<<<                >>>

หลักสูตร เรียนพระอภิธรรมทางอินเตอร์เนต

 

ตอนที่ ๕ (ชุดที่ ๑)

รูปปรมัตถ์

          ในปรมัตถธรรม ๔ คือ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ และนิพพานปรมัตถ์ เราได้ศึกษาผ่านมา ๒ ปรมัตถธรรม คือ จิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ ส่วนรูปปรมัตถ์และนิพพานปรมัตถ์ เรากำลังจะศึกษากันต่อไปนี้
          
          คำว่า รูป มีความหมาย ๒ นัย นัยที่ ๑ กล่าวไว้ว่า รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกดับหรือเสื่อมสลายไป นัยที่ ๒ รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกสลายไป ด้วยอำนาจของความร้อนและความเย็น ซึ่งทั้งสองนัยนี้สรุปได้ว่า รูปก็คือธรรมชาติที่แตกดับ นั่นเอง
          
ลักขณาทิจตุกของรูป มี ๔ ประการ คือ
๑. เป็นธรรมชาติที่ ต้องแปรปรวนแตกดับไป
๒. " แยกออกจากจิต (นาม) ได้
๓. " เป็นอัพยากตธรรม คือ ไม่ใช่ธรรมชาติที่เป็นกุศลหรืออกุศล
๔. " มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
          
          
          ในส่วนที่เป็นรูป (รูปขันธ์) คือ ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อนับโดยความเป็นรูปธรรมแล้ว มี ๒๘ รูปด้วยกัน
รูป ๒๘ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ
๑. มหาภูตรูป กับ อุปาทายรูป
๒. นิปผันนรูป กับ อนิปผันนรูป
          
รูป ๒๘ เป็น ประเภทเล็ก ๆ ได้ ๑๑ ประเภท มีรายละเอียดดังนี้ คือ
๑. มหาภูตรูป ๔   ๑. มหาภูตรูป
มี
รูป
 
  ๒. ปสาทรูป
"
"
 
  ๓. โคจรรูป
"
"
 
  ๔. ภาวรูป
"
"
นิปผันนรูป ๑๘
  ๕. หทยรูป
"
"
 
๒. อุปาทายรูป ๒๔ ๖. ชีวิตรูป
"
"
 
  ๗. อาหารรูป
"
"
 
  ๘. ปริจเฉทรูป
"
"
    อนิปผันนรูป ๑๐
  ๙. วิญญัติรูป
"
"
  ๑๐. วิการรูป
"
"
  ๑๑. ลักขณรูป
"
"
          
          มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และ ธาตุลม ุซึ่งเป็นรูปใหญ่ที่ปรากฏชัด มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มหาภูตรูป ๔ ได้ชื่อว่าเป็นแม่ธาตุ หรือ ต้นธาตุ ซึ่งเป็นประธานของรูปทั้งหลาย รูปอื่น ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแม่ธาตุทั้ง ๔ นี้ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสิ่งทั้งปวง ดังนั้น ธาตุทั้ง ๔ นี้ จะอยู่รวมกันเสมอไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้เลย แม้ในธาตุทั้ง ๔ ก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย
          
ธาตุดิน จะมีอยู่ได้ก็ต้องอาศัยธาตุอีก ๓ ธาตุ คือ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม
อุปาทายรูป ๒๔ หมายถึง รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด ถ้าไม่มีมหาภูตรูป รูปอื่น ๆ ก็จะเกิดขึ้นเองไม่ได้
นิปผันนรูป ๑๘ หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเองโดยเฉพาะ เช่น ปฐวีธาตุ มีลักษณะแข็ง เตโชธาตุ มีลักษณะร้อน เป็นต้น
อนิปผันนรูป ๑๐ หมายถึง รูปที่ไม่มีสภาวะของตน ต้องอาศัยนิปผันนรูปเกิด จึงมีขึ้นได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือช่องว่าง ระหว่างรูปต่อรูป หรือกลาปต่อกลาป ซึ่งจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป

ประเภทที่ ๑ มหาภูตรูป ๔

 

มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
          
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน ถ้ามีธาตุดินอยู่มากก็จะแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน ถ้ามีธาตุดินอยู่น้อยก็จะอ่อน เช่น ยาง ฟองน้ำ เป็นต้น ธาตุดินมี ๔ อย่าง
๑. ดินแท(ปรมัตถปฐวี หรือ ลักขณปฐวี)
  หมายถึง ลักษณะที่ แข็ง หรือ อ่อน ของวัตถุต่าง ๆ ที่เราสามารถสัมผัส ถูกต้องได้ด้วยกาย เช่น เหล็ก หรือ ยาง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
๒. ดินสมมุติ (สมมุติปฐวี หรือ ปกติปฐวี)
  หมายถึง ดินที่เรียกกันทั่วไป เช่น ที่ดิน แผ่นดิน พื้นดิน ดินเหนียว ดินที่ใช้ในการทำไร่ไถนา เป็นต้น
๓. ดินที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารปฐวี
  หมายถึง ส่วนที่แข็งที่มีอยู่ภายในร่างกายของคน และสัตว์ทั้งหลาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น รวมทั้งของแข็งที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น เหล็กทองแดง ศิลา ดิน เป็นต้น
๔. ดินที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสินปฐวี)
  หมายถึง ดินที่นำมาทำเป็นแผ่นวงกลมเท่าฝาบาตร เพื่อนำมาเพ่งให้เกิดสมาธ ิใช้เป็นอารมณ์ในการ เจริญสมถกรรมฐาน
 
 
๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ มี ๔ อย่าง
๑. น้ำแท้ (ปรมัตถอาโป หรือ ลักขณอาโป)
  หมายถึง ลักษณะที่ไหล หรือ เกาะกุมของวัตถุต่าง ๆ จะรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่ใช่รู้ได้โดยการเห็นด้วยตา หรือ สัมผัสด้วยกาย
๒. น้ำสมมุติ (สมมุติอาโป หรือ ปกติอาโป)
  หมายถึง น้ำที่เรียกกันทั่วไป เช่น น้ำที่ดื่ม น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำในทะเล น้ำในมหาสมุทร เป็นต้น
๓. น้ำที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารอาโป
  หมายถึง ส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในร่างกายของคน และสัตว์ทั้งหลาย เช่น ดี เลือด เสมหะ เหงื่อ เป็นต้น รวมทั้งของเหลวที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น น้ำจากรากต้นไม้ น้ำจากใบไม้ น้ำจากดอกไม้ น้ำจากผลไม้ เป็นต้น
๔. น้ำที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณอาโป)
  หมายถึง น้ำที่นำมาใส่ในขัน อ่าง หรือ ในบ่อ ใช้เพ่งดูเพื่อให้เกิดสมาธิ ซึ่ง ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
          
 
๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มี ๔ อย่าง
๑. ไฟแท้ (ปรมัตถเตโช หรือ ลักขณเตโช)
  หมายถึง ลักษณะที่ร้อนหรือเย็น ที่มากระทบทางกาย สิ่งต่างๆ จะสุกงอม ละเอียด นุ่มนวลได้ ก็เพราะเตโชธาตุนี้เอง ทำให้สุก อ่อน หรือ นุ่มนวล ละเอียด นุ่มนวลได้ก็เพราะเตโชธาตุนี้เอง ทำให้สุก อ่อน หรือ นุ่มนวล เช่น อาหารที่เรารับประทาน เป็นต้น
๒. ไฟสมมุติ (สมมุติเตโช หรือ ปกติเตโช)
  หมายถึง ลักษณะของไฟที่เรียกกันทั่วไป เช่น ไฟฟ้า ไฟถ่าน ไฟฟืน หรือไฟแก๊สหุงต้ม เป็นต้น
๓. ไฟที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารเตโช
  หมายถึง ไฟที่มีอยู่ในตัวคนและสัตว์ทั้งหมายซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ คือ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ทำให้ร่างกายแก่ชรา ทำให้เป็นไข้ รวมทั้งไฟธาตุที่ย่อยอาหาร ด้วย ส่วนไฟที่อยู่ภายนอกตัวเราก็มี เช่น ไฟที่เราเห็นโดยทั่ว ๆ ไป
๔. ไฟที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณเตโช)
  หมายถึง ไฟที่ทำขึ้นเพื่อใช้เพ่ง ทำให้เกิดสมาธิ หรือใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
 
 
๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มี ๔ อย่าง
๑. ลมแท้ (ปรมัตถวาโย หรือ ลักขณวาโย)
  หมายถึง ลักษณะที่ ไหว หรือ เคร่งตึง เช่น การไหวของใบไม้ การไหวร่างกาย การกระพริบตา การตึงของลมในยางรถยนต์ หรือลมในท้องที่จะทำให้ท้องตึงจุกเสียด เป็นต้น
๒. ลมสมมุติ (สมมุติวาโย หรือ ปกติวาโย)
  หมายถึง ลมที่เรียกกันทั่ว ๆ ไป เช่น ลมบก ลมทะเล ลมพายุ ลมที่พัดไปมาตามปกติ
๓. ลมที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารวาโย
  หมายถึง

ลมต่าง ๆ ที่พัดอยู่ในร่างกาย คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การหาว เรอ ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ เช่น การผายลม ลมที่อยู่ในช่องท้อง ทำให้ปวด เสียดท้อง ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกายทำให้ไหวกายไปมาได้ และลมหายใจเข้า-ออก นอกจากนี้ยังหมายถึง ลมภายนอกทั่ว ๆ ไป คือ ลมพัดอยู่ตามทิศต่าง ๆ ด้วย

๔. ลมที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณวาโย หรือ อารัมมณวาโย)
  หมายถึง ลมที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณ เพื่อให้เกิดสมาธิ หรือเกิดฌาน โดยการกำหนดเพ่งเอาธาตุลม ที่ทำให้เกิดการไหวของใบไม้ ยอดหญ้า เป็นต้น
     
          
 
          มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และ ธาตุลม บางธาตุก็เข้ากันได้คือเป็นมิตรกัน บางธาตุก็เข้ากันไม่ได้ไม่เกื้อกูลกัน คือ เป็นศัตรูซึ่งกันและกัน
          
ธาตุดิน กับ ธาตุน้ำ เป็นมิตรต่อกัน
          ธาตุดิน และธาตุน้ำ ต่างก็เป็นธาตุที่มีน้ำหนักด้วยกันทั้งสองธาตุ เกื้อกูลเข้ากันได้ไม่เป็นศัตรูต่อกัน น้ำจะช่วยประสานเกาะกุมให้ดินเกาะติดกัน เช่น เวลาสร้างบ้านเรือนน้ำจะเป็นตัวประสานทำให้หิน ทราย ปูน ซึ่งเป็นธาตุดิน ที่เกาะติดกันสร้างเป็นอาคารบ้านเรือนขึ้นมาได้ แม้แต่พืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ ที่ปลูกไว้บนดิน ก็ต้องอาศัยน้ำเกื้อกูล ทำให้เจริญงอกกงามขึ้นมา
          
ธาตุไฟ กับ ธาตุลม เป็นมิตรต่อกัน
          ธาตุไฟ และธาตุลม เป็นธาตุที่เบาเหมือนกัน จะเป็นมิตรเกื้อกูลกันไม่เป็นศัตรูต่อกัน เวลาจุดไฟถ่านหุงข้าว ก็ต้องใช้พัดโบกลมช่วยให้ถ่านติดเร็ว เวลาไฟไหม้ลมจะทำให้ไฟลุกขยายไปด้วยความรวดเร็ว
          
ธาตุที่เป็นศัตรูกัน คือ ดิน กับ ไฟ และ น้ำ กับ ลม
          เพราะเป็นธาตุที่มีความหนักเบาต่างกันจึงไม่เกื้อกูลกัน นอกจากนั้น แม้ในธาตุเดียวกันก็เป็นศัตรูซึ่งกันและกันด้วย เพราะในธาตุเดียวกันนั้นมี ๒ ลักษณะ คือ
          
ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน ความแข็งทำลายความอ่อน และความอ่อน ก็ทำลายความแข็ง เช่นเดียวกัน
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) มีลักษณะ ไหล หรือ เกาะกุม ความไหลเป็นตัวทำลาย การเกาะกุม
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) มีลักษณะ ร้อน หรือ เย็น ความร้อนและความเย็น ก็ทำลายกัน
วาโยธาตุ (ธาตุลม) มีลักษณะ ไหว หรือ เคร่งตึง ซึ่งเป็นภาวะที่ทำลายกันและกัน

ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป

ปสาทรูป คือ รูปที่มีความใส สามารถรับอารมณ์ได้ คล้ายกระจกเงาที่รับภาพต่าง ๆ ภายนอกได้ คำว่า ปสาท แปลว่า ความใส
          รูปที่มีความใสนี้มี ๕ รูป คือ

 

๑. จักขุปสาทรูป (คือ ปสาทตา) เป็นรูปที่มีความใสดุจกระจกเงา ตั้งอยู่กลางตาดำ โตเท่าหัวเหา มีเยื่อตาบาง ๆ เจ็ดชั้นรองรับอยู่ สามารถที่จะรับภาพ (รูปารมณ์) ต่าง ๆ ทั้งที่พอใจและไม่พอใจได้ ภาพที่มาปรากฏให้เห็นนั้น ปสาทตาเป็นที่ปรากฏของภาพ และจิตที่เห็นภาพล้วนแต่เกิดมาจากผลของกรรมทั้งสิ้น เมื่อเห็นภาพที่ดีก็ทำให้เราสบายใจ (เป็นผลของกรรมดี คือบุญที่ได้กระทำไว้แล้วในอดีตชาติ ส่งผลมาในชาตินี้) เมื่อเราเห็นภาพที่ไม่ดีก็ทำให้ไม่สบายใจ (เป็นผลของกรรมไม่ดี คือบาปที่ได้กระทำไว้แล้วในอดีตชาติ ส่งผลมาในชาตินี้)
จักขุปสาทรูปนี้ มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณจิต และ จักขุทวารวิถี
          
๒. โสตปสาทรูป (คือ ปสาทหู) เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับเสียง (สัททารมณ์) ได้ มีลักษณะเหมือนวงแหวน มีขนสีแดงเส้นละเอียดอยู่โดยรอบ เกิดมาจากกรรม ดังนั้น หูจึงต้องรับเสียงทั้งที่พอใจและไม่พอใจ (เสียงชมเสียงด่า) ซึ่งเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำไว้แล้วในชาติก่อน ๆ
หน้าที่ของโสตปสาทรูปมี ๒ อย่าง คือ เป็นที่ตั้งแห่งโสตวิญญาณจิต (สถานที่ที่จักขุวิญญาณจิตรับรู้เสียง) และ โสตทวารวิถี (ขบวนการของจิตที่เกิดดับติดต่อกันเป็นชุด ๆ ทางหู)
          
๓. ฆานปสาทรูป (คือ ปสาทจมูก) เป็นรูปที่มีความใส สามารถรับกลิ่นต่าง ๆ (คันธารมณ์) ได้ มีลักษณะคล้ายเท้าแพะ ซึ่งเกิดมาจากกรรม ดังนั้น จมูกจะต้องรับกลิ่นทั้งที่พอใจและไม่พอใจ เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นผลกรรมที่ได้ กระทำไว้ในชาติก่อน ๆ ซึ่งในชีวิตประจำวันของคนเราจะเห็นได้ชัดว่า บางครั้งก็ได้รับกลิ่นดี บางครั้งก็ได้รับกลิ่นไม่ดี เช่น ขณะที่มีรถขนขยะแล่นผ่านไป
ฆานปสาทรูปนี้มีหน้าที่ ๒ อย่างเช่นเดียวกัน คือ เป็นที่ตั้งแห่งฆานวิญญาณจิต เพื่อรับกลิ่น และเป็นที่เกิดของฆานทวารวิถี ด้วย
          
๔. ชิวหาปสาทรูป (คือ ปสาทลิ้น) เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับรสต่าง ๆ (รสารมณ์) ได้ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลีบดอกบัว เกิดมาจากกรรม ดังนั้น ในชีวิตประจำวันของคนสัตว์ทั้งหลาย จึงได้รับรสต่าง ๆ กันไปไม่เหมือนกัน เพราะในชาติก่อน ๆ ทำกรรมมาต่าง ๆ กัน
ชิวหาปสาทรูปนี้ก็มีหนัาที่ ๒ อย่าง คือ เป็นที่ตั้งแห่งชิวหาวิญญาณจิต เพื่อรับรสต่าง ๆ และเป็นที่เกิดของชิวหาทวารวิถีด้วย
          
๕. กายปสาทรูป (คือ ปสาทกาย) เป็นความใสของกายปสาทที่สามารถรับสัมผัสต่าง ๆ (โผฏ ฐัพพารมณ์ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ และ ธาตุลม) ได้ มีลักษณะเป็นความใสที่มีทั่วไปตามร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า เว้นแต่เส้นผม เล็บ หรือหนังหนา ๆ จะไม่มีกายปสาท (ความรู้สึก) เวลาตัดผมตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ กายปสาทรูปนี้ก็เกิดจาก ผลของกรรม เหมือนกัน การได้รับความสุขความทุกข์ทางกายของคนและสัตว์ จึงแตกต่างกันไปตามกรรมที่ได้ทำมา ซึ่งจะเห็นว่า บางคนมีความเป็นอยู่ อย่างสุขสบาย ไม่ต้องตากแดดตากลมตรากตรำทำงานหนัก
กายปสาทรูปทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ เป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณจิต และเป็นที่เกิดของกายทวารวิถี

ประเภทที่ ๓ - วิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗

 

         วิสยรูป หรือ โคจรรูป หมายถึง รูปต่าง ๆ ที่มากระทบทางตา คือ ภาพ (สี) ที่มากระทบทางหู คือ เสียง ที่มากระทบทางจมูก คือ กลิ่น ที่มากระทบทางลิ้น คือ รส ที่มากระทบทางกาย คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึง รูปเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ให้แก่จิตและเจตสิก ได้เกิดขึ้นมารับรูปนั้น ๆ ทำให้เกิดความพอ ใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ดี น่ารื่นรมณ์ และทำให้เกิดความไม่พอใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ไม่ดี ไม่น่ารื่นรมณ์ รวม ๔ รูป หรือ ๗ รูป ดังต่อไปนี้

 

๑. รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่าง ๆ ที่เห็นได้ด้วยตา เช่น สีแดง เหลือง เขียว ขาว เป็นต้น เมื่อเห็นสีแล้วก็จะส่งความรู้สึกไปทางใจ ให้รู้ถึงรูปร่างลักษณะผิวพรรณสัณฐานต่าง ๆ เช่น คนอ้วนคนผอมเดินมา ก็มองเห็นรูปร่างสัณฐานว่า อ้วนหรือผอม ผิวขาวหรือผิวดำ การวินิจฉัยโรคบางอย่างของแพทย์ เขาจะฉีดสีเข้าไปในร่างกาย สีก็จะเข้าไปเกาะที่ตัวเชื้อโรค เมื่อเอกซเรย์แล้วตรวจดูฟิลม์ จะทำให้มองเห็นตัวเชื้อโรคได้ชัดเจนว่า อยู่ตรงส่วนไหนของร่างกาย สีจึงเป็นสิ่งที่ทำให้วัตถุต่าง ๆ ปรากฏตัวให้เห็นได้ดังกล่าว หรือแม้แต่เวลาดีใจ เสียใจ หวาดกลัว สีของหน้าตาเรา ก็มองออกถึงความรู้สึกได้ว่า ขณะนั้นเขามีความรู้สึกอย่างไร สีจึงเป็นสิ่งที่ฉาบทาวัตถุหรือสิ่งของนั้น ๆ ให้เราได้มองเห็นกัน ถ้าไม่มีสีต่าง ๆ ฉาบทาแล้ว เราก็จะไม่สามารถเห็นวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ได้เลย
          
๒. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียง ที่มากระทบทางหู (โสตปสาท) ทำให้เกิดการได้ยิน ความพอใจหรือไม่พอใจก็จะตามมา ถ้าเสียงดีเสียงไพเราะก็เกิดความพอใจ ถ้าเสียงไม่ดีไม่ไพเราะ เช่น เสียงด่าเสียงกระทบกระเทียบ เปรียบเปรย ก็เกิดความไม่พอใจ เสียงที่ปรากฏเกิดขึ้นอาจมาจากสิ่งที่มีชีวิต เช่น คนหรือสัตว์ก็ได้ หรือจากธรรมชาติ เช่น เสียงฟ้าร้อง เสียงน้ำไหลก็ได้
          
๓. คันธารมณ์ ได้แก่ กลิ่น ซึ่งเป็นไอระเหยของวัตถุสิ่งของที่มีกลิ่น ที่มากระทบกับจมูก (ฆานปสาท) ทำให้รู้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) เช่น กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือน้ำหอมเป็นต้น
ใคำว่า กลิ่น (คันธ) ยังมีความหมายถึง ศีล สมาธิ และปัญญาได้อีก เพราะเป็นคุณธรรมความดี ที่ตกแต่งให้บุคคลหอมไปได้ทั่วทิศ ทั้งทวนลมและตามลม
          
๔. รสารมณ ได้แก่ รสต่าง ๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด ที่ปรากฏที่ลิ้น (ชิวหาปสาท) ชิวหาวิญญาณก็จะทำหน้าที่รู้รสต่าง ๆ ได้
คำว่า รส ยังใช้ในความหมายต่าง ๆ ได้อีก ๔ ประการ
๑. ธรรมรส หมายถึง การทำบุญ-ทำบาป ที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม
๒. อรรถรส หมายถึง ผลของบุญ-บาป ที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว จะทำให้เกิดรสชาติของความทุกข์ความระทมขมขื่น หรือความสุขความสำราญใจตามมา
๓. วิมุตติรส เป็นรสของการเข้าถึงนิพพาน พ้นจากกิเลสซึ่งทำให้เศร้าหมอง
๔. อายตนรส หมายถึงรสต่าง ๆ ข้างต้น ที่มากระทบกับลิ้น
          
๕. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ สิ่งที่มากระทบกับร่างกาย เช่น แข็ง-อ่อน ร้อน-เย็น หย่อน-ตึง ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม นั่นเอง ส่วนธาตุน้ำนั้น ความจริงแล้วเราไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยทางกาย แต่สัมผัสหรือรู้ได้โดยทางใจ
โผฏฐัพพารมณ์ มี ๓ อย่าง คือ
๑. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ความแข็ง หรือ อ่อน
๒. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ความร้อน หรือ เย็น
๓. .วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ความตึง หรือ หย่อน (ไหว-เคร่งตึง)
          
การเรียกว่า วิสยรูป หรือ โคจรรูป
เรียกว่า วิสยรูป ๗ เป็นการเรียกรวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ ๓ รวมเข้าใน รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ รวมเป็น ๗ อย่าง เพราะทั้ง ๗ เป็นอารมณ์ ให้แก่ จิตและเจตสิกได้
เรียกว่า โคจรรูป ๔ เพราะ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทั้ง ๔ เป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิตและเจตสิก เหมือนกับโคทั้งหลายที่ชอบท่องเที่ยวไปกินหญ้าในที่ ๔ แห่ง

ประเภทที่ ๔ - ภาวรูป ๒

 

         ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่าง ๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย
 
 
       ภาวรูป มี ๒ คือ อิตถีภาวรูป และ ปุริสภาวรูป
๑. อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง
๒. ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชาย
          รูปทั้ง ๒ เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา เพราะตาเห็นได้เฉพาะสีเท่านั้น เห็นรูปที่ละเอียดไม่ได้เลย
          
ที่รู้ว่าเป็นหญิงหรือชายก็ด้วยการแสดงออก ๔ อย่างดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น คือ
๑. รูปร่างสัณฐาน (ลิงค) ได้แก่ รูปร่างหน้าตา แขนขา รวมไปถึงเครื่องหมายเพศด้วย
๒. เครื่องหมาย (นิมิตต) ได้แก่ หนวดเครา หน้าอก ซึ่งมีความแตกต่างกันชัดเจน
๓. นิสัย (กุตต) ได้แก่ นิสัยใจคอ การเล่น การแสดง การกระทำต่าง ๆ
๔. กิริยาอาการ (อากปป) ได้แก่ กิริยาอาการต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การพูด
ถ้าเป็นหญิงจะเรียบร้อย มีความละอาย
ถ้าเป็นชายก็จะแข็งกระด้าง กล้าหาญ เป็นต้น
 
 
ทำกรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็น หญิง หรือชาย
          ก็เพราะกำลังของการทำบุญทำกุศล นั่นเอง เกิดมาเป็นชาย การทำบุญกุศลในชาติก่อนจะมีกำลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจ เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว ตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง เหมือนชาย ดังนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของบุญกุศล ที่เราได้กระทำมาแล้วนั่นเอง

ประเภทที่ ๕ - หทยรูป

 

         หทยรูป ก็คือหัวใจของคนเรานั่นเอง ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะเป็นรูปที่เกิดครั้งแรก เป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึก คือจิตและเจตสิกของคนและสัตว์ทั้งหลาย
          
หทยรูปนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑. มังสหทยรูป ได้แก่ เนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
๒. วัตถุหทยรูป เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่ง
          
          หทยรูป นี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ตั้งอยู่ในช่องเนื้อหัวใจ มีลักษณะเป็นบ่อ มีโลหิตเป็นน้ำเลี้ยงหัวใจอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ โตเท่าเมล็ดบุนนาค เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ ความดีความชั่วที่ผลักดันให้ต้องทำบุญทำบาปเกิดขึ้นที่หทยรูปนี้เอง

ประเภทที่ ๖ - ชีวิตรูป

ชีวิตรูป คือ รูปที่มีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลาย ทำให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ไม่ตายมาถึงวันนี้ เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอย่างหนึ่ง ที่อุปการะให้คนสัตว์ทั้งหลายได้มีชีวิตอยู่ได้เพื่อสร้างกรรม คือ บุญบาปกันต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำว่า ชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรียเจตสิก ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว
          

ประเภทที่ ๗ - อาหารรูป

 

          อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทานเข้าไปประจำวันนี้เอง เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุ (ปาจกเตโชธาตุ) ก็จะมาเป็นเลือดเป็นเนื้อ ชื่อว่า โอชา นำไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป อาหารที่รับประทานเป็นคำ ๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา
          หมายเหตุ
          รูปที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๗ ประเภท รวมได้ ๑๘ รูปนี้ ชื่อว่า นิปผันนรูป คือ รูปที่มีสภาวะของตนเอง สามารถนำมาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวใช่ตน ได้
          
          เมื่อพิจารณาที่ตั้งอยู่ของรูปทั้ง ๑๘ รูป แล้ว จะเห็นว่ามีที่อยู่ต่างที่กันไป
รูปที่อยู่กระจายทั่วร่างกาย นั้นมี ๑๒ รูป คือ มหาภูตรูป ๔ กายปสาทรูป ๑ วัณณรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑ และอาหารรูป ๑ รูป
รูปที่เกิดเฉพาะแห่งมี ๖ รูป คือ จักขุปสาทรูป (ปสาทตา) โสตปสาทรูป (ปสาทหู) ฆานปสาทรูป (ปสาทจมูก) ชิวหาปสาทรูป (ปสาทลิ้น) สัททรูป (เสียง) และหทยรูป (หัวใจ)
          
          รูปที่เหลืออีก ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปผันนรูป เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ซึ่งใช้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้ เพราะไม่มีไตรลักษณะทั้ง ๓ ให้ปรากฏ คือ ความเป็นอนิจัง ทุกขัง และอนัตตา

อนิปผันนรูป ๑๐

 

         อนิปผันนรูป มี ๑๐ รูป เป็นรูปที่อาศัย นิปผันนรูป ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้ว อนิปผันนรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่าง ตัวอย่างเช่น นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถ้านิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดเป็นแผ่นเดียวกัน เราก็นับไม่ได้ว่านิ้วมือมี ๕ นิ้ว หรือนิ้วเท้ามี ๕ นิ้ว ช่องว่าง จึงจัดเป็น รูป ๆ หนึ่ง ทำหน้าที่คั่นไม่ให้สิ่งทั้งหลายติดกันเท่านั้น ทำให้นับเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาได้ ดังนั้น ช่องว่าง จึงไม่จัดเป็นรูปที่แท้จริง (อนิปผันนรูปทั้งหมด) ไม่สามารถที่จะนับเป็นชิ้นเป็นอัน อย่างนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วได้ ดูภาพสมมุติของอนิปผันนรูป ๑๐
 
 
ความหมายของอนิปผันนรูป
          อนิปผันนรูป เป็นรูปที่ไม่ใช่รูปแท้เพราะว่า เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะประจำตัวโดยเฉพาะ ไม่มีสามัญลักษณะทั้ง ๓ ประจำอยู่ คือ ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีการแตกดับสลายไป ด้วยความเย็นหรือความร้อน เหมือนนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะนำมาใช้พิจารณา ให้เกิดวิปัสสนาปัญญาได้
          
          (โปรดติดตามรายละเอียดของรูปปรมัตถ์ในชุดต่อไป)

หมวดที่ ๗ การจำแนกรูป ๒๘ โดยพิสดาร

 

          รูปวิภาคนัย เป็นการจำแนกรูป ๒๘ ตามที่ศึกษามาแล้ว โดยพิสดารออกไป เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้น ในหมวดนี้ได้แบ่งรูป ๒๘ ออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
          
๑. ลักษณะเดี่ยว (เอกมาติกา)
เป็นการแบ่งรูป ๒๘ ออกเป็นประเภทเดียวหรือความหมายเดียว เรียกได้ ๘ ชื่อ คือ
ชื่อว่า อเหตุกะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นโดย ไม่ต้องอาศัยเหตุ ๖ (โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ)
" สปัจจยะ " เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
" สาสวะ " ก่อให้เกิดอาสวะกิเลส (กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ)
" สังขตะ " เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นผู้ปรุงแต่ง ทำให้เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
" โลกียะ " เป็นสังขารธรรม เพราะต้องมีการแตกดับ อยู่เสมอ ๆ
" กามาวจระ " เป็นเหตุให้เกิดความยินดี ยินร้าย ซึ่งเป็นอารมณ์ ของกามาวจรจิต
" อนารัมมณะ " ไม่มีความรู้สึก (เหมือนคนตาย) คือ ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ใดๆ ได้
" อัปปหาตัพพะ " เป็นสิ่งที่ไม่ควรฆ่า หรือทำลาย แต่สิ่งควรฆ่าทำลายนั้น ได้แก่ กิเลสและตัณหา
          
          สรุปได้ว่ารูป ๒๘ นี้จะเรียกชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ ชื่อนี้ก็ได้ ซึ่งก็จะมีความหมาย แตกต่างกันไปตามลักษณะของชื่อนั้น ๆ

๒. ลักษณะคู่ (ทุกมาติกา)

          เป็นการแบ่งรูป ๒๘ ออกเป็นคู่ ๆ ซึ่งมีความหมายตรงกันข้าม จำแนกได้ ๑๑ คู่ คือ
          
อัชฌัตติกรูป  รูปภายใน ได้แก่ ปสาทรูป ๕ คือ ประสาทตา ประสาทหู..จมูก..ลิ้น..กาย 
พาหิรรูป รูปภายนอก ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๓ 
วัตถุรูป รูปที่เป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ่ ได้แก่ปสาทรูป ๕ และ หทัยวัตถุ ๑ รูป ที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก
อวัตถุรูป ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๒
ทวารรูป รูปที่เป็นประตูหรือทวารให้ทำบุญทำ
บาป ได้แก่ ปสาทรูป ๕ วิญญัติรูป ๒
อทวารรูป รูปที่ไม่เป็นเหตุให้ทำบุญทำบาป
ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๑
อินทริยรูป
รูปที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการรับอารมณ์
ต่าง ๆ มีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น ได้แก่ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ และชีวิตรูป ๑
 
อนินทริยรูป
เป็นรูปที่ไม่เป็นใหญ่ในการรับอารมณ์ ต่าง ๆ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๐
โอฬาริกรูป รูปหยาบ เห็นได้ง่าย ได้แก่  ปสาทรูป ๕ วิสยรูป ๗
สุขุมรูป
รูปที่ละเอียดไม่สามารถรับรู้ได้ โดยการกระทบ แต่จะรู้ได้ทางใจ เท่านั้นได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖
สันติเกรูป รูปใกล้ เป็นรูปที่เกิดขึ้นเสมอมิได้ขาด รู้ได้ง่ายได้แก่ ปสาทรูป ๕ วิสยรูป ๗ (เหมือนกับคู่ที่ ๕) 
ทูเรรูป รูปไกล เป็นรูปที่รู้ได้ยาก ได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖
สัปปฏิฆรูป เป็นรูปที่กระทบกันได้ เช่น เสียง มากระทบกับหู ทำให้เกิดการได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ ปสาทรูป ๕ วิสยรูป ๗
อัปปฏิฆรูป เป็นรูปที่กระทบซึ่งกันและกันไม่ได้ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖ 
อุปาทินนกรูป หมายถึง รูปที่เกิดจากผลของบาป
คือ อกุศลกรรม และรูปที่เกิดจาก ผลของ บุญคือโลกียกุศลกรรม ได้แก่ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ และ อวินิพโภครูป ๘ (คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา)
อนุปาทินนกรูป หมายถึง รูปที่ไม่ได้เกิดจากผลของบาป
คือ อกุศลกรรมและรูปที่ไม่ได้เกิดจาก
ผลของบุญ คือโลกียกุศลกรรม ได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๐ รูป คือ สัททรูป ๑ วิญญัติ รูป ๒ วิการรูป ๓ และ ลักขณรูป ๔
สนิทัสสนรูป รูปที่เห็นได้ ซึ่งได้แก่ วัณณรูป รูปเดียวเท่านั้น
อนิทัสสนรูป รูปที่เห็นไม่ได้ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๗
โคจรคาหิกรูป รูปที่เป็นที่โคจร เป็นที่อาศัยเกิดขึ้น ของ
อารมณ์ต่าง ๆ เช่น จักขุปสาท รูปเป็นที่โคจรของรูปารมณ์ ทำให้เกิด
การเห็น เป็นต้น ได้แก่ ปสาทรูป ๕
อโคจรคาหิกรูป รูป รูปที่ไม่เป็นที่โคจรไม่เป็นที่อาศัยเกิด
ได้แก่รูปที่เหลือ ๒๓
อวินิพโภครูป รูปที่แยกจากกันไม่ได้ รูปหนึ่ง ๆ ต้องมีรูปเกิดขึ้นอย่างน้อย ๘ รูปเสมอ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วัณณะ คันธะ รสะ โอชา   
วินิพโภครูป รูปที่แยกจากกันได้ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๐

<<<                >>>