<<<                 >>>

หลักสูตร เรียนพระอภิธรรมทางอินเตอร์เนต

 

ตอนที่ ๕ (ชุดที่ ๒) เรื่องรูปปรมัตถ์

รูปสมุฏฐาน รูปร่างกายที่ประกอบขึ้นมาเป็นคน สัตว์ เทวดา หรือ พรหม (รูปพรหม) นั้น ย่อมเกิดขึ้น มาได้จากเหตุ ๔ ประการ คือ เกิดขึ้นมาจากกรรมส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นมาจากจิตใจส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นมาจากอุตุ (ความพอดีของความเย็นร้อน) ส่วนหนึ่ง และเกิดขึ้นมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปส่วนหนึ่ง เรียกว่า เกิดขึ้นมาจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ทำให้คนสัตว์ทั้งหลาย ดำรงชีวิตอยู่ได้ภพหนึ่งชาติหนึ่ง ดังภาพสมมุติ
          
 
กรรม การกระทำบุญบาป ทางกาย วาจา และใจ ได้แก่เจตนา ๒๕ ที่เกิดในอกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ และรูปาวจรกุศลจิต ๕ ชื่อว่า เป็นกรรม
          
จิต เป็นตัวบงการหรือชักใยทำให้รูป ๒๘ เคลื่อนไหวไปทำกรรม ในส่วนที่เป็นบาปบ้าง ส่วนที่เป็นบุญบ้าง ทั้งทางกาย วาจา และใจ ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง ส่วนทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ และ อรูปาวจรวิบากจิต ๔ จิต ๑๔ ดวงนี้ไม่ทำให้เกิดรูป
          
อุตุ หมายถึง อุณหภูมิ คือ ความร้อน ความเย็น ที่มีอยู่ในร่างกาย ของสัตว์ทั้งหลายและในสิ่งไม่มีชีวิต แม้ตอนตาย อุตุก็ยังคงอยู่ในซากศพต่อไป จนกว่าจะสลายหมดไปเองตามธรรมชาติ
          
อาหาร หมายถึง อาหารที่เรารับประทานอยู่เป็นประจำวัน เมื่อไฟธาตุย่อยเป็นโอชะ แล้วก็จะนำไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าขาดอาหารเสียแล้วชีวิตเราก็คงจะอยู่ไม่ได้

๑. รูปที่เกิดจากกรรม (กรรมสมุฎฐาน)

ขยายความ
          
รูปที่เกิดจากกรรม เป็นรูปที่เกิดจากอำนาจของบุญ หรือ อำนาจของบาป ที่บุคคลได้กระทำไว้ในภพชาตินี้ และภพชาติก่อนๆ ถ้าเป็นรูปร่างกายของมนุษย์ เทวดา พรหม ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมดี คือ บุญ ถ้าเป็นรูปร่างกายของสัตร์นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมชั่ว คือ บาป รูปที่เกิดจากอำนาจของกรรมดีและกรรมชั่ว (เจตนา ๒๕) นั้น มี ๑๘ รูป เรียกว่า กรรมชรูป ดูภาพสมมุติประกอบ
          
          
กรรมชรูป ๑๘ นี้เกิดได้ในภพภูมิต่าง ๆ ถึง ๒๗ ภพภูมิ คือ อบายภูมิ ๔ มนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ รูปภูมิ ๑๖ (ดูภาพสมมุติ ภูมิ ๓๑ ภูมิ ที่แนบมา) กรรมชรูปนี้เกิดได้ทุกขณะจิตจนถึงใกล้จะตาย กรรมชรูปจะเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย โดยนับถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไป ๑๗ ขณะ (มีรายละเอียดถ้าศึกษาถึงเรื่องของวิถีจิตตอนใกล้จะตาย) แล้วจะไม่เกิดขึ้นอีก เป็นการจบชีวิตในชาติหนึ่งภพหนึ่ง

๒. รูปที่เกิดจากจิต (จิตตสมุฎฐาน)

รูปที่เกิดจากจิต ได้แก่ อาการยืน เดิน นั่ง นอน การเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนเรา รวมทั้งการพูดจาเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นไปตามอำนาจความต้องการของจิตทั้งสิ้น จึงเรียกว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน ถ้าคนตายคือไม่มีจิตเสียแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวหรือพูดจาใดๆได้เลย จิตที่เป็นตัวการหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวกาย หรือการพูดนั้น ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง มีอำนาจทำให้เกิดรูปได้ ๑๕ รูป รูปที่เกิดจากอำนาจของจิตนี้ เรียกว่า จิตตชรูป ดูภาพ สมมุติประกอบ
          
          
จิตตชรูป คือ จิตที่ทำให้เกิดรูป แบ่งได้ ๗ อย่าง
๑. จิตตชรูปสามัญ
๒. จิตตชรูปหัวเราะ
๓. จิตตชรูปร้องไห้
๔.จิตตชรูปเคลื่อนไหว
๕. จิตตชรูปในการพูด
๖. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถ น้อยใหญ่
๗. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถ
          
๑. จิตตชรูป สามัญ หมายถึง รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฎฐาน คือ การหายใจ หรือการเต้นของหัวใจ คนตายไม่มีจิตจึงไม่มีการหายใจ หรือการเต้นของหัวใจ รูปที่เกิดขึ้นในขณะหายใจ หรือการเต้นของหัวใจ มีเพียง ๑๑ รูปเท่านั้น คือ อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓ ซึ่งเกิดจากจิต ๗๕ ดวง คือ
          
อกุศลจิต
๑๒
 
อเหตุกจิต
(เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐)
กามาวจรโสภณจิต
๒๔
 
มหัคคตจิต
๒๓
(เว้นอรูปาวจรวิบากจิต ๔)
โลกุตตรจิต
 
          
๒. จิตที่ทำให้รูปเกิดการหัวเราะ อาการหัวเราะของคนเรา ย่อมเกิดจากจิต ๑๓ ดวง คือ
          
๑. การชื่นชมในการทำบาป
ได้แก่
โสมนัสโลภมูลจิต ๔
๒. การยิ้มแย้มของพระอรหันต์
ได้แก่
หสิตุปปาทจิต ๑
๓. การชื่นชมยินดีในบุญ
ได้แก่
โสมนัสมหากุศลจิต ๔
๔. การชื่นชมยินดีของพระอรหันต์ ที่ได้ฌาน
ได้แก่
โสมนัสมหากุศลจิต ๔
 
๓. จิตที่ทำให้รูปเกิดการร้องไห้ ความเศร้าโศกเสียใจ จนเกิดการร้องไห้ของคนเรานั้น เกิดจากความโกรธนั่นเอง ได้แก่ โทสมูลจิต ๒ ดวง
          
๔. จิตที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยทั่ว ๆ ไป คือ การยืน เดิน นั่ง นอน กระพริบตา จิตที่ทำให้เกิดอาการอย่างนี้ คือ จิต ๓๒ ดวง ได้แก่
          
       
๑. มโนทวาราวัชชนจิต
 
๒. กามชวนจิต
๒๙
 
๓. อภิญญาจิต
 
       
          
๕. จิตที่ทำให้เกิดการพูด รูปที่เกิดการพูดการเปล่งวาจาต่าง ๆ ได้แก่ จิต ๓๒ ดวง (เหมือนข้อ ๔)
          
๖. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถน้อยใหญ่ จิตที่ทำให้เกิด การยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาบถใหญ่ ๔) ได้แก่ จิต ๓๒ ดวง (เหมือนข้อ ๔)
          
๗. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถใหญ่ตั้งมั่น คือ จิตที่ทำให้เกิดการยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาบถใหญ่ ๔ ) ที่เกิดขึ้นตามปกติขณะที่สบายดี (ไม่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ) ได้แก่ จิต ๕๘ ดวง คือ
          
๑. มโนทวาราวัชชนจิต
 
๒. อภิญญาจิต
 
๓. กามชวนจิต
๒๙
 
๔. อัปปนาชวนจิต
๒๖

๓. รูปที่เกิดจากอุตุ (อุตุสมุฎฐาน)

 

          คำว่า อุตในที่นี้ได้แก่ความเย็นและความร้อน คือ ธาตุไฟ นั่นเอง ความร้อน เรียกว่า อุณหเตโช ความเย็น เรียกว่า สีตเตโช อุตุนี้เป็นต้นเหตุหรือสมุฏฐานทำให้เกิดรูปขึ้นได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทำให้เกิดเป็นพลังความร้อนขึ้นในร่างกาย และเกิดขึ้นตั้งแต่ ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต เรื่อยมาจนกระทั่งเป็นซากศพ (จิตดวงหนึ่ง ๆ มี ๓ ขณะ คือ อุปาทักขณะ ฐีติขณะ และ ภังคักขณะ) คือ ขณะเกิดขึ้น ขณะตั้งอยู่ และขณะดับไป เรียกว่า อนุขณะของจิต
          
รูป ที่เกิดจากอุตุหรือเตโชธาตุ เป็นสมุฏฐาน เรียกว่า อุตุชรูป ๑๓ รูป คือ
 
มหาภูตรูป
  โคจรรูป
อุตุชรูป รวม ๑๓ รูป
อาหารรูป
  ปริจเฉทรูป
  วิการรูป

๔. รูปที่เกิดจากอาหาร (อาหารสมุฎฐาน)

 

อาหารสมุฏฐาน คำว่า อาหาร ได้แก่ ธรรมที่เป็นเหตุนำมาซึ่งผลของตนๆ มี ๔ อย่าง คือ
กพฬีการาหาร ได้แก่ อาหารที่เรากินเข้าไปเป็นคำ ๆ แล้วย่อยเป็นโอชา นำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เรียกว่า รูปอาหาร อาหาร มื้อหนึ่งๆ จะช่วยหล่อเลี้ยงร่างกายได้ถึง ๗ วัน เช่นผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติในมนุษยภูมิ จะอยู่ได้โดยไม่ต้องรับประทานอาหารเลย
ส่วน นามอาหาร มี ๓ อย่าง ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร ซึ่งทำให้เกิดผลธรรมของตน ๆ ตามมา เช่น ผัสสะเจตสิก นำมา ซึ่งเวทนาเจตสิก วิญญาณ นำมา ซึ่ง รูป - นาม เป็นต้น
          
          
สรุป รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๔
๑. รูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน
ชื่อว่า
กัมมชรูป
มี
๑๘
รูป
๒. รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน
"
จิตตสมุฏฐาน
"
๑๕
"
๓. รูปที่เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐาน
"
อุตุชรูป
"
๑๓
"
๔. รูปที่เกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐาน
"
อาหารชรูป
"
๑๒
"
          

ตารางสรุปรูป ๒๘ ที่เกิดได้กับสมุฏฐาน ๔

จำนวนรูป
เกิดจาก
กรรม
เกิดจาก
จิต
เกิดจาก
อุตุ
เกิดจาก
อาหาร
หมายเหตุ
มหาภูตรูป
เกิดได้ ๔ อย่าง
ปสาทรูป
     
เกิดได้ ๑ อย่าง
โคจรรูป(เว้นสัททะ)
เกิดได้ ๔ อย่าง
สัททรูป
   
เกิดได้ ๒ อย่าง
ภาวรูป
     
เกิดได้ ๑ อย่าง
หทยรูป
     
เกิดได้ ๑ อย่าง
ชีวิตรูป
เกิดได้ ๔ อย่าง
อาหารรูป
       
เกิดได้ ๔ อย่าง
ปริจเฉทรูป
       
เกิดได้ ๔ อย่าง
วิญญัติรูป
       
เกิดได้ ๑ อย่าง
วิการรูป
       
เกิดได้ ๓ อย่าง
ลักขณรูป
        เกิดไม่ได้เลย
รวม
๒๘
๑๘ ๑๕ ๑๓ ๑๒  
          
          รูปร่างกายของมนุษย์ สัตว์ เทวดา พรหม ถ้าเราไม่ได้ศึกษาเรื่อง รูปปรมัตถ์ แล้ว จะเข้าใจว่า สิ่งที่ทำ ให้ร่างกายเจริญเติบโต และมีชีวิตอยู่ได้คืออาหารอย่างเดียว แต่ที่แท้จริงแล้วต้องอาศัยอีก ๓ อย่าง คือ กรรม จิต และอุตุ ดังได้กล่าวมาแล้ว ในทำนองเดียวกันการเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเรา ก็เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร เช่นเดียวกัน โรคที่เกิดจากกรรมเมื่อหมดกรรมก็มีเหตุให้ได้พบกับหมอดี พยาบาลดี ยาดี ทำให้โรคหายได้เป็นต้น

หมวดที่ ๔ รูปกลาป

รูปกลาป คือ กลุ่มของรูปที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ที่มีอยู่ในร่างกายของคน และสัตว์ทั้งหลาย เกิดด้วยอำนาจของกรรมก็มี ด้วยอำนาจของจิตก็มี อำนาจของอุตุก็มี หรือด้วยอำนาจของอาหารก็มี รวมแล้วมี ๒๑ กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีลักษณะ ๓ ประการ
          
          
          เมื่อพิจารณาตามลักษณะการเกิดขึ้นของรูปกลาป ทั้ง ๒๑ กลาป (กลุ่ม) แล้ว แบ่งได้ ๔ อย่าง คือ
๑. รูปกลาปที่เกิดจาก
กรรม
เรียกว่า
กรรมชกลาป
มี
กลาป
๒. รูปกลาปที่เกิดจาก
จิต
"
จิตตชกลาป
"
"
๓. รูปกลาปที่เกิดจาก
อุตุ
"
อุตุชกลาป
"
"
๔. รูปกลาปที่เกิดจาก
อาหาร
"
อาหารชกลาป
"
"
          
ดูภาพสมมุติประกอบ
          

กรรมชกลาป ๙

กรรมชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอำนาจของกรรม ในมนุษย์ เทวดา รูปพรหม เกิดขึ้นจากอำนาจของกุศลกรรม (บุญ) นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน เกิดขึ้นจากอำนาจของอกุศลกรรม (บาป) กรรมชกลาป มี ๙ กลาป คือ
          
๑. จักขุทสกกลาป หมายถึง
กลาปที่มีจำนวนรูป
๑๐ มี
จักขุปสาท
เป็นประธาน
๒. โสตทสกกลาป หมายถึง
"
๑๐ มี
โสตปสาท
"
๓. ฆานทสกกลาป หมายถึง
"
๑๐ มี
ฆานปสาท
"
๔. ชิวหาทสกกลาป หมายถึง
"
๑๐ มี
ชิวหาปสาท
"
๕. กายทสกกลาป หมายถึง
"
๑๐ มี
กายปสาท
"
๖. อิตถีภาวทสกกลาป หมายถึง
"
๑๐ มี
อิตถีภาวรูป
"
๗. ปุริสภาวทสกกลาป หมายถึง
"
๑๐ มี
ปุริสภาวรูป
"
๘. วัตถุทสกกลาป หมายถึง
"
๑๐ มี
หทยวัตถุรูป
"
๙. ชีวิตนวกกลาป หมายถึง
"
๙ มี
ชีวิตรูป
"
          
ดูภาพสมมุติประกอบ (แสดงจำนวนรูปที่รวมเป็นกลาปหนึ่ง ๆ)
          
          
          
ที่อยู่ของกลุ่มรูป (กลาป) ที่เกิดจากกรรมในร่างกาย
          
          ในจำนวนรูปกลาปที่เกิดจากกรรม จะเกิดเป็นกลุ่ม ๆ อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำหน้าที่ของตน ๆ โดยเฉพาะเท่านั้น เช่น กลุ่มรูปที่เกิดที่ตาก็ทำหน้าที่เหมือนจอภาพสำหรับให้รูปารมณ์ (สี) ปรากฏเท่านั้น จะทำหน้าที่อย่างอื่นไม่ได้ เช่น จะใช้ตา (จักขุทสกกลาป) ไปฟังเสียงแทนหู (โสตทสกกลาป) ไม่ได้ เป็นต้น
          
          ที่อยู่ที่ทำงานของกรรมชกลาป ๙ ในร่างกายคนเรา อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ดังนี้
          

จิตตชกลาป ๖

          จิตตชกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน ในจำนวนรูปกลาป ๒๑ กลุ่ม กลุ่มรูปที่เกิดจากอำนาจของจิตก็มี เช่น เวลาที่คนเราหัวเราะ (รูปหัวเราะ) ก็เกิดด้วยอำนาจของความดีใจ พอใจ ถูกใจ (โสมนัส) นั่นเอง อาการที่แสดงออกมา จะผิดกับการร้องไห้ ซึ่งเกิดจากจิตที่เศร้าใจเสียใจ (โทสะ) ดังนั้นกลุ่มรูปที่แสดงออกมา ในลักษณะต่าง ๆ ให้เราเห็นนั้น ก็เกิดขึ้นจากอำนาจของจิตนั่นเอง หรือมีจิตเป็นสมุฏฐานให้เกิด รูปที่เกิดขึ้นจากจิต หรือจากอำนาจของจิตนี้ มี ๖ กลุ่ม (กลาป) คือ
          
๑. สุทธัฏฐกกลาป คือ กลุ่มรูปพื้นฐาน มี ๘ รูป
๒. กายวิญญัตินวกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้กายเคลื่อนไหว มี ๙ รูป
๓. วจีวิญญัติสัทททสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดการพูด มี ๑๐ รูป
๔. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดความเบา มี ๑๑ รูป
๕.กายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาป คือกลุ่มรูปที่ทำให้เกิดการคล่องตัวในการเคลื่อนไหวกายมี ๑๒ รูป
๖. วจีวิญญัติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดการพูดที่คล่องแคล่ว มี ๑๓ รูป
          
 
 
 
 
 
 

อุตุชกลาป ๔

          อุตุชกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดมาจากอุตุ คือ ความเย็น และความร้อน เป็นสมุฏฐาน เกิดได้ทั้งภายในร่างกาย และภายนอกร่างกาย คือเกิดได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ถ้าในสิ่งที่มีชีวิตอุตุชกลาปย่อมเกิดได้ทั้งหมด ๔ กลาป ถ้าภายนอกตัวคนสัตว์จะเกิดได้เพียง ๒ กลาปเท่านั้น
          
          อุตุชกลาป มี ๔ กลุ่ม (กลาป) คือ
          
          
          
          

อาหารชกลาป ๒

 

          อาหารชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร คนสัตว์จะมีชีวิตอยู่ได้ก็ต้องอาศัยอาหารทั้งนั้น อาหารมีทั้งชนิดที่ เป็นรูป เรียกว่า รูปอาหาร และอาหารที่เป็นนาม เรียกว่า นามอาหาร
รูปอาหาร ก็คืออาหารที่เรารับประทานเข้า ไปเป็นคำ ๆ เรียกว่า กพฬีการาหาร เช่น ข้าว น้ำ ยา หรือวิตามินต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้
ส่วนนามอาหาร มี ๓ คือ ผัสสาหาร มโนสัณเจตนาหาร และวิญญาณาหาร จะได้ขยายความในโอกาสต่อไป เราจะศึกษา รูปอาหาร ก่อน รูปอาหารเมื่อจัดเป็นกลาปแล้ว ได้ ๒ กลาป คือ
          
๑. สุทธัฏฐกกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดจากอาหาร ที่เรารับประทานเข้าไป หรือยาที่ยังไม่ย่อย หรือออกฤทธิ์ ทำให้เกิดการอึดอัดหรือง่วงซึม ไม่กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากยัง ไม่มีวิการรูป ๓ คือ รูปเบา รูปอ่อน หรือรูปที่ควรแก่การงานเกิดร่วมด้วย ยังไม่เกิดความคล่องตัว ที่จะทำงานให้เกิดมีประสิทธิภาพขึ้นมา กลาปรูปนี้มีเพียง ๘ รูปเท่านั้น คือ อวินิพโภครูป ๘
          
๒. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ อาหารหรือยาที่ย่อยเป็นโอชะแล้ว มีวิการรูป ๓ เข้าประกอบด้วยจึงนำเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง กลาปรูปนี้จึงประกอบด้วย อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓

หมวดที่ ๕ รูปปวัตติมนัย

รูปปวัตติกมนัย
เป็นการแสดงการเกิด-ดับของรูป ๒๘ ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งธรรมดาของรูปนามขันธ์ ๕ ย่อมตกอยู่ความไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ใช่ตัวตน ที่จะบังคับบัญชา ให้คงสภาพเดิมอยู่ได้ คือตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ดังนั้น รูปร่างกายของคนเรานั้น(รูป ๒๘) ย่อมจะต้องมีการเกิด-ดับ จึงได้แสดงให้เห็นความเกิด-ดับ ตามหัวข้อข้างต้น ซึ่งแสดงไวั ๓ ลักษณะด้วยกัน คือ
๑. การเกิด-ดับของรูป ที่เกิดขึ้นในภูมิต่าง ๆ (นัยแห่งภูมิ)
๒. การเกิด-ดับของรูป ที่เกิดขึ้นในกาลเวลาต่าง ๆ (นัยแห่งกาล)
๓. การเกิด-ดับของรูป ตามประเภทแห่งการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (นัยแห่งกำเนิด)
          
๑. ตามนัยแห่งภูมิ
          
          ภูมิอันเป็นที่เกิดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย มี ๓๑ ภูมิ (แห่ง) เป็นภูมิที่มีทั้งรูปนามขันธ์ ๕ มี ๒๗ ภูมิ คือ อบายภูมิ ๔ มนุษย์ ๑ เทวดา ๖ รูปพรหม ๑๕ อสัญญสัตตพรหม ๑ ส่วนอรูปภูมิ ๔ ไม่มีรูป มีนามขันธ์อย่าง เดียว
          
          ใน อบายภูมิ มนุษย์ เทวดา รูปเกิดได้ทั้งหมด ๒๘ รูป (๒๗ รูป ถ้าเป็นชาย ก็เว้นรูปที่เป็นหญิง ถ้าเป็นหญิงก็เว้นรูปที่เป็นชาย) หรืออาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง ในกรณีที่เป็นผู้ตาบอด หรือหูหนวกเป็นต้น
          
          ใน รูปภูมิ รูปเกิดได้ ๒๓ รูป ขาดไป ๕ รูป คือ ฆานปสาทรูป(ประสาทจมูก) ชิวหาปสาทรูป (ประสาทลิ้น) กายปสาทรูป (ประสาทกาย) อิตถีภาวรูป(ความเป็นหญิง) และปุริสภาวรูป(ความเป็นชาย) เพราะเห็นว่ารูปทั้ง ๕ ไม่เกื้อกูลแก่การทำฌาน
          
          ใน อสัญญสัตตพรหม หรือชาวบ้านเรียกกันว่า พรหมลูกฟัก มีแต่รูปเพียง ๑๗ รูปเท่านั้น ไม่มีนาม จึงเคลื่อนไหวไม่ได้ไม่มีความรู้สึก เหมือนพระพุทธรูป หรือหุ่น เมื่อหมดอายุ ๕๐๐ มหากัป นามก็จะเกิดขึ้นมาเอง แล้วนำเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป ๑๗ รูปคือ
อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ และลักขณรูป ๔
          
          ใน อรูปภูมิ มีแต่นามอย่างเดียว ไม่มีรูปเลย ตรงข้ามกับอสัญญสัตตพรหม ซึ่งมีแต่รูปอย่างเดียวไม่มีนาม ด้วยอำนาจของการเจริญปัญจมฌาน แล้วไม่ปรารถนาจะมีรูป เพราะเบื่อหน่ายในรูปขันธ์ ที่ต้องบำรุงดูแลรักษายุ่งยากมาก
          
ดูแผนภูมิประกอบ
          
          
๑. แสดงการเกิด-ดับของรูปในภูมิต่าง ๆ ๓๑ ภูมิ
          
   

๒. แสดงการเกิดดับของรูป ๒๘ ตามกาลเวลา

           เป็นการแสดงความเป็นไปของรูป ๒๘ ว่า รูปใดเกิดได้และเกิดไม่ได้ ในกาลต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ ๓ กาลด้วยกัน คือ
          
          
รูป ๒๘ รูปอะไรที่เกิดได้และเกิดไม่ได้ในกาลทั้งสาม
          
          
          
          

๓. แสดงลักษณะการเกิดของรูป (ตามนัยแห่งกำเนิด)

          ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในภูมิต่าง ๆ จะมีลักษณะ การเกิดได้ ๔ อย่างด้วยกัน คือ
          
          
๑. การเกิดจากไข่
หรือ อัณฑชะกำเนิด
ได้แก่ การเกิดขึ้นจากครรภ์มารดาโดยเป็นฟองไข่ก่อนแล้ว คลอดมาทีหลัง เช่น ไก่ นก จิ้งจก ตุ๊กแก และงู เป็นต้น
          
๒. การเกิดจากครรภ์
หรือ ชลาพุชะกำเนิด
ได้แก่ พวกที่อาศัยเกิดจากครรภ์มารดา โดยไม่ต้องมีไข่ห่อหุ้ม และคลอดออกมาเป็นตัว หรือทารกเล็ก ๆ แล้วค่อยเจริญเติบโตมาตามลำดับ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เทวดาชั้นต่ำบางพวก เป็นต้น
          
๓. การเกิดจากเถ้าไคล
หรือ สังเสทชะกำเนิด
การเกิดชนิดนี้ไม่ต้องอาศัยบิดามารดา อาศัยเถ้าไคลที่ชุ่มชื้น มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ก็เป็นที่อาศัยเกิดของสัตว์ชนิดนี้ได้ เช่น เชื้อโรคบางประเภท และได้กล่าวว่ามนุษย์ในสมัยก่อน เกิดจากดอกไม้ ต้นไม้ ผลไม้ ก็มี เช่น นางจิญจมานวิกา เกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดี เกิดจากต้นไผ่ นางปทุมวดี เกิดจากดอกบัว เป็นต้น
          
๔. การเกิดขึ้นมาโตทันที
หรือ โอปปาติกกำเนิด
เกิดมาโดยไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา ต้นไม้ ดอกไม้ หรือที่ชื้นแฉะแต่อย่างใด แต่อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียว โดยการผุดเกิดขึ้นมีรูปร่างใหญ่ โตทันที ได้แก่ ผี เทวดา เปรต อสุรกาย มนุษย์ต้นกัป เป็นต้น
          อัณฑชะกำเนิด และ ชลาพุชะกำเนิด นี้ต่างก็เกิดจากครรภ์เหมือนกัน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คัพภเสยยกะกำเนิด
          
การเกิดของรูปในกำเนิด ๔
          
          
ปฏิสนธิวิญญาณจะเกิดในครรภ์มารดาได้นั้น ต้องประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน
๒. มารดาอยู่ในวัยมีประจำเดือน
๓. มีปฏิสนธิวิญญาณมาเกิด
          
          เมื่อวิญญาณปฏิสนธิเกิดขึ้นในครรภ์ของมารดาแล้ว รูปต่าง ๆ จะเกิดขึ้นเจริญตามลำดับ ดังนี้
          
สัปดาห์แรก
มีลักษณะ
เป็นหยาดน้ำใส
เหมือน
น้ำมันงา
เรียกว่า
กลละ
สัปดาห์ที่ ๒
"
เป็นฟอง
"
น้ำล้างเนื้อ
"
อัพพุท
สัปดาห์ที่ ๓
"
เป็นชิ้นเนื้อเหลว ๆ สีแดง  
"
เปสิ
สัปดาห์ที่ ๔
"
เป็นก้อน
เหมือน
ไข่ไก่
"
ฆนะ
สัปดาห์ที่ ๕
"
เป็นปุ่ม ๕ แห่ง จะเป็นศีรษะ มือ เท้า ต่อไป
"
ปัญจสาขา
สัปดาห์ที่ ๑๒ – ๔๒
จะเกิด ผม ขน เล็บ (ตา หู จมูก ลิ้น จะเกิดในสัปดาห์ที่ ๑๑)
          
          ทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา สายสะดือของทารก จะติดกับแผ่นท้องของมารดา เหมือนก้านบัว อาหารที่มารดาบริโภคเข้าไป จะไปเลี้ยงทารกทางสายสะดือ จนกระทั่งเจริญเติบโตครบ ๑๐ เดือน จึง คลอดออกมา
          
แสดงการเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป
กัมมชรูป เกิดขึ้นครั้งแรกที่อุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิต, เกิดครั้งสุดท้ายที่อุปปาทักขณะของจิตดวงที่ ๑๗ ที่นับถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไป
จิตตชรูป เกิดขึ้นครั้งแรกที่อุปปาทักขณะของปฐมภวังค์ (หรือทุติยจิต คือจิตดวงที่สองในภพใหม่), เกิดขึ้นครั้งสุดท้ายที่อุปปาทักขณะของจุติจิต สำหรับพระอรหันต์, เกิดครั้งสุดท้ายที่ อุปปาทักขณะ ของจิตดวงที่ ๒ ที่นับถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไป
อุตุชรูป เกิดขึ้นครั้งแรก ที่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต และเกิดเรื่อยไปแม้ว่าสัตว์นั้นตายแล้ว เป็นซากศพเป็นกระดูก ขี้เถ้า หรือดินก็ตาม เกิดไปจนกระทั่งโลกถูกทำลาย
อาหารชรูป เกิดขึ้นตั้งแต่โอชาที่ซึมซาบทั่วไป (ในสัปดาห์ที่ ๒ – ๓) และเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย ที่ภังคักขณะของจุติจิต (สำหรับสัตว์ที่เกิดโดยคัพภเสยยกกำเนิดเท่านั้น) สำหรับสังเสทชะ และโอปปาติกะกำเนิด (เว้นพรหม) เกิดขึ้นครั้งแรกที่ปฐมมโนทวารวิถี ที่เกิดขึ้นหลังจากปฏิสนธิจิต และภวังคจิต และย่อมเกิดขึ้นต่อไปทุก ๆ ขณะของจิต

 

<<<                 >>>