<<    >>

คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗

สมุจจยสังคหวิภาค

หน้า ๑ 

คู่มือการศึกษา

สมุจจยสังคหวิภาค

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปริจเฉทที่ ๗

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส


ความเบื้องต้น


ปริจเฉทที่ ๗ รวบรวม คำสอน พระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่มีชื่อว่า สมุจจยสังคหวิภาค
สมุจจยสังคหะ
มาจากคำว่า สํ(เข้าด้วยกัน) + อุจฺจย(รวบรวม) + สงฺคห (แสดงโดยย่อ) จึงรวมหมายความว่า แสดงการรวบรวมธรรมที่มีสภาพเข้าด้วยกัน ได้นั้นโดยย่อ

 
สํ ปิณฺเฑตฺวา อุจฺจียนฺเต เอเตนาติ สมุจฺจโย ฯ  

ที่ชื่อว่าสมุจจย เพราะ เป็นการแสดงการรวบรวมปรมัตถ
ธรรมที่มีสภาพเข้ากันได้ ให้อยู่เป็นหมวด ๆ
ในสมุจจยสังคหะนี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้ประพันธ์คาถาสังคหะเป็นหลักในการแสดงไว้ ๑๔ คาถาด้วยกัน คาถาสังคหะที่ ๑ แสดงว่า


๑. ทฺวาสตฺตติวิธา วุตฺตา วตฺถุธมฺมา สลกฺขณา
เตสนฺทานิ ยถาโยคํ ปวกฺขามิ สมุจฺจยํ ฯ


แปลความว่า วัตถุธรรม ๗๒ ประการ อันเป็นไปพร้อมด้วยลักษณะนั้นได้กล่าวมาแล้ว บัดนี้จักแสดง
สมุจจยสังคหะแห่ง วัตถุธรรมทั้ง ๗๒ นั้น ตามควรแก่สภาพที่พึงรวบรวมเข้ากันได้เป็นหมวด ๆ
วัตถุธรรม ๗๒ นั้นเป็นการนับจำนวนตามลักษณะแห่งวัตถุนั้นๆ คือ จิต ๑, เจตสิก ๕๒, นิปผันนรูป ๑๘ และนิพพาน ๑
ที่นับจิตเพียง ๑ เพราะจิตมีลักษณะรับรู้อารมณ์เพียงลักษณะเดียวเท่านั้น


หน้า ๒

ที่นับเจตสิก ๕๒ เต็มจำนวน เพราะเจตสิกแต่ละดวงต่างก็มีลักษณะเฉพาะ ตน แตกต่างกันทั้ง ๕๒ ดวง
ที่นับเฉพาะนิปผันนรูป ๑๘ (คือมหาภูตรูป ๔, ปสาทรูป ๕, โคจรรูป ๔, ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑ และ อาหารรูป ๑) เท่านั้น เพราะเป็น รูปปรมัตถที่มีสภาวะของตนเองปรากฏชัดเจน เป็นรูปที่เกิดด้วยปัจจัย ๔ (คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร)ปรุงแต่ง เป็นรูปที่สาธารณกับไตรลักษณ์ และเป็นรูปที่ ควรแก่การเจริญวิปัสสนาภาวนา
ส่วนที่ไม่นับ อนิปผันนรูป ๑๐ (คือปริจเฉทรูป ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓ และลักขณรูป ๔) ด้วยนั้น เพราะอนิปผันนรูปเป็นรูปปรมัตถที่จะเกิดมีเกิด ปรากฏขึ้นมาได้ ก็ต้องอาศัยนิปผันนรูป นิปผันนรูปมี อนิปผันนรูปจึงปรากฏ ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้ว อนิปผันนรูปก็มีไม่ได้ ปรากฏขึ้นไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่นับอนิป ผันนรูปรวมในที่นี้ด้วย
และที่นับนิพพาน ๑ ก็เพราะนิพพานมีลักษณะแต่อย่างเดียวเท่านั้น คือ สันติลักขณะ


สมุจจยสังคหะ แบ่งเป็น ๔ หมวด

สมุจจยสังคหะจำแนกเป็น ๔ หมวด คือ
๑. อกุสลสังคหะ ๒. มิสสกสังคหะ
๓. โพธิปักขิยสังคหะ ๔. สัพพสังคหะ


๑. อกุสลสังคหะ

หมวดที่สงเคราะห์สภาวธรรมต่าง ๆ มีโอฆะ ๔ เป็นต้น ที่เป็นอกุสลชาติ ล้วน ๆ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุสลสังคหะ อกุสลสังคหะ เป็นการรวบรวมเฉพาะอกุสลธรรมทั้งหมดแสดงไว้ในหมวดนี้ โดยจำแนกไปตามอาการของกิเลส รวมเป็น ๙ กองด้วยกัน คือ
๑. อาสวะ ๒. โอฆะ ๓. โยคะ
๔. คันถะ ๕. อุปาทาน ๖. นิวรณ
๗. อนุสัย ๘. สังโยชน์ ๙. กิเลส


หน้า ๓

มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๒ แสดงว่า


๒. อาสโวฆา จ โยคา จ ตโย คนฺถา จ วตฺถุโต
อุปาทานา ทุเว วุตฺตา อฏฺฐ นิวรณา สิยุํฯ


แปลความว่า อาสวะ โอฆะ โยคะ ก็ดี คันถะ ก็ดี กล่าวโดยวัตถุธรรม ( คือองค์ธรรม ) มี ๓ อุปาทานมี ๒
นิวรณ์มี ๘ รวมได้เท่านี้


อกุสลสังคหะกองที่ ๑ อาสวะ ๔


อาสวนฺติ จิรํ ปริวสนฺตีติ อาสวา ฯ

สิ่งใดถูกหมักดองอยู่นาน ๆ สิ่งนั้น ชื่อว่า อาสวะ  


อาสว = อา (วัฏฏทุกข์ที่ยาวนาน หากำหนดมิได้)+ สว (เจริญรุ่งเรือง) = ธรรม ที่ทำให้วัฏฏทุกข์อันยาวนาน ไม่มีกำหนดนั้น เจริญรุ่งเรืองไม่มีที่สิ้นสุด

 
อายตํ สงฺสารทุกฺขํ สวนฺติ ปสวนฺติ วฑฺเฒนฺตีติ อาสวา ฯ  

ธรรมเหล่าใด ทำให้วัฏฏทุกข์ที่ยาวนานนั้นเจริญรุ่งเรือง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาสวะ

 
ภวโต อาภวคฺคา ธมฺมโต อาโคตฺรภุมฺหา สวนฺติ อารมฺมณกรณวเสน ปวตฺตนฺตีติ อาสวา ฯ

ธรรมเหล่าใดไหลไปถึงหรือเกิดได้ถึง ว่าโดยภูมิถึงภวัคคภูมิ ว่าโดยธรรมถึงโคตรภู ด้วยอำนาจกระทำให้เป็นอารมณ์ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาสวะ

 
อาสว = อา (มีขอบเขตถึงภวัคคภูมิ คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ หรือมี ขอบเขตถึงโคตรภู) + สว (เกิดได้ไหลไปได้)
กิเลสนี่แหละ เมื่อเกิดบ่อย ๆ ก็เคยชิน เลยสะสมจมดองอยู่ในจิตตสันดาน ครั้นจิตประสบกับอารมณ์ใด ด้วยความเคยชินของกิเลสที่หมักหมมจมดองอยู่ ก็ขึ้น มาปรุงแต่งจิตให้น้อมไปตามกิเลสนั้น ๆ อาการที่หมักหมมจมดองอยู่เช่นนี้ จึงเรียก ว่า อาสวะ เมื่อยังมีอาสวะอยู่ตราบใด ตราบนั้นก็ยังต้องวนเวียนอยู่ใน สังสารวัฏฏ
ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนานญฺจ อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ ฯ

(อัฏฐสาลินี)
แปลความว่า ลำดับของขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอยู่โดยไม่ขาดสายนั้น เรียกว่า สังสาระ


หน้า ๔

อาสวะมี ๔ ประการ คือ
๑. กามาสวะ จมอยู่ในความติดใจแสวงหากามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ภวาสวะ จมอยู่ในความชอบใจยินดีในอัตภาพของตน ตลอดจนชอบใจ อยากได้ในรูปภพ อรูปภพ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๓. ทิฏฐาสวะ จมอยู่ในความเห็นผิดจากความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมหรือผิด ทำนองคลองธรรม จึงมีความติดใจในความเห็นผิดนั้น องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อวิชชาสวะ จมอยู่ในความไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง จึงได้ โลภ โกรธ หลง องค์ธรรมได้แก่
โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
รวมอาสวะมี ๔ แต่วัตถุธรรมหรือองค์ธรรมมีเพียง ๓ เท่านั้นคือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ
โมหเจตสิก

 
อัฏฐสาลินีอรรถกถา
แสดงความหมายแห่งอาสวะทั้ง ๔ นี้ว่า
ปญฺจกามคุณิโก ราโค กามาสโว นาม ฯ

ความติดใจใคร่ได้ในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามาสวะ
รูปารูป ภเวสุ ฉนฺทราโค ฌานนิกนฺติ สสฺสตทิฏฺฐิ สหชาโต ราโค ภววเสน ปตฺถนา ภวาสโว นาม ฯ ความชอบใจรักใคร่ในรูปภพ อรูปภพ ความใคร่ในฌาน ราคะที่เกิดพร้อมด้วยสัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจมุ่งภพ ชื่อว่า ภวาสวะ
ทฺวาสฏฺฐีทิฏฺฐิโย ทิฏฺฐาสโว นาม ฯ ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐาสวะ
อฏฺฐสุ ฐาเนสุ อญฺญานํ อวิชฺชาสโว นาม ฯ ความไม่รู้ในฐาน ๘ ชื่อว่า อวิชชาสวะ
ไม่รู้ในฐาน ๘ คือ ไม่รู้อริยสัจ ๔, ไม่รู้อดีต ๑, ไม่รู้อนาคต ๑, ไม่รู้ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ๑, และไม่รู้ปฏิจจสมุปปาท ๑


หน้า ๕

กามาสโว อนาคามิมคฺเคน ปหียตี ภวาสโว อรหตฺตมคฺเคน ทิฏฺฐาสโว โสตาปตฺติมคฺเคน อวิชฺชาสโว อรหตฺตมคฺเคน ฯ
อนาคามิมัคค ประหาร กามาสวะ
อรหัตตมัคค ประหาร ภวาสวะ
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐาสวะ
อรหัตตมัคค ประหาร อวิชชาสวะ


อกุสลสังคหะกองที่ ๒ โอฆะ ๔


อวตฺถริตฺวา หนนฺตีติ โอฆา ฯ  

ธรรมชาติใดย่อมท่วมทับเบียดเบียนสัตว์ ทั้งหลาย ธรรมชาตินั้นชื่อว่า โอฆะ คือ ห้วงน้ำ

 
อวหนนฺติ โอสีทาเปนฺตีติ โอฆา ฯ  

ธรรมเหล่าใดทำให้สัตว์ทั้งหลายจมลง ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า โอฆะ

 
โอฆะ มีความหมายว่า เป็นอ่าว หรือเป็นห้วงน้ำ และเป็นห้วงน้ำที่ไหลวน มีลักษณะที่ดูดสัตว์ให้จมลงสู่ที่ต่ำ กล่าวโดยภูมิ และกล่าวโดยจิตก็เป็นไปในทำนอง เดียวกับอาสวะ กล่าวคือ จมอยู่ในระหว่างอบายถึงพรหม จนกว่าจะว่ายแหวกไปถึง โคตรภูญาณ

 
โอฆะ มี ๔ ประการ คือ
๑. กาโมฆะ ห้วงแห่งกาม พาให้สัตว์จมอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ภโวฆะ ห้วงแห่งภพ พาให้สัตว์จมอยู่ในความยินดีต่ออัตภาพของตน ตลอดจนชอบใจอยากได้รูปภพ อรูปภพ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิคต วิปปยุตตจิต ๔
๓. ทิฏโฐฆะ ห้วงแห่งความเห็นผิด พาให้สัตว์จมอยู่ในความเห็นผิดจาก ความเป็นจริงของสภาวธรรม องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตต จิต ๔
๔. อวิชโชฆะ ห้วงแห่งความหลง พาให้สัตว์ลุ่มหลงจมอยู่ในความไม่รู้เหตุ ผลตามความเป็นจริงจึง โลภ โกรธ หลง องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุสล จิต ๑๒
รวมโอฆะมี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ โมหเจตสิก (เท่ากันและ
เหมือนกันกับองค์ธรรมของอาสวะ)
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏโฐฆะ
อนาคามิมัคค ประหาร กาโมฆะ
อรหัตตมัคค ประหาร ภโวฆะ และอวิชโชฆะ


หน้า ๖

อกุสลสังคหะกองที่ ๓ โยคะ ๔

วฏฺฏสฺสมึ สตฺเต โยเชนฺตีติ โยคา ฯ ธรรมที่ประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏ ทุกข์ (คือภพต่าง ๆ)
นั้นชื่อว่า โยคะ

โยคะ หมายความว่า เครื่องประกอบ ทำหน้าที่ประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ใน สังสารทุกข์ เหมือนตะปูที่ตอกตรึงเครื่องประกอบบ้านเรือนไว้
อีกนัยหนึ่งหมายความว่า ประกอบสัตว์ให้ติดแน่นในสังสารวัฏฏเหมือนติดไว้ ด้วยกาว ยากแก่การที่จะถอนให้หลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร
โยคะ มี ๔ ประการ คือ
๑. กามโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับกามคุณ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภ มูลจิต ๘
๒. ภวโยคะ ตึงให้ติดอยู่กับความยินดีในอัตภาพของตน ตลอดจนชอบใจ ในรูปภพ อรูปภพ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๓. ทิฏฐิโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับความเห็นผิดจากความเป็นจริงของสภาวธรรม องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อวิชชาโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับความหลง เพราะไม่รู้เหตุผลตามความเป็น จริง จึงโลภ โกรธ หลง องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒
รวมโยคะมี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ โมหเจตสิก (เท่ากันและเหมือนกันกับองค์ธรรมของ อาสวะ และของโอฆะ)
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐิโยคะ
อนาคามิมัคค ประหาร กามโยคะ
อรหัตตมัคค ประหาร ภวโยคะ และ อวิชชาโยคะ
อนึ่ง อาสวะ โอฆะ โยคะ ทั้ง ๓ กองที่กล่าวแล้วนี้ แต่ละกองก็มีธรรม ๔ ประการเท่ากัน ชื่อของธรรมก็เหมือนกัน
คือ มี กาม ภวะ ทิฏฐิ อวิชชา และ องค์ธรรมก็มี ๓ เท่ากันและเหมือนกัน คือ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ


หน้า ๗

อกุสลสังคหะกองที่ ๔ คันถะ ๔

กาเยน กายํ คนฺเถนฺตีติ กายคนฺถา ฯ ธรรมเหล่าใดผูก คือเกี่ยวคล้องไว้ ระหว่างนามกายใน
รูปกายปัจจุบันภพ กับนามกายรูปกายในอนาคตภพ
ธรรมเหล่า นั้นชื่อว่า กายคันถะ
คนฺถ กรณํ สงฺขลิก จกฺกลกานํ วิย ปฏิพนฺตา กรณํ วา คนฺถนํ คนฺโถ ฯ การร้อยรัดหรือผูกพันให้ติด
อยู่ประดุจจะโซ่เหล็กนั้น ชื่อว่า คันถะ
คันถะ มีความหมายว่า ผูกมัดหรือทำให้เป็นปม อีกนัยหนึ่งหมายความว่า เป็นห่วงที่ร้อยรัดไว้ในระหว่าง จุติ-ปฏิสนธิ ให้เกิดก่อต่อเนื่องกันไม่ให้พ้นไปจาก วัฏฏทุกข์ได้
คันถะ มี ๔ ประการ คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ ผูกมัดอยู่กับความยินดี ชอบใจ อยากได้ องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน
โลภมูลจิต ๘
อภิชฌา ที่เป็นคันถะนี้แตกต่างกับอภิชฌาที่เป็นมโนทุจริต คือ
อภิชฌาที่เป็นมโนทุจริตนั้น เป็นโลภะอย่างหยาบ มีสภาพอยากได้ทรัพย์ สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของ
ตนโดยไม่ชอบธรรม
ส่วนอภิชฌาที่เป็นคันถะนี้ เป็นได้ทั้งโลภะอย่างหยาบ และอย่างละเอียดทั้ง หมดที่เกี่ยวกับความอยากได้ ความชอบใจในทรัพย์สมบัติของผู้อื่น หรือแม้ของ ตนเอง จะโดยชอบธรรมก็ตาม ไม่ชอบธรรมก็ตาม จัดเป็นอภิชฌากายคันถะทั้งสิ้น
๒. พยาปาทกายคันถะ ผูกมัดอยู่กับความโกรธ จะถึงกับคิดปองร้ายด้วย หรือไม่ก็ตาม องค์ธรรมได้แก่
โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
พยาปาท ที่เป็นคันถะนี้ แตกต่างกับพยาปาทที่เป็นมโนทุจจริต คือ
พยาปาทที่เป็นมโนทุจจริต ได้แก่ โทสะอย่างหยาบ เกี่ยวกับการปองร้ายผู้อื่น ตลอดจนการนึกคิด
ให้เขามีความลำบาก เสียหายต่าง ๆ หรือนึกแช่งผู้อื่นที่เขา ไม่ชอบนั้นให้ถึงแก่ความตาย
ส่วนพยาปาท ที่เป็นคันถะนี้ ได้แก่ โทสะอย่างหยาบก็ตาม อย่างละเอียด ก็ตาม คือ ความไม่ชอบใจ
ไม่พอใจ โกรธ เกลียด กลัว กลุ้มใจ เสียใจ ตลอดไปจน ถึงการทำปาณาติบาต ผรุสวาท เหล่านี้ จัดเป็นพยาปาทกายคันถะทั้งสิ้น


หน้า ๘

๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด ว่าปฏิบัติอย่างนี้แหละ
เป็นทางให้พ้นทุกข์ โดยเข้าใจว่าเป็นการถูกต้องแล้วชอบแล้ว แต่ถ้าหากว่ามีผู้รู้แนะนำสั่งสอนทางที่ถูกต้องให้ ก็สามารถกลับใจได้ จึงเปรียบไว้ว่า เป็นทิฏฐิชั้นลูกศิษย์ พอจะแก้ให้ถูกได้ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคต สัมปยุตตจิต ๔
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด แต่ว่ารุนแรงมั่นคงแน่ว
แน่มากกว่าในข้อ ๓ นอกจากนั้นแล้วยังดูหมิ่นและเหยียบย่ำ ทับถมวาทะ หรือมติของผู้อื่นด้วย ถึงแม้ว่าจะมีผู้รู้มาชี้แจงแสดงเหตุผลในทางที่ถูก ที่ชอบประการใด ๆ ก็ไม่ยอมกลับใจได้เลย จึงมีข้อเปรียบไว้ว่าเป็นทิฏฐิชั้นอาจารย์ เพราะไม่สามารถที่จะแก้มาในทางที่ชอบได้ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔
รวมคันถะมี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก และ ทิฏฐิเจตสิก (จำนวน ๓ เท่ากัน แต่องค์ธรรมไม่เหมือนกันกับของ อาสวะ โอฆะ โยคะ)
โสดาปัตติมัคค ประหาร สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
อนาคามิมัคค ประหาร พยาปาทกายคันถะ
อรหัตตมัคค ประหาร อภิชฌากายคันถะ


อกุสลสังคหะกองที่ ๕ อุปาทาน ๔

อุปาทาน = อุป (มั่น) + อทาน( ยึด) = ยึดมั่น
อุปาทียนฺตีติ อุปาทานานิ ฯ ธรรมเหล่าใดย่อมยึดมั่นในอารมณ์ ฉะนั้นธรรม เหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน
ภุสํ อาทิยนฺติ อมุญฺจคาหํ คณฺหนฺตีติ อุปาทานานิ ฯ ธรรมเหล่าใดยึดถือ อย่างแรงกล้า(คือถือไว้ไม่ปล่อย) ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน
ตัณหา คือ ความอยากได้ในอารมณ์ที่ตนยังไม่ได้
อุปาทาน คือ ความยึดมั่นในอารมณ์ที่ตนได้มาแล้วนั้นโดยไม่ยอมปล่อย
อีกนัยหนึ่ง ตัณหา คือ ความชอบใจต้องการอารมณ์ที่ตนได้พบครั้งแรก อุปาทาน คือ ความติดใจในอารมณ์ที่ตนได้พบนั้นไม่หาย ครุ่นคิดถึงอยู่เสมอ


หน้า ๙

ตัณหา เปรียบไว้ว่าเหมือนต้นไม้ที่ยังเล็กอยู่ ย่อมถอนได้ง่าย ส่วน อุปาทาน เหมือนต้นไม้ที่ใหญ่โตแล้ว ถอนยาก เพราะรากแก้วยึดมั่นเสียแล้ว
อุปาทาน มี ๔ ประการ คือ
๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน
โลภมูลจิต ๘
๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในการเห็นผิด มี นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ และ ทิฏฐิ ๖๒ (ที่นอกจาก สีลัพพตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ ซึ่งจะกล่าวต่อไปเป็นข้อ ๓ และ ข้อ ๔) องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค และ สุนัข เป็นต้น อันเป็นการปฏิบัติที่นอกไปจาก มัชฌิมาปฏิปทา การยึดมั่นในการ ปฏิบัติที่ผิดเช่นนี้ บางทีก็เรียกว่า สีลัพพตทิฏฐิ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน หรือว่ามีตัว มีตนอยู่ในเบ็ญจขันธ์ ซึ่งได้แก่ สักกายทิฏฐิ นั่นเอง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
รวมอุปาทาน มี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๒ คือ โลภเจตสิก และ ทิฏฐิเจตสิก
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน
อรหัตตมัคค ประหาร กามุปาทาน


อกุศลสังคหะกองที่ ๖ นิวรณ์ ๖

ฌานาทิกํ นิวาเรนฺตีติ นิวรณานิฯ ธรรมเหล่าใดที่ขัดขวางกุสลธรรม มีฌาน เป็นต้นไม่ให้เกิดขึ้น
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า นิวรณ์
มีความหมายว่า นิวรณ์ เป็นเครื่องขัดขวางในการกระทำความดีเป็นเครื่องกั้น เครื่องห้ามไม่ให้ ฌาน มัคค ผล อภิญญา สมาบัติ เกิดขึ้นได้


หน้า ๑๐

นิวรณ์ มี ๖ ประการ คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความชอบใจอยากได้ในกามคุณอารมณ์ เมื่อชอบใจและต้องการ
แต่ในกามคุณอารมณ์แล้ว ก็ย่อมขาดสมาธิในอันที่จะทำ ความดี มีฌานและมัคคผลเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. พยาปาทนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความไม่ชอบใจในอารมณ์ เมื่อจิตใจ มีแต่ความขุ่นเคืองไม่ชอบใจแล้ว ก็ย่อมขาดปีติความอิ่มใจในการกระทำความดี มี ฌานเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความหดหู่ท้อถอยในอารมณ์ เมื่อจิตใจ หดหู่ท้อถอยเสียแล้ว ก็ย่อมขาดวิตก คือไม่มีแก่ใจที่จะนึกคิดให้ติดอยู่ในอารมณ์ที่จะ กระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก ที่ในอกุสลสสังขาริกจิต ๕
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะคิดฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เมื่อจิตใจ เป็นดังนี้ ก็ย่อมขาดความ
สุขใจในอันที่จะกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจ เจตสิก กุกกุจจเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความสงสัย ลังเลใจ เมื่อจิตใจเกิดความ ลังเลสงสัยเสียแล้ว ก็ย่อมขาดวิจารในอันที่จะพินิจพิจารณาในการกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑
๖. อวิชชานิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความไม่รู้ มีการทำให้หลงลืม ก็ย่อมขาด สติ ไม่ระลึกถึงความดีที่ตนจะกระทำ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

 
รวมนิวรณ์ มี ๖ แต่องค์ธรรมมีถึง ๘ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก อุทธัจจเจตสิก กุกกุจจเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก และ โมหเจตสิก
ถีนมิทธนิวรณ์
นี้ เป็นเจตสิก ๒ ดวงคือ ถีนเจตสิก ดวงหนึ่ง และ มิทธเจตสิก อีกดวงหนึ่ง แต่เมื่อจัด
เป็นนิวรณ์นับเป็นนิวรณ์เดียว ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถีนก็ดี มิทธก็ดี เมื่อว่าโดยกิจ คือ หน้าที่การงาน ก็มีหน้าที่ทำให้จิตหดหู่ ท้อถอยต่อ อารมณ์ ไม่จับอารมณ์ ไม่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เมื่อว่าโดยอาการ คือเหตุ ก็เป็นเหตุ ให้เกียจคร้าน เมื่อว่าโดยวิโรธปัจจัย คือข้าศึก ก็เป็นปฏิปักษ์กับวิริยะ เหมือน ๆ กัน ดังนั้นจึงจัด เป็นนิวรณ์เดียวกัน


หน้า ๑๑

อุทธัจจะ และ กุกกุจจะ ที่จัดเป็นนิวรณเดียว ก็ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ว่าโดยกิจ ก็ทำให้ไม่สงบ ว่าโดยอาการ ก็เพราะเหตุที่คิดถึง พยสนะ ๕ ประการ ว่าโดยวิโรธปัจจัย ก็เป็นศัตรูกับความสุข คือ ถ้าไม่สงบ ก็ไม่เป็นสุข ต่อเมื่อสงบก็เป็นสุข เมื่อมีสุขเวทนาก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เอกัคคตา คือการตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียว การตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างแน่แน่ว ก็เรียกว่า สมาธิ
พยสนะ ๕ ประการ เรียกว่า วิบัติ ๕ ก็ได้นั้น ได้แก่ ญาติพยสนะ ความพินาศไปแห่งญาติ โภคพฺยสน ความพินาศไปแห่งทรัพย์สมบัติ โรคพฺยสน โรคภัยเบียดเบียน สีลพฺยสน ความทุสีล เสื่อมสีล สิกขาบทที่รักษาอยู่นั้นขาดไป ทิฏฐิพฺยสน ความเห็นผิด ทำให้สัมมาทิฏฐิพินาศไป
ในการเจริญสมถภาวนา ข่มนิวรณ์เพียง ๕ ประการ คือ ประการที่ ๑ ถึง ๕ ไว้ได้ โดยวิขัมภนปหาน ก็สามารถถึงฌานได้
ส่วนการเจริญวิปัสสนาภาวนา ต้องประหารนิวรณ์ทั้ง ๖ ประการ โดย สมุจเฉทปหาน จึงจะบรรลุมัคคผล
โสดาปัตติมัคค ประหาร วิจิกิจฉานิวรณ์
อนาคามิมัคค ประหาร กามฉันทนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์และพยาปาทนิวรณ์
อรหัตตมัคค ประหาร นิวรณ์ที่เหลือนั้นได้หมดเลย
อนึ่ง ใคร่จะกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ด้วยว่า ถีนมิทธเจตสิก นั้นเป็นนิวรณ์ เป็น กิเลส แต่ ถีนมิทธ ที่เป็นธรรมประจำกาย นั้น ไม่ใช่นิวรณ์และไม่เป็นกิเลส
กายานุคตธรรม ธรรมประจำกายนั้น มี ๑๐ ประการ คือ ๑. สีต เย็น , ๒. อุณฺห ร้อน, ๓. ชิฆจฺฉา หิว,
๔. ปิปาส กระหาย, ๕. อุจฺจาร ถ่ายหนัก, ๖. ปสฺสาว ถ่ายเบา, ๗. ถีนมิทฺธ การหลับนอน, ๘. ชรา แก่, ๙. พยาธิ เจ็บไข้ได้ป่วย, ๑๐.มรณ ตาย
อกุสลสังคหะ ๙ กองนั้น ได้กล่าวมาแล้ว ๖ กอง ยังเหลืออีก ๓ กอง มีคาถาสังคหะที่ ๓ แสดงว่า


๓. ฉเฬวานุสยา โหนติ นว สญฺโญชนา มตา
กิเลสา ทส วุตฺโตยํ นวธา ปาปสงฺคโห ฯ


แปลความว่า อนุสัย มี ( องค์ธรรม ) ๖ สังโยชน์ มี ( องค์ธรรม ) ๙ เท่านั้น กิเลสคง มี ( องค์ธรรม ) ๑๐
อกุสลสังคหะย่อมมี ๙ กองฉะนี้


หน้า ๑๒

อกุสลสังคหะกองที่ ๗ อนุสัย ๗

สนฺตาเน อนุ อนุ เสนฺตีติ อนุสยา ฯ ธรรมเหล่าใดที่ตามนอนเนื่องอยู่ใน สันดานเป็นเนืองนิจ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อนุสัย
จิตฺตสนฺตาเน นิทหิตฺวา ว ฯ ฝากไว้ในจิตตสันดานนั่นเทียว
อนุรูปํ การณํ ลภิตฺวา เสนฺติ อุปฺปชฺชนฺตีติ อนุสยา ฯ ธรรมเหล่าใดเมื่อได้ เหตุอันสมควรแล้ว ย่อม
เกิดขึ้นได้ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อนุสัย
รวมความว่า อนุสัย หมายถึงกิเลสอย่างละเอียดที่ตามนอนเนื่องอยู่ในจิตต สันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นประจำ ต่อเมื่อใดได้เหตุอันสมควรแล้ว ก็ปรากฏขึ้น เมื่อนั้น

 
อนุสัย มี ๗ ประการ คือ
๑. กามราคานุสัย สันดานที่ชอบใจในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภ เจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ภวราคานุสัย สันดานที่ชอบใจในอัตภาพของตนและชอบใจในรูปภพ อรูปภพ องค์ธรรมได้แก่
โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๓. ปฏิฆานุสัย สันดานที่โกรธเคือง ไม่ชอบใจในอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๔. มานานุสัย สันดานที่ทะนงตน ถือตัว ไม่ยอมลงให้แก่ใคร องค์ธรรม ได้แก่ มานเจตสิก ที่ใน
ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๕. ทิฏฐานุสัย สันดานที่มีความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๖. วิจิกิจฉานุสัย สันดานที่ลังเลและสงสัยไม่แน่ใจ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉา เจตสิก ที่ใน
วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑
๗. อวิชชานุสัย สันดานที่มีความลุ่มหลงมัวเมา เพราะไม่รู้เหตุผลตามความ เป็นจริง องค์ธรรมได้แก่
โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
รวมอนุสัย มี ๗ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๖ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก
วิจิกิจฉาเจตสิก
และ โมหเจตสิก
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย
อนาคามิมัคค ประหาร กามราคานุสัย และ ปฏิฆานุสัย
อรหัตตมัคค ประหาร อนุสัยที่เหลือนั้นทั้งหมด


หน้า ๑๓

อกุสลสังคหะกองที่ ๘ สังโยชน ๑๐

สํโยเชนฺติ พนฺธนฺตีติ สํโยชนานิ ฯ ธรรมเหล่าใดย่อมผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังโยชน์
ทูรคตสฺสาปี อากฑฺฒนโต นิสฺสริตุํ อปฺปทานวเสน พนฺธนํ สํโยชนํ ฯ การผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์ ด้วยอำนาจไม่ให้ออกไปจากทุกข์ในวัฏฏะ โดยเหตุ ที่คร่าหรือดึงสัตว์ที่อยู่ในที่ไกลให้ลงมา นั้นชื่อว่า สังโยชน์
สัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือก คือ สังโยชน ผูกคอไว้ในกามคุณทั้ง ๕ ซึ่งเปรียบ ด้วยเรือนจำ จึงไม่สามารถที่จะไปไหนได้เลย
สังโยชน์ หรือ สัญโญชน์ มี ๒ นัย คือ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมและ ตามนัยแห่งพระสูตร ต่างก็มีจำนวนนัยละ ๑๐ ประการเท่ากัน เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง ดังต่อไปนี้


สังโยชน์ตามนัยแห่งพระอภิธรรม

สังโยชน์ตามนัยแห่งพระสูตร

๑. กามราคสังโยชน์
โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘

๑. กามราคสังโยชน์
โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘

๒. ภวราคสังโยชน์
โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๒. รูปราคสังโยชน์
โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๓. ปฏิฆสังโยชน์
โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒

๓. อรูปราคสังโยชน์
โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๔. มานสังโยชน์
มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๔. ปฏิฆสังโยชน์
โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒


หน้า ๑๔

สังโยชนตามนัยแห่งพระอภิธรรม(ต่อ)

สังโยชนตามนัยแห่งพระสูตร(ต่อ)

๕. ทิฏฐิสังโยชน์
ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต ๔

๕. มานสังโยชน์
มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต ๔

๖. ทิฏฐิสังโยชน์
ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต ๔

๗. วิจิกิจฉาสังโยชน์
วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต

๗. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต ๔

๘. อิสสาสังโยชน์
อิสสาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒

๘. วิจิกิจฉาสังโยชน์
วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต

๙. มัจฉริยสังโยชน์
มัจฉริยเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒

๙. อุทธัจจสังโยชน์
อุทธัจจเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

๑๐. อวิชชาสังโยชน์
โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

๑๐. อวิชชาสังโยชน์
โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมสังโยชน์ตามนัยแห่งพระอภิธรรม
มีองค์ธรรม ๘ คือ

โลภเจตสิก
โทสเจตสิก
มานเจตสิก
ทิฏฐิเจตสิก
วิจิกิจฉาเจตสิก
อิสสาเจตสิก
มัจฉริยเจตสิก และ
โมหเจตสิก

รวมสังโยชน์ตามนัยแห่งพระสูตร
นั้นมี องค์ธรรมเพียง ๗ คือ
โลภเจตสิก
โทสเจตสิก
มานเจตสิก
ทิฏฐิเจตสิก
วิจิกิจฉาเจตสิก
อุทธัจจเจตสิก และ
โมหเจตสิก

เมื่อรวมองค์ธรรมของสังโยชน์ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม และตามนัยแห่ง พระสูตรเข้าด้วยกันแล้ว ก็ได้
องค์ธรรม ๙ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก อุทธัจจเจตสิก และ โมหเจตสิก
ดังนั้นจึงกล่าวว่า สังโยชน์ มี ๑๐ ประการ รวมมีองค์ธรรม ๙
สังโยชน์นี้ ยังจำแนกได้เป็น ๒ จำพวก คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ และ อุทธังภาคิยสังโยชน์


หน้า ๑๕

โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายความว่า สังโยชน์อันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องต่ำ
อุทธังภาคิยสังโยชน์ หมายความว่า สังโยชน์อันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องสูง

ตามนัยแห่งพระอภิธรรม

ตามนัยแห่งพระสูตร

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๗
กามราคะ
ปฏิฆะ
ทิฏฐิ
สีลัพพตปรามาส
วิจิกิจฉา
อิสสา
มัจฉริยะ

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
กามราคะ
ปฏิฆะ
ทิฏฐิ
สีลัพพตปรามาส
วิจิกิจฉา

อุทธังภาคิยสังโยชน์ ๓
ภวราคะ

มานะ

อวิชชา

อุทธังภาคิยสังโยชน์ ๕
รูปราคะ
อรูปราคะ
มานะ
อุทธัจจะ
อวิชชา

การประหารสังโยชน์โดยลำดับแห่งกิเลส คือ ตามลำดับแห่งสังโยชน์นั้น สังโยชน์ใดพึงประหารโดยอริยมัคคใด
ดังต่อไปนี้
กิเลสปฏิปาฏิยา กามราคปฏิฆสํโยชนานิ อานาคามิมคฺเคน ปหียนฺติ มาน สํโยชนํ อรหตฺตมคฺเคน, ทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉา สีลพฺพตปรามาสา โสตาปตฺติมคฺเคน, ภวราคสํโยชนํ อรหตฺตมคฺเคน, อิสฺสามจฺฉริยานิ โสตาปตฺติมคฺเคน, อวิชฺชา อรหตฺตมคฺเคนฯ


หน้า ๑๖

กามราคสังโยชน์
ปฏิฆสังโยชน์

พึงประหารโดย อนาคามิมัคค

มานสังโยชน์

พึงประหารโดย อรหัตตมัคค

ทิฏฐิสังโยชน์
วิจิกิจฉาสังโยชน์
สีลัพพตปรามาสสังโยชน์

พึงประหารโดย โสดาปัตติมัคค

ภวราคสังโยชน์

พึงประหารโดย อรหัตตมัคค

อิสสาสังโยชน์
มัจฉริยสังโยชน์

พึงประหารโดย โสดาปัตติมัคค

อวิชชาสังโยชน์

พึงประหารโดย อรหัตตมัคค

 

ที่กล่าวมานี้ เป็นการแสดงการประหารสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ส่วนการประหารสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยแห่งพระสูตรนั้น ดังนี้

โสดาปัตติมัคค ประหาร

ทิฏฐิสังโยชน์
สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
วิจิกิจฉาสังโยชน์

อนาคามิมัคค ประหาร

กามราคสังโยชน์
ปฏิฆสังโยชน์

อรหัตตมัคค ประหาร

รูปราคสังโยชน์
อรูปราคสังโยชน์
มานสังโยชน์
อุทธัจจสังโยชน์
อวิชชาสังโยชน์

 

อกุสลสังคหะกองที่ ๙ กิเลส ๑๐

กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ กิเลสา ฯ ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า กิเลส
กิลิสฺสติ เอเตหีติ กิเลสา ฯ สัมปยุตตธรรม (คือ จิตและเจตสิก) ย่อมเศร้า หมองด้วยธรรมชาติใด ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรม นั้นชื่อว่า กิเลส


หน้า ๑๗

สงฺกิเลเสตีติ สงฺกิเลโส วิพาธติ อุปฺปาเปติ จาติ อตฺโถ ฯ ธรรมเหล่าใด ย่อมเศร้าหมอง ธรรมเหล่านั้น
ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่ายังสัตว์ให้เร่าร้อน
รวมหมายความว่า กิเลสเป็นสภาพธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน ซึ่งยังให้ สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองและเร่าร้อน
กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ
๑. โลภกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖ องค์ ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน
โลภมูลจิต ๘
๒. โทสกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖ องค์ธรรม ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน
โทสมูลจิต ๒
๓. โมหกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้สึกตัว ปราศจากสติสัมปชัญญะ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๔. มานกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความทนงตนถือตัว องค์ธรรม ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๕. ทิฏฐิกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตาม ความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๖. วิจิกิจฉากิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความสงสัยลังเลใจใน พระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉา สัมปยุตตจิต ๑
๗. ถีนกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร องค์ ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอกุสลสสังขาริกจิต ๕
๘. อุทธัจจกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะเกิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๙. อหิริกกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ละอายในการกระทำบาป องค์ธรรมได้แก่ อหิริกเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๑๐. อโนตตัปปกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่เกรงกลัวผลของการ กระทำบาป องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒


หน้า ๑๘

รวมกิเลสมี ๑๐ องค์ธรรมก็คง ๑๐ เท่ากัน ชื่อของกิเลสและชื่อขององค์ ธรรมก็ตรงกัน
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐิ และ วิจิกิจฉา
อนาคามิมัคค ประหาร โทสะ
อรหัตตมัคค ประหาร กิเลสที่เหลือคือ โลภะ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ ได้ทั้งหมด

สรุปอกุสลสังคหะทั้ง ๙ กอง

โลภเจตสิก

มีทุกกอง ครบหมดทั้ง ๙ กอง

 

 

 

 

 

ทิฏฐิเจตสิก

มี ๘ กอง (เว้นนิวรณ์)

 

 

 

 

 

โมหเจตสิก

มี ๗ กอง (เว้นคันถะ อุปาทาน)

 

 

 

 

 

โทสเจตสิก

มี ๕ กอง คือ

คันถะ

นิวรณ์

อนุสัย

สังโยชน์

กิเลส

วิจิกิจฉาเจตสิก

มี ๔ กอง คือ

--

นิวรณ์

อนุสัย

สังโยชน์

กิเลส

อุทธัจจเจตสิก

มี ๓ กอง คือ

--

นิวรณ์

--

สังโยชน์

กิเลส

มานเจตสิก

มี ๓ กอง คือ

--

--

อนุสัย

สังโยชน์

กิเลส

ถีนเจตสิก

มี ๒ กอง คือ

--

นิวรณ์

--

--

กิเลส

เจตสิกที่เหลือนอกนั้นอีก ๖ คือ มิทธะ กุกกุจจะ อิสสา มัจฉริยะ อหิริกะ และ อโนตตัปปะ ต่างก็มีแต่ละกองเดียวเท่านั้น


กิเลส ๑๕๐๐


อารมฺมณธมฺม = ธรรมที่เป็นอารมณ์

อชฺฌตฺต
ภายใน

พหิทฺธ
ภายนอก

รวม

นาม

จิต
เจตสิก


๕๒


๕๒


๑๐๔

รูป

นิปผันนรูป
ลักขณรูป

๑๘

๑๘

๓๖

รวม

 

๗๕

๗๕

๑๕๐


หน้า ๑๙

อารัมมณธรรม คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์ ๑๕๐ คูณด้วยกิเลส ๑๐ จึงเป็นกิเลส โดยพิสดาร ๑,๕๐๐
ที่แสดงกิเลส ๑,๕๐๐ นี้ เป็นการแสดงกิเลสตามธรรมที่เป็นอารมณ์ ทั้งภาย ในและภายนอก
อีกนัยหนึ่ง จำแนกกิเลสออกตามอาการของกิเลส ก็จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
ก. อนุสยกิเลส ได้แก่ กิเลสที่ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดาน หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้นอนสงบนิ่งอยู่ ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์ ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ ได้ และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
ข. ปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ กิเลสที่เกิดอยู่ภายใน หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้เกิดอยู่ในมโนทวารเท่านั้น คือลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อยู่ในใจ ยังไม่ถึงกับแสดง ออกมาทางวาจาหรือทางกาย ซึ่งตัวเองรู้ ส่วนคนอื่นบางทีก็รู้บางทีก็ไม่รู้
ค. วีติกกมกิเลส ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นภายนอก หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้ได้ล่วงออกมาแล้วถึงกายทวาร หรือวจีทวาร อันเป็นการลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อย่าง โจ่งแจ้ง


ตัณหา ๑๐๘

อารมณ์ตัณหา ๖ คือรูปตัณหา ๑, สัททตัณหา ๑, คันธตัณหา ๑, รสตัณหา ๑, โผฏฐัพพตัณหา ๑ และ
ธัมมตัณหา ๑
ปวัตติอาการ คือ อาการที่เป็นไป ๓ ได้แก่ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ และ วิภวตัณหา ๑
อารมณ์ตัณหา ๖ คูณด้วยปวัตติอาการ ๓ เป็นตัณหา ๑๘
ตัณหา ๑๘ นี้ เกิดที่สัณฐานใน คือ เกิดภายใน ๑ และเกิดที่สัณฐานนอก คือ เกิดภายนอก ๑ รวมเป็น ๒
คูณกับตัณหา ๑๘ นั้น เป็นตัณหา ๓๖
ตัณหา ๓๖ นี้ เกิดได้ในกาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบันกาล ๑ อดีตกาล ๑ และ อนาคตกาล ๑ เอากาลทั้ง ๓ นี้คูณตัณหา ๓๖ นั้นอีก จึงรวมเป็นตัณหา ๑๐๘


หน้า ๒๐

อุปกิเลส ๑๖

เครื่องเศร้าหมอง อีกนัยหนึ่ง มีชื่อว่า อุปกิเลส มีจำนวน ๑๖ คือ
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา องค์ธรรม โลภะ
๒. โทสะ ร้ายกาจ ทำลาย องค์ธรรม โทสะ
๓. โกธะ โกรธ เดือดดาล องค์ธรรม โทสะ
๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ องค์ธรรม โทสะ
๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน องค์ธรรม ทิฏฐิ
๖. ปลาสะ ตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน องค์ธรรม มานะ
๗. อิสสา ริษยา องค์ธรรม อิสสา
๘. มัจฉริยะ ตระหนี่ องค์ธรรม มัจฉริยะ
๙. มายา มารยา เจ้าเล่ห์ องค์ธรรม โลภะ
๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด องค์ธรรม มานะ
๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ องค์ธรรม มานะ
๑๒. สารัมภะ แข่งดี องค์ธรรม มานะ
๑๓. มานะ ถือตัว องค์ธรรม มานะ
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน องค์ธรรม มานะ
๑๕. มทะ มัวเมา องค์ธรรม โมหะ
๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ องค์ธรรม โมหะ


๒. มิสสกสังคหะ

กุสลากุสลาพฺยากต มิสฺสกานํ เหตุฉกฺกาทีนํ สงฺคโหติ ฯ ธรรมคือเหตุ ๖ เป็นต้น ที่สงเคราะห์ลงปะปนกันได้ทั้งในกุสล อกุสล อพยากตะนั้น เรียกว่า มิสสก สังคหะ
มีความหมายว่า ธรรมบางประการเช่นเหตุ ๖ เป็นต้น เป็นธรรมที่เจือปน ระคนกันกับกุสล อกุสล และอพยากตะก็ได้ ดังนั้นจึงได้รวบรวมธรรมเหล่านั้น อันมีเหตุ ๖ เป็นต้น มาแสดงไว้โดยย่อในมิสสกสังคหะนี้


หน้า ๒๑

มิสสกสังคหะ จำแนกเป็น ๗ กอง คือ

๑. เหตุ ๒. ฌานังคะ ๓. มัคคังคะ
๔. อินทรีย ๕. พละ ๖. อธิปติ
๗. อาหาร

มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๔ แสดงว่า


๔. ฉ เหตู ปญฺจ ฌานงฺคา มคฺคงฺคา นว วตฺถุโต
โสฬสินฺทฺริยธมฺมา จ พลธมฺมา นเวริตา ฯ


แปลความว่า กล่าวโดยวัตถุธรรม (คือองค์ธรรม) เหตุมี ๖ องค์ฌานมี ๕ องค์ มัคคมี ๙ ธรรมคืออินทรียมี ๑๖ และธรรมคือพละมี ๙


มิสสกสังคหะกองที่ ๑ เหตุ ๖

ผลย่อมเกิดเพราะธรรมเหล่านี้ ดังนั้นธรรมเหล่านี้จึงได้ชื่อว่า เหตุ ธรรมทั้ง หลายที่ได้รับอุปการะจากเหตุ ย่อมมีสภาพมั่นคงในอารมณ์ เหมือนต้นไม้ที่มีราก งอกงามแผ่ไปฉะนั้น
มีความหมายว่า ผลย่อมเกิดมาจากธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นแหละชื่อว่า เหตุ
กล่าวอีกนัยหนึ่งอย่างสั้น ๆ ก็ว่า เหตุคือสิ่งที่ทำให้เกิดผล

เหตุ มี ๖ ประการ คือ
โลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘
โทสเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน โทสมูลจิต ๒
โมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ใน อกุสลจิต ๑๒
อโลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ อโลภเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
อโทสเหตุ องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
อโมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตจิต๔๗หรือ๗๙


หน้า ๒๒

โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ เหตุทั้ง ๓ นี้เป็นเหตุของอกุสลจิตและอกุสล เจตสิก จึงได้ชื่อว่า อกุสลเหตุ
อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ เหตุทั้ง ๓ นี้ เป็นเหตุของโสภณจิต และ โสภณเจตสิก
ถ้า อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตประเภทที่เป็นกุสล จิต ก็เรียกเหตุทั้ง ๓ นี้ว่าเป็น กุสลเหตุ
เมื่อ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตที่เป็นวิบากจิต และ กิริยาจิต ก็เรียกเหตุทั้ง ๓
นี้ว่าเป็น อพยากตเหตุ เพราะวิบากจิตและกิริยาจิต รวมจิต ๒ ประเภทนี้มีชื่อรวมว่า อพยากตจิต
ดังนี้ จึงได้รวมเหตุ ๖ ไว้ในมิสสกสังคหะนี้
เหตุ ๖ ประการ นี้ได้กล่าวแล้วโดยละเอียดในปริจเฉทที่ ๓ ตอนที่ว่าด้วยเหตุ สังคหะ
ขอกล่าวเพิ่มเติมในที่นี้อีกเล็กน้อย คือ
เมื่อกล่าวโดยบุคคลแล้ว อรหันตบุคคล ไม่มีอกุสลเหตุ ๓ และกุสลเหตุ ๓ เลยแม้แต่เหตุเดียว คงมีแต่
อพยากตเหตุ ๓ เหตุ เท่านั้น
อนาคามิบุคคล รูปบุคคล(เว้นอสัญญสัตต) และ อรูปบุคคล ไม่มีโทสเหตุเลย ส่วนอกุสลเหตุอีก ๒ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ และกุสลเหตุทั้ง ๓ นั้น ยังคงมีอยู่ สำหรับอพยากตเหตุอีก ๓ ก็คงมีเฉพาะอพยากตเหตุที่ประกอบกับวิบากจิตเท่านั้น อพยากตเหตุที่ประกอบกับกิริยาจิตนั้นไม่มี เพราะอนาคามิบุคคลและรูปบุคคล อรูป บุคคลที่เป็นปุถุชน มีกิริยาจิตเพียง ๒ ดวง ซึ่งก็เป็นอเหตุกกิริยาทั้งคู่
เฉพาะอสัญญสัตตบุคคล ไม่มีเหตุใด ๆ เลยแม้แต่สักเหตุเดียว
บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วนี้ อกุลเหตุ ๓, กุสลเหตุ ๓ นั้นสามารถมีได้ โดยครบถ้วน อพยากตเหตุที่ประกอบกับวิบากจิตก็มีได้ แต่อพยากตเหตุที่ประกอบ กับกิริยาจิตก็ไม่มีเหมือนกัน
เมื่อกล่าวโดยภูมิแล้ว ในกามภูมินั้นมี อกุสลเหตุ กุสลเหตุ และอพยากตเหตุ ได้โดยครบถ้วน
ส่วนในรูปภูมิ(เว้นอสัญญสัตตภูมิ) และอรูปภูมินั้น โทสเหตุไม่มี เหตุอื่น นอกนั้นก็มีได้ทั้งนั้น
ในอสัญญสัตตภูมินั้น ไม่มีเหตุใด ๆ ทั้งสิ้น


หน้า ๒๓

มิสสกสังคหะกองที่ ๒ ฌานังคะ ๗

ธรรมเหล่าใดย่อมเพ่งถึงอารมณ์(มีกสิณเป็นต้น) ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ฌานหรือ
ธรรมเหล่าใด ย่อมเผาซึ่งธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นจึง ชื่อว่า ฌาน

 
อารมฺมณูปนิชฺฌานโต ปจฺจนิกฌาปนโต วา ฌานํ ฯ  

ธรรมที่เพ่งอารมณ์ก็ดี หรือธรรมที่เผาปฏิปักษ์ก็ดี ธรรมนั้นเรียกว่า ฌาน
มีความหมายว่า ฌานคือการเพ่งอารมณ์ และพร้อมกันนั้นก็เผาธรรมอันเป็น ปฏิปักษ์ไปในตัวด้วย
ฌานเป็นได้ทั้งการเพ่งอารมณ์ที่เป็นกุสลและเพ่งอารมณ์ที่เป็นอกุสล กล่าวคือ ทางฝ่ายอกุสลก็มีใจจิตติดอยู่ในอารมณ์อันเป็นโทษเป็นทุกข์ เช่น คิดทำร้ายเขา ก็ ครุ่นคิดติดอยู่แต่ในอารมณ์ที่เป็นโทสะปองร้ายเขาอยู่เรื่อยไป ทางฝ่ายกุสล ก็มีจิตใจ ใฝ่เพ่งในอารมณ์กัมมัฏฐาน มีกสิณเป็นต้น ให้แนบแน่นในอารมณ์นั้น โดยมุ่งหมาย ประหารนิวรณ์ธรรม เพื่อกุสลฌานจิตเกิด

 ฌานังคะ คือ องค์ฌาน หมายถึงธรรมอันเป็นส่วนกำลังที่สำคัญยิ่งในการ อุดหนุนให้จิตและเจตสิก
ทั้งหลายซึ่งประกอบพร้อมกันนั้น เพ่งหรือติดอยู่ในอารมณ์ นั้นอย่างแน่วแน่และแนบแน่น


ฌานังคะ หรือ องค์ฌาน มี ๗ ประการ คือ
๑. วิตก องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑ รวม ๕๕
๒. วิจาร องค์ธรรมได้แก่ วิจารเจตสิก ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจ วิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑
ทุติยฌาน ๑๑ รวม ๖๖
๓. ปีติ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก ที่ในกามโสมนัสจิต ๑๘ ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌาน ๑๑ ตติยฌาน ๑๑ รวม ๕๑
๔. เอกัคคตา องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในจิต ๑๑๑ ดวง (เว้นทวิ ปัญจวิญญาณ ๑๐ ซึ่งไม่มี วิตก วิจาร ประกอบในทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นั้นเลย)


หน้า ๒๔

๕. โสมนัส องค์ธรรมได้แก่ โสมนัสเวทนาเจตสิก ที่ในโสมนัสสหคตจิต ๖๒
๖. โทมนัส องค์ธรรมได้แก่ โทมนัสเวทนาเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๗. อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ อุเบกขาเวทนาเจตสิก ที่ในอุเบกขาสหคตจิต ๔๗ (เว้นทวิปัญจวิญญาณที่เป็นอุเบกขา ๘)
ฌานังคะมี ๗ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๕ เท่านั้นคือ วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา และ เวทนา เพราะโสมนัส โทมนัส อุเบกขา นี้เป็นเวทนาเจตสิกดวงเดียวเท่านั้น
ในฌานังคะทั้ง ๗ นี้ เฉพาะโทมนัสเวทนา เป็นได้แต่อกุสลอย่างเดียว ส่วน อีก ๖ นั้นเป็นได้ทั้ง กุสล อกุสล และอพยากตะ ด้วยเหตุนี้จึงรวมฌานังคะ ๗ ซึ่งมีองค์ธรรม ๕ นี้ไว้ในมิสสกสังคหะ
ฌานนั้นผ่องใสไพโรจน์ ดุจพระอาทิตย์ส่องมืดให้สว่างทั่วโลก เผากิเลสให้ แห้งได้ โทมนัสก็เป็นเครื่องเผา และเป็นฝ่ายอกุสล ถ้ามีโทมนัสอยู่ในใจแล้ว ก็เผา หทัยวัตถุให้แห้งได้เหมือนกัน จึงยกมากล่าวไว้ในฌานังคะนี้ด้วย อีกประการหนึ่ง ประสงค์เอาโทมนัส อันบังเกิดแก่โยคีบุคคลผู้เสื่อมจากฌาน ย่อมมีความโทมนัส เสียใจ
ฌานังคะทั้ง ๗ นี้ เกิดร่วมกันได้เป็นอย่างมากก็เพียง ๕ เท่านั้น เพราะ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ทั้ง ๓ นี้เป็นเวทนาเจตสิกด้วยกัน จึงเกิดร่วมกันไม่ได้ ดังนั้น ปฐมฌานซึ่งเป็นฌานที่มีองค์ฌานประกอบมากที่สุด ก็มีประกอบเพียง ๕ องค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เท่านั้น
สุข ในองค์ฌานนี้ หมายถึง สุขใจ คือ โสมนัสเวทนา เพราะการเจริญ สมถภาวนานั้น เจริญได้เฉพาะทางมโนทวารทางเดียว ไม่ใช่ทางกาย
อนึ่ง องค์ฌานทั้ง ๕ นั้น วิตกเจตสิก องค์เดียวเป็นปัจจัยอันสำคัญขององค์ ฌานทั้งหลาย เจตสิกอีก ๔ จะมีกำลังจัดเป็นองค์ฌานได้นั้น ก็เพราะได้อาศัยมา จากวิตก อันเป็นปัจจัยพิเศษเป็นมูลเดิมมาก่อนแล้วแต่ตอนต้น ถ้าจิตใดไม่ได้ปัจจัย ไปจากวิตก หรือจิตที่ไม่สามารถจะมีวิตกประกอบได้แล้วไซร้ จิตนั้นก็ไม่นับว่า ประกอบด้วยองค์ฌาน ถึงแม้ว่าเจตสิกอื่นที่เป็นองค์ฌานได้ จะประกอบอยู่ในจิตนั้น ด้วยก็ตาม เจตสิกเหล่านั้นก็ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน เจตสิกที่นับว่าเป็นองค์ฌานได้นั้น ต้องเป็นเจตสิกที่ประกอบในจิต ๗๙ ดวง หรือ ๑๑๑ ดวง เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เพราะทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นี้ ไม่ ประกอบด้วยวิตกเจตสิก ดังมีข้อสังเกตดังนี้


หน้า ๒๕

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ย่อมไม่ได้ฌานังคะ ๗ ในอเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มัคคังคะ ๑๒ เอกัคคตาเจตสิกในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธินทรีย และสมาธิพละ เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาสหคตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิมัคคังคะ สมาธินทรีย และสมาธิพละ
ดังนี้ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีวิตกเจตสิก (อันเป็นปัจจัยที่ สำคัญยิ่งขององค์ฌานทั้งหลาย) ประกอบอยู่ด้วย จึงไม่นับว่าจิตนั้นประกอบด้วย องค์ฌาน


มิสสกสังคหะกองที่ ๓ มัคคังคะ ๑๒

ธรรมที่เป็น เหตุให้ถึง สุคติภูมิก็ดี ทุคคติภูมิก็ดี นิพพานก็ดี และเป็น หนทางที่ให้ถึง สุคติ ทุคคติ และ นิพพาน นั้นชื่อว่า องค์มัคค หรือ ธรรมที่เป็น ส่วนหนึ่ง ๆ ของมัคค เรียกว่า องค์มัคค
มัคค แปลว่า ทาง มีความหมายว่า เป็นเครื่องที่จะนำไปสู่หนทางอันเป็นกุสล และอกุสล อันเป็นทางให้ถึงทุคคติภูมิ สุคคติภูมิ และนิพพาน นั้น ๆ ด้วย


หน้า ๒๖

มัคคังคะ แปลว่า องค์แห่งมัคค มี ๑๒ ประการ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ ความเห็นที่ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่ง สภาวธรรมตามความเป็นจริง มีอริยสัจจธรรมเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙
๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ๓ ประการ ได้แก่
ก. เนกขัมมสังกัปปะ ดำริที่จะออกจากกิเลสและขันธ์ เป็นความคิดที่จะ ออกจากความระคนด้วยหมู่คณะ เพื่อออกบรรพชาไปเจริญสมถะและวิปัสสนา ปรารถนาให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ข. อพยาปาทสังกัปปะ ดำริที่จะละความโกรธ ความพยาบาท ปองร้าย มีการล้างผลาญ ทำให้ชีวิตสัตว์ตกไป เพื่อให้เกิดความเมตตาปรานี
ค. อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริที่จะออกจากวิหิงสา ความเบียดเบียนสัตว์ ให้เดือดร้อน เพื่อให้เกิดความไม่
เบียดเบียน มีความกรุณาอารี ความดำริอยู่ในอารมณ์ ๓ ประการนี้ เป็นความดำริชอบ เรียกว่า สัมมา สังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ รวม ๓๕
๓. สัมมาวาจา คือ การกล่าววาจาชอบ ไม่กล่าววาจาอันเป็นวจีทุจริตทั้ง ๔ มีการพูดปดหลอกหลวง,
ส่อเสียดยุยง, หยาบคาย, เพ้อเจ้อไร้สาระ, การเว้นจาก วจีทุจจริตเหล่านี้เรียกว่า สัมมาวาจา องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ที่ในมหากุสลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ รวม ๑๖ หรือ ๔๘
๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบ เป็นการงานทางกายที่ไม่เนื่องด้วย การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่วงประเวณี การเว้นจากกายทุจจริตเหล่านี้ เรียกว่าสัมมา กัมมันตะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตะเจตสิก ที่ในมหากุสล ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ มีความเป็นอยู่ชอบ ไม่เนื่องด้วย วจีทุจจริต ๔ และไม่เนื่องด้วย
กายทุจจริต ๓ การหาเลี้ยงชีพที่ไม่เป็นไปด้วยทุจจริต ธรรมทั้ง ๗ นี้ เรียกว่า สัมมาอาชีวะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิก ที่ในมหา กุสล ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
๖. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ให้ตั้งหน้าพยายามในความพากเพียร ชอบ ๔ ประการ ได้แก่
ก. เพียรที่จะละบาปอกุสล ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หมดไป
ข. เพียรที่จะไม่ก่อบาปอกุสลที่ยังไม่เกิด โดยไม่ทำให้เกิดขึ้น
ค. เพียรที่จะก่อบุญกุสลที่ยังไม่เกิด โดยทำให้เกิดขึ้น
ง. เพียรที่จะเจริญบุญกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ภิญโญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ความพากเพียร ๔ ประการนี้ เรียกว่า สัมมาวายามะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙
หรือ ๙๑


หน้า ๒๗

๗. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ เป็นการระลึกอยู่แต่ในอารมณ์ที่เป็นกุสล มีอนุสติ ๑๐ หรือสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๘. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นโดยชอบ เป็นความตั้งมั่นของจิตในอารมณ์ ของสมถกัมมัฏฐาน หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน การที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุสล เช่นนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
ใน สัมมามัคค ทั้ง ๘ องค์นี้ เป็นตัวเหตุแห่งสุคติและพระนิพพาน อันเป็น ทางที่จะนำไปสู่สุคติ และเป็นทางที่จะให้บรรลุถึงพระนิพพานด้วย จึงเรียกสัมมา มัคค ๘ องค์นี้ ว่า อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘
ส่วนองค์มัคคที่ยังเหลืออีก ๔ นั้น เป็นตัวเหตุแห่งทุคคติ อันเป็นทางที่จะ นำไปสู่ทุคคติภูมิ จึงเรียกว่า
มิจฉามัคค ได้แก่
๙. มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด เป็นความเห็นที่ผิดไปจากเหตุผลแห่งสภาว ธรรมตามความเป็นจริง
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๑๐. มิจฉาสังกัปปะ คือ ความดำริผิด เป็นการนึกการคิดที่ผิดทำนองคลอง ธรรม องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๑๑. มิจฉาวายามะ คือ ความเพียรผิด เป็นการบากบั่นมั่นมุ่งในสิ่งที่ผิด อัน เป็นโทษเป็นทุกข์ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๑๒. มิจฉาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่ผิด เป็นความตั้งมั่นของจิตอยู่ใน อารมณ์อันเศร้าหมองเร่าร้อนกระวนกระวาย องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน อกุสลจิต ๑๑ (เว้นวิจิกิจฉาสหคตจิต) ๑)
รวมมัคคังคะมี ๑๒ ประการ แต่มีองค์ธรรมเพียง ๙ เท่านั้น คือ ปัญญาเจตสิก วิตกเจตสิก สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก วิริยเจตสิก สติเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก และ ทิฏฐิเจตสิก


หน้า ๒๘

ในองค์ธรรมทั้ง ๙ นี้ มี ปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และ สติ รวม ๕ องค์นี้ เป็นกุสลฝ่ายเดียว
เฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก เป็นอกุสลฝ่ายเดียว
ส่วนวิตก วิริยะ และเอกัคคตา รวม ๓ องค์นี้ เป็นได้ทั้งฝ่ายกุสล และอกุสล
ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามแนวแห่งพระสูตรนั้น แสดงว่ามัคคมี ๑๖ องค์ คือ สัมมามัคคมี ๘ และมิจฉามัคคมี ๘ เท่ากัน ทั้งนี้เพื่อแสดงให้ทาง ที่ตรงกันข้าม ทั้งฝ่ายชอบ และฝ่ายชั่ว อันเป็นคู่ปฏิปักษ์กันดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ เมื่อมีความเห็นชอบ ก็ประหาร มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นชั่ว เสียได้
๒. สัมมาสังกัปปะ เมื่อมีความคิดชอบ ก็ประหาร มิจฉาสังกัปปะ ความคิด ชั่วเสียได้
๓. สัมมาวาจา เมื่อกล่าววาจาชอบ ก็ประหาร มิจฉาวาจา การพูดชั่วเสียได้
๔. สัมมากัมมันตะ เมื่อกระทำการงานชอบ ก็ประหาร มิจฉากัมมันตะ การทำชั่วเสียได้
๕. สัมมาอาชีวะ เมื่อมีความเป็นอยู่ชอบ ก็ประหาร มิจฉาอาชีวะ ความเป็น อยู่ชั่วเสียได้
๖. สัมมาวายามะ เมื่อมีความเพียรชอบ ก็ประหาร มิจฉาวายามะ ความ เพียรในทางชั่วเสียได้
๗. สัมมาสติ เมื่อมีความระลึกแต่ในทางชอบ ก็ประหาร มิจฉาสติ ความ ระลึกชั่วเสียได้
๘. สัมมาสมาธิ เมื่อมีความตั้งใจมั่นโดยชอบ ก็ประหาร มิจฉาสมาธิ ความ ตั้งใจมั่นในทางชั่วเสียได้

รวมความว่า มิจฉามัคคที่เพิ่มมากกว่าตามนัยแห่งพระอภิธรรมอีก ๔ นั้น คือ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ และมิจฉาสติ แต่ว่าเมื่อกล่าวโดยองค์ธรรม แล้ว มิจฉามัคค ทั้ง ๔ นี้ ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ ๆ เป็นการแสดงตามนัยแห่ง จิตตุปปาทะคือตามแนวแห่งจิตที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวด้วยวจีทุจจริต กายทุจจริต การเลี้ยงชีพที่ทุจจริต และ การระลึกนึกถึงสิ่งที่ชั่วต่างๆ นั่นเอง


หน้า ๒๙

อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่กล่าวไว้ตอนท้ายแห่ง ฌานังคะ ๗ นั้น มีกล่าวความเกี่ยวแก่มัคคังคะนี้อยู่ ๒ ประโยค คือ
อเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มัคคังคะ ๑๒ ประโยคหนึ่ง
เอกัคคตาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิมัคคังคะ อีกประโยคหนึ่ง
มีอธิบายว่าอเหตุกจิต ๑๘ เป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบด้วยเลยแม้แต่เหตุเดียว เมื่อไม่มีตัวเหตุแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุและไม่เป็นทาง ให้ถึงสุคติทุคคติได้ เพราะองค์ธรรมทั้ง ๙ ที่จะจัดเป็นมัคคได้จะต้องเป็นเจตสิกที่ ประกอบกับ สเหตุกจิต คือ จิตที่มีเหตุเท่านั้น ตัวเหตุนั่นแหละจึงจะเป็นเหตุและ เป็นทางให้ถึงซึ่ง ทุคคติ สุคติ หรือ นิพพาน
ส่วนเอกัคคตาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ก็ไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิ มัคคังคะ คือ ไม่นับว่าเป็นองค์มัคค เพราะเหตุว่า แม้วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตจะเป็นจิตที่ ประกอบด้วยเหตุ คือ โมหเหตุก็จริง แต่ก็มีเพียงเหตุเดียว กำลังก็ไม่มากอยู่แล้ว ซ้ำยังมี ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจประกอบเข้าอีกด้วย จึงทำให้กำลังที่มีอยู่ไม่มากมา แต่เดิมนั้นอ่อนลงไปอีก เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาจิตจึงไม่ถึงซึ่งความเป็นสมาธิที่ เป็นองค์แห่งมัคค เอกัคคตาที่จะจัดว่าถึงสมาธินั้น จะต้องตั้งมั่นในอารมณ์เดียว อย่างแน่วแน่ มั่นคง ปราศจากความสงสัยลังเลใจ


มิสสกสังคหะกองที่ ๔ อินทรีย์ ๒๒

อินฺทนฺติ ปรมอิสฺสริยํ กโรนฺตีติ อินฺทฺริยานิ ฯ ธรรมเหล่าใดเป็นผู้ปกครอง ย่อมกระทำตนให้เป็นอิสระยิ่ง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อินทรีย์
อินทรีย์ หมายความว่า ความเป็นใหญ่หรือเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เกิด ร่วมด้วยตน หรือเป็นใหญ่ในการที่จะให้สำเร็จกิจการในหน้าที่ของตน ๆ คือเป็น ใหญ่ในกิจการนั้น ๆ


หน้า ๓๐

อธิบายด้วยการยกตัวอย่าง เช่น จักขุนทรีย์ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป อันว่าจักขุปสาทรูปนี้ มีธรรมที่เกิดร่วมด้วย ๙ รูป คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณโณ คันโธ รโส โอชา และชีวิตรูป รวมทั้งตัวเอง คือ จักขุปสาทรูปด้วยก็เป็น ๑๐ รูปด้วยกัน ในจำนวน ๑๐ รูปนี้ ถ้าจะกล่าวถึงหน้าที่การงานในการที่จะให้ สำเร็จกิจในด้านรับรูปารมณ์แล้ว จักขุปสาทรูปนี่แหละเป็นใหญ่ในการนี้แต่ผู้เดียว รูปอื่นๆ อีก ๙ รูป ที่เกิดร่วมกับจักขุปสาทรูปนั้น ไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่รับ รูปารมณ์ได้เลย ดังนั้นจักขุปสาทรูปจึงเป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ เรียกความเป็น ใหญ่นั้นว่า อินทรีย์ และโดยเหตุที่เป็นใหญ่ทางจักขุ จึงมีชื่อว่า จักขุนทรีย์
ตามตัวอย่างเดียวกันนี้ ถ้าจะกล่าวถึงการงานที่จะให้สำเร็จกิจในหน้าที่รักษา รูปให้ดำรงคงอยู่ ให้ตั้งอยู่ หรือให้เป็นไปได้แล้ว ชีวิตรูปแต่ผู้เดียวนี่แหละเป็นใหญ่ ในการที่จะให้รูปทั้ง ๙ นั้น มีชีวิตชีวาตั้งอยู่ได้จนถึงภังคขณะรูปอื่น ๆ
ทั้ง ๙ นั้น ไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ในด้านการดำรงคงอยู่ดังกล่าวนั้นได้เลย ดังนั้น ชีวิตรูป จึงเป็นใหญ่ในการรักษารูปเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ได้จนถึงภังคขณะ เรียก ความเป็นใหญ่นั้นว่า อินทรีย์ และโดยเหตุที่เป็นใหญ่ในทางรักษาชีวิต จึงมีชื่อว่า ชีวิตินทรีย์
เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ คงจะพอให้เข้าใจความหมายของอินทรีย์ได้พอควรแล้ว ดังนั้น เมื่อแสดงถึงอินทรีย์อื่น ๆ ต่อไปนี้ ก็จะกล่าวถึงหน้าที่การงานแต่เพียงย่อ ๆ

 
อินทรีย์ มี ๒๒ ประการ คือ
๑. จักขุนทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป
๒. โสตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับสัทธารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาทรูป
๓. ฆานินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับคันธารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาทรูป
๔. ชิวหินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับรสารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาทรูป
๕. กายินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรับโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท รูป
๖. อิตถินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งภาวเพศให้ปรากฏความเป็นหญิง องค์ธรรมได้แก่ อิตถีภาวรูป
๗. ปุริสินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งภาวเพศให้ปรากฏความเป็นชาย องค์ธรรมได้แก่ ปุริสภาวรูป
๘. ชีวิตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรักษารูปที่เกิดร่วมกับตน ๑ และเป็นใหญ่ใน การรักษานามที่เกิดร่วมกับตน ๑ ให้ดำรงคงตั้งอยู่หรือเป็นไปได้ในฐิติของรูป และ ของนามนั้น ๆ
เป็นใหญ่ในการรักษารูป องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป
เป็นใหญ่ในการรักษานาม องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก


 

หน้า ๓๑

๙. มนินทรีย์ เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการนำธรรมทั้งหลายให้เป็นไปใน อารมณ์นั้น ๆ (ธรรมทั้งหลายในที่นี้หมายถึงเจตสิก) องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑
๑๐. สุขินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความสบายกายในขณะที่ประสบ กับอิฏฐารมณ์ทางกายทวาร
องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน สุขสหคตกาย วิญญาณจิต ๑
๑๑. ทุกขินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความไม่สบายกาย ในขณะที่ ประสบกับอนิฏฐารมณ์ทางกายทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในทุกข สหคตกายวิญญาณจิต ๑
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความสุขใจ ในขณะที่ได้ เสวยอารมณ์ที่ถูกใจที่ชอบใจทาง มโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน โสมนัสสหคตจิต ๖๒
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความทุกข์ใจ ในขณะที่ เสวยอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ที่ไม่ชอบใจทางมโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๑๔. อุเบกขินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความเป็นอุเบกขา คือ ไม่ ทุกข์ไม่สุข องค์ธรรมได้แก่
เวทนาเจตสิก ที่ในอุเบกขาสหคตจิต ๕๕
๑๕. สัทธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเชื่อความเลื่อมใส ในอารมณ์ที่เป็น ฝ่ายดีงาม องค์ธรรมได้แก่
สัทธาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๑๖. วิริยินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเพียรในอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็นกุสล และอกุสล องค์ธรรมได้แก่
วิริยเจตสิก ที่ในวิริยสหคตจิต ๗๓ หรือ ๑๐๕
๑๗. สตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการระลึกรู้ในอารมณ์ (เฉพาะที่เป็นฝ่ายดีงาม ฝ่ายชอบ ฝ่ายกุสล) ที่ตนต้องการ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๑๘. สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการทำให้จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ ตนต้องประสงค์ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในวิริยจิต ๗๒ หรือ ๑๐๔ (เว้นวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑)
๑๙. ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้ตามความเป็นจริง ทำลายความหลง ความเข้าใจผิดในสภาวธรรม
องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ อีกนัยหนึ่งแสดงว่า องค์ธรรมของปัญญินทรีย์นี้ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตกามจิต ๑๒ และในมหัคคตจิต ๒๗ รวม ๓๙ ดวงเท่านั้น


หน้า ๓๒

๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้อริยสัจจธรรมเป็นครั้ง แรก ปรากฏว่าสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น ก็ได้มารู้มาเห็นเป็นอัศจรรย์ปานนี้ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในโสดาปัตติมัคคจิต ๑
๒๑. อัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้ธรรมที่โสดาปัตติมัคคจิต เคยรู้เคยเห็นมา แล้วนั้น จนภิญโญยิ่งขึ้นไปอีก องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมัคคเบื้องบน ๓ ผลเบื้องต่ำ ๓
มัคคเบื้องบน ๓ นั้นได้แก่ สกทาคามิมัคคจิต ๑ อนาคามิมัคคจิต ๑ และ อรหัตตมัคคจิต ๑
ผลเบื้องต่ำ ๓ นั้นได้แก่ โสดาปัตติผลจิต ๑ สกทาคามิผลจิต ๑ และอนาคา มิผลจิต ๑
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งในธรรมที่สุดแห่งทุกข์ ที่สุด แห่งโสฬสกิจ กิจที่จะต้องรู้ต้องศึกษาอีกนั้นไม่มีแล้ว ทำอาสวะจนสิ้นไม่มีเศษเหลือ แม้แต่น้อยแล้ว องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในอรหัตตผลจิต ๑ อินทรีย์มี ๒๒ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๑๖ เท่านั้น คือ จักขุปสาทรูป โสต ปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป
กายปสาทรูป อิตถีภาวรูป ปุริสภาวรูป ชีวิตรูป ชีวิตินทรีย์เจตสิก จิต เวทนาเจตสิก สัทธาเจตสิก วิริยเจตสิก สติเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก และปัญญาเจตสิก
อินทรีย์ ๒๒ นี้ ที่เป็นรูปธรรมอย่างเดียว มี ๗ คือ ตั้งแต่จักขุนทรีย์ ถึง ปุริสินทรีย์ เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม มี ๑ คือ ชีวิตินทรีย์
เป็นนามธรรมอย่างเดียว มี ๑๔ คือ ตั้งแต่ มนินทรีย์ ถึงอัญญาตาวินทรีย์
อินทรีย์ ๒๒ นี้ ที่เป็นโลกียฝ่ายเดียวนั้นมี ๑๐ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์
เป็นโลกุตตรฝ่ายเดียว มีเพียง ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ อัญญาตาวินทรีย์
เป็นทั้งโลกียและโลกุตตร มี ๙ คือ อินทรีย์ที่เหลือทั้งหมด


หน้า ๓๓

อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่กล่าวไว้ตอนท้ายแห่งฌานังคะ ๗ นั้น มีความเกี่ยวแก่อินทรีย ๒๒ นี้อยู่ ๒ ประโยค คือ
เอกัคคตาเจตสิกในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่งสมาธินทรีย์ ประโยคหนึ่ง และ
เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งสมาธินทรีย์ อีกประโยค หนึ่ง
อวีริยจิตคือ จิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกประกอบ มีจำนวน ๑๖ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจ วิญญาณ ๑๐ สัมปฏิจฉนจิต ๒
สันตีรณจิต ๓ และ ปัญจทวาราวัชชนจิต อีก ๑ นั้น ก็คือ อเหตุกจิต ๑๖ เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑
เพราะจิต ๒ ดวงนี้ มีวิริยเจตสิกประกอบ
มีอธิบายว่า เอกัคคตาเจตสิกที่ในอวีริยจิต ๑๖ เป็นเอกัคคตาที่ใน อเหตุกจิต อเหตุกจิตเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ จึงมีกำลังน้อย กำลังอ่อน เอกัคคตาเจตสิกที่ ประกอบก็มีกำลังน้อยกำลังอ่อนไปตามฐานะของจิตนั้นด้วย ซ้ำยังไม่มีวิริยะ คือ ความกล้าความเพียรมาช่วยส่งเสริมอุดหนุนอีกด้วยดังนี้ จะครองความเป็นใหญ่ได้ อย่างไร เมื่อไม่สามารถจะเป็นใหญ่ได้ จึงไม่จัดเป็นอินทรีย์
ส่วนเอกัคคตา ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตนั้น ก็เป็นจิตที่ลังเล สงสัยไม่แน่ใจ ลักษณะเช่นนี้ จึงไม่สามารถที่จะเป็นผู้ปกครองหรือครองความเป็นใหญ่ได้ ดังนั้นจึง ไม่นับเป็นอินทรีย์


มิสสกสังคหะกองที่ ๕ พละ ๙

อกมฺปนฏฺเฐน พลํ ฯ ธรรมที่ชื่อว่า พละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
พลียนฺติ อุปฺปนฺเน ปฏิปกฺขธมฺเมสหนฺติ มทฺทนฺตีติ พลานิ ฯ ธรรมที่เกิด ขึ้นเป็นกำลังให้ต่อสู้ ทำลายซึ่งปฏิปักษ์ นั่นแหละชื่อว่า พละ
รวมมีความหมายว่า กำลังหรือพลังที่นำสัมปยุตตธรรม ที่เกิดร่วมกับตนให้ เข้มแข็งในอันที่จะกระทำความดีหรือความชั่วนั้น ชื่อว่า พละ ดังนั้น พละ จึงมีทั้ง กุสลพละ และอกุสลพละ
อกุสลพละ มีกำลังอดทนไม่หวั่นไหวต่อกุสลธรรมแต่อย่างเดียว ไม่มีกำลังถึง กับจะย่ำยีกุสลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์กับตนได้
ส่วน กุสลพละ มีกำลังอดทนไม่หวั่นไหวต่ออกุสลธรรมด้วย และมีกำลังย่ำยี อกุสลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์กับตนได้อีกด้วย


หน้า ๓๔

กำลังย่ำยีในที่นี้หมายถึงการประหาร ถ้าประหารได้ชั่วครู่ชั่วขณะ ก็เรียกว่า ตทังคปหาน ประหารได้เป็น
เวลาอันยาวนาน ก็เรียกว่า วิกขัมภนปหาน จนกระทั่ง ประหารได้โดยเด็ดขาด ก็เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
กำลังแห่งพละในขั้นกามกุสล ก็ประหารปฏิปักษ์ได้เพียงตทังคปหานเท่านั้น กำลังแห่งพละในขั้นมหัคคตกุสล ก็ประหารปฏิปักษ์ได้ถึง วิกขัมภนปหาน ส่วน กำลังแห่งพละในขั้นโลกุตตรกุสลนั้น ประหารปฏิปักษ์ได้เด็ดขาดแน่นอนไปเลย ซึ่ง เป็นการประหารอย่างสูงสุด อันเรียกว่า สมุจเฉทปหาน


พละ มี ๙ ประการ คือ
๑. สัทธาพละ มีความเชื่อถือเลื่อมใสเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๒. วิริยพละ มีความเพียรความกล้าเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ ในจิต ๗๓ หรือ ๑๐๕
(เว้นอวีริยจิต ๑๖)
๓. สติพละ มีความระลึกได้ในอารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี เป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๔. สมาธิพละ มีความตั้งใจมั่นเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในวิริยจิต ๗๒ หรือ ๑๐๔
(เว้นวิจิกิจฉาจิต ๑)
๕. ปัญญาพละ มีปัญญาคือความรู้ที่ถูกต้องตามสภาวธรรมเป็นกำลัง องค์ ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙
๖. หิริพละ มีความละอายต่อบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ หิริเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๗. โอตตัปปพละ มีความเกรงกลัวต่อผลของบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ โอตตัปปเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
๘. อหิริกพละ มีความไม่ละอายต่อบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ อหิริก เจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๙. อโนตตัปปพละ มีความไม่เกรงกลัวต่อผลของบาปเป็นกำลัง องค์ธรรม ได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒


หน้า ๓๕

พละ มี ๙ ประการ องค์ธรรมก็มี ๙ องค์ ชื่อของพละกับชื่อขององค์ธรรม ก็ตรงกัน
อหิริกพละและอโนตตัปปพละเป็นกำลังในฝ่ายชั่วแต่อย่างเดียวเท่านั้น
สัทธาพละ สติพละ ปัญญาพละ หิริพละ และโอตตัปปพละ เป็นกำลังใน ฝ่ายดีแต่อย่างเดียว
ส่วนวิริยพละ และสมาธิพละ เป็นกำลังได้ทั้งในฝ่ายดีและฝ่ายชั่วปะปนกันทั้ง ๒ อย่าง
อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั้น มีความ เกี่ยวแก่ พละ ๙ นี้อยู่ ๒ ประโยค คือ
เอกัคคตาเจตสิก ที่ในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธิพละ ประโยคหนึ่ง และ
เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน วิจิกิจฉาจิต ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธิพละ อีกประโยคหนึ่ง
ข้อความทั้ง ๒ ประโยคนี้ ก็มีเหตุผลที่จะอธิบายได้เป็นทำนองเดียวกันกับที่ ได้อธิบายไว้แล้วในอินทรีย์ ๒๒ นั้นเอง จึงจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก
มิสสกสังคหะนี้จำแนกเป็น ๗ กอง ได้กล่าวมาแล้ว ๕ กอง ยังเหลืออีก ๒ กอง มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๕ แสดงว่า


๕. จตฺตาโรธิปตี วุตฺตา ตถาหาราติ สตฺตธา
กุสลาทิสมากิณฺโณ วุตฺโต มิสฺสกสงฺคโห ฯ


แปลความว่า อธิบดี มี ๔ อาหารก็มี ๔ เหมือนกัน ในมิสสกสังคหะนี้แสดงไว้ ๗ กอง โดยกุสล อกุสล อพยากตะ เจือปนกัน


มิสสกสังคหะกองที่ ๖ อธิปติ ๔

อธิโก ปติ อธิปติ ฯ ธรรมที่ใหญ่ยิ่ง ชื่อว่า อธิปติ
อธินานํ ปติ อธิปติ ฯ ธรรมที่เป็นใหญ่ยิ่งกว่าธรรมที่ร่วมกับตนนั้น ชื่อว่า อธิบดี
ธรรมที่เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดพร้อมกับตน) นั้น ชื่อว่า อธิบดี เพราะเป็นบุพพาภิสังขาร สิ่งใดจะไม่เป็นผลสำเร็จแก่ผู้มีฉันทะเป็นไม่มี


หน้า ๓๖

เมื่อมีฉันทะ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
เมื่อมี วิริยะ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
เมื่อมี ใจจดจ่อ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
เมื่อมี ปัญญา แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
รวมความว่า อธิปติ หรืออธิบดี นี้ เป็นธรรมที่ใหญ่ยิ่ง เป็นประธาน เป็นผู้นำ ความสำเร็จมาให้จงได้เป็นแน่นอน เมื่อมีอธิปติแล้ว สิ่งใดที่จะไม่เป็นผลสำเร็จนั้น ไม่มีเลย
อินทรีย์ ที่ได้กล่าวแล้วในมิสสกสังคหะกองที่ ๔ ก็ว่าเป็นใหญ่และอธิปติ ที่กล่าวถึง ณ บัดนี้ก็ว่าเป็นใหญ่อีก แต่ว่าแตกต่างกัน คือ
อินทรีย์เป็นใหญ่ แต่ไม่ยิ่ง เพราะเป็นใหญ่ที่จำกัดอยู่ในกิจการอันเป็นหน้าที่ โดยตรงของตนโดยเฉพาะๆ เท่านั้น ในจิตดวงหนึ่ง ๆ ย่อมมีสภาวธรรมเกิดร่วมด้วย หลายอย่าง มีกิจการงานหลายหน้าที่ ก็มีอินทรียได้หลายอินทรีย์ ต่างก็เป็นใหญ่ใน หน้าที่ของตน ๆ ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่ขัดแย้งกันแต่อย่างใด เพราะต่างก็ทำงานต่างกัน
ส่วน อธิปติ นั้น เป็นใหญ่ยิ่ง เป็นผู้นำในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกันนั้น ในกิจ การงานอันเป็นส่วนรวมทั้งหมด ไม่เฉพาะแต่ในกิจการงานอันเป็นหน้าที่ของผู้หนึ่ง ผู้ใดแต่ผู้เดียว เมื่อเป็นใหญ่ยิ่งถึงกับเป็นผู้นำในกิจการนั้นอันเป็นส่วนรวมแล้ว การ งานในหน้าที่โดยเฉพาะของธรรมอื่น ๆ ที่เกิดพร้อมกันนั้น ก็ต้องดำเนินให้เป็นไป ให้คล้อยไปตามวัตถุประสงค์ของผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นประธานนั้นอีกด้วย ดังนั้น อธิปติ จึงมีได้เป็นได้เกิดได้ในกิจการงานอย่างหนึ่งเพียงครั้งละ ๑ เท่านั้น เพราะว่าถ้าการ งานอย่างเดียวจะมีผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานหรือเป็นผู้นำหลายคน ก็อาจจะทำให้กิจการนั้น ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมาย
อธิปติ มี ๔ ประการ คือ
๑. ฉันทาธิปติ ความเต็มใจ ปลงใจกระทำ เป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน สาธิปติชวนจิต ๕๒


หน้า ๓๗

๒. วิริยาธิปติ ความเพียรพยายามเป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรม ได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน
สาธิปติชวนจิต ๕๒
๓. จิตตาธิปติ จิต (คือ ความเอาจิตใจจดจ่อ) เป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรมได้แก่ ทวิเหตุกชวนจิต ๑๘ และ ติเหตุกชวนจิต ๓๔ รวมเป็น สาธิปติ ชวนจิต ๕๒
๔. วิมังสาธิปติ ปัญญาเป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
ดังนี้จะเห็นได้ว่า ธรรมที่จะเป็นอธิบดีได้นั้นต้องเป็นชวนจิต และต้องเป็น ชวนจิตที่มีเหตุ ๒ กับชวนจิตที่มีเหตุ ๓ เท่านั้น ซึ่งรวมเรียกว่า สาธิปติชวนจิต แปลว่า ชวนจิตที่มีอธิบดีได้ มีรายละเอียดดังนี้


ชวนจิต ๕๕

อเหตุกชวนจิต ๑ ได้แก่

หสิตุปปาทจิต ๑

 

เอกเหตุกชวนจิต ๒ ได้แก่

โมหมูลจิต ๒

 

ทวิเหตุกชวนจิต ๑๘ ได้แก่

โลภมูลจิต ๘
โทสมูลจิต ๒
มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔
มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔

สาธิปติชวนจิต ๕๒

ติเหตุกชวนจิต ๓๔ ได้แก่

มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔
มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔
มหัคคตกุสล ๙
มหัคคตกิริยา ๙
โลกุตตรจิต ๘

สาธิปติชวนจิต ๕๒

 

มิสสกสังคหะกองที่ ๗ อาหาร ๔

อาหารนฺตีติ อาหารา ฯ ธรรมที่เป็นเหตุอุดหนุนส่งเสริมให้เกิดผล ธรรม นั้นแหละชื่อว่า อาหาร
ธรรมใด นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา, นำมาซึ่งเวทนา, นำมาซึ่งปฏิสนธิ วิญญาณ และนำมาซึ่งเจตสิกกับกัมมชรูป ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า อาหาร


หน้า ๓๘

อาหาร มี ๔ ประการ คือ
๑. กพฬีการาหาร นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา คือ ข้าว น้ำ ขนม นม เนย นี่แหละทำให้เกิด
อาหารชสุทธัฏฐกกลาปในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์เป็นต้น เป็นอาหารแห่งรูปกายของสัตว์ หล่อเลี้ยงและทำความเจริญให้แก่ร่างกายของ สัตว์ ถ้าขาดอาหารเสียแล้ว รูปกายของสัตว์ก็จะพลันพินาศลง ดำรงคงอยู่สืบไป ไม่ได้ องค์ธรรมของกพฬีการาหารนั้น ได้แก่ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ ก็คือ อาหารรูปนั่นเอง กพฬีการาหารเป็นรูปปรมัตถ กพฬีการาหารนี้บางทีก็เรียกว่า กวฬีงการาหาร
๒. ผัสสาหาร นำมาซึ่งเวทนา
คือ การเสวยอารมณ์เป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ ทุกข์ไม่สุขบ้าง ให้เกิดขึ้น องค์ธรรมได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ในจิตทั้งหมด เวทนาทั้ง หลายนั้น ถ้าไม่มีผัสสะแล้ว ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะผัสสะนี่แหละเป็นเหตุให้เกิดเวทนา จึงว่าผัสสะเป็นอาหารของเวทนา ผัสสาหารเป็นเจตสิกปรมัตถ
๓. มโนสัญเจตนาหาร นำมาซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ
คือ การเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม และอบายสัตว์ องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒ โลกียกุสลจิต ๑๗ เจตนาที่เป็นกุสลอกุสลนี่แหละเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณอันเป็น กุสลวิบากและอกุสลวิบาก ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล ถ้าไม่มีเจตนา คือ กรรมมาปรุงแต่งแล้ว สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายแล้วก็ไม่มีการเกิด เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี การเห็น การได้ยิน เป็นต้น ดังนั้นเจตนาเจตสิกจึง
ได้ชื่อว่าเป็นมโนสัญเจตนาหาร มโนสัญเจตนาหารนี้เป็นเจตสิกปรมัตถ
๔. วิญญาณาหาร นำมาซึ่งเจตสิกและกัมมชรูป
องค์ธรรมของวิญญาณา หารได้แก่จิตทั้งหมด จิตทั้งหมดนี่แหละนำมาซึ่งเจตสิก เพราะจิตและเจตสิกต้อง เกิดพร้อมกัน แต่จิตนี้เป็นประธาน จึงกล่าวได้ว่า จิตนำมาซึ่งเจตสิก ส่วนกัมมชรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอันได้กระทำมาแต่อดีตก็จริง แต่ว่าในภพปัจจุบันนี้ กัมมชรูป ก็เกิดพร้อมกับจิตทุก ๆ ขณะจิต (ในปัญจโวการภูมิ) ดังนั้นก็กล่าวได้ว่า จิตนำมา ซึ่งกัมมชรูป
มีคำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า จิต คือ วิญญาณ เป็นผู้นำให้เจตสิกและกัมมชรูป เกิดขึ้นนั้นในปฏิสนธิกาล ปฏิสนธิวิญญาณนำให้เจตสิกและกัมมชรูปเกิด ในปวัตติ กาล ปวัตติวิญญาณนำให้เจตสิกเกิดแต่อย่างเดียว เพราะกัมมชรูปไม่ใช่รูปที่เกิดจาก จิต แต่อย่างไรก็ตาม กัมมชรูปที่เกิดในปวัตติกาลก็ดี แม้แต่กัมมชรูปของอสัญญสัตตพรหมก็ดี ซึ่งไม่ได้เกิดจากจิตในภพปัจจุบันก็จริง แต่ว่าอาศัยเกิดมาจากกรรมใน อดีตที่เรียกว่า กัมมวิญญาณ
ก็ขึ้นชื่อว่า วิญญาณเหมือนกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า วิญญาณนำให้เกิดกัมมชรูป วิญญาณาหารนี้เป็นจิตปรมัตถ


หน้า ๓๙

มิสสกสังคหะกองที่ ๗ อาหาร ๔ นี้ กล่าวโดยสรุปคงได้ความว่า
กพฬีการาหาร องค์ธรรมได้แก่ อาหารรูป เป็นรูปปรมัตถ ทำให้เกิดอาหาร ชรูป
ผัสสาหาร องค์ธรรมได้แก่ ผัสสเจตสิก เป็นเจตสิกปรมัตถ ทำให้เกิดเวทนา
มโนสัญเจตนาหาร องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นเจตสิกปรมัตถ ทำให้ เกิดปฏิสนธิวิญญาณ
วิญญาณาหาร องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด เป็นจิตปรมัตถ ทำให้เกิดเจตสิก และกัมมชรูป


๓. โพธิปักขิยสังคหะ

โพธิ แปลว่า รู้ มีความหมายถึง รู้การทำให้สิ้นอาสวะ คือรู้ อริยสัจจ ๔ และในโพธิปักขิยสังคหะนี้รวมหมายถึง รู้การทำจิตให้สงบ คือ ถึงฌานด้วย
ปักขิยะ แปลว่า ที่เป็นฝ่าย
โพธิปักขิยธรรม จึงมีความหมายว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายให้รู้ถึงฌานและให้รู้ถึง มัคคผล เลยแปลกันสั้น ๆ ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้
โพธิปักขิยสังคหะ เป็นการรวบรวมธรรมที่เป็นเครื่องตรัสรู้มาแสดงโดยย่อ ดังมีคาถาสังคหะที่ ๖ และที่ ๗ แสดงว่า


๖. ฉนฺโทจิตฺตมุเปกฺขา จ สทฺธา ปสฺสทฺธิปีติโย
สมฺมาทิฏฺฐิ จ สงฺกปฺโป วายาโม วิรติตฺตยํ ฯ


๗. สมฺมาสติ สมาธีติ จุทฺทเสเต สภาวโต
สตฺตตีสปฺปเภเทน สตฺตธา ตฺตถ สงฺคโห ฯ


แปลความว่า ฉันทะ ๑, จิต ๑, ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑, สัทธา ๑, ปัสสัทธิ ๑, ปีติ ๑, สัมมาทิฏฐิ ๑,
สัมมาสังกัปปะ ๑, สัมมาวายามะ ๑, วิรตี ๓, สัมมาสติ ๑ และ สัมมาสมาธิ ๑ รวมสภาวธรรม (หรือองค์ธรรม) ๑๔ นี้
มีธรรม ๓๗ ประการ ด้วยกัน และรวมได้เป็น ๗ กอง นี่แหละเรียกว่า โพธิปักขิยสังคหะ


หน้า ๔๐

มีอธิบายว่า โพธิปักขิยสังคหะนี้ รวบรวมกล่าวถึง โพธิปักขิยธรรม ๗ กอง เป็นธรรม ๓๗ ประการ จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ในธรรม ๓๗ ประการนี้ เมื่อนับเฉพาะองค์ธรรม (ที่ซ้ำกันไม่นับ) ก็ได้องค์ธรรมหรือสภาวธรรม ๑๔ องค์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า องค์ธรรมมี ๑๕ โดยแยกปัสสัทธิ ๑ ออกเป็น ๒ คือ กายปัสสัทธิ ๑ และ จิตตปัสสัทธิ ๑ เมื่อนับแยกดังนี้จึงเป็น ๑๕
โพธิปักขิยสังคหะ ๗ กอง เป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น ได้แก่
๑. สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ
๒. สัมมัปปธาน มี ๔ ประการ
๓. อิทธิบาท มี ๔ ประการ
๔. อินทรีย มี ๕ ประการ
๕. พละ มี ๕ ประการ
๖. โพชฌงค์ มี ๗ ประการ
๗. มัคค มี ๘ ประการ


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๑ สติปัฏฐาน ๔

สติ คือ ความระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี ยับยั้งมิให้จิตตกไปในทางชั่ว หรือ ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์อันเป็นฝ่ายดี
ปัฏฐาน คือ ความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์
ดังนั้น สติปัฏฐาน ก็คือ ความตั้งมั่นในการระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี มี ความหมายโดยเฉพาะถึงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ ๔ ประการคือ กาย เวทนา จิต ธรรม
สติตั้งมั่นพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมนี้มีจุดประสงค์จำแนกได้เป็น ๒ ทาง คือ
๑. สติตั้งมั่นในการพิจารณา บัญญัติ เพื่อให้จิตสงบ ซึ่งเรียกว่า สมถภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุฌานสมาบัติ
๒. สติตั้งมั่นในการพิจารณา รูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุถึงมัคค ผล นิพพาน
การกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ก็เพื่อให้รู้เห็นสภาพตามความเป็นจริงว่า สิ่ง ทั้งหลายล้วนแต่เป็นรูปนามเท่านั้น และรูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ก็มีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หาได้เป็นแก่นสารยั่งยืนเลย จะได้ก้าวล่วงเสียซึ่งความ
เห็นผิด ไม่ให้ติดอยู่ในความยินดียินร้ายอันเป็นการเริ่มต้นที่จะให้ถึงหนทางดับทุกข์ทั้งปวง


หน้า ๔๑

สติปัฏฐานจึงเป็นทางสายเอก และเป็นทางสายเดียวที่ทำให้ผู้ดำเนินตาม ทางนี้ ถึงความบริสุทธิหมดจดจนบรรลุพระนิพพาน ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุ มัคค ผล นิพพาน ต้องเริ่มต้นด้วยสติปัฏฐานนี้
มหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ว่า ภควา เอตทโวจ เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้ว ซึ่งพระพุทธวจนะดังนี้ ดูก่อน พระภิกษุทั้งหลาย อันว่าหนทางนี้เป็นหนทางเอก เพื่อความบริสุทธิหมดจดแห่งสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงเสียด้วยดี ซึ่ง ความโศกและความร่ำไร เพื่อดับไปแห่ง เหล่าทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน สิ่งนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
ญายธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. สังขาร คือธรรมที่ปรุงแต่ง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร และอนุปาทินนก สังขาร
๒. วิการ คือธรรมที่ผันแปรเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความเปลี่ยนแปรของสัตว์ ที่เป็นไปในภูมิต่าง ๆ
๓. ลักษณะ คือธรรมที่เป็นเหตุให้รู้เห็น ได้แก่ ลักษณะของสภาวะ
๔. นิพพาน คือธรรมที่พ้นแล้วจากกิเลส ได้แก่ ความดับที่ไม่เกิดอีกเลย
๕. บัญญัติ คือธรรมที่เพียงแต่ใช้พูดจากล่าวขานกันเท่านั้น ได้แก่ อัตถ บัญญัติ สัททบัญญัติ


หน้า ๔๒ 

สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ คือ
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนืองๆ ซึ่งกาย คือ รูปขันธ์ หรือรูปธรรม มี ๑๔ ฐาน
หรือ ๑๔ บรรพ (บรรพ = ข้อ)
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งเวทนา คือ เวทนาขันธ์ มี ๙ ฐาน
หรือ ๙ บรรพ
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งจิต คือวิญญาณ ขันธ์ มี ๑๖ ฐาน
หรือ ๑๖ บรรพ
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรม คือ รูปนามขันธ์ ๕ มี ๕ ฐาน
หรือ ๕ บรรพ
รวมเป็น ๔๔ ฐาน หรือ ๔๔ บรรพ นี่เป็นการนับจำนวนโดยพิสดาร
ถ้านับอย่างสังเขป ก็มีเพียง ๒๑ ฐาน หรือ ๒๑ บรรพ คือ นับกาย ๑๔ ตามเดิม เวทนานับเพียง ๑
จิตก็นับเพียง ๑ และธรรมคงนับ ๕


กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งกาย คือ การกำหนด ให้เห็นรูปธรรมนั้น มี ๑๔ บรรพ ได้แก่
บรรพที่ ๑ อานาปานสติ ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
บรรพที่ ๒ อิริยาบถ ๔ ได้แก่ เดิน ยืน นั่ง นอน ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า อิริยาบถใหญ่
บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ ได้แก่
(๑) ก้าวไปข้างหน้า และถอยไปข้างหลัง
(๒) แลไปข้างหน้า เหลียวไปข้างซ้าย เหลียวไปข้างขวา
(๓) คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก
(๔) กิริยาที่นุ่งผ้า ห่มผ้า และใช้เครื่องใช้สอยอื่น ๆ
(๕) การเคี้ยว การกิน การดื่ม
(๖) การถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
(๗) อาการเดิน ยืน นั่ง นอน จะหลับ เวลาที่ตื่นขึ้น การพูด การนั่ง สัมปชัญญะ ๗ นี้ บางทีก็เรียกว่า
อิริยาบถย่อย
บรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญา ได้แก่ อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ เป็นต้น
บรรพที่ ๕ ธาตุทั้ง ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
บรรพที่ ๖ อสุภะ ที่ตายได้เพียง ๑, , ๓ วัน
บรรพที่ ๗ อสุภะ ที่สัตว์กำลังกัดกินอยู่


หน้า ๔๓

บรรพที่ ๘ อสุภะ ที่เป็นกระดูก ยังมีเลือดเนื้อติดอยู่
บรรพที่ ๙ อสุภะ ที่ปราศจากเนื้อ มีแต่เส้นเอ็นยึดให้คงรูปอยู่
บรรพที่ ๑๐ อสุภะ ที่เหลือแต่โครงกระดูก ซึ่งยังคงเป็นรูปร่างอยู่
บรรพที่ ๑๑ อสุภะ ที่กระดูกเป็นท่อน ๆ เช่น ท่อนแขน ท่อนขา กระจัด กระจายอยู่
บรรพที่ ๑๒ อสุภะ ที่เก่ามาก จนกระดูกเป็นสีขาวเหมือนสังข์
บรรพที่ ๑๓ อสุภะ ที่ตากลมตากฝนมาตั้ง ๓ ปีแล้ว เหลือแต่กระดูกเป็น ชิ้น ๆ กระจัดกระจาย
บรรพที่ ๑๔ อสุภะ ที่กระดูกผุป่น ไม่เป็นรูปเป็นร่าง จนเป็นผงแล้ว

บรรพที่ ๑ อานาปานสติ นี้เจริญได้ทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา กล่าวคือ
ถ้ากำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก โดยถือเอาบัญญัติ คือลม เป็นที่ตั้งแห่งการเพ่ง เพื่อให้ได้ฌาน ก็เป็นสมถภาวนา
แต่ถ้ากำหนดพิจารณาความร้อนเย็นของลมหายใจที่กระทบริมฝีปากบน หรือ ที่ปลายจมูก เพื่อให้เห็นรูปธรรม ตลอดจนไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา
บรรพที่ ๒ อิริยาบถ ๔ บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ และบรรพที่ ๕ ธาตุทั้ง ๔ รวม ๓ บรรพนี้ ใช้ในการ
เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียว จะเพ่งให้เกิด ฌานจิตไม่ได้
บรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญา และบรรพที่ ๖ ถึง ๑๔ อสุภะ รวม ๑๐ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญสมถภาวนาแต่อย่างเดียวเท่านั้น
อนึ่งบรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ นั้น มีความหมายว่า ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนา เดินไปข้างหน้า ถอยหลัง
เหลียวซ้าย แลขวา ตลอดจนการเคลื่อนไหวทำการใด ๆ จะต้องทำด้วยความมีสัมปชัญญะ คือรู้ตัวอยู่ทุกขณะที่เคลื่อนไหวไม่ใช่ทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้พินิจพิเคราะห์
อีกนัยหนึ่ง สัมปชัญญะคือการรู้ตัวนั้น ต้องมีสติและชอบด้วยเหตุผล ไม่ใช่ ทำไปตามอารมณ์หรือทำไป
ตามใจชอบ แต่ต้องมีทั้งสติและปัญญาด้วย จึงจะเรียกได้ว่ามี สติสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะ
มี ๔ ประการ ใน สีลขันธอรรถกถา แสดงไว้ว่า
อตฺถปริคฺคณฺหนํ สตฺถกสมฺปชญฺญํ นาม ฯ ธรรมชาติ(ปัญญา) ที่กำหนดรู้ แต่ในประโยชน์นั้น ได้นามว่า สัตถกสัมปชัญญะ


หน้า ๔๔

สปฺปาย ปริคฺคณฺหนํ สปฺปายสมฺปชญฺญํ นาม ฯ

ธรรมชาติ(ปัญญา) ที่ กำหนด แต่การที่ควรนั้น ได้นามว่า สัปปายสัมปชัญญะ
กมฺมฏฺฐานสฺส ปน อวิชหน เมว โคจรสมฺปชญฺญํ นาม ฯ
 

การเจริญที่มิให้ พ้นจากอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ได้นามว่า โคจรสัมปชัญญะ
อภิกฺกมาทีสุ อสมฺมุยฺหนํ อสมฺโมหสมฺปชญฺญํ นาม ฯ
 

ธรรมชาติ(ปัญญา) ที่รู้ในการเคลื่อนไหว โดยปราศจากการเคลือบแคลงนั้น ได้นามว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ

 
ดังนี้ จึงแสดงความหมายแห่งสัมปชัญญะ ๔ นี้ โดยย่อ ๆ ว่า
๑. สัตถกสัมปชัญญะ พินิจประโยชน์ รู้แน่ว่ามีประโยชน์จึงทำ
๒. สัปปายสัมปชัญญะ พินิจถึงการควร รู้แน่ว่าควรทำจึงทำ
๓. โคจรสัมปชัญญะ พินิจในอารมณ์ ไม่ให้คลาดไปจากอารมณ์กัมมัฏฐาน นั้น ๆ
๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ พินิจถึงไตรลักษณ์ รู้การเคลื่อนไหวโดยปราศจาก การเคลือบแคลง
การตั้งสติพินิจกาย ที่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นวิธีการเบื้องต้น ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้เห็นรูปธรรม
อันว่า กาย คือ รูปกายหรือสังขารนี้ เป็นที่ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ รูปธรรม ที่มีชื่อเรียกว่า กัมมชรูป ประการหนึ่ง จิต ที่มีชื่อเรียกว่า วิบากจิต ประการหนึ่ง และ เจตสิก ที่ประกอบกับจิตนั้น อีกประการหนึ่ง
ในชั้นต้นนี้ ให้กำหนดดูเฉพาะรูปธรรมแต่อย่างเดียวก่อน เพราะรูปเป็นของ หยาบ เห็นได้ง่าย ยังไม่ต้องพินิจพิจารณาจิตและเจตสิก ซึ่งเห็นได้ยากกว่า
การกำหนดดูรูป ก็เพื่อจะได้รู้เห็นว่า ตามที่ได้เคยยึดถือรูปกายนี้ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลมีตัวตนเราเขานั้น แท้ที่จริงก็เป็นแต่เพียงรูปธรรมมาประชุมร่วมกันเป็น รูปกาย แม้การเคลื่อนไหวกาย เช่นการเดิน เป็นต้น ก็สักแต่ว่าที่ประชุมแห่งรูป คือ รูปกายนี้ สังขารนี้ กัมมชรูปนี้ เคลื่อนไหวไปด้วยอำนาจแห่งวาโยธาตุ ซึ่งก็เป็นรูป อีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากจิต หาใช่ว่าเราเดินเขาเดินไม่ การรู้เช่นนี้ ชื่อว่าได้เกิดปัญญา รู้เห็นถูกต้องตรงตามสภาพแห่งความเป็นจริงส่วนหนึ่งแล้ว


หน้า ๔๕

ที่ว่าการเคลื่อนไหวกายเช่น การเดิน เป็นต้น เคลื่อนไหวไปด้วยอำนาจแห่ง วาโยธาตุนั้น สติปัฏฐานอรรถกถาแสดงว่า
การเดิน จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน สกลกายสฺส ปุรโต อภินิหาโร คมนนฺติ วุจฺจติ ฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่วสกลกาย ยังให้เคลื่อนไหว นั้น เรียกว่า เดิน (คมนะ)
โก คจฺฉติ ใครเดิน ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ เดิน
กสฺส คมนํ อาการเดินของใคร อาการของจิตตชวาโยธาตุ
กึ กรณา คจฺฉติ เดินเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
การยืน จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน สกลกายสฺส โกฏิโต ปฏฺฐาย อุสฺสิต ภาโว ฐานนฺติ วุจฺจติ ฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่วสกลกายยังให้เคร่งตึง นั้น เรียกว่า ยืน (ฐานะ)
โก ติฏฺฐติ ใครยืน ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ ยืน
กสฺส ติฏฺฐนํ อาการยืนของใคร อาการของจิตตชวาโย
กึ กรณา ติฏฺฐติ ยืนเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
การนั่ง จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน เหฏฺฐิมกายสฺส สมิญฺชนํ อุปริม กายสฺส อุสฺสิตภาโว นิสชฺชนาติ วุจฺจติ ฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่ว สกลกาย ยังให้ส่วนล่างจด และส่วนบนตั้งตรงนั้น เรียกว่า นั่ง (นิสัชชะ)
โก นิสีทติ ใครนั่ง ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ นั่ง
กสฺส นิสีทนํ อาการนั่งของใคร อาการของจิตตชวาโยธาตุ
กึ กรณา นิสีทติ นั่งเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
การนอน จิตฺตกฺริยวาโยธาตุ วิปฺผาเรน สกลสรีรสฺส ติริยโต นิสารณํ สยนนฺติ วุจฺจติฯ วาโยธาตุอันเกิดแต่จิต ที่ซ่านไปทั่วสกลกาย ยังให้ยาวเหยียด นั้น เรียกว่า นอน (สยนะ)
โก สยติ ใครนอน ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ นอน
กสฺส สยนํ อาการนอนของใคร อาการของจิตตชวาโยธาตุ
กึ กรณา สยติ นอนเพราะเหตุใด เพราะอำนาจของจิตตชวาโยธาตุ
ที่แสดงเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้ตระหนักว่า การเดิน ยืน นั่ง นอน นั้นเป็นแต่ ความเคลื่อนไหวอันเกิดจากธาตุลมที่มีอยู่ในร่างกาย โดยบัญชาของจิตสั่งให้เป็นไป ไม่มีตัวตน บุคคลสัตว์มาบงการให้เป็นไปแต่อย่างใด อุปมาเช่นเดียวกันกับที่เห็น รถยนต์แล่นไปมา ซึ่งความจริงที่รถแล่นไปมาได้นั้น ไม่ใช่ความสามารถของรถยนต์ หากแต่รถนั้นแล่นไปมา
ด้วยอำนาจของเครื่องจักรกลที่มีอยู่ในตัวรถ โดยมีผู้ขับคอย บังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการฉันใด สังขารร่างกายนี้ที่เคลื่อนไหวได้ ก็ อุปไมยฉันนั้น


หน้า ๔๖

มหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งใน ทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงไว้ว่า
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา
โทมนสฺสํฯ
แปลความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันว่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณากาย ในกายอยู่ เป็นผู้มีความ
ขะมักเขม่น รู้ตัวอยู่ มีสติอยู่ ย่อมกำจัดซึ่ง อภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสียได้

 
อิติ อชฺฌตฺตํ วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ฯลฯ
แปลความว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายในอยู่ด้วย ประการดังนี้ก็ดี พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายนอกอยู่ก็ดี พิจารณาเห็นกายใน กายทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอกอยู่ก็ดี ฯลฯ
คำว่า " กายในกาย " และคำว่ากายในกายอันเป็นภายใน กายในกายอันเป็น ภายนอกนี้ มีอธิบายกันเป็นหลายนัย เป็นต้นว่า
๑. กาเย กายานุปัสสี เห็นกายในกาย คำว่า กาเย หมายถึง รูปกาย คือ กัมมชรูปนี้ สังขารนี้ ซึ่งมีทั้งจิต เจตสิก และรูป ส่วนคำว่า กายานุปัสสี หมาย เพียงให้เห็นให้กำหนดดูแต่รูปธรรมเท่านั้น คือให้กำหนดดูเฉพาะรูปอย่างเดียว ไม่ใช่ให้ดูจิต เจตสิก ที่มีอยู่ในสังขารร่างกายนี้ด้วย
๒. กายในกาย หมายตรง ๆ ว่า รูปในรูป ซึ่งกล่าวเฉพาะรูปธรรมที่มีใน สังขารร่างกาย คือ กัมมชรูปนี้ ก็มากมายหลายรูป แต่ก็ให้ดูเพียงรูปเดียวในหลาย ๆ รูปนั้น เช่นการพิจารณาลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็ได้กำหนดดูวาโยธาตุแต่รูป เดียวหรือกำหนดความเย็นความร้อนของลมหายใจ คือเตโชธาตุ แต่รูปเดียวเท่านั้น


หน้า ๔๗

๓. ในทำนองเดียวกัน กับการพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ถ้า พิจารณาอิริยาบถเดิน คือการเคลื่อนไปแห่งสังขารร่างกายนี้ ก็ให้กำหนดดูวาโยธาตุ แต่รูปเดียว ซึ่งเป็นรูปที่สามารถทำให้กัมมชรูป คือสังขารร่างกายนี้เคลื่อนไหวไปได้
๔. แม้ในอิริยาบถเดิน ซึ่งมีวาโยธาตุสามารถทำให้รูปกายเคลื่อนไปได้นั้น ก็ ยังมีรูปที่อุปการะให้สำเร็จในการเดินอีกหลายรูป คือ เวลายกเท้าขึ้นก็ยกด้วยอำนาจ แห่งเตโชธาตุ เวลาเคลื่อนเท้าก้าวสืบไป ก็ด้วยอำนาจแห่งวาโยธาตุ เวลาที่หย่อน เท้าลงยังพื้น ก็ด้วยอำนาจแห่งอาโปธาตุ และเวลาที่เหยียบเท้าลงถึงพื้น ก็ด้วย อำนาจแห่งปฐวีธาตุ กล่าว
อย่างสั้น ๆ ให้จำได้ง่าย ๆ ก็ว่า ยกไฟ ไปลม จมน้ำ ย่ำดิน ดังนี้ จะเห็นได้ว่า ให้กำหนดดู วาโยธาตุแต่
รูปเดียวในรูปทั้งหลาย ที่กล่าวแล้วนี้
๕. ส่วนคำว่า กายในกายอันเป็นภายใน และกายในกายอันเป็นภายนอกนั้น เช่นการพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออกที่เป็นไปในรูปกายนี้ ก็เป็นภายใน ลม หายใจเข้าลมหายใจออกที่เป็นไปในรูปกายอื่น ก็เป็นภายนอก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็เป็นไปในสังขารนี้เป็นฉันใด ที่เป็นไปใน สังขารอื่นก็เป็นฉันนั้น ดังนี้เป็นต้น


เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง
เวทนา คือ เวทนา ขันธ์ อันมี ๙ บรรพ ได้แก่
บรรพที่ ๑ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง สุขเวทนา
บรรพที่ ๒ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง ทุกขเวทนา
บรรพที่ ๓ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง อุเบกขาเวทนา
บรรพที่ ๔ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส (สามิสสสุข)
บรรพที่ ๕ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิส (สามิสสทุกข)
บรรพที่ ๖ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง อุเบกขาที่เจือด้วยอามิส (สามิสสอทุกขมสุข)
บรรพที่ ๗ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส (นิรามิสสสุข)
บรรพที่ ๘ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส (นิราสมิสสทุกข)
บรรพที่ ๙ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง อุเบกขาเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส (นิรามิสสอทุกขมสุข)


หน้า ๔๘

อามิส แปลว่า สิ่งของ เครื่องล่อใจ เหยื่อ แต่ในที่นี้หมายถึงกิเลส ดังนั้น ในที่บางแห่งจึงเรียกว่า สุขเวทนาที่เจือด้วยกิเลส ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกิเลส ฯลฯ บ้างก็เรียกว่า สุขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ ฯลฯ เพราะ โดยส่วนมาก กามคุณย่อมเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส
สุขเวทนาที่เกิดขึ้นด้วยสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาก็ดี ทุกขเวทนาที่เกิด ขึ้นจากสภาพแห่งสังขารก็ดี และอุเบกขาเวทนาซึ่งเกิดมีความสงบจากอารมณ์ของ สมถะหรือวิปัสสนาก็ดี จัดว่าเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา ที่ไม่เจือ ด้วยอามิส
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๙ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา แต่ อย่างเดียว จะเพ่งเวทนาโดยความเป็นอารมณ์ของสมถภาวนา เพื่อให้เกิดฌานจิตนั้น ไม่ได้
การตามพิจารณาเวทนา ก็เพื่อให้รู้เห็นประจักษ์ชัดว่าทุกข์สุขที่กำลังเกิดอยู่นั้น เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานที่ให้เห็นได้ด้วยนัยตา เป็นธรรมชาติที่ ไม่ใช่รูป แต่เรียกว่า นาม คือ นามเจตสิก
เวทนานี้ไม่ใช่เรา และเราก็ไม่ใช่เวทนา ต่อเมื่อมีเหตุ มีปัจจัย เวทนาก็เกิดขึ้น ก็ปรากฏขึ้น จะห้ามไม่ให้เกิด ก็ห้ามไม่ได้ ครั้นหมดเหตุ หมดปัจจัยแล้ว เวทนา ก็ดับไปเอง ไม่ดำรงคงอยู่ตลอดไป
ความรู้ในเวทนาดังกล่าวนี้แหละที่เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อัน เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีความสามารถประหารสักกายทิฏฐิได้
ความจริงเวทนานี้ก็เกิดอยู่เสมอทุกขณะ ไม่มีว่างเว้นเลย ชนทั้งหลายก็รู้สึก ทุกข์หรือสุขอยู่ แต่ว่าไปยึดถือว่า เราทุกข์เราสุข จึงไม่อาจที่จะละสักกายทิฏฐิได้เลย ดังนี้ไม่เรียกว่า เวทนานั้นเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน หรือเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา

 
เวทนา กล่าวตามนัยแห่งเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็จัดเป็น ๙ บรรพ ดังที่ ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น
แต่เมื่อกล่าวโดยองค์ธรรม ก็ได้แก่ เจตสิกดวงเดียวที่ชื่อว่า เวทนาเจตสิก
ดังนั้น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ว่ามี ๙ บรรพนั้น จึงนับว่ามีบรรพ เดียวก็ได้ โดยอาศัยนับตามนัยแห่งองค์ธรรม ซึ่งมีเพียง ๑


หน้า ๔๙

อนึ่ง ในเรื่องเวทนาในเวทนาก็ดี เวทนาในเวทนาอันเป็นภายใน เวทนาใน เวทนาอันเป็นภายนอกก็ดี ก็มีนัยทำนองเดียวกับกายในกายที่กล่าวมาแล้ว คือ
เมื่อกำหนดพิจารณาอยู่เนือง ๆ ย่อมทราบว่า ขณะที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ขณะ นั้นก็ไม่มีสุขและไม่ใช่อุเบกขา
เวลาที่กำลังมีสุขเวทนาอยู่ เวลานั้นก็ไม่มีทุกข์ และไม่ใช่อุเบกขาด้วย
ครั้นเมื่อใดเป็นอุเบกขาอยู่ เมื่อนั้นก็ไม่ทุกข์และไม่สุขด้วย
ดังนี้ก็ปรากฏชัดว่า เวทนานี้เวลาเกิดขึ้นก็เกิดแต่อย่างเดียว เกิดทีละอย่างใน เวทนาที่มีหลายอย่าง นี่แหละเป็นการพิจารณาเวทนาหนึ่งซึ่งกำลังเกิดมีอยู่ อันเป็น เวทนาเดียวในเวทนาทั้งหลาย
เวทนาที่เกิดแก่สังขารร่างกายนี้ ก็เป็นภายใน เวทนาที่เกิดแก่สังขารร่างกาย อื่น ก็เป็นภายนอก
เวทนาเกิดแก่รูปกายนี้เป็นฉันใด เวทนาที่เกิดแก่รูปกายอื่น ก็เป็นฉันนั้น


จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง จิต คือ วิญญาณ ขันธ์ อันมี ๑๖ บรรพ ได้แก่
บรรพที่ ๑ สราค คือจิตที่ มีราคะ
บรรพที่ ๒ วีตราค คือจิตที่ ไม่มีราคะ
บรรพที่ ๓ สโทส คือจิตที่ มีโทสะ
บรรพที่ ๔ วีตโทส คือจิตที่ ไม่มีโทสะ
บรรพที่ ๕ สโมห คือจิตที่ มีโมหะ
บรรพที่ ๖ วีตโมห คือจิตที่ ไม่มีโมหะ
บรรพที่ ๗ สงฺขิตฺต คือจิตที่ มีถีนมิทธะ
บรรพที่ ๘ วิกฺขิตฺต คือจิตที ฟุ้งซ่าน
บรรพที่ ๙ มหคฺคต คือจิตที่ เป็นรูปาวจร อรูปาวจร
บรรพที่ ๑๐ อมหคฺคต คือจิตที่ ไม่ใช่รูปาวจร อรูปาวจร (หมายถึง กามาวจร)


หน้า ๕๐

บรรพที่ ๑๑ สอุตฺตร คือจิตที่ เป็นกามาวจร
บรรพที่ ๑๒ อนุตฺตร คือจิตที่ ไม่ใช่โลกุตตร (หมายถึง รูปาวจร และ อรูปาวจร)
บรรพที่ ๑๓ สมาหิต คือจิตที่ เป็นสมาธิ
บรรพที่ ๑๔ อสมาหิต คือจิตที่ ไม่เป็นสมาธิ
บรรพที่ ๑๕ วิมุตฺติ คือจิตที่ ประหารกิเลส พ้นกิเลส
บรรพที่ ๑๖ อวิมุตฺติ คือจิตที่ ไม่ได้ประหารกิเลส ไม่พ้นกิเลส
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๑๖ บรรพนี้ ไม่ได้กล่าวถึงโลกุตตรจิตด้วยเลย เพราะโลกุตตรจิตนั้นจะใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐานไม่ได้ ด้วยเหตุว่าโลกุตตรจิต ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เหมือนจิตอื่น ๆ ซึ่งจิตอื่น ๆ นั้นเกิดขึ้นบ่อย ๆ เมื่อจิตใดกำลัง เกิดอยู่ ก็ใช้จิตนั้นเป็นอารมณ์ในการเจริญสติปัฏฐาน คือพิจารณาจิตนั้น อีกประการ หนึ่ง โลกุตตรจิต ไม่ใช่อุปาทานขันธ์ จึงใช้เป็นอารมณ์วิปัสสนาไม่ได้

 
จิตทั้ง ๑๖ บรรพนี้ ใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐานในการเจริญวิปัสสนาภาวนา เว้นแต่
อากาสานัญจายตนกุสลจิต ๑ กิริยาจิต ๑ อากิญจัญญายตนกุสลจิต ๑ กิริยา จิต ๑ รวมมหัคคตจิต ๔ ดวงนี้เท่านั้น ที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนา ได้ด้วย
ที่กำหนดพิจารณาจิตเหล่านี้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็เพื่อให้รู้เท่าทันว่า จิตที่กำลังเกิดอยู่นั้นเป็นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตฟุ้งซ่าน หรือเป็นจิตชนิดใด เมื่อรู้ประจักษ์ชัดเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดความรู้ต่อไปว่า ที่โลภ ที่โกรธ ที่หลงนั้น เป็นอาการของจิต หาใช่ว่าเราโลภ เราโกรธ เราหลงไม่ เพราะจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา และ เราก็ไม่ใช่จิต จะห้ามไม่ให้จิตอย่างนั้นเกิด ให้เกิดแต่จิตอย่างนี้เถอะก็ไม่ได้เลย จิต ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยที่มาปรุงแต่ง เหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่งจิตมีสภาพอย่าง ใด จิตก็มีอาการเป็นไปอย่างนั้น เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยจิตก็ดับไป
จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีรูปร่างตัวตน เห็นด้วยนัยน์ตาก็ไม่ได้ เป็น ธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป แต่เป็น
ธรรมชาติที่เรียกว่า นาม คือ นามจิต
ความรู้ในจิตดังกล่าวนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอันเป็น อารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีความสามารถที่จะละสักกายทิฏฐิ คือ ความยึดถือ ว่าเป็นจิตเราจิตเขานั้นเสียได้ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๖ บรรพนี้ นับว่ามี ๑ บรรพก็ได้ โดยอาศัยนับ ตามลักษณะของจิต ซึ่งมีสภาพที่รับรู้อารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น
ในเรื่องที่ว่า จิตในจิต จิตในจิตอันเป็นภายใน จิตในจิตอันเป็นภายนอก ก็มี นัยเป็นทำนองเดียวกันกับ
กายในกาย เวทนาในเวทนา ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น นั้น จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในที่นี้อีก


หน้า ๕๑

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรมมี ๕ บรรพ คือ
บรรพที่ ๑ นิวรณ์ ๕
บรรพที่ ๒ ขันธ์ ๕
บรรพที่ ๓ อายตนะ ๑๒
บรรพที่ ๔ โพชฌงค์ ๗
บรรพที่ ๕ อริยสัจจ ๔
นิวรณ์ ๕
ได้กล่าวแล้วข้างต้นในอกุสลสังคหะ อันเป็นสังคหะแรกของ ปริจเฉทนี้
ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒ และ อริยสัจ ๔ จะกล่าวต่อไปในสัพพสังคหะ อันเป็นสังคหะสุดท้ายของปริจเฉทนี้
โพชฌงค์ ๗ ก็จะได้กล่าวในโพธิปักขิยสังคหะ ที่กำลังกล่าวอยู่นี่แหละ
สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งนิวรณ ๕ นั้น เช่น กามฉันทะ หรือ อุทธัจจะ เกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันในทันใดนั้นว่า กามฉันทะหรืออุทธัจจะเกิดขึ้น เมื่อดับไป ก็ให้รู้ ทันในทันทีว่า ดับไป
สติตั้งมั่นในการพิจารณา อุปาทานขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, โพชฌงค์ ๗ หรือ อริยสัจจ ๔ นั้น เมื่อธรรมใด
ปรากฏขึ้น ก็ให้รู้ทันว่า ธรรมนั้น ๆ เกิดขึ้น เมื่อธรรม ที่เกิดขึ้นนั้นดับไป ก็ให้รู้ทันว่าธรรมนั้น ๆ ดับไป ทำนองเดียวกัน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียว เป็น การพิจารณาให้รู้ให้เห็นทั้งรูป ทั้งนาม จึงกล่าวได้ว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๓ นี้ ย่อมรวมลงได้ ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ทั้งสิ้น ดังนั้น ข้อความและความหมายต่าง ๆ ใน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็เป็นไปตามนัยแห่ง กาย เวทนา จิต ที่กล่าวมาแล้วนั้น


หน้า ๕๒

สรุปสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน ๔ นี้ สรุปความได้โดยย่อว่า
การเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เกิดปัญญารู้เห็นว่า กายก็สักแต่ว่ากาย เวทนา ก็สักแต่ว่าเวทนา จิตก็สักแต่ว่าจิต ธรรมก็สักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา แม้ญาณความรู้นั้น ก็เพียงสักแต่ว่ารู้ สติที่ระลึก ก็เพียงแต่ว่า
อาศัย ระลึก ไม่อิงอาศัย ตัณหา ความอยาก และ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน สิ่งหนึ่งสิ่งใด กล่าวคือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า เอตํ มม นั่นเป็นของเรา(ยึดมั่นใน ตัณหา) เอโสหมสฺมิ เราเป็นนั่น(ยึดมั่นในมานะ) เอโส เม อตฺตา นั่นเป็น
ตัวของเรา(ยึดมั่นในทิฏฐิ) อย่างนี้แหละจึงจะเรียกว่า เจริญสติปัฏฐาน
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณารูปธรรม เมื่อกำหนดจนเกิดปัญญารู้แจ้ง เห็นชัดในรูปก็เรียกว่าถึง รูปปริจเฉทญาณ
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณานามธรรม คือ นามเจตสิก เมื่อ กำหนดจนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดในนามเจตสิก ก็เรียกว่าถึง นามปริจเฉทญาณ
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณานามธรรม คือ นามจิต เมื่อกำหนดจน เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดใน
นามจิต ก็เรียกว่าถึง นามปริจเฉทญาณ
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณาทั้งรูปธรรมและนามธรรม เมื่อกำหนด จนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดทั้งรูปทั้งนาม ซึ่งแยกจากกันได้ว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน รูปอยู่ส่วนรูป นามเป็นส่วนนาม ไม่ปะปนกัน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน รู้เห็นเช่นนี้แล้วก็ เรียกว่าถึง นามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นญาณต้นแห่ง โสฬสญาณ คือ ญาณ ๑๖ ซึ่งเป็นทางให้
บรรลุถึง มัคคญาณ ผลญาณต่อไป


อารมณ์ของสติปัฏฐาน

๑. มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส โอฬาริกํ กายานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิ มคฺโค ฯ การพิจารณา
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์หยาบ เป็นเหตุแห่ง ความบริสุทธิ์จากกิเลสแก่มันทะบุคคลที่มีตัณหาจริต
๒. ติกฺขสฺส สุขุมํ เวทนานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโคฯ การพิจารณา เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งอารมณ์ละเอียดสุขุม เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิจาก กิเลส แก่ติกขะบุคคลที่มีตัณหาจริต


หน้า ๕๓

๓. ทิฏฺฐิจริตสฺสปิ มนฺทสฺส นาติปฺปเภทคตํ จิตฺตานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค ฯ การพิจารณาจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์ไม่กว้างขวางนัก เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์จากกิเลส แก่มันทะบุคคลที่มีทิฏฐิจริต
๔. ติกฺขสฺส ทิฏฺฐิจริตสฺส อติปฺปเภทคตํ ธมฺมานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค ฯ การพิจารณา
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์กว้างขวางมาก เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิจากกิเลส แก่ติกขะบุคคลที่มีทิฏฐิจริต
๕. ยสฺมา ปน กายเวทนาจิตฺตธมฺเมสุ กิญฺจิ ธมฺมํ อนามสิตฺวา ภาวนา นาม นตฺถิ ตสฺมา กิญฺจิ ธมฺมํ มนสิกาตพฺพํ ฯ บุคคลผู้ต้องการ มัคค ผล ถ้าไม่ เอาใจใส่พิจารณาธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดา กาย เวทนา จิต ธรรม จะได้ชื่อ ว่า ทำมัคคญาณให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนามัคคผล ควรเอาใจใส่ พิจารณาสติปัฏฐานทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง
๖. อยญฺหิ มคฺโค ภาวิโต อนุปุพฺเพน นิพฺพานสจฺฉิกิริยํ สาเธติฯ หนทาง คือ สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้แล เมื่อบุคคลอบรมทำให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพาน ให้สำเร็จได้โดยลำดับ
ติกขะบุคคล ผู้รู้เร็ว มันทะบุคคล ผู้รู้ช้า ทั้ง ๒ นี้ต่างก็เป็น ติเหตุกปฏิสนธิบุคคลอย่างเดียวกัน คือ เป็นผู้ที่มีปัญญามาแต่กำเนิดเหมือนกัน เพียงแต่ว่าปัญญา นั้นกล้าหรืออ่อนกว่ากันไปหน่อยหนึ่งเท่านั้นเอง การรู้เร็วหรือรู้ช้านี้มีแสดงไว้อีก นัยหนึ่งว่า
ก. อุคฆฏิตัญญูบุคคล คือผู้ที่มีอุปนิสัยบารมีแก่กล้ายิ่ง สามารถรู้ธรรมพิเศษ ได้โดยพลัน เพียงแต่ได้ฟังพระธรรมเทศนาโดยสังเขป ก็ตรัสรู้มัคคผลนิพพาน อุปมาบุคคลจำพวกนี้ว่าเหมือนดอกบัวที่ขึ้นพ้นจากน้ำแล้ว คอยรับแสงอาทิตย์อยู่ เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ ก็จะบานในวันนั้นเอง
ข. วิปจิตัญญูบุคคล คือผู้มีอุปนิสัยบารมีพอปานกลาง ต่อเมื่อได้จำแนก อรรถาธิบายแห่งพระธรรมเทศนานั้น ๆ ให้พิสดารออกไป จึงจะสามารถรู้ธรรม พิเศษนั้น ๆ จนตรัสรู้มัคคผลนิพพานได้ อุปมาบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือนดอกบัวที่ เพิ่งโผล่ขึ้นมาเสมอผิวน้ำ อันจะบานต่อเมื่อถึงวันรุ่งขึ้น
ค. เนยยบุคคล คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยบารมีน้อยหน่อย แม้จะได้สดับพระธรรม เทศนาอย่างพิสดาร ก็ยังไม่เห็นแจ้งในธรรมนั้น ต้องกระทำมนสิการด้วยอุบาย ปัญญา สมาคมคบหาด้วยกัลยาณมิตร บำเพ็ญกิจอย่างพากเพียร เล่าเรียนสมถะ วิปัสสนาด้วย ความอุตสาห จึงจะสำเร็จมัคคผล เปรียบบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือน ดอกบัว ที่ยังอยู่ใต้น้ำ ซึ่งมีโอกาสที่จะบานได้เหมือนกัน แต่ว่านานวันสักหน่อย


หน้า ๕๔

ง. อภัพพบุคคล คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยบารมียังไม่สมบูรณ์ แม้จะพากเพียรสัก เพียงไร ก็ไม่อาจที่จะรู้ธรรมพิเศษในชาตินั้นได้เลย แต่ก็จะเป็นนิสัยปัจจัยต่อไปใน ภายภาคหน้า เปรียบบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือนดอกบัวที่ยังไม่ทันจะได้โผล่พ้นเปือก ตมขึ้นมาด้วยซ้ำไป รังแต่จะเป็นอาหารของเต่าปลา
เพื่อให้เห็นได้ง่ายว่า สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้มี อารมณ์ อะไรเป็นที่อาศัย พิจารณา นิมิต (คือเครื่องหมาย) อันเกิดจากการพิจารณา, วิปัลลาสธรรม (คือสิ่งที่ทำให้ เห็นวิปลาสไป) ที่ประหารได้ และ ปปัญจธรรม (คือสิ่งที่ทำให้เนิ่นช้า)อันเป็นตัว การที่ก่อให้เกิดการวิปลาสไป จึงขอแสดงดังนี้

สติปัฏฐาน ๔

อารมณ์อันเป็นที่
อาศัยพิจารณา

นิมิตอันเกิดจาก
การพิจารณา

วิปัลลาสธรรม
ที่ประหารได้

ปปัญจธรรม

กาย

รูปขันธ์

อสุภสัญญา

สุภสัญญา

ตัณหา

เวทนา

เวทนาขันธ์

ทุกขสัญญา

สุขสัญญา

ตัณหา

จิต

วิญญาณขันธ์

อนิจจสัญญา

นิจจสัญญา

มานะ

ธรรม

ทั้งรูปทั้งนาม

อนัตตสัญญา

อัตตสัญญา

ทิฏฐิ

 

วิปัลลาสธรรม

วิปัลลาสธรรม คือ สิ่งที่ทำให้เห็นวิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากสภาพแห่งความ เป็นจริงนั้น มี ๔ ประการ คือ
สุภสัญญา สุขสัญญา นิจจสัญญา และ อัตตสัญญา
ธรรม ๔ ประการนี้ ยังแยกความวิปลาสออกได้เป็น ๓ สาขา คือ
ทิฏฐิวิปัลลาส วิปลาสไปเพราะเห็นผิด
จิตตวิปัลลาส วิปลาสไปเพราะเข้าใจผิด
สัญญาวิปัลลาส วิปลาสไปเพราะจำผิด จึงรวมเป็น วิปัลลาสธรรม ๑๒ ประการ ดังต่อไปนี้


หน้า ๕๕

วิปัลลาสธรรม

ทิฏฐิวิปัลลาส (เห็นผิด)

จิตตวิปัลลาส (เข้าใจผิด)

สัญญาวิปัลลาส (จำผิด)

สุภสัญญา

ว่าสวยว่างาม

ว่าสวยว่างาม

ว่าสวยว่างาม

สุขสัญญา

ว่าสุขว่าสบาย

ว่าสุขว่าสบาย

ว่าสุขว่าสบาย

นิจจสัญญา

ว่าเที่ยง

ว่าเที่ยง

ว่าเที่ยง

อัตตสัญญา

ว่าเป็นตัวเป็นตน

ว่าเป็นตัวเป็นตน

ว่าเป็นตัวเป็นตน

 

อนึ่ง คำว่า อัตตา นี้มีความหมายเป็นหลายนัย แล้วแต่ว่าความที่กล่าวนั้น มุ่งหมายว่ากระไร หมายว่าเป็น ตัวตนก็ได้ หมายถึงอย่างอื่นก็มี ดังจะยกมาพอเป็น ตัวอย่างสัก ๒-๓ ประโยค เช่น

 
อตฺตทีปา ภิกฺขเว วิหรถ ฯ

ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่งอยู่ คำว่า ตน ในที่นี้หมายถึงกุสลธรรม
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา ฯ  

บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน คำว่า ตน ในที่นี้หมายถึง จิตใจ
นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ ฯ  

ความรักเสมอด้วยตนนั้นไม่มี คำว่า ตน ในที่นี้ หมายถึง กาย คือ ที่ประชุมแห่งรูปนาม


องค์ธรรมของสติปัฏฐาน

องค์ธรรมของสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ได้แก่ สติเจตสิก
ตามสัมปโยคนัยนั้น สติเจตสิกประกอบกับจิตที่เป็นโสภณได้ทั้งหมด คือ ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง


หน้า ๕๖

แต่สติเจตสิก ในสติปัฏฐานนี้ได้แก่ สติเจตสิกที่ประกอบกับติเหตุกชวนจิต ๓๔ ดวง เท่านั้น
ส่วนสติเจตสิกที่ประกอบกับจิตที่เป็น มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ , มหากิริยา ญาณวิปปยุตต ๔, มหาวิบาก ๘, มหัคคตวิบาก ๙ รวมจิต ๒๕ ดวงนี้ เป็น สติปัฏฐานไม่ได้ เพราะ
ก. สติเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔, มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ นั้น เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จึงไม่สามารถกำหนดให้ระลึกรู้ และตั้งมั่นใน อารมณ์อันเป็นหน้าที่ การงานของสติปัฏฐานนั้นให้ถึงนามรูปปริจเฉทญาณได้ เหตุนี้จึงเป็นสติปัฏฐานไม่ได้
แต่อีกนัยหนึ่งแสดงว่า แม้สติเจตสิกที่ประกอบกับจิตที่เป็นมหากุสลญาณ วิปปยุตต ๔ และมหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ ก็จัดเป็นสติปัฏฐานได้ เพราะการ เจริญสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่าจิตจะเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตตอยู่เสมอตลอดไป ย่อมต้อง มีจิตที่เป็นญาณวิปปยุตตบ้าง สัมปยุตตบ้าง สลับกันไป ดังนั้นสติเจตสิกที่ ประกอบกับจิตมหากุสลญาณวิปปยุตตที่เกิดขึ้นในขณะที่เจริญสติปัฏฐาน จึงนับว่า เป็นสติปัฏฐานได้ ส่วนการที่จะเจริญได้ผลเพียงใดหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต่างหาก
ส่วนมหากิริยาญาณวิปปยุตตจิต ๔ จะเกิดขึ้นในขณะใด จึงจะนับว่าเป็นสติปัฏฐานได้อย่างไรหรือไม่ ยังไม่พบคำอธิบาย
ข. สติเจตสิกที่ในมหาวิบากจิต ๘ มีหน้าที่ทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ และ ตทาลัมพนกิจ ไม่ได้ทำ
หน้าที่ระลึกรู้อารมณ์ และตั้งมั่นในอารมณ์เพื่อให้เห็น รูปนาม อันเป็นหน้าที่การงานของสติปัฏฐาน คือ ชวนจิต ดังนั้นจึงเป็นสติปัฏฐาน ไม่ได้
ค. สติเจตสิกที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙ ก็เช่นเดียวกัน มีหน้าที่การงานทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และ จุติกิจเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่ รู้เห็นรูปนาม อันเป็นการ งานของสติปัฏฐาน คือ ชวนกิจแต่อย่างใดเลย จึงเป็นสติปัฏฐานไม่ได้


สติปัฏฐาน กับ สติสัมปชัญญะ

สติปัฏฐาน คือ สติตั้งมั่นในการพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมี ความหมายว่า ให้พินิจในธรรมเหล่านั้น เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นรูปเห็นนาม โดยความ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สติสัมปชัญญะ ก็หมายถึงว่าให้พินิจในประโยชน์ ให้พินิจในการควร เป็นต้น เมื่อพินิจเห็นว่ามีประโยชน์และพินิจเห็นว่าควรทำ จึงทำ ซึ่งมีความมุ่งหมายให้พินิจ เพื่อให้เกิดปัญญาเช่นเดียวกัน


หน้า ๕๗

ดังนั้น การเจริญสติปัฏฐานจึงต้องกระทำไปด้วยความมีสติสัมปชัญญะ คือให้ พินิจด้วยปัญญา เพื่อให้เกิดปัญญาภิญโญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
อันว่าความพินิจที่ประกอบด้วยปัญญานี้ ถ้ามีแก่ผู้ใดแล้ว นับว่าผู้นั้นอยู่ใกล้ พระนิพพาน ดังปรากฏใน
ธรรมบท ว่า
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
ความพินิจย่อมไม่มีแก่ผู้หาปัญญามิได้
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ปัญญาเล่า ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ
ความพินิจและปัญญามีในผู้ใด
ส เว นิพฺพานํ สนฺติเก
ผู้นั้นแหละอยู่ในที่ใกล้พระนิพพาน


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๒ สัมมัปปธาน ๔

สมฺมา ปทหนฺติ เอเตนาติ สมฺมปฺปธานานิ ฯ ธรรมที่เป็นความเพียร พยายาม กระทำโดยชอบนั้น ชื่อว่า สัมมัปปธาน
สัมมัปปธาน กล่าวโดยความหมายที่ง่ายแก่การจำก็ว่า ตั้งหน้าทำชอบ คือ เพียรพยายามกระทำการงานที่ชอบธรรม
ความเพียรพยายามทำชอบที่จะจัดว่าถึงสัมมัปปธานนั้น ต้องประกอบด้วย
ก. ต้องเป็นความเพียรพยายามอันยิ่งยวด แม้ว่า เนื้อจะเหือดเลือดจะแห้ง ไป คงเหลือแต่ หนัง เอ็น
กระดูกก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่บรรลุถึงธรรมอันพึงถึงได้ ก็จะไม่ท้อถอยจากความเพียรนั้นเป็นอันขาด


หน้า ๕๘

ข. ต้องเป็นความเพียรพยายามอันยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า ตั้งหน้าทำชอบในโพธิปักขิยธรรมนี้
ธรรม ๔ ประการที่ว่านี้ได้แก่
๑. อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ปหานาย วายาโม ฯ

เพียรพยายามละอกุสลที่ เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
๒. อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อนุปฺปาทาย วายาโม ฯ  

เพียรพยายามไม่ให้ อกุสลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น
๓. อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ อุปฺปาทาย วายาโม ฯ  

เพียรพยายามให้กุสล ธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
๔. อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ภิยฺโย ภาวาย วายาโม ฯ  

เพียรพยายามให้กุสล ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่ง ๆขึ้นไป

 
ด้วยเหตุว่า ต้องเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงได้ชื่อ ว่า สัมมัปปธาน ๔
มีข้อที่ควรจะได้กล่าวไว้ในที่นี้แต่เพียงประการเดียวว่า อกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมล่วงเลยไปแล้ว จะละคือ
ประหารเสียได้อย่างไร
จริงอยู่ อกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปแล้ว การที่จะลบล้างอกุสลที่เกิดขึ้น แล้วให้สูญสิ้นไป ย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะกระทำได้ การเพียรพยายามละอกุสลที่เกิดขึ้น แล้วให้หมดไปนั้น ในที่นี้มีความหมายว่า อกุสลใด ๆ ที่เคยได้ทำแล้วก็จงอย่าไป นึกไป คิดถึงอกุสลนั้น ๆ อีก เพราะว่าการคิดการนึกขึ้นมาอีก ย่อมทำให้จิตใจ เศร้าหมอง อันจะก่อให้เกิดความโทมนัสเดือดร้อนกระวนกระวายใจไม่มากก็น้อย เมื่อจิตใจเศร้า หมองเดือดร้อน นั่นแหละได้ชื่อว่า จิตใจเป็นอกุสลแล้ว ฉะนั้นใน ประการต้น จะต้องไม่นึกไม่คิดถึงอกุสลที่ได้เคยทำมาแล้ว คือ ละเสีย ลืมเสีย ไม่เก็บมานึกคิดอีก จิตใจก็จะไม่เศร้าหมอง ประการต่อมา เมื่อจิตใจผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมองแล้ว ก็ตั้งใจ ให้มั่นว่าจะไม่กระทำการอันใดที่เป็นอกุสลอีก ดังนี้จึงได้ ชื่อว่าเพียรพยายามละอกุสล ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ทั้งนี้มีมาในวิภังคอรรถกถา แห่ง สัมโมหวิโนทนี อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อกุสลที่ได้กระทำมาแล้วนั้น ที่ได้ผลแล้วก็มี ที่ยังไม่ให้ ผลเพราะยังไม่มีโอกาสก็มี ที่จะอันตรธานสูญหายไปเองนั้นไม่มีเลย แต่ถ้าในชาติใด มีความสามารถประหารสักกายทิฏฐิได้ด้วยสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้แล้ว ชาตินั้นแลได้ประหารได้ละอกุสลที่เคยทำมาแล้วได้สิ้นเชิง


หน้า ๕๙

องค์ธรรมของสัมมัปปธาน

องค์ธรรมของสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ได้แก่ วิริยเจตสิก
ตามสัมปโยคนัย วิริยเจตสิกประกอบกับจิตได้ ๗๓ หรือ ๑๐๕ ดวง (เว้นอวีริยจิต ๑๖)
แต่วิริยเจตสิกที่เป็นสัมมัปปธานได้ เฉพาะที่ประกอบกับกุสลญาณสัมปยุตต จิต ๑๗ เท่านั้น คือ มหากุสลญาณ สัมปยุตตจิต ๔, มหัคคตกุสล ๙, มัคคจิต ๔
ส่วนวิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒, ที่ในอเหตุกจิต ๒ (คือ มโนทวารา วัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑) ที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตตจิต ๔, ที่ในมหาวิบาก จิต ๘, ที่ในมหากิริยาจิต ๘, ที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙, ที่ในมหัคคตกิริยาจิต ๙ และที่ในผลจิต ๔ รวม ๕๖ ดวงนี้ ไม่นับเป็นสัมมัปปธาน เพราะ
ก. วิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะสัมมัปปธาน หมายความว่า การเพียรพยายามโดยชอบธรรม แต่อกุสลจิตเป็นจิตที่ไม่ชอบธรรม ดังนั้นวิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิตจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้ แต่เรียกได้ว่าเป็น มิจฉาปธาน
ข. วิริยเจตสิกที่ในมโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะ มโนทวาราวัชชนจิตไม่มีหน้าที่ทำชวนกิจประการหนึ่ง และเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตต เหตุเลยอีกประการหนึ่ง ความเพียรพยายามนั้นจึงมีกำลังอ่อน ไม่เรียกว่าเป็นความ พยายามอันยิ่งยวด ดังนั้น จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ค. วิริยเจตสิกที่ในหสิตุปปาทจิต ๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตดวง นี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์ การยิ้มแย้มของพระอรหันต์เป็นแต่เพียงกิริยา ไม่มี การละอกุสลหรือเจริญกุสลแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ง. วิริยเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ย่อมมีความเพียรพยายามน้อยเป็นธรรมดา ไม่ มากจนถึงกับเรียกว่าเป็นอย่างยิ่งยวดได้ และถ้าหากว่าจะเกิดมีความเพียรพยายาม เป็นอย่างยิ่งยวดขึ้นมา แต่เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้วไซร้ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ อริยสัจจ ๔ ได้ ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
แต่อีกนัยหนึ่งก็แสดงว่า วิริยเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ ก็เป็น สัมมัปปธานได้ เพราะจิตที่เป็นมหากุสลญาณวิปปยุตตที่เกิดขึ้นในขณะเจริญสติปัฏฐาน ก็นับว่าเป็นสติปัฏฐานได้ดังที่กล่าวแล้วตอนแสดงองค์ธรรมของสติปัฏฐาน นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้วิริยะที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ อันเกิดขึ้นในขณะเจริญ สติปัฏฐาน ก็ควรนับเป็นสัมมัปปธานได้โดยทำนองเดียวกัน ส่วนที่จะบังเกิด ผลเพียงใดหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก


หน้า ๖๐

จ. วิริยเจตสิกที่ในมหาวิบากจิต ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะวิบากจิต ไม่ใช่ชวนจิต จึงไม่มีหน้าที่ทำการละอกุสล ไม่ก่ออกุสล ทำกุสล และเจริญกุสล รวม ๔ อย่าง อันเป็นกิจการงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธาน มหาวิบากจิตมีหน้าที่ ทำแต่ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ และตทาลัมพนกิจเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็น สัมมัปปธานไม่ได้
ฉ. วิริยเจตสิกที่ในมหากิริยาจิต ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตทั้ง ๘ ดวงนี้เป็นจิตของพระอรหันต์ ซึ่งเรียกว่า อเสกขบุคคล คือบุคคลผู้จบการศึกษาแล้ว ละกิเลสได้เป็นสมุจเฉทปหาน ไม่มีอกุสลใดที่จะต้องละ ต้องระวังอีก รวมทั้งไม่มี กุสลใดที่จะต้องก่อ จะต้องรักษาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกแล้ว รวมความมหากิริยาจิต ไม่ต้องทำหน้าที่การงานของสัมมัปปธานนั้นเลย ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ช. วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะ จิตทั้ง ๙ ดวงนี้ ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ โดยเฉพาะเพียง ๓ อย่างนี้ เท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในชวนกิจเลย จึงไม่มีหน้าที่ทำการ ละอกุสลไม่ก่ออกุสล ทำกุสล และเจริญกุสลทั้ง ๔ อย่างนี้แต่อย่างใดเลย เมื่อไม่มีหน้าที่ทำกิจการงานของสัมมัป ปธานจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ซ. วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตกิริยาจิต ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิต ๙ ดวงนี้ เป็นจิตของพระอรหันต์ เมื่อเป็นจิตของพระอรหันต์ ก็มีเหตุผลดังกล่าวมา แล้วในมหากิริยาจิตนั้น ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ญ. วิริยเจตสิกที่ในผลจิต ๔ (หรืออย่างพิสดาร ๒๐) เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะผลจิตไม่ได้เป็นผู้กระทำการ ละอกุสล ไม่ก่ออกุสลไม่ทำกุสล และ เจริญกุสล อันเป็นหน้าที่การงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธานแต่อย่างใด ๆ เลย
เป็นแต่เพียงเป็นผู้รับผลเสวยผลที่มัคคจิตได้กระทำการงานทั้ง ๔ นั้นมาให้แล้ว เมื่อ ไม่ได้ทำหน้าที่ของสัมมัปปธาน จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้


 

หน้า ๖๑

โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๓ อิทธิบาท ๔

อิทฺธิยา ปาโทติ อิทฺธิปาโท ฯ ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ชื่อว่า อิทธิบาท
คำว่า สัมฤทธิผล ในที่นี้หมายถึง ความสำเร็จ คือ บรรลุถึงกุสลญาณจิต และมัคคจิต
ฉนฺโท เอว อิทฺธิปาโทติ ฉนฺทิทฺธิปาโท ฯ ฉันทะเป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท
วิริโย เอว อิทฺธิปาโทติ วิริยิทฺธิปาโท ฯ
วิริยะเป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า วิริยิทธิบาท
จิตฺตญฺเญว อิทฺธิปาโทติ จิตฺติทฺธิปาโท ฯ
จิต เป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า จิตติทธิบาท
วิมํสา เอว อิทฺธิปาโทติ วิมํสิทฺธิปาโท ฯ
วิมังสา คือ ปัญญา เป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า วิมังสิทธิบาท
ดังนี้จะเห็นได้ว่าองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิต และปัญญา ซึ่งเหมือนกับองค์ธรรมของอธิบดี และมีความหมายว่า เป็นไปเพื่อให้กิจการงาน นั้น ๆ เป็นผลสำเร็จเหมือนกัน ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ
อธิบดีนั้นเป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงาน อันเป็น กุสล อกุสล และ อพยากตะ ได้ทั้งนั้น
ส่วนอิทธิบาทนี้ เป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงานอันเป็นกุสล แต่ฝ่าย เดียว และเป็นกุสลที่จะให้บรรลุถึงมหัคคตกุสล และโลกุตตรกุสลด้วย
ดังนั้น ฉันทะ วิริยะ จิต(กิริยาจิต) และปัญญา ของพระอรหันต์ จึงไม่ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะพระอรหันต์เป็นผู้ที่สัมฤทธิผลจนสุดยอดแล้ว ไม่ต้องทำให้สัมฤทธิ ผลอย่างใด ๆ อีก
ฉันทะ วิริยะ จิต และ ปัญญา ที่อยู่ในโลกุตตรวิบากจิต คือผลจิตนั้นก็ไม่ชื่อ ว่าอิทธิบาท เพราะผลจิตเป็นจิตที่ถึงแล้วซึ่งความสัมฤทธิผล


หน้า ๖๒

อิทธิบาท มี ๔ ประการ คือ
๑. ฉันทิทธิบาท ความเต็มใจความปลงใจกระทำ เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๒. วิริยิทธิบาท ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๓. จิตติทธิบาท ความที่มีจิตจดจ่อปักใจอย่างมั่นคง เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ จิต คือ กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๔. วิมังสิทธิบาท ปัญญา เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗ กิจการงานอันเป็นกุสลที่ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ย่อมไม่ปราศจากธรรมทั้ง ๔ ที่เป็นองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้
เลย แต่ว่าความเกิดขึ้นนั้นไม่กล้าเสมอกัน บางที ฉันทะกล้า บางทีวิริยะกล้า บางทีจิตกล้า บางทีก็ปัญญากล้า ถ้าธรรมใดกล้าแล้ว ก็ เรียกธรรมที่กล้านั่นแต่องค์เดียว ว่าเป็น อิทธิบาท


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๔ อินทรีย์ ๕

อินทรีย์ในมิสสกสังคหะมี ๒๒ กล่าวถึงความเป็นใหญ่ ความเป็นผู้ปกครอง ในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับตน ไม่ว่าสภาวธรรมนั้นจะเป็น กุสล อกุสล หรือ อพยากตะ ก็มีอินทรีย ๒๒ นั้นได้ตามควร
ส่วนอินทรีย์ในโพธิปักขิยสังคหะนี้ เป็นความเป็นใหญ่ หรือ ความเป็นผู้ ปกครองในสภาวธรรมที่เป็นฝ่ายดี และเฉพาะฝ่ายดีที่จะให้รู้ให้ถึงซึ่งฌานธรรมและ อริยสัจจธรรม ดังนั้น อินทรียในโพธิปักขิยสังคหะนี้จึงมีเพียง ๕ ประการ
เรียกว่า อินทรีย์ ๕ คือ
๑. สัทธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความสัทธาปสาทในอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายดี องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
สัทธา มี ๒ อย่าง คือ ปกติสัทธา และ ภาวนาสัทธา
ปกติสัทธา ได้แก่ ทาน สีล ภาวนา อย่างสามัญของชนทั้งหลาย โดยปกติซึ่ง สัทธาชนิดนี้ยังไม่แรงกล้า เพราะอกุสลธรรมสามารถทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยง่าย
ส่วน ภาวนาสัทธา ได้แก่ สมถะหรือวิปัสสนาที่เนื่องมาจากกัมมัฏฐานต่าง ๆ มี อานาปานสติ เป็นต้น สัทธาชนิดนี้แรงกล้าและแนบแน่นในจิตใจมาก สมถะ ภาวนาสัทธานั้น อกุสลจะทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยยาก ยิ่งเป็นวิปัสสนาภาวนา สัทธาแล้วไซร้ อกุสลไม่อาจจะทำให้สัทธานั้นเสื่อมไปได้เลย ภาวนาสัทธานี่แหละ ที่ได้ชื่อว่าสัทธินทรีย์


หน้า ๖๓

๒. วิริยินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ซึ่งต้องเป็น ความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ทั้ง ๔ แห่งสัมมัปปธาน จึงจะเรียกได้ว่าเป็น วิริยินทรีย์ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
๓. สตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการระลึกรู้อารมณ์อันเกิดมาจากสติปัฏฐาน ๔ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
๔. สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการทำจิตให้เป็นสมาธิ ตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์ กัมมัฏฐาน องค์ธรรมได้แก่
เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๕. ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการให้รู้เห็น รูป นาม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ว่า เต็มไปด้วยทุกข์โทษภัย เป็น
วัฏฏทุกข์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
อนึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่นับอินทรีย์ ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ
อัญญาตาวินทรีย์ รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรมกองที่ ๔ นี้ด้วย เหตุที่ไม่นับรวมด้วยนั้น ก็เพราะว่า
อินทรีย์ ๕ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ แสดงความเป็นใหญ่ในอันที่จะให้ถึงซึ่ง ความตรัสรู้ มัคค ผล นิพพาน
ส่วนอินทรีย์ ๓ ที่กล่าวอ้างนี้ เป็นโลกุตตรอินทรีย์ เป็นอินทรีย์ของพระอริยเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้วถึงแล้ว ซึ่งมัคค ผล นิพพาน กล่าวอีก นัยหนึ่งว่า โพธิ เป็นตัวรู้ โพธิปักขิยธรรมเป็นเครื่องให้เกิดตัวรู้ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ อัญญาตาวินทรีย์ ทั้ง ๓ นี้ เป็นตัวรู้ ไม่ใช่เป็นเครื่อง ที่จะให้เกิดตัวรู้ ดังนั้นจึงจัดรวมอยู่ในที่นี้ด้วยไม่ได้


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๕ พละ ๕

พละในโพธิปักขิยสังคหะนี้ หมายเฉพาะกุสลพละ ซึ่งมีลักษณะ ๒ ประการ คืออดทนไม่หวั่นไหวประการหนึ่ง และย่ำยีธรรมที่เป็นข้าศึกอีกประการหนึ่ง ดังนั้น พละในโพธิปักขิยธรรม จึงมีเพียง ๕ ประการ คือ
๑. สัทธาพละ ความเชื่อถือเลื่อมใส เป็นกำลังทำให้อดทนไม่หวั่นไหว และ ย่ำยีตัณหาอันเป็นข้าศึก
องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
ปกติสัทธา เป็นสัทธาที่ยังปะปนกับตัณหา หรือเป็นสัทธาที่อยู่ใต้อำนาจของ ตัณหา จึงยากที่จะอดทนได้ ส่วนมากมักจะอ่อนไหวไปตามตัณหาได้โดยง่าย อย่างที่ ว่า สัทธากล้า ก็ตัณหาแก่
ส่วน ภาวนาสัทธา ซึ่งเป็นสัทธาที่เกิดมาจากอารมณ์กัมมัฏฐาน จึงอดทน ไม่หวั่นไหว และย่ำยีหรือตัดขาดจากตัณหาได้


หน้า ๖๔

๒. วิริยพละ ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นกำลังทำให้อดทนไม่หวั่น ไหว และย่ำยีโกสัชชะ คือความเกียจคร้านอันเป็นข้าศึก องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
ความเพียรอย่างปกติตามธรรมดาของสามัญชน ยังปะปนกับโกสัชชะอยู่ ขยัน บ้าง เนือย ๆ ไปบ้าง จนถึงกับเกียจคร้านไปเลย แต่ว่าถ้าความเพียรอย่างยิ่งยวด แม้เนื้อจะเหือดเลือดจะแห้ง ก็ไม่ยอมท้อถอยแล้ว ย่อมจะอดทนไม่หวั่นไหวไป จนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ และย่ำยีความเกียจคร้านได้แน่นอน
๓. สติพละ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐานเป็นกำลัง ทำให้อดทนไม่ หวั่นไหว และย่ำยี มุฏฐสติ คือ ความพลั้งเผลอหลงลืม อันเป็นข้าศึกองค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๔. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐาน เป็นกำลังให้อดทน ไม่หวั่นไหว และย่ำยีวิกเขปะ คือ ความฟุ้งซ่าน อันเป็นข้าศึก องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๕. ปัญญาพละ ความรอบรู้เหตุผลตามความเป็นจริง เป็นกำลัง ทำให้อดทน ไม่หวั่นไหว และย่ำยีสัมโมหะ คือความมืดมน หลงงมงาย อันเป็นข้าศึก องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
การเจริญสมถภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี จะต้องให้พละทั้ง ๕ นี้สม่ำ เสมอกัน จึงจะสัมฤทธิผล ถ้าพละใดกำลังอ่อน การเจริญสมถะหรือวิปัสสนานั้น ก็ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ ถึงกระนั้นก็ยังได้ผลตามสมควร คือ
ก. ผู้มีกำลังสัทธามาก แต่พละอีก ๔ คือ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นั้น อ่อนไป ผู้นั้นย่อมรอดพ้นจากตัณหาได้บ้าง โดยมีความอยากได้โภคสมบัติน้อยลง ไม่ถึงกับแสวงหาในทางทุจริต มีความสันโดษ คือ สนฺตุฏฺฐี พอใจเท่าที่มีอยู่พอใจ แสวงหาตามควรแก่กำลัง และ พอใจแสวงหาด้วยความสุจริต


หน้า ๖๕

ข. ผู้ที่มีกำลังสัทธาและวิริยะมาก แต่พละที่เหลืออีก ๓ อ่อนไป ผู้นั้นย่อม รอดพ้นจากตัณหาและโกสัชชะได้ แต่ว่าไม่สามารถที่จะเจริญ กายคตาสติ และ วิปัสสนาภาวนาจนเป็นผลสำเร็จได้
ค. ผู้ที่มีกำลังสัทธา วิริยะและสติมาก แต่พละที่เหลืออีก ๒ อ่อนไปผู้นั้น ย่อมสามารถเจริญกายคตาสติได้ แต่ว่าเจริญวิปัสสนาภาวนาไม่สำเร็จได้
ง. ผู้ที่มีกำลังทั้ง ๔ มาก แต่ว่าปัญญาอ่อนไป ย่อมสามารถเจริญฌาน สมาบัติได้ แต่ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาภาวนาได้
จ. ผู้ที่มีปัญญาพละมาก แต่พละอื่น ๆ อ่อนไป ย่อมสามารถเรียนรู้พระปริยัติ หรือพระปรมัตถได้ดี แต่ว่าตัณหา โกสัชชะ มุฏฐะ และ วิกเขปะ เหล่านี้มีกำลัง ทวีมากขึ้น
ฉ. ผู้ที่มีวิริยะพละและปัญญาพละ เพียง ๒ อย่างเท่านี้ แต่เป็นถึงชนิด อิทธิบาทโดยบริบูรณ์แล้ว การเจริญวิปัสสนาก็ย่อมปรากฏได้
ช. ผู้ที่บริบูรณ์ด้วย สัทธา วิริยะ และสติพละ ทั้ง ๓ นี้ย่อมสามารถที่จะ ทำการได้ตลอดเพราะ
สัทธาพละ ย่อมประหาร ปัจจยามิสสตัณหาและโลกามิสสตัณหาได้
วิริยพละ ย่อมประหาร โกสัชชะได้ (ความเกียจคร้าน)
สติพละ ย่อมประหาร มุฏฐสติ (ความหลงลืม) ได้
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ต่อจากนั้น สมาธิพละและปัญญาก็จะปรากฏขึ้นตามกำลัง ตามสมควร
ปัจจยามิสสตัณหา คือ ความติดใจอยากได้ปัจจัย ๔ มี อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค โลกามิสสตัณหา คือ ความติดใจอยากได้โลกธรรม ๔ มี ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๖ โพชฌงค์

โพธิยา องฺโค โพชฺฌงฺโค ฯ องค์ที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ (อริยสัจจ ๔) นั้นชื่อ ว่า โพชฌงค์
โพธิ เป็นตัวรู้ โพชฌงค์ เป็นส่วนที่ให้เกิดตัวรู้
สิ่งที่รู้อริยสัจจ ๔ นั้นคือ มัคคจิต สิ่งที่เป็นผลแห่งการรู้อริยสัจจ ๔ นั้นคือ ผลจิต


หน้า ๖๖

องค์ที่เป็นเครื่องให้รู้อริยสัจจ ๔ ที่มีชื่อว่า โพชฌงค์ นี้มี ๗ ประการ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปิติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

๑. สติสัมโพชฌงค์ คือ สติเจตสิกที่ระลึกรู้อยู่ในอารมณ์สติปัฏฐานทั้ง ๔ ต่อ เนื่องกันมา จนแก่กล้าเป็น สตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ด้วยอำนาจแห่ง วิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายความประมาทเสียได้ สติอย่างนี้แหละที่เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ มีความสามารถทำให้เกิดมัคคญาณได้ การที่สติจะเป็นถึงสัมโพชฌงค์ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะเกื้อกูล ๔ ประการ คือ
ก. ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นในสัมปชัญญบรรพ
ข. ต้องเว้นจากการสมาคมกับผู้ที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน
ค. ต้องสมาคมกับผู้ที่เคยเจริญสติปัฏฐาน
ง. ต้องพยายามเจริญสติให้รู้ตัวอยู่ทุก ๆ อารมณ์ และทุก ๆ อิริยาบถ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยธรรมเหล่านี้แล้ว สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น องค์ธรรมของสติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ปัญญาเจตสิกที่รู้รูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนแก่กล้า เป็นวิมังสิทธิบาท เป็นปัญญินทรีย์ เป็นปัญญาพละ เป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายโมหะเสียได้ ปัญญาอย่างนี้ แหละที่เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีความสามารถทำให้เกิดมัคคญาณได้ การที่ ปัญญาจะเป็นถึงธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะ เกื้อกูล ๗ ประการ คือ
ก. การศึกษาวิปัสสนาภูมิ ๖ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น หรืออย่างน้อยก็ให้รู้รูปรู้นาม
ข. รักษาความสะอาดแห่งร่างกาย ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคและที่อยู่อาศัย


หน้า ๖๗

ค. กระทำอินทรีย์ คือสัทธากับปัญญา และวิริยะกับสมาธิให้เสมอกัน เพราะ ว่า
ถ้าสัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหา หากว่าสัทธาอ่อน ย่อมทำให้ความเลื่อมใส น้อยเกินควร
ปัญญากล้า ทำให้เกิดวิจิกิจฉา คือคิดออกนอกลู่นอกทางไป ปัญญาอ่อน ก็ทำให้ไม่เข้าถึงเหตุผลตามความเป็นจริง วิริยะกล้า ทำให้เกิดอุทธัจจะ คือฟุ้งซ่านไป วิริยะอ่อน ก็ทำให้เกิดโกสัชชะ คือเกียจคร้าน
สมาธิกล้า ทำให้ติดในความสงบสุขนั้นเสีย สมาธิอ่อน ก็ทำให้ความตั้งใจมั่น ในอารมณ์นั้นหย่อนไป
ส่วนสตินั้น ไม่มีเกิน มีแต่จะขาดอยู่เสมอ
ที่ว่าสัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหานั้น เช่น เลื่อมใสเชื่อถืออย่างแรงกล้าใน ข้อที่ว่า เมื่อเกิดฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็กำหนดให้ความฟุ้งนั้น จะสามารถเห็นไตรลักษณ์ได้ จึงเลยนั่งจ้องด้วยความอยากที่จะให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมา จะได้ดูให้สมอยาก ดังนี้ เป็นต้น การเชื่อโดยไม่คิดถึงเหตุถึงผลเช่นนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดมีปัญญาขึ้นมาเลย
ในการเจริญสมถภาวนา แม้สมาธิจะมากไปสักหน่อย ก็พอทำเนาเพราะสมถะ นั้น สมาธิต้องเป็นหัวหน้า ส่วนทางวิปัสสนาภาวนา แม้ปัญญาจะมากไปสักเล็ก น้อย ก็ไม่สู้กระไรนัก เพราะวิปัสสนาภาวนานั้น ปัญญาจะต้องเป็นหัวหน้าผู้นำ
ง. ต้องเว้นจากผู้ไม่มีปัญญา เพราะไม่เคยรู้จักธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือไม่ เคย เจริญวิปัสสนาภาวนา
จ. ต้องสมาคมกับผู้มีปัญญาที่เคยเจริญวิปัสสนา รอบรู้รูปนามดีแล้ว
ฉ. ต้องหมั่นเจริญภาวนาอยู่เนือง ๆ โดยอารมณ์ที่เป็นภูมิของวิปัสสนา
ช. ต้องกำหนดพิจารณารูปนามอยู่ทุกอิริยาบถและทุกอารมณ์
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยธรรมเหล่านี้แล้ว ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ก็ ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ วิริยเจตสิกที่ทำกิจสัมมัปปธานทั้ง ๔ จนแก่กล้า เป็นวิริยิทธิบาท เป็น
วิริยินทรีย์ เป็นวิริยพละ และเป็นสัมมาวายามะ ด้วยอำนาจ แห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายโกสัชชะลงได้ วิริยะดังนี้จึงเรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ การที่วิริยะจะเป็นถึงสัมโพชฌงค์ได้นั้นก็ด้วยมีสิ่งอุปการะเกื้อกูล ๑๑ ประการ คือ


หน้า ๖๘

ก. พิจารณาให้รู้ถึงโทษภัยในอบายทั้ง ๔ และถ้ามีความประมาทมัวเมาอยู่ ก็จะไม่พ้นไปจากอบายได้ เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำความเพียรพยายาม เพื่อให้พ้น อบาย
ข. ให้รู้ผลานิสงส์แห่งความเพียรว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมสำเร็จได้ด้วยความ เพียร เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำความเพียรโดยไม่ท้อถอย
ค. รู้และเข้าใจว่า การเจริญสติปัฏฐานนี้เป็นทางเดียวที่จะให้พ้นอบาย และ ให้บรรลุมัคคผล เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำความเพียรอย่างยิ่งยวด
ง. พิจารณาให้รู้ว่า การที่ได้รับอามิสบูชา ก็เพราะปฏิบัติธรรมตามควรแก่ ธรรม จึงควรที่จะปฏิบัติด้วยความเพียรพยายามให้ยิ่ง ๆ ขึ้น
จ. พิจารณาว่า การที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็เพราะได้กระทำความดีมาแต่ปาง ก่อน เป็นโอกาสอันประเสริฐแล้วที่จะเพียรพยายามกระทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป กว่านี้อีก ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีใจสูง
ฉ. พิจารณาว่า พระพุทธองค์ทรงคุณธรรมอันประเสริฐสุด ก็โดยได้เจริญสติ ปัฏฐานนี้เอง จึงควรอย่างยิ่งที่เราผู้ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน จะต้องเพียรพยายาม เจริญสติปัฏฐานตามรอยพระยุคลบาท
ช. พิจารณาว่า สติปัฏฐานนี้เป็นมรดกที่ประเสริฐยิ่งของพระพุทธองค์ เราผู้เป็นพุทธศาสนิกชน จึงควรบำเพ็ญตนให้สมกับที่จะเป็นทายาทรับมรดกนี้ ด้วยการ เจริญสติปัฏฐาน โดยความเพียรพยายามเป็นอย่างยิ่ง
ซ. พิจารณา ความเพียรพยายาม ของกัลยาณมิตรผู้ร่วมเจริญภาวนาด้วยกัน แล้ว และทำให้เกิดความ
เพียรพยายามยิ่งเช่นนี้
ฌ. ต้องเว้นจากผู้ที่เกียจคร้าน ไม่มีความขยันหมั่นเพียร
ญ. ต้องสมาคมกับผู้ที่มีความเพียร เพื่อจูงใจให้เกิดความเพียรพยายามยิ่งขึ้น
ฏ. น้อมจิตใจไปสู่การพิจารณารูปนามที่เกิดดับอยู่ในอิริยาบถใหญ่น้อย และ ในทุก ๆ อารมณ์
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยเหล่านี้แล้ว วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของวิริยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔


หน้า ๖๙

๔. ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ปีติเจตสิกที่มีความอิ่มใจในการเจริญสติปัฏฐาน ผู้ที่ เจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีสติ มีปัญญา จนเกิดความเพียรพยายามอย่างจริงจังแล้ว ย่อม เกิดปีติเป็นธรรมดา ปีติที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลาย อรติ คือ ความไม่ยินดี ที่เป็นเหตุให้เกิดความยินร้าย หรือพยาปาทะเสียได้ ปีติดังนี้จึงได้ชื่อว่า
ปีติสัมโพชฌงค์ การที่ปีติเป็นถึงสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมประกอบด้วยธรรมที่อุปการะ ๑๑ ประการ คือ
ก. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระพุทธเจ้า
ข. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระธรรม
ค. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระสงฆ์
ง. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณของ ศีล
จ. จาคานุสสติ ระลึกถึงคุณของ การเสียสละ
ฉ. เทวดานุสสติ ระลึกถึงคุณของ เทวดา
ช. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระนิพพาน
ซ. เว้นจากผู้ที่ปราศจากสัทธา
ฌ. สมาคมกับผู้ที่มีสัทธา มีเจตนาอันดีงาม
ญ. เรียนพระสูตรที่น่าเลื่อมใส คือ ปสาทนิยสูตร เป็นต้น
ฏ. หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง ๆ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้ ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของปีติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปีติเจตสิก ที่ใน โสมนัสมหากุสลญาณ สัมปยุตตจิต ๒
โสมนัสมหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๒ และ สัปปีติอัปปนาชวนจิต ๓๐ รวมเป็น ๓๔ ดวง


สัปปีติอัปปนาชวนจิต ๓๐ คือ

โลกีย กุสล ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑
โลกีย กิริยา ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑
โลกุตตร ปฐมฌาน ๘ ทุติยฌาน ๘ ตติยฌาน ๘


หน้า ๗๐

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ปัสสัทธิเจตสิก ที่มีความสงบกายสงบใจในการ เจริญสติปัฏฐาน ผู้เจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีสติ มีปัญญา มีวิริยะอย่างจริงจัง จนเกิด ปีตินั้น ขณะนั้นปีติมีกำลังกล้า ทำให้จิตใจตื่นเต้นมาก ต่อเมื่ออาการตื่นเต้นในปีติ สงบลงแล้ว ปัสสัทธิก็มีกำลังขึ้น ทำให้จิตและเจตสิกมีความเยือกเย็น สงบ ประณีต ถ้าอาการอย่างนี้มีมากไป ก็อาจจะทำให้สำคัญคิดผิดไปว่าความสงบนี้แหละ คือพระ นิพพาน เหตุนี้ปัสสัทธิจึงจัดเป็นวิปัสสนูปกิเลส คือเป็นเครื่องเศร้าหมองของ วิปัสสนาประการหนึ่งในจำนวนทั้งหมด ๑๐ ประการ ปัสสัทธิอย่างนี้ไม่ใช่ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ต้องเป็นไปในอารมณ์ไตรลักษณ์แห่งรูปนาม ปัสสัทธิที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายความกระด้างกาย และ ความเร่าร้อนใจเสียได้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จะเกิดได้ด้วยอุปการะธรรม ๗ ประการ คือ
ก. บริโภคอาหารที่สมควร ทั้งปริมาณและคุณภาพ
ข. แสวงหาที่ที่มีอากาศพอเหมาะพอสบาย
ค. ใช้อิริยาบถที่สบาย
ง. พิจารณารู้ว่ากรรมนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน
จ. เว้นจากผู้ที่ไม่มีสีล
ฉ. สมาคมกับผู้ที่มีกาย วาจา ใจ สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
ช. หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง ๆ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยธรรมเหล่านี้แล้ว ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัสสัทธิเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวน จิต ๓๔


หน้า ๗๑

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ เอกัคคตาเจตสิก การตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อย่างแน่วแน่ จนได้ชื่อว่า เป็นสมาธินทรีย์ เป็นสมาธิพละ และเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิดังนี้แหละที่เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ มีได้ทั้งฝ่ายสมถภาวนาและวิปัสสนา ภาวนา สมาธิในสมถภาวนา มีบริกรรมสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็น สมาบัติ ๘ หรือ ๙ ส่วนสมาธิในวิปัสสนาภาวนา ก็มี สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ และอัปปณิหิตสมาธิ สมาธิย่อมทำลายความฟุ้งซ่าน อุปการะธรรมที่ให้เกิดสมาธิ สัมโพชฌงค์ มี ๑๑ ประการ คือ
ก. ต้องรักษาความสะอาดในปัจจัย ๔ มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
ข. ให้เจริญสัทธากับปัญญาให้เสมอกันและเจริญวิริยะกับสมาธิให้เสมอกันด้วย
ค. ให้เข้าใจรักษานิมิตของสมถกัมมัฏฐาน และนิมิตของวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ง. ให้เข้าใจยกจิตให้แก่กล้าในเมื่อวิริยะอ่อน ต้องอาศัยปัญญา วิริยะปีติ ให้มี กำลังขึ้น
จ. ต้องเข้าใจระงับจิตในเมื่อมีความฟุ้งซ่านมาก
ฉ. ทำจิตให้ยินดีในความไม่ประมาท ด้วยการพิจารณาสังเวคธรรม ซึ่งมี ๘ ประการ เป็นต้น
ช. เจริญกัมมัฏฐานให้ถูกต้องกับจริต และปราศจาก ปลิโพธ กังวล
ซ. เว้นจากบุคคลที่มีใจไม่สงบ
ฌ. ให้สมาคมกับผู้ที่ยินดีในความสงบระงับ
ญ. ให้มีความชำนาญในการพิจารณาองค์ฌาน และอารมณ์วิปัสสนา
ฏ. หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง ๆ ให้จิตน้อมไปเพื่อสมาธิ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้แล้ว สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของสมาธิสัมโพชฌงค์ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
ปลิโพธ คือความกังวลห่วงใย มี ๑๐ ประการ คือ
(๑) อาวาสปลิโพธ ห่วงที่อยู่
(๒) กุลปลิโพธ ห่วงบริวาร ว่านเครือ
(๓) ลาภปลิโพธ ห่วงรายได้
(๔) คณปลิโพธ ห่วงพวกพ้อง
(๕) กัมมปลิโพธ ห่วงการงานที่กระทำ
(๖) อัทธานปลิโพธ ห่วงการเดินทาง
(๗) ญาติปลิโพธ ห่วงพ่อแม่ ลูก เมีย พี่น้อง
(๘) อาพาธปลิโพธ ห่วงการเจ็บป่วย
(๙) คันถปลิโพธ ห่วงการศึกษาเล่าเรียน
(๑๐) อิทธิปลิโพธ ห่วงการแสดงฤทธิ์ เฉพาะข้อ ๑๐ นี้ ไม่เป็นปลิโพธแก่การเจริญสมถภาวนา แต่เป็นปลิโพธแก่ การเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว


หน้า ๗๒

สังเวควัตถุ คือ วัตถุที่พึงสังเวช มี ๘ ประการ คือ
(๑) ชาติทุกข์ ความเกิด เป็นทุกข์
(๒) ชราทุกข์ ความแก่ เป็นทุกข์
(๓) พยาธิทุกข์ ความเจ็บ เป็นทุกข์
(๔) มรณทุกข์ ความตาย เป็นทุกข์
(๕) นิรยทุกข์ ตกนรก เป็นทุกข์
(๖) ดิรัจฉานทุกข์ เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นทุกข์
(๗) เปตติทุกข์ เป็นเปรต เป็นทุกข์
(๘) อสุรกายทุกข์ เป็นอสุรกาย เป็นทุกข์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่ทำให้จิตใจเป็นกลาง ไม่ให้เกิดความยินดีหรือยินร้ายในอารมณ์กัมมัฏฐาน เพราะในเวลาที่เจริญกัมมัฏฐาน ย่อมเกิดความชอบใจ และไม่ชอบใจติดตามอยู่เสมอ ด้วยว่าจิตยังไม่ตั้งอยู่ในมัชฌิมา ปฏิปทาได้อย่างแน่นอนและมั่นคง ต่อเมื่อตั้งอยู่ได้มั่นคงด้วยดีแล้ว ตัตรมัชฌัตตตา เจตสิกนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่มีความเจริญถึงกับทำให้สัทธากับ ปัญญา และวิริยะกับสมาธิ มีความสม่ำเสมอกัน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แล้วทำลาย กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เสียได้ ซึ่งสามารถที่จะ ทำให้มัคคญาณเกิดขึ้นได้ จึงจะได้ชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
การที่อุเบกขาสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยมีอุปการะธรรม ๕ ประการ คือ
ก. ตั้งตนเป็นกลางในสัตว์ในบุคคล เพราะตามสภาพแห่งความเป็นจริงนั้น หามีสัตว์มีบุคคลไม่ มีแต่รูปนามที่เป็นไปตามกรรม จึงไม่ควรมีอคติแก่รูปนามนั้น รูปนามนี้เลย
ข. ตั้งตนเป็นกลางในสังขาร คือ บุคคล วัตถุ สิ่งของ ทั้งหลาย เพราะตาม สภาพแห่งความเป็นจริงนั้น สังขารทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงไม่พึง ยินดีเมื่อได้มา และยินร้ายในเมื่อต้องสูญเสียสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสารนั้น ๆ ไป
ค. ต้องเว้นจากผู้ที่ยึดมั่น รักใคร่ หวงแหน ในสัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นของเรา เป็นของเขา
ง. ให้สมาคมกับบุคคลที่ตั้งตนเป็นกลางในสัตว์บุคคล และในสังขารทั้งหลาย
จ. น้อมใจให้ดิ่งไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์


หน้า ๗๓

เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้แล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุก ชวนจิต ๓๔
อนึ่ง ใน วิภังคอรรถกถา แสดงว่า ความเฉยที่เรียกว่า อุเบกขานั้น มีถึง ๑๒ ประการ คือ
(๑) อญาณุเบกขา เป็นความเฉยที่ไม่รู้อะไรเลยหรือเฉยเพราะไม่รู้ องค์ธรรม ได้แก่ โมหเจตสิก
(๒) ฉฬังคุเบกขา เป็นความเฉยของพระอรหันต์ ที่ไม่หวั่นไหวต่ออิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ในเมื่อประสบกับอารมณ์ทั้ง ๖ องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
(๓) พรหมวิหารุเบกขา เป็นความเฉยอย่างพรหม ที่ไม่สงสาร ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่อสัตว์ทั้งหลาย คือ
ไม่มีอคติ องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
(๔) โพชฌงคุเบกขา เป็นความเฉยที่เป็นองค์แห่งความตรัสรู้ คือ ไม่ยินดี ยินร้ายต่ออารมณ์กัมมัฏฐานในขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในโพธิปักขิยสังคหะนี้เอง องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
(๕) วิริยุเบกขา เป็นความเฉยต่อความเพียร หมายความว่า ให้มีความเพียร อย่างกลาง อย่างพอดีที่คู่ควรแก่สมาธิ อย่างที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาในการเจริญ วิปัสสนาภาวนา องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก
(๖) สังขารุเบกขา เป็นความเฉยต่อสังขาร คือรูปนาม ที่ประจักษ์ความเกิด ดับในขณะเจริญวิปัสสนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
(๗) เวทนุเบกขา เป็นความเฉยต่อเวทนาที่ได้เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก
(๘) วิปัสสนุเบกขา เป็นความเฉยต่อรูปนาม หรือต่อไตรลักษณ์ที่ตนกำหนด พินิจอยู่ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
(๙) อาวัชชนุเบกขา เป็นความเฉยต่อการรับอารมณ์ทางปัญจทวารวิถี และ มโนทวารวิถี องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ใน ปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิต
(๑๐) ตัตรมัชฌัตตุเบกขา เป็นความเฉยที่ไม่เอนเอียงไปในทางอคติใด ๆ คือ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา และภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว องค์ธรรม ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก


หน้า ๗๔

(๑๑) ฌานุเบกขา เป็นความเฉยต่อความสุขในจตุตถฌาน เมื่อจะขึ้นสู่ ปัญจมฌาน องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อุเบกขา คือองค์ฌาน เฉยอยู่ด้วยความเพ่ง ตั้งมั่นอยู่ด้วย สมาธิ ตั้งเฉยอยู่โดยปกติ ไม่เอนเอียงตกไปตามนิวรณ มีกามฉันทะเป็นต้น หมายถึง ตั้งมั่นเฉยอยู่ในอารมณ์ที่ตนพินิจ
(๑๒) ปาริสุทธุเบกขา เป็นความเฉยในปัญจมฌาน ที่ไม่ได้ติดอยู่ในสุข เหมือนจตุตถฌาน คือเฉยเพราะละสุขเสียได้แล้ว ดังมีข้อเปรียบไว้ว่า สติเป็นไป ด้วยกับปัญจมฌานนั้น เป็นสติปาริสุทธิ เพราะเหตุเป็นไปด้วยอุเบกขา ดังนั้น ปาริสุทธุเบกขานี้จึงได้แก่ปัญจมฌานนั่นเอง องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก


โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๗ มัคคมีองค์ ๘

มัคคในมิสสกสังคหะ (ซึ่งกล่าวตามนัยแห่งพระอภิธรรม) มีองค์ ๑๒ องค์ แสดงถึงตัวเหตุแห่ง ทุคคติ สุคติและนิพพาน อันเป็นทางให้ถึง ทุคคติ สุคติ และ นิพพาน คือกล่าวถึงมัคคทั้งที่เป็นทางชั่วและทางชอบ
แต่มัคคในโพธิปักขิยสังคหะนี้ กล่าวถึงมัคคเฉพาะที่เป็นทางชอบแต่ฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวถึงฝ่ายชั่วด้วย ดังนั้น มัคคในที่นี้จึงมีเพียง ๘ องค์ มีชื่อว่า อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ ดังมีวจนัตถะว่า
กิเลเส มาเรนฺโต นิพฺพานํ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ มคฺโค ฯ ธรรมใดที่ประหาร กิเลสและย่อมเข้าถึงพระ
นิพพาน ฉะนั้นธรรมที่เป็นเหตุแห่งการฆ่ากิเลส และเข้าถึง พระนิพพาน ชื่อว่า มัคค ได้แก่องค์มัคค ๘ รวมกัน
มคฺคสฺส องฺโค มคฺคงฺโค ฯ ธรรมอันเป็นเครื่องประกอบของธรรมที่เป็นเหตุ แห่งการฆ่ากิเลส และเข้าถึง
พระนิพพาน ชื่อว่า มัคคังคะ ได้แก่องค์มัคค ๘ โดย เฉพาะ ๆ
องค์มัคค ๘ โดยเฉพาะ ๆ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ


หน้า ๗๕

ความหมายแห่งมัคค ได้กล่าวแล้วในมิสสกสังคหะนั้น จึงจะไม่กล่าวซ้ำใน ที่นี้อีก เป็นแต่จะเพิ่มเติมเล็กน้อย ตามนัยที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ว่า
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือเห็นรูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๒. สัมมาสังกัปปะ คิดชอบ คือ คิดให้พ้นทุกข์ เพราะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๓. สัมมาวาจา พูดชอบ คือ พูดโดยมีสติ ไม่เผลอพูดชั่ว เพราะการพูดชั่ว จะไม่พ้นทุกข์
๔. สัมมากัมมันตะ ทำชอบ คือ ทำด้วยความมีสติ ไม่เผลอทำชั่ว เพราะ การทำชั่วจะไม่พ้นทุกข์
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ มีความเป็นอยู่โดยชอบ โดยมีสติไม่เผลอ ให้ดำรงชีพอยู่โดยความชั่ว เพราะมีความเป็นอยู่ชั่ว จะไม่พ้นทุกข์
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ พยายามไม่นึกถึงความชั่ว พยายามไม่ทำ ความชั่ว พยายามทำชอบ พยายามทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะพยายามเช่นนี้ จึงจะพ้นทุกข์
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกถึงเฉพาะรูปนามที่มีความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ระลึกเช่นนี้ โลภ โกรธ หลง จึงจะไม่เกิดขึ้นได้ เพราะถ้าโลภ โกรธ หลง ยังเกิดมีอยู่ ก็จะไม่พ้นทุกข์
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นโดยชอบ คือ ให้แน่วแน่ในสติปัฏฐาน ในอันที่จะ พ้นทุกข์ ดังนี้จะเห็นได้ว่า
มัคคมีองค์ ๘ นี้ย่อมเกี่ยวเนื่องกัน ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างพรักพร้อม จึงจะสำเร็จกิจให้พ้นทุกข์ได้ ความเกี่ยวเนื่องกันนั้น เป็นดังนี้ คือ
เมื่อมีปัญญาเห็นชอบแล้ว ก็ย่อมจะ คิดชอบ
เมื่อคิดชอบ ก็ย่อมจะ พูดชอบ
เมื่อพูดชอบ ก็ย่อมจะ ทำชอบ
เมื่อทำชอบ ก็ย่อมจะ มีความเป็นอยู่ชอบ
เมื่อมีความเป็นอยู่ชอบ ก็ย่อมจะ มีความเพียรชอบ


หน้า ๗๖

เมื่อมีความเพียรชอบ ก็ย่อมจะ มีความระลึกชอบ
เมื่อมีความระลึกชอบ ก็ย่อมจะ ตั้งใจมั่นโดยชอบ
ที่มีความ ตั้งใจมั่นชอบ ก็เพราะมี ความระลึกชอบ
ที่มีความ ระลึกชอบ ก็เพราะมี ความเพียรชอบ
ที่มีความ เพียรชอบ ก็เพราะมี ความเป็นอยู่ชอบ
ที่มีความ เป็นอยู่ชอบ ก็เพราะมี ทำชอบ
ที่ ทำชอบ ก็เพราะมี พูดชอบ
ที่ พูดชอบ ก็เพราะมี คิดชอบ
ที่ คิดชอบ ก็เพราะมี ความเห็นชอบ
กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การที่มีความตั้งใจมั่นโดยชอบ ระลึกชอบ เพียรชอบ มีความเป็นอยู่ชอบ ทำชอบ พูดชอบ และคิดชอบ เหล่านี้ ก็เพราะมีความเห็น ชอบ คือ สัมมาทิฏฐิ เป็นรากฐาน
ในการแสดงมัคคมีองค์ ๘ นี้ พระพุทธองค์ทรงแสดง สัมมาทิฏฐิ ก่อน เพราะถือว่าเป็นองค์ที่มีอุปการะ
ยิ่งเป็นเบื้องต้น(บุพพภาค) แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ มัคคผล จนเปรียบไว้ว่า ปญฺญาปโชต ประทีปคือปัญญา ปญฺญาสตฺถ ศัสตราคือ ปัญญา เพื่อพระโยคาวจรจะได้กำจัดมืด คืออวิชชา และประหารโจร คือกิเลสเสีย ด้วยสัมมาทิฏฐิ
รองจากนั้นก็ทรงแสดง สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเปรียบเหมือนอย่างช่างเงิน ผู้ชำนาญในการดูเงิน พลิกกหาปณะไป
มาด้วยมือและดูด้วยจักษุ ย่อมรู้ว่ากหาปณะนี้ แท้หรือเทียม ฉันใดแม้ พระโยคาวจร ณ กาลบุพพภาคเบื้องต้นย่อมตรึก
นึก รำพึง ด้วยวิตก และใช้ปัญญาเพ่งพินิจธรรมนั้น ๆ อยู่ ย่อมรู้ว่าธรรมนั้น ๆ เป็นรูป เป็น นาม เป็นต้น ก็ฉันนั้น
บุคคลย่อมตรึกก่อน จึงเปล่งวาจาออกมาภายหลัง จึงได้ทรงแสดง สัมมาวาจา เป็นลำดับต่อจากสัมมาสังกัปปะ ตามปกติ ชนทั้งหลายย่อมกล่าวด้วยวาจาก่อนว่าจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วจึง ประกอบกิจการงานต่าง ๆ เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงนับว่าวาจามีอุปการะแก่การงาน ต่าง ๆ ที่ทำด้วยกาย ดังนั้นจึงได้ทรงแสดง สัมมากัมมันตะ เป็นลำดับ
รองลงมาจากสัมมาวาจา


หน้า ๗๗

อาชีวมัฏฐกสีล สีลมีอาชีวะเป็นที่ครบ ๘ ย่อมบริบูรณ์แก่ผู้ละวจีทุจจริต ๔ ประการ และละกายทุจจริต ๓ ประการ บำเพ็ญแต่กายสุจริตและวจีสุจริต ๒ ประการนั่นเทียว สีลนั้นไม่บริบูรณ์แก่ชนอื่นใดที่นอกจากนี้เลย เหตุนี้จึงทรงแสดง สัมมาอาชีวะ ต่อจากสัมมากัมมันตะ
ผู้มีอาชีวะ คือความเลี้ยงชีพ หรือความเป็นอยู่โดยบริสุทธิเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควร ที่จะมีความยินดีอยู่ว่าอาชีวะของเราบริสุทธิ์แล้วเท่านั้น และเป็นผู้ประมาทอยู่ แต่ ควรจะปรารภความเพียรในอิริยาบถทั้งปวงโดยแท้ ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงสัมมาวายามะ ต่อจากสัมมาอาชีวะ
ผู้ปรารภความเพียรดังกล่าวแล้ว พึงตั้งสติให้มั่นคงดำรงอยู่ด้วยดีในวัตถุธรรม ๔ มี กาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยประสงค์ดังนี้ จึงได้ทรงแสดง สัมมาสติ ต่อจาก สัมมาวายามะ
ก็และสติดำรงอยู่แล้วด้วยดีดังนี้ ย่อมองอาจแสวงหาคติธรรมทั้งหลายที่เป็น อุปการะ และละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิ แล้วก็ตั้งจิตให้แน่วแน่ในอารมณ์ที่ กำหนดเพ่งพินิจอยู่นั้น ไม่ให้ฟุ้งเฟ้อไปเป็นอื่น จึงได้ทรงแสดง สัมมาสมาธิไว้เป็น อันดับสุดท้ายแห่งมัคคมีองค์ ๘ นี้


หน้า ๗๘

ธรรมที่ อุปการะ และ เป็นอันตราย แก่สมาธิ

อุปการะ

อันตราย

๑. เนกขัมมะ
ความออกจากกาม

กามฉันทะ
ความชอบใจติดใจในกาม

๒. อพยาปาทะ
ความไม่ขัดเคือง

พยาปาทะ
ความขัดเคือง

๓. อาโลกสัญญา
ความกำหนดหมายแสงสว่าง

ถีนมิทธะ
ความหดหู่ท้อถอย

๔. อวิกเขปะ
ความไม่ฟุ้งซ่าน

อุทธัจจะ
ความฟุ้งซ่าน

๕. ธัมมววัฏฐานะ
ความกำหนดธรรม

วิจิกิจฉา
ความลังเล สงสัย

๖. ญาณ
ความหยั่งรู้

อวิชชา
ความไม่รู้

๗. ปามุชชะ
ความปราโมทย์

อรติ
ความไม่ยินดี

๘. กุสลธรรมทั้งปวง

อกุสลธรรมทั้งปวง

 

อาชีวมัฏฐกสีล

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี

เว้นจาการฆ่าสัตว์

๒. อทินนาทานา เวรมณี

เว้นจากการลักทรัพย์

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี

เว้นจากการผิดประเวณี

๕. ปิสุณาวาจา เวรมณี

เว้นจากการพูดส่อเสียด ยุยง

๖. ผรุสวาจา เวรมณี

เว้นจากการพูดคำหยาบ

๗. สัมผัปปลาปวาจา เวรมณี

เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ

๘. มิจฉาชีวา เวรมณี

เว้นจากการเลี้ยงชีพที่ทุจริต


หน้า ๗๙

การสงเคราะห์มัคคมีองค์ ๘

มัคคมีองค์ ๘ นี้สงเคราะห์ลงเป็นสิกขา ๓ คือ สีล สมาธิ ปัญญา ได้ดังนี้
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ทั้ง ๓ นี้เป็น ศีล
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ทั้ง ๓ นี้ เป็น สมาธิ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ทั้ง ๒ นี้ เป็น ปัญญา
ที่ว่ามีความเกี่ยวพันกันต้องอาศัยโดยพร้อมมูล จึงจะสำเร็จกิจให้พ้นทุกข์ได้คือ
ต้องมีศีล มีความเป็นปกติแห่งกายวาจาใจ จึงจะเกิดความสงบ ไม่กระวน กระวาย คือมีสมาธิได้ ต่อเมื่อมีความสงบระงับ จึงจะเกิดปัญญาได้ ถ้ายังวุ่นวาย ไม่มีความสงบระงับแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้ เมื่อมีปัญญาเห็นผิดชอบชั่วดี ก็จะรักษาศีลเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้สงบ ไม่เดือดร้อน กระวนกระวาย เกี่ยวพันเนื่องกัน ดังนี้
มัคคมีองค์ ๘ นี้มีได้ทั้งโลกียและโลกุตตร มีสิ่งที่แตกต่างกันอันเป็นส่วน สำคัญ ดังจะกล่าวต่อไปโดยย่อ คือ
๑. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกียนั้นประกอบไม่พร้อมกันหมดทั้ง ๘ องค์ เพราะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือ วิรตี ๓ นี้เป็นอนิยตโยคี เจตสิกประเภทนานากทาจิ ประกอบเป็นบางครั้งบางคราว และประกอบได้ทีละดวง เท่านั้น
แต่ว่ามัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตรนั้น วิรตี ๓ เป็นนิยตเอกโต คือต้อง ประกอบพร้อมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ๓ อย่างแน่นอน ดังนั้นมัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตร ต้องประกอบพร้อมกันหมดทั้ง ๘ องค์
๒. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตร มีนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว เท่านั้น
ส่วนมัคคที่เป็นฝ่ายโลกียนั้น ไม่ได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่มีอารมณ์เป็น อย่างอื่น กล่าวโดยเฉพาะวิรตี ๓ นี้ก็ต้องมีวิรมิตัพพวัตถุ คือวัตถุอันพึงเว้นมา ปรากฏเฉพาะหน้า ส่วนโลกุตตรวิรตีไม่ต้องมีวัตถุอันพึงเว้น เพราะโลกุตตรวิรตีนี้ เป็นองค์แห่งมัคค มีหน้าที่ประหารกิเลส ไม่ใช่มีหน้าที่เว้นจากการทุจจริต
๓. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตร ประหารกิเลสได้เด็ดขาดอย่างที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน แต่โลกียมัคคประหารกิเลสได้เพียงชั่วคราวชั่วขณะอย่างที่เรียกว่า ตทังคปหาน อย่างมากก็ข่มไว้ได้นานหน่อย แค่ที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เท่านั้น


หน้า ๘๐

สติปัฏฐาน กับ อัฏฐังคิกมัคค

สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นกองแรกของโพธิปักขิยสังคหะนี้ ก็แสดงว่าเป็นไปเพื่อ ให้แจ้งพระนิพพาน โดยอธิบายว่า ผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุพระนิพพานต้องประพฤติ ดำเนินไปในสติปัฏฐาน ๔ นี้ และ อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ อัน
เป็นกอง สุดท้ายของโพธิปักขิยสังคหะนี้ ก็ว่าเป็นไปเพื่อให้แจ้งพระนิพพาน โดยอธิบายว่า ผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานต้องดำเนินทางสายกลาง คือ มัคคมีองค์ ๘ นี้ ความทั้ง ๒ ข้อ นี้สงเคราะห์เข้ากันได้ มีอธิบายไว้ว่า
ในอริยมัคค หรืออัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ นั้น มีองค์หนึ่งชื่อว่า สัมมาสติ ก็คือ สติปัฏฐานนี่เอง ดังนั้นเมื่อเห็นในสติปัฏฐานก็ชื่อว่าเห็นชอบ ดำริ ในสติปัฏฐานก็ชื่อว่าดำริชอบ พูดเรื่องสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าพูดชอบ การงานของใจ เป็นไปในสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าการงานชอบ มีความเป็นอยู่ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าเป็นอยู่ชอบ เพียรในสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าเพียรชอบ ระลึกในสติปัฏฐาน ก็ชื่อ ว่า ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นในสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าตั้งใจมั่นชอบ ดังนี้จะเห็นได้ว่า เป็น การดำเนินสติปัฏฐานกับเจริญอัฏฐังคิกมัคคพร้อมกันไปในตัวทีเดียวด้วยแล้ว แม้สติ ปัฏฐานจะเป็น
จุดเริ่มต้น และอัฏฐังคิกมัคคเป็นจุดที่สำเร็จผล แต่ในขณะที่บรรลุแจ้ง พระนิพพานนั้น โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการ
ย่อมประกอบพร้อมกัน ซึ่งจะได้ กล่าวต่อไปข้างหน้า
พระธรรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามีมากมาย ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เปรียบเหมือนเถาวัลย์ขึ้นพันต้นไม้ บุคคลจะจับตรงไหนและฉุดกระชาก ย่อม กระเทือนไหวไปตลอดทั้งเถา ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงว่า สติปัฏฐานเป็นไปเพื่อ
ทำ พระนิพพานให้แจ้ง ชื่อว่าไม่แย้งไม่ขัดต่อต่ออริยมัคคซึ่งเป็นมรรคาทางแห่งพระ นิพพานตามนัยแห่งอริยสัจจนั้นแต่ประการใดเลย


หน้า ๘๑

ฐานขององค์ธรรมแห่งโพธิปักขิยสังคหะ

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีองค์ธรรมเพียง ๑๔ องค์ ดังได้กล่าวแล้ว ข้างต้น บัดนี้จะแสดงฐานขององค์ธรรมทั้ง ๑๔ นั้น
ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง หรือ ตำแหน่ง มีความหมายว่า องค์ธรรม ๑๔ องค์นี้ แต่ละองค์เป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้นได้กี่ตำแหน่ง หรือมีที่ตั้งกี่แห่ง คือ เป็นได้กี่ฐาน ฐานใดบ้าง มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๘ แสดงว่า

๘. สงฺกปฺปปสฺสทฺธิ จ ปีตุเปกฺขา
ฉนฺโท จ จิตฺตํ วิรติตฺตยญฺจ
นเวก ฐานา วีริยํ นวฏฺฐ
สติ สมาธิ จตุ ปญฺจ ปญฺญา
สทฺธา ทุฐานุตฺตมํ สตฺตตีส
ธมฺมานเนโส ปวโร วิภาโค ฯ


แปลความว่า สัมมาสังกัปปะ ๑, ปัสสัทธิ ๑, ปีติ ๑, อุเบกขา ๑, ฉันทะ ๑, จิต ๑, และ วิรตี ๓ รวมเป็นธรรม ๙ ประการนี้ มีฐานอันหนึ่ง ๆ
ส่วนวิริยะมี ๙ ฐาน, สติมี ๘ ฐาน, สมาธิมี ๔ ฐาน, ปัญญามี ๕ ฐาน และ สัทธามี ๒ ฐาน นี่เป็นการจำแนกโดยละเอียดแห่งธรรม ๓๗ ประการ อันอุดม
มีความหมายดังต่อไปนี้
๑. สัมมาสังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิกมีฐานเดียว คือสัมมาสังกัปปะ
๒. ปัสสัทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัสสัทธิเจตสิก มีฐานเดียว คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๓. ปีติ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก มีฐานเดียว คือ ปีติสัมโพชฌงค์
๔. อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก มีฐานเดียว คือ อุเบกขา สัมโพชฌงค์
๕. ฉันทะ องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก มีฐานเดียว คือ ฉันทิทธิบาท
๖. จิต องค์ธรรมได้แก่ จิต มีฐานเดียว คือ จิตติทธิบาท
๗. วิรตี องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมา อาชีวเจตสิก มีฐานองค์ละฐานเดียว
คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ตามลำดับ
๘. วิริยะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก มี ๙ ฐาน คือ สัมมัปปธาน ๔ ฐาน, วิริยิทธิบาท ๑ ฐาน, วิริยินทรีย ๑ ฐาน, วิริยพละ ๑ ฐาน, วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ฐาน และสัมมาวายามะ ๑ ฐาน
๙. สติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก มี ๘ ฐาน คือ สติปัฏฐาน ๔ ฐาน, สตินทรีย ๑ ฐาน, สติพละ ๑ ฐาน,
สติสัมโพชฌงค์ ๑ ฐาน และ สัมมาสติ ๑ ฐาน
๑๐. สมาธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก มี ๔ ฐาน คือ สมาธินทรีย ๑, สมาธิพละ ๑, สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ และสัมมาสมาธิ ๑
๑๑. ปัญญา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก มี ๕ ฐาน คือ วิมังสิทธิบาท ๑, ปัญญินทรีย ๑, ปัญญาพละ ๑, ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ และสัมมาทิฏฐิ ๑
๑๒. สัทธา องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก มี ๒ ฐาน คือ สัทธินทรีย ๑ และ สัทธาพละ ๑


หน้า ๘๒

การสงเคราะห์โพธิปักขิยธรรม

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนี้ ก็มาจาก สีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งวิสุทธิมัคค สงเคราะห์ดังนี้
ฉันทิทธิบาท สัทธินทรีย สัทธาพละ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมา อาชีวะ ธรรมทั้ ๖ นี้สงเคราะห์ลงใน ศีลขันธ์
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ วิริยิทธิบาท จิตติทธิบาท วิริยินทรีย สติน ทรีย สมาธินทรีย วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ สติสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ธรรมทั้ง ๒๕ นี้ สงเคราะห์ลงใน สมาธิขันธ์
วิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ธรรมทั้ง ๖ นี้สงเคราะห์ ลงใน ปัญญาขันธ์


โพธิปักขิยธรรมย่อมประกอบพร้อมกัน

ตามปกติ โพธิปักขิยธรรมย่อมประกอบพร้อมกันทั้ง ๓๗ ประการ แต่ว่าใน บางกรณีก็มีเว้น ดังปรากฏในคาถาสังคหะที่ ๙ ว่า


๙. สพฺเพ โลกุตฺตเร โหนฺติ น วา สงฺกปฺปปีติโย
โลกิเยปิ ยถาโยคํ ฉพฺพิสุทฺธิปวตฺติยํ ฯ


แปลความว่า ในโลกุตตรจิต มี(โพธิปักขิยธรรม) ครบทั้งหมด(คือทั้ง ๓๗) แต่ว่าสังกัปปะ และปีติ บางทีก็ไม่ประกอบ แม้ในโลกียวิสุทธิ ๖ (โพธิปักขิยธรรม) ก็ประกอบเท่า ที่ควรจะเป็นไปได้
มีความหมายว่า
๑. โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น โพธิปักขิยธรรมประกอบพร้อมกันครบ หมดทั้ง ๓๗ ประการ


หน้า ๘๓

๒. โลกุตตรจิตโดยพิศดาร ๔๐ ดวง ซึ่งเป็นโลกุตตรจิตที่มีฌานประกอบ ด้วยนั้น
ก. โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ๘ ดวง มีโพธิปักขิยธรรมประกอบ ครบหมดทั้ง ๓๗ ประการ
ข. โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ๘ ดวง และที่ประกอบด้วย ตติยฌานอีก ๘ ดวง รวมเป็น ๑๖ ดวง มีโพธิปักขิยธรรมประกอบเพียง ๓๖ เท่านั้น โดยต้องเว้นสัมมาสังกัปปะ คือ วิตกเจตสิก เสีย ๑
ค. โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ๘ ดวง และที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๘ ดวง รวม ๑๖ ดวง มีโพธิปักขิยธรรมประกอบเพียง ๓๕ เท่านั้น คือ ต้องเว้น ปีติ เพิ่มขึ้นอีก ๑ ด้วย รวมเว้นทั้ง วิตก และ ปีติ
๓. โลกียจิต มีรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง (เว้นปฐมฌาน ๓) และอรูปาวจรจิตทั้ง ๑๒ ดวง รวมเป็นจิต ๒๔ ดวงนี้ วิตกเจตสิกย่อมไม่เข้าประกอบ
๔. โลกียจิตที่เป็นจตุตถฌาน ๓ และปัญจมฌาน ๑๕ รวมเป็นจิต ๑๘ ดวงนี้ ปีติไม่เข้าประกอบ ก็ต้องเว้นปีติออกเสียอีกด้วย
๕. แม้ในขณะที่โยคีบุคคลเจริญวิสุทธิ ๖ ประการ ซึ่งยังเป็นโลกียวิสุทธิ อยู่นั้น โพธิปักขิยธรรมก็เกิดได้ตามสมควร


วิสุทธิ ๗

ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา บ้างก็เรียกว่าเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น กล่าว โดยวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิแล้ว ก็จำแนกได้เป็น ๗ คือ
๑. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งสีล ได้แก่ วิรตี ๓
๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งจิต ได้แก่ เอกัคคตา คือ สมาธิ
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความเห็น ได้แก่ ปัญญา
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งการข้ามพ้นจากความสงสัย ได้แก่ ปัญญา
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นว่าเป็นทางที่ ถูกต้องหรือมิใช่ ได้แก่ ปัญญา


หน้า ๘๔

๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นว่านี่ใช่ทาง ปฏิบัติแล้ว ได้แก่ ปัญญา
วิสุทธิทั้ง ๖ ที่กล่าวแล้วนั้น ยังเป็นโลกียวิสุทธิอยู่ ต่อเมื่อถึง
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นพระนิพพาน ได้แก่ ปัญญา จึงจะเป็นโลกุตตรวิสุทธิ

 

วิสุทธิ อันความบริสุทธิหมดจดนี้ แม้จะเป็นโลกุตตรวิสุทธิ เป็นวิสุทธิของ พระอริยเจ้า ยังจำแนกได้เป็น ๒ คือ ปริยายสุทธิ บริสุทธิโดยเอกเทส และ นิปปริยายสุทธิ บริสุทธิโดยสิ้นเชิง
พระโสดาบัน พระสกทาคามี และ พระอนาคามี นั้นบริสุทธิโดยเอกเทศคือ บริสุทธิเพียงบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น กิเลสเครื่องเศร้าหมองบางอย่างยังคงเหลือตก ค้างอยู่อีกบ้าง
ส่วนพระอรหันต์ จึงบริสุทธิหมดจดโดยสิ้นเชิง ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ใด ๆ เหลืออยู่อีกเลยแม้แต่น้อย


หน้า ๘๕

๔. สัพพสังคหะ

สัพพสังคหะ หมายถึง การรวบรวมปรมัตถธรรมทั้งหมด คือ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน มาแสดงไว้ในที่นี้ ดังมีบาลีว่า สพฺเพสํ ปรมตฺถธมฺมานํ สงฺคโหติ สพพฺสงฺคโห ฯ ซึ่งแปลความว่าได้สงเคราะห์ปรมัตถธรรมทั้งหมด (โดยไม่มีเหลือ) มาแสดง ณ ที่นี้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า สัพพสังคหะ
สัพพสังคหะ จำแนกออกเป็น ๕ กอง คือ
๑. ปัญจขันธ์ ๒. อุปาทานขันธ์
๓. อายตนะ ๔. ธาตุ
๕. อริยสัจจ


สัพพสังคหะกองที่ ๑ ปัญจขันธ์

ปัญจขันธ์ บ้างก็เรียกว่า เบญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ นี้มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๐ แสดงว่า


๑๐. รูปญฺจ เวทนา สญฺญา เสส เจตสิกา ตถา
วิญฺญาณมิติ ปญฺญเจเต ปญฺจกฺขนฺธาติ ภาสิตา ฯ


แปลความว่า รูป เวทนา สัญญา เจตสิกที่เหลือ(อีก ๕๐ ดวง) และวิญญาณ เหล่านี้แหละ เรียกว่า ปัญจขันธ์ มีความหมายดังนี้
มีความหมายดังนี้ ปัญจขันธ์ หรือเบญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
รูปขันธ์ คือ กองรูป ได้แก่ รูปทั้งหมด หมายความว่ารูปธรรมทั้ง ๒๘ รูป นั้นแต่ละรูปก็ได้ชื่อว่า รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ คือ กองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก
สัญญาขันธ์ คือ กองสัญญา ได้แก่ สัญญาเจตสิก
สังขารขันธ์ คือ กองสังขาร ได้แก่ เจตสิกที่เหลือทั้งหมด (๕๐ ดวง) มี ความหมายว่า ในเจตสิก ๕๐ ดวงนี้ดวงใดดวงหนึ่ง แม้แต่ดวงเดียวก็ได้ชื่อว่า สังขารขันธ์


หน้า ๘๖

วิญญาณขันธ์ คือ กองวิญญาณ ได้แก่ จิตทั้งหมด หมายความว่า จิตดวงใด ดวงหนึ่ง แม้แต่ดวงเดียว
ก็ได้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์
ตามที่ได้กล่าวแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า ขันธ์ ๕ นี้ไม่ได้กล่าวถึงนิพพาน ซึ่งเป็น ปรมัตถธรรมนั้นด้วยเลย ทั้งนี้ก็เพราะว่านิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากขันธ์ และเรียกว่าเป็นขันธวิมุตติ
๑๑ กอง ๑๑ ประเภท หรือ ๑๑ อย่างนั้น คือ
๑. อดีต ๒. ปัจจุบัน ๓. อนาคต จิต เจตสิก รูป เป็นไปในกาลทั้ง ๓ นี้ ได้ เพราะจิต เจตสิก รูป มีการเกิดขึ้น มีการดำรงคงอยู่ แล้วก็มีการดับไป ที่ดับไป แล้วนั้นเป็นอดีต ที่กำลังดำรงคงอยู่เป็นปัจจุบัน และที่จะเกิดต่อไปภายหน้าเป็น อนาคต ส่วนนิพพานเป็นธรรมที่เหลืออยู่เป็นนิจนิรันดร ไม่มีการเกิดดับ จึงไม่มีกาล ทั้ง ๓ นี้ พ้นจากกาลทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า กาลวิมุตติ
๔. อัชฌัตตะ ๕. พหิทธะ จิต เจตสิก รูป ที่เป็นอัชฌัตตะ คือเป็นภายใน ก็มี เป็นพหิทธะ คือ เป็นภายนอกก็มี ส่วนนิพพานที่เป็นธรรมภายในนั้นไม่มี นิพพานเป็นธรรมภายนอกอย่างเดียวเท่านั้น
๖. โอฬาริกะ ๗. สุขุมะ จิต เจตสิก รูป ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี แต่ นิพพานไม่ใช่ธรรมที่หยาบ เป็นธรรมที่สุขุมอย่างเดียว
๘. หีนะ ๙. ปณีตะ จิต เจตสิก รูป ที่ต่ำทรามก็มี ที่ประณีตก็มี ส่วน นิพพานไม่ใช่ธรรมที่ต่ำทราม แต่เป็นธรรมที่ประณีตยิ่ง
๑๐. สันติเก ๑๑. ทูเร จิต เจตสิก รูป ที่ใกล้ก็มี ที่ไกลก็มี ส่วนนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่ใกล้ แต่เป็นธรรมที่ไกล
เพราะเหตุว่า นิพพานเป็นได้ไม่ครบทั้ง ๑๑ กอง จึงเป็นขันธ์ไม่ได้ ก็พ้นจาก ความเป็นขันธ์ไป ได้ชื่อว่าเป็นขันธวิมุตติ (และเป็น กาลวิมุตติ ด้วย)


หน้า ๘๗

อดีต ปัจจุบัน อนาคต

อดีต ปัจจุบัน อนาคต อันมีชื่อว่ากาล ๓ นี้ ยังจำแนกได้เป็น ๔ นัย คือ กาลอัทธา กาลสมัย กาลสันตติ และ กาลขณะ
กาลอัทธา หมายถึงระยะเวลาอันยาวนาน ตั้งภพตั้งชาติหนึ่งก็ได้ ตั้งกัปป์ ตั้งกัลป์หนึ่งก็ได้ เช่น ปัจจุบันภพก็หมายถึงความเป็นอยู่ในภพนี้ นับตั้งแต่ปฏิสนธิ จนถึงจุติ เป็นต้น
กาลสมัย หมายถึง ระยะเวลาช่วงหนึ่ง เช่น สมัยที่เป็นเด็ก ตอนรุ่นหนุ่ม รุ่นสาว ตอนเช้า ตอนเย็น ตอนหัวค่ำ ตอนดึก เป็นต้น
กาลสันตติ หมายถึง ระยะเวลาอันสืบเนื่องติดต่อกันอย่างกระชั้นชิด เช่น เวทนาที่กำลังเกิดสืบเนื่องติดต่อกัน
ในวิถี ๑ หรือในชวนะ ๑ หรือในสมาบัติ ๑ ก็ นับเป็นกาลสันตติ ๑ และตามนัยแห่งพระสูตรยังแสดงไว้ว่า สัตว์ที่เป็นคัพภเสยยก กำเนิดนั้น รูปที่เกิดในขณะปฏิสนธิ จนถึงมีตา หู จมูก เป็นต้นครบบริบูรณ์ ก็เรียก ว่า สันตติรูป เหมือนกัน
ส่วน กาลขณะนั้น หมายถึงระยะเวลาอันสั้นนิดเดียว ชั่วขณะที่เกิดขึ้นซึ่งเรียก ว่า อุปาทขณะ ชั่วขณะที่ตั้งอยู่ซึ่งเรียกว่า ฐีติขณะ และชั่วขณะที่ดับไป ซึ่งเรียกว่า ภังคขณะทั้ง ๓ ขณะนี้เป็นระยะเวลาอันสั้นเหลือเกินจนสามัญชน ไม่สามารถที่ จะเห็นได้ กำหนดได้เลย


อัชฌัตตะ และ พหิทธะ

อัชฌัตตะ คือ ภายใน พหิทธะ คือ ภายนอก จิต เจตสิก รูป ที่รูปกายนี้ เป็นภายใน จิต เจตสิก รูป ที่นอกรูปกายนี้ก็เป็นภายนอก


โอฬาริกะ และ สุขุมะ

โอฬาริกะ คือ หยาบ สุขุมะ คือ ละเอียด จะกล่าวถึงรูปก่อน รูปของสัตว์ ในอบายหยาบกว่ารูปกายของมนุษย์ รูปกายของมนุษย์หยาบกว่ารูปกายของเทวดา รูปกายของเทวดาก็หยาบกว่ารูปกายของรูปพรหม
กล่าวถึงจิตและเจตสิก ในชาติอกุสลนั้นหยาบกว่าในชาติกุสล ในชาติกุสล หยาบกว่าในชาติอพยากตะ ในกุสลญาณวิปปยุตตหยาบกว่าในกุสลญาณสัมปยุตต ในกามาวจรกุสลหยาบกว่าในรูปาวจรกุสล ในรูปาวจรกุสลก็ยังหยาบกว่าในอรูปาวจรกุสล เป็นชั้น ๆ กัน
จิตและเจตสิกที่มีทุกขเวทนาหยาบกว่าที่มีสุขเวทนา ที่มีโทมนัสเวทนาหยาบ กว่าที่มีโสมนัสเวทนา ที่มีสุขเวทนาหรือโสมนัสเวทนาหยาบกว่าที่มีอุเบกขาเวทนา
จิตและเจตสิกที่ในทุคคติภูมิหยาบกว่าในสุคติภูมิ ในกามภูมิหยาบกว่าในรูป ภูมิ เป็นต้น เป็นชั้น ๆ กันไปในทำนองที่กล่าวนี้


หน้า ๘๘

หีนะ และ ปณีตะ

หีนะ คือ ต่ำทรามหรือเลว ปณีตะ คือ ประณีตหรือดียิ่ง นี้มีความหมายเป็น ทำนองเดียวกับโอฬาริกะ หยาบ และสุขุมะ ละเอียด นั้นเอง สิ่งใดที่หยาบก็นับว่า สิ่งนั้นเลว สิ่งใดที่ละเอียดก็นับว่าสิ่งนั้นประณีต

 

สันติเก และ ทูเร

สันติเก คือ ใกล้ ทูเร คือ ไกล จิต เจตสิก รูป ที่อยู่ในภูมิเดียวกัน และ ประเภทเดียวกัน เช่นเป็นสัตว์ดิรัจฉานเหมือนกันและเป็นแมวเหมือนกัน หรือเป็น มนุษย์เหมือนกันและมีปัญญาเหมือนกัน ดังนี้เป็นต้น จัดว่าใกล้กัน แต่ว่าแมวกับ ปลา คนมีปัญญากับคนนับสิบไม่ถูก จัดว่าไกลกัน เพราะแม้ว่าจะเป็นสัตว์ในภูมิ เดียวกันก็ตาม แต่ว่าเป็นสัตว์ต่างประเภทกัน ยิ่งเป็นสัตว์ที่ต่างภูมิกันด้วยแล้ว ก็ยิ่ง ไกลกันมาก
จิตโลภกับโกรธจัดว่าใกล้กันได้ เพราะเป็นชาติอกุสลเหมือนกัน และจัดว่า ไกลกันก็ได้ เพราะว่าเป็นจิตต่างประเภทกัน
จิตโลภกับจิตมหากุสลจัดว่าใกล้กันได้ เพราะเป็นกามจิตเหมือนกัน และจัด ว่าไกลกัน ก็เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นชาติอกุสล แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นชาติกุสล
จิตมหากุสลกับจิตมหัคคตกุสลจัดว่าใกล้กันก็ได้ เพราะเป็นชาติกุสลเหมือน กันและเป็นโลกียจิตเหมือนกัน และจัดว่าไกลกันก็ได้ เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นกามกุสล แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นมหัคคตกุสล
ส่วนนิพพาน จะจัดว่าเป็นธรรมที่ใกล้ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะไม่มีอะไรหรือ สิ่งใดเหมือน หรือแม้แต่จะใกล้เคียงกับนิพพานเลย นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีใน กามโลก รูปโลก หรือ อรูปโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก พ้นจากโลก ทั้ง ๓ ด้วย
เหตุนี้ นิพพาน จึงเป็นธรรมที่ไกลแต่อย่างเดียว ไม่มีใกล้เลย


หน้า ๘๙

ข้ออุปมาปัญจขันธ์

ใน สังยุตตนิกายพระบาลี แห่งพระสุตตันตปิฎก ได้อุปมาปัญจขันธ์ หรือ เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ นี้ว่า รูปเปรียบเหมือนภาชนะ เวทนาเปรียบเหมือนข้าว สัญญาเปรียบเหมือน กับข้าว สังขารเปรียบเหมือนคนทำกับข้าว วิญญาณเปรียบเหมือนผู้บริโภค ขันธ์ ๕ มีอุปมาโดยลำดับดังนี้
อีกนัยหนึ่ง ได้อุปมาเบ็ญจขันธ์ นี้ว่า รูปเปรียบด้วยก้อนแห่งฟองน้ำ เวทนาเปรียบด้วยต่อมน้ำ สัญญาเปรียบด้วย พยับแดด สังขารเปรียบด้วยต้นกล้วย วิญญาณเปรียบด้วยการเล่นกล นี่เป็นคำ เทสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์


สัพพสังคหะกองที่ ๒ ปัญจุปาทานขันธ์

ปัญจุปาทานขันธ์ เขียนแบบบาลีเป็น ปญฺจุปาทานกฺขนฺธ คือ อุปาทาน ขันธ์ ๕ มีความหมายว่า ขันธ์ ๕ ที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เมื่ออุปาทานยึดหน่วง มาเป็นอารมณ์ ก็เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ดังมีบาลีว่า  

อุปาทานานํ โคจรา ขนฺธา อุปาทานกฺขนฺธา ฯ  

แปลความว่า ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทานขันธ์
อุปาทานขันธ์นี้ มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๑ แสดงว่า


๑๑. ปญฺจุปาทานกฺขนฺธาติ ตถา เตภูมกา มตา
เภทาภาเวน นิพฺพานํ ขนฺธสงฺคหนิสฺสตํ ฯ


แปลความว่า ขันธ์ ๕ ที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓ ตรัสเรียกว่า อุปาทาน ขันธ์ ๕ (ส่วน) พระนิพพาน พ้นจากการรวมนับว่าเป็นขันธ์ เพราะไม่มีความต่าง (คือไม่เป็นประเภทครบทั้ง ๑๑ กอง มี กาล ๓, อัชฌัตตะ, พหิทธะ, โอฬาริกะ, สุขุมะ, หีนะ, ปณีตะ, สันติเก และทูเร)


หน้า ๙๐

มีความหมายว่า สัตว์ที่ยังเป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ นั้น ส่วนมากยังละสักกายทิฏฐิ คือ อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัว เป็นตน เป็นเขา เป็นเราหาได้ไม่ เมื่อยังยึดมั่นอยู่เช่นนี้ ก็คือมีอุปาทาน มีความ ยึดมั่นในขันธ์ ๕ อยู่ ขันธ์ ๕ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี่แหละ ได้ชื่อว่า อุปาทานขันธ์
ส่วนนิพพานไม่มีความแตกต่างกัน เช่น ในกาล ๓ เป็นต้น จึงพ้นจากความ เป็นขันธ์ และเรียกว่าขันธวิมุตติ ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นตอนเบ็ญจขันธ์นั้น

 
ปัญจุปาทานขันธ์ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่
๑. รูปูปาทานักขันธ์ คือรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ รูปธรรมหมด ทั้ง ๒๘ รูป
๒. เวทนูปาทานักขันธ์ คือเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ เวทนา เจตสิกที่ในโลกียจิต ๘๑
๓. สัญญูปาทานักขันธ์ คือ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ สัญญา เจตสิก ที่ในโลกียจิต ๘๑
๔. สังขารูปาทานักขันธ์ คือ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ เจตสิก ๕๐ (เว้นเวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก) ที่ในโลกียจิต ๘๑
๕. วิญญาณูปาทานักขันธ์ คือ จิตที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ โลกีย จิต ๘๑
ถ้าได้พิจารณาองค์ธรรมของเบ็ญจขันธ์กับของอุปาทานขันธ์แล้ว จะเห็นความ แตกต่างระหว่างเบญจขันธ์ กับอุปาทานขันธ์ได้ชัดเจน คือ
เบญจขันธ์ ได้แก่ รูป ๒๘ และจิต เจตสิกทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งจิต เจตสิก ที่เป็นโลกีย และโลกุตตรด้วย
ส่วน อุปาทานขันธ์นั้น ได้แก่ รูปทั้งหมด คือ ๒๘ รูปเหมือนกัน แต่จิต เจตสิก ได้เฉพาะแต่ที่เป็นโลกียเท่านั้น จิตและเจตสิกที่เป็นโลกุตตรไม่เป็นอุปาทาน ขันธ์ เพราะผู้ที่ถึงซึ่งโลกุตตรธรรมแล้วนั้น ไม่มีสักกายทิฏฐิ คืออัตตวาทุปาทาน เป็นเด็ดขาด และผู้ที่ยังไม่บรรลุถึงโลกุตตรธรรม ก็จะได้โลกุตตรจิต ที่ไหนมาเป็น อารมณ์ นอกจากจะเดาหรือนึกเอาเอง
การที่แสดงเบญจขันธ์ และมาแสดงอุปาทานขันธ์อีก ก็เพื่อประโยชน์แก่การ กำหนดพิจารณาในขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะการกำหนดพิจารณารูปนาม ต้องกำหนดรูปนามที่เป็นโลกียเท่านั้น นามธรรม คือ จิต และเจตสิก ส่วนที่เป็นโลกุตตรนั้น จะหน่วงมาเป็นอารมณ์ในการกำหนดพิจารณาเวลาเจริญวิปัสสนา ภาวนา หาได้ไม่
ในการกำหนดพิจารณานั้น ชั้นต้นกำหนดรูปก่อน เพราะรูปเป็นสิ่งที่เห็น ได้ง่าย ต่อไปจึงกำหนดนาม (ที่เป็นโลกีย)
เพื่อให้แจ้งไตรลักษณ์ คือ การเกิดดับ ของรูปนามให้เห็นแจ้งตามสภาพที่เป็นจริงว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


หน้า ๙๑


สัพพสังคหะกองที่ ๓ อายตนะ

คาถาสังคหะที่ ๑๒ กล่าวถึง อายตนะ และ ธาตุ ด้วย ดังมีข้อความว่า


๑๒. ทฺวาราลมฺพนเภเทน ภวนฺตายตนานิ จ
ทฺวาราลมฺพตทุปฺปนฺน ปริยายเยน ธาตุโยฯ


แปลความว่า อายตนะย่อมมีโดยประเภทแห่งทวารและอารมณ์ ธาตุย่อมมีโดยวิญญาณที่เกิด ขึ้น เนื่องจากทวารและอารมณ์
บัดนี้จะกล่าวถึงอายตนะก่อน ส่วนธาตุ จะได้กล่าวในสัพพสังคหะกองที่ ๔ ต่อไปตามลำดับ
คำว่า อายตนะ แปลอย่างสั้นที่สุดก็ว่า เครื่องต่อ และมีความหมายหลายนัย คือ

 
๑. สญฺชาติเทสฏฺฐ เป็นที่เกิด หมายความว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้ชื่อ ว่า อายตนะ เป็นเครื่องต่อให้เกิดจิตและเจตสิก ถ้าไม่มีอายตนะแล้ว ก็ไม่มีเครื่อง ต่อให้เกิดจิตและเจตสิก ไม่มีวิถีจิต ไม่มีบุญไม่มีบาป
๒. นิวาสฏฺฐ เป็นที่อยู่ หมายความว่า อายตนะเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตและ เจตสิก จิตเจตสิกไม่ได้อาศัยอยู่ที่อื่นเลย
๓. อากรฏฺฐ เกิดแก่สัตว์ทั่วไป หมายความว่า อายตนะนี้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่เลือกชั้นวรรณะ
๔. สโมสรฏฺฐ เป็นที่ประชุม หมายความว่า อายตนะภายในกับอายตนะภาย นอกมาประชุมกัน มาร่วมกัน มาต่อกันเมื่อใด จิตและเจตสิกก็จะเกิดขึ้นเมื่อนั้น ถ้าอายตนะไม่ประชุมกัน ไม่ต่อกัน จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นไม่ได้เลย


หน้า ๙๒

๕. การณฏฺฐ เป็นเหตุให้เกิด หมายความว่า ถ้าไม่มีอายตนะเป็นเหตุเป็น ปัจจัยแล้ว จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อมีอายตนะเป็นเหตุเป็นปัจจัย จิตเจตสิกก็ เกิดขึ้น เป็นเหตุให้เกิดบุญหรือบาปต่อไป
ความหมายของอายตนะอีกนัยหนึ่ง กล่าวไว้สั้น ๆ และได้ความดีด้วย ดังนี้
๑. สญฺชาติเทสฏฺฐ ที่เกิดของบุญและบาป
๒. นิวาสฏฺฐ ที่อยู่ของบุญและบาป
๓. อากรฏฺฐ ทำการนำมาซึ่งบุญและบาป
๔. สโมสรฏฺฐ ที่ประชุมของบุญและบาป
๕. การณฏฺฐ เหตุบุญและบาป
ดังนี้ จะเห็นได้ว่า อายตนะเป็นเครื่องต่อที่สำคัญอันทำให้สัตว์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด และเมื่อเกิดมาแล้ว ก็อายตนะนี้เองเป็นปัจจัยให้ประพฤติเป็น ไปในเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ หรือจะให้พ้นทุกข์ ขึ้นชื่อว่าสัตว์แล้วจะไม่ต้องอาศัย อายตนะเลยนั้น เป็นไม่มี
อายตนะ จำแนกโดยประเภทแห่งทวารก็มี ๖ เรียกว่า อชฺฌตฺติกายตน เป็นอายตนะภายใน จำแนกโดยประเภทแห่งอารมณ์ ก็มี ๖ เหมือนกัน เรียกว่า พาหิรายตน เป็นอายตนะภายนอก รวม อายตนะมี ๑๒ คือ

โดยประเภทแห่งทวาร
เป็นอายตนะภายใน ๖

 

โดยประเภทแห่งอารมณ์
เป็นอายตนะภายนอก ๖

จักขวายตนะ

ต่อกับ

รูปายตนะ

โสตายตนะ

ต่อกับ

สัททายตนะ

ฆานายตนะ

ต่อกับ

คันธายตนะ

ชิวหายตนะ

ต่อกับ

รสายตนะ

กายายตนะ

ต่อกับ

โผฏฐัพพายตนะ

มนายตนะ

ต่อกับ

ธัมมายตนะ

 

อายตนะทั้ง ๑๒ มีความหมายและองค์ธรรมดังนี้
๑. จักขวายตนะ มักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขายตนะ คือ จักขุทวาร เป็น เครื่องต่อ หรือต่อทางจักขุทวาร องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท เป็นรูปธรรม


หน้า ๙๓

๒. โสตายตนะ คือ โสตทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท เป็นรูปธรรม
๓. ฆานายตนะ คือ ฆานทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท เป็นรูปธรรม
๔. ชิวหายตนะ คือชิวหาทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท เป็นรูปธรรม
๕. กายายตนะ คือกายทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท เป็น รูปธรรม
๖. มนายตนะ คือ จิตใจเป็นเครื่องต่อ โดยเฉพาะในที่นี้หมายถึงทวาร องค์ธรรมได้แก่ มโนทวาร เป็นนามธรรม (นามจิต)
๗. รูปายตนะ คือ รูป (วรรณ หรือ สี) เป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ รูปารมณ์ เป็นรูปธรรม
๘. สัททายตนะ คือ เสียงเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ สัททารมณ์ เป็น รูปธรรม
๙. คันธายตนะ คือ กลิ่นเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ คันธารมณ์ เป็น รูปธรรม
๑๐. รสายตนะ คือ รสเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ รสารมณ์ เป็น รูปธรรม
๑๑. โผฏฐัพพายตนะ คือ โผฏฐัพพะเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ โผฏฐัพ พารมณ์ ซึ่งมี ๓ คือ
ก. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ แข็ง อ่อน เป็น รูปธรรม
ข. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ร้อน เย็น เป็น รูปธรรม
ค. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ หย่อน ตึง เป็น รูปธรรม
๑๒. ธัมมายตนะ คือ ธรรมเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ ธรรม ๖๙ คือ
ก. สุขุมรูป ๑๖ เป็นรูปธรรม
ข. เจตสิก ๕๒ เป็นนามธรรม (นามเจตสิก)
ค. นิพพาน ๑ เป็นนามธรรม (นามนิพพาน)


หน้า ๙๔

รวมความกล่าวโดยปรมัตถธรรมแล้ว อายตนะหมายเลข ๖ มนายตนะ อัน เป็นอายตนะภายในนั้น เป็นจิตปรมัตถ อายตนะ หมายเลข ๑๒ ธัมมายตนะ อันเป็นอายตนะภายนอกนั้นเป็น รูป ปรมัตถ เจตสิกปรมัตถ และนิพพาน
ส่วนอายตนะที่เหลืออีก ๑๐ นั้น เป็นรูปปรมัตถทั้งหมด
รวม อายตนะ ๑๒ ได้ ปรมัตถธรรมครบทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
อนึ่ง ในบทอายตนะนี้มีข้อที่ควรสังเกตอยู่ว่า ธัมมายตนะนั้น องค์ธรรมได้แก่ สุขุมรูป ๑๖, เจตสิก ๕๒ และนิพพาน ๑ รวมเป็นธรรม ๖๙ ด้วยกัน
นิพพาน เป็นธรรมภายนอกโดยแท้และแน่นอน ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น นิพพานที่เป็นธรรมภายในนั้น ไม่มีเลย ส่วนสุขุมรูป ๑๖ และเจตสิก ๕๒ นั้น เป็นธรรมภายในก็มี เป็นธรรมภายนอกก็มี แต่เมื่อกล่าวโดยความเป็นอายตนะแล้ว ถือว่าธัมมายตนะเป็นอายตนะภายนอกทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะ
อายตนะ หมายถึงเครื่องต่อ อันว่าการต่อจะต้องมีของสองสิ่งมาต่อกัน เครื่อง ต่อสิ่งหนึ่งนั้นมีอยู่ในตัวเราแล้ว จึงเรียกว่า อายตนะภายใน ส่วนเครื่องต่ออีกสิ่ง หนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่โน้มน้าวเข้ามาต่อ จึงถือว่าเป็นของภายนอก มนายตนะ เป็นเครื่อง ต่อภายในได้โน้มน้าว หรือ ยึดหน่วงธัมมายตนะเข้ามาให้เกิดความรู้ความเห็นขึ้น ดังนี้ จึงได้ถือว่าธัมมายตนะเป็นอายตนะภายนอก
โดยทำนองเดียวกัน จักขวายตนะ หรือจักขายตนะ องค์ธรรมได้แก่ จักขุ ปสาทรูปนั้น มีอยู่ในสังขารร่างกายของเรา ก็เป็นธรรมภายใน ที่มีอยู่ในสังขาร ร่างกายอื่น ก็เป็นภายนอก
แม้ โสตายตนะ (โสตปสาทรูป), ฆานายตนะ (ฆานปสาทรูป), ชิวหายตนะ (ชิวหาปสาทรูป), กายายตนะ (กายปสาทรูป), ก็มีทั้งภายในและภายนอกเช่นเดียว กับจักขวายตนะ
แต่เมื่อกล่าวโดยอายตนะแล้ว ก็ถือว่าอายตนะทั้ง ๕ คือ ปสาทรูปทั้ง ๕ เหล่านี้เป็นอายตนะภายในแต่ฝ่ายเดียว เพราะเป็นเครื่องต่อที่มีอยู่ในตัวเราแล้ว และ โน้มน้าวหรือยึดหน่วงปัญจารมณ์ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ อันเป็นภายนอกเข้ามา จึงทำให้เกิดความรู้ความเห็นขึ้น จึงต้องถือ ว่า อายตนะทั้ง ๕ เป็นอายตนะภายใน ปัญจารมณ์ทั้ง ๕ เป็นอายตนะภายนอก


หน้า ๙๕

สัพพสังคหะกองที่ ๔ ธาตุ

อตฺตโน สภาวํ ธาเรตีติ ธาตุ ฯ  

ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตนนั้นชื่อว่า ธาตุ
ธาตุ คือสิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวิปริตไปเป็น อย่างอื่น เป็นต้นว่า สภาพที่ทรงไว้ซึ่งความแข็ง ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุ สภาพที่ทรง ไว้ซึ่งการรับรู้อารมณ์ ก็เรียกว่า วิญญาณธาตุ เป็นสภาพที่มีอยู่เองเป็นเอง ไม่มีสัตว์ มีบุคคลทำขึ้นหรือสร้างขึ้นมาเลย
ธาตุ มี ๑๘ ก็ด้วยการเกิดขึ้นของวิญญาณ โดยอำนาจหรือความสามารถแห่ง ทวาร ๖ และอารมณ์ ๖
หมายความว่า ด้วยอำนาจแห่งอายตนะภายใน คือ ทวาร ๖ รับกระทบกับ อายตนะภายนอก คือ อารมณ์ ๖ จึงทำให้เกิด วิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ เป็นหมวด ๆ (คือเป็นชุด) ดังนี้


ทวาร (ธาตุรับ)

อารมณ์ (ธาตุกระทบ)

วิญญาณ (ธาตุรู้)

จักขุธาตุ

รูปธาตุ

จักขุวิญญาณธาตุ

โสตธาตุ

สัททธาตุ

โสตวิญญาณธาตุ

ฆานธาตุ

คันธธาตุ

ฆานวิญญาณธาตุ

ชิวหาธาตุ

รสธาตุ

ชิวหาวิญญาณธาตุ

กายธาตุ

โผฏฐัพพธาตุ

กายวิญญาณธาตุ

 

ทั้ง ๓ หมวด เป็นจำนวนธาตุ ๑๕ ธาตุนี้ เป็นการสงเคราะห์เป็นหมวด ๆ โดยมุขยนัย คือนัยโดยตรง
ยังเหลืออีก ๓ ธาตุ คือ มโนธาตุ ธัมมธาตุ และ มโน วิญญาณธาตุ ธาตุที่เหลือ ๓ ธาตุนี้ สงเคราะห์เป็นหมวด ๆ ได้โดยปริยาย คือ โดย อ้อมเท่านั้น ดังนี้


ปัญจทวาร

ปัญจารมณ์

มโนธาตุ

มโนทวาร

ธัมมธาตุ

มโนวิญญาณธาตุ


หน้า ๙๖

ที่ว่าสงเคราะห์เป็นหมวด ๆ ได้โดยปริยาย คือ โดยอ้อมนั้น เป็นเพราะองค์ ธรรมแตกต่างกัน แต่ว่าใกล้เคียงกัน คือ
วิญญาณ ได้แก่ จิต ๘๙
วิญญาณธาตุ ๗ ได้แก่ ๑.จักขุวิญญาณธาตุ ๒.โสตวิญญาณธาตุ ๓.ฆานวิญญาณธาตุ ๔.ชิวหาวิญญาณธาตุ ๕.กายวิญญาณธาตุ ๖.มโนธาตุ ๗.มโนวิญญาณธาตุ
มโน หรือ มนะ ได้แก่ จิต ๘๙
มนายตนะ ได้แก่ จิต ๘๙
มโนทวาราวัชชนะ ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิตดวงเดียวเท่านั้น
มโนทวาร ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒, มหาวิบากจิต ๘, มหัคคตวิบากจิต ๙
มโนธาตุ ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ และ สัมปฏิจฉันนจิต ๒
มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่จิต ๗๖ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓)
ธัมมารมณ์ ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, บัญญัติ, นิพพาน


ธัมมายตนะ

ได้แก่ เจตสิก ๕๒, สุขุมรูป ๑๖, นิพพาน

ธัมมธาตุ

ได้แก่ เจตสิก ๕๒, สุขุมรูป ๑๖, นิพพาน

 

ธาตุทั้ง ๑๘ นี้ เป็นรูปล้วน ๆ ๑๐ ธาตุ คือ
รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ
จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ
เป็นนามล้วน ๆ ๗ ธาตุ คือ
จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
เป็นทั้งรูปทั้งนาม ๑ ธาตุ คือ ธัมมธาตุ


หน้า ๙๗

การเกิดขึ้นของธาตุตามทวารต่าง ๆ

การเกิดขึ้นของธาตุในเวลาที่มี การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น เป็นต้นนั้น มีดังนี้
ในขณะที่เห็น มีธาตุเกิดร่วมกัน ๔ ธาตุ คือ
๑. รูปธาตุ ได้แก่ สีต่าง ๆ ๒. จักขุธาตุ ได้แก่ จักขุปสาท
๓. จักขุวิญญาณธาตุ ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๔. ธัมมธาตุได้แก่เจตสิกที่ประกอบ
แต่ถ้ากล่าวถึง จักขุทวารวิถี แล้ว วิถีนี้มีธาตุเกิดร่วมด้วยกัน ๖ ธาตุ คือ ๑.รูปธาตุ ๒.จักขุธาตุ
๓.จักขุวิญญาณธาตุ ๔. ธัมมธาตุ (ทั้ง ๔ นี้ เหมือนในขณะ เห็น) และ ๕.มโนธาตุ หมายถึง ปัญจทวาราวัชชนจิต และ สัมปฏิจฉันนจิต ๖. มโนวิญญาณธาตุ หมายถึง สันตีรณจิต มโนทวาราวัชชนจิต ชวนจิต ตลอดถึง ตทาลัมพนจิต
ในการได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสถูกต้อง ก็มีธาตุเกิดขึ้นทำนองเดียวกับ การเห็นดังที่ได้กล่าวแล้วนี้
ส่วนทาง มโนทวาร นั้น รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ย่อมเกิดได้ เพราะมโนทวารรู้อารมณ์ได้ถึง ๖ อารมณ์


สัพพสังคหะกองที่ ๕ อริยสัจจ

สัจจะ ที่แปลว่า ความจริง นั้นมีถึง ๖ อย่าง มีบาลีแสดงว่า

ฉยิมานิ สจฺจานิ สจฺจวาจา สจฺจสมฺมติ สจฺจสภาโว สจฺจปรมตฺโถ สจฺจอริยสจฺจํ สจฺจนิพฺพานํ จาติ

สัจจะ ความจริง ๖ ประการ คือ
สัจจวาจา จริงวาจา
สัจจสมมติ จริงสมมติ
สัจจสภาวะ จริงสภาพ
สัจจปรมัตถะ จริงปรมัตถ
สัจจอริยสัจจะ จริงอริยสัจจ
สัจจนิพพานะ จริงนิพพาน


หน้า ๙๘

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะอริยสัจจ ซึ่งรวมนิพพานสัจจที่เป็นสัจจที่ ๓ ในอริยสัจจ นั้นด้วยเท่านั้น ดังมีคาถาสังคหะ
เป็นคาถาที่ ๑๓ แสดงว่า


๑๓. ทุกฺขํ เตภูมกํ วฏฺฏํ ตฺณหา สมุทโย ภเว
นิโรโธ นาม นิพฺพานํ มคฺโค โลกุตฺตโร มโต ฯ


แปลความว่า วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ นั้น เป็นทุกข์ ตัณหา ชื่อว่า สมุทัย นิพพาน มีนาม ว่า นิโรธ โลกุตตรมัคค ตรัสว่า ชื่อ มัคค
มีความหมายว่า ปรมัตถธรรมที่นับเข้าใน ไตรภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และ อรูปภูมิ เรียกว่า วัฏฏะ คือความหมุนเวียน อันยังให้สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในวัฏฏะ ไม่มีที่สิ้นสุด
วัฏฏะนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจจ เพราะเป็นตัวทุกข์จริง ๆ
ตัณหา คือ โลภะ ความโลภ เรียกว่า สมุทยอริยสัจจ เพราะเป็นเหตุให้เกิด ทุกข์จริง ๆ ด้วยความอยากได้จริง ๆ นิพพาน เรียกว่า นิโรธอริยสัจจ เพราะเป็นสภาพที่ทุกข์ดับสิ้นจริง ๆ
โลกุตตรมัคค คือ อัฏฐังคิกมัคค มัคคมีองค์ ๘ เรียกว่า มัคคอริยสัจจ เพราะ เป็นทางสายเดียวแท้ ๆ ที่ให้ถึงความดับทุกข์ได้จริง ๆ
ของจริง ๔ ประการคือ ทุกข สมุทัย นิโรธ มัคค ที่กล่าวนี้มีชื่อว่า อริยสัจจ บางทีก็เรียกกันสั้น ๆ ว่า สัจจ ๔ นี้ มีความหมายเป็น ๒ นัย คือ
ก. เป็นของจริงที่เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้รู้แจ้งเห็นจริงนั้น เป็นผู้ประเสริฐ คือ เป็น พระอริยบุคคล ๘ จำพวก มี โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล เป็นต้น
ข. เป็นของจริงที่ผู้ประเสริฐ คือ พระอริยเจ้าเท่านั้นที่จะประจักษ์แจ้งในสัจจ ๔ ประการนี้ โดยมัคคญาณ


วจนัตถะของอริยสัจ

อริยานิ ตถานิ สจฺจานิ อริยสจฺจานิ ฯ สัจจทั้ง ๔ ที่เป็นความจริง (ไม่ เปลี่ยนแปลง) ชื่อว่า อริยสัจ
อริยานํ สจฺจานิ อริยสจฺจานิ ฯ ธรรมที่เป็นความจริงของอริยบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า อริยสัจ
วจนัตถะของทุกขอริยสัจจ ทุกฺขํ เอว อริยสจฺจนฺติ ทุกฺขอริยสจฺจํ ฯ อริยสัจจ คือทุกข์นั่นเอง จึงเรียกว่าทุกขอริยสัจ


หน้า ๙๙

วจนัตถะของทุกขสมุทยอริยสัจ
ภวา ภวสงฺขาตํ ทุกฺขกฺขนฺธํ สมุเทตีติ ทุกฺขสมุทโย ฯ  

ธรรมที่ยังกองทุกข์ กล่าวคือ ภพใหญ่ภพน้อยให้เกิดขึ้น ชื่อว่า ทุกขสมุทัย
(วา) ภวา ภวสงฺขาตํ ทุกฺขกฺขนฺธํ ปุนปฺปุนํ อพฺโพจฺฉินฺนํ กตฺวา อุทยติ อุฏฺฐาเปติ วฑฺเฒตีติ
ทุกฺขสมุทโย ฯ
(หรือ) ธรรมที่กระทำให้กองทุกข์ กล่าวคือ ภพใหญ่ภพน้อยขาดลงแล้วให้ตั้งขึ้นอีก ให้เจริญขึ้นอีกเรื่อย ๆ ไปชื่อว่า ทุกขสมุทัย

 
วจนัตถะของทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกฺขสฺส นิรุชฺฌนํ อนุปฺปาทธมฺมตา ปวตฺติวเสน ขิยฺยนํ ทุกฺขนิโรโธ ฯ ความดับไปแห่งทุกข์ คือ ความสิ้นไปโดยที่ไม่เกิดขึ้น และไม่เป็นไป ชื่อว่า ทุกขนิโรธ
(วา) ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ น ปวตฺติ เอตสฺมึติ ทุกฺขนิโรโธ ฯ หรือ ทุกข์ทั้งหลาย ย่อมดับ ย่อมไม่เป็นไปใน
นิพพานธรรมนี้ ฉะนั้นนิพพานธรรมนี้ จึงเรียกว่า ทุกข นิโรธ

 
วจนัตถะของทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทุกฺขนิโรธํ คเมติ สมฺปาเปตีติ ทุกฺขนิโรธคามินี ฯ ความปฏิบัติที่ยังบุคคล ให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ คือ
นิพพาน ชื่อว่า ทุกขนิโรธคามินี


อรรถแห่งอริยสัจ

ทุกขอริยสัจ มี อรรถ ๔ ประการ คือ
๑. ปีฬนตฺโถ มีอรรถว่า เบียดเบียนอยู่เป็นนิจ
๒. สงฺขตตฺโถ มีอรรถว่า ต้องปรุงแต่งอยู่เนือง ๆ
๓. สนฺตาปตฺโถ มีอรรถว่า เร่าร้อนอยู่ไม่วาย
๔. วิปริณามตฺโถ มีอรรถว่า ไม่คงที่ แปรปรวนอยู่เสมอ

 
ทุกขสมุทยอริยสัจ มีอรรถ ๔ ประการ คือ
๑. อายุหนตฺโถ มีอรรถว่า กระทำให้ทุกข์บังเกิดขึ้น
๒. นิทานตฺโถ มีอรรถว่า เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
๓. สงฺโยคตฺโถ มีอรรถว่า ประกอบไว้ซึ่งทุกข์มิให้พ้นไป
๔. ปลิโพธตฺโถ มีอรรถว่า ให้กังวลอยู่แต่ในกองทุกข์


หน้า ๑๐๐

ทุกขนิโรธอริยสัจ มีอรรถ ๔ ประการ คือ
๑. นิสฺสรณตฺโถ มีอรรถว่า สลัดออกจากทุกข์ทั้งปวง
๒. อปลิโพธตฺโถ มีอรรถว่า มิได้กังวลอยู่ด้วยกองทุกข์
๓. อสงฺขตตฺโถ มีอรรถว่า มิได้มีสิ่งใดมาประชุมตกแต่ง
๔. อมตตฺโถ มีอรรถว่า ไม่มีการตายการเกิดสืบไปอีกเลย

 
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีอรรถ ๔ ประการ คือ
๑. นิยฺยานตฺโถ มีอรรถว่า เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
๒. เหตวตฺโถ มีอรรถว่า เป็นเหตุดับเสียซึ่งกองทุกข์
๓. ทสฺสนตฺโถ มีอรรถว่า เป็นเครื่องให้เห็นพระนิพพาน
๔. อธิปตยตฺโถ มีอรรถว่า เป็นใหญ่ในการให้สำเร็จกิจในอันที่จะดับเสีย ซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง


องค์ธรรมของอริยสัจ

๑. ทุกขอริยสัจ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมแสดงว่า องค์ธรรมได้แก่ โลกียจิต ๘๑, เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภเจตสิก), รูป ๒๘ รวมเป็นธรรม ๑๖๐
ส่วนตามนัยแห่งพระสูตรแสดงว่า ทุกขอริยสัจจ ได้แก่
(๑) ชาติทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะมีการเกิดในภพใหม่นั้นเป็นลักษณะ มีการประสิทธิประสาททุกข์ให้เป็นกิจ มีการตั้งอยู่ในภพนั้นเป็นเครื่องปรากฏ
(๒) ชราทุกข์ ความแก่ชราเป็นทุกข์ เพราะ มีความเสื่อมหรือความหง่อม คร่ำคร่าเป็นลักษณะ มีการนำเข้าหาความตายเป็นกิจ มีการสูญเสียความสวยงามเป็น เครื่องปรากฏ
(๓) มรณทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ เพราะมีการจุติหรือเคลื่อนไปเป็นลักษณะ มีการพลัดพรากหรือแตกสลายเป็นกิจ มีการปราศไปจากคติที่ตนได้อยู่นั้นเป็นเครื่อง ปรากฏ
(๔) โสกทุกข์ ความโศกเศร้าเป็นทุกข์ เพราะ มีการแผดเผาจิตใจให้เร่าร้อน ด้วยกิเลสเป็นลักษณะ มีการทำให้จิตใจกระสับกระส่ายเป็นกิจ มีการละห้อยละเหี่ย ใจ เป็นเครื่องปรากฏ
(๕) ปริเทวทุกข์ การบ่นพร่ำรำพันเป็นทุกข์ เพราะมีการร่ำไรพร่ำบ่นเป็น ลักษณะ มีการประกาศคุณและโทษเป็นกิจ มีการกล่าววกไปวนมาเป็นเครื่องปรากฏ
(๖) ทุกขทุกข์ ความไม่สบายกายเป็นทุกข์ เพราะมีการไม่แข็งแรง หรือ ไม่สะดวก ไม่แคล่วคล่องเป็นลักษณะ มีการทำให้ใจไม่สบายไปด้วย หรือมีความ วิตกกังวลเป็นกิจ มีความลำบากทางกายเป็นเครื่องปรากฏ
ทุกข์นี้ได้แก่ ทุกขเวทนา อันมีชื่อเรียกว่า ทุกขทุกข์ ที่มีชื่อว่าทุกขทุกข์ เพราะเมื่อกล่าวโดยสภาพ ก็มีสภาพเป็นทุกข์ เมื่อกล่าวโดยชื่อ ก็มีชื่อเป็นทุกข์


หน้า ๑๐๑

(๗) โทมนัสทุกข์ ความเสียใจเป็นทุกข์ เพราะมีการเสียใจ น้อยใจ กลุ้มใจ เป็นลักษณะ มีการชอกช้ำใจเป็นกิจ มีการไม่แช่มชื่นรื่นเริงใจ หรือมีการหงอยเหงา เศร้าใจเป็นเครื่องปรากฏ
(๘) อุปายาสทุกข์ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เพราะมีความคับแค้นแน่น อกแน่นใจเป็นลักษณะ มีการทำให้สะอื้นและอัดอั้นตันใจเป็นกิจ มีการเดือดดาล เป็นเครื่องปรากฏ
เพื่อให้เห็นความแตกต่างกันในระหว่าง โสกะ ปริเทวะ และอุปายาสะ จึงมี ข้ออุปมาว่า
น้ำมันที่อยู่ในกะทะ ซึ่งตั้งอยู่บนเตาไฟที่ร้อนจัดจนน้ำมันเดือด ความเดือด ของน้ำมันนี้ อุปมาเหมือน โสกะ เดือดพล่านจนน้ำมันล้นปากกะทะออกมา อุปมาดัง ปริเทวะ คือความเศร้า โศกนั้นเพิ่มพูนมากขึ้น จนล้นออกมาทางปากถึงกับบ่นพร่ำรำพันไปพลางร้องไห้ไป พลางน้ำมันที่เดือดพล่านจนล้นปากกะทะออกมานั้น กลับไม่ล้น เพราะงวดแห้งลง ไปจนล้นออกไม่ได้ มีแต่จะเหือด
แห้งไปจนถึงกับไหม้ไปเลยนั้น อุปมาดัง อุปายาสะ

 (๙) อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข การได้พบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจเป็นทุกข์ เพราะมีการประสบกับอารมณ์ที่ไม่ต้องการเป็นลักษณะ มีการทำให้ขุ่นใจเป็นกิจ มีการทำให้ปราศจากความสุขเป็นเครื่องปรากฏ
(๑๐) ปิเยหิ วิปปโยโค ทุกโข การสูญเสียสิ่งที่รักเป็นทุกข์ เพราะมีการพลัด พรากจากสิ่งที่รักเป็นลักษณะ มีการยังความโศกให้เกิดขึ้นเป็นกิจ มีการฉิบหายจาก วัตถุอันเป็นที่รักเป็นเครื่องปรากฏ
(๑๑) ยัมปิจฉัง น ลภติ ตัมปิ ทุกขัง ความไม่สมหวังดังปรารถนาเป็นทุกข์ เพราะมีการอยากได้วัตถุที่ไม่ควรได้เป็นลักษณะ มีการพยายามแสวงหาวัตถุนั้นเป็น กิจ มีการไม่สมประสงค์เป็นเครื่องปรากฏ
(๑๒) สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา รวมยอดสรุปว่า อุปาทาน ขันธ์ ๕ นั่นแหละเป็นทุกข์เพราะอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ทุกขทั้ง ๑๑ ประการ ดังกล่าวแล้วนั้น อาศัยเกิด ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ เลย ทุกข์ก็ไม่รู้ว่าจะอาศัยเกิดที่ไหนได้
เมื่ออุปาทานขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นี่เป็นทุกข์ ดังนั้นผู้ที่ยินดีใน รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ชื่อว่ายินดีทุกข์ ชอบก็ ชื่อว่า ชอบทุกข์ รักก็ชื่อว่ารักทุกข์ แสวงหาชื่อก็ชื่อว่าแสวงหาทุกข์ เพราะว่าเป็น ไปเสียเช่นนี้ จึงไม่พ้นทุกข์ไปได้เลย สมกับคำที่ว่า ผู้ใดชอบทุกข์ ผู้นั้นไม่พ้นทุกข์ ผู้ใดไม่ชอบทุกข์ ผู้นั้นจึงจะพ้นทุกข์ และเพราะเหตุว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ จึงจัดว่าขันธ์นี้เป็นมาร ๑ ในจำนวน มารทั้ง ๕ เลยถือโอกาสกล่าวถึงมาร ๕ ไว้ด้วย


หน้า ๑๐๒

มาร ๕ จำพวก

มาร มีความหมายว่า เป็นผู้ทำให้ตาย มี ๕ จำพวก คือ
(๑) ขันธมาร ขันธ์นั้นเป็นทุกข์ ทุกข์ทำให้ตายจากความสุข ตายจากความ สำราญ
(๒) กิเลสมาร กิเลสนั้นเป็นเครื่องเศร้าหมองและเร่าร้อน ความเศร้าหมอง ทำให้ตายจากความผ่องใส ความเร่าร้อนทำให้ตายจากความสงบระงับ ตายจากความ ร่มเย็นเป็นสุข
(๓) อภิสังขารมาร สภาพผู้ตกแต่งยิ่ง คือ เกินพอดี ตกแต่งเกินไปก็ทำให้ ตายจากอมตธรรม
(๔) มัจจุมาร ตายในขณะที่จะกระทำ หรือกำลังกระทำความดี ถ้ากระทำ ความดีเสร็จแล้วจึงตายเช่นนี้ ไม่นับ
(๕) เทวบุตตมาร เทวดาที่มีความริษยา กีดขวาง เหนี่ยวรั้ง ให้คงอยู่ใน โลกีย ทำให้ตายจากโลกุตตร
๒. สมุทยอริยสัจ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมแสดงว่า ได้แก่ โลภเจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น
ส่วนตามนัยแห่งพระสูตรแสดงว่า สมุทยอริยสัจจ ได้แก่ อวิชชา และตัณหา อันเป็นการแสดงตามนัยแห่ง ปฏิจจสมุปปาท อวิชชา คือ โมหะเป็นมูลเหตุแห่ง อดีต ตัณหา คือโลภะเป็นมูลในปัจจุบัน
๓. นิโรธอริยสัจ ได้แก่ นิพพาน
๔. มัคคอริยสัจ ได้แก่ อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ (มี สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) ที่ประกอบกับมัคคจิต ๔ เท่านั้น


หน้า ๑๐๓

ทุกขอริยสัจ

ทุกขอริยสัจ บ้างก็เรียกว่า ทุกขสัจจะ คำว่าทุกข ตามพยัญชนะ คือตาม ศัพท์ แปลว่า ทนได้ยาก
ความลำบาก ความชั่วร้าย ความเดือดร้อน ความวิบัติ ใน ทางธรรมมีที่ใช้และมีอรรถ มีความหมายเป็นหลายนัย
เช่น ทุกขเวทนา ทุกขสภาวะ ทุกขลักษณะ และทุกขสัจ เป็นต้น
ทุกขเวทนา มีความหมายว่า ทนได้ยาก ลำบาก เดือดร้อน เพราะได้ประสบ กับอารมณ์ที่ไม่ชอบ เป็นความทุกข์ที่เกิดจากการเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจ ทุกขเวทนานี้บุคคลใด ๆ ก็รู้ได้ เพราะต้องได้พบเห็นอยู่เป็นเนืองนิจ อันเป็นการรู้ ได้ด้วยประสบการณ์ รู้ได้โดยไม่ต้องมีความรู้พิเศษแต่ประการใดเลย
ทุกขสภาวะ และ ทุกขลักษณะ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกันว่า เป็นสภาพ เป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องวิบัติ คือเสื่อมสลายแตกดับไป อาการที่ทนอยู่ไม่ได้นี้ จึงเรียกว่าเป็น ทุกขัง อันว่าสิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับไป สิ่งนั้นก็ไม่เที่ยง เพราะ ไม่ยั่งยืนอยู่ตลอดกาล อาการที่ไม่เที่ยงนี้ จึงเรียกว่า เป็นอนิจจัง ก็สิ่งที่ไม่เที่ยงนี้ แม้จะขอร้องอ้อนวอน หรือกระทำอย่างใด ๆ ให้เที่ยง ให้ตั้งอยู่ได้ตลอดไป ไม่ให้ แตกดับ ก็ไม่ได้เลย เรียกว่าไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาว่ากล่าวได้ จึงได้ชื่อว่า เป็น อนัตตา รวมความว่า ทุกขสภาวะ ทุกขลักษณะ มีสภาพเป็น ทุกขัง อนิจจัง
อนัตตา อันเรียกรวมว่า ไตรลักษณ์ ทุกขสภาวะ ทุกขลักษณะ นี้ จะรู้แจ้งเห็นจริง ได้ด้วยการเจริญภาวนาถึงขั้นวิปัสสนาปัญญา
ส่วน ทุกขอริยสัจ หรือ ทุกขสัจ เป็นทุกข์ที่พระอริยะได้เห็นแจ้งใน ปริวัฏฏ ๓ ได้แก่ สัจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้มีจริง กิจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรรู้ กตญาณ รู้ว่าทุกข์นี้เราได้กำหนดจนรู้แล้ว อันเป็นการรู้แจ้งเห็นจริงด้วยการเจริญ ภาวนาจนถึงขั้นโลกุตตรปัญญา (ปริวัฏฏ ๓ และ อาการ ๑๒ จะได้กล่าวต่อไป ข้างหน้า)
องค์ธรรมของทุกขอริยสัจจนี้ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ก็ได้แก่ ธรรม ๑๖๐ คือ
ก. โลกียจิต ๘๑ ส่วนโลกุตตรจิตอีก ๘ ดวงนั้นไม่ใช่ทุกขอริยสัจจ เพราะ กล่าวโดยจิต โลกุตตรจิตไม่ใช่โลกียจิต อันเป็นจิตที่เหมาะสมแก่บุคคลที่ยังข้องอยู่ ในโลก ทั้ง ๓ กล่าวโดยอารมณ์ โลกุตตรจิตก็ไม่ได้มีอารมณ์ที่เป็นโลกียอีกด้วย
ข. เจตสิก ๕๑ หมายเฉพาะเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิตเท่านั้น ส่วนโลภ เจตสิกอีก ๑ ดวง ไม่ใช่ทุกขสัจ เพราะเป็นสัจจะอย่างอื่น คือเป็น สมุทยสัจ
ค. รูป ๒๘ คือ รูปธรรมทั้งหมด แต่ก็หมายโดยเฉพาะว่ารูปเหล่านั้นจะต้อง เป็นรูปที่เกี่ยวเนื่องด้วยสิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่มีวิญญาณ อันมีชื่อว่า อินทรียพัทธรูป แปลตามศัพท์ว่า รูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์


หน้า ๑๐๔

ทุกขอริยสัจ ตามนัยแห่งพระสูตร ได้แก่ อาการของทุกข์ ๑๑ ประการ ถ้า นับข้อสรุปที่ว่า ขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์นั้นด้วย ก็เป็นทุกข์ ๑๒ ประการ ทุกข์เหล่านี้ ก็คืออาการของจิต เจตสิก รูป นั้นเอง เช่นความเกิดเป็นทุกข์ ความเกิดก็คือการ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่แห่งปฏิสนธิจิต เจตสิกที่ประกอบและกัมมชรูป ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนทุกข์อย่างอื่นมี ชรา มรณ เป็นต้น ก็เป็นอาการของจิต เจตสิก รูป หรือเป็นอาการของขันธ์ ๕ ทำนองเดียวกันนั้นแหละ
อนึ่ง ทุกขอริยสัจนี้กล่าวถึงปรมัตถธรรมเพียง ๓ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ปรมัตถธรรมอีก
ประการหนึ่ง คือ นิพพาน ไม่ได้กล่าวถึง เพราะ นิพพาน ไม่ใช่ทุกขสัจ แต่เป็นสัจจอย่างอื่น คือเป็น นิโรธสัจ


สมุทยอริยสัจ

สมุทยอริยสัจ เรียกกันสั้น ๆ ว่า สมุทยสัจจะ หรือเรียกอย่างยาวเต็มที่ว่า ทุกขสมุทยอริยสัจจะ
คำว่า สมุทัย แปลว่า ต้นเหตุ หรือ ที่เกิด ดังนั้น ทุกขสมุทัย จึงแปลว่า ต้นเหตุให้เกิดทุกข์ อันว่าต้น
เหตุให้เกิดทุกข์นั้นคือ ตัณหา องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น
โลภเจตสิก หรือ ตัณหา เป็นความอยากได้ เป็นความปรารถนา ซึ่งมักจะ ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ เมื่อมีความอยากได้ มีความปรารถนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมี ปริเยสนทุกข์ คือ เป็นทุกข์ในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาตามความ
ปรารถนานั้น ๆ ถ้าหาไม่ได้ ก็มี ยัมปิจฉัง น ลภติ ความไม่สมหวังดังที่ปรารถนา ครั้นได้มาแล้ว ก็มี อารักขทุกข์ คือเป็นทุกข์ในการระวังรักษา เมื่อรักษาไม่ดี แตกหักสูญหายไป ก็มี ปิเยหิวิปปโยโค ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
รวมความว่า ได้ก็ทุกข์ ไม่ได้ก็ ทุกข์ ต่อเมื่อใดตัดต้นตอต้นเหตุ คือความปรารถนาลงเสียได้แล้ว ทุกข์ที่จะพึงเกิดก็จะไม่มีเลย
ตัณหา ถ้าจะจำแนกว่ามี ๓ ก็ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
กามตัณหา ได้แก่ ความยินดี ชอบใจ พอใจ และความปรารถนาในอารมณ์ ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสถูกต้อง และความนึกคิด ความปรารถนา เช่นนี้ได้แก่ โลภเจตสิกที่ประกอบกับจิต ทั้ง ๘ ดวง


หน้า ๑๐๕

ภวตัณหา ได้แก่ ความชอบใจติดใจในกามภพ คือ การได้เกิดเป็นมนุษย์และ เทวดา ๑, พึงพอใจในรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นรูปพรหม ๑, พึงพอใจในอรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม ๑, พึงพอใจในฌานสมบัติ คือ การได้รูปฌาน อรูป ฌาน ๑ และความพึงพอใจในกามคุณอารมณ์ที่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ โดยยึดถือ ว่าไม่สูญหายไปไหน เป็นอย่างใดก็เป็นอยู่อย่างนั้น ๑ ความปรารถนาเช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ๔ ดวง
วิภวตัณหา ได้แก่ ความติดใจชอบใจในอุจเฉททิฏฐิ คือติดใจว่าสัตว์ทั้งหลาย ตายไปแล้วก็สูญ กรรมและผลของกรรมก็สูญตามไปด้วยเหมือนกัน เช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ๔ ดวง
ตัณหา ถ้าจำแนกว่ามี ๖ ก็ได้แก่ ความยินดีชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ ซึ่งมีชื่อ ว่า รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และ ธัมมตัณหา
ถ้าจำแนกโดยพิสดาร ก็ได้ตัณหาถึง ๑๐๘ ดังได้แสดงแล้วในตอนท้ายของ อกุสลสังคหะในเล่มนี้
ความปรารถนาทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ มากหรือน้อยก็ตาม ถ้า ความปรารถนานั้น ๆ ย่อมเป็นเหตุให้มีภพมีชาติต่อไปอีกแล้วก็เป็นตัณหาทั้งสิ้น แต่ถ้าไม่ได้มุ่งหมายอย่างนั้น ก็ไม่เป็นตัณหา เช่น พระอรหันต์ผู้พ้นแล้วจากกิเลส ตัณหาทั้งปวง แต่ก็ยังปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายเป็นเช่นท่าน จึงเที่ยวสัญจรไปโปรด สัตว์ ดังนี้ไม่เป็นตัณหา
ตัณหา คือ โลภะ อันเป็นตัวสมุทัยนี้ เป็นธรรมที่ควรละควรประหารโดยแท้ การละการประหารได้ชั่วคราวนั้นเรียกว่า ตทังคปหาน เป็นการพ้นชั่วคราวเท่านั้น การพ้นชั่วคราวเช่นนี้เรียกว่า ตทังควิมุตติ การประหารการพ้นชั่วคราวนี้ เพียงแต่ รักษาสีล ก็ละได้ ก็พ้นได้
การละการประหารได้ด้วยการข่มไว้ อันเป็นการละการประหารด้วยอำนาจ สมาธิ คือ ฌานนั้น เป็นการข่มไว้ได้นานจนกว่าฌานจะเสื่อม การประหารชนิดนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน การพ้นชนิดนี้เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ
การละการประหารด้วยปัญญา คือ มัคคญาณ เป็นการประหารได้อย่าง เด็ดขาดแน่นอน กิเลสที่ถูกประหารแล้ว ละเว้นเช่นนี้เป็นไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นมาอีกได้เลย การประหารเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉทปหาน การพ้นเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉทวิมุตติ


หน้า ๑๐๖

การประหาร การพ้นนั้น จัดได้ถึง ๕ ประการซึ่งเรียกว่า ปหาน ๕ วิมุตติ ๕ ดังนี้

ปหาน ๕

วิมุตติ ๕

ได้แก่

ตทังคปหาน (ศีล)

ตทังควิมุตติ

พ้นชั่วคราว

วิกขัมภนปหาน (สมาธิ)

วิขัมภนวิมุตติ

พ้นด้วยการข่มไว้

สมุจเฉทปหาน (มัคค)

สมุจเฉทวิมุตติ

พ้นเด็ดขาด

ปฏิปัสสัทธิปหาน (ผล)

ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ

พ้นสนิท

นิสสรณปหาน (นิพพาน)

นิสสรณวิมุตติ

พ้นเลย

 

ในสัจจะที่ ๒ นี้แสดงว่า ตัณหา คือ โลภะเป็นตัวสมุทัย เป็นธรรมที่ควรละ ควรประหาร ส่วนโทสะ โมหะ อันเป็นมูลเหตุให้เกิดอกุสลจิตเหมือนกันนั้น กลับจัดเป็นสัจจที่ ๑ คือเป็นทุกขอริยสัจจ อันเป็นธรรมที่ควรรู้เท่านั้นเอง  


ดังนั้นก็ หมายความว่า โทสะ นี้ ไม่ต้องละไม่ต้องประหารกระนั้นหรือ ข้อนี้มีอธิบายว่า
โลภะ คือความชอบใจ ติดใจ อยากได้นี้ เป็นรากฐานแห่งโทสะเป็นบ่อเกิด ของโทสะ เช่นเกิดชอบใจอยากได้สิ่งใดก็ตาม เมื่อไม่ได้ดังใจชอบก็เสียใจ น้อยใจ คือเกิดโทสะขึ้น หรือติดใจชอบใจในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นกลับมีอันเป็นให้พลัดพรากจาก สูญไป ก็เสียดาย เสียใจ กลุ้มใจ เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่มีโลภะซึ่งเป็นต้นเหตุ แล้ว โทสะอันเป็นปลายเหตุก็ย่อมไม่มีเป็นธรรมดา
ส่วน โมหะ นั้นย่อมต้องเกิดพร้อมกับโลภะหรือโทสะ โดยมี โลภะ หรือโทสะ เป็นตัวนำ โมหะเป็นตัวสนับสนุน เมื่อไม่มีโลภะตัวนำแล้ว โมหะตัวสนับสนุน ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งที่จะสนับสนุน
สำหรับโมหะที่เกิดพร้อมกับวิจิกิจฉา และโมหะที่เกิดพร้อมกับอุทธัจจะนั้น เมื่อประหารโลภะได้ ก็ย่อมแจ้งในอริยสัจทั้ง ๔ เมื่อแจ้งในอริยสัจแล้ว ย่อมหมด ความสงสัยหมดความฟุ้งซ่าน เมื่อไม่มีความสงสัย ไม่มีความฟุ้งซ่าน ก็คือไม่มีโมหะ
ดังนั้น การประหารโลภะอันเป็นตัวสมุทัยได้แล้ว ก็เป็นอันไม่มีโทสะ และ โมหะ หมดโทสะหมดโมหะไปด้วยในตัว ไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตาทำการประหารโทสะโมหะเป็นพิเศษเป็นการใหญ่เหมือนโลภะแต่อย่างใดเลย


หน้า ๑๐๗

ความโลภนี้ ในปรมัตถทีปนีฎีกาได้จำแนกออกไปเป็น ๑๐ ประการ คือ
๑. ตัณหา ความต้องการ
๒. ราคะ ความกำหนัด
๓. กามะ ความใคร่
๔. นันทิ ความเพลิดเพลิน
๕. อภิชฌา ความเพ่งเล็ง
๖. ชเนตติ ความก่อให้เกิดกิเลส
๗. โปโนพภวิก ความทำให้เกิดในภพใหม่
๘. อิจฉา ความปรารถนา
๙. อาสา ความหวัง
๑๐.สังโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ผูกพัน ผูกมัด


นิโรธอริยสัจ

นิโรธอริยสัจ เป็นสัจจที่ ๓ บ้างก็เรียกว่า นิโรธสัจ หรือ ทุกขนิโรธอริยสัจจะ ซึ่งมีความมุ่งหมายเป็น
อย่างเดียวกัน
นิโรธ แปลว่า ดับ ดังนั้นคำว่า ทุกขนิโรธ ก็คือ ทุกข์ดับ และในที่นี้มีความ หมายต่อไปอีกว่า ทุกข์ที่ดับนั้น ดับเลย ดับสนิท ดับสิ้น จนไม่มีเศษเหลืออยู่อีก แม้แต่น้อย เมื่อดับสนิทจนสิ้นไม่มีเศษแล้ว เชื้อที่จะก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ต่อไปอีก ก็ไม่มี ทุกข์นั้นจึงไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาได้อีกเลย ดังนี้แหละนิโรธสัจจจึง หมายถึง นิพพาน เพราะ นิพพานเป็นที่ดับสิ้นแห่งตัณหา ตัณหาเป็นต้นเหตุให้เกิด ทุกข์ เมื่อดับตัณหาอันเป็นต้นเหตุลงได้แล้ว ผลคือทุกข์ อันเป็นปลายเหตุก็มีไม่ได้ อยู่เอง เพราะผลย่อมมาจากเหตุ เมื่อเหตุดับผลก็ดับ เมื่อสิ้นทุกข์ ก็ถึงซึ่งความสุข ดังนี้ ลักขณาทิจตุกะแห่งนิพพานแสดงไว้ว่า
สนฺติ ลกฺขณา มีความสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ
อจฺจุต รสา มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ
อนิมิตฺต ปจฺจุปฏฺฐานา ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ
(วา) นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา (หรือ) มีความออกไปจากภพ เป็นผล
ปทฏฺฐานํ น ลภฺภติ ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม
ที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง)


หน้า ๑๐๘

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า นิโรธ หมายถึง นิพพาน ซึ่งเป็นความดับอย่างหนึ่ง ที่ดับอย่างสนิท ดับจริงดับจัง
ดับแล้วเป็นดับ ไม่กลับติดต่อก่อเกิดอีก ดับอย่างนี้ แหละ เรียกว่า นิพพาน
ดับกิเลส เรียก กิเลสนิพพาน ดับขันธ์ เรียกขันธนิพพาน ขันธ์ที่หมดกิเลส แล้ว เป็นขันธ์เปล่า ดุจดังสูญญาคาร เรือนเปล่า ไม่มีอะไรรกรุงรัง น่าสบายใจ เพราะเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานเปล่าอย่างยิ่ง หมายถึงความว่างเปล่าจากกิเลส เมื่อขันธ์เปล่าจากกิเลสแล้ว ไม่มีกิเลสแล้ว ก็เป็น สุขอย่างยิ่ง เป็นสุขพิเศษนอกจาก สุขเวทนา เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

 
จึงเป็นปัญหาต่อไปว่า สุขจะมีได้อย่างไรในพระนิพพาน เพราะพระนิพพาน ไม่มีการเสวยอารมณ์
ใน พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ หน้า ๒๒๕ แก้ไว้ว่า ความที่ไม่เสวย อารมณ์นั้นแหละ เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะสุขที่เสวยอารมณ์นั้น เป็นสุขที่ไม่เที่ยง ก็คือเป็นทุกข์นั่นเอง
ดังนั้น สุขเวทนา ซึ่งเป็นสุขที่ได้จากการเสวยอารมณ์ จึงได้ชื่อว่า วิปริฌามทุกข์ เพราะความสุขนั้นจะ
ต้องวิปริตผันแปรไปเป็นทุกข์อย่างแน่นอน
ส่วน สุขในนิพพาน ไม่ใช่สุขเวทนา แต่เป็น สันติสุข จึงไม่มีวันที่จะ ผันแปรไปเป็นอื่นเลย
การกล่าวถึงพระนิพพานเป็นการยากอย่างยิ่ง เพราะพระนิพพานไม่มีอะไร ไม่ใช่อะไร ไม่เหมือนอะไร ไม่คล้ายอะไร ในโลกทั้ง ๓ นี้เลย ทั้งพระบาลีก็มีห้าม ไว้ออกรอบทิศว่า
คมฺภีโร จายํ ธมฺโม ธรรมคือพระนิพพานเป็นของลึกซึ้ง
ทุทฺทโส อันบุคคลเห็นได้ยาก
ทุรานุโพโธ อันบุคคลตรัสรู้ตามด้วยยาก
สนฺโต เป็นของสงบระงับ
ปณีโต เป็นของประณีต
อตกฺกาวจโร ไม่เป็นที่เที่ยวแห่งการตรึก คือบุคคลจะนึกคาดคะเน เอาเองไม่ได้
นิปุโณ เป็นของละเอียด


หน้า ๑๐๙

ปณฺฑิตเวทนิโย เป็นของอันบัณฑิต คือพระอริยเจ้าจะพึงรู้
เมื่อยก พุทธภาษิต นี้ขึ้นอ้างแล้ว ก็เป็นอันว่าจะทราบซึ้งในพระนิพพานอย่าง แท้จริง ก็ต่อเมื่อได้แจ้งประจักษ์
ด้วยตนเอง เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงได้ทรงเตือนว่า
อกฺขาตาโร ตถาคตา ตถาคตเป็นผู้บอกทางให้
ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อันความเพียรนั้นท่านทั้งหลายต้องทำเอง


มัคคอริยสัจ

มัคคสัจจะ มัคคอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีอริยสัจ และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เหล่านี้
ล้วนแต่เป็นชื่อของสัจจที่ ๔ นี้ ซึ่งมีความหมายว่า เป็นข้อปฏิบัติ เป็นเหตุ เป็นทาง ให้ถึงพระนิพพาน คือถึงซึ่งความดับตัณหา เป็นผล ให้สิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง
ทางที่ให้ถึงซึ่งความดับแห่งทุกข์นี้ มีทางเดียว อันมีส่วนประกอบ ๘ ประการ ที่มีชื่อว่า อัฏฐังคิกมัคค
คือ มัคคมีองค์ ๘
นี้เท่านั้น นอกจากมัคคมีองค์ ๘ นี้แล้ว ไม่มีทางอื่นใดที่จะให้บรรลุนิพพานได้เลย
ในมหาวัคคฎีกา ได้วิเคราะห์คำว่า มัคค (ซึ่งได้กล่าวมาข้างต้นครั้งหนึ่งแล้ว) ว่า กิเลเส มาเรนฺโต นิพฺพานํ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ มคฺโค ฯ แปลความว่า ธรรมชาติที่ประหารกิเลสแล้ว ย่อมถึงพระนิพพานนั้น ชื่อว่า มัคค
ตามสาธกนี้จะเห็นได้ว่า มัคคมีองค์ ๘ แต่ละองค์มีหน้าที่ ๒ ประการ คือ
ก. ทำหน้าที่ ประหารกิเลส
ข. ทำหน้าที่ บรรลุพระนิพพาน
ดังนั้นจะได้กล่าวถึงหน้าที่ ๒ ประการแห่งมัคคมีองค์ ๘ มีโดยย่อ
๑. สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉาทิฏฐิ คือ อวิชชา (โมหะ) ตามกำลังแห่งมัคค มีปัญญาเห็นแจ้ง ในอริยสัจจ ๔ โดยมีพระ นิพพาน เป็นอารมณ์
๒. สัมมาสังกัปปะ ได้แก่ วิตกเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหาร กามวิตก พยาปาทวิตก และวิหิงสาวิตก ตามกำลังแห่งมัคค มีแต่การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ พระนิพพาน คือมีวิตกในนิพพาน โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๓. สัมมาวาจา ได้แก่ สัมมาวาจาวิรตีเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉา วาจา คือ วจีทุจริต ๔ ตามกำลังแห่งมัคค โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์


หน้า ๑๑๐

๔. สัมมากัมมันตะ ได้แก่ สัมมากัมมันตวิรตีเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหาร มิจฉากัมมันตะ คือ
กายทุจริต ๓ ตามกำลังแห่งมัคค โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๕. สัมมาอาชีวะ ได้แก่ สัมมาอาชีววิรตีเจตสิกในมัคคจิต ๔ ประหาร มิจฉาอาชีวะ คือมีความเป็นอยู่
ที่ทุจจริต ๗ ประการ โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๖. สัมมาวายามะ ได้แก่ วิริยเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉาวายามะ คือความเพียรที่ผิดที่เป็น
ทุจจริต มีแต่เพียรถึงพระนิพพาน โดยมีพระนิพพานเป็น อารมณ์
๗. สัมมาสติ ได้แก่ สติเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉาสติ คือ ความ ปราศจากสติสัมปชัญญะ คงมีแต่สติที่ระลึกรู้อยู่แต่พระนิพพาน โดยมีพระนิพพาน เป็นอารมณ์
๘. สัมมาสมาธิ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉาสมาธิ คือการขาดความตั้งใจมั่น
โดยชอบ คงมีแต่ความตั้งใจมั่นแน่วแน่ในพระนิพพาน โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
อริยมัคคนี่แหละที่ได้ชื่อว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ เป็นข้อปฏิบัติไป สู่ธรรมที่ดับทุกข์ ให้สัตว์ที่ดับทุกข์โดยไม่มีเหลือ เป็นอริยสัจจของจริงอันบริสุทธิ ไปจากข้าศึก เป็นของจริงที่พระอริยเจ้าได้เข้าถึงแล้ว
อริยมัคคนี้เป็นวิชชาด้วย เป็นจรณะด้วยสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ๒ องค์นี้เป็นวิชชา ที่เหลืออีก ๖ องค์เป็นจรณะ ดุจบุคคลผู้สัญจรเดินทางไปตามปกติ ย่อมพร้อมด้วยจักษุสามารถในการเห็น และพร้อมด้วยเท้า
สามารถในการเดินไป จักษุที่สามารถในการเห็นนั้นเปรียบกับปัญญาคือวิชชา เท้าที่สามารถในการเดินนั้น เปรียบด้วยจรณะ
อริยมัคคนี้เป็นสมถะด้วย เป็นวิปัสสนาด้วย สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ๒ องค์นี้ สงเคราะห์ด้วยวิปัสสนายาน (พาหนะ) เครื่องนำไป คือ วิปัสสนา ที่เหลืออีก ๖ องค์สงเคราะห์ด้วยสมถะ ยาน (พาหนะ) เครื่องนำไปคือสมถะ พระอริยสาวกท่านเว้นส่วน ๒ คือ เว้นกามสุขัลลิกานุโยค ด้วยวิปัสสนายาน และเว้นอัตตกิลมถานุโยค
ด้วยสมถยาน ดำเนินไปไต่ไปยังมัชฌิมาปฏิปทา คือทาง สายกลาง ทำลายกองโมหะด้วยปัญญาขันธ์ ทำลายกองโทสะด้วยสีลขันธ์ ทำลาย กองโลภะด้วยสมาธิขันธ์ ถึงปัญญาสัมปทาด้วยอธิปัญญาสิกขา ถึงสีลสัมปทาด้วย อธิสีลสิกขา ถึงสมาธิสัมปทาด้วยอธิจิตตสิกขา ทันทีที่ถึงพร้อมด้วยสิกขา ๓ นี้ ก็แจ้งซึ่ง พระนิพพาน


หน้า ๑๑๑

วิชชา และ จรณะ

ก. ที่ว่า สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ๒ องค์นี้เป็นวิชชา นั้นหมายถึง วิชชา ๓ บ้างก็เรียกว่า ญาณ ๓ ซึ่งเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ วิชชา ๓ หรือ ญาณ ๓ ได้แก่
๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
๒. ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์ รู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ ทั้งหลาย
๓. อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ (เป็นปัญญาเจตสิก ที่ในอรหัตตมัคคจิต)
นอกจากวิชชา ๓ ที่กล่าวแล้วนี้ ยังมีวิชชา ๖ และวิชชา ๘ อีก วิชชา ๖ หรือ ญาณ ๖ ได้แก่
วิชชา ๓ ที่กล่าวแล้ว และเพิ่มอีก ๓ คือ
๔. ปรจิตตวิชานนะ หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น
๕. ทิพพโสตญาณ หูทิพย์
๖. อิทธิวิธญาณ สำแดงฤทธิได้
วิชชา ๘ หรือ ญาณ ๘ ได้แก่
วิชชา ๖ นั่นแหละ แล้วเพิ่มขึ้นอีก ๒ คือ
๗. มโนมยิทธิญาณ เนรมิตร่างกายได้
๘. วิปัสสนาญาณ ญาณที่รู้เห็นไตรลักษณ์ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา มี ๑๐ ญาณด้วยกัน คือ
สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนว ญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกามยตาญาณ
ปฏิสังขาญาณ สังขารุเบกขาญาณ และ อนุโลมญาณ
ยังมีอีก ๒ ญาณ ได้แก่
ยถากัมมุปาคญาณ รู้ว่าที่สัตว์นั้นทุกข์หรือสุข เพราะได้กระทำกรรมอะไร มาแต่ปางก่อน
อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า เช่นรู้ว่าสัตว์นั้นจะไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหนมีความเป็นอยู่อย่างไร เป็นต้น


หน้า ๑๑๒

ถ้านับ ๒ ญาณนี้เข้าอีกด้วย ก็เป็น ๑๐ แต่ส่วนมากมักจะถือว่า ๒ ญาณนี้ รวมอยู่ในจุตูปปาตญาณด้วยแล้ว เพราะต้องมีจุตูปปาตญาณแล้ว จึงจะมีญาณทั้ง ๒ นี้ได้
วิชชา หรือ ญาณ ทั้งหมดนี้เป็นโลกียทั้งนั้น เว้นแต่ อาสวักขยญาณ ญาณเดียวเท่านั้นที่เป็น โลกุตตรญาณ คือเป็นปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตมัคคจิต
ข. ที่ว่าที่เหลืออีก ๖ องค์ (คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
เป็น จรณะ นั้น จรณะ มี ๑๕ คือ
(๑) สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยสีล
(๒) อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย
(๓) โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภค
(๔) ชาคริยานุโยค ตื่นอยู่เสมอ คือนอนน้อย ในอรรถกถาแสดงว่า วันและ คืนหนึ่ง แบ่งเป็น ๖ ส่วน ตื่นทำความเพียร ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน คือ ตื่น ๒๐ ชั่วโมง หลับ ๔ ชั่วโมง
(๕) สัทธา ความเชื่อถือเลื่อมใสในธรรมที่เป็นฝ่ายดี
(๖) หิริ ความละอายแก่ใจในอันที่จะกระทำบาป
(๗) โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผิด กลัวผลแห่งการกระทำบาป
(๘) พหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ศึกษามามาก
(๙) วิริยะ ความพากเพียร
(๑๐) สติ ความไม่ประมาท
(๑๑) ปัญญา ความรอบรู้

(๑๒) ปฐมฌาน
(๑๓) ทุติยฌาน
(๑๔) ตติยฌาน

(๑๕) จตุตถฌาน

ฌานจตุกนัย


หน้า ๑๑๓

ทางอันลามก

ในข้อความที่ว่า พระอริยสาวกท่านเว้นส่วน ๒ คือ เว้นกามสุขัลลิกานุโยค ด้วยวิปัสสนายาน และเว้น
อัตตกิลมถานุโยคด้วยสมถยาน นั้น
กามสุขัลลิกานุโยค เป็นการประพฤติปฏิบัติของผู้ที่มีความคิดเห็นว่า จะพ้น จากทุกข์ก็ต้องให้มีความสุข ความสบายอยู่ตลอดเวลา เมื่อไม่มีทุกข์ก็ชื่อว่าพ้นทุกข์ เพราะความสำคัญผิดเช่นนี้ จึงได้บำรุงบำเรอตนด้วยกามคุณ ให้มีแต่ความสนุกสนาน เพลิดเพลินเจริญใจในความสุขอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ส่วน อัตตกิลมถานุโยค เป็นการประพฤติปฏิบัติของผู้ที่มีความคิดเห็นว่า อัน การที่จะให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ก็จะต้องดำเนินการไปในทางที่เป็นทุกข์ จึงจะถึงที่สุด แห่งทุกข์ได้ ทำนองเดียวกับที่จะไปให้ถึงเชียงใหม่ ก็ต้องเดินไปตามทางที่ไป เชียงใหม่ ด้วยความสำคัญผิดเช่นนี้ จึงได้ประพฤติปฏิบัติโดยทรมานตนด้วยประการ ต่าง ๆ ในอาการที่เป็นทุกข์ เพื่อจะให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
ข้อปฏิบัติทั้ง ๒ อย่างนี้ ได้ชื่อว่าเป็นทางอัน ลามก ไม่ได้ประโยชน์ ไม่ทำให้ พ้นไปจากทุกข์ได้เลย อันการที่จะพ้นทุกข์ จะถึงที่สุดแห่งทุกข์ ต้องประพฤติปฏิบัติ แต่พอปานกลาง ไม่ให้เข้าใกล้ไปในทางอันลามกทั้ง ๒ นั้น กล่าวคือไม่หย่อนยาน เพลิดเพลินในความสุข แต่ก็ไม่ได้เคร่งเครียดทรมานจนเกิดทุกข์ ให้ปฏิบัติตามทาง สายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือดำเนินตาม อัฏฐังคิกอริยมัคค นี้เอง


ปริวัฏฏ ๓ อาการ ๑๒

ในสัมมาทิฏฐิที่ว่าปัญญาเห็นแจ้งในอริยสัจจ ๔ นั้น ต้องเห็นแจ้งในอริยสัจจ ๔ ถึง ๓ รอบ เรียกว่า
ปริวัฏฏ ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ
รู้ว่านี่ทุกข์ นี่สมุทัย นี่นิโรธ นี่มัคค รู้ดังนี้เรียกว่า สัจจญาณ เป็นการรู้ตาม ความเป็นจริง
รู้ว่าทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มัคคควรให้เจริญ รู้ดังนี้เรียกว่า กิจจญาณ เป็นการรู้ตามหน้าที่
รู้ว่าทุกข์ที่ควรกำหนดรู้นั้นได้กำหนดรู้แล้ว สมุทัยที่ควรละนั้นได้ละแล้ว นิโรธที่ควรทำให้แจ้งนั้นก็ได้
กระทำจนแจ้งแล้ว มัคคที่ควรให้เจริญนั้น ก็ได้เจริญ แล้ว รู้ดังนี้เรียกว่า กตญาณ เป็นการรู้ตามการกระทำ


หน้า ๑๑๔

ปริวัฏฏ ๓ เป็นไปในอริยสัจจ ๔ จึงเป็นอาการ ๑๒ เขียนให้ง่ายแก่การ จดจำได้ดังนี้

สัจจญาณ ๑ รอบ

รู้ว่านี่คือ ทุกข์
รู้ว่านี่คือ สมุทัย
รู้ว่านี่คือ นิโรธ
รู้ว่านี่คือ มัคค

กิจจญาณ ๑ รอบ

รู้ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้
รู้ว่า สมุทัยควรละ
รู้ว่า นิโรธควรทำให้แจ้ง
รู้ว่า มัคคควรทำให้เจริญ

กตญาณ ๑ รอบ

รู้ว่า ทุกข์นี้ได้กำหนดรู้แล้ว
รู้ว่า สมุทัยนี้ได้ละแล้ว
รู้ว่า นิโรธนี้ได้ทำให้แจ้งแล้ว
รู้ว่า มัคคนี้ได้เจริญแล้ว

 

ถ้าจะยกอริยสัจจ ๔ ขึ้นกล่าวก่อน ว่า อริยสัจจ ๔ นี้มี ปริวัฏฏ ๓ คือ จะต้องรอบรู้ถึง ๓ รอบ ก็เขียนได้ดังนี้


ทุกขสัจ

สัจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้ มีอยู่จริง
กิจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้ ควรกำหนดรู้
กตญาณ รู้ว่าทุกข์นี้ ได้กำหนดรู้แล้ว

สมุทยสัจ

สัจจญาณ รู้ว่าเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่จริง
กิจจญาณ รู้ว่าเหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละ
กตญาณ รู้ว่าเหตุให้เกิดทุกข์นี้ ได้ละแล้ว

นิโรธสัจ

สัจจญาณ รู้ว่าความดับสิ้นแห่งทุกข์นี้ มีจริง
กิจจญาณ รู้ว่าความดับสิ้นแห่งทุกข์นี้ ควรทำให้แแจ้ง
กตญาณ รู้ว่าความดับสิ้นแห่งทุกข์นี้ ได้ทำให้แจ้งแล้ว

มัคคสัจ

สัจจญาณ รู้ว่าข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นี้ มีจริง
กิจจญาณ รู้ว่าข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นี้ ควรเจริญ
กตญาณ รู้ว่าข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นี้ ได้เจริญแล้ว


หน้า ๑๑๕

โสฬสกิจ

อริยสัจ ๔ มีกิจ ๑๖ เรียกว่า โสฬสกิจ คือปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยา กิจ และภาวนากิจ กิจ ๔ ประเภทนี้ เป็นไปในอริยมัคคจิตทั้ง ๔ จึงรวมเป็น ๑๖ กิจ
ทุกขอริยสัจ เป็นธรรมที่ควรรู้นั้น เห็นแจ้งโดยปริญญากิจ บ้างก็เรียกว่า ปริญญาตัพพกิจ และที่เรียกว่า
ปริญเญยยกิจ ก็มี
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นธรรมที่ควรละนั้น ละโดย ปหานกิจ บ้างก็เรียกว่า ปหาตัพพกิจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งนั้น กระทำให้แจ้งโดย สัจฉิกิริยากิจ บ้างก็เรียกว่า สัจฉิกาตัพพกิจ และที่เรียกว่า สัจฉิกรณกิจ ก็มี
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นธรรมที่ควรเจริญนั้น เจริญโดยภาวนา กิจ บ้างก็เรียกว่า ภาเวตัพพกิจ
โสดาปัตติมัคคจิต เห็นแจ้งอริยสัจจโดยกิจทั้ง ๔ และ สกทาคามิมัคคจิต อนาคามิมัคคจิต อรหัตตมัคคจิตนั้น แต่ละจิตก็เห็นแจ้งอริยสัจโดยกิจทั้ง ๔ นี้ เช่นเดียวกัน จึงรวมได้เป็น ๑๖ กิจ ดังที่เรียกว่า โสฬสกิจ นี้


ลำดับการเทสนาอริยสัจจ

ในการที่พระองค์ทรงเทสนา ทุกขอริยสัจจ เป็นลำดับต้นก็เพราะว่า ทุกข์เป็น ของหยาบ และปรากฏอยู่เป็นเนืองนิจ จึงรู้ได้ง่ายกว่าสมุทัย
สังขารทั้งหลายล้วนแต่เป็นทุกข์ และทุกข์ก็เกิดมีขึ้นได้เอง ตามธรรมดาของ สังขาร ส่วนสุขมีได้เฉพาะที่ตั้งใจเป็นธุระประกอบโดยชอบด้วยอุบาย ถึงกระนั้นก็ ต้องผันแปรไปเป็นทุกข์อีก รวมความว่า มีทุกข์เป็นพื้นฐาน จะมีสุขเฉพาะเมื่อ แก้ทุกข์ให้สงบชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น


หน้า ๑๑๖

สุขเป็นสิ่งที่ปรารถนาเมื่อได้สุขก็มักจะไม่ใคร่รู้สึก มีแต่ยังไม่พอและปรารถนา ต่อไปอีก ส่วนทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่ปรารถนา เมื่อเกิดขึ้นแม้มีปริมาณน้อย ผู้เสวยทุกข์ก็ ย่อมรู้สึกเหมือนว่ามากมายเสียเหลือเกิน
ดังนี้ ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่รู้ได้ง่ายกว่าสมุทัย ตัวอย่างเช่น เกิดปวดท้องก็รู้สึกทันที ว่าปวดท้อง แต่เหตุอะไรที่ทำให้ปวดท้องนั้นรู้ได้ยาก
ที่ว่า ทุกข์เกิดมีขึ้นได้เองตามธรรมดาของสังขาร ส่วนสุขมีได้เฉพาะที่ตั้งใจ ประกอบชอบด้วยอุบายนั้น ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ เช่น นั่งอยู่นาน ๆ ก็ปวด เมื่อยเป็นทุกข์ขึ้นมาแล้ว จึงลงนอนหรือลุกขึ้นเดินเสีย ก็หายปวด หายเมื่อยไป ชั่วคราว ครั้นเมื่อนอนหรือเดินนาน ๆ หน่อย ก็เมื่อยหรือเหนื่อยขึ้นมาอีก ต้อง เปลี่ยนอริยาบถเรื่อย ๆ ไปไม่มีที่สิ้นสุด สังขารของมนุษย์อยู่ได้ด้วยอาหาร ก็เป็น ทุกข์ในการหาใส่ปากใส่ท้อง หิวขึ้นมาก็ต้องตะเกียกตะกาย
ทนหนาวทนร้อนหามา บำบัดความหิว ดังนี้ เมื่อกล่าวตามสภาพแห่งความเป็นจริงแล้ว ในโลกนี้เกือบไม่มี อะไรสุข มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น เพราะเหตุนี้ วชิราภิกษุณีจึงกล่าวคาถาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยใจความว่า
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
ทุกข์นั่นแหละเกิด
ทุกข์นั่นแหละตั้งอยู่
ทุกข์นั่นแหละดับไป
ดังในพระธรรมบท กล่าวว่า
ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ อันที่จริงทุกข์เท่านั้นเองเกิดขึ้น
ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ ทุกข์นั่นเองตั้งอยู่และเสื่อมไปด้วย
นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
ตามที่ท่านสอนให้เห็นทุกข์ ให้รู้จักทุกข์ ก็เพื่อจะตัดความเข้าใจผิดว่าทุกข์นี้ เป็นสุข และเพื่อจะได้สาวหาสาเหตุของทุกข์ว่ามาแต่อะไร
เมื่อเห็นทุกข์อันเป็นสิ่งที่เห็นได้ง่ายนั้นก่อนแล้ว จึงสาวหาเหตุที่ทำให้เกิด ทุกข์ซึ่งเป็นตัว สมุทัย อันได้แก่ตัณหา ดังนั้น จึงแสดงสมุทัยในอันดับที่ ๒ เพราะสมุทัย เป็นของที่ชอบใจ เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา จึงสำคัญไปว่าเป็นสุข ต่อเมื่อเห็นแจ้งว่า สมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงจะเกิดความเบื่อหน่ายต่อสมุทัย ความเบื่อหน่ายเช่นนี้ เป็นปัญญา


หน้า ๑๑๗

ความเบื่อหน่ายนั้นมี ๒ ประการ ความเบื่อหน่ายที่เนื่องมาจากโทสะ โมหะ นั้น เลือกเบื่อหน่าย สิ่งใดไม่ชอบก็เบื่อหน่ายในสิ่งนั้น แต่ว่าสิ่งใดที่ยังชอบใจ ติดใจ อยู่ ก็หาเบื่อหน่ายไม่ หรือเบื่อหน่ายตามวัยตามกาล เช่น สิ่งใดที่ผิดวัยก็เบื่อหน่าย ที่ถูกวัยก็ไม่เบื่อหน่าย เวลาอิ่มก็เบื่อหน่าย ครั้นหิวขึ้นมาก็ไม่เบื่อหน่าย เป็นต้น ส่วนความเบื่อหน่ายที่เกิดจากปัญญานั้น เป็นการเบื่อหน่ายต่อสิ่งทั้งปวง ไม่ใช่เลือก เบื่อหน่ายบ้าง ไม่เบื่อหน่ายบ้างอย่างที่ว่านั้น
ความเบื่อหน่ายต่อทุกข์ ทำให้เห็นโทษของสมุทัย อันเป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์ ก็เลยเบื่อหน่ายต่อสมุทัย ทำให้คลายความโลภลง ครั้นความโลภคือตัณหาคลายลง จนดับหมดสิ้นเมื่อใด เมื่อนั้นก็เป็นพระนิพพาน เพราะนิพพานเป็นที่ดับสิ้นแห่ง ตัณหา เหตุนี้จึงแสดงนิโรธสัจจอันหมายถึงพระนิพพานไว้เป็นอันดับที่ ๓
นิโรธสัจ อันเป็นสัจจที่ ๓ นี้เป็นผล เมื่อทรงแสดงผลพอให้เกิดปัญญาเห็น อานิสงส์แห่งพระนิพพานแล้ว จึงทรงแสดงมัคคอริยสัจ เป็นอันดับที่ ๔ อันเป็น สัจจที่เป็นเหตุเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน
หนทางที่จะถึงพระนิพพาน ต้องประหารตัณหา ตัณหาจะเกิดก็เพราะมีเวทนา กล่าวคือ เมื่อมีสุขเวทนาก็อยากให้สุขนั้นคงอยู่ตลอดไป ครั้นเมื่อมีทุกขเวทนาก็ อยากให้ทุกข์นั้นหายไป และอยากให้สุขเกิดขึ้นมาแทน ขณะที่ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็อยาก ให้คงเป็นอยู่เช่นนั้น เพราะแม้ว่าจะไม่สุขแต่ที่ไม่มีทุกข์ก็ดีอยู่แล้ว ถ้ายิ่งเป็นสุขก็ยิ่ง ดีมาก ปรารถนาเช่นนี้ ก็ด้วย
อำนาจแห่งตัณหา ถ้าหยุดได้แค่เวทนา ตัณหาไม่เข้า มาต่อ ความอยากอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่มี จะหยุดอยู่แค่เวทนาได้ ก็ต้องใช้สติเข้าไปกั้น เพราะฉะนั้น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ท่านจึงกล่าวว่าสำหรับแก้ตัณหาจริต อย่างละเอียด เมื่อมามีสติรู้เท่าทันของเวทนาอยู่เสมอ ตัณหาก็เกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยเหตุ ฉะนี้ พระพุทธองค์จึงได้ทรงตรัสแก่อชิตมาณพ ว่า
สติ เตสํ นิวารณํ สติเป็นเครื่องกั้นตัณหาทั้งหลาย
ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร ตัณหานั้นอันบุคคลจะตัดเสียได้ด้วยปัญญา
เพียงแต่สติก็กั้นหรือยับยั้งตัณหาไว้ได้แล้ว ยังเติมปัญญาลงไปอีก ตัณหาที่ถูก ยับยั้งไว้นั้น จึงเป็นอันถึงซึ่งความตัดขาดให้ดับสูญไปเลย สติและปัญญาทั้ง ๒ นี้ก็ คือ มัคคอริยสัจจนี่เอง
มัคคอริยสัจ หรือ อัฏฐังคิกอริยมัคค เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางปฏิบัติที่ เป็นท่ามกลาง เป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่ผิดอันลามก ๒ ประการ คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น


หน้า ๑๑๘

ในบรรดาสังขตธรรมอันมีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อัฏฐังคิกอริยมัคค นี้เป็นยอดของสังขตธรรมทั้งปวง เพราะเป็นหนทางที่ดับตัณหา ดับกิเลส ดับอกุสล พ้นจาก ทุจจริตทั้งปวง เป็นทางที่ให้เกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจทั้ง ๔ โดยประจักขสิทธิ
อัฏฐังคิกอริยมัคค เป็นทางแห่ง วิวัฏฏกุสล เป็นกุสลชนิดที่ไม่ต้องกลับมา วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏอีก
เป็น อกุปปธรรม คือ ธรรมที่ไม่รู้กำเริบ หมายความ ว่า เมื่อมัคคมีองค์ ๘ นี้ได้ประหารกิเลสใดแล้ว กิเลสนั้น ๆ เป็นไม่มีวันที่จะกำเริบ ขึ้นมาได้อีกเลยเป็นอันขาด
เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นอันว่าจบเนื้อหาแห่งอริยสัจจทั้ง ๔ แล้ว แม้จะเป็น โดยย่อก็คงพอจะเห็นได้ว่า
ทุกข์เป็นของจริง ใครจะเห็นว่าเป็นสุขก็ตาม แต่ทุกข์คงเป็นทุกข์อยู่นั่นเอง
สมุทัยคือตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง แม้ใครจะเห็นว่าเป็นเหตุให้เกิดสุข ตัณหาก็คงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อยู่นั่นเอง
นิโรธคือดับ ดับตัณหาจนตัณหาดับ ทุกข์ก็ดับได้จริง ทุกข์ดับสิ้นก็เป็น พระนิพพาน แม้ใครจะว่าพระนิพพานมีหรือไม่มีก็ตาม แต่ว่าพระนิพพานก็มีอยู่จริง
มัคค เป็นธรรมดาที่ดับทุกข์โดยแท้ แม้ผู้ใดจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ถ้าได้ดำเนิน ทางมัคคมีองค์ ๘ นี้แล้ว ก็เป็นทางที่ดับทุกข์ได้จริง
อริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ย่อมต้องเกี่ยวเนื่องกัน ดังที่ได้กล่าวมานี้ จึงกล่าวไว้ว่า เมื่อปัญญาได้แจ้งในสัจจะใดสัจจะหนึ่งแล้ว ย่อมเกี่ยวเนื่องต่อโยงกันให้แจ้งในสัจจะทั้ง ๔ นั้นด้วย


อุปมาอริยสัจ

ด้วยความเกี่ยวเนื่องกันแห่งสัจจธรรมดังกล่าวแล้วนั้น จึงได้มีข้ออุปมาอริยสัจจไว้เป็นหลายนัย เป็นต้นว่า
ก. ทุกขสัจ เปรียบเหมือนกับผู้ที่แบกของหนัก สมุทยสัจเปรียบเหมือนกับ ของที่หนัก นิโรธสัจเปรียบเหมือนกับได้ทิ้งของที่หนักนั้นเสียแล้ว มัคคสัจเปรียบ ได้กับอุบายในการที่จะทิ้งของหนักนั้น


หน้า ๑๑๙

ข. ทุกขสัจเปรียบเหมือนอาการของโรค สมุทยสัจเหมือนตัวเชื้อโรค นิโรธสัจเหมือนความหายจากโรค มัคคสัจก็เหมือนกับยารักษาโรค
ค. ทุกขสัจ เปรียบด้วยฝั่งนี้ สมุทยสัจเปรียบด้วยแม่น้ำ นิโรธสัจเปรียบ กับฝั่งโน้น มัคคสัจก็เปรียบเหมือนพาหนะที่นำไปถึงฝั่งโน้น
ด้วยความเกี่ยวพันต่อเนื่องกันดังนี้ จึงมีคำกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเห็นทุกข์ผู้นั้นย่อม เห็นสมุทัย ผู้ใดแจ้งในนิโรธ ผู้นั้นย่อมแจ้งในมัคคด้วย


สงเคราะห์อริยสัจโดยนัยต่าง ๆ

อริยสัจทั้ง ๔ สงเคราะห์โดยนัยต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ
๑. ทุกขสัจ มีเพียง ๑ คือ มีสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ยั่งยืนคงทนอันเป็น ตัวทุกข์จริง ๆ
สงเคราะห์ว่ามี ๒ ก็ได้ คือ ทุกขสัจที่เป็นรูปธรรม และทุกขสัจที่เป็น นามธรรม
สงเคราะห์ว่ามี ๓ ก็ได้ คือ ทุกขสัจในกามภูมิ ทุกขสัจในรูปภูมิ และทุกขสัจในอรูปภูมิ
สงเคราะห์ว่ามี ๔ ก็จำแนกโดยอาหาร ๔ ซึ่งได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ และ มรณะ ธรรมทั้ง ๔ นี้ ล้วนแต่เป็นอาหารของทุกข์ คือเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะ ถ้าไม่มีชาติ ไม่มีความเกิดแล้วทุกข์ทั้งหลายก็จะเกิดมีขึ้นมาไม่ได้
สงเคราะห์ว่ามี ๕ ก็จำแนกโดยอุปาทานขันธ์ ๕ คือ ทุกขสัจ แห่งรูปขันธ์ แห่งเวทนาขันธ์ แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ และแห่งวิญญาณขันธ์
๒. สมุทยสัจ ก็มีเพียง ๑ คือ ตัณหา ได้แก่ โลภะ อันเป็นต้นเหตุ เป็นมูลเหตุ ให้เกิดทุกขสัจ
สงเคราะห์ว่ามี ๒ ก็จำแนกตัณหาเป็น ทิฏฐิคตสัมปยุตต และ ทิฏฐิคต วิปปยุตต
สงเคราะห์ว่ามี ๓ ก็จำแนกได้เป็น กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
สงเคราะห์ว่ามี ๔ ก็จำแนกด้วยอำนาจแห่งการประหารของมัคคจิตทั้ง ๔
สงเคราะห์ว่ามี ๕ ก็จำแนกโดยกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ การสัมผัสถูกต้อง
สงเคราะห์ว่ามี ๖ ก็จำแนกตามอารมณ์ทั้ง ๖ เป็น รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา และ ธัมมตัณหา


หน้า ๑๒๐

๓. นิโรธสัจ มีเพียง ๑ คือ พระนิพพาน
สงเคราะห์ว่ามี ๒ คือ จำแนกโดยปริยายแห่งเหตุ ก็ได้แก่ สอุปาทิเสส นิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน
สงเคราะห์ว่ามี ๓ คือ จำแนกโดยอาการที่เข้าถึง ก็ได้แก่ อนิมิตตนิพพาน อัปปณิหิตนิพพาน และ
สุญญตนิพพาน
สงเคราะห์ว่ามี ๔ คือจำแนกไปตามมัคคจิต ๔ ซึ่งเป็นผู้เห็นแจ้งพระนิพพาน มีโสดาปัตติมัคคจิต เป็นต้น
สงเคราะห์ว่ามี ๕ ก็ด้วยการนับความดับแห่งขันธ์ทั้ง ๕ คือ ความดับ แห่งรูปขันธ์ แห่งเวทนาขันธ์
แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์
สงเคราะห์ว่ามี ๖ ก็ด้วยการนับความดับแห่งอารมณ์ทั้ง๖ และหรือทวารทั้ง ๖
๔. มัคคสัจ มีเพียง ๑ คือ อัฏฐังคิกมัคค มัคคมีองค์ ๘ อันเป็นทางเดียว ที่ให้บรรลุถึงพระนิพพานด้วย
การประหารกิเลส
สงเคราะห์ว่ามี ๒ เป็นการจำแนกตามนัยแห่งมาติกาคือ ทสฺสเนน ปหาตพฺ พา ธมฺมา หมายถึงมัคคสัจแห่งโสดาปัตติมัคคจิต และ ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺ มา หมายถึงมัคคสัจจแห่งมัคคจิตเบื้องบนอีก ๓ มัคค
สงเคราะห์ว่ามี ๓ เป็นการจำแนกโดยขันธ์ ๓ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และ ปัญญาขันธ์
สงเคราะห์ว่ามี ๔ คือ จำแนกโดยมัคคจิต ๔
๕. ปัญญา ความรู้ในอริยสัจจธรรมนี้ยังสงเคราะห์ให้เป็น ๒ คือ โลกียะ และ โลกุตตระ
โลกียะ เรียกว่า อนุโพธญาณ ได้แก่ญาณที่หยั่งรู้ในสัจจธรรมด้วยสุตญาณ และ จินตาญาณ
โลกุตตระ เรียกว่า ปฏิเวธ เพราะเหตุมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ และรู้แจ้งแทง ตลอดในอริยสัจทั้ง ๔


หน้า ๑๒๑

๖. ทุกขสัจ กับ สมุทยสัจ เป็นโลกียสัจ นิโรธสัจ กับ มัคคสัจ เป็นโลกุตตรสัจ
ทุกขสัจกับสมุทยสัจ สงเคราะห์ว่าเป็นธรรมที่เสมอกัน เพราะเป็นโลกีย ด้วยกัน และเป็นธรรมที่เป็นไปกับอาสวะได้เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ทุกขสัจเป็นผล สมุทยสัจเป็นเหตุ และต่างกันที่ ทุกขสัจเป็นกิจที่ต้องกำหนดรู้ สมุทยสัจเป็นกิจ ที่ต้องละ
นิโรธสัจกับมัคคสัจ สงเคราะห์ว่าเป็นธรรมที่เสมอกัน เพราะเป็นโลกุตตระ ด้วยกันแต่ต่างกันที่ นิโรธสัจนั้นเป็นอารมณ์ มัคคสัจเป็นอารัมมณกะ คือเป็น ผู้จับอารมณ์ และต่างกันที่ นิโรธสัจเป็นกิจที่ต้องทำให้แจ้ง มัคคสัจเป็นกิจที่ต้องเจริญ กับต่างกันที่ นิโรธสัจเป็นผล มัคคสัจเป็นเหตุ
๗. ทุกขสัจกับนิโรธสัจ สงเคราะห์ว่าเหมือนกันเพราะเป็นฝ่ายผลเหมือน กัน แต่ต่างกันที่ทุกขสัจเป็นฝ่ายโลกียธรรม เป็นสังขตธรรม เป็นสังขารธรรม ส่วนนิโรธสัจเป็นฝ่ายโลกุตตรธรรม เป็นสังขตธรรม เป็นวิสังขารธรรม
สมุทยสัจกับมัคคสัจ สงเคราะห์ว่าเหมือนกัน เพราะเป็นฝ่ายเหตุเหมือนกัน เป็นสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ต่างกันที่สมุทยสัจเป็นฝ่ายโลกียะและเป็นอกุสล ส่วน มัคคสัจเป็นฝ่ายโลกุตตระและเป็นกุสล
สังขตะ กับสังขารนั้น พยัญชนะต่างกัน แต่มีอรรถเหมือนกันว่าเป็นธรรม ที่มีปัจจัยปรุงแต่ง กล่าวคือ จิต และเจตสิก ก็ปรุงแต่งด้วย อารมณ์ วัตถุ มนสิการ และรูปก็ปรุงแต่งด้วยกรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนนิพพานเป็นอสังขตะ เป็นวิสังขาร เพราะไม่มีอะไรปรุงแต่งเลย
๘. สงเคราะห์โดยความเป็น นามสัจ และ นามรูปสัจ
ทุกขอริยสัจ เป็น นามรูปสัจ เพราะทุกขสัจนี้มีทั้งรูปทั้งนาม คือ โลกีย ๘๑, เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภเจตสิก)
และรูป ๒๘
ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นนามสัจ เพราะมีแต่นาม
อย่างเดียวทั้ง ๓ สัจจ คือ ทุกขสมุทยอริยสัจ ได้แก่ โลภเจตสิก ทุกขนิโรธอริยสัจ ได้แก่พระนิพพาน และ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ได้แก่มัคคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นเจตสิกทั้ง ๘ ดวง
๙. สงเคราะห์โดยความเป็น สุทธิสัจ และ มิสสกสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ และทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นสุทธิสัจเพราะทุกขสมุทยอริยสัจก็มีองค์ธรรมคือ โลภ เจตสิกแต่อย่างเดียว ทุกขนิโรธอริยสัจก็มีองค์ธรรม คือ นิพพาน แต่อย่างเดียว ไม่มีธรรมอย่างอื่นมาปะปนด้วยอีกเลย จึงได้ชื่อว่า สุทธิสัจ


หน้า ๑๒๒

ทุกขอริยสัจ และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ นั้นเป็นมิสสกสัจ เพราะทุกขอริยสัจมีองค์ธรรม
ถึง ๑๖๐ องค์ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็มีองค์ธรรมถึง ๘ องค์ คือ มีปะปนกันหลายสิ่งหลายอย่างจึงเรียกว่า มิสสกสัจ
๑๐. สงเคราะห์โดยความเป็น วัฏฏสัจ และ วิวัฏฏสัจ
ทุกขอริยสัจ และทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นวัฏฏสัจ เป็นความจริงที่อยู่ในวัฏฏะ ยังต้องวนเวียนอยู่ใน
โลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก และอรูปโลก
ทุกขนิโรธอริยสัจ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นวิวัฏฏสัจ เป็น ความจริงที่พ้นจากวัฏฏะ
พ้นจากโลกทั้ง ๓


สัจจวิมุตติ

มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๑๔ กล่าวถึงธรรมที่พ้นจาก อริยสัจ ๔ ว่า


๑๔. มคฺคยุตฺตาผลา เจว จตุสจฺจวินิสฺสฏา
อิติ ปญฺจปเภเทน ปวุตฺโต สพฺพสงฺคโห ฯ


แปลความว่า มัคคจิต ผลจิต และธรรมที่ประกอบด้วยนั่นเทียว พ้นพิเศษจากอริยสัจ ๔
นี่แหละคือ ธรรม ๕ ประเภทที่แสดงในสัพพสังคหะนี้
มีความหมายว่า ในสัพพสังคหะนี้แสดงธรรม ๕ ประเภท คือ ๑.เบ็ญจขันธ์ ๒.อุปาทานขันธ์ ๓.อายตนะ
๔.ธาตุ และ ๕.อริยสัจ
ถึงกระนั้นก็ยังมีธรรมอีกจำพวกหนึ่งซึ่งพ้นพิเศษจาก อริยสัจ ๔ อันมีชื่อว่า สัจจวิมุตติ
ธรรมที่พ้นจากอริยสัจ ๔ คือ สัจจวิมุตติ นั้น ได้แก่ มัคคจิตและเจตสิก ที่ประกอบกับผลจิตและ
เจตสิกที่ประกอบ
รวมจิต ๒ ประเภทนี้เท่านั้น
มัคคจิตเป็นโลกุตตรจิตไม่ใช่โลกียจิต จึงไม่ใช่ทุกขสัจ และมัคคจิตก็ไม่ใช่ โลภเจตสิก ไม่ใช่นิพพาน ไม่ใช่อัฏฐังคิกมัคคด้วยเลยสักอย่างเดียว ดังนั้นมัคคจิตจึง พ้นพิเศษจากสัจจะทั้ง ๔ นี้ ได้ชื่อว่าเป็น สัจจวิมุตติ


หน้า ๑๒๓

เจตสิกที่ประกอบกับมัคคจิตนั้นมี ๓๖ ดวง ในจำนวน ๓๖ ดวงนี้ มีปัญญา เจตสิก วิตกเจตสิก
สัมมาวาจาวิรตีเจตสิก สัมมากัมมันตวิรตีเจตสิก สัมมาอาชีว วิรตีเจตสิก วิรียเจตสิก สติเจตสิก และเอกัคคตาเจตสิก รวมอยู่ด้วย เจตสิก ๘ ดวง นี้เป็นองค์อัฏฐังคิกมัคค คือเป็นองค์ธรรมของมัคคสัจ เมื่อยกเจตสิก ๘ ดวง ซึ่งเป็นตัวมัคคสัจออกเสียแล้ว เจตสิกที่เหลือ ๒๘ ดวง (๓๖-๘=๒๘) ก็ไม่ใช่สัจจะใด ๆ เลย เพราะมีหลักอยู่ว่า เจตสิกที่ประกอบกับจิตใดก็มีฐานะเหมือนจิตนั้น ก็เจตสิก ๒๘ ดวงนี้ประกอบกับมัคคจิตซึ่งมีฐานะพ้นพิเศษจากสัจจทั้ง ๔ ดังนั้น
เจตสิก ๒๘ ดวงนี้ จึงพ้นพิเศษจากอริยสัจทั้ง ๔ ไปตามฐานะของมัคคจิตด้วย
ก็น่าจะสงสัยว่า เจตสิกที่ประกอบกับจิตใดก็มีฐานะเหมือนจิตนั้น เจตสิก ๘ ดวง ที่ว่านี้ก็ประกอบกับมัคคจิต ซึ่งมีฐานะพ้นพิเศษจากอริยสัจ ๔ เหตุใดเจตสิก ๘ ดวงนี้ จึงไม่พ้นพิเศษไปตามฐานะของมัคคจิตด้วย ข้อนี้เป็นเพราะในมัคคสัจ ได้ระบุบอกไว้โดยชัดแจ้งว่า เจตสิก ๘ ดวงนี้ ที่ประกอบกับมัคคจิตเป็นองค์ธรรม ของมัคคสัจเป็นตัวมัคคสัจ ซึ่งเป็นสัจจที่ทำลายหรือประหารตัณหา หรือสมุทัย ดังนั้นเจตสิก ๘ ดวงนี้ ถึงแม้ว่าจะประกอบกับมัคคจิตที่พ้นจากสัจจะ ก็ไม่ทำให้ตัวเองพ้นจากสัจจะไปได้
ตอนนี้รวมความได้ว่า มัคคจิต ๑ เจตสิกที่ประกอบ ๒๘ (โดยเว้นเจตสิก ๘ ดวงที่เป็นองค์ธรรมของมัคคสัจออกแล้ว) รวมเป็นธรรม ๒๙ นี้ เป็นธรรมที่พ้น พิเศษจากอริยสัจ ๔ คือ เป็นสัจจวิมุตติไป
ส่วนผลจิต ๑ ก็มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวง เหมือนกัน ผลจิต ๑ เจตสิก ๓๖ รวม เป็นธรรม ๓๗ นี้ ก็พ้นพิเศษจากอริยสัจ ๔ คือ เป็นสัจจวิมุตติทั้ง ๓๗
เจตสิก ๓๖ ดวงที่ประกอบกับผลจิต ก็มีเจตสิก ๘ ดวงที่เป็นองค์ของ อัฏฐังคิกมัคค คือเป็นองค์ธรรมของมัคคสัจรวมอยู่ด้วย แต่ไม่ต้องเว้นหรือไม่ต้อง หักเจตสิก ๘ ดวงนี้ออก เพราะเจตสิก ๘ ดวงนี้ ประกอบกับผลจิต ไม่ได้ประกอบ กับมัคคจิต ไม่ได้ทำหน้าที่ประหารสมุทัย จึงไม่เป็นมัคคสัจจเหมือนกับที่ประกอบ กับมัคคจิต


อนินทรียพัทธรูปและบัญญัติก็เป็นสัจจวิมุตติ

นอกจาก มัคคจิตตุปปาท ๒๙ ผลจิตตุปปาท ๓๗ เป็นสัจจวิมุตติดังกล่าว มาแล้วนี้ ยังมีธรรมที่เป็นสัจจวิมุตติ อีก ๒ คือ อนินทรียพัทธรูป และ บัญญัติธรรม


หน้า ๑๒๔

อนินทรียพัทธรูป คือ รูปธรรมที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ นั่นก็หมายถึงรูปธรรม ที่ไม่เนื่องด้วยสิ่งที่มีชีวิต
รูปธรรม ๒๘ ที่เป็นทุกขอริยสัจนั้น ต้องเป็น อินทรียพัทธรูป คือ รูปธรรมที่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นรูปธรรมที่เนื่องกับสิ่งที่มีชีวิต เท่านั้น ส่วนรูปธรรมที่ไม่เนื่องกับสิ่งที่มีชีวิต คือ อนินทรียพัทธรูปนี้ จึงไม่ใช่ ทุกขอริยสัจ ก็เป็นธรรมที่พ้นพิเศษจากอริยสัจ ๔ เป็น สัจจวิมุตติไป
บัญญัติธรรม เป็นธรรมที่สมมติขึ้นบัญญัติขึ้นตามโวหารของชาวโลก เป็น สมมติไม่เหมือนกัน


อวสานคาถา ปริจเฉทที่ ๗


อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
สตฺตโม ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ


นี่ปริจเฉทที่ ๗ ( ชื่อ สมุจจยสังคหวิภาค ) ในปกรณ์อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม ที่พระอนุรุทธาจารย์รจนาไว้นั้น จบแล้วโดยย่อแต่เพียงเท่านี้แล้ว

<<    >>