาพ เครื่องแสดงหรือสภาพโดยเฉพาะที่มีอยู่เป็น ประจำตัวของธรรมนั้น ๆ
รสะ หมายถึง กิจการงาน หรือหน้าที่การงานของธรรมนั้น ๆ พึง กระทำตามลักษณะของตน รสะนี้ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ คือ กิจจรส และ สัมปัตติรส
กิจจรส เช่น ความร้อนของไฟมีหน้าที่การงานทำให้สิ่งของต่าง ๆ สุก
สัมปัตติรส เช่น แสงของไฟ มีหน้าที่การงานทำให้สว่าง
ปัจจุปัฏฐาน หมายถึงอาการที่ปรากฏจากรสะนั้น คือผลอันเกิดจากรสะ
ปทัฏฐาน หมายถึง ปัจจัยโดยตรงที่เป็นตัวการให้เกิดลักษณาการนั้น ๆ เรียกว่า เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเหตุว่าวิเสสลักษณะนี้ มี ๔ ประการดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อว่า ลักขณาทิจตุกะ แปลความว่าธรรมที่มีองค์ ๔ อันมีลักษณะ เป็นต้น


หน้า ๕

จิต เจตสิก และ รูป มีลักขณาทิจตุกะ คือ วิเสสลักษณะครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการ แต่นิพพานมีวิเสสลักษณะเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ และ ปัจจุปัฏฐานเท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิดเพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง
ส่วนบัญญัติธรรมนั้น ไม่มีวิเสสลักษณะเลย เพราะบัญญัติไม่มีสภาวธรรมที่มี เองเป็นเอง เป็นการบัญญัติขึ้นตามความนิยมของชาวโลกเท่านั้นเอง


รูปปรมัตถ

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้ประพันธ์เป็นคาถาสังคหะ รวม ๑๔ คาถา คาถาสังคหะที่ ๑ แสดงว่า


๑. เอตฺตาวตา วิภตฺตา หิ สปฺปเภทปฺปวตฺติกา
จิตฺต เจตสิกา ธมฺมา รูปนฺทานิ ปวุจฺจติ ฯ


แปลเป็นใจความว่า ธรรมทั้งหลาย คือ จิตและเจตสิก เป็นไปโดยประเภทและปวัตติกาล ได้จำแนกแล้วโดยปริจเฉททั้ง ๕ มีประมาณเพียงเท่านั้น บัดนี้จะแสดงถึงรูปต่อไป


หน้า ๖

อธิบาย

ปรมัตถธรรม ๔ ประการนั้น จิตและเจตสิก ได้กล่าวแล้วตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๑ ถึงปริจเฉทที่ ๕ ส่วนปริจเฉทที่ ๖ นี้จะได้ กล่าวถึง รูป และ นิพพาน ต่อไป

คำว่า " รูป " นี้ ใน ปรมัตถทีปนีฎีกา กล่าวอธิบายไว้ว่า รุปฺปนตีติ รูปํ แปลว่า ธรรมชาติที่แตกดับหรือ
ผันแปรนั้น เรียกว่า รูป
วิภาวินีฎีกา ได้ไขคำ รุปฺปน ว่า รุปฺปนญฺเจตฺถ สีตาทิ วิโรธิปจฺจยสมวาเย วิสทิสุปฺปติ เยว ลำดับรูปที่เกิดก่อนและเกิด ทีหลังขณะที่มีปัจจัยอันเป็นข้าศึก คือ ความเย็นเป็นต้น ยังให้แตกดับนั้น ลำดับรูปนั้นชื่อว่า รุปปนะ
เข้าใจง่าย ๆ ก่อนว่า สิ่งใดก็ตามถ้าแตกดับย่อยยับ ผันแปรไปด้วยอำนาจ ของความเย็น ความร้อน ก็รวมเรียกว่า รูป จัดเป็นรูปทั้งหมด รวมมีความหมายว่า
รูป คือ ธรรมชาติที่ผันแปรแตกดับไปด้วยความเย็น และความร้อน รูปในส่วนของปรมัตถที่มีชีวิต
จิตใจครองที่จะรู้ว่าเป็นรูปได้นั้น อาศัยรู้ได้โดย วิเสสลักษณะ คือลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ

รุปฺปน ลกฺขณํ มีการสลายแปรปรวน เป็นลักษณะ
วิกิรณ รสํ มีการแยกออกจากกัน(กับจิต)ได้ เป็นกิจ
อพฺยากต ปจฺจุปฏฺฐานํ มีความเป็นอพยากตธรรม เป็นอาการปรากฏ
วิญฺญาณ ปทฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด


หน้า ๗

ลักขณาทิจตุกะของรูปที่กล่าวนี้ กล่าวตามนัยแห่งปฏิจจสมุทปาทอันเป็นลักขณาทิจตุกะของรูปที่เกิดจากรรม จึงมี วิญญาณ ( ปฏิสนธิวิญญาณ ) เป็นเหตุใกล้ให้เกิด


รูปมี ๒ อย่าง คือ

๑. รูปบัญญัติ คือ สิ่งที่เรามองเห็นกัน เรียกกันไปต่าง ๆ นา ๆ ทั้งที่ไม่มี ชีวิตจิตใจครอง และ มีชีวิต
จิตใจครอง เช่น คนผู้หญิง คนผู้ชาย ก็มีชื่อต่างกัน ออกไป สัตว์ต่าง ๆ ตัวผู้ ตัวเมีย ก็มีชื่อเรียกกันต่าง ๆ
กันไป ต้นไม้แต่ละชนิด ทั้งที่ยืนต้นและล้มลุก ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป รวมถึงพื้นดิน ภูเขา ห้วยน้ำลำคลอง เป็นต้น เหล่านี้เป็นรูปโดยบัญญัติ
๒. รูปปรมัตถ คือ รูปที่มีอยู่จริงๆ โดยสภาวะ โดยธรรมชาติ ผู้ที่ได้ศึกษา ได้เรียนรู้ ได้กระทบ ได้สัมผัส
จะมีความรู้สึกเหมือนกันหมด
เพื่อความเข้าใจง่าย และให้เห็นชัด ระหว่างรูปปรมัตถกับรูปบัญญัติ ขอยก ตัวอย่าง ดังนี้
ถ้าเอาถ่านไฟในเตาซึ่งติดไฟแล้วมาจี้ที่แขนของคน ๕ คน แต่ละคนจะรู้สึก ร้อนเหมือน ๆ กัน ถ้าเป็นคนไทยก็จะพูดว่าร้อน คนจีน คนพม่า คนอินเดีย คน ยุโรป ก็จะเปล่งภาษาออกมาไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายเหมือนกันว่าร้อน ทุกคน มีความรู้สึกว่าร้อน นั่นคือ " จริงที่มีอยู่จริง " ส่วนคำอุทานแต่ละภาษาที่เปล่งออกมานั้นไม่เหมือนกันนั้นเป็น " บัญญัติ "จริงที่มีอยู่จริง คือ ปรมัตถธรรม และไฟที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เป็นหนึ่งในรูป ปรมัตถ คือ เตโชธาตุ นั่นเอง


สงเคราะห์รูปเป็น ๕ นัย

บรรดารูปทั้งหลายนั้น สงเคราะห์ได้ ๕ นัย หรือจัดได้เป็น ๕ ประเภท ดังมีคาถาสังคหะที่ ๒ แสดงว่า


๒. สมุทฺเทสา วิภาคา จ สมุฏฐานา กลาปโต
ปวตฺติกฺกมโต เจติ ปญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห ฯ


แปลความว่า อันว่ารูปนั้น สงเคราะห์โดยนัย ๕ คือ สมุทเทส , วิภาค , สมุฏฐาน , กลาป และปวัตติกกมะ หมายความว่า รูปทั้งหมด เมื่อกล่าวโดยหัวข้อแล้วสงเคราะห์ ( แบ่ง ) ได้เป็น ๕ นัย คือ

นัยที่ ๑ รูปสมุทเทส เป็นการกล่าวถึงรูปโดยสังเขปหรือโดยย่อ พอให้ทราบถึงลักษณะของรูปแต่ละรูป
ตามนัยแห่งปรมัตถธรรม


นัยที่ ๒ รูปวิภาค เป็นการแสดงรูปธรรมว่าจำแนกได้เป็นส่วนๆ เป็นคู่ ๆ
นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐาน เป็นการแสดงถึงสมุฏฐานของรูปปรมัตถแต่ละรูปว่า เกิดจากอะไร
นัยที่ ๔ รูปกลาป เป็นการแสดงถึงรูปปรมัตถที่เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมวด ๆ เป็นมัด
นัยที่ ๕ รูปปวัตติกมะ เป็นการแสดงลำดับการเกิดดับ หรือแสดงความ เป็นไปของรูปปรมัตถ ตั้งแต่
เกิดจนตาย


นัยที่ ๑ รูปสมุทเทส

การแสดงรูปธรรมโดยสังเขปหรือโดยย่อ เพื่อให้รู้วิเสสลักษณะของรูปแต่ละรูปนั้น คาถาสังคหะที่ ๓
และที่ ๔ แสดงว่า


๓. ภูตปฺปสาท วิสยา ภาโว หทย มิจฺจปิ
ชืวิตาหารรูเป หิ อฏฺฐารสวิธํ ตถา ฯ


แปลความว่า มหาภูตรูป ปสาทรูป วิสยรูป ภาวรูป หทยรูป ชีวิตรูป อาหารรูป รวมเป็น ๑๘ รูป
เป็นนิปผันนรูป


๔. ปริจฺเฉโท จ วิญฺญตฺติ วิกาโร ลกฺขณนฺติ จ
อนิปฺผนฺนา ทสา เจติ อฏฺฐวีส วิธมฺภเว ฯ


แปลความว่า ปริจเฉทรูป วิญญัตติรูป วิการรูป ลักขณรูป เป็นอนิปผันนรูป ๑๐ จึงรวมเป็น ๒๘ รูปด้วยกัน


รูป คือ ส่วนประกอบของร่างกายคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. นิปผันนรูป มี ๑๘
๒. อนิปผันนรูป มี ๑๐
รวมเป็น ๒๘


หน้า ๙

อธิบาย

คาถาทั้ง ๒ รวมความได้ว่า รูปทั้ง ๒๘ แบ่งเป็น ๑๑ ประเภทเล็ก เป็นนิปผันนรูป ๗ ประเภท อนิปผันนรูป ๔ ประเภท


ประเภทที่ ๑ มหาภูตรูป มี ๔ รูป คือ
๑. ปฐวีธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ได้แก่ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ ได้แก่ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ ได้แก่ ธาตุลม
ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป มี ๕ รูป คือ
๑. จักขุปสาทรูป ได้แก่ ปสาทตา
๒. โสตปสาทรูป ได้แก่ ปสาทหู
๓. ฆานปสาทรูป ได้แก่ ปสาทจมูก
๔. ชิวหาปสาทรูป ได้แก่ ปสาทลิ้น
๕. กายปสาทรูป ได้แก่ ปสาทกาย ๑-๗ เป็น
ประเภทที่ ๓ วิสยรูป หรือโคจรรูป มี ๔ รูป คือ นิปผันนรูป
๑. วัณณะรูป หรือ รูปสี (รูปารมณ์)
๒. สัททรูป หรือ รูปเสียง (สัททารมณ์)
๓. คันธรูป หรือ รูปกลิ่น (คันธารมณ์)
๔. รสะรูป หรือ รูปรส (รสารมณ์)
ประเภทที่ ๔ ภาวรูป มี ๒ รูป คือ
๑. อิตถีภาวรูป รูปที่แสดงถึงความเป็นหญิง
๒. ปุริสภาวรูป รูปที่แสดงถึงความเป็นชาย
ประเภทที่ ๕ หทยรูป มี ๑ รูป คือ
หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้ง อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก
ประเภทที่ ๖ ชีวิตรูป มี ๑ รูป คือ
ชีวิตรูป คือ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม ประเภทที่ ๗ อาหารรูป มี ๑ รูป คือ อาหารรูป
คือ โอชาที่มีอยู่ในอาหาร


หน้า ๑๐

รูปธรรมตั้งแต่ประเภทที่ ๑ ถึง ๗ รวม ๗ ประเภทเล็กนี้ ซึ่งมีรูปธรรม รวม ๑๘ รูป เรียกว่า นิปผันนรูป


ประเภทที่ ๘ ปริจเฉทรูป มี ๑ รูป คือ
ปริจเฉทรูป ได้แก่ ช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป
ประเภทที่ ๙ วิญญัตติรูป มี ๒ รูป คือ
๑. กายวิญญัตติรูป ได้แก่ การไหวกาย
๒. วจีวิญญัตติรูป ได้แก่ การกล่าววาจา
ประเภทที่ ๑๐ วิการรูป มี ๓ รูป คือ
๑. ลหุตารูป ได้แก่ รูปเบา
๒. มุทุตารูป ได้แก่ รูปอ่อน
๓. กัมมัญญตารูป ได้แก่ รูปควร
ประเภทที่ ๑๑ ลักขณรูป มี ๔ รูป คือ
๑. อุปจยรูป ได้แก่ รูปที่เกิดขึ้นขณะแรก
๒. สันตติรูป ได้แก่ รูปที่เกิดสืบต่อเนื่อง
๓. ชรตารูป ได้แก่ รูปใกล้ดับ
๔. อนิจจตารูป ได้แก่ รูปที่แตกดับ

รูปธรรมตั้งแต่ประเภทที่ ๘ ถึง ๑๑ รวม ๔ ประเภทเล็กนี้ ซึ่งมีรูปธรรม รวม ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปปผันนรูป


หน้า ๑๑

นอกจากนี้ ยังแบ่งรูปเป็นประเภทใหญ่อีกนัยหนึ่ง คือ รูปประเภทที่ ๑ ประเภทเดียว ซึ่งมีมหาภูตรูป ๔ รูป ได้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป (ตรงตามชื่อเดิม) ส่วนที่เหลืออีก ๑๐ ประเภท คือ ตั้งแต่ประเภทที่ ๒ ถึง ๑๑ รวมจำนวน ๒๔ รูป ได้ชื่อว่าเป็น อุปาทายรูป

มหาภูตรูป ๔

๑. มหาภูตรูป มี ๔ รูป

นิปผันนรูป ๑๘

อุปทายรูป ๒๔

๒. ปสาทรูป มี ๕ รูป
๓. โคจรรูป มี ๔ รูป
๔. ภาวรูป มี ๒ รูป
๕. หทยรูป มี ๑ รูป
๗. อาหารรูป มี ๑ รูป

๘. ปริจเฉทรูป มี ๑ รูป
๙. วิญญัตติรูป มี ๒ รูป
๑๐. วิการรูป มี ๓ รูป
๑๑. ลักขณรูป มี ๔ รูป

อนิปผันนรูป ๑๐

ก. ที่ได้ชื่อว่า มหาภูตรูป เพราะรูปธรรมทั้ง ๔ รูปนี้ เป็นรูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็นที่อาศัยแก่รูปอื่น ๆ ทั้งหลาย รูปอื่น ๆ ทั้งหมดถ้าไม่มีมหาภูตรูป รองรับก็เกิดขึ้นไม่ได้ มหาภูตรูปมีอยู่ทั่วไปในโลกธาตุทั้งปวง
ในวิสุทธิมัคคแสดงว่า ที่ได้ชื่อว่ามหาภูตรูป เพราะ


หน้า ๑๒

๑. มหนฺตปาตุภาวโสเป็นธาตุที่ปรากฏอยู่ เป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็นที่อาศัยแห่งรูปทั้งหลาย
๒. มหาภูตสามญฺญโต มีลักษณะที่หลอกลวง เกิดดับดุจปีศาจ
๓. มหาปริหารโต เป็นสิ่งที่ต้องบริหารมากเลี้ยงดูมาก เพราะย่อยยับ อยู่เสมอ
๔. มหาวิการโต มีอาการเปลี่ยนแปลงมาก เคลื่อนไหวมาก
๕. มหตฺต ภูตตฺตา เป็นของใหญ่และมีจริง ต้องพิจารณามาก
ข. ที่ได้ชื่อว่า อุปาทายรูป เพราะเป็นรูปธรรมที่ต้องอาศัยมหาภูตรูปเป็นแดน เกิด ถ้าไม่มีมหาภูตรูปแล้ว อุปทายรูปก็ไม่สามารถที่จะเกิดตามลำพังได้ เมื่อไม่มีที่ อาศัยเกิด ก็เกิดไม่ได้


หน้า ๑๓


ค. นิปผันนรูป ๑๘ รูป มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ๕ ชื่อ คือ
๑. นิปผันนรูป คือ รูปที่มีสภาวะของตนเอง
๒. สภาวรูป คือ รูปที่มีสภาพของตน ปรากฏได้แน่นอน
๓. สลักขณรูป คือ รูปที่มีไตรลักษณ์โดยสภาพของตนเอง
๔. รูปรูป คือ เป็นรูปที่ผันแปรแตกดับด้วยความร้อนและความเย็น
๕. สัมมสนรูป คือ เป็นรูปที่ควรแก่การพิจารณาไตรลักษณ์ เพราะ เห็นได้ง่าย
ง. อนิปผันนรูป ๑๐ รูป มีชื่อเรียก ๕ ชื่อ คือ
๑. อนิปผันนรูป คือ รูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันน รูป จึงจะมีรูปของตนเกิดขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้ว อนิป ผันนรูปก็จะมีขึ้นมาไม่ได้
๒. อสภาวรูป คือ รูปที่ไม่มีสภาพของตนโดยเฉพาะ
๓. อสลักขณรูป คือ รูปที่ไม่มีไตรลักษณ์โดยสภาพของตนเอง
๔. อรูปรูป คือรูปที่ไม่ได้แตกดับเพราะความร้อนและความเย็น
๕. อสัมมสนรูป เป็นรูปที่ไม่ควรใช้ในการพิจารณาไตรลักษณ์ เพราะเห็นได้ยาก


ลักขณาทิจตุกะของรูปแต่ละรูป

รูปธรรม ๑๑ ประเภทเล็ก รวมจำนวนรูปทั้งหมด ๒๘ รูปนั้น แต่ละรูปมี วิเสสลักษณะ คือ
ลักขณาทิจตุกะ ดังต่อไปนี้


หน้า ๑๔

ประเภทที่ ๑ มหาภูตรูป

มหาภูตรูปมี ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย เฉพาะมหาภูตรูป ๔ นี้ นิยม เรียกกันว่า ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ

๑. ปฐวี

คำว่า " ปฐวีธาตุ "หรือ " ปถวีรูป "เป็นรูปปรมัตถที่มีลักษณะแข็งหรืออ่อน ซึ่งมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กกฺขฬ ลกฺขณา มีความแข็ง เป็นลักษณะ
ปติฏฺฐาน รสา มีการทรงอยู่ เป็นกิจ
สมฺปฏิจฺฉน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการรับไว้ เป็นผล
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ใน วิสุทธิมัคค แสดงว่า โย อิมสฺมึ กาเย ถทฺธภาโว วา ขรภาโว วา อยํ ปฐวี ธาตุ ธรรมชาติที่ทรง
ภาวะความแข็งก็ดี ความกระด้างก็ดี ที่มีอยู่ในกายนั้น เรียกว่า ปฐวีธาตุ

ที่ว่า ปฐวีธาตุ มีความแข็งเป็นลักษณะนั้น เพราะว่าถ้านำไปเปรียบกับธาตุ อื่นแล้ว ธาตุดินนี้มีสภาพแข็งกว่าธาตุอื่น ในลักขณาทิจตุกะ จึงแสดงว่า ปฐวีมี ความแข็งเป็นลักษณะเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงความอ่อนด้วย
แท้จริงความอ่อนก็คือ ความแข็งมีน้อยนั่นเอง นอกจากปฐวีธาตุแล้วรูปอื่น ๆ ไม่สามารถทำให้ความแข็งหรือความอ่อนปรากฏขึ้นแก่การสัมผัสถูกต้องได้ วัตถุใดมีปฐวีมากก็แข็งมาก วัตถุ ใดมีปฐวีธาตุน้อยก็แข็งน้อย จึงรู้สึกว่าอ่อน


 

ปฐวีธาตุ ธาตุดิน แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ


ก. ลกฺขณปฐวี หรือ ปรมตฺถปฐวี คือ ปฐวีธาตุที่เป็นปรมัตถ มีคำอธิบายว่า ปฐวีธาตุเป็นธาตุปรมัตถ
ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะแข็งหรืออ่อน เรียกว่าธาตุดิน และ ธาตุดินในที่นี้หมายถึง ธาตุดินที่เป็นปรมัตถ
คือมีลักษณะแข็งหรืออ่อน ไม่ใช่ดิน ที่เรามองเห็นอยู่นี้ ดินที่เรามองเห็นกันอยู่นี้เป็นดินโดยสมมติไม่ใช่ดินโดยปรมัตถ ดินโดยปรมัตถที่เรียกกันว่าปฐวีธาตุนั้น จะต้องหมายถึงลักษณะที่ปรากฏทางกาย ปสาท เมื่อมีการกระทบเกิดขึ้น ความแข็งหรืออ่อนนั่นแหละ เรียกว่า ปฐวีธาตุ เราได้กระทบกับปฐวีธาตุ
ปฐวีธาตุ นี้มองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ การที่เรามองเห็นนั้นเป็นการเห็นธาตุ ต่าง ๆ รวมกันเป็นปรมาณู
และหลาย ๆ ปรมาณูรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นแท่ง เป็นชิ้น และปรมาณูที่รวมกันนั้น ๆ ก็ทึบแสง คือ แสงผ่านทะลุไป ไม่ได้จึงปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ เรียกสีต่าง ๆ ที่เห็นนั้นว่า " รูปารมณ์ " ถ้าปรมาณู
ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มนั้น ๆ แสงผ่านทะลุได้ ก็จะไม่ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ เราก็จะ ไม่สามารถมองเห็นได้ เพราะฉะนั้นปฐวีธาตุหรือปฐวีรูป จึงมองไม่เห็นแต่กระทบได้ และปฐวีธาตุ หรือปฐวีรูปนี้ รู้ได้ด้วยกายปสาทเท่านั้น รู้ด้วยปสาทอื่น ๆ ไม่ได้ การที่เรามองเห็น สิ่งต่าง ๆ แล้วรู้ว่า สิ่งนั้นอ่อน สิ่งนั้นแข็ง เป็นการรู้โดยการคิดนึก ไม่ใช่โดยความ รู้สึก การรู้โดยการคิดนึกนั้น เป็นการรู้โดยอาศัยอดีตเคยกระทำมาแล้ว เคยรู้มาแล้วว่าแข็งหรืออ่อน เท่ากับเอาความจำในอดีตมาตัดสินการเห็นในปัจจุบัน ที่จริง แล้วความแข็ง หรืออ่อนรู้ไม่ได้ด้วยการดู แต่รู้ได้ด้วยการสัมผัสทางกาย เรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์
ดังนั้น ปฐวีธาตุนี้จึงมีลักษณะแข็ง ถ้าวัตถุสิ่งใดมีปฐวีธาตุมากเป็นประธาน แล้ว ก็จะปรากฏเป็นแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน ไม้ ตะกั่ว ทอง เป็นต้น และถ้าวัตถุ สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีปฐวีธาตุเป็นส่วนน้อย ความแข็งก็จะปรากฏน้อย เมื่อสัมผัสก็จะรู้สึก ว่าอ่อน เพราะความแข็งปรากฏน้อยจึงรู้สึกว่าอ่อน ฉะนั้นธรรมชาติที่กระทบด้วยกายปสาทแล้ว มีความรู้สึกว่า แข็งหรืออ่อน จัดเป็นปฐวีธาตุทั้งสิ้นเพราะนอกจากปฐวีธาตุแล้ว รูปอื่น ๆ ก็ไม่สามารถทำให้เกิด ความรู้สึกแข็งหรืออ่อนได้
อนึ่งปฐวีธาตุนี้ เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัยของรูปอื่น ๆ เหมือนแผ่นดินกับสิ่งอื่น ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ถ้าไม่มีแผ่นดินเสียแล้ว สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ปฐวีธาตุก็เช่นเดียวกัน
ถ้าไม่มีปฐวีธาตุเสียแล้ว รูปร่างสัณฐาน สีสรรวรรณะ เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็ปรากฏขึ้นไม่ได้
ปฐวีธาตุ อาศัยธาตุที่เหลืออีก ๓ เป็นปัจจัย คือ
๑. มีอาโปธาตุเกาะกุม
๒. มีเตโชธาตุตามรักษา
๓. มีวาโยธาตุกระพือพัด
ข. สสฺมภารปฐวี คือ สัมภาระของดิน หรือสุตฺตันตปฐวี หรือสัมภาระต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่รวมเรียกว่าดิน กล่าวตามนัยแห่งพระสูตรแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
(๑) อชฺฌตฺติกปฐวี ธาตุดินภายใน หมายถึงธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบ ของร่างกายของเราและสัตว์ทั้งหลาย โดยเอาอาการ ๓๒ มาสงเคราะห์เป็นธาตุดิน ๒๐ ได้แก่

๑. ตจปญฺจก

๒. วกฺกปญฺจก

๓. ปปฺผาสปญฺจก

๔. มตฺถลุ ํปญฺจก

เกสา - ผม

มํสํ - เนื้อ

หทยํ - หัวใจ

อนฺตํ - ไส้ใหญ่

โลมา - ขน

นหารู - เอ็น

ยกนํ - ตับ

อนฺตคุณํ - ไส้น้อย

นขา - เล็บ

อฏฺฐิ - กระดูก

กิโลมกํ -พังผืด

อุทฺริยํ-อาหารใหม่

ทนฺตา - ฟัน

อฏฺฐิมิญฺชํ - เยื่อในกระดูก

ปิหกํ- ไต

กรีสํ - อาหารเก่า

ตโจ - หนัง

กฺกํ - ม้าม

ปปฺผาสํ - ปอด

มตฺถลุงคํ-มันสมอง


หน้า ๑๖

(๒) พาหิรปฐวีธาตุดินภายนอก หมายถึง ธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ มี
อยู่มากมายเหลือที่จะคณานับได้ ยกตัวอย่าง เช่น ก้อนดิน พื้นดิน แผ่นดิน ก้อนหิน กรวด ทราย โลหะต่าง ๆ แก้วแหวน เงินทอง ตะกั่ว เป็นต้น รวมไปถึงดินที่เป็นอารมณ์ของกสิณ ก็เรียกว่า ปฐวีกสิณ หรืออารมณปฐวี
ค. กสิณปฐวี หรือ อารมฺมณปฐวี คือ ดินที่เป็นนิมิตทั้งปวง ได้แก่ ดินของ บริกรรมนิมิต ดินของอุคคหนิมิต ดินของปฏิภาคนิมิต
ง. ปกติปฐวี หรือ สมฺมติปฐวี คือ ดินตามปกติที่สมมติเรียกกันว่าดิน ได้แก่ พื้นแผ่นดินตามธรรมดา
ที่ทำเรือกสวนไร่นา เป็นต้น


หน้า ๑๗

๒. อาโป

คำว่า อาโปธาตุ หรืออาโปรูป เป็นรูปปรมัตถที่รู้ได้ด้วยใจ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือ เกาะกุม
ซึ่งมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปคฺฆรณ ลกฺขณา มีการไหล เป็นลักษณะ
พฺยูหน รสา ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วยมีความเจริญ เป็นกิจ
สงฺคห ปจฺจุปฏฺฐานา มีความเกาะกุมรูปที่เกิดร่วมกัน เป็นผล ปรากฏ
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเกาะกุมก็ดี การไหลก็ดี ที่มีอยู่ในร่างกายนั้น เรียก ว่า อาโปธาตุ
อาโปธาตุนี้ มีจำนวนพอประมาณในวัตถุใด ก็ทำหน้าที่เกาะกุมอย่างเหนียว แน่น วัตถุนั้นจึงแข็ง ถ้าวัตถุใดมีอาโปธาตุมากก็เกาะกุมไม่เหนียวแน่น จึงทำให้ วัตถุนั้นอ่อนลงและเหลวมากขึ้น หากว่าในวัตถุใดมีอาโปธาตุเป็นจำนวนมากแล้ว การเกาะกุมก็น้อยลง ทำให้วัตถุนั้นเหลวมากจนถึงกับไหลไปได้
เมื่ออาโปธาตุถูกความร้อน ปัคฆรณลักษณะ หรือทรวภาวะ ปรากฏ คือ ทำให้ไหล แต่ถ้าอาโปธาตุถูกความเย็น อาพันธนลักษณะ ปรากฏ คือทำให้เกาะกุม เช่น เหล็กหรือขี้ผึ้งถูกความร้อนก็เหลวจนไหลได้
เมื่อเย็นแล้วกลับแข็งตัวตามเดิม หรือน้ำแข็ง ถ้าถูกความร้อนก็ละลายและไหล เมื่อให้ถูกเย็นจัด ก็จะจับกันเป็นก้อน น้ำแข็งอีก


หน้า ๑๘

อาโปธาตุ ธาตุน้ำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
ก. ลกฺขณอาโป หรือ ปรมตฺถอาโป ได้แก่ ลักษณะไหลและเกาะกุม อันมี อยู่ทั้งในสิ่งที่มีวิญญาณและในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ซึ่งมี ๒ ลักษณะ คือ
(๑) ปคฺฆรณ ลกฺขณ หรือ ทรวภาว มีลักษณะ หรือสภาพที่ไหล
(๒) อาพนฺธน ลกฺขณ มีลักษณะเกาะกุม
ปรมัตถอาโป เป็นอาโปธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่า ธาตุน้ำ และธาตุน้ำในที่นี้ หมายถึงธาตุน้ำที่เป็นปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือเกาะกุม ไม่ใช่น้ำที่มองเห็นหรือ ใช้ดื่มกันอยู่นี้ น้ำที่ใช้ดื่มใช้สอยกันอยู่นี้ เป็นน้ำโดยสมมติ เป็นสสัมภารอาโป หรือสมมติอาโป น้ำโดยปรมัตถที่เรียกว่าธาตุน้ำนั้น จะต้องหมายถึงลักษณะที่ ปรากฏรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตา หรือสัมผัสได้ด้วยกายปสาท เพียงรู้ ได้ด้วยใจเท่านั้น
ธรรมชาติที่รักษาสหชาติรูปได้อย่างมั่นคง ไม่ให้กระจัดกระจายไป ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า อาโป หรืออีก
นัยหนึ่งกล่าวว่า
ธรรมชาติที่แผ่ซึมซาบทั่วไปในรูปที่เกิดร่วมกับตน แล้วตั้งอยู่กับรูปเหล่านั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป
อาโปธาตุนี้ มองเห็นไม่ได้ สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ส่วนน้ำที่เรามองเห็นกัน ใช้กันอยู่นี้ เป็นการเห็นธาตุต่าง ๆ รวมกันอยู่ในลักษณะอ่อนหรือเหลว เพราะมี ปฐวีธาตุน้อย มีอาโปธาตุมาก ไม่ได้เห็นอาโปธาตุโดยส่วนเดียว ความปรากฏเป็น ลักษณะอ่อนเหลวของน้ำที่เราใช้ดื่มกันอยู่นี้ เนื่องด้วยอาโปธาตุนั้น
มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง
มีเตโชธาตุ ตามรักษา
มีวาโยธาตุ กระพือพัด
เมื่อใดที่อาโปธาตุมาก มีปฐวีธาตุน้อย ปรมาณูต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่นี้จะไหล ไปได้ ที่เราพูดกันว่าน้ำไหล ๆ นั้น แท้จริงเป็นการไหลของปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นทำหน้าที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ เพราะปฐวีธาตุปรากฏน้อย จึงปรากฏอ่อนเหลว และไหลไปได้ ธรรมชาติที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ แล้วไหลไปได้ นั่นเอง ที่เป็นอาโปธาตุ
อาโปธาตุนั้นมีอยู่ทั่วไปในวัตถุต่าง ๆ ที่แข็งและเหลวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ข. สสมฺภารอาโป ได้แก่ สสัมภาระธาตุต่าง ๆ ที่ประชุมรวมกันอยู่สมมติ เรียกว่า " น้ำ " หรือธาตุน้ำ
ตามนัยแห่งพระสูตร แบ่งออกเป็น ๒ อย่างดังนี้
(๑) อชฺฌตฺติกอาโป ธาตุน้ำภายใน ได้แก่ ธาตุน้ำที่เป็นส่วนประกอบภายใน ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย
โดยยกเอาอาการ ๓๒ ที่มีลักษณะเหลว สงเคราะห์เป็น ธาตุน้ำ มี ๑๒ คือ

เมทจฺฉกฺก

มุตฺตจฺฉกฺก

ปิตฺตํ - น้ำดี

อสฺสุ - น้ำตา

เสมฺหํ - น้ำเสมหะ

วสา - น้ำมันเหลว

ปุพฺโพ - น้ำหนอง

เขโฬ - น้ำลาย

โลหิตํ - น้ำเลือด

สิงฺฆาณิกา - น้ำมูก

เสโท - น้ำเหงื่อ

ลสิกา - ไขข้อ

เมโท - น้ำมันข้น

มุตฺตํ - น้ำมูตร


หน้า ๑๙

(๒) พาหิรอาโปธาตุน้ำภายนอก หมายถึง ธาตุน้ำอันเป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่นน้ำจากผลไม้ น้ำจากเปลือกไม้ น้ำจากลำต้นไม้ น้ำจาก ดอกไม้ เป็นต้น
ค. กสิณอาโป หรือ อารมฺมณอาโป ได้แก่น้ำที่นำมาใช้เป็นอารมณ์ในการ เพ่งกสิณ
ง. ปกติอาโป หรือ สมฺมติอาโป ได้แก่ น้ำที่สมมติเรียกกันว่า " น้ำ " ได้แก่ น้ำที่ใช้ดื่ม ใช้อาบ น้ำในคลอง น้ำในแม่น้ำ เป็นต้น ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า สสัมภารอาโป สำหรับปรมัตถอาโปธาตุนั้นเป็นรูปธาตุ ทำหน้าที่สมานเกาะกุมรูปทั้งหลายอันเกิดร่วมกับตน ทำให้รูปต่าง ๆ รวมกันอยู่ได้ ไม่ให้กระจัดกระจายไป เหมือนดังน้ำผึ้งที่ประสมกับยาผงเพื่อประสานให้ปั้นติดกันเป็นก้อนเป็นยาลูกกลอน ได้ฉะนั้น


๓. เตโช

คำว่า เตโชธาตุ หรือ เตโชรูป เป็นรูปปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะร้อนหรือเย็น มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อุณฺหตฺต ลกฺขณา มีความอบอุ่น เป็นลักษณะ
ปริปาจน รสา ทำให้รูปเกิดร่วม สุกงอม เป็นกิจ
มทฺทวานุปฺปาทน ปจฺจุปฏฺฐานา ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วย ให้อ่อนนิ่ม เป็นผลปรากฏ
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้


หน้า ๒๐

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการสุกงอมก็ดีความอบอุ่นก็ดีที่มีในกายนั้นเรียก เตโชธาตุ
ที่ว่า เตโชธาตุ มีความร้อน (อุณฺห) เป็นลักษณะนั้น หมายถึงความเย็น(สีต) ด้วย เพราะที่ว่าเย็นก็คือความร้อนมีน้อยนั่นเอง เช่น ใช้คำว่า อุณฺหเตโช หมายถึง ความร้อนและใช้คำว่า สีหเตโช หมายถึงความเย็น ซึ่งมีคำว่า เตโช อยู่ด้วยทั้งคู่
เตโชธาตุ ธาตุไฟ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

ก. ลกฺขณเตโช หรือ ปรมตฺถเตโช ได้แก่ ลักษณะของธาตุไฟที่มีสภาวะยืน ให้พิสูจน์ด้วยการสัมผัสถูกต้องได้ มี ๒ ลักษณะ คือ
(๑) อุณหเตโช มีลักษณะร้อน
(๒) สีหเตโช มีลักษณะเย็น คือร้อนน้อย
ปรมัตถเตโช เป็นเตโชธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่าธาตุไฟและธาตุไฟในที่นี้ หมายถึง ธาตุไฟที่เป็นปรมัตถ ซึ่งมี
ลักษณะร้อนหรือเย็น ไม่ใช่ไฟที่มองเห็น หรือใช้หุงต้มกัน อยู่ขณะนี้ และไฟที่เรามองเห็นกันอยู่นี้ เป็นไฟ
โดยสมมติ ไม่ใช่ไฟโดยปรมัตถ ธาตุไฟโดยปรมัตถนั้น ต้องหมายถึงลักษณะที่ปรากฏทางกายปสาท เมื่อมีการกระทบกันเกิดขึ้น ความร้อนหรือเย็นนั่นแหละ คือธาตุไฟ
เตโชธาตุนี้มองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ การที่เรามองเห็นได้นั้น เป็นการเห็น ธาตุต่าง ๆ ที่รวมกันเป็น
ปรมาณูแล้วปรากฏเป็นความวิโรจน์ด้วยอำนาจของ เตโชธาตุ จึงปรากฏเห็นเป็นเปลวไฟลุกขึ้นมา
เปลวไฟที่เห็นนั้นไม่ใช่ธาตุไฟ แต่เป็นรูปารมณ์หรือวรรณะรูป คือรูปที่เห็นเป็นสีนั่นเอง
ดังนั้นความปรากฏของเตโชธาตุ จึงหมายถึงไออุ่น หรือไอเย็นที่สามารถรู้ได้ ด้วยปสาทกาย และเตโชธาตุนี้ มีหน้าที่เผาทำให้วัตถุต่าง ๆ สุก และทำให้ละเอียด นุ่มนวล อาหารต่าง ๆ จะสุกได้นั้นต้องอาศัยความร้อนหรือไออุ่นบางอย่างก็อาศัย ไอเย็น คือ ธรรมชาติใดที่ทำให้สุก ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เตโช
การเกิดขึ้นของเตโชธาตุ อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นปัจจัย คือ
๑. มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง
๒. มีอาโปธาตุ เกาะกุม
๓. มีวาโยธาตุ กระพือพัด
ข. สสมฺภารเตโช คือ สัมภาระของไฟ แบ่งออกเป็น ๒ จำพวก คือ
(๑) อชฺฌตฺติกเตโช ธาตุไฟภายใน หมายถึงธาตุไฟอันเป็นส่วนประกอบ ที่มีอยู่ในร่างกายที่มีวิญญาณ
มีอยู่ ๔ คือ
อุสมาเตโช ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นพอสบาย เป็นอุณหเตโช มีเป็น ประจำ และมีอยู่ทั่วร่างกาย


หน้า ๒๑

ปาจกเตโช ไฟที่ย่อยอาหาร (ที่เราเรียกว่า ไฟธาตุ) เป็นอุณหเตโช มีเป็นประจำ และมีอยู่ที่ลิ้นจนถึง
ทวารหนัก
ชิรณเตโช ไฟที่บ่มให้ร่างกายทรุดโทรมเหี่ยวแห้ง เป็นทั้ง อุณหเตโช และสีตเตโช มีเป็นประจำ และมีอยู่ทั่วร่างกาย
สนฺตาปนเตโช ไฟที่ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วย เป็นอุณหเตโช มีจรมา เป็นครั้งคราว (อาคันตุกะ)
(๒) พาหิรเตโช ธาตุไฟภายนอก หมายถึงธาตุไฟอันเป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ
มีอยู่มากมาย เช่น ไฟฟืน ไฟเผาหญ้า ไฟคูตโค ไฟแกลบ ไฟเผาขยะ ไฟแก๊ส ฯลฯ เป็นต้น
ค. กสิณเตโช หรือ อารมฺมณเตโช คือ ไฟที่เป็นนิมิตทั้งปวง มีในบริกรรม นิมิต อุคคหนิมิต และ
ปฏิภาคนิมิต
ง. ปกติเตโช หรือ สมฺมติเตโช คือไฟตามธรรมดาที่ใช้ในการหุงต้มเป็นต้น
อนึ่ง เตโชนี้แม้จะเป็นรูปธาตุที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของธาตุอื่น ๆ ก็ตาม แต่ว่ามีประสิทธิภาพเหนือธาตุอื่น ๆ ตรงที่ว่าสัตว์ทั้งหลายอายุจะยืนหรือไม่ ก็ เพราะเตโชธาตุนี่แหละ เช่น อุสมาเตโชให้ความอบอุ่นไม่พอ ปาจกเตโชไม่พอย่อย อาหาร เพียงเท่านี้ สัตว์ทั้งหลายก็จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้แล้ว


อัชฌัตติกเตโช คือเตโชธาตุภายใน อีกนัยหนึ่งแสดงว่ามี ๕ อย่างดังจะแสดง โดยย่อ ต่อไปนี้

เตโชธาตุ

กิจ

ลักษณะ

ฐาน

๑. อุสมาเตโช

อบอุ่น

อุณหะ

ทั่วกาย

๒. ปาจกเตโช

ย่อยอาหาร

อุณหะ

จากลิ้นถึงทวารหนัก

๓. ชิรณเตโช

บ่ม

อุณหะและสีตะ

ทั่วกาย

๔. สนฺตาปนเตโช

ร้อน

อุณหะ

อาคันตุกะ

๕. ทาหนเตโช

กระวนกระวาย

อุณหะและสีตะ

อาคันตุกะ

เป็นการแสดงเตโชธาตุที่ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วยให้ละเอียดออกไปว่า เป็นไข้ ได้ป่วยชนิดที่ร้อนอย่างเดียวนั้นประเภทหนึ่งและเป็นชนิดที่สะบัดร้อนสะบัดหนาว จนถึงกับกระวนกระวายอีกประเภทหนึ่งเท่านั้นเอง

เตโชธาตุทั้ง ๕ นี้ มีประจำอยู่ในร่างกายที่มีวิญญาณก็มี เป็นเตโชธาตุที่จะมา ก็มี เช่น อุสมาเตโช และ
ปาจกเตโช เป็นธาตุไฟที่มีอยู่ประจำในร่างกายที่มีวิญญาณ ส่วนสันตาปนเตโช ทาหนเตโช ไม่มีอยู่ประจำเป็นอาคันตุกะจรมาที่ปรากฏว่า ร้อนจัดหรือกระวนกระวาย ก็เพราะอุสมาเตโช เกิดมีอาการผิดปกติด้วยอำนาจ กรรมบ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง และอาหารบ้าง เป็นปัจจัยให้เกิดวิปริตผิดปกติไป เช่น คนที่เป็นไข้ มีอาการตัวร้อนกว่าคนที่ไม่เป็นไข้ บางคนเป็นไข้มีความร้อนสูงมาก ถึงกับเพ้อคลั่ง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก อุสมาเตโช แปรสภาพเป็นสันตาปนเตโช นั่นเอง จึงมีอาการตัวร้อนจัดและสันตาปนเตโชแปรสภาพเป็นทาหนเตโช จึงมีอาการร้อน จัดจนเพ้อคลั่งบางคนร้อนจัดจนร้องครวญคราง ร้องให้คนช่วย แต่ตัวผู้ร้องก็ไม่รู้ ปรอทวัดก็ไม่ขึ้น
แต่มีอาการร้องว่าร้อนจนคลุ้มคลั่ง ทั้งนี้ก็เพราะร้อนด้วยอำนาจกรรมนั่นเอง ส่วนความแก่ชราของคนและสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏนั้น ก็เพราะอุสมาเตโชที่มีอยู่ประจำในร่างกายคนและสัตว์นั่นเอง เปลี่ยนสภาพเป็นชิรณเตโช เผาให้ ปรากฏอาการทรุดโทรม แก่ชรา ผมหงอก ฟันหัก ตาฟาง เนื้อหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น


๔. วาโย

คำว่าวาโยธาตุ หรือวาโยรูป เป็นรูปปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหวหรือเคร่งตึง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิตฺถมฺภน ลกฺขณา มีความเคร่งตึง เป็นลักษณะ
สมุทีรณ รสา มีการไหว เป็นกิจ
อภินิหาร ปจฺจุปฏฺฐานา มีการเคลื่อนย้าย เป็นผล
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้


หน้า ๒๓

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเคร่งตึงก็ดี การไหวก็ดีที่มีอยู่ในกายนั้น เรียกว่า วาโยธาตุ

วาโยธาตุ ธาตุลม แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
ก. ลกฺขณาวาโย หรือ ปรมตฺถวาโย ได้แก่ลักษณะของธาตุลมที่มีสภาวะให้ พิสูจน์รู้ได้ ๒ ลักษณะ คือ
(๑) วิตฺถมฺภน ลกฺขณ มีลักษณะเคร่งตึง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
(๒) สมุทีรณ ลกฺขณ มีลักษณะไหวโคลง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
วาโยธาตุตามนัยแห่งปรมัตถนั้น หมายถึง ธรรมชาติที่มีลักษณะ " ไหวหรือ เคร่งตึง "ธาตุลมที่มีลักษณะไหว เรียกว่า " สมุทีรณวาโย "และธาตุลมที่มีลักษณะ เคร่งตึง เรียกว่า " วิตฺถมฺภนวาโย "
ธรรมชาติของวิตถัมภนวาโยนี้ ทำให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ตั้งมั่นไม่ คลอนแคลนเคลื่อนไหวได้
ในร่างกายของคนเรา ถ้ามีวิตถัมภนวาโยปรากฏแล้ว บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกตึง ปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย
หรือเมื่อเวลาที่เราเกร็งแขน ขา หรือ เพ่งตาอยู่นานๆ โดยไม่กระพริบตา ก็จะปรากฏเป็นอาการเคร่งตึง
นั่นคือ วิตถัมภนวาโยธาตุปรากฏ
ในร่างกายของคนและสัตว์ ถ้ามีวิตถัมภนวาโยมากมีสมุทีรณวาโยน้อยร่างกาย หรือส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกายจะเคร่งตึง ถ้ามีสมุทีรณวาโยมากวิตถัมภนวาโยน้อย ร่างกายหรือสัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
จะเคลื่อนไหวหรือไหวไปได้
ข. สสมฺภารวาโย คือ สัมภาระของลม หรือสสัมภาระต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่ รวมเรียกว่า ลม
แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ
(๑) อชฺฌตฺติกวาโย ธาตุลมภายใน หมายถึงธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบของ ร่างกายที่มีวิญญาณ ซึ่งมีอยู่๖ อย่างคือ
อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การเรอ การหาว การไอ การจาม เป็นต้น
อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องต่ำ เช่น การผายลม การเบ่ง (ลมเบ่ง) เป็นต้น
กุจฺฉิสยวาโย หรือ กุจฺฉิฏฺฐวาโย ลมที่อยู่ในช่องท้อง ทำให้ปวดท้อง เสียดท้อง เป็นต้น


หน้า ๒๔

โกฏฺฐาสยวาโย ลมที่อยู่ในลำไส้ เช่น ท้องลั่น ท้องร้อง เป็นต้น
องฺคมงฺคานุสาริวาโย ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย ทำให้ไหวร่างกายได้
อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าออก
(๒) พาหิรวาโย ธาตุลมภายนอก หมายถึง ธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบ ที่มีอยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่น ลมพายุ ลมเหนือ ลมหนาว เป็นต้น
ความปรากฏของธาตุลมซึ่งเรียกว่า วาโยธาตุ นั้น อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ ให้ปรากฏ และเป็นไปดังนี้
๑. มีปฐวีธาตุเป็นที่ตั้ง
๒. มีอาโปธาตุเกาะกุม
๓. มีเตโชธาตุ ทำให้อุ่นหรือเย็น
ค. กสิณวาโย หรือ อารมฺมณวาโย คือ ลมที่เป็นกสิณซึ่งเป็นอารมณ์ของ จิตแห่งพระโยคาวจร ผู้ทำ
ฌานด้วยการที่เอาวาโยธาตุที่ทำให้ใบไม้ไหว ที่ทำให้ เส้นผมไหว ที่ทำให้ก้อนเมฆลอยไป เป็นนิมิต ตั้งแต่ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต จนถึงปฏิภาคนิมิต
ง. ปกติวาโย หรือ สมฺมติวาโย คือ ลมธรรมดาที่พัดผ่านไปมานี่แหละ อนึ่ง วาโยธาตุนี้ เป็นรูปธาตุที่มีความสำคัญมากแก่สัตว์ที่มีวิญญาณ เพราะ ถ้าไม่มีลมหายใจก็ตาย และธาตุลมนี่แหละที่ทำให้ไหววาจาและไหวกายได้ ไหววาจา ไหวกายดีมีประโยชน์ ก็เป็นบุญเป็นกุสล ให้ผลเป็นสุข ไหววาจาไหวกายชั่ว มีโทษ ก็เป็นบาปเป็นอกุสลให้ผลเป็นทุกข์


หน้า ๒๕

ธาตุทั้ง ๔ หรือมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย นี้เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมที่เกิด
พร้อมกันเกิดร่วมกัน กล่าวคือไม่ว่าจะปรากฏ ณ ที่ ใด จะต้องปรากฏ ณ ที่นั้นครบทั้งคณะ คือทั้ง ๔ ธาตุเสมอเป็นนิจและแน่นอน ต่างกันแต่เพียงว่า อาจจะมีธาตุใดธาตุหนึ่งยิ่งและหย่อนกว่ากันเท่านั้น จะขาดธาตุใดธาตุหนึ่งใน ๔ ธาตุนี้ไปแม้แต่เพียงธาตุเดียว เป็นไม่มีเลย
ธาตุดินที่แข็ง ย่อมจะอยู่กับน้ำที่เกาะกุมอยู่กับไฟที่เย็นและอยู่กับลมที่เคร่งตึง
ส่วนธาตุดินที่อ่อน ย่อมจะอยู่กับน้ำที่ไหล อยู่กับไฟที่ร้อนและอยู่กับลมที่ไหว

อนึ่ง ในจำนวน ๔ ธาตุนี้ ยังจัดได้เป็น ๒ พวก คือ มิสฺสก มิตรธาตุ และ ปฏิปกฺข ศัตรูธาตุ หรือจะเรียก
ง่ายๆ ว่า คู่ธาตุ คู่ศัตรู ก็ได้เข้าคู่กันดังนี้

ปฐวี ดิน กับ อาโป น้ำ เป็นมิสฺสก มิตรธาตุ คู่ธาตุ
เตโช ไฟ กับ วาโย ลม เป็นมิสฺสก มิตรธาตุ คู่ธาตุ
ปฐวี ดิน กับ วาโย ลม เป็นปฏิกฺข ศัตรูธาตุ คู่ศัตรู
เตโช ไฟ กับ อาโป น้ำ เป็นปฏิกฺข ศัตรูธาตุ คู่ศัตรู

ที่ปฐวีธาตุ กับ อาโปธาตุ เป็นมิสฺสก เป็นคู่ธาตุกัน เพราะเป็นธาตุหนักเหมือนกัน ที่ใดมีดินมาก
ที่นั้นจึงมีน้ำมากด้วย
ที่เตโชธาตุ กับ วาโยธาตุ เป็นมิสฺสก เป็นคู่ธาตุกัน เพราะเป็นธาตุเบาเหมือนกัน ที่ใดมีไฟมาก
ที่นั้นมีลมมากด้วย


หน้า ๒๖

ธาตุทั้ง ๔ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เฉพาะที่เป็นส่วนประกอบในสรรพางค์กายที่มีวิญญาณนั้น เมื่อประมวลแล้วย่อมได้ จำนวน ๔๒ โกฏฐาส ( อาการ ๔๒ ) คือ

ปฐวีธาตุ ประกอบใน ๒๐ โกฏฐาส
อาโปธาตุ ประกอบใน ๑๒ โกฏฐาส
เตโชธาตุ ประกอบใน ๔ โกฏฐาส
วาโยธาตุ ประกอบใน ๖ โกฏฐาส
รวม ๔๒ โกฏฐาส

ธาตุทั้ง ๔ คือ ๔๒ โกฏฐาส หรือ อาการ ๔๒ นี้ มีนามสติปัฏฐานว่า จตุธาตุววัฏฐาน


ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป

ปสาทรูป คือ รูปที่เป็นความใสอันเกิดจากกรรม มีความสามารถในการรับ อารมณ์ได้ เรียกว่า ปสาทรูป ซึ่งมีอยู่ ๕ รูป คือ
๑. จักขุปสาทรูป ได้แก่ ปสาทตา
๒. โสตปสาทรูป ได้แก่ ปสาทหู
๓. ฆานปสาทรูป ได้แก่ ปสาทจมูก
๔. ชิวหาปสาทรูป ได้แก่ ปสาทลิ้น
๕. กายปสาทรูป ได้แก่ ปสาทกาย
ปสาทรูปทั้ง ๕ นี้ มีสภาพเป็นความใส เกิดจากกรรมโดยสมุฏฐานเดียว สามารถรับอารมณ์ได้ และยังผลให้สำเร็จกิจเป็นกุสลหรืออกุสลได้ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้


หน้า ๒๗

๕. จักขุปสาทรูป

จักขุปสาท คือ ดวงตาของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เรียกว่า มังสจักขุ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
๑. สสมฺภารจกฺขุ คือ ส่วนต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่ทั้งหมดเรียกว่า " ดวงตา " ซึ่งมีทั้งตาขาวและตาดำ
มีก้อนเนื้อเป็นฐานรองรับปสาทจักขุไว้
๒. ปสาทจักขุ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " จักขุปสาท " คือ ความใสของมหา ภูตรูปอันเกิดจากกรรม
ที่ตั้งอยู่บนกลางตาดำ
ดวงตาทั้งหมดไม่ชื่อว่า จักขุปสาท ที่เรียกว่าจักขุปสาทนั้นก็คือ ธรรมชาติ ที่เป็นรูปชนิดหนึ่ง เกิดจากกรรม มีความใสดุจเงากระจก เป็นเครื่องรับรูปารมณ์ ตั้งอยู่ระหว่างตาดำมีหลักฐานแสดงไว้ชัดว่า เป็นเยื่อบางๆ ซับซ้อนกันอยู่ถึง ๗ ชั้น ประดุจปุยนุ่นที่ชุ่มด้วยน้ำมันงาชุ่มอยู่ทั้ง ๗ ชั้น โตประมาณเท่าศีรษะของเหา มี หน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ
(๑) เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณจิต ๒
(๒) เป็นทวาร คือ ทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของจักขุทวารวิถีจิตในปัญจ ทวารวิถี

จักขุปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

รูปาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบ รูปารมณ์ เป็นลักษณะ
รูเปสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการชักดึงมาซึ่งรูปารมณ์ เป็นกิจ
จกฺขุวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการรองรับซึ่งจักขุวิญญาณ เป็นผล
ทฏฺฐกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม ( รูปตัณหา ) มีความใคร่ที่จะเห็น รูปารมณ์ เป็นเหตุใกล้

อนึ่ง คำว่า จักขุ ยังจำแนกเป็น ๒ ประการคือ ปัญญาจักขุ และ มังสจักขุ
ปัญญาจักขุ
เป็นการรู้ด้วยปัญญา เป็นการรู้ทางใจ ไม่ใช่เห็นด้วยนัยน์ตา มีอยู่ ๕ ชนิด คือ


หน้า ๒๘

(๑) พุทฺธจกฺขุเป็นจักขุญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ ญาณที่รู้ในอัชฌาสัยของสัตว์โลก เรียกว่า อาสยานุสยญาณ ญาณที่สามารถรู้อินทรียของสัตว์ทั้งหลายว่ายิ่ง หรือหย่อนเพียงใด เรียกว่า อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณดังกล่าวแล้วองค์ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตต จิต ๔
(๒) สมนฺตจกฺขุ เป็นจักขุญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ สัพพัญญุตญาณ ญาณที่สามารถรอบรู้สิ้นปวงสังขตธรรมและอสังขตธรรม องค์ ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตดวงที่ ๑
(๓) ญาณจักขุ คือ อรหัตตมัคคญาณ ญาณของพระอรหันต์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน
อรหัตตมัคคจิต
(๔) ธมฺมจกฺขุ คือ ญาณของพระอริยทั้ง ๓ มีพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี องค์ธรรม
ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมัคคจิตเบื้องต่ำ ๓
(๕) ทิพฺพจกฺขุ คือ ญาณที่รู้ด้วยตาทิพย์ คือ อภิญญา องค์ธรรมได้แก่ อภิญญาจิต ๒
(๖) ส่วน มังสจักขุ นั้นคือ การเห็นด้วยนัยน์ตาเนื้อ ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา ได้แก่ จักขุของมนุษย์ และสัตว์
ทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ รวมเป็น ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขุ ๖ เมื่อเอ่ยว่า จักขุ ๖ ก็หมายถึง
ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ นี่แหละ


๖. โสตปสาทรูป

โสตปสาทรูป หมายถึงประสาทหู ที่อยู่ในช่องหู มีสัณฐานเป็นวง ๆ คล้าย วงแหวน และมีขนอันละเอียดอ่อนสีแดงปรากฏอยู่โดยรอบ เป็นรูปธรรมที่มีความ สามารถในการรับสัททารมณ์ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งโสตวิญญาณ และเป็นทวาร อันเป็นทางให้เกิดโสตทวารวิถีจิต
โสตะ คือ หูของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มี ๒ อย่าง คือ
๑. สสมฺภารโสต ได้แก่ หูทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยสสัมภารธาตุ อันเป็นที่ ตั้งที่อาศัยเกิดของโสตปสาท
๒. ปสาทโสต ได้แก่ โสตปสาท ซึ่งตั้งอยู่กลางหู มีสัณฐานคล้ายวงแหวน มีขนละเอียดอ่อนล้อมอยู่โดยรอบ
ฉะนั้นหูทั้งหมดที่มองเห็นเป็นรูปหูนั้น ไม่ชื่อว่า โสตปสาท ที่ชื่อว่าโสตปสาท นั้นก็คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความสามารถรับเสียงต่าง ๆ ได้ ตั้งอยู่ภายในช่องหู มีสัณฐานเหมือนวงแหวน มีขนสีแดง เส้นละเอียดเกิดขึ้นโดยรอบ โสตปสาทแผ่อยู่ทั่วบริเวณนั้น มีหน้าที่สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ
ก. เป็นที่อาศัยเกิด ของโสตวิญญาณ ๒
ข. เป็นทวาร คือ ทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของโสตทวารวิถี

โสตปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

สทฺทาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูป ที่กระทบ สัททารมณ์ เป็นลักษณะ
สทฺเทสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการแสวงหาสัททารมณ์ เป็นกิจ
โสตวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของโสตวิญญาณ เป็นผล
โสตุกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม (สัททตัณหา) เป็นเหตุใกล้

อนึ่งคำว่า โสต นี้ยังแบ่งเป็น ๓ ประการอันเรียกกันสั้น ๆ ว่า โสต ๓ คือ
(๑) ทิพฺพโสต ญาณที่รู้ด้วยหูทิพย์ คือ อภิญญา องค์ธรรมได้แก่ อภิญญาจิต ๒


หน้า ๓๐

(๒) ตณฺหาโสตกระแสของตัณหา หมายความว่า ตัณหานั้นเป็นกระแสร์ พาให้ไหลไปในอารมณ์ทั้ง ๖
และไหลไปสู่กามภพ รูปภพ อรูปภพ
(๓) ปสาทโสต ได้แก่โสตปสาทรูป


๗. ฆานปสาทรูป

ฆานปสาทรูป หมายถึง ประสาทจมูก ที่อยู่ในช่องจมูก อันมีสัณฐานเหมือน กีบแพะ เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถในการรับคันธารมณ์ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้ง แห่งฆานวิญญาณ และเป็นทวารอันเป็นทางให้เกิดฆานทวารวิถีจิต

ฆานปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

คนฺธาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูป(ที่เกิดจาก กรรม) ที่กระทบคันธารมณ์ เป็นลักษณะ
คนฺเธสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการแสวงหาคันธารมณ์เป็นกิจ
ฆานวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของฆานวิญญาณ เป็นผล
ฆายิตุกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม (คันธตัณหา) เป็นเหตุใกล้


หน้า ๓๑

๘. ชิวหาปสาทรูป

ชิวหาปสาทรูป หมายถึง ประสาทลิ้น ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางลิ้นอันมีสัณฐาน เหมือนปลายกลีบดอกบัว เรียงรายซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถ ในการรับรสารมณ์ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งชิวหาวิญญาณ และเป็นทวารอันเป็น ทางให้เกิดชิวหาทวารวิถีจิต
ชิวหาปสาท คือ ประสาทลิ้นของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. สสมฺภารชิวหา ได้แก่ ลิ้น ซึ่งประกอบด้วยสสัมภารธาตุต่าง ๆ อัน เป็นที่เกิดของชิวหาปสาท คือ
ลิ้นทั้งหมดที่เราเห็นนั่นเอง
๒. ปสาทชิวหา ได้แก่ ชิวหาปสาท ซึ่งมีสัณฐานคล้ายกลีบดอกบัว ตั้งอยู่ โดยรอบบริเวณปลายลิ้น
สำหรับชิวหาปสาทในที่นี้ มุ่งหมายเอาชิวหาปสาทที่เป็นสภาพของรูปปรมัตถ ที่เรียกว่าชิวหาปสาท ก็คือ
ธรรมชาติที่เป็นรูปชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรม มีความใส บริสุทธิ์ เป็นเครื่องรับรสต่าง ๆ ตั้งอยู่โดยรอบ
บริเวณลิ้น มีสัณฐานคล้ายกลีบบัวมีหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ
ก. เป็นที่อาศัยเกิดของชิวหาวิญญาณจิต
ข. เป็นทวาร คือทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของชิวหาทวารจิตในปัญจทวารวิถี

ชิวหาปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

รสาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบ รสารมณ์ เป็นลักษณะ
รเสสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการแสวงหารสารมณ์ เป็นกิจ
ชิวหาวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของชิวหาวิญญาณ เป็นผล
สายิตุกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม (รสตัณหา) เป็นเหตุใกล้

ชิวหาเป็นรูปที่มีสภาพคล้ายกับเรียกรส ซึ่งเป็นเหตุให้อายุยืน รูปนั้นชื่อว่า ชิวหา ทั้งนี้เพราะธรรมชาติ
ของชิวหาปสาทนี้ ย่อมน้อมอยู่ในรสต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ พอใจของชิวหาวิญญาณให้มาสู่ตน รวมความแล้วก็คือ ชิวหาปสาทเป็นรูปที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่องรับรสต่าง ๆ นั่นเอง


๙. กายปสาทรูป

กายปสาทรูป หมายถึง ประสาทกาย มีสัณฐานคล้ายสำลีแผ่นบาง ๆ ชุบ น้ำมันจนชุ่ม ซ้อนกันหลาย ๆ
ชั้น ตั้งอยู่ทั่วไปในสรรพางค์กาย เว้นที่ปลายผม ปลายขน ที่เล็บ ที่ฟัน ที่กระดูก ที่หนังหนาด้าน ซึ่งประสาทตั้งอยู่ไม่ได้
กายปสาทรูป เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถในการรับโผฏฐัพพารมณ์ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณ และเป็นทวาร อันเป็นทางให้เกิดกายทวารวิถีจิต

กายปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

โผฏฺฐพฺพาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูปที่ กระทบโผฏฐัพพารมณ์ เป็นลักษณะ


หน้า ๓๒

โผฏฺฐพฺเพสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการแสวงหาโผฏฐัพพารมณ์ เป็นกิจ
กายวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของกายวิญญาณ เป็นผล
ผุสิตกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม (โผฏฐัพพตัณหา) เป็นเหตุใกล้

กายปสาท คือประสาทกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ
๑. สสมฺภารกาย ได้แก่ กายที่ประกอบด้วยสสัมภารธาตุต่าง ๆ อันเป็นที่เกิด ของกายปสาท หรือ
เรียกว่ากายทั้งหมดที่เราเห็นนั่นเอง รูปที่ประชุมรวมส่วน ต่าง ๆ มี ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น ที่น่าเกลียด
และเป็นที่ประชุมแห่งอกุสลธรรม รูปนั้นชื่อว่า " กาย " ได้แก่ ร่างกายทั้งหมด
๒. ปสาทกาย ได้แก่ กายปสาทอันตั้งอยู่ทั่วสรรพางค์กาย ยกเว้นปลายผม ปลายขน ปลายเล็บ ปลายฟันและหนังที่หนา ๆ
สำหรับกายในที่นี้ หมายถึง ปสาทกายอย่างเดียว เพราะเป็นสภาพของ รูปปรมัตถ ที่เรียกว่ากายปสาท
นั้นคือธรรมชาติที่เป็นรูปชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่องรับกระทบความเย็น
ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง และ ความเคร่งตึง ตั้งอยู่ทั่วสรรพางค์กาย มีหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ
ก. เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณจิต
ข. เป็นทวาร คือ ทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของกายทวาร ในปัญจทวารวิถี
อนึ่ง คำว่า กาย นี้ยังจำแนกเป็น ๔ ประการ เรียกกันสั้น ๆ ว่า กาย ๔ คือ


หน้า ๓๓

(๑) ปสาทกาย ได้แก่ กายปสาทรูป
(๒) รูปกาย ได้แก่ รูป ๒๗ (เว้นกายปสาทรูป)
(๓) นามกาย ได้แก่ จิต เจตสิก
(๔) บัญญัตติกาย ได้แก่ สมูหบัญญัติ มี หัตถิกาย (กองช้าง) อัสสกาย (กองม้า) เป็นต้น

ประเภทที่ ๓ โคจรรูป

โคจรรูป ๔ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ และ รสารมณ์
คำว่า โคจรรูป แปลตามพยัญชนะ ก็ว่ารูปที่ท่องเที่ยวไปเหมือนโค แต่ในที่นี้ หมายความว่า รูปที่เป็นอารมณ์
โคจรรูป มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วิสยรูป คำว่า วิสย ตรงกับคำไทยว่า วิสัย ซึ่ง แปลว่า ขอบเขต แดน
ความเป็นอยู่ แต่คำ วิสยรูป ในที่นี้ก็หมายความว่า รูปที่เป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน
ดังนั้น วิสยรูป หรือโคจรรูป จึงมีความหมายเหมือนกันคือ " รูปที่เป็นอารมณ์ ของปัญจวิญญาณจิต " ซึ่งมีอยู่ ๗ ประการ คือ
๑. รูปารมณ์ ได้แก่ วัณณะรูป คือ รูปที่ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ
๒. สัททารมณ์ ได้แก่ สัททะรูป คือ เสียงต่าง ๆ
๓. คันธารมณ์ ได้แก่ คันธะรูป คือ กลิ่นต่าง ๆ
๔. รสารมณ์ ได้แก่ รสะรูป คือ รสต่าง ๆ
๕. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ปฐวีรูป คือ อ่อน แข็ง
๖. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เตโชรูป คือ ร้อน เย็น
๗. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ วาโยรูป คือ ไหว เคร่งตึง

วิสยรูป หรือโคจรรูปทั้ง ๗ นี้ ถ้านับรูปที่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะแล้วจะได้ ๔ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์
คันธารมณ์ รสารมณ์ ส่วนโผฏฐัพพารมณ์ ทั้ง ๓ นั้น องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ คือ
มหาภูตรูป ๓ ที่ได้กล่าว มาแล้วนั่นเอง ดังนั้นโผฏฐัพพารมณ์จึงไม่มีสภาวะของตนเอง โดยเฉพาะ
สาเหตุที่เรียก ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ว่าโผฏฐัพพารมณ์ ก็เพราะว่า ธาตุทั้ง ๓ นี้กระทบทาง
กายปสาทได้ เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณได้ จึงเรียก โผฏฐัพพารมณ์ ซึ่งก็หมายถึงอารมณ์ที่มากระทบให้รู้ได้ทางกายปสาทนั่นเอง


หน้า ๓๔

๑๐. รูปารมณ์

รูปารมณ์ หมายถึงรูปที่เป็นอารมณ์ของ จักขุวิญญาณจิต ได้แก่ วัณณรูปที่ ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ
รูปารมณ์ หมายถึงวัณณรูปซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ของ จักขุวิญญาณ วัณณรูป หมายถึงรูปที่จะปรากฏให้เห็นเป็นสีต่าง ๆ ยังไม่ได้เป็น อารมณ์ของจักขุวิญญาณจิต และการรู้สึกเห็นเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีเหลือง ฯลฯ นั้นไม่ใช่เห็นด้วยจักขุวิญญาณจิต แต่เป็นการเห็นด้วยมโนวิญญาณ คือการเห็นทางมโนทวารแล้ว ไม่เห็นทางจักขุทวาร ถ้าเห็นทางจักขุทวารจะเห็น เพียงสีแล้วก็ดับไป แล้วจิตทางมโนทวารจึงรู้ว่าเป็นสีอะไร
โดยอาศัยบัญญัติอารมณ์ ในอดีตนั้นมาตัดสินอีกทีหนึ่ง จึงรู้ว่าเป็นสีอะไร เป็นรูปอะไร เรียกรูปนั้นว่าอย่างไร

รูปารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

จกฺขุปฏิหนน ลกฺขณํ รูปที่มีการกระทบกับจักขุปสาท เป็นลักษณะ
จกฺขุวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ เป็นอารมณ์ให้จักขุวิญญาณ เป็นกิจ
ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ เป็นที่โคจรของจักขุวิญญาณ เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

วัณณะ คือ สี หรือ รูป นี่เอง ที่กระทบกับจักขุปสาทรูป และทำให้เกิด จักขุ วิญญาณขึ้น วัณณะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่จักขุวิญญาณจิตนี่แหละได้ชื่อว่า รูปารมณ์
รูปใดที่ปรากฏให้เห็นทางจักขุทวาร ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จักขุวิญญาณ เป็นผู้เห็นที่เราเรียกกันว่า
" เห็นด้วยตา " นั่นแหละเรียกว่า " รูปารมณ์ " แต่ถ้ารูป ต่าง ๆ เหล่านั้นทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
จักขุวิญญาณไม่ได้ทำหน้าที่เห็น แต่รู้สึก เห็นด้วยการคิดเอานึกเอาก็ไม่เรียกว่ารูปารมณ์ จัดเป็นธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ ด้วยใจ เห็นด้วยใจ ไม่ใช่เห็นด้วยตา


๑๑. สัททารมณ์

สัททารมณ์ หมายถึง เสียงที่กำลังเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณจิต ได้แก่ " สัททรูป " ที่ปรากฏให้ได้ยิน
เป็นเสียงต่าง ๆ สัททารมณ์ กับสัททรูป ต่างกันดังนี้
๑. สัททารมณ์ หมายถึงเสียงที่กำลังเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณจิต จิตกำลัง ได้ยินเสียงนั้น เสียงที่จิตกำลังได้ยินนั้น เรียกว่า สัททารมณ์
๒. สัททรูป หมายถึงเสียงที่ไม่ได้เป็นอารมณ์ของ โสตวิญญาณจิต และเสียง ที่เราได้ยินรู้ว่าเขาพูดอะไร
หมายความว่าอย่างไร ก็ไม่เรียกว่าสัททารมณ์ เรียกว่า ธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนทวาร
ถ้าเป็นสัททารมณ์ จะต้องได้ยินแล้ว ก็ดับไป โดยไม่รู้ความหมายอะไร การที่รู้ความหมายจากเสียงนั้น
ก็เพราะว่า เสียง ที่เป็นอารมณ์ทางโสตทวารนั้นดับไปแล้ว จากนั้นจิตที่เกิดทางมโนทวารรับการ ได้ยินไปคิดนึก โดยอาศัยบัญญัติอารมณ์ในอดีตมาตัดสิน จึงรู้ว่าเสียงที่ดับไปแล้ว นั้น มีความหมายว่าอย่างไร

สัททารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

โสตปฏิหนน ลกฺขณํ รูปที่มีการกระทบกับโสตปสาท เป็นลักษณะ
โสตวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ เป็นอารมณ์ให้โสตวิญญาณ เป็นกิจ


หน้า ๓๕

ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ เป็นที่โคจรของโสตวิญญาณ เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

สัททะ คือ เสียง ที่กระทบโสตปสาทรูป และทำให้เกิดโสตวิญญาณขึ้น สัททะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่
โสตวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า สัททารมณ์
รูปที่ทำให้โสตวิญญาณจิตรู้ได้ รูปนั้นเรียกว่า สัททรูป คือเสียงที่ปรากฏให้ ได้ยินทางโสตทวารทั้งเสียงที่
เกิดจากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต มีโสตวิญญาณเป็นผู้ทำ หน้าที่ได้ยิน ที่เรียกว่าได้ยินด้วยหูนั่นแหละเรียกว่าสัททรูป
เสียงใดที่ปรากฏให้ได้ยินทางโสตทวาร ทั้งเสียงที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิตและไม่มี ชีวิต มีโสตวิญญาณทำ
หน้าที่ได้ยิน ที่เรียกว่า ได้ยินด้วยหูนั่นแหละเรียกว่า สัททารมณ์ แต่ถ้าเสียงต่าง ๆ เหล่านั้นโสตวิญญาณไม่ได้ทำหน้าที่ได้ยิน แต่รู้สึกได้ยินด้วยใจ เช่นคิดถึงทีไรก็รู้สึกได้ยินก้องอยู่ในใจทุกที อย่างนี้ไม่ใช่สัททารมณ์ แต่เป็น ธัมมารมณ์ เพราะเป็นอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจทางมโนทวาร ไม่ใช่รู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ
สัททารมณ์นี้ จะปรากฏได้เฉพาะที่โสตปสาทได้ยินด้วยโสตวิญญาณเท่านั้น ถ้ารู้สึกได้ยินทางมโนวิญญาณ รู้ได้ทางมโนทวาร ก็ไม่เรียกว่า สัททารมณ์

 

๑๒. คันธารมณ์

คันธารมณ์ หมายถึง รูปที่กำลังเป็นอารมณ์ของ " ฆานวิญญาณ " ได้แก่ คันธรูปที่ปรากฏให้รู้ได้ว่าเป็นกลิ่น คันธรูปจึงหมายถึงกลิ่นที่มีอยู่ทั่วไป ส่วนคันธา รมณ์จึงหมายถึง กลิ่นที่กำลังเป็นอารมณ์ของจิตที่ชื่อว่า ฆานวิญญาณ
คันธรูป เป็นรูปที่ปรากฏเป็นกลิ่น และกลิ่นนั้นยังไม่ได้เป็นอารมณ์ของจิตที่ ชื่อว่า ฆานวิญญาณ จึงเรียกว่าคันธรูป และการที่รู้ว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นหอมหรือ เหม็นนั้น ไม่ใช่รู้ทางฆานทวาร และไม่ใช่รู้โดยฆานวิญญาณ แต่เป็นการรู้โดยทาง มโนทวาร และรู้ด้วยมโนวิญญาณ เรียกว่าธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ การรู้ ด้วยใจนี้ อาศัยบัญญัติอารมณ์ที่เคยสั่งสมมาในอดีตมาตัดสินอีกทีหนึ่ง จึงรู้เป็นกลิ่น อะไร กลิ่นเหม็นหรือหอม เป็นต้น
รูปใดแสดงที่อาศัยของตนให้ปรากฏ รูปนั้นชื่อว่า คันธะ คันธรูปนี้เป็นรูป ที่แสดงถึงวัตถุสิ่งของที่คันธรูป
อาศัยอยู่นั้นให้ปรากฏรู้ได้ ไม่ว่ารูปนั้นจะเป็นอะไร จะมีกลิ่น คือคันธรูปอยู่ด้วยเสมอไป คล้าย ๆ กับว่า
คันธรูปนี้เป็นตัวแสดงให้รู้ว่า กลิ่นนี้เป็นกลิ่นอะไร ลอยมาจากที่ไหน

คันธารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ฆานปฏิหนน ลกฺขณํ มีการกระทบกับฆานปสาท เป็นลักษณะ
ฆานวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ มีการทำอารมณ์ให้ฆานวิญญาณ เป็นกิจ
ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ เป็นที่โคจรของฆานวิญญาณ เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

คันธ คือ กลิ่น หมายถึง น้ำมันระเหย ที่กระทบกับฆานปสาทรูป และทำให้ เกิดฆานวิญญาณขึ้น
คันธะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่ ฆานวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า คันธารมณ์
อนึ่งคำว่า คันธะ นี้ยังจำแนกได้เป็น ๔ ประการเรียกสั้น ๆ ว่า คันธะ ๔ คือ


(๑) สีลคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งศีล องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
(๒) สมาธิคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมา สติ และสัมมาสมาธิ
(๓) ปญฺญาคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งปัญญา องค์ธรรมได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
คันธะในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงตัวกลิ่นที่หอมหรือเหม็นนั้น แต่หมายถึงว่า เป็น การฟุ้งไปทั่ว กระจายไปทั่ว แผ่ไปทั่ว กลิ่นหอมหรือเหม็นนั้น ตามปกติย่อมกระจายไปตามลม และไปได้ในบริเวณ แคบไม่กว้างไม่ไกลนัก แต่การกระจาย การแผ่ไปของ สีล สมาธิ ปัญญา นั้นไปได้ทั้งตามลมและทวนลม ทั้งแผ่ไปได้ทั่วไม่มีขอบเขตอันจำกัดเลย
(๔) อายตนคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งอายตนะ คือ การกระทบกันระหว่างกลิ่น กับฆานปสาทและฆานวิญญาณ องค์ธรรม
ได้แก่ คันธารมณ์ คือ
สุคนฺธกลิ่น = กลิ่นที่ดี
ทุคนฺธกลิ่น = กลิ่นที่ไม่ดี

 

๑๓. รสารมณ์

รสารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ ได้แก่ รสรูปที่ปรากฏ เป็นรสต่าง ๆ ระหว่างรสารมณ์ กับรสรูป
รสารมณ์ หมายถึงรสรูป ซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ จึงเรียกว่า รสารมณ์
รสรูป หมายถึงรสที่มีอยู่ในวัตถุต่าง ๆ ยังไม่ได้เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ เรียกรสนั้น ๆ ว่า รสรูป และการรู้สึก
ต่อรสว่า รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็มต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่รู้ด้วยชิวหาวิญญาณ แต่เป็นการรู้ด้วยมโนวิญญาณ จึงจัดเป็นธัมมารมณ์ คือ รู้ด้วยใจคิดนึก ถ้ารู้ด้วยชิวหาวิญญาณจะปรากฏเป็นรสเท่านั้น แล้วก็ดับไป ยัง ไม่รู้ว่าเป็นรสอะไร รสที่รู้ด้วย
ชิวหาวิญญาณนี้แหละ เรียกว่า รสารมณ์


รสารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ชิวฺหาปฏิหนน ลกฺขณํ มีการกระทบชิวหาปสาท เป็นลักษณะ
ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ มีการทำอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณเป็นกิจ


หน้า ๓๗

ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้

รสะ คือ รสที่กระทบกับชิวหาปสาท และทำให้เกิดชิวหาวิญญาณขึ้น รสะที่ มาเป็นอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า รสารมณ์
อนึ่งคำว่า รสะนี้ยังจำแนกได้เป็น ๔ ประการ เรียกสั้น ๆ ว่า รสะ ๔ คือ
(๑) ธมฺมรส ได้แก่ รสแห่งธรรม ซึ่งมีทั้งกุสล และอกุสล องค์ธรรมได้แก่ มัคคจิตตุปปาท ๔ โลกียกุสลจิต ๑๗ อกุสลจิต ๑๒ คือ ธรรมอันเป็นกุสลและ อกุสลทั้งปวง
(๒) อตฺถรส ได้แก่ รสแห่งอรรถธรรม คือ ธรรมที่เป็นผลของกุสล และ อกุสลทั้งปวง องค์ธรรมได้แก่
ผลจิตตุปปาท ๔ โลกียวิบากจิต ๓๒ คือ ธรรม อันเป็นผลของกุสลและอกุสลทั้งหมด
(๓) วิมุตฺติรส ได้แก่ รสแห่งความหลุดพ้น คือพระนิพพาน
(๔) อายตนรส ได้แก่ รสแห่งการกระทบกันระหว่างรสรูปกับชิวหาวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ รสารมณ์ เมื่อประมวลแล้วทั้งหมดมี ๖ รส คือ อมฺพิล เปรี้ยว, มธุร หวาน, โลณิก เค็ม, กฏุก เผ็ด, ติตฺต ขม, และ กสาว ฝาด


หน้า ๓๘

โผฏฐัพพารมณ์

โผฏฐัพพารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณจิต ได้แก่ ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง ที่มากระทบ กับกายปสาท ซึ่งคำวิเคราะห์ศัพท์ว่า " ผุสิตพฺพนฺติ-โผฏฐพฺพํ" แปลว่า รูปที่
กายปสาทพึงถูกต้องได้ รูปนั้นชื่อว่า " โผฏฐัพพะ " โผฏฐัพพารมณ์ ๓ อย่าง คือ
๑. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง หรืออ่อน
๒. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เตโชธาตุที่มีลักษณะร้อนหรือเย็น
๓. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ วาโยธาตุที่มีลักษณะหย่อนหรือตึง

โผฏฐัพพารมณ์ คือ มหาภูตรูป ๓ ได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นถูกต้องด้วยกายปสาทไม่ได้ จึงเป็นโผฏฐัพพารมณ์ไม่ได้ เพราะ อาโปธาตุนั้นเป็นธาตุที่รู้ได้ด้วยใจ จะรู้ด้วยประสาทอื่น ๆ ไม่ได้ จึงจัดอาโปธาตุนั้น เป็นธัมมารมณ์ เป็นอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยการคิดนึกเข้าถึงเหตุผลเท่านั้น
รูปารมณ์ ๑ สัททารมณ์ ๑ คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ และโผฏฐัพพารมณ์ ๓ รวม ๗ รูปนี้มีชื่อเรียกว่าวิสยรูป เพราะเป็นรูปที่เป็นที่อาศัยการรู้ของปัญจวิญญาณ จิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และ ทางกาย บางทีก็เรียกว่า โคจรรูป ที่เรียกว่าโคจรรูป ก็เพราะว่าเป็นรูปที่โคจรของจิตและเจตสิกนั่นเอง

ประเภทที่ ๔ ภาวรูป

ภาวรูป คือ รูปที่แสดงให้รู้สภาพหญิงและชาย ด้วยอาศัยรูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย อัธยาสัย และกิริยา
อาการเป็นเครื่องแสดงให้รู้
ภาวรูปมี ๒ คือ
๑. อิตถีภาวรูป รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง (เป็นรูปที่เกิดจากกรรม)
๒. ปุริสภาวรูป รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย (เป็นรูปที่เกิดจากกรรม)


๑๔. อิตถีภาวรูป

อิตถีภาวรูป คือ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง รูปใดที่เป็นเหตุแห่งความ เป็นหญิง รูปนั้นชื่อว่า อิตถีภาวะ

อิตถีภาวรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อิตฺถีภาว ลกฺขณํ มีสภาพของหญิง เป็นลักษณะ
อิตฺถีติปกาสน รสํ มีปรากฏการณ์ของหญิง เป็นกิจ
อิตฺถีลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํมีอาการของหญิงเป็นต้น เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้


๑๕. ปุริสภาวรูป

ปุริสภาวรูป คือ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็น ชาย รูปนั้นชื่อว่า ปุริสภาวะ

ปุริสภาวรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปุริสภาว ลกฺขณํ มีสภาพของชาย เป็นลักษณะ
ปุริโสติปกาสน รสํ มีปรากฏการณ์ของชาย เป็นกิจ
ปุริสลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีอาการของชายเป็นต้น เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้


หน้า ๓๙

ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย ที่จะรู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย มีสิ่งที่เป็นเครื่อง อาศัยให้รู้ได้ ๔ ประการ คือ
(๑) ลิงฺค ได้แก่ รูปร่างสัณฐาน ที่บอกเพศอันมีมาแต่กำเนิดซึ่งจะปรากฏ ตั้งแต่เมื่อคลอดออกมา เช่น มีแขน ขา หน้าตา เพศ ซึ่งแสดงตั้งแต่กำเนิด
(๒) นิมิตฺต เครื่องหมาย หรือสภาพความเป็นอยู่ เครื่องหมายนั้นหมายถึง สิ่งที่ปรากฏต่อมา สำหรับหญิงอกก็เริ่มโตขึ้น สำหรับชายก็มีหนวดมีเคราส่วนสภาพ ความเป็นอยู่นั้น หญิงก็ชอบเย็บปักถักร้อยเข้าครัว ชายก็ชอบต่อยตียิงปืน ผาหน้าไม้
(๓) กุตฺต หมายถึง นิสัย คือความประพฤติที่เคยชิน หญิงก็นุ่มนวล อ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนชายก็ห้าวหาญ เข้มแข็ง ว่องไว การเล่นของชายกับหญิง ก็ไม่เหมือนกัน ชายชอบยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์ หญิงก็จะเล่นการทำอาหาร ฯลฯ
(๔) อากปฺป ได้แก่ กิริยาอาการ เช่น การเดิน ยืน นั่งนอน การกิน การพูด ถ้าเป็นหญิงก็จะเอียงอาย แช่มช้อยนุ่มนวล ถ้าเป็นชายก็จะองอาจ เด็ดเดี่ยว หรือ แข็งกร้าว เป็นต้น
ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องแสดงให้รู้ถึงเพศหญิงหรือชาย ย่อมปรากฏไปตาม ภาวรูปทั้ง ๒ ถ้ามีอิตถีภาวรูปเป็นผู้ปกครองในร่างกายนั้น ก็จะมีรูปร่างสัณฐาน มีกิริยาอาการเป็นหญิง ถ้ามีปุริสภาวรูปเป็นผู้ปกครองในร่างกายนั้น ก็จะมี รูปร่าง สัณฐาน มีกิริยาอาการเป็นชาย ทั้งนี้ก็เพราะเนื่องจากกรรม คือ

ผู้ที่ได้อิตถีภาวรูป เพราะชาติแต่ปางก่อนได้ประกอบกุสลกรรมอย่างอ่อนที่ เรียกว่า ทุพฺพลกุสลกมฺม เป็นกรรมที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสก็จริง แต่ก็เจือปน ไปด้วยความไหวหวั่น (อวิสทฺธาการ)
ส่วนผู้ที่ได้ปุริสภาวรูป เพราะอดีตชาติได้ประกอบกุสลกรรมที่สูงส่งด้วยสัทธา ความเลื่อมใส แรงด้วยอธิโมกข์ ความชี้ขาด ปราศจากความหวั่นไหว อันจะเป็นเหตุ ให้เกิดความย่อหย่อน กุสลกรรมอย่างนี้เรียกว่า พลวกุสลกมฺม เป็นกุสลกรรมอัน ทรงพลัง จึงยังผลให้เกิดเป็นชาย


หน้า ๔๐

ประเภทที่ ๕ หทยรูป

หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว ต่าง ๆ ได้ ฉะนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป
สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป นั้น ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ นั้นชื่อว่า หทยรูป


๑๖. หทยรูป

หทยรูป แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง
(๑) มังสหทยรูป ได้แก่ รูปหัวใจที่มีสัณฐานคล้ายดอกบัวตูมที่แกะกลีบ ออกมา แล้วเอาปลายห้อยลง ภายในนั้นเหมือนรังบวบขม
(๒) วัตถุหทยรูป ได้แก่ รูปที่อาศัยเกิดอยู่ในมังสหทยรูป เป็นรูปที่เกิดจาก กรรม ที่ตั้งของหทยรูปนั้น ตั้งอยู่ในช่องที่มีลักษณะเหมือนบ่อ โตประมาณเท่าเมล็ด ดอกบุนนาค ในช่องนี้มี น้ำเลี้ยงหัวใจ หล่อเลี้ยงอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ เป็นที่ อาศัยเกิดของจิตและเจตสิกที่ชื่อว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ สถานที่ตรงนี้เอง ที่เรียกว่า หทยรูป หรือ วัตถุหทยรูป
น้ำเลี้ยงหัวใจนี้แหละเป็นที่อาศัยให้เกิดจิต ๗๕ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และอรูปวิบาก ๔ ) อันเป็นปัจจัยให้เกิดทั้งความดีและความชั่ว
น้ำเลี้ยงหัวใจ คือ หทยรูป หรือ หทยวัตถุ หรือ วัตถุหทยรูป นี้มีมากสี ด้วยกัน ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่จริตของบุคคล กล่าวคือ


หน้า ๔๑

บุคคลที่มากด้วย ราคจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี แดง
บุคคลที่มากด้วย โทสจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี ดำ
บุคคลที่มากด้วย โมหจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี หม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ
บุคคลที่มากด้วย วิตกจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี เหมือนน้ำเยื่อถั่วพู
บุคคลที่มากด้วย สัทธาจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี เหลืองอ่อนคล้ายสีดอกกัณณิกา
บุคคลที่มากด้วย พุทธิจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี ขาวเหมือนสีแก้วเจียรนัย


หทยรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนํ นิสฺสย ลกฺขณํ

มีการให้มโนธาตุ และมโน- วิญญาณธาตุได้อาศัยเกิด เป็นลักษณะ  

ตาสญฺเญว ธาตูนํ อธารน รสํ มีการทรงไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นกิจ
ตทุพฺพหน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการรักษาไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้


หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้เลย ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า หทยรูป


ประเภทที่ ๖ ชีวิตรูป

ชีวิตรูป คือ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม
โดยธรรมชาติของรูปแต่ละกลุ่มรูป ย่อมมีสมุฏฐานให้เกิดอยู่ ๔ สมุฏฐาน คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร ในกลุ่มรูปที่เกิดจากกรรมนั้น มีชีวิตรูปเป็นผู้ตามรักษา ตั้งแต่แรกเกิดให้ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปพร้อมกับกลุ่มรูปนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากกรรม
ที่ทำให้รูปเกิดขึ้นนั้น มีหน้าที่ทำให้รูปเกิดเท่านั้น ไม่มีหน้าที่รักษา ชีวิตรูปเท่านั้นมี หน้าที่ตามรักษา เหมือนกลีบของดอกบัว ทำหน้าที่รักษาเกษรบัวที่เกิดจากกอบัวแล้ว ก็เน่าไปพร้อมกับเกษรบัว ฉะนั้นกรรมทั้งหลายก็เช่นกันทำให้รูปเกิดด้วยอำนาจของตน แล้วก็มีชีวิตรูปที่เกิดจากกรรมนั่นแหละเป็นผู้รักษากลุ่มรูป ที่เกิดร่วมกันให้ตั้ง อยู่ แล้วก็ดับไปพร้อมกับกลุ่มรูที่เกิดจากกรรมนั้น ๆ


๑๗. ชีวิตรูป

ชีวิตรูป เป็นชื่อของรูปที่เกิดจากกรรม ทำหน้าที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม ด้วยกันให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปพร้อมกับตน รูปทั้งหลายอยู่ได้ด้วยการอาศัยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สหชาตรูปทั้ง หลายเป็นอยู่ได้นั้น เรียกว่า ชีวิตรูป


ชีวิตรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

สหชาตรูปานุปาล ลกฺขณํ มีการรักษาสหชาตรูป เป็นลักษณะ
เตสํ ปวตฺตน รสํ มีการธำรงไว้ซึ่งรูปเหล่านั้น เป็นกิจ
เตสญฺเญว ฐปน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการประกอบให้มั่นคงอยู่ เป็นผล
ยาปยิตพฺพ ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปที่เสมอภาค(ที่สมส่วน) เป็นเหตุใกล้


ที่ว่า มีการรักษาสหชาตรูปนั้น หมายเฉพาะรูปที่เกิดจากกรรม คือ กัมมชรูป เท่านั้น จึงต้องมีชีวิตรูปนี้รักษาให้คงอยู่และเป็นไปได้ตลอดอายุของรูปนั้น ๆ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า


หน้า ๔๒

ต้องเป็นกัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรม จึงจะมีชีวิตรูปรักษา ให้กัมมชรูปนั้น ๆ ดำรงคงอยู่ได้
ส่วนต้นไม้ ไม่ได้เกิดจากกรรม จึงไม่มีชีวิตรูป แต่ที่ดำรงคงอยู่ได้เพราะอุตุ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดง ดังปรากฏ
ในภูตคามสิกขาบทวินัย พระบาลีว่า ชีวสญฺญิ โน หิ มนุสฺสา รกฺขสฺมึ มนุษย์ทั้งหลายมีความสำคัญว่า ต้นไม้นี้มีชีวิต
อนึ่งคำว่า ชีวิต มีทั้ง ชีวิตรูป เป็นรูปธรรม ดังที่กล่าวอยู่ ณ บัดนี้ และ ชีวิตนาม เป็นนามธรรม (นามเจตสิก) ซึ่งได้กล่าวแล้วในปริจเฉทที่ ๒ นั้น ส่วนคำว่า ชีวิตินทรีย เป็นศัพท์ที่รวมความหมายทั้ง ชีวิตรูป และชีวิตนาม ทั้ง ๒ อย่าง
เป็นใหญ่ในการรักษารูป องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป
เป็นใหญ่ในการรักษานาม องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตินทรียเจตสิก


ประเภทที่ ๗ อาหารรูป

อาหารรูป คือ รูปที่เกิดจากอาหาร และรูปที่เกิดจากอาหารในที่นี้ หมายถึง อาหารที่กินเป็นคำ ๆ ซึ่งเรียกว่า กพฬีการาหาร


๑๘. อาหารรูป

อาหารรูป ในที่นี้หมายถึง กพฬีการาหาร อาหารที่กินเเป็นคำ ๆ หรือโภชนะ ใดอันบุคคลกินเป็นคำ ๆ หรือกระทำให้เป็นของกินโภชนะนั้นชื่อว่า กพฬีการาหาร
กพฬีการาหารนั้น หมายถึง โอชะรูป ที่มีอยู่ในอาหารต่าง ๆ เมื่อสัตว์ ทั้งหลายได้กินอาหาร โอชะที่อยู่ในอาหารนั้น ๆ ก็จะถูกปาจกเตโชอันเป็นเตโชธาตุ ที่เกิดจากกรรม ที่อยู่ในปากตลอดจนถึงทวารหนัก ก็จะทำหน้าที่เผา หรือย่อยออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ ๑ เป็นกากทิ้งไป โดยระบายออกทางทวารต่าง ๆ
ส่วนที่ ๒ เป็นโอชะรูปอยู่ในร่างกายคนและสัตว์คอยทำหน้าที่ให้อาหารชรูป เกิดขึ้น คือ โอชะรูปที่อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์นี้ทำให้ร่างกายของคนและสัตว์ ทั้งหลายมีกำลังและเติบโตขึ้น เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ก็จะทำหน้าที่ให้ร่างกายสมบูรณ์ และมีชีวิตอยู่ได้
รูปที่ทำให้เจริญเติบโต และทำให้ร่างกายสมบูรณ์อยู่ได้นี้แหละ เรียกว่า อาหารชรูป แปลว่า รูปที่เกิดจากอาหาร หรือรูปที่เกิดจากโอชะรูปที่ได้มาจากกพฬี การาหาร นั่นเอง

อาหารรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

โอชา ลกฺขณํ มีการทำให้รูปเจริญ เป็นลักษณะ
รูปาหรน รสํ มีการธำรงไว้ซึ่งรูป เป็นกิจ
กายุปตฺถมฺภน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการอุดหนุนไว้ซึ่งรูปกาย เป็นผล
อชฺโฌหริตพฺพ ปทฏฺฐานํ มีอาหารที่ควรแก่การบริโภค เป็นเหตุใกล้

รูปกายจะทรงอยู่ได้ ก็เพราะโอชาในอาหาร และโอชาธาตุในร่างกายร่วมกัน เกื้อกูลอุดหนุนไว้ ถ้าขาดเสียซึ่งอาหารแล้ว รูปเหล่านั้นก็จะถึงซึ่งความพินาศ ดำรงอยู่ไม่ได้
ที่เรียกว่าอาหาร ตามนัยแห่งรูปปรมัตถแล้ว หมายถึง โอชะรูปที่อยู่ในอาหาร นั้น ๆ ทำหน้าที่ทำให้อาหารชรูปเกิด คือ โอชะรูปที่ถูกจัดโดยปาจกเตโชนั่นเอง
รูปที่กล่าวมาแล้วรวม ๑๘ รูป นี้ ได้ชื่อว่า นิปผันนรูป หรือ สภาวรูป หรือ สลักขณรูป หรือ รูปรูป หรือ สัมมสนรูป รวม ๕ ชื่อด้วยกัน ตามความหมายของชื่อแต่ละชื่อนี้ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น (ดูหน้า ๑๓)


หน้า ๔๔

 

ประเภทที่ ๘ ปริจเฉทรูป

ปริจเฉทรูป คือ รูปที่เป็นช่องว่างระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป มีทั้งสิ่งที่มี ชีวิตและไม่มีชีวิต เป็นรูปที่คล้าย ๆ กับทำหน้าที่ให้รู้ถึงสัณฐานของรูปต่าง ๆ หรือ คล้ายกับเป็นผู้จำแนกให้รู้ได้ซึ่งรูปต่าง ๆ
ในบรรดาสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตทั้งหลายนั้น ถ้าไม่มีช่องว่างกั้นกลาง เสียแล้ว ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่า รูปนั้นมีจำนวนเท่าไร มีสัณฐานเป็นอย่างไร ต่อเมื่อ มีช่องว่างคั่นอยู่จึงกำหนดรู้ได้ว่า มีจำนวนเท่าไร มีสัณฐานอย่างไร และช่องว่าง นี่แหละ เรียกว่า อากาสธาตุบ้าง เรียกว่า ปริจเฉทรูปบ้าง


๑๙. ปริจเฉทรูป

ปริจเฉทรูป เป็นช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป ระหว่างกลาปกับกลาป มีได้ทั้งใน สิ่งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ
ถ้าไม่มีปริจเฉทรูปแล้ว จำนวนรูปกลาปก็มีไม่ได้ ที่สุดของรูปก็มีไม่ได้ เขต แดนของรูปก็มีไม่ได้ เพราะรูปเหล่านั้นจะติดกันเป็นพืดไปหมด ไม่มีรูปร่างสัณฐาน และก็นับจำนวนไม่ได้ด้วย

ปริจเฉทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

รูปปริจฺเฉท ลกฺขณํ มีการคั่นไว้ซึ่งรูปกลาป เป็นลักษณะ
รูปปริยนฺตปฺปกาสน รสํ มีการแสดงส่วนของรูป เป็นกิจ
รูปมาริยาท ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการจำแนกซึ่งรูป เป็นผล
ปริจฺฉินฺนรูป ปทฏฺฐานํ มีรูปที่คั่นไว้ เป็นเหตุใกล้


หน้า ๔๕

ปริจเฉทรูปนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า อากาสรูป อากาสนี้ยังจำแนกได้เป็น ๕ คือ
(๑) อชฺฏากาส ได้แก่ ที่ว่างในท้องฟ้าทั่วไป
(๒) กสิณุคฺฆาฏิมากาส ได้แก่ อากาศที่เพิกแล้วจากกสิณ อากาศที่เนื่องมา จากกสิณ
(๓) วิวรากาส อากาศในช่องโปร่ง เช่น ช่องหู ช่องจมูก ขวด โอ่ง ไห
(๔) สุสิรากาส อากาศในโพรงทึบ เช่น ในปล้องไม้ไผ่ ในเห็ดเผาะ
(๕) ปริจฺเฉทากาส อากาศที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป คือ ปริจเฉท รูป หรืออากาศรูปนี่แหละ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่าอากาศมีเพียง ๔ เท่านั้น คือ รวมวิวรากาสกับสุสิรากาส เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่า ปริจฺฉินฺนากาส คือ อากาศในช่องว่าง ไม่แยกเป็นทึบ หรือไม่ทึบ


หน้า ๔๖

ประเภทที่ ๙ วิญญัตติรูป

วิญญัตติรูป คือรูปที่แสดงให้ผู้อื่นรู้ความหมายหรือรู้ความประสงค์ วิญญัตติ รูปจะเคลื่อนไหวต้องมีจิตสั่งงานให้เคลื่อนไหว ทางกาย ทางวาจา นั่งนอน ยืนเดิน พูดเสียงดัง พูดค่อย พูดเพราะ พูดไม่เพราะ ก็อยู่ที่วิญญัตติรูป โดยจิตสั่งรูปชุดนี้ ให้ทำงาน
รูปใดทำให้ผู้อื่นรู้ความประสงค์ รูปนั้นชื่อว่า วิญญัตติรูป ชนทั้งหลายทำให้รู้ จิตใจซึ่งกันและกันได้โดยอาศัยรูปนั้น ฉะนั้นรูปนั้นชื่อว่า วิญญัตติรูป การแสดง ออกซึ่งวิญญัตติรูปนี้ เรียกกันอย่างสามัญว่า การไหวกาย และ การไหววาจา (การกล่าววาจา)


วิญญัตติรูป มี ๒ รูป คือ
(๑) กายวิญญัตติรูป คือ การเคลื่อนไหวของรูป ให้รู้ความประสงค์ทางกาย
(๒) วจีวิญญัตติรูป คือ การเคลื่อนไหวของรูปทางวาจา ให้รู้ความประสงค์ ทางวาจา


หน้า ๔๗

๒๐. กายวิญญัตติรูป

กายวิญญัตติรูป จำแนกได้ ๒ คือ
(๑) โพธนกายวิญฺญตฺติ ได้แก่ การไหวกาย จงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่น โบกมือ กวักมือเรียก เป็นต้น
(๒) ปวตฺตนกายวิญฺญตฺติ ได้แก่ การไหวกาย โดยไม่ได้จงใจให้เป็น ความหมายแก่ผู้ใด เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน หรือวิ่ง เป็นต้น แม้ว่าจะ ไม่ได้เจาะจงให้เป็นความหมายแต่ผู้อื่นก็รู้ได้ว่า เรานั่ง นอน ยืน เดิน หรือวิ่ง

กายวิญญัตติรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิญฺญาปน ลกฺขณํ มีการแสดงให้รู้ซึ่งความหมาย เป็นลักษณะ
อธิปฺปายปกาสน รสํ มีการแสดงซึ่งความหมาย เป็นกิจ
กายวิปฺผนฺทนเหตุภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไหวกาย เป็นผล
จิตฺตสมุฏฺฐานวาโยธาตุ ปทฏฺฐานํ มีวาโยธาตุของจิตตสมุฏฐาน เป็นเหตุใกล้


๒๑. วจีวิญญัตติรูป

วจีวิญญัตติรูป จำแนกได้ ๒ คือ
(๑) โพธนวจีวิญฺญตฺติ ได้แก่ การกล่าววาจา โดยจงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่น ตะโกนเรียก การเรียกชื่อกัน การบอกเล่า การสนทนากัน เป็นต้น
(๒) ปวตฺตนวจีวิญฺญตฺติ ได้แก่ การกล่าววาจา โดยไม่ได้จงใจจะให้เป็น ความหมายแก่ผู้ใด เช่น เปล่งเสียงออกมาเวลาตกใจ การไอ การจาม เป็นต้น แม้ว่าจะไม่เจาะจงให้ใครรู้ ไม่เจาะจงให้เป็นความหมาย แต่ผู้อื่นก็รู้ว่าเป็นเสียงตกใจ เสียงไอ เสียงจาม

วจีวิญญัตติรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิญฺญาปน ลกฺขณํ มีการแสดงให้รู้ซึ่งความหมาย เป็นลักษณะ
อธิปฺปายปกาสน รสํ มีการแสดงซึ่งความหมาย เป็นกิจ
วจีโฆสเหตุภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการกล่าววาจา เป็นผล
จิตฺตสมุฏฺฐานปฐวีธาตุ ปทฏฺฐานํ มีปฐวีธาตุของจิตตสมุฏฐานเป็น เหตุใกล้


หน้า ๔๘

 

ประเภทที่ ๑๐ วิการรูป

วิการรูป คือรูปที่แสดงอาการพิเศษของนิปผันนรูปให้ปรากฏมี ๓ รูป ได้แก่ รูปัสสลหุตา ๑ รูปัสสมุทุตา ๑ และ รูปัสสกัมมัญญตา ๑ แต่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ลหุตารูป(ความเบาของรูป), มุทุตารูป(ความอ่อนของรูป), กัมมัญญตารูป(การควรของรูป)

วิเสสา อาการา วิการาฯ แปลว่า อาการพิเศษของรูป เรียกว่า วิการรูป
วิการรูปนี้ บางทีก็นับว่ามี ๕ รูป โดยนับกายวิญญัตติรูป และวจีวิญญัตติรูป รวมเข้าไปอีกด้วย


หน้า ๔๙

๒๒. ลหุตารูป

ลหุตารูป ได้แก่ รูปที่เป็นความเบาของนิปผันนรูป หรืออาการเบาของนิปผันนรูป

ลหุตารูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อทนฺธตา ลกฺขณา มีความเบา เป็นลักษณะ
รูปานํ ครุภาววิโนทน รสา มีการทำลายความหนักของรูป เป็นกิจ
ลหุปริวตฺติตา ปจฺจุปฏฺฐานา มีการทำให้ว่องไว เป็นผล
ลหุรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่เบา เป็นเหตุใกล้


๒๓. มุทุตารูป

มุทุตารูป ได้แก่ รูปที่เป็นความอ่อนของนิปผันนรูป หรือ อาการอ่อนของ นิปผันนรูป

มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อถทฺธตา ลกฺขณา มีความอ่อน เป็นลักษณะ
รูปานํ ตทฺธวิโนทน รสา มีการทำลายความกระด้างของรูป เป็นกิจ
สพฺพกริยาสุ อวิโรธิตา ปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่ขัดแย้งต่อกิจทั่วไป เป็นผล
มุทุรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่อ่อน เป็นเหตุใกล้


๒๔. กัมมัญญตารูป

กัมมัญญตารูป ได้แก่ รูปที่เป็นความควรของนิปผันนรูป หรืออาการควร ของนิปผันนรูป

มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กมฺมญฺญภาว ลกฺขณา มีการควร เป็นลักษณะ
อกมฺมญฺญตา วิโนทน รสา มีการทำลายการไม่ควร เป็นกิจ
อทุพฺพลภาว ปจฺจุปฏฺฐานา มีการทรงไว้ซึ่งพลัง เป็นผล
กมฺมญฺญรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่ควร เป็นเหตุใกล้

วิการรูปทั้ง ๓ ดังกล่าวแล้ว มีความสัมพันธ์กันกับวิญญัตติรูป ๒ ก็ได้ ไม่ สัมพันธ์กับวิญญัตติรูป ๒ ก็ได้ คือ เกิดพร้อมกันก็ได้ ไม่เกิดพร้อมกันก็ได้
ถ้าวิญญัตติรูป เกิดพร้อมกับวิการรูป วิญญัตติรูปนั้นก็จะมีความเบา ความ อ่อน ความควรแก่การงานก็จะเกิดขึ้นทันที กล่าวคือ การเคลื่อนไหวทางร่างกายก็ จะรู้สึกเบา อ่อนโยน คล่องแคล่ว ควรแก่การงาน การเคลื่อนไหวทางวาจา เช่น การพูด การบรรยาย ก็จะมีความเบา ความอ่อนโยน ความคล่องแคล่ว ควรแก่ การงานเกิดขึ้นทันที เพราะฉะนั้น วิการรูปจึงมี ๓ หรือ ๕ คือ
๑. ลหุตารูป ๒. มุทุตารูป ๓. กัมมัญญตารูป ๔. วิการรูปที่เกิด พร้อมกับกายวิญญัตติ ๕. วิการรูปที่เกิดพร้อมกับวจีวิญญัตติ และทั้งวิญญัตติรูป ๒ กับวิการรูป ๓ ก็อาศัยนิปผันนรูป

หรือเป็นอาการ ของนิปผันนรูปนั่นเอง คือถ้าไม่มีนิปผันนรูป วิญญัตติรูป และวิการรูปก็มีไม่ได้
วิการรูป รูปที่แสดงอาการ คือ ความเปลี่ยนแปลงเป็นพิเศษรวม ๓ รูปนี้ ต้องเกิดมีขึ้นแก่สิ่งมีชีวิตเท่านั้น สิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีวิการรูป วิการรูปนี้ เมื่อเกิดก็ เกิดร่วมกันพร้อมกันทั้ง ๓ รูป แต่อาจจะยิ่งหรือหย่อนกว่ากันได้

 

ประเภทที่ ๑๑ ลักขณรูป

ลักขณรูป คือ รูปที่แสดงความเกิดขึ้นให้ปรากฏ รูปที่แสดงความเจริญให้ ปรากฏ รูปที่แสดงความเสื่อมให้ปรากฏ รูปที่แสดงความดับไปให้ปรากฏ มี ๔ รูป คือ

(๑) รูปัสสอุปจย แปลว่า ความเกิดขึ้นของรูป
(๒) รูปัสสสันตติ แปลว่า ความเจริญของรูป
(๓) รูปัสสชรตา แปลว่า ความเสื่อมของรูป
(๔) รูปัสสอนิจจตา แปลว่า ความแตกดับของรูป
ทั้ง ๔ รูป ดังกล่าวชื่อว่า ลักขณรูป คือ รูปที่มีกาลเวลาเป็นที่กำหนดในการ ชี้ขาด
ธรรมทั้งหลายอันบัณฑิตกำหนดรู้ได้ว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นสังขตะด้วยอาศัย รูปนี้ ฉะนั้นรูปที่เป็นเหตุแห่งการกำหนดรู้ได้นั้น ชื่อว่า ลักขณะ

 
สังขตธรรมมี ๓ คือ จิต เจตสิก และ รูป ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ คือ ๑. กรรม ๒. จิต ๓. อุตุ ๔. อาหาร
ในเมื่อจิต เจตสิก และรูป ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ดังนี้ ก็จะปรากฏให้รู้ ได้ว่า

๑. จิต ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
๒. เจตสิก ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
๓. รูป ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ความที่ปรากฏให้รู้ได้ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่แหละ เรียกว่า ลักขณะ หรือลักษณะ และลักขณะนี้จะมีอยู่ในจิต เจตสิก รูป เท่านั้น


๒๕. อุปจยรูป

อุปจยรูป คือ รูปที่เกิดครั้งแรก หรือรูปที่มีขึ้นครั้งแรก ปรากฏขึ้นครั้งแรก ของนิปผันนรูปนั่นเอง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อาจย ลกฺขโณ มีการแรกเกิด เป็นลักษณะ
รูปานํ อุมฺมชฺชาปน รโส มีการทำให้บรรดารูปได้เกิด เป็นกิจ
ปริปุณฺณภาว ปจฺจุปฏฺฐาโน มีสภาพที่บริบูรณ์ของรูป เป็นผล
อุปจิตรูป ปทฏฺฐาโน มีรูปที่กำลังจะเกิด เป็นเหตุใกล้


หน้า ๕๑

๒๖. สันตติรูป

สันตติรูป คือ รูปที่เกิดสืบต่อกันกับอุปจยรูป หรือ รูปที่มีต่อ สืบต่อจาก อุปจยรูปของนิปผันนรูป นั่นเอง
ความเกิดขึ้นสืบต่อกันของนิปผันนรูป ชื่อว่า สันตติ กล่าวคือ เมื่อรูปนั้น ๆ เกิดขึ้นครั้งแรกแล้ว รูปที่เกิดสืบต่อจากรูปที่เกิดครั้งแรกนั่นเอง เรียกว่า สันตติรูป

สันตติรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปวตฺติ ลกฺขณา มีการเจริญอยู่ เป็นลักษณะ
อนุปฺปพนฺธน รสา มีการสืบต่อ เป็นกิจ
อนุปจฺเฉท ปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่ขาดจากกัน เป็นผล
อนุปพนฺธกรรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่ยังให้ต่อเนื่องกัน เป็นเหตุใกล้


๒๗. ชรตารูป

ชรตารูป คือ รูปที่เป็นความแก่ของนิปผันนรูป หรือรูปที่กำลังเสื่อมไปของ นิปผันนรูป ภาวะแห่งความแก่ของนิปผันนรูป ชื่อว่า ชรตา

ชรตารูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

รูปปริปาก ลกฺขณา มีการเสื่อมของรูป เป็นลักษณะ
อุปนยน รสา มีการนำไปซึ่งความเสื่อม เป็นกิจ
นวภาวาปคมน ปจฺจุปฏฺฐานา มีสภาพที่ไม่เกิดใหม่ เป็นผล
ปริปจฺจมานรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่เสื่อม เป็นเหตุใกล้


๒๘. อนิจจตารูป

อนิจจตารูป คือ รูปที่ดับไป หรือรูปที่หมดไปของนิปผันนรูป ความดับของนิปผันนรูป ชื่อว่า อนิจจตา

อนิจจตารูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปริเภท ลกฺขณา มีการเสื่อม เป็นลักษณะ
สํสีทน รสา มีการจมดิ่ง เป็นกิจ
ขยวย ปจฺจุปฏฺฐานา มีการสูญหาย เป็นผล
ปริภิชฺชมานรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่แตกดับ เป็นเหตุใกล้


หน้า ๕๒

อุปจยรูป คือ รูปที่เกิดขึ้นเป็นขณะแรก หรือ การสั่งสมรูปเป็นปฐมใน ปฏิสนธิกาล
สันตติรูป คือ รูปที่เจริญหรือขยายตัว เป็นการสืบต่อแห่งรูป
รูปทั้ง ๒ คือ อุปจยรูป และสันตติรูปนี้ มีชื่ออีกนัยหนึ่งว่าชาติรูป หรือ อุปปาทะรูป
ชรตารูป
คือ รูปที่เสื่อม ทรุดโทรม คร่ำคร่าแก่ มีชื่ออีกนัยหนึ่งว่า ชรารูป หรือ ฐีติรูป
อนิจจตารูป
คือ รูปที่แตกดับสูญสิ้นไป มีชื่ออีกนัยหนึ่งว่า มรณรูป หรือ ภังครูป


นัยที่ ๒ รูปวิภาค

รูปวิภาคนัย เป็นการแสดงรูปธรรมโดยละเอียดพิสดารกว้างขวางออกไปอีก เพื่อให้ทราบว่ารูปธรรมทั้ง ๒๘ รูปนั้น จัดเป็นส่วน ๆ ก็ได้


หน้า ๕๓

คือ จัดว่ามีส่วนเดียว ก็ได้ หรือจัดแยกเป็น ๒ ส่วน ๒ อย่างก็ได้ ดังมีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๕ แสดงไว้ว่า


๕. อิจฺเจวมฏสวิสติ วิธมฺปิ จ วิจกขนา
อชฺฌตฺติกาทิเภเทน วิภชฺชนติ ยถารหํ ฯ


แปลความว่า บัณฑิตผู้เห็นประจักษ์ ย่อมจำแนกรูป แม้ทั้ง ๒๘ รูป ออกไปโดยประเภท มีอัชฌัตติกรูป เป็นต้น ตามควรอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้

อธิบาย

ในรูปวิภาคนัยนี้ แสดงเป็น ๒ มาติกา (มาติกา=แม่บท) คือ
ก. เอกมาติกา แม่บทเดียว หมายความว่า รูปธรรมทั้ง ๒๘ รูปนี้มี ความหมายรวมเป็นอย่างเดียวกัน
ข. ทุกมาติกา แม่บทคู่ หมายความว่า รูปธรรมทั้ง ๒๘ มีความหมาย ต่างกัน เป็นคู่ ๆ เป็น ๒ ส่วน


หน้า ๕๔

 

เอกมาติกา

คำว่า เอกมาติกา หมายความว่า รูป ๒๘ มีบทเดียว มีอย่างเดียว มีประเภทเดียว มีชื่อเดียว เป็นประเภทเดียวกัน มีชื่อรวมเรียกได้ ดังนี้

๑. เป็น อเหตุกรูป เป็นรูปที่ไม่มีเหตุ คือ ไม่มีสัมปยุตตเหตุ หมายความว่า รูปทั้ง ๒๘ ไม่มีเหตุ ๖ มาประกอบด้วยเลย (โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ) ส่วนรูปที่มีเหตุ ๖ คือ สเหตุกรูป นั้นไม่มี
๒. เป็น สปัจจยรูป เป็นรูปที่มีปัจจัย คือ มีสิ่งที่อุปการะเกื้อหนุน จึงทำให้ รูปเกิดได้ ปัจจัยหรือสิ่งที่อุปการะอุดหนุนให้เกิดรูปนั้น ได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนรูปที่ไม่มีปัจจัยอุปการะให้เกิด คือ อปัจจยรูป นั้นไม่มีเลย
๓. เป็น สาสวรูป เป็นรูปที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ (คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ) ได้ทั้ง ๒๘ รูป
๔. เป็น สังขตรูป เป็นรูปที่ปรุงแต่งมาจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนรูปที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ปรุงแต่งมาจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร คือ อสังขต รูป นั้นไม่มี
๕. เป็น โลกียรูป เป็นรูปที่เนื่องด้วยโลกียธรรม อันจะต้องแตกดับอยู่เสมอ


หน้า ๕๕

ส่วนรูปที่ไม่แตกดับ พ้นจากการแตกดับ คือ โลกุตตรรูป นั้นไม่มี
๖. เป็น กามาวจร เป็นรูปที่เป็นอารมณ์ของกามจิต
ส่วนรูปที่เป็นอารมณ์ของมหัคคตจิต หรือโลกุตตรจิตนั้นไม่มี เพราะมหัคคต จิตมีบัญญัติและมีจิตเป็นอารมณ์ โลกุตตรจิต ก็มีนิพพานเป็นอารมณ์
๗. เป็น อนารัมมณ เป็นรูปที่ไม่สามารถรู้อารมณ์ได้เหมือนจิตและเจตสิก ส่วนรูปที่สามารถรู้อารมณ์ได้ คือสารัมมณ นั้นไม่มี
๘. เป็น อัปปหาตัพพ เป็นรูปที่ไม่พึงละ ไม่พึงประหาร เพราะรูปเป็นธรรม ที่ปราศจากเหตุอันจะยังให้เกิดความดี หรือความชั่ว
ส่วนรูปที่พึงละพึงประหาร คือ ปหาตัพพะ นั้นไม่มี
ตามที่กล่าวมา (ทั้ง ๘ ข้อ) แล้วนี้ จะเห็นได้ชัดแจ้งว่า รูปทั้ง ๒๘ นั้น มี ประเภทเดียว มีส่วนเดียว มีแม่บทเดียว เพราะไม่มีประเภทที่ตรงกันข้ามเลย จึงได้ชื่อว่า เอกมาติกา แสดงรูปโดยแม่บทเดียว


ทุกมาติกา

ในจำนวนรูป ๒๘ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น สามารถจำแนกได้เป็นคู่ ๆ คือ มีนัย ตรงกันข้ามได้ถึง ๑๑ คู่ ดังนี้


หน้า ๕๖

คู่ที่ ๑ อัชฌัตติกรูป กับ พาหิรรูป

อัชฌัตติกรูป แปลว่า รูปภายใน องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕ ไม่ได้หมายถึงส่วนในของรูป แต่หมายถึงความสำคัญ ในการทำหน้าที่เป็นสื่อเชื่อมโยงให้เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ถ้าหากว่าขาดปสาทรูปเสียแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีรูปร่าง ทั้งหลาย ก็จะเหมือนกับท่อนไม้ ไม่สามารถจะรู้และทำอะไรๆ ได้ ปสาทรูปจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก เปรียบเหมือน กับคนที่มีประโยชน์ช่วยเหลือกิจการต่างๆ ได้มาก ก็เรียกคนเหล่านั้นว่าเป็นคนภายใน
พาหิรรูป แปลว่า รูปภายนอก องค์ธรรมได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๓ การจัดว่าเป็นรูปภายใน เป็นรูปภายนอกนั้น ไม่ได้หมายถึง อยู่ในร่างกายหรือ นอกร่างกาย แต่มุ่งหมายถึงรูปที่มีความสำคัญ แต่ละรูปที่มีบทบาทในการเชื่อมโยง ให้เกิดการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส และการสัมผัสกับอารมณ์ทางกายปสาทมาก เปรียบได้กับคนภายนอก ช่วยเหลือการงาน ไม่ได้มากเท่ากับคนภายใน


 

คู่ที่ ๒ วัตถุรูป กับ อวัตถุรูป

วัตถุรูป หมายถึงรูปอันเป็นที่อาศัยเกิดขึ้นของจิตและเจตสิก องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕ หทยรูป ๑
ปสาทรูป ๕ เป็นที่อาศัยเกิดของทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และเจตสิก ๗
หทยรูป ๑ เป็นที่อาศัยเกิดของจิต ๗๕ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ อรูปาวจรวิบากจิต ๔) และ เจตสิก ๕๒ ส่วนรูปที่เหลืออีก ๒๒ รูปนั้น ไม่ใช่เป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อวัตถุรูป


หน้า ๕๘

คู่ที่ ๓ ทวารรูป กับ อทวารรูป

ทวารรูป แปลว่า รูปที่เป็นประตูหรือเป็นทางให้เกิดการรู้อารมณ์ของจิต เป็น ทางให้เกิดกายกรรม และวจีกรรม องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕ วิญญัตติรูป ๒

ปสาทรูป ๕ เป็นประตู หรือเป็นทางรู้อารมณ์ของปัญจทวารวิถี คือจิตเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส และกระบวนการของจิต ที่เกี่ยวข้องกับการเห็น เป็นต้น อาศัยปสาทรูปทั้ง ๕ นี้ เป็นทางรู้อารมณ์ จึงเรียกว่า ปัญจทวารวิถี 

วิญญัตติรูป ๒ คือกายวิญญัตติ ได้แก่การเคลื่อนไหวทางกาย และวจีวิญญัตติ ได้แก่ การเคลื่อนไหวทางวจี คือ พูดนั้นเป็นประตู หรือเป็นทางให้เกิด กุสลกรรม อกุสลกรรม
ส่วนรูปที่เหลือ ๒๑ รูปนั้น ไม่เป็นประตู หรือทางให้เกิดการรู้อารมณ์ของจิต และไม่เป็นประตู หรือทางให้เกิดกุสล อกุสล จึงมีชื่อเรียกว่า อทวารรูป


คู่ที่ ๔ อินทรียรูป กับ อนินทรียรูป

อินทรียรูป แปลว่า รูปที่ครองความเป็นใหญ่ ในหน้าที่ของตน คือไม่มีรูปใด จะมาเป็นใหญ่แทนได้ จึงเรียกรูปนั้นว่า
เป็นอินทรียรูป องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑ รวม ๘ รูป


หน้า ๕๙

ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุปสาทก็เป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ โสตปสาทเป็น ใหญ่ในการรับสัททารมณ์ ต่างคนต่างเป็นใหญ่ และเป็นใหญ่แทนกันไม่ได้ เช่น จักขุปสาทจะมาเป็นใหญ่ ทำหน้าที่ได้ยินแทนโสตปสาทนั้นไม่ได้ ฆานปสาท ชิวหาปสาท และกายปสาท ก็เช่นเดียวกัน
ภาวรูป ๒ คือ อิตถีภาวรูป ก็ครองความเป็นใหญ่ในการแสดงออกเป็นเพศ หญิง ปุริสภาวรูป ก็ครองความเป็นใหญ่ในการแสดงออกเป็นเพศชาย
ชีวิตรูป ก็ครองความเป็นใหญ่ในการรักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม ไม่มีรูปอื่น ทำหน้าที่นี้ได้
ส่วนรูปที่เหลือ ๒๐ รูป ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นใหญ่ ไม่ได้ทำหน้าที่ครองความ เป็นใหญ่ ในหน้าที่ของตน จึงเรียกว่า อนินทรียรูป


คู่ที่ ๕ โอฬาริกรูป กับ สุขุมรูป

โอฬาริกรูป เป็นรูปที่หยาบ คำว่า หยาบ ที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ความหยาบของ รูป แต่หมายความว่า เมื่อพิจารณารูปเหล่านี้แล้ว ก็ปรากฏได้ชัดแจ้ง เปรียบเหมือน ของที่ใหญ่ ที่หยาบ ก็เห็นได้ชัดเจนฉะนั้น


หน้า ๖๐

โอฬาริกรูป ได้แก่ ปสาทรูป ๕ วิสยรูป ๗ รวม ๑๒ รูป
วิสยรูป ๗ ได้แก่ วัณณะ สัททะ คันธะ รสะ ปฐวี เตโช วาโย ซึ่งรูปเหล่านี้ เพียงแต่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส หรือถูกต้องทางปัญจทวารเท่านั้น ก็สามารถจะ รู้ได้ชัดแจ้งจนถึงให้เกิดปัญญาญาณได้
ปสาทรูป ๕ ก็เป็นทางและเป็นวัตถุสำหรับรับวิสยรูป ๗ เมื่อวิสยรูปเป็น โอฬาริกรูป ปสาทรูปที่เป็นรูปรับวิสยรูปนั้นก็จัดเป็นโอฬาริกรูปด้วย เพราะเป็นรูป ที่ทำกิจการร่วมกันเนื่องกัน และให้เกิดผลอย่างเดียวกัน ส่วนรูปที่เหลืออีก ๑๖ รูป เป็นรูปที่ละเอียด ไม่สามารถจะรู้ได้ทางปัญจทวาร จึงได้ชื่อว่าเป็น สุขุมรูป เพราะจะรู้ได้ทางมโนทวารเท่านั้น


คู่ที่ ๖ สันติเกรูป กับ ทุเรรูป

สันติเกรูป แปลว่า รูปใกล้ คือ เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาแล้วเห็นได้ง่าย หรือใกล้ต่อความเข้าใจ องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕ วิสยรูป ๗ รวม ๑๒ รูป ที่เป็นโอฬาริกรูปนั้นแหละ ได้ชื่อว่า สันติเกรูป ด้วย
สันติเกรูป หมายถึง รูปที่พิจารณาด้วยปัญญาแล้วรู้ได้ง่าย ที่รู้ง่ายเพราะรูป เหล่านี้เป็นรูปใกล้ เป็นรูปที่เกิดขึ้นเสมอมิได้ขาด เป็นรูปที่ให้เกิด การเห็น การได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส หรือสัมผัสถูกต้องอยู่เป็นเนืองนิจมิได้ว่างเว้น ของใกล้ที่เกิดบ่อย เมื่อพิจารณาก็ย่อมจะรู้ได้ง่าย เพราะมี


หน้า ๖๑

โอกาสพิจารณาได้บ่อย ๆ จะใช้พิจารณา เมื่อใดก็ได้เมื่อนั้น เปรียบเหมือนของที่อยู่ใกล้ จะใช้เมื่อใดก็หยิบได้ง่ายหยิบได้ทันที ดังนั้นสันติเกรูป จึงมีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า รูปใกล้
ส่วนรูปที่เหลืออีก ๑๖ รูป ชื่อว่า ทุเรรูป หรือรูปไกล เพราะเมื่อพิจารณา ด้วยปัญญาแล้วเห็นได้ยาก รู้ได้ยาก องค์ธรรมได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖ รูป


คู่ที่ ๗ สัปปฏิฆรูป กับ อัปปฏิฆรูป

สัปปฏิฆรูป แปลว่า รูปที่กระทบกันได้ องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕ วิสย รูป ๗ รวม ๑๒ รูป ที่ชื่อว่า โอฬาริกรูป และชื่อว่า สันติเกรูป นั่นแหละได้ชื่อว่า สัปปฏิฆรูปด้วย
สัปปฏิฆรูป เป็นรูปที่กระทบกันได้ หมายความว่าปสาทรูป ๕ กับวิสยรูป ๗ กระทบกันได้ เมื่อกระทบกันแล้ว ก็สามารถทำให้เกิด ทวิปัญจวิญญาณ แต่การกระทบกันก็ต้องเป็นคู่ ๆ โดยเฉพาะ ไม่ก้าวก่ายสับสนกัน คือ จักขุปสาทกับวัณณะ โสตปสาทกับสัททะ ฆานปสาทกับคันธะ ชิวหาปสาทกับรสะ และกายปสาทกับ ปฐวี เตโช วาโย
ส่วนรูปที่เหลืออีก ๑๖ รูปนั้น ชื่อว่า อัปปฏิฆรูป แปลว่า กระทบกันไม่ได้ หรือรูปที่กระทบซึ่งกันและกันไม่ได้ องค์ธรรมได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖ รูป


คู่ที่ ๘ อุปาทินนกรูป กับ อนุปาทินนกรูป

อุปาทินนกรูป แปลว่ารูปที่เป็นผลอันเกิดจากกรรม มีกุสลกรรม อกุสลกรรม เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕, ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, และ อวินิพโภครูป ๘ (อวินิพโภครูป ๘ มี มหาภูตรูป ๔, วัณณรูป ๑, คันธะรูป ๑, รสรูป ๑, โอชะรูป ๑) รวม ๑๘ รูป
ปสาทรูป ๕, ภาวะรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อวินิพโภครูป ๘ ทั้งหมดนี้เรียกว่า อุปาทินนกรูป หรือ กัมมชรูป ๑๘ ก็ได้ (กัมมชรูป=รูปที่เกิดจากกรรม)


หน้า ๖๒

ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ จึงได้ประกอบกรรมมาแล้วแต่อดีตกาล ซึ่งมี ชื่อเรียกว่า สังขาร นั่นแหละ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดกัมมชรูปในภพนี้ชาตินี้ คือ เกิดมี อุปาทินนกรูปขึ้น
และด้วยอำนาจแห่งตัณหาทิฏฐิ จึงทำให้ประกอบกรรมในปัจจุบัน อันมีชื่อว่า กัมมภพ จะส่งผลให้เกิด กัมมชรูป คือ อุปาทินนกรูปขึ้นในชาติหน้าต่อไปอีก ทำให้วนเวียนอยู่ไม่มีที่สิ้นสุด
ส่วนรูปที่เหลืออีก ๑๐ คือ สัททรูป ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓ และ ลักขณรูป ๔ นั้นเรียกว่า อนุปาทินนกรูป เป็นรูปที่ไม่ได้เกิดจากกุสลกรรม หรือ อกุสลกรรม หรือรูปที่ไม่ได้เป็นผลของกุสลกรรม หรืออกุสลกรรม
อนึ่ง เนื่องจากว่า อุปาทินนกรูป ก็คือ กัมมชรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรม จึงจะขอกล่าวเสียในที่นี้ด้วยว่า จิตตชรูป เป็นรูปที่เกิดจากจิตก็ดี อุตุชรูป เป็นรูปที่เกิดจากอุตุก็ดี อาหารชรูป เป็นรุปที่เกิดจากอาหารก็ดี เรียกว่า อกัมมชรูป คือรูปที่ไม่ใชเกิดจากกรรม


คู่ที่ ๙ สนิทัสสนรูป กับ อนิทัสสนรูป

สนิทัสสนรูป แปลว่า รูปที่เห็นด้วยตาได้ มองเห็นด้วยสายตาได้ องค์ธรรม ได้แก่ วัณณะรูป หรือ รูปารมณ์ คือ สี หรือ วัณณะรูป รูปเดียวเท่านั้น เป็นรูปที่ เห็นด้วยนัยน์ตา เห็นโดยทางจักขุปสาทได้
ส่วนรูปที่เหลืออีก ๒๗ รูป นั้น เห็นด้วยตา หรือมองเห็นด้วยตาไม่ได้ หรือ เห็นโดยทางจักขุปสาทไม่ได้ จึงเรียกว่า อนิทัสสนรูป


หน้า ๖๓

คู่ที่ ๑๐ โคจรคาหิกรูป กับ อโคจรคาหิกรูป

โคจรคาหิกรูป บางแห่งเรียก โคจรัคคาหิกรูป บางแห่งเรียก โคจรัคคหกรูป ในที่นี้เขียนว่า โคจรคาหิกรูป แปลว่า รูปที่รับปัญจารมณ์ได้ องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕
โคจรคาหิกรูป คือ รูปที่รับปัญจารมณ์ได้ ได้แก่ ปสาทรูป ๕ รูปเท่านั้น เพราะปสาทรูป ๕ นี้ มีความใส มีความสามารถในการรับปัญจารมณ์ได้

จักขุปสาทรูป สามารถรับ รูปารมณ์ ทำให้เกิดการ เห็น
โสตปสาทรูป สามารถรับ สัททารมณ์ ทำให้เกิดการ ได้ยิน
ฆานปสาทรูป สามารถรับ คันธารมณ์ ทำให้เกิดการ รู้กลิ่น
ชิวหาปสาทรูป สามารถรับ รสารมณ์ ทำให้เกิดการ รู้รส
กายปสาทรูป สามารถรับ โผฏฐัพพารมณ์ ทำให้เกิดการ รู้สัมผัส

ส่วนรูปที่เหลือ เป็นรูปที่รับปัญจารมณ์ไม่ได้ จึงมีชื่อเรียกว่า อโคจรคาหิกรูป แปลว่า รูปที่รับปัญจารมณ์ไม่ได้ องค์ธรรมได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๓
อนึ่ง โคจรคาหิกรูป คือ ปสาทรูปทั้ง ๕ ที่มีความใส ความสามารถรับ ปัญจารมณ์ได้นั้น ยังจำแนกได้ ๒ อย่าง คือ


๑. อสัมปัตตโคจรคาหิกรูป หมายความว่า เป็นรูปที่สามารถรับอารมณ์ที่ ยังไม่มาถึงตนได้ มี ๒ รูป ได้แก่ จักขุปสาทรูป และโสตปสาทรูป
๒. สัมปัตตโคจรคาหิกรูป หมายความว่า เป็นรูปที่สามารถรับได้แต่อารมณ์ ที่มาถึงตน มี ๓ รูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป และกายปสาทรูป
มีคำอธิบายว่า จักขุปสาทรูป รับรูปารมณ์ที่ยังมาไม่ถึงตน จึงจะทำให้เกิดการ เห็นได้ ถ้ารูปารมณ์นั้นมาถึงจักขุปสาทรูปเสียแล้ว รูปนั้นก็จะมาปิดความใสเสีย จึงไม่สามารถรับได้ คือ ไม่เกิดการเห็น เช่น ยกมือมาจนถึงนัยน์ตา ก็จะไม่เห็นเลย
โสตปสาทรูป ก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นเสียงที่อยู่ในระยะที่พอเหมาะแก่ โสตปสาทรูปจะรับได้ จึงจะเกิดการได้ยิน ถ้าเสียงนั้นถึงโสตปสาทรูปเสียทีเดียวแล้ว ก็รับไม่ได้ ไม่ทำให้เกิดการได้ยิน เช่น ถ้าจะเอาอะไรเคาะที่โสตปสาทรูป ก็จะไม่ได้ ยินเสียง แต่จะเจ็บไปเท่านั้นเอง
ส่วนฆานปสาทรูป ต้องมีกลิ่น คือไอระเหยนั้นมาถึงตน จึงจะรับได้ ทำให้เกิดรู้ว่ากลิ่นนั้นเหม็นหรือหอม ถ้าไอระเหยนั้นไม่ลอยมาถึงฆานปสาทรูปแล้ว ก็จะไม่รู้ว่าเหม็นหรือหอมเลย เช่น สุนัขเน่าลอยน้ำมา แม้แต่จะไกลสักหน่อย ก็จะแลเห็น แต่ไม่ได้กลิ่น เพราะกลิ่นนั้นลอยลมมาไม่ถึงฆานปสาทรูป


หน้า ๖๕

ชิวหาปสาทรูป ก็ต้องมีรสมาถึงลิ้นจึงจะรู้ ถ้าไม่ถึงเป็นไม่รู้ เช่น ไม่นำมาแตะ ลิ้น ก็ไม่รู้ว่าเปรี้ยวหรือหวาน ต่อเมื่อแตะถูกลิ้น จึงรู้ว่าหวานเป็นก้อนน้ำตาลกรวด ถ้าแตะที่ลิ้นรู้ว่าเปรี้ยวเป็นก้อนสารส้ม
กายปสาทรูป ก็เช่นเดียวกัน ต่อเมื่อสัมผัสถูกต้องแล้ว จึงจะรู้ว่าแข็งหรืออ่อน ร้อนหรือเย็น ถ้าไม่สัมผัสถูก ก็เป็นเพียงแต่นึกรู้เอาตามสัญญาที่จำได้ ไม่ใช่รู้ทาง กายปสาทรูป


คู่ที่ ๑๑ อวินิพโภครูป กับ วินิพโภครูป

อวินิพโภครูป แปลว่า รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้ องค์ธรรมได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณณะ คันธะ รสะ และโอชา (คืออาหารรูป) รวม ๘ รูป
อวินิพโภครูป เป็นรูปที่แยกออกจากกันไม่ได้ หมายความว่าในบรรดารูป ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่ว่ารูปหนึ่งรูปใดก็ตาม รูปนั้นอย่างน้อยต้องมีอวินิพโภครูป ทั้ง ๘ อยู่เสมออย่างแน่นอน ขึ้นชื่อว่ารูปแล้ว จะมีรูปธรรมน้อยกว่า ๘ รูป ที่มีชื่อว่า อวินิพโภครูปนี้ไม่มีเลย จะต้องเกิดร่วมกัน อยู่ด้วยกันทั้ง ๘ นี้ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ จะแตกแยกต่างรูปต่างเกิด ต่างรูป ต่างอยู่เป็นไม่มีเลย ดังนั้นจึงว่า เป็นรูปที่แตกแยกกันไม่ได้


หน้า ๖๖

ส่วนรูปที่เหลืออีก ๒๐ รูปนั้น เป็นรูปที่แยกจากกันได้ ไม่จำต้องเกิดร่วมกัน ไม่จำต้องอยู่ร่วมกันก็ได้ ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า วินิพโภครูป
แต่อย่างไรก็ตาม วินิพโภครูปนี้แม้จะแยกกันเกิด แยกกันอยู่ เป็นรูปที่แยก จากกันได้ก็จริง แต่ว่าเมื่อเกิดก็ต้องเกิดร่วมกับอวินิพโภครูป ๘ จะเกิดตามลำพัง เฉพาะแต่วินิพโภครูปนั้นไม่มี


นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐาน

รูปสมุฏฐาน คือ สมุฏฐานที่ให้เกิดรูป หรือ ปัจจัยที่ให้เกิดรูป หรือ สิ่งที่ให้ เกิดรูป รูปสมุฏฐาน มีคาถาสังคหะ เป็น คาถาที่ ๖ แสดงว่า


๖. อฏฐารส ปณฺณรส เตรส ทฺวาทสาติ จ
กมฺมจิตโตตุกาหาร ชานิ โหนฺติ ยถากฺกมํ ฯ


แปลความว่า รูปย่อมเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร มีจำนวน ๑๘ , ๑๕ , ๑๓ และ ๑๒ ด้วย ตามลำดับ

เป็นการเรียนรู้ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดรูป ว่ารูปแต่ละรูปที่ได้กล่าว มาแล้วนั้น มีปัจจัยอะไรทำให้เกิดขึ้นมาได้ คือ รู้รายละเอียดลึกลงไปอีกว่า รูปทั้ง ๒๘ นั้น เกิดมาจากอะไร มีสมุฏฐานอะไรทำให้เกิดขึ้นมาได้
รูปนั้นมีสมุฏฐานให้เกิด ๔ อย่าง คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร เท่ากับว่าร่างกายของคนเรา และสัตว์ทั้งหลายนั้น มีสมุฏฐานให้เกิดมา ๔ อย่าง เหมือนตัวเรายืนอยู่บนฐาน ๔ ฐาน คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร
ทั้ง ๔ ฐาน ดังกล่าวแล้ว ถ้าฐานใดฐานหนึ่งชำรุด ก็จะมีอาการผิดปกติ ไปทันที และถ้าฐานใดฐานหนึ่งหมดไป ก็จะตายทันที หรือดับไปทันที


หน้า ๖๗

เมื่อกล่าวโดยรูปนามแล้ว สมุฏฐานหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดรูปนั้นมีทั้งนามและ รูป คือ กรรมและจิตนี้เป็นนาม ก็เป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้ อุตุและอาหารอันเป็นรูป ก็เป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้
เมื่อกล่าวโดยกาลเวลาแล้ว กรรมที่เป็นสมุฏฐานหรือเป็นปัจจัยให้เกิดรูปนั้น เป็นกรรมในอดีต ส่วนจิต อุตุ และอาหาร ที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูปนั้นเป็นปัจจุบัน

เมื่อกล่าวโดยชื่อของสมุฏฐานแล้ว

กรรม ที่เป็น สมุฏฐาน ให้เกิดรูป ชื่อว่า กัมมสมุฏฐาน
จิต ที่เป็น สมุฏฐาน ให้เกิดรูป ชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน
อุตุ ที่เป็น สมุฏฐาน ให้เกิดรูป ชื่อว่า อุตุสมุฏฐาน
อาหาร ที่เป็น สมุฏฐาน ให้เกิดรูป ชื่อว่า อาหารสมุฏฐาน

เมื่อกล่าวโดยชื่อของรูปที่เกิดขึ้นจากสมุฏฐานนั้น ๆ แล้ว

รูปที่เกิดจาก กัมมสมุฏฐาน ชื่อว่า กัมมชรูป หรือกฏัตตารูป หรือกัมมสมุฏฐานิกรูป
รูปที่เกิดจาก จิตตสมุฏฐาน ชื่อว่า จิตตชรูป หรือ จิตตสมุฏฐานิกรูป
รูปที่เกิดจาก อุตุสมุฏฐาน ชื่อว่า อุตุชรูป หรือ อุตุสมุฏฐานิกรูป
รูปที่เกิดจาก อาหารสมุฏฐาน ชื่อว่า อาหารชรูป หรือ อาหารสมุฏฐานิกรูป


หน้า ๖๘

กัมมสมุฏฐาน

กรรมที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูปนั้นเรียกว่า กัมมสมุฏฐาน กรรม คือการกระทำ ที่เกี่ยวด้วย กาย วาจา และใจ
ถ้าเป็นไปในฝ่ายดีงาม ก็เรียกว่า กุสลกรรม ถ้าเป็นไปฝ่ายที่ไม่ดีไม่งามก็เรียกว่า อกุสลกรรม
กรรมที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป ก็เรียกว่า กัมมสมุฏฐาน และกรรมในที่นี้ หมายถึง เจตนาในจิต ๒๕ คือ เจตนาในอกุสลจิต ๑๒ เจตนาในมหากุสลจิตเจตนาในรูปาวจรกุสล ๕ ทั้ง ๒๕ นี้ เป็นกรรมที่ทำให้เกิดรูปได้
ส่วนเจตนาในอรูปาวจรกุสล ๔ เป็นกรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเจริญ กัมมัฏฐานชนิด รูปวิราคภาวนา คือปราศจากความยินดีในรูป ไม่ปรารถนาจะมีรูป ด้วยอานิสงส์แห่งรูปวิราคภาวนานั้น จึงทำให้ไม่เกิดกัมมชรูป ไปเกิดเป็นอรูปพรหม
ส่วนโลกุตตรกุสล ๔ (มัคคกรรม ๔) เป็นกรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเจริญ กัมมัฏฐาน ชนิดเห็นรูป-นาม เป็นไตรลักษณะ (วิปัสสนาภาวนา) อันเป็นกรรมที่ ทำลายภพ ทำลายชาติ กัมมชรูปนั่นแหละเป็นตัวภพ ตัวชาติ ฉะนั้นโลกุตตรกุสลกรรมทั้ง ๔ นี้ จึงไม่ทำให้กัมมชรูปเกิด

กัมมชรูป ๑๘ คือ รูปที่เกิดจากกรรม ได้แก่

ปสาทรูป ๕ (จักขุปสาทรูป, โสตปสาทรูป, ฆานปสาทรูป, ชิวหาปสาทรูป, กายปสาทรูป)
ภาวรูป ๒ (อิตถีภาวรูป, ปุริสภาวรูป)
หทยรูป ๑
ชีวิตรูป ๑

ปริจเฉทรูป ๑
อวินิพโภครูป ๘
(ปฐวี, อาโป, เตโช, วาโย, วัณณะ, คันธะ, รสะ, โอชา)

ทั้ง ๑๘ รูปนี้เป็นรูปที่เกิดจากกรรม อาจเกิดจากกุสลกรรม หรือ อกุสลกรรม ก็ได้ และกรรมในที่นี้ หมายเอาทั้งกรรมในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติ


หน้า ๖๙

การเกิดขึ้นของกัมมชรูป กัมมชรูปนี้ มีอยู่ในสัตว์ทั้งหลายที่มีรูปขันธ์ คือเกิดได้ในสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ (ปัญจโวการภูมิ
๒๖ ภูมิ) ได้แก่ เทวดา พรหม อสัญญสัตตพรหม มนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย เว้นอรูปภูมิ ๔ รวม ๒๗ ภูมิ
กัมมชรูป จะเริ่มเกิดตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นต้นมา และจะเกิดได้ทั้ง ๓ อนุขณะ คือ เกิดทั้งในอุปาทขณะ ฐีติขณะและภังคขณะของปฏิสนธิจิต เป็นต้นมา ต่อมาก็เกิดทุก ๆ ขณะย่อยหรืออนุขณะของจิตทุก ๆ ดวง
จนเมื่อใกล้จะตาย ตั้งแต่ฐีติขณะจิตดวงที่ ๑๗ ที่นับจากจุติจิตย้อนถอยหลัง ทวนมา กัมมชรูปใหม่ไม่เกิดอีก ส่วนกัมมชรูปที่เกิดขึ้นที่อุปาทขณะของจิตดวง ที่ ๑๗ นี้ ย่อมตั้งอยู่ได้จนถึงจุติจิต จึงจะครบอายุแล้วก็ดับลงไปพร้อมกับภังคขณะของจุติจิตพอดี

 
กัมมชรูป ๑๘ คือ ปสาทรูป ๕, ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, ปริจ เฉทรูป ๑, อวินิพโภครูป ๘ คือรูปที่เกิดจากกรรมโดยแน่นอน (เอกันตะ) นั้นมี ๙ รูป คือ ปสาทรูป ๕, ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑ ทั้ง ๙ รูปนี้ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม โดยสมุฏฐานเดียว
ส่วนที่เหลืออีก ๙ คือ อวินิพโภครูป ๘ และปริจเฉทรูป ๑ ไม่ได้เกิดจาก กรรม โดยสมุฏฐานเดียว มีสมุฏฐานอื่นร่วมด้วยเรียกว่า อะเนกันตะ คือไม่แน่นอน

 
ในตัวของคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ความเป็นหญิง ความเป็นชาย หัวใจ และชีวิต รวม ๙ นี้ เกิดได้แต่เฉพาะในร่างกายของสัตว์ ทั้งหลายเท่านั้น ในสิ่งที่ไม่มีชีวิตเกิดไม่ได้ ส่วนรูปที่เหลืออีก ๙ นั้น คือ อวินิพโภค รูป ๘ และปริจเฉทรูป ๑ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานไม่แน่นอน คือเกิดในร่างกาย ของสัตว์ทั้งหลายก็ได้ เกิดในสิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งหลายก็ได้


สรุป

ในตัวของคนและสัตว์ทั้งหลายมีรูปที่เกิดจากกรรม โดยส่วนเดียว มี ๙ คือ ตา ได้แก่ จักขุปสาท, หู ได้แก่ โสตปสาท, จมูก ได้แก่ ฆานปสาท, ลิ้น ได้แก่ ชิวหาปสาท, กาย ได้แก่ กายปสาท, ใจ ได้แก่ หทยวัตถุ, ความเป็นหญิง ได้แก่ อิตถีภาวะ, ความเป็นชาย ได้แก่ ปุริสภาวะ, ชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูป
ทั้งหมดนี้เราทำมา เราสร้างมา จะดีหรือไม่ดีจะไปโทษใครไม่ได้ ผู้สร้างคือ กุสล และอกุสล ใครทำกุสลไว้ก็ได้กัมมชรูปดี ใครทำอกุสลไว้ก็ได้กัมมชรูปที่ไม่ดี


จิตตสมุฏฐาน

จิตที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป เรียกว่า จิตตสมุฏฐาน จิตที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูปนี้ ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง เว้น
ก. ทวิปัญจวิญญาน ๑๐ เพราะเป็นจิตที่มีกำลังอ่อน จึงไม่สามารถทำให้ จิตตชรูปเกิดขึ้นได้ ทวิปัญจวิญญาณเป็นจิตที่ได้องค์ (คือ เหตุ ฌาน มัคค) ไม่ สมประกอบ จึงไม่สามารถทำให้จิตตชรูปเกิดได้


หน้า ๗๐

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ไม่มีองค์แห่งเหตุ หมายความว่าทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ นี้ ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือไม่มีเหตุ ๖ ประกอบอยู่ด้วยเลย แม้แต่เหตุเดียว
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ไม่มีองค์แห่งฌาน หมายความว่า ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ นี้ ไม่มีแม้แต่วิตก ซึ่งเป็นองค์ของฌานองค์แรก
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ไม่มีองค์แห่งมัคค หมายความว่า ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ นี้ ไม่เป็นทางนำไปสู่ทุคคติหรือสุคคติได้ เพราะไม่มีแม้แต่สังกัปปะ คือ วิตก อันเป็นองค์แห่งมัคค
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ จึงไม่สามารถทำให้จิตตชรูปเกิดได้ คือมีกำลังอ่อนไม่พอที่จะเป็นจิตตสมุฏฐานิกรูป หรือไม่พอให้เกิดจิตตชรูปได้

 
ข. อรูปาวจรวิบากจิต ๔ อันเป็นผลของอรูปาวจรกุสลซึ่งเจริญรูปวิราค ภาวนา คือ ปรารถนาจะไม่ให้มีรูปเพราะสำคัญว่ารูปนี้แหละเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ด้วย อำนาจแห่งการเจริญรูปวิราคภาวนา จึงได้รับผลเป็นอรูปาวจรวิบากจิต ไปปฏิสนธิ ในอรูปภูมิ อันเป็นภูมิที่ไม่มีรูปใด ๆ เลย รวมทั้งไม่มีจิตตชรูปด้วย ดังนั้นอรูปาวจร วิบากจิต ๔ จึงไม่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป

 
ค. ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งปวง ก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป เพราะเป็นจิต ที่เพิ่งเกิดเป็นขณะแรกในภพในชาตินั้น ๆ เพิ่งตั้งตัว ยังมีกำลังอ่อนอยู่ ไม่สามารถ ทำให้จิตตชรูปเกิดได้


ง. จุติจิตของพระอรหันต์ ก็ไม่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป เพราะจิตนี้ไม่เป็น ปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิตอีกเลย เป็นจิตที่ปราศจากกิเลสแล้ว เมื่อทำหน้าที่จุติ จึงไม่ ทำให้จิตตชรูปเกิดได้อีกต่อไป เพราะไม่ต้องการมีจิตอีกต่อไปแล้ว รูปที่เกิดจากจิตก็ย่อมมีไม่ได้


จิต ๗๕ ดวง ที่ทำให้เกิดจิตตชรูปนั้น ก็ทำให้รูปเกิดได้เฉพาะอุปาทขณะของ จิตนั้น ๆ เท่านั้น เพราะอุปาทขณะของจิต เป็นขณะที่จิตมีกำลังแรงมาก ส่วนฐีติ ขณะของจิตและภังคขณะของจิตนั้น กำลังตก กำลังอ่อนเสียแล้ว ไม่มีกำลังพอที่จะ ทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้

จิตตชรูป ๑๕ คือ รูปที่เกิดจากจิต มี ๑๕ คือ
วิญญัตติรูป ๒ (กายวิญญัตติรูป วจีวิญญัตติรูป)
สัททรูป ๑
วิการรูป ๓ (ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป)
ปริจเฉทรูป ๑
อวินิพโภครูป ๘ (มหาภูตรูป ๔, วัณณะรูป ๑, คันธะรูป ๑, รสะรูป ๑, โอชารูป ๑)
รวมเป็น ๑๕ รูป ที่เกิดจากจิต และทั้ง ๑๕ รูปนั้น มี วิญญัตติรูป ๒ เท่านั้นที่เกิดจากจิตโดยสมุฏฐานเดียว รูปที่เกิดจากจิต ซึ่งเรียกว่าจิตตชรูปนั้น มีทั้งหมด ๑๕ ดังกล่าวแล้ว จิตที่ ทำให้เกิดรูปได้ทั้ง ๑๕ นั้น ได้แก่ จิต ๗๕ ส่วนจิตอะไร ทำให้เกิดรูปอะไรได้บ้าง มีรายละเอียดดังนี้

๑. จิตที่ทำให้เกิดจิตตรูปสามัญ (คือจิตตชรูปที่เป็นไปอย่างธรรมดาตามปกติ เช่น การหายใจเข้าหายใจออก หัวใจเต้น หน้าแดง หน้าซีด เป็นต้น ซึ่งเกิดรูป เพียงอวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น) เกิดขึ้นได้นั้น ได้แก่ จิต ทั้ง ๗๕ ดวง คือ
อกุสลจิต ๑๒ (โลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒)
อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐)
กามโสภณจิต ๒๔ (มหากุสล ๘ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘)
มหัคคตจิต ๒๓ (เว้นอรูปาวจรวิบาก ๔)
โลกุตตรจิต ๘


หน้า ๗๒

๒. จิตที่ทำให้อิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ ตั้งมั่น ได้แก่ การยืน เดิน นั่ง นอน ได้เป็นปกติ และนานได้ มีจิต ๕๘ คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙ (อกุสล ๑๒ มหากุสล ๘ มหากิริยา ๘ หสิตุปปาทะ ๑)
อภิญญาจิต ๒ (ของปุถุชน ๑ อริยบุคคล ๑)
อัปปนาชวนจิต ๒๖ (จิตที่ได้ฌานแล้ว)
๓. จิตที่ทำให้เคลื่อนไหว อิริยาบถน้อย และ การพูดการอ่านหนังสือ ร้องเพลง การคู้ การเหยียด การก้ม การเงย การเหลียวซ้ายแลขวา การก้าวหน้า การถอยหลัง การกระพริบตา การอ้าปาก การเคี้ยว การกินอาหาร ฯลฯ จิตที่ทำให้รูปเคลื่อนไหวอิริยาบถน้อย เป็นไปดังกล่าวแล้วมีจิต ๓๒ ดวง คือ
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
อภิญญาจิต ๒
๔. จิตที่ทำให้การร้องไห้เกิดขึ้น ได้แก่ การร้องไห้ เสียใจ เศร้าโศก รำพึง รำพัน จิตที่ทำให้รูปดังกล่าวเกิดขึ้นได้ก็คือ โทสมูลจิต ๒
๕. จิตที่ทำให้เกิดการยิ้ม การหัวเราะเกิดขึ้น ได้แก่ จิต ๑๓ ดวง คือ
โสมนัสโลภมูล ๔
โสมนัสหสิตุปปาทะ ๑ (เกิดในพระอรหันต์เท่านั้น)
โสมนัสมหากุสล ๔
โสมนัสมหากิริยา ๔ (เกิดในพระอรหันต์เท่านั้น)


หน้า ๗๓

ปุถุชน ยิ้มและหัวเราะ ด้วยจิต ๘ ดวง คือ
โสมนัส โลภมูล ๔
โสมนัส มหากุสล ๔
พระเสกขบุคคล ๓ ยิ้มและหัวเราะ ด้วยจิต ๖ ดวง คือ
โสมนัส โลภมูล ทิฏฐิคตวิปปยุตต ๒
โสมนัส มหากุสล ๔
พระอเสกขบุคคล ยิ้มแย้ม ด้วยจิต ๕ ดวง คือ
โสมนัส หสิตุปปาทะ ๑
โสมนัส มหากิริยา ๔

การยิ้มของพระอรหันต์นั้น ถ้าอารมณ์เป็น อโนฬาริก คือ เป็นอารมณ์ที่ ละเอียด อันบุคคลธรรมดาไม่สามารถรู้ได้ ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วย หสิตุปปาทะ
ถ้าอารมณ์เป็น โอฬาริก คือ เป็นอารมณ์ที่หยาบ หมายความว่า เป็นอารมณ์ ธรรมดาที่บุคคลทั่วไปก็สามารถรู้ได้นั้น ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วย โสมนัสมหากิริยา
พระอรหันต์เพียงแต่ยิ้มแย้ม ไม่ถึงกับหัวเราะ พระอานาคามี พระสกทาคามี และ พระโสดาบัน แม้แต่จะหัวเราะ


หน้า ๗๔

ก็พอประมาณ ไม่ถึงกับตัวโยกโคลง ส่วนปุถุชน นั้นปล่อยเต็มที่ จนงอหาย และถึงตายก็มี

จิตตชรูป คือ รูปที่เกิดจากจิตโดยแน่นอน (เอกันตะ) นั้นมี ๒ รูป คือ วิญญัตติรูป ๒ ได้แก่ กายวิญญัตติ และวจีวิญญัตติ หมายความว่า การเคลื่อนไหว ทางร่างกายและการพูดจากันนั้น ย่อมมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เพราะการเคลื่อนไหวร่างกาย และการพูดนั้น เกิดจากจิตโดยสมุฏฐานเดียว

จิตตชรูป คือ รูปที่เกิดจากจิต โดยไม่แน่นอน (อะเนกันตะ) นั้นมี ๑๓ คือ
สัททรูป ๑ (รูปเสียง)
วิการรูป ๓ (ลหุตารูป, มุทุตารูป, กัมมัญญตารูป)
ปริจเฉทรูป ๑
อวินิพโภครูป ๘ (มหาภูตรูป ๔, วัณณรูป ๑, คันธรูป ๑, รสรูป ๑, โอชา ๑)

ในตัวคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีกัมมชรูป ๑๘ เป็นที่ตั้ง เป็นฐานมี จิตตชรูป คือ รูปที่เกิดจากจิตเป็นพลังงานของจิตให้ปรากฏเป็นรูปเคลื่อนไหวรูป เปลี่ยนไปอยู่ในท่าต่าง ๆ เช่น รูปอยู่ในท่านั่ง นอน ยืน ก้าวไป เหลียวซ้าย แลขวา การเหยียด การคู้ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากจิต เป็นไปตามความต้องการของจิต จึงเรียกว่า " กายวิญญัตต” " ถ้าเป็นการพูด การกล่าวทางวาจา ก็เรียกว่า " วจีวิญญัตติ " ทั้งกายวิญญัตติ และวจีวิญญัตติ ก็เป็นรูปที่เกิดจากจิต เป็นพลังงานของจิต เมื่อจิตต้องการนั่ง รูปนั่งก็เกิด เมื่อจิตต้องการเฉย ๆ รูปเฉย ๆ ก็เกิด เมื่อจิตต้องการให้ รูปเหยียด รูปเหยียดก็เกิด

รวมความแล้ว การเคลื่อนไหวของรูปเกิดจากจิต จึงเรียกว่า " จิตตชรูป "


อุตุสมุฏฐาน

คำว่า " อุตุสมุฏฐาน " หมายถึง อุตุ เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูปได้ และอุตุ ในที่นี้ หมายถึง เตโชธาตุ ๒ อย่าง คือ
๑. สีตเตโช ได้แก่ ความเย็น ทั้งภายในและภายนอก
๒. อุณหเตโช ได้แก่ ความร้อน ทั้งภายในและภายนอก
เตโชธาตุทั้ง ๒ นี้รวมเรียกว่า " อุตุ " และอุตุที่ทำให้รูปเกิดนี้มี ๒ อย่าง คือ
(๑) อุตุภายใน เรียกว่า อัชฌัตตอุตุ ได้แก่ อุตุที่เกิดขึ้นภายในร่างกายสัตว์ที่มีชีวิต
(๒) อุตุภายนอก เรียกว่า พหิทธอุตุ ได้แก่ อุตุที่เกิดภายนอกกายสัตว์ที่มีชีวิต
อุตุชรูป แปลว่ารูปที่เกิดจากอุตุ และอุตุชรูปนี้เกิดได้ทั้งภายในและภายนอก สำหรับภายในสัตว์ เกิดขึ้นได้ทุก ๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิ เป็นต้นมา จิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ จะมีอนุขณะ ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ
อุตุชรูป ๑๓ อุตุชรูป คือรูปที่เกิดจากอุตุ และรูปที่เกิดจากอุตุมี ๑๓ คือ
อวินิพโภครูป ๘(มหาภูตรูป ๔, วัณณรูป ๑, คันธรูป ๑, รสรูป ๑, โอชา ๑)
ปริจเฉทรูป ๑ * วิการรูป ๓ (ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป)
สัททรูป ๑
ในจำนวนรูปที่เกิดจากอุตุทั้ง ๑๓ รูปนี้ ไม่มีรูปใดรูปหนึ่งเกิดจากอุตุโดย แน่นอน คือรูปที่เกิดจากอุตุโดยแน่นอนไม่มี ประเภทของอุตุชรูป
๑. กัมมปัจจยอุตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากอุตุที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน
๒. จิตตปัจจยอุตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากอุตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
๓. อุตุปัจจยอุตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากอุตุ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
๔. อาหารปัจจยอุตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากอุตุ ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน

ในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอุตุชรูปปกคลุมอยู่ทั่วไป และเมื่อ สัตว์ทั้งหลายตาย อุตุชรูปก็ยังคงปรากฏอยู่ตลอดไป ส่วนกัมมชรูปและอาหารชรูป จะปรากฏอยู่ได้ในระหว่างที่สัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น เมื่อสัตว์นั้นตายไปแล้วกัมม ชรูป และอาหารชรูปก็ดับสิ้นหมดไป
สำหรับจิตตชรูปนั้น ปรากฏขึ้นไม่ได้โดยเฉพาะตนเอง ต้องอาศัย กัมมชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ทั้ง ๓ นี้ เป็นที่ตั้งจึงเกิดขึ้นได้ หมายความว่า จิตตชรูปนี้ ต้องอาศัยร่างกายของสัตว์เกิดขึ้นนั่นเอง ถ้าไม่มีร่างกายแล้ว จิตตชรูปก็เกิดไม่ได้


หน้า ๗๕

อาหารสมุฏฐาน

อาหารรูปที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูปนั้น ชื่อว่าอาหารสมุฏฐาน ได้แก่ อาหาร รูปทั้งภายในและภายนอกเช่นเดียวกับ
อุตุ อาหารที่ทำให้เกิดรูปได้ และอาหารในที่นี้ หมายถึง " โอชา " ที่มีอยู่ในอาหารต่าง ๆ นั่นเอง
อาหาร กล่าวคือ โอชา ย่อมยังอาหารสมุฏฐานรูปให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ฐีติขณะ ของจิต ในกาลที่กลืนกินซึ่งอาหารเข้าไปสู่ภายในร่างกาย
โอชา ที่ทำให้อาหารรูปเกิดขึ้นนั้น มีอยู่ทั่วไปในสิ่งต่าง ๆ และมีอยู่ภายใน สัตว์และภายนอกสัตว์ โอชาที่มีอยู่ภายในร่างกายของสัตว์ก็เรียกว่า อัชฌัตตโอชา ถ้าโอชานั้นอยู่ภายนอกกายของสัตว์ก็เรียกว่า พหิทธโอชา
อาหารรูปภายใน ชื่อว่าอัชฌัตตโอชา ได้แก่ กัมมชโอชา คือ โอชาที่อยู่ใน กัมมชรูป ๑๘ นั่นเอง กัมมชโอชา สำคัญมากในการงานที่จะช่วยอุปถัมภ์ให้อาหารชรูปเกิดขึ้น
อาหารรูปภายนอก ชื่อว่าพหิทธโอชา ได้แก่ อุตุชโอชา คือโอชาที่อยู่ใน อวินิพโภครูป ๘ ที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ อันควรแก่การบริโภคทั้งปวง อุตุโอชาทำ หน้าที่ให้อาหารชรูปเกิดขึ้นโดยตรง
อัชฌัตตโอชากับพหิทธโอชาทั้ง ๒ นี้ ทำงานเกี่ยวเนื่องกันคือ อัชฌัตตโอชา ทำหน้าที่อุปถัมภ์ช่วยให้อาหารรูปเกิด ส่วนพหิทธโอชาทำหน้าที่ให้อาหารชรูปเกิด ขึ้นโดยตรง ในโอชาทั้ง ๒ นี้ กัมมชโอชาสำคัญมากในการงานที่จะช่วยอุปถัมภ์ ให้อาหารชรูปเกิดมากกว่าอุตุโอชา

สำหรับอาหารภายนอก เมื่อได้บริโภคและถูกย่อยด้วยปาจกเตโชแล้ว จึงจะ อนุเคราะห์ปฐวีธาตุและอาโปธาตุ อันเป็นอาหารภายในเพื่อให้เกิดรูป ถ้าอาหารที่ บริโภคมิได้รับการย่อยจากเตโชธาตุ อาหารสมุฏฐานนิกรูปก็ย่อมไม่เกิด
เมื่อได้บริโภคอาหาร และอาหารนั้นถูกย่อยด้วย ปาจกเตโชธาตุ แล้วโอชา แห่งอาหารนั้นก็ซึมซาบเข้าไปในร่างกาย ทำให้เกิดอาหารชรูป ถ้าอาหารที่บริโภค ไม่ได้รับการย่อยจากเตโชธาตุแล้ว อาหารสมุฏฐาน คือ อาหารชรูปก็ไม่เกิด

 
อาหารที่ทำให้เกิดรูปนั้น ถ้าเป็นสัตว์ที่เกิดในครรภ์มารดา โอชาแห่งอาหารที่ มารดารับประทานเข้าไปนั้นก็ซึบซาบเข้าไปให้เกิดรูปแห่งทารก กล่าวสำหรับมนุษย์ ที่เกิดในครรภ์มารดา อาหารชรูปเริ่มเกิดในสัปดาห์ที่ ๓ นับแต่ปฏิสนธิกาล ถ้าสัตว์นั้นเป็นสังเสทชกำเนิด หรือโอปปาติกกำเนิด จำพวกที่ต้องกินอาหาร เมื่อเกิดนั้นร่างกายครบถ้วนบริบูรณ์แล้วแต่ยังมิได้บริโภค


หน้า ๗๖

สิ่งหนึ่งสิ่งใด ได้แต่กลืน เสมหะและเขฬะของตน ล่วงลำคอแล้ว โอชาแห่งเสมหะและเขฬะก็ซึมซาบเป็น อาหารชรูป ดังนั้นจึงรวมความได้ว่า อาหารชรูปย่อมเกิดเมื่อโอชาแห่งอาหารนั้นซึมซาบ เข้าไปในร่างกาย และต่อจากนั้นมา อาหารชรูปนี้ก็เกิดทุก ๆ ฐีติขณะจิตตลอดเวลา
อาหารที่บริโภคในวันหนึ่งนั้น ย่อมทรงอยู่ได้นานถึง ๗ วัน
อาหารชรูป คือ รูปที่เกิดจากอาหารนี้ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ โคจรรูป ๓ (เว้นสัททะ) อาหารรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ และวิการรูป ๓ รวม ๑๒ รูป


จำนวนรูปที่เกิดจากสมุฏฐาน

รูปที่เกิดจาก กรรม อันมีชื่อว่า กัมมชรูป นั้น มีจำนวนรูป ๑๘ รูป
รูปที่เกิดจาก จิต อันมีชื่อว่า จิตตชรูป นั้น มีจำนวนรูป ๑๕ รูป
รูปที่เกิดจาก อุตุ อันมีชื่อว่า อุตุชรูป นั้น มีจำนวนรูป ๑๓ รูป
รูปที่เกิดจาก อาหาร อันมีชื่อว่า อาหารชรูป นั้น มีจำนวนรูป ๑๒ รูป


หน้า ๗๗

กัมมชรูป ๑๘

แน่นอน (เอกนฺต) มี ๙ รูป ได้แก

 

ไม่แน่นอน (อเนกนฺต) มี ๙ รูป ได้แก่

 

ปสาทรูป ๕

อินทรียรูป ๘

มหาภูตรูป ๔

อวินิพโภครูป ๘

ภาวรูป ๒

โคจรรูป(เว้นสัททะ) ๓

ชีวิตรูป ๑

อาหารรูป ๑

หทยรูป ๑

 

ปริจเฉทรูป ๑

 

 

จิตตชรูป ๑๕

แน่นอน (เอกนฺต) มี ๒ รูป ได้แก่

ไม่แน่นอน (อเนกนฺต) ๑๓ รูป ได้แก่

กายวิญญัตติรูป ๑

อวินิพโภครูป ๘

วจีวิญญัตติรูป ๑

ปริจเฉทรูป ๑

 

วิการรูป ๓

 

สัททรูป ๑

 

อุตุชรูป ๑๓

แน่นอน (เอกนฺต) ไม่ม

มีแต่ไม่แน่นอน ทั้ง ๑๓ รูป ได้แก่

 

อวินิพโภครูป ๘

 

ปริจเฉทรูป ๑

 

วิการรูป ๓

 

สัททรูป ๑


 

อาหารชรูป ๑๒

แน่นอน (เอกนฺต) ไม่มี

มีแต่ไม่แน่นอน ทั้ง ๑๒ รูป ได้แก่

 

อวินิพโภครูป ๘

 

ปริจเฉทรูป ๑

 

วิการรูป ๓

 

นกุโตจิสมุฏฐานิกรูป

นกุโตจิสมุฏฐานิกรูป หรือ นกุโตจิรูป เป็นรูปที่ไม่ได้เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๗ ว่า


๗. ชายมานาทิรูปานํ สภาวตฺตา หิ เกวลํ
ลกฺขณานิ น ชายนฺติ เกหิจีติ ปกาสิตํ ฯ


นกุโตจิรูปหรือลักษณะรูปทั้ง ๔ (อุปจยรูป สันตติรูป ชรตารูป อนิจจตารูป) นั้น ไม่ได้เกิดจากสมุฏฐานใด ๆ เป็นเพียงสภาพของรูปที่กำลังเกิดขึ้น เป็นต้น เท่านั้นเอง

มีความหมายว่า ลักษณะรูป ๔ รูปนี้ ถือว่าไม่ได้เกิดจากสมุฏฐานหนึ่ง สมุฏฐานใดเลย ต่อเมื่อมีนิปผันนรูปเกิดขึ้น จึงจะมีลักขณรูปร่วมเกิดขึ้นพร้อมด้วย เสมอไปอย่างแน่นอน แต่ถ้าไม่มีนิปผันนรูปเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่มีลักขณรูปทั้ง ๔ นี้ เกิดขึ้นเลยแม้แต่รูปเดียว เพราะลักขณรูป ๔ เป็นแต่เพียงสภาพของรูปที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเท่านั้น


หน้า ๗๙

ประมวลรูปตามสมุฏฐาน

เมื่อประมวลรูปตามสมุฏฐานเข้าด้วยกันแล้ว จะเห็นได้ว่า

๑. เอกสมุฏฐานิกรูป หรือ เอกชรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานอย่างเดียวมี ๑๑ รูป ได้แก่

อินทรียรูป ๘ รวม ๙ รูป เกิดจากกรรม เป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว
หทยรูป ๑

กายวิญญัตติ ๑ รวม ๒ รูป เกิดจากจิต เป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว
วจีวิญญัตติ ๑

๒. ทวิสมุฏฐานิกรูป หรือ ทวิชรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๒ อย่าง หรือ ๒ สมุฏฐาน มี ๑ รูป ได้แก่

สัททรูป ๑ เกิดจากจิต เป็นสมุฏฐานก็ได้
เกิดจากอุตุ เป็นสมุฏฐานก็ได้

๓. ติสมุฏฐานิกรูป หรือ ติชรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๓ อย่างมี ๓ รูป ได้แก่

วิการรูป ๓ เกิดจากจิต หรือ อุตุ หรืออาหาร เป็นสมุฏฐานก็ได้

๔. จตุสมุฏฐานิกรูป หรือ จตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ได้มี ๙ รูป ได้แก่

อวินิพโภครูป ๘ รวม ๙ รูปนี้ เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร อย่างใดก็ได้ทั้งนั้น
ปริจเฉทรูป ๑


หน้า ๘๐

๕. นกุโตจิสมุฏฐานิกรูป หรือ นกุโตจิรูป คือ รูปที่ไม่ได้เกิดจากสมุฏฐาน ใด ๆ เลยทั้งนั้น มี ๔ รูป ได้แก่
ลักขณรูป ๔ (อุปจยรูป ๑ สันตติรูป ๑ ชรตารูป ๑ อนิจจตารูป ๑) ไม่ได้เกิดจากกรรม จิต อุตุ อาหาร อย่างใดเลย

สรุปสมุฏฐานิกรูป

มหาภูตรูป ๔

กรรม

จิต

อุตุ

อาหาร

ปสาทรูป ๕

กรรม

 

 

 

โคจรรูป ๓

กรรม

จิต

อุตุ

อาหาร

สัททรูป ๑

 

จิต

อุตุ

 

ภาวรูป ๒

กรรม

 

 

 

หทยรูป ๑

กรรม

 

 

 

ชีวิตรูป ๑

กรรม

 

 

 

อาหารรูป ๑

กรรม

จิต

อุตุ

อาหาร

ปริจเฉทรูป ๑

กรรม

จิต

อุตุ

อาหาร

วิญญัตติรูป ๒

 

จิต

 

 

วิการรูป ๓

 

จิต

อุตุ

อาหาร

ลักขณรูป ๔

 

 

 

 

รวม ๒๘

๑๘

๑๕

๑๓

๑๒

รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว ๙ รูป คือ อินทรียรูป ๘ หทยรูป ๑
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว ๒ รูป คือ วิญญัตติรูป ๒
รูปที่มี ๒ สมุฏฐาน คือ สัททรูป ๑
รูปที่มี ๓ สมุฏฐาน คือ วิการรูป ๓
รูปที่มี ๔ สมุฏฐาน คือ อวินิพโภครูป ๘ และ ปริจเฉทรูป ๑
รูปที่ไม่มีสมุฏฐาน คือ ลักขณรูป ๔

มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน ที่มีรูปร่างขึ้นมาได้ก็เพราะมีกัมมชรูปเป็นพื้นฐาน ก่อน จึงมีอุตุชรูปรักษาไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยไป เพราะมีอาหารชรูปหล่อเลี้ยงให้เจริญ เติบโต ดำรงคงอยู่ได้


หน้า ๘๑

ขันธ์ที่เกิดมาเพราะกรรมจะทรงอยู่ได้ก็ด้วยมีอาหารค้ำชูไว้ หมายความว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดมาด้วยกรรม แต่ดำรงคงอยู่ได้ด้วยอาหาร

ครั้งเมื่อถึงแก่ความตาย กัมมชรูปและอาหารชรูปก็ดับหมดสิ้นตามไปด้วยแต่ อุตุชรูป ยังคงปรากฏแก่ซากนั้นตลอดไป

ส่วนจิตตชรูปนั้น ต้องอาศัยกัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ทั้ง ๓ นี้เป็น ที่ตั้ง จึงจะเกิดได้ หมายความว่า จิตตชรูปต้องอาศัยรูปร่างกายของสัตว์ที่มีวิญญาณ เกิดขึ้น ถ้าไม่มีรูปร่างกายแล้ว จิตตชรูปก็เกิดไม่ได้


สมุฏฐานของอาการ ๔๒

อาการ ๔๒ ของมนุษย์ ก็คือ สสัมภารปฐวี ๒๐ อาการ, สสัมภารอาโป ๑๒ อาการ, สสัมภารเตโช ๔ อาการ และสสัมภารวาโยอีก ๖ อาการ วิเสสลักขณะ ของปฐวี อาโป เตโช วาโย ได้กล่าวแล้ว ในที่นี้จะแสดงอาการ ๔๒ นี้ว่าเกิด จากกรรม หรือ จิต หรือ อุตุ หรือ อาหาร เป็นสมุฏฐาน

๑. สสัมภารปฐวี ๒๐ อาการนั้น เฉพาะ อุทฺริยํ อาหารใหม่ กรีสํ อาหารเก่า รวม ๒ อาการนี้ มีอุตุเป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว ส่วนที่เหลืออีก ๑๘ อาการนั้น มีสมุฏฐานทั้ง ๔


หน้า ๘๒

๒. สสัมภารอาโป ๑๒ อาการนั้น เฉพาะ ปุพฺโพ น้ำหนอง, มุตฺตํ น้ำมูตร รวม ๒ อาการนี้ มีอุตุเป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว
เสโท เหงื่อ, อสฺสุ น้ำตา, เขโฬ น้ำลาย, สิงฺฆาณิกา น้ำมูก, รวม ๔ อาการ นี้ มีจิตกับอุตุเป็นสมุฏฐาน คือ มีสมุฏฐาน ๒ อย่าง
ส่วนที่เหลืออีก ๖ อาการนั้น มีสมุฏฐานทั้ง ๔

๓. สสัมภารเตโช ๔ อาการนั้น เฉพาะปาจกเตโช ไฟที่ย่อยอาหาร (ไฟธาตุ) นี้ มีกรรมเป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว ส่วนที่เหลืออีก ๓ คือ อุสมาเตโช ชิรณเตโช สนฺตาปนเตโช นั้นมี สมุฏฐานทั้ง ๔

๔. สสัมภารวาโย ๖ อาการนั้น เฉพาะ อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้า หายใจออก มีจิตเป็นสมุฏฐานแต่อย่างเดียว
ส่วนที่เหลืออีก ๕ อาการนั้น มีสมุฏฐานทั้ง ๔ สรุป ในอาการ ๔๒ นี้
ก. มีกรรม เป็นสมุฏฐาน มี ๑ คือ ปาจกเตโช
ข. มีจิต เป็นสมุฏฐาน มี ๑ คือ อสฺสาสปสฺสาสวาโย
ค. มีอุตุ เป็นสมุฏฐาน มี ๔ คือ อุทฺริยํ (อาหารใหม่), กรีสํ (อาหารเก่า), ปุพฺโพ (น้ำหนอง), มุตฺตํ (น้ำมูตร)


หน้า ๘๓

ง. มีจิต และอุตุ เป็นสมุฏฐาน(มี ๒ สมุฏฐาน) มี ๔ คือ เสโท (เหงื่อ), อสฺสุ (น้ำตา), เขโฬ (น้ำลาย), สิงฺฆาณิกา (น้ำมูก)
จ. มีกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นสมุฏฐาน (มีสมุฏฐาน ๔) มี ๓๒ ได้แก่ อาการที่เหลือ ๓๒


นัยที่ ๔ รูปกลาป

รูปกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดขึ้นเป็นหมวด, หมู่, มัด ในปรมัตถทีปนีฎีกาได้ ให้ความหมายของรูปกลาปว่า กลาปิยนฺติ เอตฺถาติ กลาปาฯ แปลว่า ธรรมชาติที่ นับเป็นหมวด ๆ เป็นคณะนั้น เรียกว่า " กลาป "
หมายความว่า รูปกลาป คือ รูปที่อยู่ร่วมกัน เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นมัด เป็นคณะ เป็นกลุ่ม เป็นก้อน
รูปที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ที่อาศัยร่วมกัน และเป็นที่รวมแห่งองค์ ทั้ง ๓ ซึ่งได้นามว่า รูปกลาป นั้น มีอยู่รวม ๒๑ กลาป
หมายความว่า รูปที่อยู่ร่วมกันอันได้ชื่อว่าเป็นรูปกลาปนั้น ต้องประกอบ พร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
๑. เกิดพร้อมกัน
๒. ดับพร้อมกัน
๓. มีที่อาศัยพร้อมกัน
๔. ต้องเป็นที่รวมแห่งองค์ทั้ง ๓ นี้ด้วย


หน้า ๘๔

ดังนี้จะเห็นได้ว่า ลักษณะของรูปกลาปเป็นไปในทำนองเดียวกันกับจิตและ เจตสิก คือ จิตเจตสิกต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุที่อาศัยอันเดียวกัน และ มีอารมณ์เดียวกันด้วย รวมเป็นองค์ ๔ รูปกลาปก็เหมือนกัน ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ ดังกล่าวแล้ว จึงจะได้ชื่อว่า รูปกลาป
รูปธรรมใด มีลักษณะไม่ครบองค์ ๔ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รูปธรรมนั้นก็ไม่เรียกว่า รูปกลาป
รูปกลาปนี้มีอยู่ ๒๑ กลาป ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๘ แสดงไว้ว่า


๘. กมฺมจิตฺโตตุกาหาร สมุฏฐานา ยถากฺกมํ
นว ฉ จตุโร เทฺวติ กลาปา เอกวีสติ ฯ


รูปกลาปนี้มีอยู่ ๒๑ กลาป เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นสมุฏฐาน มี จำนวน ๙, , ๔ และ ๒ ตามลำดับ หมายความว่า กลุ่มรูปที่เกิดจากกรรมอันมีชื่อว่ากัมมชรูปกลาป หรือกัมมช-กลาป นั้นมี ๙ กลาป หรือ ๙ กลุ่ม ๙ มัด
กลุ่มรูปที่เกิดจากจิต อันมีชื่อว่า จิตตชรูปกลาป หรือ จิตตชกลาป นั้นมี ๖ กลาป หรือ ๖ กลุ่ม


กลุ่มรูปที่เกิดจากอุตุ อันมีชื่อว่าอุตุชรูปกลาป หรืออุตุชกลาป นั้นมี ๔ กลาป
กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหารอันมีชื่อว่า อาหารชรูปกลาป หรือ อาหารชกลาป นั้นมี ๒ กลาป
รวมทั้งหมดเป็น ๒๑ กลาป
ในรูปกลาปทั้ง ๒๑ กลาปนี้ เมื่อนับจำนวนรูปธรรมแล้ว รวมได้รูปธรรม เพียง ๒๓ รูป เว้นอยู่ ๕ รูป คือ ปริจเฉทรูป ๑ และลักขณรูป ๔
ที่เว้น ปริจเฉทรูป ๑ ลักขณรูป ๔ มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๙ แสดงว่า


๙. กลาปนํ ปริจฺเฉท ลกฺขณตฺตา วิจกฺขณา
น กลปงฺค มิจฺจาหุ อากาสํ ลกฺขณานิจ ฯ


แปลความว่านั้น ก็เพราะว่า ปริจเฉทรูป และลักขณ รูปทั้งหลาย ไม่เป็นองค์แห่งกลาป อากาศก็เป็นเพียงที่กำหนด (ปริจเฉทรูป) ลักขณ รูปก็เป็นเพียงเครื่องหมายของกลาปเท่านั้นเอง
หมายความว่า ที่เว้นปริจเฉทรูป ๑ เพราะว่า อากาศ คือ ปริจเฉทรูปนี้ เป็นรูปที่กำหนดขอบเขตระหว่างรูปกลาปต่อ รูปกลาป เป็นแต่เพียงส่วนคั่นของรูปกลาป ดังนั้นจึงไม่นับเป็นองค์ของกลาป
และที่เว้นลักขณรูป ๔ ก็เพราะว่า ลักขณรูปเป็นเพียงรูปอันเป็นเครื่องหมาย ของรูปกลาปเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่นับเป็นองค์ของกลาป เช่นเดียวกัน


หน้า ๘๖

กัมมชกลาป ๙

๑. จักขุทสกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๒. โสตทสกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ โสตปสาทรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๓. ฆานทสกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ฆานปสาทรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๔. ชิวหาทสกกลาปมีอวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ชิวหาปสาทรูป ๑ รวม ๑๐รูป
๕. กายทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ กายปสาทรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๖. อิตถีภาวทสกกลาปมีอวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ อิตถีภาวรูป ๑ รวม ๑๐รูป
๗. ปุริสภาวทสกกลาปมีอวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ปุริสภาวรูป ๑รวม ๑๐ รูป
๘. หทยทสกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ หทยรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๙. ชีวิตนวกกลาปมี อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป

อวินิพโภครูป ๘ เป็นรูปที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ประกอบด้วยรูป ๘ รูป ได้แก่ ปฐวี, อาโป, เตโช, วาโย, วัณณะ, คันธะ, รสะ, โอชา อวินิพโภครูปนี้ เมื่อกล่าวตามนัยแห่งรูปกลาปแล้ว มีชื่อว่า อัฏฐกกลาป หรือ สุทธัฏฐกกลาป


กัมมชกลาป กับ กัมมชรูป

กัมมชรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรม มีจำนวน ๑๘ รูป รายละเอียดแจ้งไว้แล้วที่ กัมมสมุฏฐานิกรูป
ส่วนกัมมชรูปกลาป หรือ กัมมชกลาป เป็นกลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม มีจำนวน รูปเพียง ๑๗ รูป เท่านั้น คือ กัมมชรูป ๑๘ นั่นแหละ หักด้วย ปริจเฉทรูป ๑ ซึ่ง ไม่ใช่องค์ของกลาปออกเสีย คงเหลือ ๑๗ รูป รูป ๑๗ รูปนี่แหละ คือกัมมชกลาป


หน้า ๘๗

ทั้ง กัมมชรูป และ กัมมชกลาป เกิดมีขึ้นได้เฉพาะวัตถุที่มีวิญญาณ คือ สิ่งมีชีวิตเท่านั้น ส่วนวัตถุที่ไม่มีวิญญาณ คือสิ่งที่ไม่มีชีวิตนั้น ไม่มีกัมมชรูปหรือ กัมมชกลาป


ฐาน (คือที่ตั้ง) ของกัมมชกลาปในร่างกายมนุษย์

ในร่างกายมนุษย์แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ในแต่ละส่วนของร่างกาย มีกัมมช กลาปเกิดได้ดังนี้

ก. อุปริมกาย คือ กายส่วนบน นับตั้งแต่ลูกกระเดือกขึ้นไป มีกัมมชกลาป ตั้งอยู่ถึง ๗ กลาป ได้แก่
๑. จักขุทสกกลาป ๒. โสตทสกกลาป
๓. ฆานทสกกลาป ๔. ชิวหาทสกกลาป
๕. กายทสกกลาป ๖. ภาวทสกกลาป
๗. ชีวิตนวกกลาป

ข. มัชฌิมกาย กายส่วนล่าง นับตั้งแต่ลูกกระเดือกลงมาจนถึงสะดือ มี กัมมชกลาปตั้งอยู่ ๔ ได้แก่
๑. หทยทสกกลาป ๒. กายทสกกลาป
๓. ภาวทสกลาป ๔. ชีวิตนวกกลาป


หน้า ๘๘

ค. เหฎฐิมกาย คือ กายส่วนต่ำ นับตั้งแต่สะดือลงไป มีกัมมชกลาปตั้งอยู่ ๓ กลาป ได้แก่
๑. กายทสกกลาป ๒. ภาวทสกกลาป
๓. ชีวิตนวกกลาป

ดังนี้จะเห็นได้ว่า กายทสกกลาป ๑, ภาวทสกกลาป ๑, ชีวิตนวกกลาป ๑ รวม ๓ กลาปนี้ มีฐานที่ตั้งอยู่ในร่างกายมนุษย์ทั้ง ๓ ส่วน คือ มีอยู่ตลอดตัว มีอยู่ทั่วทั้งตัว จึงได้ชื่อว่าเป็น สัพพฐานิกกลาป มีความหมายว่า เป็นกลาปที่มี ฐานที่ตั้งอยู่ทั่วไป
ส่วนกลาปนอกนั้นอีก ๕ กลาป ได้แก่ จักขุทสกกลาป, โสตทสกกลาป, ฆานทสกกลาป, ชิวหาทสกกลาป, หทยทสกกลาป มีฐานที่ตั้งอยู่เป็นบางแห่ง บางส่วนโดยเฉพาะ จึงมีชื่อว่า ปเทสกลาป มีความหมายว่า เป็นกลาปที่มีประเทศ ที่ตั้งอยู่โดยเฉพาะเป็นส่วนเป็นสัดของตน


จิตตชกลาป ๖

จิตตชกลาป ก็ คือกลุ่มรูปที่เกิดจากจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน การเกิดขึ้นของ กลุ่มรูปที่เกิดจากจิต หรือ จิตตชกลาปนั้นเกี่ยวกับเสียงและการพูดอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอิริยาบถอย่างหนึ่ง มีกลาปเกิดได้ ๖ กลาป ดังนี้

๑. สุทธัฏฐกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ รวม ๘ รูป
๒. กายวิญญัตตินวกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ กายวิญญัตติ ๑ รวม ๙ รูป
๓. วจีวิญญัตติสัทททสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วจีวิญญัตติ ๑ และ สัททรูป ๑ รวม ๑๐ รูป
๔. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ รวม ๑๑ รูป
๕. กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ และ กายวิญญัตติ ๑ รวม ๑๒ รูป
๖. วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ วจีวิญญัตติ ๑ สัททรูป ๑ รวม ๑๓ รูป


หน้า ๘๙

ความหมายของจิตตชกลาป

๑. สุทธัฏฐกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดขึ้นจากจิต เกิดในเวลาที่ไม่เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหว ไม่เกี่ยวกับการพูดหรือการออกเสียง แต่เกิดขึ้นในขณะที่จิตใจ อ่อนเพลีย ไม่เข้มแข็ง ในขณะที่เสียใจ หรือโกรธ มีลักษณะอาการหน้าซีด หน้า แดง หรือ ในขณะที่เกลียด กลัว มีลักษณะขนลุกขนพอง เป็นต้น
๒. กายวิญญัตตินวกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากจิต เกิดเมื่อเวลาเคลื่อน ไหวร่างกายต่าง ๆ ที่ไม่เป็นปกติ คือ เวลาจิตใจอ่อนเพลีย ไม่เข้มแข็ง การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การคู้เหยียด เหลียวซ้าย แลขวา เดินหน้า ถอยหลัง กระพริบตา เป็นต้น จะเป็นไปอย่างเชื่องช้า หนักหน่วง ไม่คล่องแคล่ว
๓. วจีวิญญัตติสัทททสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากจิต เกิดเมื่อเวลาพูด ใช้เสียงอ่านหนังสือ ร้องเพลง สวดมนต์ เป็นต้น ที่ไม่เป็นไปตามปกติ เช่น ในเวลาที่รู้สึกไม่สบาย หรือในเวลาที่จิตใจหดหู่ท้อถอย ไม่เต็มใจพูด ไม่เต็มใจอ่าน เป็นต้น
๔. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดในเวลาที่ไม่ได้เกี่ยวกับการ เคลื่อนไหว ไม่เกี่ยวกับการพูด หรือ การออกเสียง แต่เกิดในขณะที่จิตใจสบาย เข้มแข็ง ในขณะที่ดีใจ มีลักษณะอาการหน้าตาแจ่มใสชื่นบาน ในขณะที่ปีติเกิดมี ลักษณะอาการขนลุกขนพอง เป็นต้น
๕. กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากจิต เกิดเมื่อ เวลาเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ ขณะที่มีจิตใจเข้มแข็ง สะดวกสบาย เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอนจะเต็มไปด้วยความคล่องแคล่ว สะดวกสบาย ไม่หนักหน่วง
๖. วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากจิต เกิด เมื่อเวลาพูด เวลาอ่านหนังสือ ร้องเพลง สวดมนต์ เป็นต้น เป็นไปตามปกติ หรือในเวลาที่จิตใจสบาย การพูด การอ่าน ก็เป็นไปได้โดยสะดวก และ คล่องแคล่ว ไม่หนักหน่วง มีความเบา ความอ่อน ความควร ตลอดเวลาที่ใช้เสียง น้ำเสียงจะ แจ่มใสชัดเจน ไม่แหบเครือ


หน้า ๙๐

จิตตชกลาป กับ จิตตชรูป

จิตตชรูป คือรูปที่เกิดจากจิต มี ๑๕ รูป ได้แก่
๑. มหาภูตรูป ๔ (ปฐวี, อาโป, เตโช, วาโย)
๒. วิสยรูป ๔ (วัณณะ, สัททะ, คันธะ, รสะ)
๓. อาหารรูป ๑
๔. ปริจเฉทรูป ๑
๕. วิญญัตติรูป ๒ (กายวิญญัตติ, วจีวิญญัตติ)
๖. วิการรูป ๓ (ลหุตา, มุทุตา, กัมมัญญตา)


หน้า ๙๑

ส่วน จิตตชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากจิต มีจำนวน ๑๔ รูป คือ จิตตชรูป ๑๕ นั่นเอง เว้นปริจเฉทรูปเสีย ๑ จึงเหลือ ๑๔ รูปที่เหลือ ๑๔ รูปนี่แหละคือ จิตตชกลาป
จิตตชรูปก็ดี จิตตชกลาปก็ดี เกิดมีได้กับสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ เท่านั้น และเกิดกับ จิตเพียง ๗๕ ดวง ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) กามโสภณจิต ๒๔ มหัคคตจิต ๒๓ (เว้นอรูปาวจรวิบาก ๔) โลกุตตรจิต ๘

 จิตตชกลาป ลำดับที่ ๑ คือ สุทธัฏฐกกลาป นั้น เกิดได้ในจิต ๗๕ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ อรูปวิบาก ๔) จิตตชกลาป ลำดับที่ ๒ คือ กายวิญญัตตินวกกลาป, ลำดับที่ ๓ คือ วจี วิญญัตติสัทททสกกลาป, ลำดับที่ ๕ คือกายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป และ ลำดับที่ ๖ คือ วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป รวม ๔ กลาปนี้เกิดได้ในจิต ๓๒ ดวง ได้แก่

มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙ (อกุสล ๑๒, มหากุสล ๘, หสิตุปปาทะ ๑, มหากิริยา ๘)
อภิญญาจิต ๒ (โลกียอภิญญา , โลกุตตรอภิญญา)

จิตตชกลาป ลำดับที่ ๔ คือ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป นั้น เกิดได้ในจิต ๕๘ ดวง ได้แก่
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
อภิญญาจิต ๒
อัปปนาชวนจิต ๒๖ (รูปาวจร ๑๐ เว้นรูปาวจรวิบาก ๕, อรูปวจร ๘ เว้นอรูปาวจรวิบาก ๔, โลกุตตร ๘)


หน้า ๙๒

ฐานของจิตตชกลาปในร่างกายมนุษย์

ในอุปริมกาย คือ ในร่างกายส่วนบน มีจิตตชกลาปเกิดได้ทั้ง ๖ กลาป
ใน มัชฌิมกาย และ เหฏฐิมกาย คือ ในร่างกายส่วนกลางและส่วนต่ำนั้น มีจิตตชกลาป เกิดได้เพียง ๔ กลาป ได้แก่

สุทธัฏฐกกลาป
กายวิญญัตตินวกกลาป
ลหุตาทิเอกาทสกกลาป
กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป

อายุของจิตตชกลาป

จิตตชกลาปนี้ เกิดพร้อมกับจิตและดับพร้อมกับจิต จึงมีอายุเพียง ๓ ขณะเล็ก เท่านั้น คือ เท่ากับอายุของจิตดวงหนึ่ง


ปัญหามีอยู่ว่า มีอายุ ๓ ขณะเล็กเฉพาะกายวิญญัตติรูป ๑ และ วจีวิญญัตติ รูป ๑ รวม ๒ รูป เท่านี้ หรือว่าดับไปพร้อมกันรวมทั้งกลาปทีเดียว
เมื่อมีหลักฐานได้กล่าวมาแล้วว่า รูปธรรมใดเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีที่อาศัยร่วมกัน และมีสภาพเป็นที่รวมแห่งองค์ทั้ง ๓ นั้นด้วย จึงจะเรียกว่าเป็น รูปกลาป ถ้ารูปธรรมใดมีลักษณะไม่ครบองค์ทั้ง ๔ รูปธรรมนั้น ก็ไม่เรียกว่ารูป กลาป ดังนี้แล้ว เข้าใจว่า ต้องดับไปพร้อมกันรวมทั้งกลาปทีเดียว มิฉะนั้นจะเรียกว่า รูปกลาป อย่างไรได้


อุตุชกลาป ๔

อุตุชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอุตุ มีอุตุเป็นสมุฏฐาน การเกิดขึ้นของกลุ่ม รูปที่เกิดจากอุตุนี้เรียกว่า อุตุชกลาป และอุตุชกลาปนี้ เกิดได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและ ไม่มีชีวิต สำหรับที่เกิดในสัตว์ที่มีชีวิตนั้นมี ๔ กลาป คือ

๑. สุทธัฏฐกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ รวม ๘ รูป
๒. สัททนวกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ รวม ๙ รูป
๓. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ รวม ๑๑ รูป
๔. สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ และ วิการรูป ๓ รวม ๑๒ รูป


ความหมายของอุตุชกลาป

๑. สุทธัฏฐกกลาป ได้แก่ ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง เพราะอุตุชกลาป นั้น เป็นกลาปที่เป็นพื้นรองรับกลาปอื่น ๆ อีกที่หนึ่ง ถ้าไม่มีอุตุชกลาปแล้ว กลาป อื่น ๆ ก็ไม่สามารถปรากฏได้ และสุทธัฏฐกกลาปนี้เกิดมีได้ทั้งภายนอก หมายถึง สิ่งที่ไม่มีชีวิต และเกิดมีได้ทั้งภายใน หมายถึงสิ่งที่มีชีวิตด้วย และสุทธัฏฐกกลาปนี้ เกิดเมื่อเวลาที่ร่างกายของสัตว์ไม่เป็นปกติ เช่น ป่วย ไม่สบาย อ่อนเพลีย เป็นต้น


หน้า ๙๔


สุทธัฏฐกกลาป ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต คือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ทั้งหลาย เช่น ภูเขา ต้นไม้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ย่อมมีสุทธัฏฐกกลาป คืออวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น
สุทธัฏฐกกลาป หรือ อวินิพโภครูป ๘ ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่มีชีวิต ก็คือ รูปร่าง กายตัวตนของสัตว์นี่เอง เพราะอุตุชกลาปนี้เป็นกลาปที่เป็นพื้นฐานในการรักษารูป เหล่านั้นมิให้เน่าเปื่อยไป ถ้าไม่มีอุตุชกลาปนี้แล้ว กลาปอื่น ๆ เช่น กัมมชกลาป เป็นต้น ก็ไม่สามารถปรากฏตั้งอยู่ได้
สุทธัฏฐกกลาปภายใน เกิดเมื่อเวลาที่ร่างกายของสัตว์นั้น ๆ ไม่เป็นปกติ เช่น ในเวลาที่ไม่สบาย อ่อนเพลีย เป็นต้น สุทธัฏฐกกลาปนี้ เมื่อมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วย ก็เรียกว่า ลหุตาทิเอกาทสก กลาป เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของสัตว์เป็นปกติสบายไม่อ่อนเพลีย มีความเบา ความ อ่อน ความควรเกิดขึ้น

๒. สัททนวกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดขึ้นจากอุตุ เกิดมีได้ทั้งภายนอกและ ภายใน คือ เกิดมีได้ทั้งในสิ่งที่ไม่มีชีวิต และในสิ่งที่มีชีวิต ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต คือ เสียงลมพัด ฟ้าร้อง เสียงน้ำไหล เสียงคลื่น เสียงเรือ เสียงรถ เสียงฆ้อง กลอง ระฆัง เป็นต้น
ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่มีชีวิต คือ เสียงกรน เสียงท้องลั่น ท้องร้อง เสียงตบมือ ดีดนิ้ว เป็นต้น ซึ่งเสียงต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ชัดเจนนัก
สัททนวกกลาปนี้ เมื่อมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมอยู่ด้วย ก็เรียกว่า สัททลหุตา ทิทวาทสกกลาป ได้แก่ เสียงต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว แต่เป็นเสียงที่ปรากฏชัด มีความแจ่มใส ชัดเจน นั่นเอง

๓. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากอุตุ เกิดมีได้เฉพาะ แต่ภายใน คือ เกิดได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น จึงจะมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วยได้ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตแล้ว ไม่มีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วย


หน้า ๙๕

ลหุตาทิเอกาทสกกลาป เกิดเมื่อเวลาที่ร่างกายของสัตว์นั้นๆ เป็นปกติ สบาย แข็งแรง หรือจะพูดว่า ถ้าเป็นปกติ สบาย แข็งแรง
หรือจะพูดว่า ถ้าเป็นปกติ สบาย แข็งแรง ก็มีทั้งสุทธัฏฐกกลาป คือ อวินิพ โภครูป ๘ และมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วยรวมเป็น ๑๑ รูปด้วยกัน ถ้าเวลาที่ร่างกาย ไม่ปกติ คือ ไม่สบาย อ่อนเพลีย ก็มีแต่เพียงสุทธัฏฐกกลาป คือ อวินิพโภครูป ๘ เกิดขึ้นเท่านั้น

๔. สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากอุตุ เกิดมีได้แต่ เฉพาะภายใน คือเกิดได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เพราะสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่สามารถ จะมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วยได้เลยเป็นอันขาด ที่เกิดมีได้แต่ในสิ่งที่มีชีวิตนั้น ก็ได้แก่ เสียงต่าง ๆ คือ เสียงกรน เสียงท้อง ลั่น ท้องร้อง เสียงตบมือ ดีดนิ้ว ฯลฯ ซึ่งเสียงต่าง ๆ เหล่านี้ จะปรากฏชัด มีความ แจ่มใสชัดเจน
ในร่างกายของสัตว์ทั้ง ๓ ส่วนนั้น อุตุชกลาปย่อมเกิดได้ สำหรับสุทธัฏฐก กลาป และ ลหุตาทิเอกาทสกกลาปนั้น เกิดประจำอยู่แล้ว ส่วนสัททนวกกลาป และสัททลหุตาทิทวาทสกกลาปนั้น เกิดเป็นบางเวลา ไม่ใช่ประจำ


อุตุชกลาป กับ อุตุชรูป

อุตุชรูป เป็นรูปที่เกิดจากอุตุ มีจำนวน ๑๓ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑
ส่วนอุตุชรูปกลาป หรืออุตุชกลาปนี้ เป็นกลุ่มรูปที่เกิดจากอุตุมีจำนวนรูป เพียง ๑๒ รูปเท่านั้นคือ อุตุชรูป ๑๓
หักด้วยปริจเฉทรูป ๑ ซึ่งไม่เป็นองค์ของ กลาปออกเสีย คงเหลือ ๑๒ รูป รูปที่เหลือ ๑๒ รูปนี้ คือ อุตุชกลาป


หน้า ๙๖

ฐานของอุตุชกลาปในร่างกายมนุษย์

ในร่างกายมนุษย์ทั้ง ๓ ส่วน คือ อุปริมกาย มัชฌิมกาย และ เหฏฐิมกายนั้น อุตุชกลาปเกิดได้ทั้ง ๔ อย่าง หมายความว่า อุตุชกลาปทุกชนิดเกิดได้ทั่วตัวมนุษย์
สำหรับ สุทธัฏฐกกลาป และ ลหุตาทิเอกาทสกกลาปนั้น เกิดเป็นประจำ อยู่ตามปกติ
ส่วน สัททนวกกลาป และสัททลหุตาทิทวาทสกกลาปนั้น ไม่ใช่เกิดประจำ แต่จะมา คือ เกิดเป็นบางคราว บางเวลา


อาหารชกลาป ๒

อาหารชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร มีอาหารเป็นสมุฏฐาน และ อาหารชกลาปนี้เกิดเฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น ทั้งนี้เพราะอาหารชกลาปจะเกิดได้ นั้น ต้องอาศัยกัมมชโอชาที่อยู่ภายในกายสัตว์ช่วยอุดหนุนส่งเสริม เมื่อสัตว์นั้น กลืนกินอาหารเข้าไป จึงเกิดอาหารชกลาปขึ้นอีกที่หนึ่ง และ อาหารชกลาปนี้มี ๒ ชนิด คือ
๑. สุทธัฏฐกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ รวม ๘ รูป
๒. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป มี อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ รวม ๑๑ รูป


ความหมายของอาหารชกลาป

๑. สุทธัฏฐกกลาป เกิดเมื่ออาหารต่าง ๆ ที่กลืนกินเข้าไปแล้วไม่ทำให้ ร่างกาย รู้สึกสดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า แต่กลับทำให้ไม่สบาย วิงเวียน คลื่นเหียน แน่น เป็นลม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือยาก็ตาม เมื่อกลืนลงไปแล้วไม่ทำให้ร่างกาย รู้สึกกระปรี้กระเปร่าเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะอาหารชกลาปที่เกิดจากอาหารนั้น ๆ ยังไม่ ประกอบด้วยวิการรูปทั้ง ๓ นั่นเอง


หน้า ๙๗

๒. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป เกิดเมื่ออาหารต่าง ๆ หรือยาต่าง ๆ เมื่อกิน ลงไปแล้วทำให้ร่างกายรู้สึกมีอาการสดชื่น สบาย มีเรี่ยวแรง กระปรี้กระเปร่า ทั้งนี้ เพราะอาหารหรือยาเหล่านี้ ประกอบด้วย วิการรูปทั้ง ๓ นั่นเอง
ข้อควรทราบ อาหารชกลาปทั้ง ๒ นี้เกิดภายนอกกายสัตว์ไม่ได้เพราะ อาหารชกลาป จะเกิดได้นั้น ต้องอาศัยกัมมชโอชาที่อยู่ในร่างกายสัตว์เป็นผู้อุปการะ แก่โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ นั้นอีกทีหนึ่ง ฉะนั้นรูปกลาปที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ ที่ ยังไม่ได้กลืนกินเข้าไปนั้นไม่ใช่อาหารชกลาป แต่เป็น อุตุชกลาป
ต้นไม้ที่เจริญเติบโตออกดอกออกผลได้นั้น ก็อาศัยดิน น้ำ และปุ๋ย และดิน น้ำ ปุ๋ย เหล่านี้ ไม่ใช่อาหารชกลาป แต่เป็นอุตุชกลาป
การที่เราเข้าใจกันว่า ต้นไม้กินอาหารนั้น เป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกต้องด้วยสภาว ธรรม แต่ถ้าจะเรียกตามโวหารของชาโลกก็ได้อยู่ ทั้งนี้เพราะ ดิน น้ำ หรือปุ๋ย ที่รดให้ต้นไม้นั้นย่อมซึมเข้าไปในลำต้นโดยผ่านทางรากแก้ว และรากฝอยของต้นไม้ ที่เป็นไปตามธรรมชาติเท่านั้น ถ้าจะเรียกต้นไม้กินอาหาร ก็เรียกได้ตามโวหารของ ชาวโลกเท่านั้น ไม่ใช่เป็นไปตามสภาวะของปรมัตถ
อนึ่งปริจเฉทรูป หรือ อากาศธาตุ ไม่นับเป็นรูปกลาป ก็เพราะว่า ปริจเฉทรูป เป็นเพียงแสดงขอบเขตของรูปกลาปแต่ละกลาปให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่องค์ธรรม ของปรมัตถแท้ ส่วนลักขณรูป ๔ ที่ไม่นับเป็นรูปกลาปก็เพราะ ลักขณรูป ๔ เป็น เพียงแสดงการเกิด การแก่ และการดับของรูปกลาป แต่ละกลาปให้ปรากฏเท่านั้น ไม่มีสภาวะของตนเองโดยเฉพาะ จึงไม่นับเข้าเป็นองค์ของกลาป


อาหารชกลาป กับ อาหารชรูป

อาหารชรูป เป็นรูปที่เกิดจากอาหาร มีจำนวน ๑๒ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓
ส่วนอาหารชกลาป นี้เป็น กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร มีจำนวนรูปเพียง ๑๑ รูป เท่านั้น คือ อาหารชรูป ๑๒ หักด้วย ปริจเฉทรูป ๑ ซึ่งไม่เป็นองค์ของกลาป ออกเสีย คงเหลือ ๑๑ รูป รูปที่เหลือ ๑๑ รูปนี้ คือ อาหารชกลาป


หน้า ๙๘

ฐานของอาหารชกลาปในร่างกายมนุษย์

ในร่างกายมนุษย์ทั้ง ๓ ส่วน คือ อุปริมกาย มัชฌิมกาย และ เหฏฐิมกาย นั้น อาหารชกลาปทั้ง ๒ ชนิดนี้ เกิดได้ทั่วทุกส่วน


รูปกลาปในอาการ ๔๒

อาการ ๔๒ ของมนุษย์นั้น อาการใดมีรูปกลาปเท่าใด มีแสดงไว้ดังนี้

๑. สสัมภารปฐวี ๒๐ อาการนั้น
ก. ในอาการ ๑๘ คือ เกสา=ผม, โลมา=ขน, นขา=เล็บ, ทนฺตา=ฟัน, ตโจ= หนัง, มํสํ=เนื้อ, นหารู=เอ็น, อฏฺฐิ=กระดูก, อฏฺฐิมิญฺชํ=เยื่อในกระดูก, วกฺกํ=ม้าม, หทยํ=หัวใจ, ยกนํ=ตับ, กิโลมกํ=พังผืด, ปิหกํ=ไต, ปปฺผาสํ=ปอด, อนฺตํ=ไส้ใหญ่, อนฺตคุนํ=ไส้น้อย, มตฺถลุงคํ=มันสมอง (เว้น อุทฺริยํ=อาหารใหม่, กรีสํ=อาหารเก่า) มีรูปกลาป ๕ กลาป เป็นจำนวน ๔๔ รูป
คือ

กายทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป
ภาวทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป

รวมกัมมชกลาป ๒ กลาป มี ๒๐ รูป

จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อาหารสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
รวม ๔๔ รูป


ข. ในอาการ ๒ คือ อุทฺริยํ อาหารใหม่ และ กรีสํ อาหารเก่า มีรูปกลาป ๑ กลาป เป็นรูปเพียง ๘ รูป คือ อุตุสุทธัฏฐกกลาป เท่านั้น


หน้า ๙๙

๒. สสัมภารอาโป ๑๒ อาการ นั้น

ก. ในอาการ ๖ คือ ปิตฺตํ=น้ำดี, เสมฺหํ=เสมหะ, โลหิตํ=เลือด, เมโท=มันข้น วสา=มันเหลว, และลสิกา=ไขข้อ นั้นก็มีรูปกลาป ๕ กลาปเป็นจำนวนรูป ๔๔ รูป เท่านั้น และเหมือนกันกับข้อ ๑ ก.
ข. ในอาการ ๔ คือ เสโท=เหงื่อ, อสฺสุ=น้ำตา, เขโฬ=น้ำลาย, และ สิงฺฆาณิกา=น้ำมูก นั้น มีรูปกลาป ๒ กลาป เป็นจำนวนรูป ๑๖ รูป คือ จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป และ อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มี ๘ รูป
ค. ในอาการที่เหลืออีก ๒ คือ ปุพฺโพ=หนอง, มุตฺตํ=น้ำมูตร นั้นมีรูปกลาป ๑ กลาป เป็นรูปเพียง ๘ รูป คือ อุตุสุทธัฏฐกกลาป เท่านั้น


๓. สสัมภารเตโช ๔ อาการ นั้น

ก. ในอาการ ๓ คือ อุสมาเตโช ไฟที่ทำให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ๑, ชิรณเตโช ไฟที่บ่มให้ร่างกายทรุดโทรมเหี่ยวแห้ง ๑ และ สนฺตาปนเตโช ไฟที่ ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วย ๑ เหล่านี้ มีรูปกลาป ๔ กลาป เป็นจำนวน ๓๓ รูป คือ

ชีวิตนวกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๙ รูป
จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อาหารสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
รวม ๓๓ รูป


หน้า ๑๐๐

ข. ในอาการที่เหลืออีก ๑ คือ ปาจกเตโช ไฟที่ย่อยอาหารนี้ มีรูปกลาป ๑ กลาป เป็นรูปเพียง ๙ รูป คือ
ชีวิตนวกกลาป เท่านั้น


๔. สสัมภารวาโย ๖ อาการ นั้น

ก. ในอาการ ๕ คือ อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ๑, อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องต่ำ ๑, กุจฺฉิสยวาโย ลมที่อยู่ในช่องท้อง ๑, โกฏฐาสยวาโย ลมที่ อยู่ในลำใส้ ๑ และองฺคมงฺคานุสาริวาโย ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย ๑ เหล่านี้ มีรูป กลาป ๔ กลาป เป็นรูป ๓๓ รูป เท่ากันและเหมือนกันกับข้อ ๓ ก.
ข. ในอาการที่เหลืออีก ๑ คือ อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าหายใจออก นี้ มีรูปกลาป ๑ กลาป กับอีก ๑ รูป รวมเป็นรูป ๙ รูป คือ จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป และ สัททรูป อีก ๑ รูป


รูปกลาปในปสาทรูป

ในปสาทรูป ๕ นั้น ปสาทรูปใดมีรูปกลาปเกิดได้กี่กลาป เป็นจำนวนรูป เท่าใดนั้น มีแสดงไว้ดังนี้

๑. จักขุปสาทรูป มีรูปกลาป ๖ กลาป เป็นจำนวนรูปรวม ๕๔ รูป คือ

จักขุทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป
ภาวทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป
กายทสกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๑๐ รูป

รวมกัมมชกลาป ๓ กลาป เป็นรูป ๓๐ รูป

จิตตสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อุตุสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
อาหารสุทธัฏฐกกลาป ๑ กลาป มีรูป ๘ รูป
รวม ๕๔ รูป


หน้า ๑๐๑

๒. โสตปสาทรูป
๓. ฆานปสาทรูป
๔. ชิวหาปสาทรูป

ปสาทรูปทั้ง ๓ นี้ ต่างก็มี ๖ กลาป เป็นรูป ๕๔ รูป
เหมือนกันกับ จักขุปสาทรูป

๕. ส่วน กายปสาทรูป นั้น มีรูปกลาปเพียง ๕ กลาป เป็นจำนวนรูปเพียง ๔๔ รูปเท่านั้น คือ จำนวนตามข้อ ๑ หักด้วยจักขุทสกกลาป ๑ กลาป จำนวน ๑๐ รูป ออกเสีย เพราะ
ในกายปสาทรูปไม่มีจักขุปสาทรูปอยู่ด้วย แต่ในจักขุปสาทรูปนั้นมีกายปสาท รูปอยู่ด้วย
ในกายปสาทรูปไม่มีโสตปสาทรูปอยู่ด้วย แต่ในโสตปสาทรูปนั้นมีกายปสาท รูปอยู่ด้วย
ในกายปสาทรูปไม่มีฆานปสาทรูป หรือ ชิวหาปสาทรูปอยู่ด้วย แต่ในฆาน ปสาทรูปก็ดี ในชิวหาปสาทรูปก็ดี มีกายปสาทรูปอยู่ด้วย


นัยที่ ๕ รูปปวัตติกมะ

ในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อแบ่งเป็นรูปตามนัยของปรมัตถ แล้ว ก็มี ๒๘ รูป ในจำนวนของรูป ๒๘ รูปนั้น ก็มีสมุฏฐานนำให้เกิด กรรมบ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง และอาหารบ้าง
ในส่วนของรูปที่เกิดจากกรรม ก็เรียกว่า กัมมชรูป
ในส่วนของรูปที่เกิดจากจิต ก็เรียกว่า จิตตชรูป ในส่วนของรูปที่เกิดจากอุตุ ก็เรียกว่า อุตุชรูป
ในส่วนของรูปที่เกิดจากอาหาร ก็เรียกว่า อาหารชรูป
นั่นหมายความว่า ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย มีรูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ทั้ง ๔ และรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ นี้ ก็ไม่ได้เกิดมาโดยลำพังเพียงรูปใดรูปหนึ่ง การเกิดขึ้นของรูปดังกล่าว เกิดเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมวด ๆ เป็นมัด ๆ ซึ่งเรียกว่า รูปกลาป และรูปกลาปนี่เองที่จัดว่าเป็นรูปที่ละเอียดที่สุด เล็กที่สุด
กลาปของรูปนั้น ย่อมมีขนาดเท่ากับเม็ดปรมาณู และรูปกลาปที่เล็กที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตานี้ อรรถกถาจารย์ ได้แสดงถึงขนาดของเม็ดปรมาณู โดยเทียบส่วนกับศีรษะของเหา โดยอนุมานนัย ดังนี้

๑ ศีรษะเหา เท่ากับ ๗ ลิกขาณู
๑ ลิกขาณู เท่ากับ ๓๖ รถาเรณู
๑ รถาเรณู เท่ากับ ๓๖ ตัชชารี
๑ ตัชชารี เท่ากับ ๓๖ อณู
๑ อณู เท่ากับ ๓๖ ปรมาณู
๑ ปรมาณู เท่ากับ ๑ กลาป

จะเห็นได้ว่า ศีรษะของเหาซึ่งเล็กที่สุดแล้วนั้น เม็ดปรมาณู หรือกลาปยังเล็ก กว่าศีรษะของเหาหลายล้านเท่า จึงถือว่าไม่มีอะไรเล็กกว่านี้อีกแล้ว และรูปกลาปนี่ แหละที่จะกล่าวต่อไปที่เกี่ยวกับการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า รูปปวัตติกมนัย

 
รูปปวัตติกมนัย คือ การลำดับการเกิดดับของรูปธรรม หรือ การแสดงลำดับ การเกิดดับของรูป ๒๘ นั่นเอง ปวัตติ แปลว่า ความเป็นไป หรือ การเกิดดับ กมะ แปลว่า ลำดับ นัย แปลว่า แนว ดังนั้น รูปปวัตติกมนัย ก็แปลว่า แนวแห่งความเป็นไปตามลำดับของรูปธรรม หรือแนวแห่งการเกิดดับของรูปธรรม


หน้า ๑๐๒

รูปปวัตติกมนัย แสดงถึงนัยและแนว ๓ อย่าง คือ ๑. ตามนัยแห่งภูมิ ๒. ตามนัยแห่งกาล ๓. ตามนัยแห่งกำเนิด

๑. ตามนัยแห่งภูมิ หมายถึง ๒๗ ภูมิ คือ
ก. กามภูมิ ๑๑ ภูมิ
ข. รูปภูมิ ๑๕ ภูมิ
ค. อสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ ซึ่งทั้ง ๒๗ ภูมิที่มีรูปธรรมทุกภูมิ มากบ้างน้อยบ้าง ตามควรแก่ภูมินั้น ๆ
ส่วนอรูปภูมิอีก ๔ ภูมิ ไม่ได้กล่าวถึงด้วย เพราะในอรูปภูมินั้น ไม่มีรูปธรรม เลยแม้แต่สักรูปเดียว

๒. ตามนัยแห่งกาล หมายถึง ๓ กาล ดังนี้ คือ
ก. ปฏิสนธิกาล หมายถึง การสืบต่อภพสืบต่อชาติ เวลาที่เกิดต่อภพต่อ ชาติใหม่อีก
ข. ปวัตติกาล หมายถึง การทรงอยู่ เวลาที่ตั้งอยู่ในภพนั้น ชาตินั้น
ค. จุติกาล หมายถึง การเคลื่อนย้ายไปจากภพนั้นชาตินั้น คือ การที่ดับ ไป เวลาที่ตายไปจากภพนั้น ชาตินั้น

๓. ตามนัยแห่งกำเนิด หมายถึงอาการที่เกิดใหม่ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ ๔ กำเนิด คือ


หน้า ๑๐๓

ก. ชลาพุชกำเนิด บางทีก็เรียกว่า ชลัมพุชกำเนิด หมายถึงสัตว์ที่เกิดใน ครรภ์
ข. อัณฑชกำเนิด หมายถึง สัตว์ที่เกิดในไข่ ชลาพุชกำเนิดกับอัณฑช กำเนิด รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด
ค. สังเสทชกำเนิด หมายถึง สัตว์ที่เกิดจากที่เปียกชื้น, เหงื่อ, ไคล, ยาง เหนียว, เกษรดอกไม้ เป็นต้น
ง. โอปปาติกกำเนิด บางทีก็เรียกว่า อุปปาติกกำเนิด หมายถึงสัตว์ที่ ไม่ได้เกิดมาจากกำเนิดทั้ง ๓ ที่กล่าวแล้ว แต่เกิดโดยผุดหรือโผล่ขึ้น มาครบรูปกายใหญ่โตเต็มที่ในทันทีทันใด เหมือนกับว่าบินมาจาก ภพเก่า

ตามนัยแห่งภูมิ

ในภูมิใดรูปจะเกิดได้กี่รูป หรือ ในภูมิใดจะมีรูปได้กี่รูป กล่าวโดยทั่ว ๆ ไป ยังไม่จำแนกตามนัยแห่งกาล และตามนัย
แห่งกำเนิด ของสัตว์ในภูมินั้น ๆ แล้วมี ดังนี้ มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๑ แสดงว่า


๑๑. อฏฺฐวีสติ กาเมสุ โหนฺติ ตวีส รูปิสุ
สตฺตตรเสว อสญฺญีนํ อรูเป นตฺถิ กิญจีปิ ฯ


แปลความว่า ในกามภูมิ ย่อมเกิดรูปได้ทั้ง ๒๘ รูป ในรูปภูมิย่อมเกิดรูปได้ ๒๓ รูป, ใน อสัญญสัตตภูมิ ย่อมเกิดรูปได้เพียง ๑๗ รูป, ในอรูปภูมิไม่มีรูปเกิดขึ้นเลย


หน้า ๑๐๔

อธิบาย

๑. ในกามภูมิ ๑๑ ภูมิ รูปทั้ง ๒๘ รูป เกิดได้ครบ แต่ถ้ากล่าวโดยบุคคล แต่ละบุคคลแล้ว ถ้าเป็นอิตถีเพศ ก็ต้องเว้นปุริสภาวรูป และถ้าเป็นบุรุษเพศ ก็ต้อง เว้นอิตถีภาวรูป เป็นอันว่าบุคคลในกามภูมิแต่ละบุคคล มีรูปบุคคลละ ๒๗ รูป แต่บางบุคคลอาจจะบกพร่อง มีไม่ถึง ๒๗ รูปก็ได้ เช่น ตาบอด ก็ไม่มี จักขุปสาทรูป หูหนวกก็ไม่มีโสตปสาทรูป เป็นต้น ไม่เหมือนกับพรหมบุคคล

๒. ในรูปภูมิ ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) มีรูปเกิดได้เพียง ๒๓ รูป เท่านั้น โดยเว้น ฆานปสาทรูป ,ชิวหาปสาทรูป ,กายปสาทรูป ,อิตถีภาวรูป และ ปุริสภาวรูป
ที่เว้น ปสาทรูป ๓ และภาวรูป ๒ นั้น เพราะรูปทั้ง ๕ รูปนี้เป็นรูปที่เป็น ปัจจัยสนับสนุนก่อให้เกิดกามคุณอารมณ์เป็นส่วนมาก อันล้วนแต่เป็นโทษอย่าง เดียวพรหมบุคคลเป็นผู้ที่ปราศจากกามฉันทะดังนั้นรูปทั้ง๕จึงไม่เกิดมีแก่พวกพรหม ส่วนจักขุปสาทรูปและโสตปสาทรูปเกิดมีแก่พวกพรหมได้ เพราะปสาทรูป ทั้ง ๒ นี้ มิใช่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดกามคุณอารมณ์ที่จะเป็นโทษแต่อย่างเดียว ย่อมมี คุณประโยชน์เป็นอย่างยิ่งได้อีกด้วย กล่าวคือ


หน้า ๑๐๕

นัยน์ตาก็เป็นประโยชน์ในการที่ได้เห็น ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ หูก็มีประโยชน์ในการที่จะได้ฟังธรรมอันประเสริฐ ถึงกับได้ รับความยกย่อง เรียกว่าเป็นทัสสนานุตตริยคุณ และ สวนานุตตริยคุณ คือ เป็นคุณ อย่างล้นพ้นแก่การเห็น เป็นคุณอย่างล้นพ้นแก่การฟัง ดังนั้น พรหมจึงยังคงมี จักขุปสาทรูป และโสตปสาทรูปอยู่

 พรหมในรูปภูมิทั้ง ๑๕ ภูมินี้ แต่ละบุคคลมีรูปครบทั้ง ๒๓ รูป ทั่วทุกบุคคล ไม่มีขาดตกบกพร่องเหมือนบุคคลในกามภูมิ ดังที่กล่าวแล้วในข้อ ๑ คือ ไม่มีพรหม ตาบอด พรหมหูหนวก แต่นัยน์ตาของพรหมทำให้เห็นใด้ไกลมากจนถึงขนาดเป็น ตาทิพย์ และหูของพรหมก็ทำให้ได้ยินได้ไกลมากจนถึงขนาดเป็นหูทิพย์

๓. ในอสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ นั้น มีรูปเกิดได้เพียง ๑๗ รูป คือ อวินิพ โภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, วิการรูป ๓ และลักขณรูป ๔

๔. ส่วน อรูปภูมิทั้ง ๔ ภูมิ นั้น ไม่มีรูปเกิดขึ้นเลย ทั้งนี้เพราะท่านเจริญ รูปวิราคภาวนา คือ ไม่ยินดี และไม่ปรารถนาจะมีรูป

๕. ที่กล่าวตามข้อ ๑-๔ เป็นการกล่าวตามจำนวนรูปธรรมเรียงเป็นรูป ๆ ไป ข้อต่อไปจะกล่าวเป็นกลาป ๆ คือ เป็นกลุ่ม ๆ เป็นมัด ๆ แต่ในข้อนี้จะแสดง การเกิดขึ้นของรูปกลาปของมนุษย์ที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาก่อน ดังนี้


หน้า ๑๐๖

ปฏิสนธิจิต เป็นจิตดวงแรกที่สืบเนื่องต่อภพต่อชาติใหม่ ที่อุปาทขณะของ ปฏิสนธิจิตนี้ มี กัมมชกลาป ๓ กลาป
ได้แก่

กายทสกกลาป
หทยทสกกลาป
ภาวทสกกลาป

ปฏิสนธิจิต ที่ฐีติขณะ มีอุตุชกลาป เริ่มเกิด

ภวังคจิต เป็นจิตดวงที่ ๒ ในภพใหม่ และเป็นภวังคจิตดวงแรก ในภพใหม่ นั้น ที่อุปาทขณะของปฐมภวังคจิตนี้ จิตตชกลาปเริ่มเกิด

๑. กลลสตฺตาห เป็นน้ำใส ๑ สัปดาห์ เกิด กายทสกกลาป, หทยทสก กลาป, ภาวทสกกลาป, อุตุชกลาป และจิตตชกลาป (เป็นหยาดน้ำใส เหมือนน้ำมันงา)
๒. อมฺพุชสตฺตาห เป็นฟองน้ำ ๑ สัปดาห์ (มีลักษณะเป็นฟอง สีเหมือน น้ำล้างเนื้อ)
๓. เปสิสตฺตาห เป็นเมือกไข ๑ สัปดาห์ อาหารชกลาปเริ่มเกิด (มีลักษณะ เหมือนชิ้นเนื้อเหลว ๆ สีแดง)
๔. ฆนสตฺตาห เป็นก้อนไข ๑ สัปดาห์ (มีลักษณะเป็นก้อน มีสัณฐาน เหมือนไข่ไก่)
๕. ปสาขสตฺตาห เกิดปุ่มทั้งห้า ๑ สัปดาห์ (ได้แก่ แขน๒ ขา๒ ศีรษะ๑)
๖. ปริปากสตฺตาห ขยายตัว ๕ สัปดาห์ สัปดาห์ที่ ๖ ชีวิตนวกกลาป เริ่มเกิด


หน้า ๑๐๗

๗. จกฺขาทิสตฺตาห อายตนะเกิด ๑ สัปดาห์ เกิดจักขุทสกกลาป, ฆาน ทสกกลาป, ชิวหาทสกกลาป
๘. ปริปากสตฺตาห เจริญเติบกล้า ๓๐ สัปดาห์
๙. เกสาทิสตฺตาห โกฏฐาสเกิด ๑ สัปดาห์ (ตั้งแต่สัปดาห์ที่ ๑๒ ถึง ๔๒ ผม ขน เล็บ ก็ปรากฏตามลำดับ) รวม ๔๒ สัปดาห์ x ๗ วัน = ๒๙๔ วัน

๖. ในกามภูมิ ๑๑ ภูมิ มีกลาปเกิดได้ครบทั้ง ๒๑ กลาปคือ กัมมชกลาป ๙, จิตตชกลาป ๖, อุตุชกลาป ๔, อาหารกลาป ๒
แต่ละบุคคลก็ต้องเว้น อิตถีภาวทสกกลาป หรือปุริสภาวทสกกลาป ตามควร แก่บุคคล และถ้าบุคคลใดมีความบกพร่อง เช่น ตาบอด หูหนวก ก็ต้องเว้นจักขุ ทสกกลาป โสตทสกกลาป ตามควรแก่ที่สัตว์นั้นบกพร่อง
มีข้อควรสังเกตอยู่ว่า ความบกพร่องนี้มีเฉพาะในกัมมชกลาปเท่านั้น

๗. ในรูปภูมิ ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) มีกลาปเกิดได้เพียง ๓ ประเภท เท่านั้น คือ กัมมชกลาป จิตตชกลาป และ อุตุชกลาป ส่วนอาหารชกลาปไม่มี เพราะพรหมบุคคลไม่ต้องกลืนกินอาหาร
อนึ่ง กัมมชกลาป ๙ ก็เกิดได้เพียง ๔ กลาป ได้แก่ จักขุทสกกลาป โสต ทสกกลาป หทยทสกกลาป และ ชีวิตนวกกลาป


หน้า ๑๐๘

ส่วนฆานทสกกลาป ชิวหาทสกกลาป กายทสกกลาป อิตถีภาวทสกกลาป และ ปุริสภาวทสกกลาป รวม ๕ กลาปนี้ ไม่มี

๘. ในอสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ มีกลาปเกิดได้เพียง ๒ สมุฏฐาน คือ กัมมช กลาป และ อุตุชกลาป เท่านั้น
ส่วนจิตตชกลาปไม่มี เพราะอสัญญสัตตพรหมไม่มีจิต ด้วยท่านเจริญ สัญญา วิราคภาวนา อาหารชกลาปก็ไม่มี เพราะไม่ต้องกลืนกินอาหารเช่นเดียวกับพรหม ทั้งหลาย
อนึ่ง กัมมชกลาป ก็เกิดได้กลาปเดียวเท่านั้น คือ ชีวิตนวกกลาป ส่วนอุตุช กลาป เกิดได้ ๒ กลาป คือ สุทธัฏฐกลาป และ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป


ตามนัยแห่งกาล

กาลในที่นี้หมายถึง ปฏิสนธิกาล ปวัตติกาล และ จุติกาล
ปฏิสนธิกาล ในที่นี้หมายถึง อุปาทขณะของปฏิสนธิจิตขณะเล็กขณะเดียว เท่านั้น แม้แต่ฐีติขณะ และภวังคขณะของปฏิสนธิจิตก็ไม่นับเป็นปฏิสนธิกาล
ปวัตติกาล ในที่นี้นับตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต เป็นต้นไปจนถึงจุติจิต


หน้า ๑๐๙

จุติกาล ในที่นี้หมายถึงจุติจิต
ที่จะแสดงต่อไปนี้ว่า รูปใดเกิดได้และเกิดไม่ได้ในกาลไหนนั้น จะกล่าวโดย ย่อ ๆ ไปก่อน ยังไม่จำแนกตามนัยแห่งกำเนิดของสัตว์ด้วยนั้น มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๒ แสดงว่า


๑๒. สทฺโท วิการโร ชรตา มรณญฺโจปปตฺติยํ
น ลพฺภนฺติ ปวตฺเตตุ น กิญฺจิปิ น ลพฺภนฺติ ฯ


แปลความว่า สัททรูป วิการรูป ชรตารูป อนิจจตารูป ไม่เกิดในปฏิสนธิกาล แต่ใน ปวัตติกาลนั้น รูปอะไร ๆ ย่อมเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น

อธิบาย

๑) ในปฏิสนธิกาล สัททรูป ๑, วิการรูป ๓, วิญญัตติรูป ๒, ชรตารูป ๑, และอนิจจตารูป ๑ รวม ๘ รูปนี้ เกิดไม่ได้ เพราะในอุปาทขณะของปฏิสนธิจิตแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น เสียงยังไม่มี การพูด การเคลื่อนไหวใด ๆ ก็ยังไม่มี รูปเบา รูปอ่อน รูปอันควรแก่การงาน รูปที่กำลังแก่ และรูปที่กำลังดับ ก็ยังมีไม่ได้ทั้งนั้น


หน้า ๑๐๑

นอกจาก ๘ รูปที่กล่าวแล้วนี้ รูปธรรมอีก ๒๐ รูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ ปสาทรูป ๕, โคจรรูป ๓ (เว้นสัททรูป), ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, อาหารรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, และสันตติรูป ๑ นั้น เกิดได้ใน ปฏิสนธิกาล แต่ก็ต้องแล้วแต่กำเนิดของสัตว์อีกโสดหนึ่งด้วย ว่ากำเนิดอย่างใดจะ ได้รูปเท่าไร ซึ่งจะกล่าวต่อเมื่อถึงการแสดงตามนัยแห่งกำเนิด

๒) ในปวัตติกาล รูปธรรม ๒๘ ย่อมเกิดได้ทั้งหมดตามควรแก่ภูมินั้น ๆ

๓) ในจุติกาล รูปเหล่านี้เกิดไม่ได้ คือ  

ก. รูปที่เกิดจากกรรม คือ กัมมชรูป กัมมชกลาป ทั้งหมด
ข. รูปที่เกิดจากจิต คือ จิตตชรูป จิตตชกลาป เฉพาะในจุติจิตของพระ อรหันต์

ส่วนที่เกิดได้ในจุติกาล คือ
ก. จิตตชรูป จิตตชกลาป ของจุติจิตแห่งสัตว์ในปัญจโวการภูมิ ที่ มิใช่พระอรหันต์
ข. อุตุชรูป อุตุชกลาป เกิดได้เรื่อยไป แม้จนกระทั่งในซากศพ
ค. รูปที่เกิดจากอาหาร คือ อาหารชรูป อาหารชกลาป ตามนัยแห่งกำเนิด


ตามนัยแห่งกำเนิด

กำเนิด บาลีว่า โยนิ หมายถึงอาการที่เกิดใหม่ของสัตว์ทั้งหลายอีกนัยหนึ่งหมายความว่า ที่ที่ปฏิสนธิวิญญาณ อาศัยเกิด หรือที่ที่สัตว์ทั้งหลายอาศัยเกิดมี ๔ อย่าง

๑. ชลาพุชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา เกิดในมดลูก คลอดออกมา เป็นตัวเลย แล้วค่อย ๆ โตขึ้นตามลำดับสัตว์ที่เป็นชลาพุชกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต คือ เปรตจำพวกที่ถูกไฟเผาอยู่เสมอ)
จ. อสุรกาย
ที่เรียกว่าเทวดาชั้นต่ำ ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ที่เป็นภุมมัฏฐ เทวดา คือเทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดิน ไม่มีวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศเป็นที่อยู่ ซึ่งมีชื่อว่า วินิปาติกอสุรา และเวมานิกเปรต เฉพาะพวกที่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขา สันตีรณกุสลวิบากเท่านั้น


หน้า ๑๑๒

๒. อัณฑชกำเนิด คือเกิดในฟองไข่ ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาเหมือนกัน แต่มีฟองห่อหุ้ม คลอดออกมาเป็นไข่ก่อนแล้วจึงแตกจากไข่มาเป็นตัว และค่อย ๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ สัตว์ที่เป็นอัณฑชกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์ (มีมาในธัมมบทว่า พระ ๒ องค์ที่เรียกกันว่า ทเวพาติกเถระ ซึ่งเป็นลูกของโกตนกินรี เมื่อเกิดมาทีแรกออกมาเป็นฟองไข่ก่อน แล้ว จึงคลอดออกมาจากฟองไข่นั้นอีกทีหนึ่ง)
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสุรกาย
ชลาพุชกำเนิด และอัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ นี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด เพราะต้องอาศัยเกิดในครรภ์มารดาเหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ออกมาเป็นตัวเลย หรือออกมาเป็นฟองไข่ก่อน แล้วจึงแตกเป็นตัวภายหลัง

๓. สังเสทชกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นในที่มีความเปียกชื้น เกิดขึ้นโดยไม่ต้อง อาศัยบิดา มารดา ไม่ได้อาศัยเกิดจากท้องมารดา เกิดขึ้นโดยอาศัย ต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ ดอกบัว โลหิต หรือที่เปียกชื้น เป็นต้น เกิดมาก็เล็กเป็นทารก แล้วจึงค่อย ๆ เติบโตขึ้นมา สัตว์ที่เป็นสังเสทชกำเนิด ได้แก่


หน้า ๑๑๓

ก. มนุษย์ (เช่น นางจิญจมาณวิกาเกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดีเกิดจาก ต้นไผ่ นางปทุมวดีเกิดจากดอกบัว โอรสของนางปทุมวดีรวม ๔๙๙ องค์ เกิดจากโลหิต เป็นต้น)
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสุรกาย

๔. โอปปาติกกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นและใหญ่โตเต็มที่ในทันทีทันใดนั้นเลย ทีเดียว ไม่ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาไม่ได้อาศัยสิ่งใดเกิด อาศัยอดีตกรรมอย่าง เดียว สัตว์ที่เป็นโอปปาติกกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์ มีในสมัยต้นกัปป์
ข. เทวดาทั้ง ๖ ชั้น (เว้นเทวดาชั้นต่ำ)
ค. พรหมทั้งหมด
ง. สัตว์นรก, สัตว์ดิรัจฉาน, อสุรกาย
จ. เปรต (รวมทั้งนิชฌามตัณหิกเปรตด้วย)


หน้า ๑๑๔

๕. หรือจะ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
ก. มนุษย์ ๑ ภูมิ
ข. เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา (เว้นเทวดาชั้นต่ำ) ๑ ภูมิ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภูมิ
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต) ๑ ภูมิ
จ. อสุรกาย ๑ ภูมิ
รวม ๕ ภูมินี้ มีกำเนิดได้ทั้ง ๔

๖. เทวดาชั้นต่ำ (เทวดาชั้นจตุมหาราชิกาที่เป็นภุมมัฏฐเทวดา) มีกำเนิดได้ เพียง ๓ คือ ชลาพุชกำเนิด อัณฑชกำเนิดและสังเสทชกำเนิด เท่านั้น

๗. เทวดาตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป ๕ ภูมิ รูปพรหม ๑๖ ภูมิ อรูปพรหม ๔ ภูมิ นิชฌามตัณหิกเปรต ๑ ภูมิ และสัตว์นรก ๑ ภูมิ มีกำเนิดได้อย่างเดียว คือ โอปปาติกกำเนิด

๘. ชลาพุชกำเนิด และ อัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ กำเนิดนี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด นั้น ย่อมเกิดได้เฉพาะในกามภูมิเท่านั้น
ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้ ๓ กลาป คือ กายทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, หทยทสกกลาปมีรูป ๑๐ รูป และภาวทสกกลาป (กลาปใดกลาปเดียว)มีรูป ๑๐ รูป รวม ๓ กลาป เป็นรูป ๓๐ รูป แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) ก็ได้เพียง ๑๕ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑,


หน้า ๑๑๕

กายปสาทรูป ๑, หทยรูป ๑, อิตถีภาวรูปหรือ ปุริสภาวรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, และสันตติรูป ๑ รูปที่เกิดไม่ได้ในปฏิสนธิกาล ๑๓ รูป คือ ปสาทรูป ๔ (เว้นกายปสาทรูป), สัททรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, และ อนิจจตารูป ๑
ในปวัตติกาล ถ้าไม่บกพร่องเลย รูปก็เกิดได้ทุกกลาป คือ กัมมชกลาป ๘ (เว้นอิตถีภาวทสกกลาป หรือปุริสภาวทสกกลาป กลาปใดกลาปหนึ่ง), จิตตชกลาป ๖, อุตุชกลาป ๔, อาหารชกลาป ๒, แต่เมื่อนับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) ก็ได้ครบทั้ง ๒๗ รูป คือ ต้องเว้นภาวรูป รูปใดรูปหนึ่งเสีย ๑ รูป


๙. สังเสทชกำเนิด และ โอปปาติกกำเนิด ถ้าเกิดในกามภูมิ ในปฏิสนธิกาล ก็มีกัมมชกลาปเกิดได้ทั้ง ๘ กลาป (เว้นภาวทสกกลาปเสีย ๑ กลาป เพราะคงมีได้แต่เพียงกลาปเดียว) รวม ๗๙ รูป แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่ นับ) ก็ได้ ๑๙ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑, ปสาทรูป ๕, หทยรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, และสันตติรูป ๑
รูปที่เกิดไม่ได้ในปฏิสนธิกาล ๙ รูป คือ สัททรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, อนิจจตารูป ๑


หน้า ๑๑๖

ในปวัตติกาล ถ้าไม่บกพร่องเลย ก็มีรูปเกิดได้ครบทั้ง ๒๗ รูป (เว้นภาวรูป รูปใดรูปหนึ่งเสีย ๑ รูป)
อนึ่ง โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในกามภูมิ เฉพาะสัตว์นรก และนิชฌามตัณหิก เปรตนั้น ภาวรูปไม่มีทั้ง ๒ รูป เพราะสัตว์ ๒ จำพวกนี้ ไม่มีเพศ


๑๐. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในรูปพรหม ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)
ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้ ๔ กลาป คือ จักขุทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, โสตทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, หทยทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, ชีวิตนวกกลาป มีรูป ๙ รูป รวมเป็น ๓๙ รูป แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) แล้วคงได้ ๑๕ รูป คือ อวินิพโภครูป , จักขุปสาทรูป ๑, โสตปสาทรูป ๑, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, ปริจ เฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, สันตติรูป ๑
ในปวัตติกาล มีรูปเกิดได้อีก คือ สัททรูป ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, อนิจจตารูป ๑ รวม ๘ รูป ส่วนรูปที่มีไม่ได้ เกิดไม่ได้เลย ไม่ว่าในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาลนั้น คือ ฆานปสาทรูป ๑, ชิวหาปสาทรูป ๑, กายปสาทรูป ๑ ,ภาวรูป ๒ รวม ๕ รูป


หน้า ๑๑๗

๑๑. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในอสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ นั้น
ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้กลาปเดียว คือ ชีวิตนวกกลาป มีรูป ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑
แต่เมื่อนับรูปทั้งหมดแล้ว ก็ต้องนับปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑ และสันตติ รูป ๑ ซึ่งไม่นับเป็นองค์ของกลาปนั้นเพิ่มเข้าไปอีกด้วย จึงเป็นรูปที่เกิดได้ใน ปฏิสนธิกาล เป็นจำนวน ๑๒ รูป
ในปวัตติกาล มีรูปเกิดได้อีก ๕ รูป คือ วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑ และ อนิจจตารูป ๑


๑๒. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในอรูปพรหมนั้น ไม่มีรูปเกิดเลย

---------------------------------


หน้า ๑๑๘

 

 

 

 

 

 

 

นิพพาน


ปรมัตถธรรม มี ๔ อย่าง คือ
๑. จิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
๒. เจตสิก เป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต
๓. รูป เป็นธรรมชาติที่แตกดับด้วยปัจจัยที่เป็นข้าศึกแก่กัน
๔. นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากเครื่องร้อยรัด คือ ตัณหา
ทั้ง ๔ นี้ เป็นปรมัตถ เป็นของจริง มีจริง ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลง มีลักษณะ พิเศษเฉพาะตัวทรงสภาพของตนเองไว้ ไม่เสื่อมสลาย ธรรมชาติใดที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะ ของตนเองไม่เสื่อมสลายไป ธรรมชาตินั้นเรียกว่า " ปรมัตถ " ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการ ดังกล่าวแล้ว


อภิธรรม คือ ธรรมอันประเสริฐยิ่ง ที่ว่าประเสริฐยิ่ง เพราะเป็นธรรมที่มีอยู่ จริง เป็นธรรมที่เป็นจริง
ปรมัตถธรรม คือ ธรรมที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตแปรผัน

อภิธรรม กล่าวถึงปรมัตถธรรม ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน
จิต เจตสิก และรูป ได้กล่าวมาแล้ว บัดนี้จะกล่าวถึง นิพพาน
รูป เป็นรูปธรรม และ เป็นรูปขันธ์ด้วย
จิต และ เจตสิก เป็นอรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูปและธรรมที่ไม่มีรูป จึงมี ชื่อว่า เป็น นามธรรม และเป็นนามขันธ์ด้วย
นิพพาน ก็เป็น อรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูป เป็นธรรมที่ไม่มีรูปเหมือน กัน และก็เป็นนามธรรมเช่นเดียวกัน แต่นิพพาน ไม่เป็นนามขันธ์ เพราะธรรมที่จะขึ้นชื่อว่าขันธ์ หรือที่จัดเป็นขันธ์ จะต้องสามารถมีลักษณะได้เป็น ๑๑ กอง หรือ ๑๑ อย่าง คือ ขันธ์ เป็นได้ในกาลทั้ง ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ส่วนนิพพานนั้น พ้นจากกาลทั้ง ๓ จึงไม่เป็นขันธ์


หน้า ๑๑๙

ขันธ์ เป็นได้ทั้ง อัชฌัตตะ ภายใน และพหิทธะ ภายนอก ส่วนนิพพานเป็น พหิทธะ แต่อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง โอฬาริกะ หยาบ และสุขุมะ ละเอียด ส่วนนิพพานเป็น สุขุมะ แต่อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง หินะ เลว และ ปณีตะ ประณีต ส่วนนิพพานเป็นปณีตะแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง สันติเก ใกล้ และทูเร ไกล ส่วนนิพพานเป็นทูเร ไกลแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
เมื่อ นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ จึงเรียกว่าเป็น ขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์ และ นิพพาน พ้นจากกาลทั้ง ๓ ด้วย จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลวิมุตติ

จิต เจตสิก รูป นั้นเป็นสังขตธรรม เป็นธรรมที่ต้องมีปัจจัยมีสิ่งที่มาปรุง แต่ง จึงจะเกิดมีเกิดเป็นไปได้ คือ จะต้องมี
(๑) อารมณ์ วัตถุ มนสิการ มาประชุมมาปรุงแต่ง จึงจะเกิดจิตและเจตสิก
(๒) กรรม จิต อุตุ อาหาร มาประชุมมาปรุงแต่ง จึงจะเกิดรูป
หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นามขันธ์นั้นเกิดจากอารมณ์ วัตถุ มนสิการ ส่วนรูปขันธ์นั้นเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร
ส่วน นิพพาน เป็นธรรมที่พ้นจากการปรุงแต่งทั้งปวง ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น อสังขตธรรม


หน้า ๑๒๐

ปรมัตถธรรม

สังขตธรรม

จิต
เจตสิก

ต้องมีอารมณ์ วัตถุ มนสิการ ปรุงแต่ง

รูป

ต้องมีกรรม จิต อุตุ อาหาร ปรุงแต่ง

อสังขตธรรม

นิพพาน

ไม่ต้องมีอะไรปรุงแต่ง

สภาพของนิพพาน

เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น
แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน
และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทนอยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้


วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน

สนฺติ ลกฺขณา มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ
อจฺจุต รสา มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)
อนิมิตฺต ปจฺจุปฏฺฐานา ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ
(วา) นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา (หรือ) มีความออกไปจากภพ เป็นผล
ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)

อนึ่ง พระอนุรุทธาจารย์ ได้พรรณาสภาพของนิพพาน เพื่อแสดงให้รู้ว่า นิพพาน คืออะไร ไว้ ๕ ประการ โดยประพันธ์ เป็นคาถาสังคหะ ( คาถาที่ ๑๓ ) ว่า


๑๓. ปทมจฺจุตมจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ
นิพพานมิติ ภาสนฺติ วานมตฺตา มเหสโย ฯ


แปลความว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด ตรัสรู้ ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย


หน้า ๑๒๒

ธรรมที่เที่ยง (คือ พ้นจากกาลทั้ง ๓) ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน
สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ
๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน


หน้า ๑๒๓

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน
บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า


หน้า ๑๒๔

วจนัตถะของนิพพาน

คำว่า นิพพาน มีวจนัตถะ หรือวิเคราะห์ มีความหมายมากมายหลายนัย จะนำมากล่าวแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น กล่าวอย่างธรรมดาสามัญที่สุด ก็ว่า นิพพาน แปลว่า ตัณหาดับสนิท คำว่าดับสนิท หมายความว่า เมื่อดับไปแล้ว ไม่มีการเกิดขึ้นได้อีกเลย
อีกนัยหนึ่งก็ว่า กิเลสดับสิ้นไปเมื่อใด เมื่อนั้นแหละ คือถึงซึ่งนิพพาน คำว่า ดับสิ้น หมายความว่า ต้องดับสนิท
ข้อสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า ตัณหาหรือกิเลสดับ แต่สำคัญตรงที่ไม่เกิด ถ้าอะไร ๆ ก็ไม่เกิดอีกแล้ว นั่นแหละ คือ นิพพาน
นิพพาน มาจากคำว่า นิ ซึ่งแปลว่า พ้นจาก และคำว่า วาน แปลว่า ตัณหา ดังนั้น คำว่า นิพพาน จึงแปลว่า ธรรมที่พ้นจากตัณหา


หน้า ๑๒๕

ธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาเครื่องร้อยรัดนั้น เรียกว่า นิพพาน
ธรรมชาติของสันติที่เกิดโดยพ้นจากตัณหานั้น เรียกว่า นิพพาน
นิพพานมีความสุขที่พ้นจากกิเลส เป็นลักษณะ

สุข

เวทยิตสุข สุขอันเกิดจากเวทนา

สันติสุข สุขอันเกิดโดยพ้นจากเวทนา

เวทยิตสุข สุขอันเกิดจากเวทนานั้น เป็นสุขที่เกิดจากการเสวยอารมณ์ เป็นทุกขสัจจ
สันติสุข สุขอันเกิดโดยพ้นจากเวทนานั้น เป็นสุขที่ไม่ได้เกิดจากการเสวยอารมณ์ เป็นนิโรธสัจจ


นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง  


สุข ( เวทนา ) จะมีได้อย่างไรในพระนิพพาน เพราะพระนิพพานไม่มีการเสวย ( อารมณ์ )
 

 

ใน สตุตันตปิฎก เล่ม ๓๓ หน้า ๒๒๕ แก้ไว้ว่า ความที่ไม่เสวยอารมณ์นั่นแหละ เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะสุขที่เสวยอารมณ์นั้น เป็นสุขที่ไม่เที่ยง ก็คือเป็นทุกข์นั่นเอง


หน้า ๑๒๖

ดังนั้น จึงจัด สุขเวทนา ว่าเป็น วิปริณามทุกข์ คือ ความสุขนั้นจะต้องวิปริตผันแปรไปเป็นทุกข์อย่างแน่นอน
ส่วน สุขในนิพพาน ไม่ใช่สุขเวทนา แต่เป็น สันติสุข จึงไม่ผันแปรไปเป็นอื่นได้


นิพพานโดยการณูปจารนัย

นิพพาน กล่าวโดย การณูปจารนัย คือกล่าวโดยปริยายแห่งเหตุแล้ว มี ๒ คือ

ก. สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่นิพพานที่กิเลสดับสิ้นอย่างเดียว ส่วนขันธ์ ๕ ยังคงเหลืออยู่
ข. อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานที่กิเลสดับสิ้น และขันธ์ ๕ ก็ดับ สิ้นแล้ว ไม่มีขันธ์ ๕ เหลืออยู่ สภาพที่ไม่เกิดซึ่งขันธ์ หลังการดับ ( ของพระอรหันต์เจ้า )


หน้า ๑๒๗

นิพพาน โดยอาการที่เข้าถึง

นิพพาน กล่าวโดยอาการที่เข้าถึง หรือกล่าวโดยสภาพที่บรรลุ หรือโดยอาการ ที่เป็นไปแล้ว มี ๓ คือ

ก. อนิมิตนิพพาน
ข. อัปปณิหิตนิพพาน
ค. สุญญตนิพพาน

ก. อนิมิตนิพพาน หมายถึงนิพพานนั้นไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง การสงัดจากนิมิตอารมณ์ ที่ยังให้เกิดกิเลส หรือ ชรามรณธรรม เป็นต้น นั้น เรียกว่า อนิมิตตนิพพาน


หน้า ๑๒๘

ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นสามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง เห็นความไม่เที่ยง อันปราศจากนิมิตเครื่องหมายเช่นนี้แล้ว และเพ่งอนิจจังต่อไปจน บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นอนิจจังนั้นมี ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน ผู้มีอนิมิตตนิพพานเป็นอารมณ์ บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรง ด้วย ศีล

ข. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้น ไม่มีอารมณ์เป็นที่น่าปรารถนา
การสงัดจากความดิ้นรนอันเป็นเหตุให้เกิดสรรพทุกข์นั้น เรียกว่า อัปปณิหิต นิพพาน
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ ทุกข์ เห็นความทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป อันหาเป็น ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้เช่นนี้แล้ว และเพ่งทุกข์ต่อไปจนบรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นทุกข์นั้นมีชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน ผู้มีอัปปณิหิตนิพพานเป็นอารมณ์ บุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วย สมาธิ


หน้า ๑๒๙

ค. สุญญตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและอุปาทาน และ ขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรเหลืออยู่
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ อนัตตา เห็นความไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นความว่างเปล่า เช่นนี้แล้ว และเพ่งอนัตตาต่อไปจนบรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้เห็นอนัตตานั้น มีชื่อว่า สุญญตนิพพาน ผู้ที่มีสุญญตนิพพานเป็นอารมณ์นี้ บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา
ผู้ที่เห็นสามัญญลักษณ์ หรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจังกับอนัตตาแล้วก้าวขึ้นสู่ มัคคผลนั้น มีจำนวนมากกว่าผู้ที่เห็นทุกขัง


คุณนามของนิพพาน

เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็น ได้ว่า นิพพาน นั้น

ก. กล่าวโดยสภาพ ก็มีเพียง ๑ คือ สันติสุข สงบจากกิเลสและขันธ์ ๕


หน้า ๑๓๐

ข. กล่าวโดยปริยายแห่งเหตุ ก็มี ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน
ค. กล่าวโดยอาการเข้าถึง ก็มี ๓ คือ อนิมิตตนิพพาน อัปปณิหิตนิพพาน และ สุญญตนิพพาน

นอกจากนี้แล้ว ยังมีแสดงไว้อีกหลายนัย เช่น

ง. กล่าวโดยประเภทแห่งมัคค ก็มี ๔ คือ นิพพานแห่งโสดาปัตติมัคค แห่งสกิทาคามิมัคค แห่งอนาคามิมัคค และ แห่งอรหัตตมัคค
จ. กล่าวโดยการดับกามคุณ ก็มี ๕ คือ ดับความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส และในการสัมผัสถูกต้อง
ฉ. กล่าวโดยการดับตัณหา ก็มี ๖ คือ การดับตัณหาในรูป คือการดับรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฐฐัพพตัณหา และ ธัมมตัณหา
ช. กล่าวโดยชื่อ คือ นามแห่งคุณของนิพพาน มีตั้ง ๑๐๐ กว่าชื่อ เพียงแต่ชื่อของนิพพาน ก็พอที่จะทำให้ทราบความ หมายแห่งนิพพานด้วย ดังนั้นจึงขอยกมากล่าวสัก ๓๐ ชื่อ คือ

๑. อเสสวิราคนิโรโธ เป็นธรรมที่ ดับทุกข์โดยพ้นจากราคะไม่มีเศษเหลือ
๒. อเสสภวนิโรโธ เป็นธรรมที่ ดับภพไม่มีเศษเหลือ


หน้า ๑๓๑

๓. จาโค เป็นธรรมที่ สละจากตัณหาทั้งปวง
๔. ปฏินิสฺสคฺโค เป็นธรรมที่ พ้นจากภพต่างๆ
๕. มุตฺติ เป็นธรรมที่ พ้นจากกิเลส
๖. อนาลโย เป็นธรรมที่ ไม่มีความอาลัย
๗. ราคกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นราคะ
๘. โทสกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นโทสะ
๙. โมหกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นโมหะ
๑๐. ตณฺหกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นตัณหา
๑๑. อนุปฺปาโท เป็นธรรมที่ ดับขันธ์ ๕
๑๒. อปวตฺตํ เป็นธรรมที่ ดับรูปนาม
๑๓. อนิมิตฺตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีสังขารนิมิต
๑๔. อปฺปณิหิตํ เป็นธรรมที่ ปราศจากความต้องการ
๑๕. สุญฺญตํ เป็นธรรมที่ สูญสิ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง
๑๖. อปฺปฏิสนฺธิ เป็นธรรมที่ ไม่ปฏิสนธิอีก
๑๗. อนุปฺปตฺติ เป็นธรรมที่ ไม่อุบัติต่อไป
๑๘. อนายูหนํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความพยายามอีกแล้ว
๑๙. อชาตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความเกิด
๒๐. อชรํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความแก่


หน้า ๑๓๒

๒๑. อพยาธิ เป็นธรรมที่ ไม่มีความเจ็บป่วย
๒๒. อคติ เป็นธรรมที่ ไม่มีที่ไป
๒๓. อมตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความตาย
๒๔. อโสกํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความโศกเศร้า
๒๕. อปริเทว เป็นธรรมที่ ไม่มีการร้องไห้
๒๖. อนุปายาส เป็นธรรมที่ ไม่มีการรำพันพร่ำบ่น
๒๗. อสงฺกิลีฏฺฐ เป็นธรรมที่ ไม่มีความเศร้าหมอง
๒๘. อสงฺขตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
๒๙. นิวานํ เป็นธรรมที่ พ้นจากเครื่องร้อยรัด
๓๐. สนฺติ เป็นธรรมที่ สงบสุขจากทุกข์ทั้งปวง


มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๑๔ ส่งท้ายว่า


๑๔. อิติ จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิจฺจปิ
ปรมตฺถํ ปกาเสนฺติ จตุธาว ตถาคตา ฯ


แปลความว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ทรงประกาศปรมัตถธรรม โดยย่อเป็น ๔ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เท่านั้น โดยนัยที่บรรยายมาฉะนี้


หน้า ๑๓๓

อวสานคาถา


อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตถสงฺคเห
ฉฏฐม ปริจฺฌฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ


นี่ปริจเฉทที่ ๖ ( ชื่อ รูปสังคหวิภาค ) ในปกรณ์อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม ที่พระอนุรุทธาจารย์รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อเพียงเท่านี้แล

<<    >>